ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปัตตานุโมทนามัย ทำบุญด้วยการ"ยินดีในความดีของผู้อื่น"  (อ่าน 5822 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ปัตตานุโมทนามัย ทำบุญด้วยการ"ยินดีในความดีของผู้อื่น"


การอนุโมทนาในส่วนบุญที่ผู้อื่นแบ่งให้ หรือพลอยยินดีด้วยในส่วนบุญที่ผู้อื่นกระทำ ชื่อว่า “ปัตตานุโมทนา"

การอนุโมทนาบุญที่มีผู้แบ่งให้
    คาถาธรรมบท พราหมณวรรค เรื่องพระโชติกะเถระ แสดงไว้ว่า กฎุมพีสองพี่น้อง ในกรุงพาราณสี ทำไร่อ้อยไว้เป็นอันมาก วันหนึ่งกฎุมพีผู้น้องไปไร่อ้อย ถือเอาอ้อยมาสองลำคิดจะให้พี่ชายด้วย ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็มีจิตเลื่อมใสได้ถวายอ้อยในส่วนของตนลงในบาตร ตั้งความปรารถนาว่า

"ด้วยผลแห่งรส (อ้อย) อันเลิศนี้ ข้าพเจ้าพึงได้เสวยสมบัติในเทวโลก และมนุษยโลก ในที่สุดพึงบรรลุธรรมที่ท่านบรรลุแล้วนั่นแล"

    เมื่อท่านฉันแล้ว เขาจึงได้ถวายอ้อย ส่วนที่สอง อันเป็นส่วนของพี่ชายลงในบาตรอีก ด้วยคิดว่า เราจักให้มูลค่าหรือส่วนบุญแก่พี่ชาย พระปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนาแล้ว เหาะไปสู่ภูเขาคันธมาทน์ ถวายน้ำอ้อยนั้นแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าอีก ๕๐๐ องค์ที่ภูเขานั้น กฎุมพีผู้น้องเห็นเหตุการณ์นั้นเกิดปีติ กลับไปเล่าให้พี่ชายฟัง ถึงเหตุนั้น

ถามพี่ชายว่า "พี่จักรับเอามูลค่าอ้อยนั้น หรือจักรับเอาส่วนบุญ" พี่ชายมีจิตเลื่อมใส ไม่รับเอามูลค่า ขออนุโมทนาส่วนบุญจากกกฎุมพีผู้น้องด้วยใจโสมนัส ตั้งความปรารถนาว่า "ขอเราพึงได้บรรลุธรรมที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเห็นนั้นเถิด"


นี่คือตัวอย่างของการที่มีผู้แบ่งบุญให้ที่ชื่อว่า "ปัตตานุโมทนา"

การพลอยยินดีด้วยในบุญที่ผู้อื่นกระทำ
     ในขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ความย่อมีว่า พระอนุรุทธะถามนางเทพธิดาว่า "ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เมื่อท่านฟ้อนอยู่ เสียงอันเป็นทิพย์น่าฟังรื่นรมย์ใจ ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน ทั้งกลิ่นทิพย์อันหอมหวลก็ฟุ้งออกจากกายทุกส่วน เสียงของเครื่องประดับ ช้องผมที่ถูกรำเพยพัดก็กังวานไพเราะดุจเสียงดนตรี แม้พวงมาลัยบนเศียรเกล้าของท่าน ก็มีกลิ่นหอมชวนเบิกบานใจ หอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดูกร นางเทพธิดา อาตมาขอถามว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร"



นางเทพธิดาตอบว่า "ข้าแต่พระคุณเจ้า นางวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้สหายของดิฉัน ที่อยู่ในเมืองสาวัตถี ได้สร้างวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันได้เห็นวิหารนั้น มีจิตเลื่อมใสอนุโมทนาพลอยยินดีด้วยในบุญนั้นของนาง ก็วิมานและสมบัติทุกอย่างที่ดิฉันได้แล้วนี้ เพราะการพลอยยินดีโมทนาบุญของสหายนั้น ด้วยจิตอันบริสุทธิ์อย่างเดียวเท่านั้น"

จากพระสูตรนี้จะเห็นได้ว่า เพียงจิตเลื่อมใสอนุโมทนาในบุญที่ผู้อื่นที่ได้กระทำแล้ว ยังให้ผลเห็นปานนี้ แม้ว่าจะยังไม่มีใครบอกบุญให้ก็อนุโมทนาเช่น เห็นคนกำลังใส่บาตร มีจิตยินดีอนุโมทนาด้วยในบุญนั้น ก็นับเป็นบุญที่ชื่อว่า "ปัตตานุโมทนา"



(เอกสารแจก : วัดพระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=667
ขอบคุณภาพจาก www.our-teacher.com,www.dhammajak.net,www.madchima.org,www.oknation.net



บุญกิริยาวัตถุ สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี,
       หมวด ๓ คือ
           ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
           ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
           ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา ;


       หมวด ๑๐ คือ
         ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
           ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
           ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา
           ๔. อปจายนมัย ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
           ๕. เวยยาวัจจมัย ด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้
           ๖. ปัตติทานมัย ด้วยการเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น

            ๗. ปัตตานุโมทนามัย ด้วยความยินดี ความดีของผู้อื่น
           ๘. ธัมมัสสวนมัย ด้วยการฟังธรรม
           ๙. ธัมมเทสนามัย ด้วยการสั่งสอนธรรม
           ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ ด้วยการทำความเห็นให้ตรง



ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://a8.sphotos.ak.fbcdn.net,http://board.palungjit.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sanwhan

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา กับเรื่องที่ให้ความรู้ประดับ จิต กล่อมเกลาใจ อ่านแล้วรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างที่ตนเองไม่ค่อยได้กระทำ
ก็คือการชื่นชม ในการทำความดี ของผู้อื่น

  บุญที่ทำได้โดยไม่ต้องเสียทรัพย์ หรือ ออกแรง

  ไม่น่าเชื่อบุญอย่างนี้ จัดเป็นบุญใหญ่ มาก ๆ ด้วย


  สาธุ

   :41:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ภาพจาก http://tourwat.com/

ลิงค์แนะนำ
นางวิสาขามหาอุบาสิกา ปัจจุบันอยู่สวรรค์ชั้นไหน..?
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5702.msg21362;topicseen#msg21362
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: "ริษยา" บาปอกุศลด้วยการไม่ยินดีในความดีของผู้อื่น
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2011, 09:31:37 am »
0

กรรมแห่งความริษยา

ความริษยาเกิดจากการขาดมุทิตา (ที่มีลักษณะคือความชื่นชม) หมายความว่า พลอยยินดีในความสุขหรือความสำเร็จของผู้อื่น มุทิตานี้ทำได้ยากกว่ากรุณา บางคนมีเมตตาปรารถนาดี มีความกรุณาสงสาร แต่เจริญมุทิตาไม่ได้ เพราะเราทุกคนมีอนุสัยกิเลสคือความริษยานอนเนืองอยู่ในกระแสจิต น้อยคนนักที่จะกำจัดความริษยานั้นได้

จะต้องฝึกฝนไปเรื่อยๆ จึงจะบรรเทาลงได้ การฝึกฝนนั้นก็ต้องประกอบด้วยโยนิโสมนสิการ คือทำความเข้าใจด้วยเหตุผลว่าความริษยาไม่ก่อให้เกิดคุณใดๆ ผู้มีความริษยานั้นจะได้รับผลคือขาดบริวาร แต่ผู้ที่เจริญมุทิตาโดยกำจัดความริษยาได้ย่อมจะได้รับอานิสงส์คือ มีบริวารห้อมล้อม มีมิตรสหายห้อมล้อม ความริษยานั้นก่อให้เกิดโทษในปัจจุบันและภพต่อไป ไม่ว่าเกิดกับผู้ใดก็ทำให้ผู้นั้นตกต่ำไปตลอด

ยกตัวอย่างกรรมแห่งความริษยาจากพระไตรปิฎก

มีเรื่องเล่าว่าในสมัยพุทธกาล มีพระอรหันต์รูปหนึ่งนามว่า “โลสกติสสะ” ตอนท่านถือปฏิสนธิในครรภ์มารดา บิดามารดาก็ได้รับทุกข์แสนสาหัส บ้านของท่านเกิดไฟไหม้จนสิ้นเนื้อประดาตัว แต่พวกท่านก็อดทนเลี้ยงดูจนเติบใหญ่รู้ความ เมื่อเดินไปไหนมาไหนได้ก็ถูกทอดทิ้งเป็นขอทานอยู่ข้างถนน

วันหนึ่งพระสารีบุตรเถระ เห็นเข้าก็สงสาร พระสารีบุตรได้หยั่งรู้ว่าเด็กคนนี้เคยสั่งสมบารมีธรรมมาในชาติปางก่อน จึงได้นำตัวมาวัดแล้วให้บวชเป็นสามเณร ต่อมาท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุชื่อโลสกติสสะ ภายหลังเจริญวิปัสสนากรรมฐานแล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์

ตั้งแต่ท่านเกิดมาจนกระทั่งบรรลุอรหัตผล ไม่เคยกินอิ่มแม้สักวันหนึ่งเลย ทั้งนี้เพราะเวลาที่ท่านบิณฑบาตอยู่ เมื่อคนใส่บาตรท่านแล้วอาหารหายไปเองก็มี หรือแม้จะมีอาหารอยู่พียงเล็กน้อยแต่คนอื่นกลับเห็นอาหารอยู่เต็มบาตรเลยไม่ถวายอีกก็มี ซึ่งอกุศลกรรมนี้เป็นผลของความริษยา

เรื่องราวในอดีตชาติของพระภิกษุชื่อโลสกติสสะ มีว่า สมัยหนึ่งเมื่อพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก พระโลสกติสสะนี้เคยบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นภิกษุผู้ทรงศีล วันหนึ่งพบพระเถระรูปหนึ่งที่เป็นพระอรหันต์เดินทางมาจากแดนไกล พระโลสกติสสะไม่ทราบว่าพระรูปนี้สำเร็จสมณกิจแล้ว ท่านเกรงว่าโยมอุปฏฐากจะเลื่อมใสพระอาคันตุกะรูปใหม่ ด้วยความริษยาจึงแกล้งทำให้พระอาคันตุกะนั้นอดอาหารหนึ่งมื้อ ผลกรรมนี้ส่งผลให้ท่านตกนรกเป็นเวลานาน แล้วมาเกิดเป็นคนที่ไม่เคยกินอิ่มเลย

เมื่อท่านใกล้นิพพาน พระสารีบุตรหยั่งรู้ว่าท่านจะนิพพานในวันนั้น จึงใช้คนนำอาหารไปให้ท่าน เพื่อจะได้ฉันอาหารอิ่มก่อนนิพพาน แต่ด้วยผลกรรมเก่าทำให้คนนำอาหารลืมเสียแล้วเททิ้ง ต่อมาพระสารีบุตรนึกขึ้นได้ให้คนไปถามว่าฉันอาหารหรือยัง ท่านตอบว่าวันนี้ไม่ได้ฉันอะไร พระสารีบุตรจึงนำยาจตุมธุไปให้ท่านฉัน โดยพระสารีบุตรได้จับบาตรไว้ตลอดเวลาที่ท่านฉันอยู่ หากไม่จับไว้ยาจตุมธุอาจหายไปจากบาตรด้วยผลกรรม พระโลสกติสสะฉันอิ่มวันนั้นเพียงวันเดียวแล้วปรินิพพานในวันนั้นเอง

จะเห็นว่าผลของความริษยานั้นส่งผลในปัจจุบันและอนาคต สามารถติดตามให้ผลจนถึงช่วงเวลาที่จะนิพพานอีกด้วย และที่ผลของความริษยาที่เกิดขึ้นกับพระโลสกติสสะอย่างรุนแรง ทำให้ถึงกับตกนรกและมีผลมาจนถึงวันแห่งปรินิพพานนั้น เพราะท่านทำกรรมที่เกิดจากความริษยากับพระอรหันต์นั่นเอง

การทำกรรมไม่ดีกับผู้มีศีล ผู้มีบุญ ผู้มีคุณ ผู้เป็นพระสุปฏิปันโนขึ้นไปจนถึงพระอรหันต์ จึงเป็นบาปมากกว่าผู้ทุศีล ผู้ไม่มีบุญ ผู้ไม่มีคุณ แต่จะทำกรรมไม่ดีกับใครก็ตามเป็นบาปทั้งหมด จะบาปมากบาปน้อยก็แล้วแต่มีเจตนาหรือไม่มีเจตนา จะทำกับผู้มีคุณสูงหรือทำกับผู้ไม่มีคุณสูง ผลแห่งกรรมจะได้รับแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัยนั่นเอง




http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13624
http://www.arpakorn.com/webboard/show.php?Category=2519&No=252
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2011, 10:03:54 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา