ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การเห็็น ทุกข์ มีความจำเป็นอย่างไร ในการภาวนา และ เกี่ยวข้องอย่างไรกับกรรมฐาน  (อ่าน 2982 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

อัจฉริยะ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 123
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือไม่ค่อยจะเข้าใจในส่วนนี้เลยครับ ว่าการเห็นทุกข์ มีความจำเป็นกับการนั่งกรรมฐาน ด้วยหรือครับ ในเมื่อเรานั่งกรรมฐาน ก็เพียงแต่ให้ใจสบาย บางครั้งก็ไม่ได้ทุกข์ใด ๆ ถึงได้นั่งกรรมฐาน จึงไม่เข้าใจว่าทำไมนั่งกรรมฐาน ต้องไปเข้าใจเรื่องทุกข์ด้วยครับ

การเห็็น ทุกข์ มีความจำเป็นอย่างไร ในการภาวนา และ เกี่ยวข้องอย่างไรกับกรรมฐาน
 :c017: :s_hi: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

timeman

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้ ยังไม่ได้ตอบกันนะครับ
   :c017: :s_hi:
บันทึกการเข้า
ทะลุมิติ มาหา ความจริง ของตัวเอง

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนี้เป็นธรรมอันประเสริฐแม้บุคคลผู้เยาว์วัย วัยรุ่ย วัยกลางคน วัยชรา เจ็บ ป่วย ทุพลภาพ ก็สามารถปฏิบัติพิจารณาได้ทุกคนไม่จำกัดกาล แต่การที่จะเป็นไปเพื่อการบรรลุอรหันต์นั้นอาจไม่ไช่ทุกคนเสมอไปเนื่องจากอาจเกี่ยวพันถึงความตั้งมั่นในการปฏิบัติ สภาพกายใจ คำอธิษฐาน คำพยากรณ์ เป็นต้น

บุคคลที่เจริญปฏิบัติในพระกัมมัฏฐาน(ไม่รวมผู้ที่อ่านเอาอย่างเดียวนะครับ)มี 3 ประเภทที่ผมพอจะจำแนกให้พอได้รู้ได้อ่านดังนี้ครับ

1. ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจสงบ สบาย
2. ปฏิบัติเพื่อลดทุกข์ หรือขจัดทุกข์ที่ตนเผชิญอยู่
3. ปฏิบัติเพื่อถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้

อธิบาย

1. ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจสงบ สบาย การปฏิบัติของบุคคลเหล่านี้ไม่ได้จริงจังอะไรมาก เพียงรู้ว่าสมาธิที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นมีความสงบกายและใจ ก็เลยปฏิบัติเพื่อความสงบกายและใจ แต่เราจะสงบได้ สุขจากสมาธิได้ ก็เพราะไม่มีทุกข์ นี่บางคนไม่รู้ตนเองเลยว่าตนเองเป็นทุกข์จึงยึดถือเพื่อให้เข้าถึงความสงบ ปิติสุขอื่มเอม หากคุณอัจฉริยะปฏิบัติเพื่อแค่นี้ ก็จัดอยู่ในแบบนี้ ทำโดยไม่รู้ว่าตนเองกำลังทุกข์ เพราะทุกข์นั้นยังเพียงอ่อนๆอยู่ ยังไม่ถึงกับแสดงอานุภาพชัดเจนนัก(จะกล่าวเรื่องนี้ในภายหลังครับ อาจจะยาวหน่อย)
2. ปฏิบัติเพื่อลดทุกข์ หรือ ขจัดทุกข์ที่ตนเผชิญอยู่ การปฏิบัติของบุคคลเหล่านี้มีความจริงจังแต่ไม่ได้เป้นไปเพื่อการหลุดพ้น เพียงแต่ขอให้ทุกข์ที่มีหายไป บุคคลเหล่านี้เห็นทุกข์ได้ชัดเจนใจดี หากเมื่อปฏิบัติแล้วมีจิตหลุดจากทุกข์ที่เป็นอยู่ได้จะเข้าใจว่าสุขจากการไม่สุข ไม่ทุกข์เป็นเช่นไรมีค่าแค่ไหน อาจส่งต่อให้ปฏิบัติจนหลุดจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ได้ โดยนัยยะสำคัญส่วนหนึ่งบุคคลประเภทนี้จะเข้าถึงสมาธิและธรรมได้ก็ด้วรู้สัจธรรมของพระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้เป็นเบื้องต้น
3. ปฏิบัติเพื่อถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ การปฏิบัติของบุคคลเหล่านี้มีความจริงจังที่จะให้หลุดพ้นเข้าถึงพระนิพพาน เมื่อรู้เห็นแล้วว่า แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความเจ็บก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ แม้ความโศรกเศร้า ร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความฝืดเคืองใจ ความขุ่นมัวใจ ความติดขัดใจ ความติดข้องใจ ความคับแค้นกายใจ ความพอใจยินดี ความไม่พอใจยินดีทั้งหลายก็เป็นทุกข์

ทีนี้ลองมาดูว่าทุกข์สำคัญไฉน
- การที่คุณดำเนินชีวิตไปทุกๆวัน คุณย่อมต้องเจอสิ่งที่ตนปารถนาใคร่ได้บ้าง ไม่รักไม่พอใจยินดีบ้าง หรือ พรัดพรากบ้างใช่ไหมครับ แม้สิ่งที่เจอนั้นใจคุณให้ความสำคัญมั่นหมายมันน้อยจึงเกิดผลกระทบน้อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เกิดจริงไหมครับ
- การที่คุณทำสมาธิเพื่อความสบายกายใจนั้น สิ่งที่ทำให้คุณอยากสบายกายใจก็เพราะว่าในชีวิตนี้ก็มีความทุกข์ ความวุ่นวาย ความฟุ้งซ่านใจอยู่ใช่ไหมครับแต่มันอาจจะเล็กๆน้อยๆไม่มาก(จริงๆแล้วทุกข์นี้คุณมีมากแต่เพราะไม่ได้เจริญตามในมหาสติปัฏฐานจึงยากที่จะเห็นทันทุกข์นั้นๆ) ซึ่งเมื่อมันเล็กๆน้อยๆพอมีสมาธิอ่อนๆทั่วไปมันก็ดับ ซึ่งคุณเข้าใจว่านี่ตนเองสบายกายใจแล้วไม่ทุกข์แล้ว
- แต่พอออกจากความสงบนั้นชั่วระยะเวลาแวบนึงที่คุณได้กระทบสัมผัสสิ่งภายนอกใดๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนั้น หรือ ตรึกนึกคิดปรุงแต่งใดๆ ก็มีความฟุ้งซ่าน ความเผลอไผล ความเอนอ่อนตามมันไป มารู้ตัวอีกทีจิตก้อส่งออกนอกไปไกลแล้วไวกว่าแสงด้วยซ้ำ นี่เขาเรียกว่าทุกข์โดยไม่รู้ตัว

- ทุกข์อย่างไร คุณย่อมมีความปารถนาใคร่ได้เป็นธรรมดาใช่มั้ยครับ เมื่อไม่ได้ตามปารถณาดั่งใจก็ติดขัดใจ ฝืดใจ ขุ่นมัวใจ อัดอั้นใจ (นี่ก็คงยากที่จะเห็นหากไม่เจริญในมหาสติปัฏฐาน) แม้เกิดขึ้นอ่อนๆ แต่ก็เกิดขึ้นแก่ใจคุณแล้วนี่เรียกว่าถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว
- ทุกข์อย่างไร คุณย่อมพบเจอความพรัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจ แม้สิ่งนั้นคุณให้ความสำคัญน้อยแต่สภาพความรู้สึกใจขณะนั้นคุณก็ต้องมีความขุ่นมัว เศร้าหมอง เสียดาย กรีดใจ หวีดใจ สั่นเครือ
- ทุกอย่างไร ก็เมื่อคุณได้พบเจอสิ่งใดๆก็ตามแต่ที่คตุณไม่ปารถนาใคร่ได้ยินดี พรัดพราก ฯ คุณย่อมพบเจอกับสิ่งอันไม่เป้นที่รักที่พอใจทั้หลาย แม้น้อยนิดแต่ความขุ่นมัวใจ ความคับแข้นใจ ความฝืดเคืองใจ ความเศร้าใจ ย่อมเกิดขึ้นแก่คุณ
- ทุกข์อย่างไร แม้กายนี้แค่ถูก มด-ยุง-ริ้น-ไร กัด ก็คันทรมานใช่ไหมครับ ไม่สบายกายใจแล้ว นี่ก็ถูกความทุกข์ครอบงำเอาแล้วครับ
- ทุกข์อย่างไร แม้พูดพ่ำเพ้อ ร่ำไร รำพันใดๆ อันที่ปากเราจะเปล่งวาจาออกมาได้นั้นก็เพราะใจมันตรึกนึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งอันครุ่นคิดตราตรึงวนเวียนระส่ำฟุ้งซ่านไม่สงบอยู่ในใจ อันนี้ก็เรียกว่าถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว

- ก็เพราะด้วยเหตุโดยย่อนี้ๆจึงกล่าวได้ว่า ทุกข์อยู่กับเราตลอดเวลา เพียงแต่เราไม่สังเกตุขาดความระลึกรู้เห็นตามจริงในสิ่งนั้นทำให้หลงไปว่าตนเองเป็นสุขไม่เป็นทุกข์ จึงก่อเกิดเป็นความสำคัญมั่นหมายเกิดความทะยานอยากเป็นตัณหาอุปาทานสืบไปไม่รู้จบ
- การจะดับสิ่งนี้ได้คือต้องรู้ทุกข์ รู้ตัวตนของมัน รู้ว่าทุกข์เป็นอย่างไร เมื่อรู้ทุกข์ก็ทำให้แจ้งในเหตุแห่งทุกข์เพื่อรู้ต้นตอของทุกข์นั้นแล้วดับมันด้วยมรรคมีองค์๘ เจริญมรรคให้มากๆ จะแจ้งในนิโรธ คือ ความสุขจากการพ้นทุกข์

ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้
สมุทัย เป็นสิ่งที่ควรละ
นิโรธ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง
มรรค เป็นสิ่งที่ต้องเจริญให้มาก

- การกำหนดรู้ทุกข์เป็นอย่างไร
    ก็เมื่อความทุกข์ คือ ความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน เจ็บปวดกาย-ใจ ขุ่นมัวคับแค้นกาย-ใจ อึดอัดกาย-ใจ อัดอั้นกาย-ใจ ติดขัดใจ ติดข้องใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เมื่อเสวยความทุกข์ใดๆควรกำหนดรู้ไว้ด้วยสติว่านี่คือเราถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว สภาพความรู้สึกเช่นนี้ๆเกิดขึ้นแก่เราแล้ว เมื่อเห็นทุกข์เราจะรู้ว่าคนเราหนีพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้เลย ไม่ด้วยเหตุใดก็เหตุหนึ่ง ดังนั้นชีวิตเรานี้จะล่วงพ้นความทุกข์ไปไม่ได้
- การละในสมุทัย(เหตุของทุกข์)เป็นอย่างไร
    ก็เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็ย่อมมีเหตุปัจจัยให้ดำเนินไปในผลนั่นก็คือทุกข์ ให้กำหนดรู้ในเหตุปัจจัยที่ทำให้เราเกิดทุกข์ เรามาทุกข์กายใจนี้เพราะอะไรสิ่งใด สิ่งใดเป็นเหตุ เป็นปัจจัย(ความสืบต่อดำเนินไปให้เกิดผล)เมื่อได้ลองทบทวนดูถึงเหตุที่ทำให้เกิดเป็นทุกข์ ก็ให้ละที่เหตุแห่งทุกข์นั้น
- การทำให้แจ้งในนิโรธ(ความดับทุกข์)เป็นอย่างไร
    ก็เมื่อได้ละไปในสมุทัย(เหตุแห่งทุกข์)แล้ว ความทุกข์ย่อมดับไปด้วยฉะนั้น ความไม่มีทุกข์ ความสงบ ความร่มเย็น ความผ่องใส ความปกติสุขที่หมดทุกข์ ย่อมเกิดขึ้นแก่กายและใจเรา ความไม่ฟุ้งซ่าน ความไม่สั่นกลัว ความไม่พร่ำเพ้อ ความไม่เพ้อเจ้อ กุศลจิต-กุศลกรรมใดๆย่อมเกิดแก่ กาย วาจา ใจ ของเรา ความคิดพล่านใดๆย่อมดับไป ยิ่งทำให้แจ้งในนิโรธมากเท่าไหร่ก็ยิ่งจะรู้ว่าการหลุดพ้นจากกองทุกข์นั้นเป็นอย่างไรมีความสุขประเสริฐมากแค่ไหน
- การเจริญในมรรค(ทางพ้นทุกข์)เป็นอย่างไร
    กล่าวโดยย่อเบื้องต้นคือ รู้เห็นจริงในสัจธรรมด้วยเหตุและผลตามจริง ดำรงอยู่และตั้งมั่นคงไว้ซึ่ง สติ ศีล หรหมวิหาร๔ สมาธิ กาย-วาจา-ใจ สุจริต สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ควรเจริญให้มาก จะเข้าถึงปัญญาทางโลกและทางธรรม จนดับไปแล้วซึ่งทุกข์ และ เหตุแห่งทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จนทำให้แจ้งยิ่งชัดในนิโรธ

- ไม่รู้ทุกข์จะไม่เข้าใจสัจธรรม
- ไม่เห็นทุกข์ก็ไม่เห็นเหตุของทุกข์
- ไม่เห็นเหตุก็ยากจะเข้าถึงธรรมที่เป็นทางแก้(มรรค)
- เมื่อไม่สามารถดับทุกข์ก็ไม่เห็นความพ้นทุกข์

หากสิ่งที่ผมโพสท์ตอบกระทู้นี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆหรือมีความบิดเบือนผิดเพี้ยนก็ขออภัยพระคุณเจ้าทุกท่าน ท่านเจ้าของกระทู้ ท่านผู้รู้ทุกท่านไว้นะที่นี้ด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 31, 2012, 10:30:27 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

paisalee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 382
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา กับ ท่าน Admax ที่มาช่วยตอบกระทู้นี้ครับ
ตอบได้ละเอียด ดีมากเลยครับ มีแนวทางคล้ายกับที่ผมติดตาม พ่อแม่ครูอาจารย์สายป่า เลยครับ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า
บุญที่้ข้าพเจ้าได้ทำวันนี้ ขออุทิศให้แก่ บิดาและน้องชายที่ล่วงลับ มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่