ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธรูปปางห้ามแก่นจันทร์  (อ่าน 6612 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระพุทธรูปปางห้ามแก่นจันทร์
« เมื่อ: มกราคม 30, 2010, 09:58:49 am »
0

พระพุทธรูปปางห้ามแก่นจันทร์
 

พระพุทธรูปปางห้ามแก่นจันทร์ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

ปางพระห้ามแก่นจันทร์(หรือพระแก่นจันทร์) เป็นพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ห้อยพระหัตถ์ขวาลงข้างพระวรกาย ฝ่าพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) และยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาทรงห้าม


ความเป็นมาของปางห้ามแก่นจันทร์

ตามคัมภีร์อรรถกถา (คัมภีร์ชั้นหลังพระไตรปิฎก) กล่าวว่าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น มีตำนานกล่าวว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งนครสาวัตถีทรงลำลึกถึงพระพุทธองค์มาก ด้วยความเคารพรักและศรัทธาจึงสั่งให้ช่างหลวงทำพระพุทธรูปลักษณะคล้ายองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยไม้แก่นจันทร์หอมอย่างดี ประดิษฐานไว้ในพระราชนิเวศน์เพื่อสักการะบูชา พระไม้แก่นจันทร์องค์นี้ถือว่าเป็นพระพุทธรูปองค์แรกในพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมา และได้มาทรงเยี่ยมพระเจ้าปเสนทิโกศล พระพุทธรูปไม้แก่นจันทร์ องค์ดังกล่าวก็ได้แสดงปาฏิหาร ลอยจากพระแท่น เพื่อให้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ทรงห้ามรูปเปรียบพระองค์ ไม่ให้ลอยไปที่อื่น และยังได้ทรงบอกถึงอานิสงค์ในการสร้างรูปเปรียบของพระองค์ให้พระเจ้าปเสนทิโกศลรับฟังอีกด้วย

อ้างอิง
     * จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    * สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
    * เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดา รโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
    * สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
    * ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล
    * http://www.dhammathai.org/pang/pang.php
    * http://www.lekpluto.com/index02/special06.html
    * http://www.banfun.com/

-----------------------------------------------------------------------------------

ประวัติการสร้างพระพุทธรูป   


      ในระยะแรกหลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนก็ได้นำเอา ดิน น้ำ และใบโพธิ์จากสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน) ตรัสรู้ (พุทธคยา) ปฐมเทศนา (พาราณสี) และ ปรินิพพาน (กุสินารา) เก็บมาไว้เพื่อบูชาคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมามีการสร้างรูปอื่นที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ เช่น ทำดวงตราสัญลักษณ์ประจำสถานที่ต่างๆ ขึ้น ด้วยดินเผาหรือแผ่นเงิน เช่นที่เมืองกบิลพัสดุ์สร้างตราดอกบัว หมายถึงมีสิ่งบริสุทธิ์เกิดขึ้น และตราม้า หมายถึงม้ากัณฐกะ ที่เมืองพาราณสีสร้างตราธรรมจักร มีรูปกวางหมอบอันหมายถึงการแสดงธรรมจักร และพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างเสาหินอโศกไว้ในสถานที่ประสูติ เป็นต้น

       ส่วนการสร้างพระพุทธรูปมีประวัติความเป็นมาดังนี้ คือ ตามตำนานพุทธประวิติกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนธิโกศลแห่งแคว้นโกศล ได้โปรดให้ช่างจำหลักพระรูปเหมือนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นจากไม้แก่น จันทร์ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์ที่เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้น ดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา นับเป็นการสร้างพระพุทธรูปเป็นครั้งแรก แต่ตำนานพระแก่นจันทร์นี้ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพียงตำนานที่ยังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้อย่าง ชัดเจน ถ้าไม่นับพระแก่นจันทร์ก็สันนิษฐานกันว่า พระพุทธรูปนั้น เริ่มสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๗ ตั้งแต่สมัยคันธารราฐ ซึ่งเป็นแคว้นที่อยทางตอนู่เหนือ ของอินเดียโบราณ (ปัจจุบันอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานและตะวันออกของอัฟกานอสถาน) ผู่ริเริ่มสร้างไม่ใช่ชาวอินเดียแต่เป็นพวกโยนก (กรีก) สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์หรือพระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีกแห่งแคว้นคันธาระ หรือคันธาราฐ

   เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชนำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในคันธาราฐ พวกโยนกยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้ามิลินท์มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก แสดงองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจิริญรุ่งเรือง แต่เดิมนั้นพระพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด เพราะในสมัยอินเดียในสมัยนั้นมีข้อห้ามในการทำรูปเคารพ แต่เคยนับถือศาสนเทวนิยมและจำหลักรูปเคารพของเทพเจ้ากลุ่มโอลิมปัสมาก่อน เช่น รูปอพอลโลและซีอุส เมื่อเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ก็เลยจำหลักศิลารูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นเคารพบูชาเป็นครั้งแรก



พระพุทธรูปปางต่างๆ

๑.ปางประสูติ    ๒.ปางมหาภิเนษกรมณ์    ๓.ปางตัดพระเมาลี
๔.ปางอธิฐานเพศบรรพชิต            ๕.ปางปัจเจกขณะ            ๖.ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา
๗.ปางทรงพระสุบิน                    ๘.ปางรับมธุปายาส            ๙.ปางเสวยมธุปายาส
๑๐.ปางเสี่ยงบารมีลอยถาด     ๑๑.ปางรับหญ้าคา            ๑๒.ปางสมาธิเพชร
๑๓.ปางมารวิชัย                    ๑๔.ปางสมาธิหรือปางตรัสรู้ ๑๕.ปางถวายเนตร
๑๖.ปางจงกรมแก้ว                    ๑๗.ปางเรือนแก้ว            ๑๘.ปางห้ามมาร
๑๙.ปางนาคปรก                    ๒๐.ปางฉันผลสมอ            ๒๑.ปางประสานบาตร
๒๒.ปางรับสัตตุก้อนสัตตุผง    ๒๓.ปางพระเกศธาตุ    ๒๔.ปางรำพึง
๒๕.ปางปฐมเทศนา             ๒๖.ปางประทานเอหิภิกขุ    ๒๗.ปางภัตกิจ
๒๘.ปางห้ามสมุทร                    ๒๙.ปางห้ามญาติ            ๓๐.ปางปลงกัมมัฏฐาน
๓๑.ปางชี้อัครสาวก              ๓๒.ปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์    ๓๓.ปางประทับเรือ
๓๔.ปางห้ามพยาธิ                    ๓๕.ปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์    ๓๖.ปางอุ้มบาตร
๓๗.ปางโปรดพุทธบิดา            ๓๘.ปางรับผลมะม่วง    ๓๙.ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์
๔๐.ปางโปรดพุทธมารดา            ๔๑.ปางเปิดโลก            ๔๒.ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
๔๓.ปางลีลา                            ๔๔.ปางห้ามแก่นจันทร์    ๔๕.ปางพระอิริยาบถยืน
๔๖.ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท    ๔๗.ปางสรงน้ำฝน    ๔๘.ปางขอฝน (นั่ง)
๔๙.ปางขอฝน (ยืน)            ๕๐.ปางชี้อสุภะ            ๕๑.ปางชี้มาร
๕๒.ปางปฐมบัญญัติ            ๕๓.ปางขับพระวักกลิ    ๕๔.ปางสนเข็ม
๕๕.ปางประทานพร (นั่ง)            ๕๖.ปางประทานพร (ยืน)    ๕๗.ปางประทานธรรม
๕๘.ประทานอภัย (นั่ง)            ๕๙.ปางโปรดพญาช้างนาฬาคิรี    ๖๐.ปางโปรดพญาชมพูบดี
๖๑.ปางปาลิไลก์                    ๖๒.ปางแสดงโอฬาริกนิมิตร    ๖๓.ปางโปรดอสุรินทราหู
๖๔.ปางโปรดอาฬวกยักษ์            ๖๕.ปางโปรดองคุลีมารโจร            ๖๖.ปางโปรดพกาพรหรม
๖๗.ปางพิจารณาชราธรรม    ๖๘.ปางปลงอายุสังขาร    ๖๙.ปางนาคาวโลก
๗๐.ปางทรงรับอุทกัง    ๗๑.ปางทรงพยากรณ์    ๗๒.ปางโปรดสุภัททปริพาชก
๗๓.ปางปรินิพพาน       


ที่มา  http://www.dhammathai.org/pang/pang.php
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ