ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วัดพระธาตุเจดีย์หลวง เชียงใหม่ เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต  (อ่าน 1721 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


วัดพระธาตุเจดีย์หลวง เชียงใหม่ : คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ศูนย์กลางของจักรวาลทัศน์ของอาณาจักรล้านนาในอดีตก็คือวัดพระธาตุเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดพระธาตุที่เจดีย์สูงที่สุดในอาณาจักรล้านนา

คาดกันว่าสร้างในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมาก กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ช่วงราวพ.ศ.1928-1945 มีความสูงของเจดีย์ประมาณ 80 เมตร มีฐานกว้างประมาณด้านละ 60 เมตร

ตามคติของศูนย์กลางจักรวาลทัศน์คือ เขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาลอันเป็นการชี้ให้เห็นความเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรหรือศูนย์กลางแห่งอำนาจ ลักษณะของศูนย์กลางจักรวาลที่นอกจากจะมีเจดีย์หลัก อันหมายถึงเขาพระสุเมรุเป็นสำคัญ


 :96: :96: :96: :96:

พระธาตุเจดีย์หลวงองค์นี้ยังมีรูปแบบเช่นเดียวกับเจดีย์วัดมหาธาตุทั่วไป คือมีซุ้มที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่แทนองค์พระพุทธเจ้า 4 พระองค์ที่อุบัติในภัทรกัลป์นี้มาแล้ว ก็คือ พระกุกะสันโธพุทธเจ้า พระโกนาคมพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า และพระสมณโคดมพุทธเจ้าหรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์ของชั้นสวรรค์ และบรรดาสัตว์ในหิมพานต์ เช่น มีบันไดนาค 5 หัว 8 ตัว ราชสีห์ที่มุมของมหาเจดีย์ 4 และช้างค้ำ (ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์) อยู่ที่ฐานของเจดีย์ เป็นต้น

วัดพระธาตุเจดีย์หลวงองค์นี้ถูกแผ่นดินไหวหักลง ในปีพ.ศ.2088 เป็นเหตุให้พระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ที่ซุ้มจระนำเจดีย์นี้ตกลงมา


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

พระไชยเชษฐาแห่งกรุงเวียงจันทน์ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตพระองค์นี้ไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้วเวียงจันทน์ ภายหลังพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสมัยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นผู้อัญเชิญมายังกรุงเทพฯ

การหักพังทลายของวัดพระธาตุเจดีย์หลวงในครั้งนั้นได้ทำให้เกิดการทิ้งร้างพระธาตุองค์นี้นานโดยไม่มีการบูรณะซ่อมแซมถึงเกือบ 400 ปี จนในปีพ.ศ.2471-2481 พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐปฏิสังขรณ์โดยการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง กระทั่งปีพ.ศ.2533-2535 กรมศิลปากรบูรณะขึ้นใหม่ทั้งหมดตามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd09UUXlPVE0xTmc9PQ==   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 01, 2014, 07:34:52 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ