ธรรมะสาระ > สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน

อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (ฉันทะ)

<< < (2/2)

PRAMOTE(aaaa):
ขอสรุปกระทู้นี้ เพื่อเข้าในรูปแบบ ของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ
   ตรงหัวกระทู้ที่คุณ Admax ยกมา สมาธิสูตรนี้ เป็นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ โดยตรง ซึ่งประกอบด้วย สมถะ และ วิปัสสนาแล้ว
     ก็คือได้กรรมฐานสองส่วน  คือได้ ปีติ ยุคคล แต่ยังไม่เข้าถึงสุข ก็ยังติดอยู่แค่มรรค ขึ้นได้เต็มที่ แค่ นิพพิทา ต้องเข้าวัดออกวัด เข้าสะกด กันต่อ จนขึ้น อานาปา ญาณยถา(เห็นตามความเป็นจริง)จึงจะมา เพราะยถาอยู่ระหว่างสองส่วน
            แต่ ยถาภูตญาณ ที่เป็นช่วงเวลาระหว่าง ยังไม่มี ผลเกิดขึ้นในช่วงต้น
       เพราะต้องเข้าสู่รูปวัตถุสิบหกรูปลมหายใจ ยาว สั้น หยุด และญาณสติสองร้อย ตามญาณในอานาปาสุดยอดที่สุด  ที่ครูบาอาจารย์บอกก็เข้าถึงกาย อรหัตตมรรค กายอรหัตผลเลยทีเดียว
   นั่นคือ ข้อสรุปท้ายสุดของพระสูตรนี้
        และคําตรัสของพระตถาคต เกี่ยวกับ การหงายของที่ควํา เปิดของที่ปิด
            มีวิชาธรรมของหลวงปู่ที่อิงคําสอนนี้ได้หลายวิชา เช่น  วิชาสุริยกลา จันทกลา
           วิชาจักรสุกิตติมา หงายจักร ควําจักร
           วิชาธาตุภูสิโต เรียกภูติเข้าตัว ปล่อยภูติออกตัว มหาภูติรูป ดิน นํา ลม ไฟ(หรือวิชาพหุธาตุ) เก็บๆมาเล่านะไม่ได้รู้เอง เพราะยังไม่มีธรรมตรงนั้น
                เปรียบเทียบมา เปรียบเทียบไป ครูอาจารย์บอกไว้ว่า พระนิพพานไม่มีเปรียบเทียบ เพราะไม่มีของคู่จะเอาอะไรไปเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบก็ยังใช้ความคิด ก็ไม่พ้น สังขตะ(สังขาร)
 อยู่ในสังขารชื่อว่ายังอยู่ในอวิชชา ก็ยังไม่พ้น อวิชชา
                ก็ว่ากันไป
   

Admax:
สาธุ ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้เกียรติแสดงความคิดเห็นในกระทู้นี้ครับ เป็นประโยชน์อย่างมากแก่ผมและบุคคลผู้ปฏฺบัติธรรมทั้งหลาย

- โดยนัยยะที่ผมอยากแสดงในกระทู้นี้ เรียกว่า ความอยาก ความพอใจ ความยินดี ใน อิทธิบาท ๔
มีฉันทะที่อยากจะทำใน กุศล อยากจะปฏิบัติในกุศล ตั้งใจจะเพียรในกุศล เพื่อจะละอกุศลที่มีแก่จิตตน เหมือนเป็นการใช้เกลือจิ้มเกลือ
- เหมือนเวลาที่เรานั้นคิดเรื่องที่เป็นอกุศลอยู่นั่นคือ ความคิดที่เป็นไปใน รัก โลภ โกรธ หลง // แต่เมื่อเรามีสติเกิดขึ้นรู้ว่ากำลังคิดอะไรที่ไม่ดี ก็จะเกิดวิตกเจตสิก(ความคิด)เกิดประกอบตามสติเจตสิกขึ้นมาเป็นกุศลที่เรียกว่า ความคิดชอบ ย้อนพิจารณาทบทวนเพื่อดับวิตกเจตสิกที่เป็นอกุศล (ผมเข้าใจความหมายของพระสูตรนี้เช่นนี้ไม่ได้ลงลึกอะไร)

ดังนั้น

ฉันทะ คือ ความอยาก ยินดี ที่เกิดขึ้นพร้อมกับความโลภ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ย่อมก่อเกิดตัณหา
ฉันทะ คือ ความอยาก ยินดี ที่เกิดขึ้นพร้อมกับเมตตาจิตเป็นต้น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ย่อมก่อเกิดเป็นกุศลจิต

จะเห็นว่าในความติดข้องใจทุกอย่างจะมีฉันทะเกิดอยู่ด้วยเสมอ แต่จะติดข้องใจในสิ่งดีหรือสิ่งไม่ดีอยู่ที่เราสืบต่อฉันทะเจตสิกออกมาเป็นแบบไหน

หากธรรมที่เป็นฉันทะนี้ไม่มีประโยชน์แต่ประกอบด้วยตัณหาอย่างเดียวในส่วนเดียว คำสอนที่มีใน อิทธิบาท ๔ ย่อมไม่เหมาะกับผู้ปฏิบัติในศาสนาพุทธ ก็หมายความว่าพระพุทธเจ้า ที่เป็นพระศาสดาไม่ได้เป็นแค่พระโสดาบัน แต่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นบุคคลที่สอนผู้อื่นให้รู้ตามแล้วบรรลุอรหันต์ เป็นที่บูชาของเทวดา มาร พรหม และ มนุษย์ทั้งหลาย ตรัสสอนผิด ทรงตรัสสอนธรรมปลอมที่เป็นไปเพื่อตัณหาใช่ไหมครับ

ดังนั้นควรแยกสภาพจิตที่มีความยินดีที่เป็น กุศล กับ อกุศล ให้ออก จะมองเห็นว่า ฉันทะนี้เกิดให้ดับอกุศลได้
เพราะมีทั้ง กุศลฉันทะ และ อกุศลฉันทะ

1. อยากทะยานที่จะเรียนรู้ปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นจากการเสพย์ใคร่ได้อารมณ์ที่พอใจยินดี เพื่อออกจากกองทุกข์

กับ

2. อยากที่จะปฏิบัติกระทำเพื่อให้ได้เสพย์อารมณ์ตามที่ใจทะยานใคร่พอใจยินดี

สรุปแล้วหากทั้ง 2 ข้อนี้ คือ ความอยากที่เป็นสิ่งไม่ดี ฉะนั้น อิทธิบาท ๔ ไม่ใช่ธรรมจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ดังนั้นเราไม่ควรกระทำในอิทธิบาท๔ เพราะเป็นธรรมปลอมที่หาคุณประโยชน์ไม่ได้

ท่านทั้งหลายคิดอย่างผมไหมครับ

VongoleX:
จะกล่าว ฉันทะ เป็นตัณหา นั้นยังไม่ได้จริง ๆ เพราะ

   ฉันทะ มีสองสาย สายหนึ่งเป็นไปเพื่อ อวิชชา อันนี้เขาใช้คำว่า กามฉันทะ

   ฉันทะ อีกสายหนึ่งเริ่มต้นด้วยวิชชา อันนี้เรียกว่า สมบูรณ์ด้วยปัญญาเป็นไปเพื่อการจากคลาย

   ถึงแม้จะเรียกชื่ออย่างไร ผลของฉันทะ นั้นก็คือ ความพอใจ และต้องการส่วนหนึ่ง

   หลายท่านอาจจะอธิบายว่า การต้องการพ้นจากทุกข์เป็น ตัณหา เพราะผลคืออยากเป็น เหตุคือความทุกข์

   ถ้ากล่าวอย่างนี้ ยังนับว่า เป็นความเห็นระดับเบื้องต้น ผู้เห็นแบบนี้ส่วนใหญ่จะไม่ภาวนา และ ไม่สนใจในการ

   ภาวนา จึงตีค่าการภาวนาเป็นไปอย่างนั้น

       :49:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว