ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การใช้ สติ กับการมี สมาธิ เป็นองค์เดียวกันหรือป่าวคะ  (อ่าน 4414 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้ไปฟัง อธิบาย การสอนปฏิบัติสติ และ พระคุณเจ้า

ที่สอนได้บอกโยม สติ กับ สมาธิ คือองค์เดียวกัน

จึงเรียนถามพระอาจารย์ เพื่อความกระจ่าง ว่า

 สติ กับ สมาธิ เป็นองค์เดียวกันหรือป่าวคะ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

 สติ กับ สมาธิ เป็นองค์เดียวกันหรือป่าวคะ

 :25: :25:


สติ คือ ความระลึกรู้ในขณะอารมณ์

สมาธิ คือ ความมีใจตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว

สติ-สมาธิ ต้องใช้กำกับกันขณะภาวนา จึงกล่าวได้ว่า เป็นองค์เดียวกัน

จากปรากฏการณ์ที่ผมภาวนา ซึ่งพยายามจะนั่งภาวนาช่วงเวลาเที่ยงคืนถึงตีสอง แต่ด้วยตรากตรำกับงานประจำจึง

รู้สึกล้า เมื่อนั่งรู้ตัวว่านั่ง แต่กลับบริกรรม พุทโธ 1 สถิตย์ลงในฐานจิต, พุทโธ 2 สถิตย์ลงในฐานจิต, พุทโธ 3

สถิตย์ลงในฐาน กลับทำไม่ได้ จิตเข้าภวังค์นิ่งทรงตัวรู้ตัวอยู่อย่างนั้น เคลิ้มๆ กึ่งหลับกึ่งตื่น ผมกำลังจะบอกว่านี่

คือตัวอย่าง สติรู้ตัวว่านั่งอยู่ทรงตัวอยู่ แต่สมาธิไม่เกิด บริกรรมไม่ได้

หรืออีกลักษณะหนึ่ง คือ ผมพยายามสวดมนต์ แต่ด้วยความชำนาญบทมนต์ ปากก็ว่าได้อย่างไหลลื่นไปเรื่อยๆ

แต่ใจกลับฟุ้งซ่านคิดตามไปได้เรื่อยๆเหมือนกันครับ อย่างนี้ สติรู้ตัวว่าสวดมนต์ รู้ตัวว่าคิดฟุ้งซ่าน เพราะมัน

กำกับอยู่ แต่สมาธิกลับไม่จดจ่อ ไม่รู้ว่าสวดมนต์จบบทมาได้อย่างไร แบบว่า...งง.?

ถือโอกาสนี้กราบอาราธนานิมนต์พระอาจารย์ช่วยให้อรรถธรรมในกระทู้นี้ด้วยอีกคน..ครับ สาธุ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 14, 2010, 10:02:16 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
ผมขอมาช่วยเหลือพระอาจารย์ ครับ เป็นคำตอบที่พระอาจารย์เคยตอบผมมาทางเมล์ครับ
เพื่อที่พระอาจารย์ จะได้ไม่ต้องมานั่งพิมพ์คำตอบใหม่ครับ




คำตอบที่พระอาจารย์ เคยเมล์ ตอบมาให้ผมแล้วนะครับ ( ธัมมะวังโส )


สติ กับ สมาธิ เป็นคนละองค์ หาได้เป็นองค์เดียวกัน

ในอริยมรรคมีองค์ 8 ก็แยกส่วนไว้ เป็นส่วนของ สมาธิ

มี สัมมาวายามะ การพากเพียรถูกต้อง
   สัมมาสติ การระลึกถูกต้อง
  สัมมาสมาธิ การตั้งใจมั่นถูกต้อง
 โดยภาพรวมการอธิบาย ของสติ นั้นเพื่อมุ่งในเรื่อง วิปัสสนา โดยตรง วิปัสสนา มีเพื่อการละกิเลส
   ดังนั้นถ้าเป็นเรื่องของสติ ก็จะมี สัมปชัญญะ มาเกี่ยวข้อง อันเป็นบาทฐาน ของวิปัสสนา
  สตินั้น มีอยู่ 3 ระดับ
     1. สติขั้นต้น คือ การไม่หลง ไม่ลืม แต่ก็เสื่อมได้ไปตามวัย
     2.สติขั้นกลาง เป็นสติ ในการเป็นไปเพื่อ บุญ กุศลธรรมต่าง ๆ
     3.สติขั้นสูง เป็นสติที่เป็นไปเพื่อการตัดกิเลส เช่น สติปัฏฐาน 4 เป็นต้น

   สติเป็นองค์ ให้เกิด สัมปชัญญะ เพื่อให้รู้แจ้งชัด นาม และ รูป  หรือ ขันธ์ 5

  สมาธิเป็นความตั้งใจมั่น ให้ผลกำจัดกิเลสพื้นฐาน คือ นิวรณ์ 5 ประการ มีผลให้เกิดสติ และ สัมปชัญญะ
   สมาธิ มีอยู่ 3 ระดับ
     1.ระดับขณิกสมาธิ เป็นสมาธิพื้นฐานของมนุษย์
     2.ระดับ อุปจาระสมาธิ ปฏิบัติ ผ่าน พระธรรมปีติ พระยุคลธรรม และ พระสุข
     3.ระดับ อัปปนาสมาธิ ปฏิบัติเข้าสู่ ฌาน 1 2  3 4  5 และ ธาตุ 4 คือ อากาสานัญจายตะธาตุ เป็นต้น ( พระอาจารย์ไม่เรียกว่า อรูปฌาน )
 ดังนั้น สติ กับ สมาธิ เป็นคนละองค์ แต่ ผล เนื่องซึ่งกันและกัน
  ในการฝึกภาวนาในพระพุทธศาสนา นั้นมีการฝึก 2 แบบ
    แบบที่ 1 เรียกว่าการเจริญสติ คือ ฝึกสติให้มีสมาธิ เมื่อสติมีสมาธิ ก็จะเห็นตามความเป็นจริง คือวิปัสสนา
       เป็นที่นิยมของพวกปัญญาวิมุตติ
                ฝ่ายนี้อาศัยเวทนา คือ ความทุกข์ โทมนัส เป็นองค์วิปัสสนาหลัก
    แบบที่ 2  เรียกว่าการฝึกสมาธิ คือจิตให้ตั้งมั่น จนเกิดเป็นสติ และรู้เห็นตามความเป็นจริง คือวิปัสสนา
        เป็นที่นิยมของ เจโตวิมุตติ
                ฝ่ายนี้อาศัยเวทนา คือ ความสุข และ อทุกขมสุข มี โสมนัส และ อุบกขา เป็นองค์วิปัสสนา

   จะฝึกแบบไหน ก็ดีทั้งนั้น ตามจริต ตามศรัทธา ของใคร สำนักไหนดี นั้นไม่ใช่ เพราะเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ทั้งหมด
   และคำสอน อาจจะเฉพาะกลุ่ม เฉพาะบางท่าน บางรูป บางพวก ดังนั้น ให้ยึดหลักกับมาที่ ศีล สมาธิ และ ปัญญา
   เป้าหมายของการภาวนา เพื่อการสละ สลัดคืน จางคลาย จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย อันนี้เป็นหลักถูกต้อง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 14, 2010, 12:10:21 pm โดย kittisak »
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ สาธุ สาธุ

กับลุง kittisak มาก ๆ
 :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แสดงว่า สติ กับ สมาธิ ต้องแยกส่วนกัน

อย่างที่แสดง สติ เป็นเครื่องรักษาสมาธิ

 :25: :25:
ตำนานการเข้าสัพ เข้าคืบ เข้าสะกดกรรมฐาน
   การเข้าสัพ พระปีติ ๕ พระยุคล ๖ สุขสมาธิ ๒
     
        พระราหุลเถรเจ้า ทรงศึกษากับพระสารีบุตรเถรเจ้า องค์พระอุปัะชฌาย์ ครั้งทรงบรรพชาเป็นสามเณร  เพื่อให้จิต คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ

   
         การเข้าสะกด พระปีติทั้ง ๕ พระยุคลทั้ง ๖ สุขสมาธิ ๒ ประการ 
     
        พระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นแบบ กล่าวคือ
   
        สัทธิวิหาริกของ พระราหุลองค์หนึ่ง กำลังนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ ขณะนั้นบังเอิญเกิดมีกิ่งไม้แห้งหักตกลงสู่พื้นมีเสียงดังเกิดขึ้น พระภิกษุสัทธิวิหาริกของ พระราหุลเถรเจ้า กำลังบำเพ็ญภาวนาอยู่ก็สดุ้งตกใจเล็กน้อย  จิตก็ตกจากสมาธิ
       
        พระราหุลเถรเจ้าเห็นดังนั้น  ทรงทราบได้ทันทีว่า กุลบุตรที่มีจิตใจกล้าแข้งก็มี  กุลบุตรที่มีจิตใจอ่อนไหวต่อเสียงก็มี ครั้นได้ยินเสียงดัง อันเป็นเสี้ยนหนามต่อสมาธิเกิดขึ้น ผู้มีจิตอ่อนไหว จิตจะตกจากสมาธิทันที 


        กาลต่อมาพระราหุลเถรเจ้า   จะทรงทดลองสะกดสมาธิจิต ของพระภิกษุสัทธิวิหาริกขึ้น  โดยใช้ไม้เคาะให้เกิดเสียงดังขึ้นขณะ ภิกษุสัทธิวิหาริกนั้นกำลังเดินจิต ในพระปีติทั้ง ๕ พระยุคลทั้ง ๖ พระสุขสมาธิ ๒ประการ เมื่อได้ยินเสียงไม้เคาะสะกด ให้เลื่อนปีติ ยุคล ๖ สุขสมาธิ ๒ ทีละขั้น  จนจิตนั้นไม่สะดุงสะเทือนต่อเสียง เป็นจิตที่ทนต่อเสียง มีจิตเข้มแข้งขึ้นเป็นลำดับ   
   
        การเคาะไม้สะกดมีมาจนถึง การสังคายนาครั้งที่ ๓ 
       
        จึงเปลื่ยนมาใช้ลูกดินเผา ทิ้งลงในบาตรดินเผาให้เกิดเสียงแทนใช้มาจนถึงยุคทวาราวดี  ถึงสมัยสุโขทัย
 
        จึงเปลื่ยนมาเป็นลูกตะกั่วสะกดแทน 
       
        ต่อมาพระมหาเถรนามว่าแก้ว นำลูกสุกดมาจะรูตรงกลางเสียบไม้ ปักกับเทียนเป็นระยะ  วางเทียนที่ติดลูกสะกดไว้ บนไม้ตีนกา นำไม้ตีนกาวางบนบากบาตร  จุดเทียน ไฟไหม้เทียนลามมาถึง ไม้เสียบลูกสะกดอยู่ ลุกสะกดตกลงบาตดินมีเสียงดัง ผู้เข้าสะกดสะดุ้ง  ลูกต่อๆมาตก ไม่สะดุ้ง ทนต่อเสียงมีจิตกล้าแข้ง จิตไม่ตกจากสมาธิ  วิธีนี้ใช้เรื่อยๆมาจนถึงสมัยอยุธยา   รัตนโกสินทร์  ถึงปัจจุบันนี้  ส่วนมากสถานที่เข้าสะกด จะใช้เวลากลางคืน สะกดในป่าช้า เพื่อสะสงบความกลัว  สงบความสะดุ้งของจิต




  สติ เป็นเครื่องรักษา สมาธิ

  ความปรากฏในเรื่องการใช้ สะกด

   เสียงเป็นอุปสรรค เป็น เสี้ยนหนาม แก่ สมาธิ

   ดังนั้น พระราหุล มหาเถรเจ้า พุทธชิโนรส ผู้สอนกรรมฐาน จึุงมีการฝึกกรรมฐาน ให้กับศิษย์ มีการเคา่ะไม้

ในระหว่าง ซึ่งเป็นที่มาของ เข้าสะกดกรรมฐาน ผู้ฝึกเพราะไม่มีสติระวัง จึงตกใจออกจากสมาธิ

  เมื่อมีการเคาะไม้่ บ่อย ๆ หรือ หลาย ๆ ครั้ง จนเกิดความเคยชินกับเสียง เพราะมีสติระวัง ในระหว่างการทำ

สมาธิ จึงทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

  สาเหตุ ของการเข้าสะกด ก็เพื่อเอื้อให้ลูกศิษย์ มีสติ ในระหว่างสมาธิ ดังนั้น ระลึกรู้มีอยู่ในสมาธิด้วย

 แต่ สมาธิ และ สติ ให้ผลคนละส่วน แต่ก็มีหน้าที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เจริญพร


 ;)

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2010, 07:01:44 pm โดย ครูนภา »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


         ระหว่างคําว่า   สติ   กับ   สมาธิ

            แตกต่างกันอย่างไร  มาดูวิจาร-ธัมมะวิจยะกัน ans1
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา