สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 20, 2016, 05:14:52 am



หัวข้อ: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 20, 2016, 05:14:52 am
ตามที่หลายท่าน สอบถามกันมาเรื่องการฝึกกรรมฐาน ควรใช้เวลามากน้อยขนาดไหน ควรจะฝึกอย่างไร วันนี้จะเล่าประวัติการฝึกกรรมฐาน ของฉันให้ไว้พิจารณากัน ว่า มันเสียเวลา อะไรบ้าง
(http://www.madchima.net/images/373_100_5445.JPG)
สรุปการฝึกกรรมฐาน ดังนี้
2527 ขึ้นกรรมฐาน กับพระอาจารย์เฒ่า ตอนเป็นสามเณร ภาวนา พุทโธ และ เรียนการเดิน โดยใช้ บทอิติปิโส ถอยหลัง
บวชสามเณร ปี พ.ศ.2523 และมาอยู่ศึกษาธรรมะกับหลวงพ่อจรัล สุญญกาโม ( ท่านเป็นคนเชียงใหม่ ) ชอบใจฟังธรรมะกับท่านเพลินดี ก็เรื่องสัพเพเหระเรื่อยเปื่อยไปตามวิสัยเด็ก มาอยู่ที่นี่ปี พ.ศ.2527 เดิมทีอยู่วัดดาวเสด็จ กับท่านพระอาจารย์รำลึก ศูนย์การเผยแพร่ศีลธรรม ที่นั้นตอนนั้น ก็เผยแพร่ศีลธรรม ตอนนั้นอายุน้อยแต่ก็ชอบการภาวนาเห็นรูป หลวงปู่มั่น ชอบมากเอาไปติดไว้บนหัวนอนทั้ง ๆ ที่ไม่รู้จักกัน แต่ หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ก็ได้ยินชื่อตอนนั้นแต่ก็ไม่รู้จัก แต่ส่วนตัวก็ชอบชื่อท่าน วันที่พบพระอาจารย์เฒ่า นั้นท่านเดินธุดงค์ผ่านมา แล้วขอน้ำดื่ม ก่อนไปท่านก็สอนกรรมฐาน และรับขึั้นกรรมฐาน โดยให้ว่าตาม ตอนนั้นไม่ได้รู้สึกศรัทธาอะไรเลย แต่เห็นว่าท่านมีความปรารถนาดี อยากสอนให้ก็เลยทำตามท่านไปอย่างนั้น แต่ก็ถือได้ว่า ขึ้นกรรมฐานครั้งแรก ในชีวิตเลยตอนนั้น คำที่ท่านนำ จำได้แต่เพียงเรื่องขอขมา เพราะว่า ว่ายาวหน่อยก็คือคำสมาทานกรรมฐาน แบบวัดพลับ ตอนนั้นท่านให้ฝึกภาวนา พุทโธ โดยให้กำหนดจิตที่ สะดือ แล้วอธฺิษฐาน ขึ้นมาไว้ที่ ฐานที่ 4 อุพเพงคาปีติ แล้วอธิษฐานการเดิน พร้อมสวด พุทธคุณถอยหลัง ท่องอยู่สามเดือนจึงว่าได้


2526 ตั้งใจไปเรียน วิสุทธิมรรค กับ หลวงพ่อกิตติวุฑโฒ แต่ไปถึงที่นั้่นกลายเป็นเรียนสอนอาชีพ สอนช่างไปแทนไม่ชอบ ก็เลยหาตำราอ่านเอาสมัยนั้นฟังเสียงท่าน แต่ก็ไม่ค่อยได้อะไร ตอนอยู่วัดดาวเสด็จหลวงตาท่านขอบเปิดวิทยุรายการธรรมะ จากสถานียานเกราะ 792 ให้ฟังประจำทุกวันเปิดฟังทั้งวัน พอรายการ 19:30 ก็เป็นเสียงของ หลวงพ่อกิตติวุฑโฒ สอนเรื่อง วิสุทธิมรรค ฟังไม่เข้าใจหรอกตอนนั้นแต่ก็ชอบฟัง และท่านเจ้าคุณ โชดก ( ทราบชื่ออย่างนี้ตอนนั้น ) ก็ชอบฟัง ก็เลยสนใจอยากศึกษาหลักธรรมตอนนั้น หลวงพี่ท่านหนึ่ง ( ลืมชื่อ )ท่านมาศึกษาการเผยแพร่ศีลธรรมที่วัดดาวเสด็จ แล้วท่านก็ชวนไป จิตตภาวันวิทยาลัย บางละมุง ชลบุรี ท่านพาไป ตอนนั้นอายุ 14 ปี ตัวเล็กอ้วน ๆ ไปถึงนอนอยู่ สองสามคืน ไปฉันข้ามต้มกับถั่วแดง ผักกาดดองที่นี่ แต่สามเณรที่ไปเจอกันไม่มีใครพูดเรืองธรรม มีแต่พูดแต่วิชาชีพ ช่างไฟ ช่างเชื่อม ช่างทีวี ช่างวิทยุ นัยว่าที่จิตภาวันสอนแต่วิชาพวกนี้ ไต่ตรองแล้วไม่ใช่จริตวิสัยตอนนั้นก็เลยบอกหลวงพี่ที่พาไป ว่าจะกลับวัด ก็เดินทางกลับมาองค์เดียว เก่งมากนะ นั่งรถเมล์ไปเยี่ยม หลวงพ่อที่วัดแหลม ฉะเชิงเทรานอนเล่นอยู่คืนหนึ่ง ก็ลาท่านกลับวัด ช่วงนั้นเป็นสามเณรหลวงตา หลวงลุง หลวงปู่ หลวงพี่ ท่านเมตตา ชอบพาไปเที่ยวด้วย ก็เลยขอบเที่ยวแบบเด็ก


2528 - 2532 ไปเรียน อานาปานสติ ที่สวนอิทัปปัจจยตา และสวนโมกข์ อาจารย์ที่สอน มีหลายท่านมาก ตอนนี้เป็นช่วงหนักไปในแนวทางปัญญา มาก ทิ้งเรืองสมาธิ ดำเนินชีวิตไปแนว เซ็น ( ชอบมาก สมัยนั้น ) สำหรับประวัติช่วงนี้ยาวมากเพราะมีเหตุการณ์เยอะ ครูอาจารย์ก็เยอะ ไปตามความเอ็นดู ของครูอาจารย์แต่ละรูป ช่วงนี้เดินทางไปมาบ่อยคือ วัดธารน้ำไหล วัดชลประทาน ธรรมสถานอิทัปปัจจยตา ศาลาพระพุทธพิทยาจารย์ ลำปาง สนส.ธรรมสถานหาดทรายแก้ว อันนี้หลัก ๆ
พอไปอยู่ที่สวนอิทัปปัจจยาตา ก็ผิดหวังน้อย ๆ เพราะที่นี่ พระไม่พูดเรื่องการฝึกสมาธิกันเลยมีแต่พูดเรื่องหลักธรรม อิทัปปัจจยาตา ปฏิจสมุปบาท สัพเพเหระ ไปกันหมด แต่ในใจก็อยากเรียนกรรมฐานมากกว่า ก็ยังไม่ได้ไปไหนมาไหน ตอนนั้นพระอาจารย์ถวิล สุญญธาตุ ท่านมาบรรยายธรรมที่ สวนอิทัป หลวงพ่อจรัล เห็นว่าไม่ควรปล่อยเณร ไว้ในป่ารูปเดียว ก็เลยฝากฝังให้เป็นศิษย์ไปอยู่ทีลำปาง ท่านก็ไม่ค่อยอยากรับเพราะไม่อยากเป็นภาระ ดูแลฉันตอนนั้น พอไปถึงที่ลำปาง ก็มอบหมายให้พระอาจารย์วิรัช รวิวังโส มาเป็นครูสอนนิสัย ท่านก็สอนเรื่องสวดมนต์แปล สอนเรื่องสมุนไพร สอนเรื่องปลูกผัก ทำอาหาร เพราะเห็นฉันอายุแค่ 15 ปี เริ่มเป็นหนุ่ม แต่ไม่ประสี ประสาทางโลก แต่ฉันไม่ค่อยชอบ โยมมานิตย์ สุทธจิตต์ อาจารย์ สอนภาควิชาปรัชญา วค.ลำปางก็เลยมาสอน เรื่องการจัดทำนิตยสาร ตอนนั้นหนังสือ นิตยสารที่เขาจัดทำก็คือ หนังสือดักแด้แก้ดักดาน ให้ฉันพิมพ์ หัดพิมพ์ หัดโรเนียว หัดเข้าเล่ม หัดใส่ซอง ส่งไปรษณีย์ ทำทุกเดือน ๆ ละเล่ม และก็สอนทักษะการพูด พาไปจัดรายการวิทยุ และ รายการ ทีวี ช่อง 8 ลำปาง และส่งฉันไปเรียน หลักสูตร บรรณารักษ์ เพื่อมาจัดการห้องสมุด ที่ศาลา แต่ฉันก็ไม่ชอบเรื่องการเผยแพร่ พระธรรมเลยชอบกรรมฐาน พระอาจารย์ถวิล สุญญธาตุ ท่านก็เลยมาสนทนากับฉันเป็นไฟนอล คือจะเลิกสอนวิชาการเผยแพร่ธรรมให้ แล้วให้พิจารณาเลือกเอาว่าจะให้ชีวิตไปอย่างไร คิดดูสิ สามเณรอายุ 15 ปี ให้เลือกว่าจะเอาการเผยแพร่ธรรม หรือ จะเลือกปฏิบัติกรรมฐาน คืนนั้นตอบแบบไม่ลังเล ว่า ขอเลือกกรรมฐาน ท่านก็เลยไปหยิบหนังสือ อานาปานสติ มาให้เล่มหนึ่งปกดำ ของหลวงพ่อพุทธทาส บอกว่าให้ยืมอ่านนะ ถ้าไม่อ่านแล้วเอามาคืน พอได้รับมาฉันก็นั่งอ่านทั้งวันทั้งคืน อีกสัปดาห์ ก็เริ่มฝึกอานาปานสติ ตามแบบหนังสือ แต่ไม่ได้ผลอะไรเลย เหมือนไม่ถูก ทำไม่ถูกก็อ่านกลับไป กลับมา อีกอาทิตย์ ก้เอาหนังสือไปคืน แต่เพราะจดจำขั้นตอนทั้ง 16 ได้แล้ว แต่เพราะว่าฝึกไม่ก้าวหน้า แต่นิสัยก็ยังชอบภาวนา พุทโธ มากกว่า ดูลมหายใจเข้าออก ก็เลยกลับมาที่ พุทโธ แบบเดิม จากนั้นฉันก็ถูกลอยแพ อาจารย์ถวิล ท่านไปอยู่ที่อื่น ทิ้งให้ฉันอยู่กับ อาจารย์วิรัช เนื่องด้วยอาจารย์วิรัช ท่านไม่อยากได้ศิษย์อยู่ด้วย และท่านเป็นชาวใต้ ท่านไม่ค่อยชอบคนภาคกลาง ก็เลยอยู่แบบถูกปล่อย อยากทำอะไรก็ทำไป ฉันก็เลยติดตาม อาจารย์เบิ้ม ไปที่สมุทรปราการ ไปศึกษางาน เป็นพี่เลี้ยงสามเณร แต่ก็ไม่ขอบงานพูด ก็เลยได้โอกาส ติดตามอาจารย์สงวน จันทะวังโส ไป ธรรมสถานหาดทรายแก้ว สงขลา ไปถึงที่นี่ ท่านก็บอกว่า อย่าอยู่อย่างนี้เลยอายุยังน้อยให้ไปเรียน บาลี หรือ วิชาทางโลก ก็เลือกเอา ตอนนั้นเราก็อยากฝึกกรรมฐาน บรรยากาศที่หาดทรายแก้ว ดีมาก เดินจงกรมบนชายหาด ดูพระอาทิตย์ขึ้นลง ดูน้ำทะเล ฟังเสียงลม เหมือนอยู่บนเกาะ ๆ หนึ่งนั่นเอง แต่สุดท้าย ก็เลือกไปเรียน บาลี ที่ในเมืองสงขลา และก็เรียนนักธรรม จนจบนักธรรมชั้นเอก ช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังเริ่มเป็นหนุ่ม ครูอาจารย์ก็เลยมีหลายองค์ และการเดินทางไปมากลับสวนโมกข์ มีบ่อยมากขึ้น ซึ่งมีครูอาจารย์อีกหลายรูปหลายองค์ที่ยังไม่ได้เอ่ยชื่อ แต่ที่ไม่เอ่ยนั้นก็เพราะว่า ท่านไม่ได้สอนกรรมฐานให้ ไม่ใช่วิชาเป็นที่พึ่งในการละกิเลสได้จริง ๆ แต่ช่วงนี้วิถีเซ็นมีมาก ได้ติดต่อขอรับหนังสือจาก ธัมมานันทะ เรือ่ง ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น ก็ชอบใจแนวคิดด้านนี้ รวมถึง ที่สวนโมกข์ เวลาพูดกันส่วนมากจะพูดแบบปรัชญา แบบเซ็น ยิ่งอ่านหนังสือ เว่ยหล่าง ฮวงโห ที่หลวงพ่อพุทธทาส ท่านพูดไว้ ก็หนักไปทางด้านปัญญา ก็เสียเวลาจริง ๆ กว่าจะรู้ตัวก็ บวชพระอายุ 21 ปี จึงหันกลับมาเดินธุดงค์ โดยเดินจากสงขลา กลับมา สระบุรี ช่วงนี้ 1 ปี  2เดือน ได้ประสบการณ์มากมายจริง ในตอนเดินแต่ กรรมฐาน ไม่ก้าวหน้า มีความรู้สึกว่า มันไม่ใช่ ถ้ายังฝึก อานาปานสติในแนวทางปัญญามาก ๆ ไม่มีทางจะได้ ฌานจิตเลยจึงอำลา แนวทางสวนโมกข์ ตั้งแต่นั้นมา ประกอบกับเบื่อวงการพระสงฆ์ ที่ไม่ได้ปฏิบัติ เห็นแล้วขัดหู ขัดตา ขัดใจมาก พระปฏิบัติดี ๆ ก็จะถูกเบียดเบียนสมัยก่อนหาว่าบ้า ถ้าเราบอกว่า จะพยายามภาวนาเพื่อไปนิพพาน อย่างนี้เขาบอกว่าบ้า เป็นต้น


2529 ไปเรียน กรรมฐานสายยุบหนอพองหนอ ที่วัดมหาธาตุ สมัยนั้นฟังจากรายการ ยานเกราะ792 แล้ว ชอบ
เหตุการณ์ที่ชอบเพราะฟังรายการประจำ ก็เลยพยายามไปเรียนการฝึก ยุบหนอพองหนอ แต่สมัยนั้น ไม่มีใครรับรองให้เนื่องด้วยเป็นสามเณรด้วย ไปถึงเขาก็ให้กลับ บอกว่าให้บวชเป็นพระก่อน สัก 5 - 10 พรรษา แล้วค่อยมาเรียน หลักสูตร วิปัสสนาจารย์ ผิดหวังเหมือนกันแต่การสอนแบบนี้ ก็มีสอนหลายที่ ดังนั้นจึงติดตามฟังอ่าน และศึกษากับที่อื่น การเดินจงกรมสมัยก่อน ก็เดินด้วย หนอ  ๆ นี่แหละ

2529 เรียนภาวนา พุทโธ แบบสายป่า (เจอพระสายป่า ธุดงค์มาที่สำนักขณะนั้น ท่านสอนให้ก็เรียนไปอย่างนั้น )
ครูอาจารย์ที่พบกันที่วัดมหาธาตุ ท่านเข้ามาศึกษาวิชา วัปัสสนาจารย์ ท่านสงสารเห็นสามเณรอยากเรียน กรรมฐานแต่ขณะนั้น เขาไม่รับสามเณรให้เรียนกรรมฐาน และไม่มีสังกัดรับรองมา ด้วยท่านสงสารก็เลยเรียกไปอยู่เป็นเพื่อนเท่าน แล้วท่านก็สอน การภาวนาแบบสายพระป่า คือ พุท เข้า โธ ออก ซึ่งก็เคยทำมาอยู่แล้ว แต่ท่านสอนวิธีการเดินจงกรรมให้ด้วย และก็สอนแบบ ยุบหนอ พองหนอให้ด้วย ก็ขอบคุณท่าน แต่ลืมชื่อไปแล้ว นึกไม่ออก ว่าอยู่วัดไหน จำได้ว่า บุรีรัมย์ เคยไปบ้านท่านครั้งเดียว

2530 ไปเรียน เนสัชชิกธุดงค์ ที่เขาชัยสน พัทลุง กับหลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต
อันนี้ต้องบอกว่า ชอบจริง ๆ มาก และตั้งใจไปหาท่านโดยตรง ตอนนั้นอ่านหนังสือ โพธิญาณ แล้วมีบทความแนะนำ หลวงปู่เปลื้อง พัทลุง เขาชัยสน ก็เลยถือโอกาสเดินจากธรรมสถานหาดทรายแก้ว ข้ามทะเลสาปสงขลา ที่ สทิงพระ เดินสามวันถึงไปวัดท่าน ๆ ให้การต้อนรับอย่างประทับใจมาก จริง ๆ ทั้งที่ตอนนั้นเป็นสามเณรอยู่ แต่ท่านต้อนรับขับสู้ อย่างกับลูกหลานท่านเลย ฟังท่านสอน เห็นท่านนั่ง แล้วชื่นชมความเพียร

2532 - 2545 ทิ้งเรื่องกรรมฐาน ทั้่งหมดเลย ไม่เอาเนื่องด้วยไม่ค่อยว่าง ทำงาน

2540 เรียน มุตโตทัย และไปร่วมปฏิบัติ ที่วัดธรรมมงคล ตั้งแต่ วิทิสาสมาธิ นิรสาสมาธิ ชินนสาสมาธิ( สมัยนั้นรู้สึกจะมีคำว่า ครุกรรมฐาน นะ แต่ไม่ได้สนใจ ) ตรงนี้เป็นช่วงไม่สนใจเรื่องกรรมฐาน แต่ไปเพราะเพื่อนชวนไป

2543 ถึงแม้จะไม่ค่อยสนใจเรื่องกรรมฐาน ช่วงนี้แต่ที่ปฏิบัติง่าย ๆนั้นก็เลือกศีกษาอยู่ ที่เลือกไว้ขณะนั้น คือ แบบ พุทโธสายป่า โดยศึกษาที่วัดป่าสาลวัน โคราช ช่วงนี้เป็นช่วงที่เดินทางไปมาหาสู่ กับครูอาจารย์ สายวัดป่า นั่นก็คือสายวัดธรรมยุติ อาทิวัดวัดเทพพิทักษ์ กลางดง วัดวชริราวุธปากช่อง วัดถ้ำเขาพรหมจรรย์ ปากช่อง สำนักภาวนาหลวงปู่แบน ปากช่อง ศูนย์ฝึกปฏิบัติ สุขกาโร ปากช่อง วัดสังฆทาน นนทบุรี วัดธรรมมงคล กทม วัดอโศการาม สมุทรปราการ เป็นเพราะว่า เพื่อนชักนำบ่อยๆ แต่ประทับใจเรื่องคำสอน ทั่วไป คือ เจ้าคุณระแบบ วัดบวรนิเวศ และ การสอนพุทโธ โดยหลวงพ่อพุธ เท่านั้นนอกนั้นไม่ค่อยสนใจ ถึงแม้ว่า บางท่านกล่าว่า หลวงปู่เทสก์ เก่งเรื่องฌาน แต่ก็ไม่สนใจที่จะไปหา เพราะว่าพอแล้วกับสายนี้ แต่ก็มีที่ศรัทธา บุคคลเลย แบบที่เคารพจริง ก็มี หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิม หลวงปู่ฝั้น หลวงพ่อพุธ และ พระสัังฆราช พระญาณสังวร องค์ที่ 19 เจ้าคุณระแบบ ก็มีเท่านี้แหละที่ชอบ

2545 เรียนจงกรมธาตุ กับ หลวงปู่..........( อันนี้เล่าให้ไม่ได้ )

2546 ไปขึ้นกรรมฐาน ที่วัดพลับ กับ พระครูสังฆรักษ์ วีระ ( ปัจจุบัน คือ หลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร ) ขึ้นกรรมฐานครั้งนั้น หลวงพ่อท่านไม่ได้สอน พุทธานุสสติให้ฉัน แต่สอนเป็น การเดินจิตเข้ากายทิพย์ จบไปจบ กายพระอรหัต ใช้เวลาเรียนวันนั้น 3 ชม.

2547 เรี่มศึกษา มโนมยิทธิ จากวัดเขาวง และ ไปวัดท่าซุง ต่อมาก็ไปบ้านสายลม ด้วยกัลยาณมิตร คือคุณดนัย เนื่องจากเมื่อก่อน เป็นผู้ภาวนาในสายสวนโมกข์ จะไม่ีค่อยเชื่อเรื่อง ฌาน เรื่อง อิทธิฤทธิ์ ดังนั้นสมัยนั้นมีอคติ กับ วัดท่าซุง หลวงพ่อฤาษีลิงดำ อยู่พอสมควรแต่การไปเรียนศึกษาครั้งนี้ เพราะว่าผ่านเหตุการณ์ของชีวิตที่สำคัญมาแล้ว มันถูกถอดเรื่องอคติ ไปตั้งแต่เหตุการณ์นั้น

2547 เริ่มศึกษา กรรมฐาน วัดถ้ำขวัญเมือง ชุมพร หลวงปู่สรวง และ พลอยติดไปศึกษาปฏิบัติที่ วัดถ้ำสุมโณ พัทลุง อันนี้เกิดจากการแนะนำของ ท่านเจ้าสำนักสงฆ์ท่ามะปราง แก่งคอย สระบุรี เพราะไป ในสายใต้

2547 ไปศึกษา กรรมฐานที่วัดเขาสมโภชน์ การเดินลม วิชาธรรมเปิดโลก และได้สนทนาธรรม กับหลวงพ่อเจ้าสำนัก ที่วัดถ้ำรัตนบุปผา มวกเหล็ก

2547 ไปวัดยานนาวา ศึกษาเรียน กสิณสี ฝึกสิณสีแดง และ ขาว เป็นหลัก ชอบแค่สองสี เพราะช่วงนี้สนใจเรื่องกสิณ มีการดวงกสิณแผ่น อคริลิก และทำแท่นเหล็กวางแผ่นกสิณอย่างเป็นทางการ

กล่าวได้ว่า ช่วงปี 2546 - 2547 เป็นช่วงที่ศึกษาวิชากรรมฐาน สาระพัดแบบว่าได้ยินที่ไหน มีครูดี มีอาจารย์เก่ง ก็จะไปทันที เลยมีการเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ ช่วงนั้นค่อนข้างจะมาก

2548 พบพระอาจารย์เฒ่า อีกครั้งเรียน กสิณไฟ กับ อาโลกกสิณ เพื่อไปทำภาระกิจ ลงถ้ำ

2548 ถูกทดสอบกรรมฐาน ในแนวทาง กรรมฐาน มัชฌฺิมา แบบลำดับ ที่ทดสอบคือก ยอดเขาวงพระจันทร์ โคกสำโรง ด้วยการเดินขึ้นไปกราบรอยพระพุทธบาท ให้ใช้เวลาไม่เกิน 25 นาที

ตอนนี้เป็นช่วงที่มุมานะ วิริยะมากจริง ๆ ทั้งภาวนา ทั้งเขียน ทั้งฝึกเดินขึ้นเขาจับเวลาเพื่อจะเรียนกรรมฐาน ขั้นสูงต่อไปจาก 3 พระอาจารย์

2549 เรียน กสิณน้ำ เพื่อแก้อาการจากกสิณไฟ ที่บกพร่องอยู่ พระอาจารย์เฒ่า เป็นผู้สอน

2550 - ปัจจุบัน สามพระอาจารย์ สอนกรรมฐานเพิ่มเติม มูลกรรมฐาน กัจจายนะ ( แต่บอกชื่อ ครูอาจารย์ให้กับ ท่านทั้งหลายไม่ได้ ตามคำสั่ง )

เล่าไว้พอสังเขป นะ


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 20, 2016, 05:55:39 pm
(http://www.madchima.net/images2559/kaowong/01-01.jpg)

(http://www.madchima.net/images2559/kaowong/01-012.jpg)

(http://www.madchima.net/images2559/kaowong/01-013.jpg)

จากบันทึกการฝึกประจำวัน
คนขึ้นเขาวงพระจันทร์ มาแล้ว จริง ๆ ถึงจะรู้ว่า 25 นาที มีความเป็นไปได้ไหม จะขึ้นให้ถึง ไปรอบแรก ฉันเดินขึ้นใช้เวลา 1 ชัวโมง 30 นาที วันนั้นเดินลงมาปวดขา ปวดหน่อง ต้องพักไปเลย หนึ่งอาทิตย์
หน่องตึง เกิดจากตอนลงเดินลงไวไป ด้วยคิดว่าจะลองขึ้นอีกรอบ แต่ปรากฏอาการปวดหน่องสูงมาก ไม่สามารถเดินขึ่นได้อีก
อาทิตย์ที่สองไปอีก ขึ้น สองรอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงขึ้น
อาทิตย์ที่สามไปอีก ขึ้น สามรอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงขึ้น
พออาทิตย์นี้ จึงมาคิดว่า ถ้าขึ้นด้วยกำลังกายแล้ว 25 นาทีไม่น่าจะเป็นไปได้ ดังนั้นจึงฝึกสมาธิอย่างจริงจัง ในอาทิตย์ที่ 3
อาทิตย์ที่สี่ เดินภาวนา ตามที่อาจารย์สอนไว้ เข้าลหุสัญญา และ สุขสัญญา สามารถเดินขึ้นได้ 45 นาที ดีขึ้นแต่ก็ไม่ผ่าน วันนี้ขึ้นลง 3 รอบ
อาทิตย์ที่ห้า เดินภาวนา แบบเดิม ใช้เวลา 40 นาที วันนี้ขึ้นลง 2 รอบ
อาทิตย์ที่หก เดินภาวนา แบบเดิม ใช้เวลา 38 นาที วันนี้ขึ้นลง 3 รอบ
อาทิตย์ที่เจ็ด เดินภาวนา แบบเดิม ใช้เวลา 38 นาที วันนี้ขึ้นลง 3 รอบ
อาทิตย์ที่แปด เดินภาวนา แบบเดิม ใช้เวลา 38 นาที วันนี้ขึ้นลง 3 รอบ เริ่มรู้สึกท้อว่า ไม่สามารถทำได้ต่ำกว่า 38 นาที แต่ก็ยังไม่หยุดการเจริญพุทโธ
อาทิตย์ที่เก้า เขียนพุทโธ หมด 1 เล่ม เดินภาวนา แบบเดิม ใช้เวลา 38 นาที เช่นเดิม ขึ้น 3 รอบ
อาทิตย์ที่ 10 เขียนพุทโธ เล่มที่ 2 ได้ 1 /4 ของเล่ม รู้สึกเขียนได้ไว สมาธิตั้งมั่นมากขึ้น เดินตามแบบอาจารย์เฒ่าสอน โดยใช้ อิติปิโสถอยหลัง ใช้เวลา 32 นาที ( ดีขึ้น แต่ก็ไม่ผ่าน ) ขึ้นลง 3 รอบ

เล่าแค่ 10 อาทิตย์ก่อนนะ
คนเราถ้าไม่จริงจังในการฝึกภาวนา ทำเป็นเล่น มันจะได้สาระอย่างไร

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าไม้จันทน์แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สนามก็ไม่ทิ้งลีลาอ้อยแม้เข้าสู่เครื่องยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบความทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม
พุทธพจน์ มหาปรินิพพาน

 ให้ข้อคิดสักนิด เผื่อใครจะได้ดวงตา

คนทั่วไป เวลาจะทำอะไร ที่เกินศักยภาพ ของตนเอง เขาก็จะคิดว่า มีเราที่ได้ผลได้ หรือได้ผลเสีย ในสิ่งที่ทำ เพราะเขาอิงการกระทำทั้งหมดไว้ กับโลกธรรม เมื่อกระทำอะไรลงไป จึงอิงกับโลกและธรรม ทำให้ไม่มีความอิสสระ ในการกระทำ

ส่วนผู้ภาวนา ประกอบ ศรัทธา เลื่อมใส น้อมใจสู่มรรค และผล เมื่อกระทำสิ่งใดลงไป มีแต่ความว่างเป็นผลตอบแทน ยิ่งได้กระทำศรัทธา ก็จะตั้งมั่น และไม่หวั่นไหว เพราะการกระทำที่ทำลงไปนั้น เพียง เพื่อ มรรค ผล และ นิพพาน เท่านั้น



หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 20, 2016, 06:58:42 pm
เมื่อครูอาจารย์ทดสอบ การฝึกกรรมฐาน เพื่อทำภาระกิจ
2548 ถูกทดสอบกรรมฐาน ในแนวทาง กรรมฐาน มัชฌฺิมา แบบลำดับ ที่ถูกทดสอบคือโจทย์ ดังนี้
ให้เริ่มกำหนดจิตตามหลักวิชาและให้เดินจากบันได้ขั้นที่ 1 จนไปถึงรอยพระพุทธบาท ณ ยอดเขาวงพระจันทร์ โคกสำโรง ด้วยการ เดินภาวนาไป ให้ใช้เวลาไม่เกิน 25 นาที
ตอนนี้เป็นช่วงที่มุมานะ วิริยะมากจริง ๆ ทั้งภาวนา ทั้งเขียน ทั้งฝึกเดินขึ้นเขาจับเวลาเพื่อจะเรียนกรรมฐาน ขั้นสูงต่อไปจาก 3 พระอาจารย์
ตอนนั้นจิตไม่รวมลงกับ พุทโธ มากนักเพราะว่าฝึกมาหลายแบบ หลายอย่าง ทำให้ปะติดปะต่อกรรมฐาน ไม่ได้ประโยชน์ คือ การใช้ ลหุสัญญา กับ สุขสัญญา ไม่เป็น ช่วงนี้เป็นช่วงที่ครูอาจารย์ท่านมาเน้นสอนการใช้ สุขสัญญา และ ลหุสัญญา
ดังนั้นเพื่อเป็นการปลดกรรมฐานอื่น ๆ ออกแล้วรับ นิมิตรพุทธานุสสติ อย่างจริงจัง จึงนำหนังสือ สมุดฟูลสแกรป เล่มใหญ่า เล่มหนึ่ง มี 502 หน้า มานั่งเขียนลายมือ ด้วยคำว่า พุทโธ ลงไปในสมุดเขียนอย่างนี้ ถึง 7 เล่ม และ ทดสอบสมาธิ ด้วยวิธีการคัดลายมือ บนกระดาษ A4 ด้วยการเขียนด้วยสมาธิ ที่ปรากฏตามภาพ ใช้เวลาทั้งสิ้น 7 เดือน จึงลุล่วงภาระกิจได้
ที่มาเล่าให้ท่านทั้่งหลายฟังนี้เพื่อให้ท่านทั้งหลายมีกำลังใจในการฝึกฝนพระกรรมฐาน กว่าพระอาจารย์จะมีความสำเร็จในพระกรรมฐาน ก็ต้องฝึกฝนตนเองอย่างจริงจัง และที่สำคัญ ที่ฝึกลงไปทั้งหมดนั้นก็เพื่อญาณ ในการทำการทำภาระกิจที่จะได้ไม่ต้องกลับมาเกิดอีกต่อไป
ดังนั้นท่านทั้งหลาย โชคดีแล้วที่ มีครูอาจารย์คอยแนะนำสั่งสอนพระกรรมฐาน ฉันเองกว่าจะมีครูอาจารย์ที่เก่งจริง ๆ สอนทำได้จริงก็เกือบครึ่งคนไปแล้ว
ดังนั้นอย่าท้อถอยในการฝึกฝนตามพระกรรมฐาน หมั่นเจริญภาวนาด้วยลำดับกรรมฐาน อย่างต่อเนื่องท่านก็จะถึงธรรม คือแก่นสารตามหลัก มรรค ผล และ นิพพาน ได้เอง

เจริญธรรม / เจริญพร



(https://scontent.fbkk5-1.fna.fbcdn.net/t31.0-8/13502594_954934584622986_7160981210440064060_o.jpg)

ถ้าจิตท่านเป็นสมาธิจริง ๆ ท่านจะทำสิ่งที่เหลือเชื่อได้ ด้วยการฝึกฝนจิตให้ตั้งมั่น อย่างนี้ ในภาพนี้เป็นการเขียนพุทโธ ลงบนกระดาษ A4 ที่ไม่มีเส้นบรรทัด เพื่อทดสอบสมาธิ จะเป็น จิตระดับไหนบอกให้ไม่ได้ แต่ต้องใช้จิตที่เป็นสมาธิ จึงจะเขียนได้ เพราะถ้าไม่เป็นสมาธิ จะไม่สามารถเขียนได้ตรงทั้งแนวตั้ง และแนวนอนเลย

ดังนั้นกว่าพระอาจารย์ จะหยุดภาวนาพุทโธ นี้ ไม่ใช่ภาวนาแค่ 100 - 200 พุทโธนะ
คิดดู สมุดฟูลสแกรมเล่มหนึ่ง มี 502 หน้า หน้าหนึ่งเขียนพุทโธ ลงไปได้ ถึง 520 พุทโธ
คิดเป็นเล่มทั้งหมด 7 เล่ม เป็น ล้าน พุทโธ

ไม่รวมกับที่เขียนทดสอบสมาธิ อีกเป็น รีม ๆ สองสาม รีม


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ มิถุนายน 20, 2016, 07:34:43 pm
ขออนุโมทนาสาธุ ครับ


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ มิถุนายน 21, 2016, 06:45:46 pm
มาเล่าต่อ ตอนที่ 2
สัปดาห์ที่ 12 ภาวนาด้วยวิชา ที่เรียนกับพระอาจารย์เฒ่า สมัยเป็นสามเณร ด้วย ท่านเรียกชื่อวิชานี้ว่า ย่นฟ้าย่อพสุธา ไม่ถึงกับ ย่นระยะทาง แต่เดินจิตที่เป็นสมาธิ อันเกิดจาก ลหุสัญญา และ สุขสัญญา เดินรอบนี้ ได้ 32 นาที เช่นเดียวกับสัปดาห์ ที่ 11 เดินขึนลง 3 รอบ ไปเช้ามืด กลับค่ำ

สัปดาห์ที่ 13 เกิดความรู้สึกย่อท้ออย่างสูง ว่าพากเพียรขนาดนี้ แล้วใช้วิชาก็แล้ว ตั้งจิตเป็นสมาธิก็แล้ว แต่ก็ยังทำไม่ได้ตามเป้าหมาย คือ 25 นาที รู้สึกว่าท้อแท้ ผล อาทิตย์นี้ เดินแย่ลงกว่าเดิม กลายเป็น 58 นาที เนื่องจาก สมาธิเสื่อม ขึ้นลงวันนี้ 2 รอบ ด้วยความโมโห และหงุดหงิด ในตัวเอง รู้สึกเศร้าสร้อยเป็นอย่างมาก ทั้งอาทิตย์เลย

สัปดาห์ที่ 14 ความรู้สึกท้อแท้ ที่เกิดขึ้นทำให้การเขียน พุทโธ ชะงักลงไม่สามารถ บรรจงแบบเก่า เขียนได้ช้าลง หงุดหงิด ท้อแท้ สิ้นหวัง มันระดมเข้ามา ทำให้จิตไม่ผ่องแผ้ว แต่ก็ยังไม่ละความพยายาม ในการเขียน พุทโธ และ ไปเดินขึ้นเขาต่อ ไปรอบนี้ทำเวลาแย่ลงกว่าเดิม กลายเป็น 1 ชม. 10 นาที เนื่องด้วย จิตเสื่อม ขึ้นลงวันนี้รอบเดียว เพราะรู้ตัว สมาธิหายไป จิตที่เป็นเอกัคคตา หายไป สัปดาห์ที่ 13 นี้ 16 วัน เรียนรูักับความเสื่อม ของสมาธิ ผลที่เกิดกับจิตใจนั้น มหาศาล มันเศร้าสร้อยท้อแท้ สิ้นหวัง รู้สึกอยากเลิก มันบอกให้เลิกภาวนา เลิกกระทำความเพียร เพราะทำไป ต่อไป มันก็ทำไม่ได้ ไม่มีใครทำได้หรอก

สัปดาห์ที่ 15 เนื่องด้วยจิตตกเป็นอย่างมาก สมาธิสูญหายไป ครานี้ทำให้คิดเลิกและคลายความเพียร ทั้งหมด แต่แล้ว พระอาจารย์ ท่านก็มาพูดว่า ประโยคนี้ให้ฟัง

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าไม้จันทน์แม้จะแห้ง ก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สนามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบความทุกข์ ก็ไม่ทิ้งธรรม ”

ท่านพูดประโยค นี้สามครั้งแล้วก็ไป ตอนนั้นมันอึ้ง ที่ท่านไม่ได้พูดแนะนำอะไรเลยรู้สึกเหมือนอาจารย์ทอดทิ้งเรา เหมือนไม่มีครูเลยที่จะให้คำปรึกษาว่า จะรับมืออย่างไร กับความเสื่อมที่เกิดขึ้น
3 วันก่อนไปขึ้นเขา ก็คิดทบทวนประโยคที่ครูท่านพูดทิ้งไว้ นั้นเพื่ออะไร เพื่อต้องการให้เรา สบายใจที่ทำไม่ได้ใช่หรือไม่ ? หรือเพื่อให้เกิดความเพียร ที่จะกระทำต่อ แต่ทั้งหมดนั้นมันสิ้นสุดตรงที่คำว่า อัศวินแม้เข้าสู่สนาม ก็ไม่ทิ้งลีลา เข้าใจประโยคนี้ประโยคเดียว

ตอนนั้นแทงความคิดว่า ใช่ ในเมื่อเราเป็นผู้ภาวนากระทำความเพียร เพื่อมรรค และผล แล้ว แม้จะประสบความพ่ายแพ้ ผิดหวัง กระทำไม่ได้ ทำไมต้องมาย่อท้อ ทำไม่ไม่ไว้ลาย ลีลาของนักภาวนา ต้องมานั่งทอดถอนใจ หมดอาลัยตายอยากเพราะความคิดว่า ทำไม่ได้อย่างนั้นหรือ

ตอนนั้นจิตใจที่มันท้อถอย รู้สึกถึงคำว่าปล่อยวาง มากกว่าคำว่า ฮึกเหิม มันมีความรู้สึกว่า ถ้าจะแพ้ ก็ขอแพ้ที่ได้ทำ หรือ ได้สู้ ไม่ใช่ยอมแพ้ โดยที่ไม่ได้สู้ หรือ ทำ ถ้ามันจะแพ้ ก็แพ้ไป ถ้ามันจะทำไม่ได้ ก็ช่างมัน เราจะทำให้ดีที่สุด ในความเป็นผู้ภาวนา
( เล่าเท่านี้ ก่อน ติดตามตอนต่อไป )


(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/natthida/0_2016/April/80404600.jpg)


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ มิถุนายน 22, 2016, 08:55:39 am
 st12 st12 like1
ติดตามคะ

 :58:


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: sinsae ที่ มิถุนายน 22, 2016, 05:59:25 pm
 st11 st12 st12


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: บุญเอก ที่ มิถุนายน 23, 2016, 12:23:36 am
อยากอ่านตอนต่อไป ครับ
  st11 st12 st12 st12 :25: :25: :25:


หัวข้อ: เล่า การฝึกกรรมฐาน โดยย่อ ตอนที่ 3 ที่มาของ คำอธิษฐาน หลังจบกรรมฐาน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 23, 2016, 09:12:56 am
(https://makkanuka.files.wordpress.com/2015/02/buddha-dhamma-750px.jpg?w=1008)


มาเล่าต่อ ตอนที่ 3

  สัปดาห์ ที่ 15 หลังจากจมความ ท้อแท้ สิ้นหวังเพราะ การสูญเสียอำนาจสมาธิ ไป ถึง 2 สัปดาห์ คือ 16 วันหลังจากได้ฟัง ครูอาจารย์ ท่านกล่าวประโยคสำคัญ แล้ว ก็เข้าใจ ด้วยตนเองเพียงประโยคเดียว คือ การวิจารณ์ธรรมนั้น ทำการวิจารณ์ทั้งประโยค ประมวลความรู้ที่มีทั้่งหมด และพิจารณาบทธรรม ที่เกี่ยวข้อง กลับไปกลับมา ในขณะที่พิจารณาธรรม ความรู้ได้ผุดขึ้นมา โดยธรรมชาติ ของผู้ภาวนา มองเห็นตามความเป็นจริง และ เม่ื่อการมองเห็นตามความเป็นจริง มันก็จะพิจาณาความเป็นไปได้ ในความเป็นจริงนั้น และ สาเหตุแห่งปัญหา ก็จะถูกประมวลออกมาให้เห็นปัญหา ที่แท้จริง

     ปัญหา จริง ๆ ที่เกิดตอนนี้ คือ ปัญหา การกดดับเรือ่ง เวลา สองอย่าง

      1. การกดดันเรื่อง เวลา 25 นาที
      2. การกดดันเรื่อง สิ้นสุดการทดสอบ  7 เดือน เนื่องด้วยถูกกำหนด ให้กระทำให้ได้ ภายใน 7 เดือน ไม่ใช่ให้เวลาตลอดชีวิต แต่ให้เวลาเพียง 7 เดือน ตอนนี้ ผ่านมา 15 อาทิตย์ คือ 3 เดือนแล้ว ผลการฝึกฝนนั้น ได้ดีที่สุด แค่ 32 นาที และก็งัดไม้ตาย ออกมาใช้หมดแล้ว ด้วย การเขียนพุทโธ ก็เขียนได้ เพียง 1 เล่ม กว่า ๆ เท่านั้น

     ( ความตั้งใจจริง ๆ คือ ต้องการเขียน พุทโธ 1 เล่ม ต่อ 1 เดือน แต่ นี่ สามเดือน เขียนได้ 1 เล่ม กับ เล่มที่ 2 ได่ 1 / 4 ของเล่ม  นับว่า เขียนไม่ได้ ตามความตั้งใจ เลย )

     ดังนั้น พอความคิดที่ พิจารณาแล้ว ว่า เกินความสามารถของเราในขณะนี้ มันจึงทำให้กดดัน การฝึกสมาธิช่วงนี้ เลย เขวออกไปหมด เพราะสร้างความกดดันกับตนเอง ทำให้สภาวะที่ ต้องการวิมุตติ ไปมุ่งวัดผล ตรง ประเด็นเวลา ทั้งสองประการ

     3 วันก่อนไปขึ้นเขา ก็หันกลับมา พิจารณาอารมณ์ แล้ว กระทำความปล่อยวาง ให้เกิดกับจิต ดั่งคำว่า อัศวิน แม้จะลงสู่สงคราม ย่อมไม่ทิ้งลีลา หมายความว่า ไม่ว่าเราจะลงสู้สนามที่จะแพ้ หรือ ชนะ สิ่งสำคัญก็ต้องรักษา ระเบียบ จริยา และแบบแผน ที่สมควรแก่ฐานะ ดังนั้น เมื่อมุ่งภาวนา เพื่อวิมุตติ ก็ต้องไม่ทิ้ง วิมุตติ ที่ตนปรารถนา ไว้นั่นเอง

     ใจที่สงบ ด้วย ปัญญา ไม่ใช่ ใจที่ สงบ ด้วยอำนาจ สมาธิ แต่ใจที่สงบ ลงด้วยปัญญา เกิดจากการมองเห็น สมุทัย ของปัญหา คือ ทุกข์ที่ เกิด

      ความเสื่อมจากอำนาจ ฌาน ย่อมมีได้แก่ผู้ไม่ตั้งมั่น ในองค์ แห่งฌาน เพราะกิเลส มีกำลังมากกว่า ดังนั้น เมื่อสิ่งที่เรียกว่า ฌาน นั้น ไม่ได้มีมาก่อน ย่อมหมายความ ย่อมกระทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้ ดังนั้น ความทุกข์ที่เกิดจากฌาน เสื่อมไป นั้นมีความทุกข์มาก มันทุกข์จริง ๆ ทุกข์ราว กับพ่อแม่ แขนขาขาด เลยก็ปานนั้น เข้าใจแล้วว่า ทำไม พระโคธิกะ ถึงยอมเชือดคอตาย ก่อนที่ฌาน จะเสือ่ม ลงไปครั้งที่ 7 นี่แหละ ความทุกข์ ที่เสือ่มจากอำนาจจิต แห่งฌาน เป็นทุกข์อย่างนี้ ดังนั้น เราภาวนา ไม่ได้หวังเรื่อง ฌาน แต่หวัง เรื่อง วิมุตติ ปัญญา ก็เลยปล่อยวาง เรื่อง ฌานที่เสื่อมไป บอกว่า ไม่เกี่ยวข้อง สิ่งสำคัญ คือการไม่กลับมาเกิดมากกว่า ความคิดตรงนี้ มันผุดขึนมาอย่างนี้ มันก็เลย กระทำความเพียร ด้วยการวางอารมณื ต่อ ฌาน แต่กระทำไปเพื่อความ วิมุตติ ดังนั้น จึงกลับมาเขียน พุทโธ ใหม่ เขียนอยู่อย่างนั้น โดยที่ไม่ได้นึกถึง เรื่อง ฌาน คิดอย่างเดียวว่า พุทโธ วิมุตตัง วิมุตติยานัง โหติ คำนี้ผุดขึ้นมาได้อย่างไร ไม่รู้ จากเมื่อก่อน ภาวนา พุทโธ เวลาเขียนอักขระ ลงไป ก็แค่ พุทโธ เท่านั้น แต่วันนี้ กลายเป็นว่า เขียนไป มีคำภาวนาขึ้นมาใหม่เอง
  พุทโธ วิมุตตัง วิมุตติยานัง โหติ
( ขอความสำเร็จในกรรมฐาน จงมีแก่ข้าพเจ้า คำแปลเอาความหมาย )

 การเขียน พุทโธ สามวันนี้ก่อนไปขึ้นเขา ก็ไม่ได้ พิเศษอะไรเลย แต่จิต มันคิดแต่เรือ่ง วิมุตติ ไม่ได้คิดเรื่อง ฌาน พอถึงวันเสาร์ ก็เดินทางไปขึ้นเขา รอบนี้ ขึ้น 3 รอบเหมือนทุกครั้ง แต่อารมณ์ต่างกัน ทุกก้าวที่ก้าวเท้าขึ้นนั้น ไม่ได้ใช้ ลหุสัญญา หรือ สุขสัญญา ไม่ได้ใช้ วิชา ในกรรมฐาน อะไรเลย มีแต่ความมุ่งมั่น เพื่อที่จะขึ้น  ด้วยเรียวแรง ที่มีขณะนั้น ผลการขึ้นเขา ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 20 นาที ทั้งสองเที่ยว

    มันไม่ได้ดีขึ้นเลยในเรื่อง ของเวลา แต่ว่า มันมีเรื่องดีกลับจิต เพราะว่า จิตเหมือนปล่อยวางเรื่อง เวลา และไม่ได้คิดอยากจะชนะ อย่างทุกครั้งที่ไปขึ้นแต่คราวนี้ มันมีความคิดว่า ขอได้ให้ขึ้นกราบรอยพระพุทธบาท ขอบูชาครูอาจารย์ ด้วยแรงกาย แรงศรัทธา ต่อพระธรรมกรรมฐาน สิ่งที่ทำนี้เพื่อความ วิมุตติ เท่านั้น


   ( ติดตามตอนต่อไป )


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ มิถุนายน 23, 2016, 09:36:31 am
 st11 st12 st12


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ มิถุนายน 23, 2016, 10:07:53 pm
 st12 st12  st12


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: sinsae ที่ มิถุนายน 24, 2016, 07:48:44 pm
ติดตามครับ เพราะไม่รู้ว่าจะถามอะไร เนื่องด้วยไม่ได้ ปฏิบัติต่อเนื่องแต่ก็อยากได้สาระ ความรู้ครับ

 :49: :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: kittisak ที่ มิถุนายน 24, 2016, 09:26:25 pm
อ่านแล้ว ซึ้งเลยครับ กว่าจะได้คุณธรรม อย่างพระอาจารย์ ไม่ใช่ได้มาอย่างง่ายดาย ใช้เวลาสะสมการเรียนศึกษา กรรมฐาน มาตั้งแต่ ยังเด็กและกระทำมาเรื่อย ๆ ยิ่งเป็นเรื่องความเพียร แล้ว อ่านแล้ว ต้องยอมใจให้เลยครับ เป็นผมคงไม่ไปขึ้น กัน อาทิตย์ ต่อ อาทิตย์ ครับ เพราะท้อ ทางไกลอย่างนั้น

   :25: :25: :25:
    st12 st12 st12


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: บุญเอก ที่ มิถุนายน 25, 2016, 12:19:24 am
ติดตามครับ ขอ ตอน ที่ 3 เลยได้หรือไม่ ครับ
อ่านแล้ว อยากรู้ว่า พระอาจารย์ ทำอะไร ต่อไป ครับ

  :25: st12 st12


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: pongsatorn ที่ มิถุนายน 25, 2016, 01:38:03 am
 st11 st12 st12 st12

  มีข้อคิด และการให้กำลังใจ อยู่หลายอย่างมากครับ มีประโยชน์ มากครับ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ มิถุนายน 25, 2016, 10:59:34 am
ขออนุโมทนาสาธุ


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: smalltime ที่ มิถุนายน 27, 2016, 02:14:44 pm
ขออนุโมทนา กว่าจะได้เห็นในธรรมต้องใช้ความเพียรอย่างมาก สาธุๆๆครับ


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 02, 2016, 06:33:47 pm
มาเล่าต่อ ตอนที่ 4

   ก่อนจะเล่า สัปดาห์ที่ 16 นั้นต้องข้อท้าวความกลับ ไปที่สัปดาห์ที่ หนึ่งเรื่องที่ยังไม่ได้เล่า เพราะเห็นว่าไม่สำคัญ แต่สุดท้ายกลับมามองเห็นความสำคัญในสัปดาห์ ที่ 16 เป็นต้นไป

    เข้าใจกันดีอยู่แล้วว่า การเดินขึ้นเขาวงพระจันทร์ ของพระอาจารย์ ในขณะนั้น คือเริ่มเดินจับเวลา ตั้งแต่ลานจอดรถใต้ต้นไม้ อุปกรณ์ที่ต้องมี ตอนนั้น ก็คือ นาฬิกาจับเวลา ตอนนั้นได้ไปจัดซื้อหามาในราคา 750 บาท ยี่ห้อ Citizen ปัจจุบัน ซากหาไม่เจอ เพราะไม่ได้คิดว่าจะนำมาโชว์

   ใช้ภาพจากเว็บนี้แทนไปก่อน
   (http://static.weloveshopping.com/shop/client/000050/officemaxshop/8RDA55_002.jpg)

    ตอนนั้นก็เลยเป็นบุคคลที่พกนาฬิกาจับเวลา แขวนคอไว้ เลยตอนนั้น ดังนั้นในช่วงสัปดาห์ที่ 1 นั้นไม่เคยรู้มาก่อนว่า ยอดเขาวงพระจันทร์ มีความสูงเท่าใด แต่ก็คิดว่า เขาเซียนที่วัดพระพุทธบาทก็ว่าสูงแล้วนะที่เคยขึ้น คิดว่า ที่เขาวงพระจันทร์ก็คงไม่เท่าไหร่ แต่พอไปถึงแล้ว และได้ขึ้นไปรอบแรก จึงรู้ว่า ไม่เหมือนกันเลย ทางเขึ้นถึงแม้จะมีบันได้ มีราวให้เกาะ แต่ว่า ทางขึ้นชันตลอดทาง และระยะทางมากกว่า เขาเซียน ถึงหกเท่า ที่เขาเซียน 800 ขั้น แต่ที่เขาวงพระจันทร์ 3790 ขั้น นับว่า เดินเหนื่อยมาก ประกอบร่างการยมีความอ้วนคือน้ำหนักมากเกิน ร้อยอยู่แล้ว ดังนั้น สัปดาห์ที่ 1 เรียกว่าการหยั่งเชิง ดูความสามารถทางร่างกาย ในสัปดาห์ที่สอง จึงมีความเตรียมพร้อมเพิ่มขึ้น นี่เล่านอกจากเรื่องการฝึกสมาธิ ก็ต้องฝึกสุขภาพด้วย

      ดังนั้น จึงมีการฝึกยกขา ขนาน 90 องศา สลับกันไปมา 4000 ครั้ง โดยจับเวลาต้องยกขาให้ได้ในระดับ 90 องศา ผลการจับเวลาก็ใกล้เคียง ที่ 35 นาที แต่ก็เหนื่อยมาก ๆ อันนี้เริ่มต้นการฝึกยกขา

      สัปดาห์ที่สอง ได้เพิ่มน้ำหนักการยกขา คือ เอาขวดน้ำหนึ่งลิตร รัดด้วยผ้าที่ข้อเท้า ข้างละขวด และ เอามือหิ้ว อีกข้างละ 1 ขวดรวมเป็น น้ำหนักที่แขน 2 ลิตร ที่ขา 2 ลิตร แล้วยกขา 90 องศา 4000 ครั้ง จับเวลา 42 นาที

      สัปดาห์ที่สาม ทำแบบสัปดาห์ที่สอง แต่คราวนี้ทำเวลาได้ดีขึ้น เป็น 36 นาที แต่หน่องระบม ปวดมากขึ้น

      สัปดาห์ที่สี่ ทำแบบเดิม แต่เพราะปวดหน่อง ลดจาก 4000 เหลือ 2000 ทำเวลา 20 นาที

      สัปดาห์ที่ห้า ทำแบบเดิม หน่องเริ่มหายปวด เพิ่มขึ้นเป็น 4000 แต่ก็ยกใช้เวลา 40 นาที ขึ้น

      สัปดาห์ที่หก ทำแบบเดิม 4000 และทำเวลาได้ 35 นาที

      สัปดาห์ที่เจ็ด ทำแบบเดิม 4000 และทำเวลาได้ 30 นาที เร็วขึ้น

      แต่เจ็ดสัปดาห์ เหนื่อยสุด ๆ เมื่อยสุด ๆ ปวดสุด ๆ แต่ผลการไปขึ้นก็ทำยังเวลาไม่ดี เพราะการยกขาที่อยู่ตนเองนั้นไม่เหมือนการขึ้นเขา ดังนั้น จึงเพิ่มน้ำหนักขวดน้ำ

      สัปดาห์ที่ 8 เพิ่มขวดน้ำผูกที่ ชาเป็นข้างละ 2 ขวด มือหิ้วข้างละขวด รวมทั้งหมดหกลิตร ผลการฝึก 4000 ยกไม่ได้ตามเวลา ใกล้เคียงความหนืดตอนขึ้นเขา ใกล้เคียงมาก ใช้เวลา 42 นาที

      สัปดาห์ที่ 9 ทำแบบเดิม 4000 ครั้ง ใช้เวลา 40 นาที
   
      สัปดาห์ที่ 10 - 15 ทำแบบเดิม 4000 ครั้ง ใช้เวลา 38 - 25 นาที
   
      มาถึงตรงนี้ชั่งน้ำหนัก ๆ หายไป 8 กก. ลดน้ำหนักได้ เป้าหมายคือ 90 กก จาก 120 กก. ลดที่ 30 กก. เพราะคิดว่า น้ำหนักมีผลกับการเคลื่อนที่ จึงพยายามปรับปรุงร่างกายไปพร้อมกับการฝึกกรรมฐาน

      เล่ามาถึงตรงนี้ เพื่อพูดให้ท่านทั้งหลายฟังว่า พระอาจารย์จริงจังมากในการฝึก ควบคุมตนเอง ทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งสองประการ การฝึกยกขา ทำวันละครั้ง ๆ หนึ่งก็ทั้งเตรียมตัว ทั้งถอดอุปกรณ์ ก็ ชั่วโมงกว่า ๆ ดังนั้นในวันหนึ่งสูญเสียเวลาไป 1 ชม 20 นาที ในเรื่องนี้ทุกวัน และ ทำงานอีก 8 ชม. ทั้งเตรียมตัว พักผ่อนทานอาหารทำกิจอื่น ๆ อีก รวม ๆ ก็ 8 ชม ดังนั้นวันหนึ่งมีเวลา 24 ถูกลบไป 17 ชม. ที่เหลือคือเวลาการฝึกจิต เขียนพุทโธ และ นั่งกรรมฐาน ดังนั้นเวลาการเขียนไม่ได้มีมากมายในวันหนึ่ง คืนหนึ่งมีเพียง 7 ชม.เท่านั้น ที่จะทำได้ ดังนั้นการฝึกจิตกรรมฐาน ใช้เวลาเพียง 7 ชม. ฝึกร่างกาย 1 ชั่วโมง 20 นาที

     นี่มันต้องทำถึงขนาดนี้ การฝึกขวดน้ำ 6 ลิตร ฝึกถึงสัปดาห์ที่ 14 เพราะว่า ผลการยกขาเป็นที่น่าพอใจทำเวลาได้ 25 นาที แต่ไปขึ้นเขาจริง ๆ กลับทำไม่ได้ นั่นแหละจึงทำให้จิตตกฮวบ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 13

   ภาพเขาเซียน พระพุทธบาท สระบุรี ใช้ภาพจากเว็บไปก่อนนะ มีต้นฉบับอยู่แต่ยังต้องค้น
   (http://forum.munkonggadget.com/upload/2015/09/20150925010454.JPG)

   
  เล่าเท่านี้ก่อน ติดตามตอนต่อไป
   

   
 สำหรับเรื่อง ไอเดียถ่วงขานี้ นำมาจากหนังสือการ์ตูน เรือ่งหนึ่งเป็นเรื่อง ของ ปรมาจารย์มวยไท้ชิ ที่ฝึกวิ่งด้วยการผูกถุงทรายที่ข้อเท้าไว้ ข้างละถุง ข้างละ 2 กก. แต่ตอนนั้นไม่อยากซื้อ พวกตะกั่วแบบในภาพรู้สึกว่า จงใจเกินไปจึงหาแค่ขวดน้ำดื่มขนาดหนึ่งลิตร ใส่ซึ่งตอนหลังจากสัปดาห์ที่ 15 ก็มีการพัฒนาเกิดขึ้นจะเล่าต่อไป ในตอนหน้า
 (http://cm.lnwfile.com/8d17j1.jpg)


  ถามว่า ทำไมไม่ใช้ ทราย ทำไมใช้น้ำ
  ตอบ เพราะว่านำ้เวลายกขึ้นนั้นมีแรงสะบัดมากกว่า ทรายซึ่งต้องฝึกควบคุมตอนเอาขาลงด้วย เนื่องด้วยแรงกระฉอกของนำ้ทำให้แรงสบัดสูง ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนการเดินจงเขา มีความเร็วใกล้เคียงซึ่งเราจะต้องควบคุมการลงไม่ให้ปวดหน่องหรือเมื่อยตามอย่างที่เคยเดินลง จึงใช้น้ำที่มีแรงสะบัดขณะยกขึ้นและลงสูงกว่า แต่นำ้หนักเบากว่า เนื่องจากเราไม่ใช่นักกีฬาร่างกายไม่ได้ ฟิด มาเฉพาะทางและที่คำนึงไว้ก็คือ เมื่อถึงเวลาจริง ๆ คงเป็นการเดินจิตมากกว่าการใช้แรงกาย

 
 


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ กรกฎาคม 02, 2016, 10:28:37 pm
ขออนุโมทนาสาธุ


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: ก้านตอง ที่ กรกฎาคม 03, 2016, 12:29:22 am
 st11 st12 st12
อ่านแล้วได้ความรู้มากขึ้นเลยคะ เห็นความพยายามของพระอาจารย์ ในการภาวนาอย่างมาก ถ้าไม่เล่าส่วนนี้ก็ไม่ทราบถึงความลำบาก ของท่านเลย

   ดีใจ ที่ได้ติดตาม พระดี ๆ ปฏิบัติชอบ คะ

  st11 st12 st12 st12


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 03, 2016, 08:41:56 am
เล่าต่อ ตอนที่ 5
 
(http://www.madchima.net/images2559/run.jpg)

     ก่อนจะเล่าต่อ ขอสรุปเหตุการณ์ การกระทำ ที่ได้ทำมาทั้งหมด ตลอด 15 สัปดาห์ หรือ สามเดือน
     สามเดือนกว่า ได้ทำอะไรมาบ้าง เพื่อให้ท่านที่ไม่ได้อ่านตอนต้นมา ๆ จะได้พอสรุปเหตุการณ์ และการกระทำที่ ๆ กระทำภาระกิจที่เรียกว่า ข้อสอบ เป้าประสงค์เพื่อเรียนกรรมฐาน จาก สามพระอาจารย์ ในสายกรรมฐาน มูลกัจจายนะ ( มีใครบ้าง คงเล่าให้ท่านฟัง ตรงนี้ไม่ได้ นาน ๆ ไปก็จะรู้กันเองนะ )

   ข้อสอบคือ ขึ้นไปกราบรอยพระพุทธบาท บนยอดเขาวงพระจันทร์ ให้ใช้เวลา ไม่เกิน 25 นาที โดยการเดินจิตให้เป็นสมาธิ คือการเข้าสุขสัญญา และ ลหุสัญญา
     
    การฝึก 15 สัปดาห์ ที่ผ่านมานั้น
          ผลการฝึก ร่างกาย ใช้ ขวดน้ำ 6 ขวด เป็นตัวถ่วงขา 4 ขวด ถ่วงมือ 2 ขวด การฝึกยกขา 90 องศา 4,000 ครั้งใช้เวลา 25 นาที
          เดินขึ้นเขาด้วย จิตที่เสื่อมจากสมาธิ เคลื่อนออก ใช้เวลา 1 ชม. 20 - 40 ่นาที ( ท้อแท้ จากทำได้ 32 กลายเป็นแย่ )
          เขียนพุทโธ ลงสมุดได้ 1 เล่ม และ เล่มที่ 2 1 ส่วน 4 ของเล่ม

    สรุป 15 สัปดาห์ ไม่ได้ดั่งใจตามที่ตั้งไว้ ผิดพลาดหมดทุกเรื่อง แต่ได้เรื่องหนึ่ง คือการเจริญ สติ และ การทรง สัปปชัญญะ ไว้กลายเป็นการพิจารณา ธรรม ในสิ่งที่ตนเองกระทำ สัปดาห์ ที่ 15 ความขุ่นข้องทางใจที่เกิดขึ้น ถูกระงับลงด้วยคำว่า สันโดด (สันโดษ ) หมายถึงการทำกิจให้ดีที่สุด โดยที่ไม่มีเราไปเป็นเจ้าของ ๆ กิจนั้น ๆ ไม่มีส่วนได้ ส่วนเสีย ในกิจนั้น ๆ เอาคำว่า ได้ และ เสีย

     ( ที่จริงมันก็ยังมีเป้าหมาย ว่า ทำได้ กับ ทำไม่ได้ อยู่ แต่ อารมณ์จะวางเป็นว่า ได้ ก็ช่าง ไม่ได้ก็ช่าง ขอเพียงให้ได้ทำ ให้ได้ฝึก ให้ประกอบกิจ โดยความรู้สึกว่า ไม่มีเราเป็นผู้ชนะ หรือ เป็นผู้แพ้ แหม ! มันช่างอธิบาย ให้ท่านทั้งหลาย เข้าใจยากจัง ตรงส่วนนี้ เอาเป็นว่า แจงเท่านี้ก้แล้วกัน ..... )

      ดังนั้นในสัปดาห์ที่ 16 ก็มีประมวลปัญหาต่าง ๆ ว่ามีข้อบกพร่อง อะไร ที่ทำให้ ทำไม่ได้ ก็ต้องนั่งเหตุการณ์ที่ผ่านมาว่า เราทำอะไรเกิน เราทำอะไรขาด เราวางจิตถูก หรือ ผิด เราเข้าใจ หรือ ไม่เข้าใจ สัปดาห์ที่ 16 ออกจะเป็นแนววิปัสสนา ล้วน ๆ  เลยแต่ว่าการเขียนพุทโธ ก็ยังเขียนต่อไป มีเวลาเขียนไม่มาก คือ ภายใน 7 ชม. เป็นเรื่องการฝึกจิต กรรมฐาน คือ พระพุทธานุสสติ การฝึกเดินจิต ที่เป็นสุขสัญญา และ ลหุสัญญา ในท่าเคลื่อนไหว ไม่ใช่ท่านั่ง ท่านิ่ง แต่มีการเคลื่อนไหว เมื่อเคลื่อนไหว ไม่ได้เคลื่อนไหวไปด้วยสติ แต่ต้องไปด้วยสมาธิ เพราะถ้าไปด้วย สติ จะไม่สามารถ เข้าสุขสัญญา ได้ และ ลหุสัญญาได้ ดังนั้นการฝึกกรรมฐาน ในช่วงนี้จึงหนักลงไปที่การเคลื่อนมือเขียน ตัวหนังสือ คำว่า พุทโธ เขียนอยู่อย่างนั้น 7 ชม ก็เขียนอยู่อย่างนั้น เขียนจนกระทั่งปวดแขน ปวดไหล่ ปวดมือ ปวด แล้ว ก็ปวดแต่ก็ไม่หยุดเขียน มือสั่นเพราะความปวด แต่ก็ยังฝืนเขียน คือ ต้องเขียนให้หมดหน้า ถ้าเขียนหมดหน้า จะหยุดก็หยุด จะพัก ก็พัก แต่ไม่หมดหน้ากระดาษ สองหน้า ก็จะไม่หยุดแขน ปวดก็จะเขียน เมื่อยก็จะเขียน ประคับประคอง ทำสุขสัญญา ในขณะเคลื่อนไหว และ บริกรรม

       ตัวอักขระ เริ่มตั้งแต่ พอ พาน สระ อุ ทอ หทาร สระโอ ธอ ธง  อ่านว่า พุทโธ พอคำว่า พุทโธปรากฏ ก็ว่า คาถา พทโธ วิมุตัง วิมุตติยานัง โหติ อย่างนี้ไปเรือย ๆ ใจสบาย ๆๆๆๆๆๆๆ สบายจริง ( ช่วงนี้เป็นช่วงที่เห็น ความลับ ของ พุทโธ เป็นครั้งแรก )

       สิ่งทีเกิดขณะที่เขียน ได้ปรากฏอักขระเกิดขั้นที่ ฐาน จิต ทันทีหลับตาก็เห็น ลืมตาก็เห็น เห็น คำว่า พุทโธ เป็นสี......... เป็นแสงสว่าง ...... งดงาม และ พุทโธ ก็เปลี่ยนไป เปลี่ยนไป ไปตามการภาวนา อารมณ์สงบลง การเเคลื่อนที่ จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะยืน ก็ปรากฏ พุทโธ อยู่อย่างนั้น ทั้งกลางวัน กลางคืน ทำงาน เดินทาง ก็เห็นพุทโธ เหมือนแว่นตาที่ อยู่ด้านหน้าของตา ไม่มีความรำคาญ ใน นิมิตร ที่ปรากฏ ไม่รู้สึกลัวว่าจะหาย นับว่า สัปดาห์ที่ 16 นี้ พัฒนาการของสมาธิ ก้าวข้ามขั้นไปอีก 1 - 2 - 3 ระดับเลย สองคืนก่อนเดินทางไป เขาวงพระจันทร์ ล้มป่วยด้วยอาการไข้ หนาวสั่น ( อาการเหมือน ต่อมทอนซิล อักเสบ ) ไม่สามารถลุกขึ้นซ้อมยกขา หรือ เขียนพุทโธ ได้เลยได้แต่นอนมองเพดาน อยู่ที่พื้น ตอนร้อนก็ร้อนเหงือแตกเหงื่อไหล ตอนหนาว ก็หนาวสั่น ห่มผ้าหลายชั้นก็ไม่หายหนาว หายสั่น เหนือตัว แขนขา แสบร้อนปวดทรมาน เป็นไข้ขึ้นสูง ผ่านไปสองคืน โดยที่ไม่ทานยาอะไรเลย เพราะลุกไม่ไหว ไม่มีใครดูแล ข้าวปลาอาหารน้ำดื่ม ไม่สามารถลุกไปจัดการได้ ตอนนั้นคิดอย่างเดียว ถึงเวลาตายแล้วเนาะ ตายก็ตาย ก็แล้วกัน มันที่สุดแล้ว ทรมานเหลือล้น แล้ว อัตภาพที่มีแต่ความ แก่ ความ เจ็บ และความตาย มันก็ต้องตายในที่สุด

       คืนที่สอง ก่อนไปขึ้นเขาวงพระจันทร์ สัปดาห์ที่ 17 นั้น คืนนี้มีปรากฏการณ์ทางจิต อย่างมากเลย ( แต่เล่าให้ฟังไม่ได้ )
ก็นับว่า สัปดาห์ที่ 16 มันดูเหมือนจะแย่ แต่ ก็ได้สิ่งที่ปรารถนา หลายอย่าง เรียกว่า การจะได้มาอย่างฟรี ๆ นั้น สำหรับเราเป็นไปไม่ได้ มันต้องออกแรงถึงจะได้มา ถ้าไม่ออกแรง ไม่กระทำความเพียร มันไม่มีทางได้เลย นี่คือคำตอบ ... ไม่มีอะไรจะเสีย เพราะเสียมาจนชินชา ไปหมดแล้ว เหมือนเกิดตาย เกิดตาย เกิดตาย ซ้ำซากวนไปอย่างไม่รู้จบ รู้สิ้น สิ่งนั้นก็สำคัญ สิ่งนี้ก็สำคัญ สิ่งนั้นมันเหมือนเป็นของเรา แต่เอาไปไม่ได้สักอย่าง ตายไป เกิดใหม่ ก็เริ่มใหม่อีกแล้ว ปนบุญ ปนบาป ผลเวรผลกรรม ก็ตามสนองไม่รู้จะตอนไหนบ้าง เหนื่อยเหลือเกิน กับโลกใบนี้ กับการมีชีวิต ที่ตายซ้ำซาก บางครั้งก็เกิดเป็นสัตว์ บางครั้งก็เกิดเป็นคน บางครั้งก็เป็นสัตว์นรก บางคร้งก็เป็นเปตร วนไปวนจนรู้สึกท้อแท้ ต่อการมีชีวิตในโลกนี้แล้วจริง ๆ

       นี่เป็นสัปดาห์ที่ 16 เรื่องราว ๆ วนไปวน มา วนอยู่บนแกน x แกน y แนวตั้ง แนวตรง รัก ชอบ ชัง หลง ยึด จาก อย่างนี้ใจมองเห็นเรื่องราว ที่เกิดไป เกิดมา ตั้งอยู่ และดับไป เห็นอยู่อย่างนั้น ในสภาพที่ตนเอง ไม่สามารถเคลื่อนไหวทำอะไรได้ ....



    ( รออ่านตอนต่อไป ไม่ค่อยขยันพิมพ์ )

 
                   


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: sinsae ที่ กรกฎาคม 04, 2016, 03:01:24 pm
 st12 st12 st12
ติดตามครับ


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: sinsae ที่ กรกฎาคม 04, 2016, 03:01:53 pm
 st12 st12


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: feel-sad ที่ กรกฎาคม 04, 2016, 07:01:01 pm
เรื่องมีสาระ มากเลย และทำให้มองเห็นถึง ปณิธาน การภาวนา และความลำบากของครูอาจารย์ กว่าจะสำเร็จตามเป้าหมาย ต้องทุ่มเททั้งแรงกาย และ แรงใจ

    st11 st12 like1


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: kingman ที่ กรกฎาคม 05, 2016, 01:18:21 pm
เรื่องราว น่าติดตาม มีแนวทาง ที่ชัดเจนในการปฏิบัติ มีการเก็บวัดผลการปฏิบัติ ด้วย และ หาสาเหตุที่เกิดข้อผิดพลาดด้วย หายากที่จะมีพระ มาเล่า แบบนี้

   st11 st12 st12


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: บุญเอก ที่ กรกฎาคม 06, 2016, 12:47:15 am
เป็นการเล่า วิธีการปฏิบัติ ของครูอาจารย์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งครับ
อ่านแล้ว รู้สึกเราเองยังไม่ได้ตั้งใจภาวนา จริง ๆ เลย ที่ทำอยู่ทุกวันนี้

  st12 st12 st12


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ กรกฎาคม 06, 2016, 12:19:48 pm
มาเล่าต่อ ตอนที่ 6

    ในสัปดาห์ ที่ 16 นั้นมีปรากฏการณ์ทางจิตเกิดขึ้น มีการลำดับ ภาพที่เกิดในอดีต เป็นฉาก ๆ และในครั้งนี้ มีการล้มป่วย อย่างหาสาเหตุไม่ได้ ด้วยอาการ หนาว ร้อน สลับกันไปมา เป็นเวลาถึง สามวัน
   
    ในคืนก่อนที่จะไปขึ้นเขา อาการก็หายดี และทำให้รู้สึกแปลก ๆ กับร่างกาย คือ มันมีความรู้สึกว่า ไม่อ่อนเพลีย อย่างที่เคยเป็นไข้ แบบนี้มาก่อนเลย มันรู้สึกกระชุ่มกระชวย แข็งแรง ปกติหายป่วยจะดื่มน้ำ แต่คราวนี้ไม่รู้สึกกระหาย หรือ หิว ตอนแรกก็คิดว่าจะไม่ไปขึ้นเขา ในอาทิตย์ เพราะเกรงว่าอาการป่วยจะกำเริบ แต่คิดไปคิดมาหลายรอบ ลองขยับตัวไปมา เดินยกขารู้สึกว่าปกติขึ้นแล้ว จึงตัดสินใจไปขึ้นเขา อย่างสัปดาห์ที่มา

    การไปขึ้นรอบนี้ไม่ได้ ใช้สมาธิ แต่ใช้กำลัง โดยตรงเลย ก็อย่างที่ทราบกันดีว่า ใช้กำลัง เต็ม ๆ ก็ 60 นาที พื้น ๆ รอบนี้ก็เหมือนทุกครั้ง ใช้เวลาไป 1 ชม. กับ 10 นาที เพราะว่าไม่ได้รีบขึ้นไปนั่งพักชม เมฆ ชม หมอก ชม วิว ทิวทัศน์ ให้มันอิ่มอกอิ่มใจ สักหน่อย วันนี้ ฝนตกปรอย ก่อนขึ้นเขา เลยทำให้เกิดเมฆหมอก คลุมทาง โดยปกติ เวลาไปขึ้นก็มัวแต่ จับเวลา ดูนาฬิกา ดูทางขึ้น ทางลง เท่านั้นไม่ได้ไปนั่งอิน กับ วิว ธรรม ชาติ สัปดาห์นี้ ขึ้นเพียงรอบเดียว แต่ใช้เวลาอิน กับธรรมชาติ อย่างยาวนาน ถึง 3 ชม นั่งพักผ่อนหย่อนจิต แบบไม่รีบ ไม่ร้อน ไม่กังวลอะไรใด ๆ

    แถมวันนี้ อาศัยช่วงเวลาที่อากาศเย็น ๆ นั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้า กำหนดลมหายใจออก เออ อันนี้ทิ้งมาหลายเดือน นะ อานาปานสติ เพราะมัวแต่ฝึก พุทโธ อยู่ นับว่า เป็นสัปดาห์ที่ผ่อนคลายเป็นอย่างมาก มีความรู้สึกว่า เหมือนตายแล้วเกิดใหม่ เพราะปฏิกิริยาทางร่างกาย มีเรื่อง ประหลาดเกิดขึ้น ( แต่เล่าให้ท่านทั้งหลายฟังกันไม่ได้ นะ เอาเป็นว่า รู้เห็นด้วยตนเอง ดีกว่า )

    สัปดาห์ที่ 14 - 15 -16 ผ่านความทุกข์ ที่เรียกว่า ทุกข์ จากอำนาจความเสื่อมจาก ฌาน มันเลวร้ายมาก ๆ ที่เสื่อม เพราะเมื่อเสื่อม ความสามารถ มันหายไปด้วย ดังนั้นมันจึงทำให้ทุกข์ มาก รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง แต่เพราะคำของครู เตือนใจ ประโยค พุทธพจน์ เตือนจิต สติปัญญา บังเกิดขึ้น และ ทรงความดีไว้ นี่คือผลของการฝึกปฏิบัติมาตลอดชีวิตขณะนั้น เพราะถ้าไม่มีพื้นฐาน การฝึกอบรมทางจิต ทางใจ ทางสติ ทางปัญญา มาก่อน การที่จะวางอารมณ์ ที่เรียกว่า ปล่อยวาง นั้น คงไม่ได้กระทำได้ง่าย ๆ

   สัปดาห์ที่ 17 อำนาจจิตทีเสื่อมเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่จะต้องแก้ไข ได้รับคำแนะนำจากครูว่า
    "สิ่งที่มี ย่อมทำให้เกิดพลังจิตขึ้นมาได้ สิ่งที่ไม่มีย่อมทำให้ไม่เกิดพลังจิต ให้อาศัยสิ่งที่มี ที่สร้างไว้เป็นสะพานไปสู่ พลังจิต"
   ต้องขอบอกว่า มันเป็นคำปริศนา ที่ครูอาจารย์ มากล่าวแล้วก็ไป แต่ด้วยสติปัญญา ขณะนั้น ก็ทบทวนไปมา ถึง สภาวะต่าง ๆ ที่ควรจะทำเพื่อการฟื้นฟูอำนาจสมาธิ ที่เสื่อมหายไป ตอนนั้นคิดอะไรไม่ออก

    แต่ก็ลำดับสาเหตุ ของความเสื่อม แล้วพยายาม นั่งพิจารณาว่า อะไรคือสาเหตุ จนกระทั่ง ผ่านไปสองวัน จึงไล่มาถึงปัญหา จริง ๆ ก็คือ ความกลัว ใช่ ความกลัว กลัวที่จะทำไม่ได้ และทำไม่สำเร็จ ทำไมต้องกลัว มันก็มีคำถามต่อไป อย่างนี้ สาเหตุที่กลัว คือ จะไม่ได้เรียนกรรมฐาน แล้ว กรรมฐานมันสำคัญขนาดนั้นเลยหรือ ก็ได้คำตอบว่า มันเป็นความหวังหนึ่งเดียว ที่หามาทั้งชีวิต ทุ่มเทด้วยการเรียนศึกษา ตามสำนักต่าง ๆ แต่เมื่อถึงคราวที่เจอครูจริง ๆ แล้ว มีแนวโน้มด้วย ครูที่หายากแสนยากอย่างนี้ มันเหมือนเห็นหนทางเดียว ณ ขณะนั้นว่า ไม่ควรปล่อยโอกาส เพราะเป็นโอกาสเดียวที่ไม่เวียนว่าย ในสังสารวัฏ นี้ ที่จริงมันมีคำบรรยายเยอะแต่ก็เป็นเรื่องภายในจิตใจของฉัน ขณะนั้น ก็ขอสงวนไว้ไม่เล่าให้มันเยิ่นเย้อ มากตอนเกินไป

    ดังนั้นพอสรุป ได้ว่า สาเหตุ ก็คือ ความกลัว ตอนนี้ก็เลยต้องมาไล่ว่า แล้ว อะไรจะทำให้ความกลัวหายไป คำตอบก็คือ ต้องเจริญธรรมที่ทำให้เกิดความอาจหาญ คือ หายกลัว ธรรมที่ทำให้เกิดความอาจหาญนั้น คือ อะไร ก็คือ พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ แล้วทำอย่างไรดี ในเมื่อเราก็ภาวนา พุทโธ โดยตรงอยู่แล้ว ความอาจหาญก็ไม่เกิด เพราะอะไร ? พอไล่ปัญหามา ก็เพราะว่า ไม่ได้สรณะ ทาน หรือ ศีล ให้ลงรวมในพุทโธนั่นเอง มันกลับไปพื้นฐานมากเลย ตอนนี้ นึกถึงกรรมฐาน 2 อย่าง คือ เทวตานุสสติ และ สีลานุสสติ กรรมฐานสองอย่างนี้ มองข้ามไปคิดว่า ไม่มีความสำคัญแต่แท้ที่จริง เป็นเพราะเรามักชอบข้ามขั้นตอนนั่นแหละ ความอาจหาญในธรรม จึงหายไป ไม่เข้าใจว่า ความอาจหาญ ที่จะทำให้ชูธง รบ กับ ข้าศึก ( กิเลส ) ได้นั้น พื้นฐาน ก็คือ ทาน ศีล และ ภาวนา ดังนั้น คำว่า ทาน ศีล ภาวนา มันเป็นลำดับที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน ทำให้ธรรม ปรากฏชัด ไปตามลำดับ

     ( ติดตามอ่าน ต่อ ตอนต่อไป )

(http://2.bp.blogspot.com/-31oGqzKbNag/VS-gLHnE41I/AAAAAAAAUMs/eOeaqZb9zsg/s1600/4-%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%AA%2B%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B8.mp4_snapshot_00.50_%5B2015.04.16_17.53.59%5D.jpg)

   
 


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ กรกฎาคม 06, 2016, 01:14:05 pm
 st12 st12 st12
 ติดตาม คะ :25:


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ กรกฎาคม 07, 2016, 01:24:31 am
ขออนุโมทนาสาธุ ครับ


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: KIDSADA ที่ กรกฎาคม 07, 2016, 02:00:27 am
(http://www.madchima.net/images2559/run.jpg)

เนื้อหานี้ติดตามครับ จากภาพแสดงว่า มีถึง 35 สัปดาห์ใช่หรือไม่ครับ

  st11 st12 st12 st12


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: kingman ที่ กรกฎาคม 07, 2016, 08:42:19 am
 st11 st12 st12 อยากฟังต่อ อยากอ่าต่อครับ
 :25:


หัวข้อ: เพราะไม่ได้เป็นศิษย์ เมื่อฟัง อ่าน จึงมีการปรามาส เกิดขึ้น เสมอ ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ กรกฎาคม 07, 2016, 08:49:17 am
คงจะเล่าไว้ เป็น สาธารณะ เท่านี้ เนื่องด้วยได้รับผลกระทบจากผู้ที่เข้ามาอ่านไม่ได้มีศรัทธา ในบุคคลอยู่ก่อน และไม่ได้เป็นศิษย์กรรม ฐาน มองเป็นว่า
   1.พูดยกตนข่มท่าน หมายถึง ยกตนเอง ว่าเลิศ กว่าครูอื่น ๆ ประมาณนี้
   2.อุตริมนุสสธรรม ที่ไม่มีในตนเอง

  แค่ 2 ข้อ นี้ นับว่า รุนแรงสำหรับ พระ เพราะว่า
   ข้อที่ 1 นั้นหมายถึงการ ไม่ละกิเลส มีมานะ ข่มที่อื่น ๆ ข่มครูอื่น ๆ นับว่าเป็นคำกล่าวหา ที่รุนแรง
   ข้อที่ 2 นั้นหมายถึง ขาดจากความเป็นพระ จนต้องไปสู่ข้อพิสูจน์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ

   นี่คือข้อเสีย ที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับท่านที่ไม่ได้เป็นศิษย์ และ ไม่มีศรัทธาในกรรมฐาน สายนี้ และ มีอคติอยู่กับบุคคลด้วย ก็มี

   ดังนั้นเรื่อง ตอนต่อไป ( ตั้งแต่ตอนที่ 7 ) จะไปเล่า ไว้ในห้องศิษย์สายตรง ให้ศิษย์ได้อ่านเพื่อเป็นกำลังใจ และ มีแนวทางการปฏิบัติ เพื่อจะได้ไตร่ตรองพิจารณา ข้อบกพร่อมในการภาวนา ว่า ติดขัดอย่างไร ? และขอสงวนสิทธิ์กระทู้นี้ไว้ให้ที่เว็บ นี้เท่านั้น ห้ามนำออกเผยแพร่ ยังเว็บอื่น ๆ ก่อนได้รับอนุญาต จากฉันผู้เขียน

   ประกาศให้รับทราบ ไว้ ตามนี้

  เจริญธรรม / เจริญพร

    ธัมมะวังโส

   


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: feel-sad ที่ กรกฎาคม 07, 2016, 08:59:17 am
น่าเสียดาย อดอ่านอีกแล้ว ต้องหาวิธีเป็นศิษย์สายตรง สินะถึงจะได้อ่าน
เว็บนี้ ปิดบังข้อความ ที่มีประโยชน์ ส่วนตัวเห็นว่าน่าจะเปิด ส่วนใครจะว่า หรือใครจะคิดอย่างไร ก็น่าจะไม่ต้องไปสนใจ ควรเปิดเผยข้อความที่เป็นประโยชน์ เป็นสาธารณะ ไม่ต้องสงวนไว้ให้เฉพาะกลุ่ม คือ ให้ทุกคนคิดเอาเอง และ วิจารณญาณ เอง ว่า ควรทำตาม หรือ ควรแค่รู้ จะดีกว่า

  :49: :smiley_confused1:


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: นิรตา ป้อมนาวิน ที่ กรกฎาคม 07, 2016, 01:17:10 pm
คุณ feel sad อยากจะบอกว่าของดีๆบางอย่างไม่ได้เหมาะกับคนทุกคนค่ะ การจะได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั่นต้องใช้ความพยายามสูงกว่าคนทั่วไปมากหลายเท่าตัว ธรรมะจริงๆเป็นของคนทุกคน แต่บางคนก็ไม่ได้เห็นค่า....... st11 :25:


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: sinsae ที่ กรกฎาคม 07, 2016, 04:48:53 pm
 :49: :25: :25: :25:
ก็ต้องยอมเป็นศิษย์เท่านั้น สินะ

 :13:


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ กรกฎาคม 07, 2016, 10:45:07 pm
ขออนุโมทนาสาธุ


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: บุญเอก ที่ กรกฎาคม 08, 2016, 03:03:04 am
 st12 st12 st12 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ กรกฎาคม 08, 2016, 07:37:15 am
ต้องว่าไปตามสะดวก ของ ท่านอาจารย์คะ ถ้าดูแล้วมีผลเสีย ก็ควรเล่าเฉพาะในกลุ่มลูกศิษย์

 st11 st12 st12


หัวข้อ: การแจกธรรม สาธารณะ นั้นมี ลิมิต ไม่ใช่ว่าแจกสาธารณะ ไปได้ทั้งหมด
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 08, 2016, 08:54:31 am
ก็ต้อง มีลิมิต ไว้ มิฉะนั้น จะนำมาซึ่งความไม่ผาสุก แก่ ฉันเอง
ตอนนี้จดหมาย ที่เข้ามาส่วนใหญ่ เป็นเรื่องท้าทายมาก กว่า อนุโมทนา เพราะเหตุคนปัจจบุัน จะเชื่อคือต้องเห็นด้วยตา ต้องด้วยหู หรืออยู่ในเหตุการณ์ ด้วย

   ถ้าทุกคน ต้องการให้ฉันพิสูจน์ กันทุกคนอย่างนี้ มันก็ต้องทำเป็นรายคน นั่นแหละ นี่เป็นปัญหาใหญ่ ที่สำคัญไม่เชื่อก็เป็นเรือ่งของไม่เชื่อ ไม่ใช่หน้าที่ฉันที่ต้องไป พิสูจน์ซ้ำซาก เพื่ออะไร ?

   ดังนั้นใครมีวาสนา ก็ปฏิบัติไปตามกรรมฐาน นั่นแหละจึงควร ใครไม่มีวาสนา ก็ผ่านไปซะ ไปตามที่ท่านชอบเถิดไม่ได้ว่าอะไรกัน

    ดังนั้น การเปิดเผยหลักธรรมการภาวนา ที่เป็น สาธารณะ นั้น มันมี ลิมิต คือ ระดับที่ต้องหยุดด้วย ก็คือ ระดับนี้ เพราะถ้ามากกว่านี้ ก็ต้องเป็นคนใน ศิษย์ตรง เหมือนคนในครอบครัว รู้กันเฉพาะ สายและตระกูล เช่นนั้น ซึ่งมันเป็นธรรมเนียม ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ในสายกรรมฐาน บังคับไว้

    ได้คนโง่ ไว้มากไม่มีประโยชน์
ได้คนฉลาด สองสามคนดีกว่า ได้คนโง่ เป็นร้อยคน



ปิดทองหลังพระที่นี่ ฉันไม่ได้ปรารถนา ให้คนเข้าใจ ธรรม เป็นหลักร้อย แต่ฉันขอเพียง ก่อนฉันไป ( ละสังขาร ) ให้ได้มี เพียง 1 พระโสดาบัน 1 พระสกิทาคามี 1 พระอนาคามี และ 1 พระอรหันต์ เท่านั้น เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว สำหรับฉันที่ทำงานเผยแผ่พระธรรม ในที่นี้

     ;)


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: bajang ที่ กรกฎาคม 08, 2016, 04:28:20 pm
 st12 st12 st12


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ กรกฎาคม 10, 2016, 01:25:58 am
ขออนุโมทนาสาธุ ครับ


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: นิรตา ป้อมนาวิน ที่ กรกฎาคม 10, 2016, 09:19:45 pm
 like1 st11 st12


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: saichol ที่ กรกฎาคม 10, 2016, 11:26:39 pm
 st11 st12 st12 like1


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: บุญเอก ที่ กรกฎาคม 11, 2016, 08:15:36 am
เห็นด้วยครับ ที่พระอาจารย์ มีลิมิตกันไว้ เพื่อความผาสุข ของพระอาจารย์ครับ

  :25: :25: :25: st12


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: kittisak ที่ กรกฎาคม 11, 2016, 08:29:57 am
น่าเสียดาย เรือ่งเล่าที่พระอาจารย์ เล่านั้นเป็นประโยชน์ และแสดงถึงการกระทำที่มีความพยายามสูงในการภาวนา ความสำเร็จของท่านไม่ได้ทำกันวันสองวัน หรือทำแบบขอไปที ขอไปวัน ๆ แต่ท่านเล่ารายละเอีดยการฝึกอย่างหนักเลย แม้แค่ขึ้นเขาทดสอบกับครูอาจารย์ 35 สัปดาห์ 7 เดือน นี้ ท่านขึ้นลง เขาวงพระจันทร์มากกว่า 80 เที่ยว เขียนพุทโธลงใส่สมุด ถึง 7 เล่ม ทดสอบสมาธิ อีกสองรีม A4 คุณสมบััติเหล่านี้ แสดงถึงความเพียร ท่านและท่านก็พยายามสื่อให้พวกเราเห็นว่า การปฏิบัติไปสู่มุ่งหมายปลายทาง คือ พระนิพพาน นั้น ทำเล่นไม่ได้ ทำน้อยก็ไม่ดี ระดับครูอาจารย์ ทำขนาดนี้ แล้วระดับพวกเราที่ ควรกระทำเอากี่เสี้ยงของท่าน ต้องคิดกันต่อนะครับ

   ที่จริงผมอ่านมา แล้ว รู้สึกศรัทธา ท่าน เคารพ ท่าน แต่เป็นเพราะผม เคารพท่านอยู่แล้ว เลยไม่มีอคติ ผมลองเอาเรืองท่านส่งไปให้เพื่อน อ่าน เพื่อนผมก็คิดไปอีกแบบ อยากจะพิสูจนื บ้าง บอกว่า งมงายบ้าง ก็มี ผมจึงรู้ตามที่พระอาจารย์กล่าวไว้ว่า มันมีผลกระทบ คนในปัจจุบัน ดวงตาทางธรรมมีน้อยลง มีแต่อัตตามาก อันนี้จริง ๆ คนที่เชือเรืองพระนิพพาน จะมีสักกี่คน น่าคิดนะครับ


   คนแก่คุยเป็นเพื่อน เท่านี้ นะครับ

   :49: st12 like1


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ กรกฎาคม 11, 2016, 08:32:25 am
ยังติดตาม คะ และก็เห็นคุณค่า ของ บัณฑิต คะ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: waterman ที่ กรกฎาคม 23, 2016, 08:32:09 pm
ติดตามเรื่องนี้ ครับ ไม่ทราบว่า มีตอนต่อไปหรือยัง ครับ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ สิงหาคม 04, 2016, 10:17:10 am
ติดตามอ่านตอนต่อไป อยู่คะ

 st11 st12


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: axe ที่ สิงหาคม 04, 2016, 12:28:30 pm
นาน ๆ จะเข้ามาอ่านสักครั้ง ครับ เรื่องนี้น่าสนใจมากครับ และ อยู่ใกล้กับผมมาก โคกกระเทียม โคกสำโรง ไม่ไกลกันเท่าไหร่

 like1 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
เริ่มหัวข้อโดย: waterman ที่ สิงหาคม 04, 2016, 06:22:10 pm
ติดตามอ่านเรื่องราว ตั้งแต่ สัปดาห์ 15 ครับไม่ทราบว่า ตามอ่านได้ตรงไหน ครับ

  :49: :25: like1 like1