ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 659 660 [661] 662 663 ... 707
26401  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไม ต้องมีการกำหนด อธิษฐาน อะไรยุบยิบ จังครับ กับ กรรมฐาน มัชฌิมา เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2011, 09:43:21 pm
ผมลองฟังที่สอน ตอนนี้อยู่ที่ สถานี RDN
รู้สึกว่า ขั้นตอนมีมาก จัง รู้สึกว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นี่ ฝึกได้ยากจังครับ

เพราะมีการกำหนด การเดินจิต รู้สึกว่ายากมากครับ

หรือ ผมยังไม่ค่อยจะเข้าใจครับ

 :s_hi:

ไม่ยากหรอกครับ ขั้นตอนต่างๆ ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด คำอธิษฐานต่างๆมีที่มาที่ไป มีเหตุมีผล

ตัวผมเองก็เคยคิดอย่างคุณ mitdee ถึงขั้นปรามาสกันเลย

สุดท้ายผมก็ลองรินน้ำที่เต็มแก้วออกเล็กน้อย ลองปฏิบัติเพื่อทดสอบความสามารถของตัวเอง

ในที่สุด ผมก็ทำได้ พอผมปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนผมค่อยๆเข้าใจได้เองว่า ทำไมต้องมีขั้นตอนต่างๆ


"ไม่ลองไม่รู้ ไม่ดูไม่เห็น อย่าด่วนตัดสินใจ หากยังไม่ได้พิสูจน์"

วันที่ ๑๔ สิงหาคมที่จะถึง เชิญที่บ้านคุณจิตตรี จ.สระบุรี เลยนะครับ

 :welcome: :49: :25: ;)
26402  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มีใครปฏิบัิติ ถึงห้อง พระยุคลหก บ้างแล้ว คะ เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2011, 09:29:39 pm
ในพรรษานี้ ตั้งใจไว้ว่า จะฝึกให้ถึงห้องพระยุคลหก คะ
เพราะเห็นเพื่อนที่ไปวัดราชสิทธาราม นั้น หลวงพ่อพระครู ให้ปฏิบัติ ห้องสี่แล้วคะ

ส่วนตัวยังไม่ไปไหน เลยคะ ย่ำอยู่กับที่ มัวแต่ไปยุ่งเรื่องการเมืองมากไปที่ผ่านมา

อนุโมทนา กับทุกท่านที่อธิษฐาน ในการภาวนากรรมฐาน ให้ก้าวหน้าทุกท่านนะคะ

 :25:

คุณฟ้าใส รู้จักพระอาจารย์สนธยาเป็นการส่วนตัวแล้ว(ผมรู้นะ...จะบอกให้) :67: ทำไมไม่มาที่สระบุรีล่ะครับ

อยากฝึกถึงห้องพระยุคล วันที่ ๑๔ สิงหาคมที่จะถึง เชิญที่บ้านคุณจิตตรี รับรองไม่ผิดหวัง


                 
"เกรงใจ บ่ได้วิชา"

:welcome: :49: :25: ;)
26403  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ซาตาน กับ พญามาร หรือ ไม่ คือ บุคคลเดียวกันหรือไม่ครัีบ เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2011, 09:10:40 pm
ขอบคุณภาพจากhttp://4.bp.blogspot.com/

Satan n.เซ-ทัน ตัวมารในคริสต์ศาสนาที่ล่อมนุษย์เพื่อให้ทำบาป,(M) เทวทัต

อ้างอิง ดิคชั่นนารี  อังกฤษ-ไทย (สอ เสฐบุตร)



มาร ๕ (สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุ ผลสำเร็จอันดีงาม)

๑. กิเลสมาร (มารคือกิเลส, กิเลสเป็นมารเพราะเป็นตัวกำจัดและขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ประสบความพินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต)

๒. ขันธมาร (มารคือเบญจขันธ์, ขันธ์ ๕ เป็นมาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง มีความขัดแย้งกันเองอยู่ภายใน ไม่มั่นคงทนนาน เป็นภาระในการบริหาร ทั้งแปรปรวนเสื่อมโทรมไปเพราะชราพยาธิเป็นต้น ล้วนรอนโอกาสมิให้บุคคลทำกิจหน้าที่ หรือบำเพ็ญคุณความดีได้เต็มปรารถนา อย่างแรง อาจถึงกับพรากโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง)

๓. อภิสังขารมาร (มารคืออภิสังขาร, อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ ชรา เป็นต้น ขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากสังขารทุกข์)

๔. เทวปุตตมาร (มารคือเทพบุตร, เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดแห่งชั้นกามาวจรตนหนึ่งชื่อว่ามาร เพราะเป็นนิมิตแห่งความขัดข้อง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนอำนาจครอบงำของตน โดยชักให้ห่วงพะวงในกามสุขไม่หาญ เสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดียิ่งใหญ่ได้)

๕. มัจจุมาร (มารคือความตาย, ความตายเป็นมาร เพราะเป็นตัวการตัดโอกาส ที่จะก้าวหน้าต่อไปในคุณความดีทั้งหลาย )


อ้างอิง วิสุทฺธิ.๑/๒๗๐; เถร.อ. ๒/๒๔,๓๘๓,๔๔๑; วินย.ฎีกา. ๑/๔๘๑


พระยามารที่มีเรื่องราวปรากฏบ่อยๆ ในคัมภีร์ คอยมาแทรกแซงเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติ เช่น ยกพลเสนามาผจญพระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์ชนะพระยามารได้ด้วยทรงนึกถึงบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา มารในกรณีเช่นนี้
 
บางทีท่านอธิบายออกชื่อว่าเป็น สวัตดีมาร ซึ่งครองแดนหนึ่งในสวรรค์ชั้นสูงสุด แห่งระดับกามาวจรคือปรนิมิตวสวัตดี เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้มิให้ล่วงพ้นจากแดนกามซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน


ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม และประมวลศัพท์(ป.อ.ปยุตโต)


ขอบคุณภาพจากhttp://download.buddha-thushaveiheard.com/

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

มารธีตุสูตรที่ ๕

             [๕๐๕] ครั้งนั้นแล มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา
จึงพากันเข้าไปหาพระยามารถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจึงถามพระยามารด้วยคาถาว่า


                          ข้าแต่คุณพ่อ คุณพ่อมีความเสียใจด้วยเหตุอะไร หรือ
                          เศร้าโศกถึงผู้ชายคนไหน หม่อมฉันจักผูกผู้ชายคนนั้นด้วย
                          บ่วง คือราคะ นำมาถวาย เหมือนบุคคลผูกช้างมาจากป่า ฉะนั้น
                          ชายนั้นจักตกอยู่ในอำนาจของคุณพ่อ ฯ

             [๕๐๖] พระยามารกล่าวว่า
                          ชายนั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ดำเนินไปดีแล้วในโลก ไม่เป็นผู้
                          อันใครๆ พึงนำมาด้วยราคะได้ง่ายๆ ก้าวล่วงบ่วงมาร
                          ไปแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก ฯ


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  บรรทัดที่ ๔๐๑๐ - ๔๑๓๖.  หน้าที่  ๑๗๔ - ๑๗๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=4010&Z=4136&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=505
26404  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ลอดใต้ท้องช้าง ที่วัดห้วยมงคล เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2011, 12:35:22 pm

ประวัติวัดห้วยมงคล


ขอบคุณจากwww.panyathai.or.th/

       “วัดห้วยมงคล” ตั้งอยู่ที่ ต.ทับใต้ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ แต่เดิมใช้ชื่อว่า “วัดห้วยคด” โดยอาศัยจาก ชื่อลำห้วยน้อยใหญ่ที่คดไปคตมา จึงนำมาใช้เป็นชื่อตั้งสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าเป็นโรงเรียน วัด หมู่บ้าน ในของห้วยคด ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านห้วยคด ต.ทับใต้ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

        ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จมาในปี พ.ศ.๒๔๙๕ ตั้งโครงการพระราชดำริแห่งแรกขึ้น และทรงได้พระราชทานนามใหม่จาก ห้วยคด เป็นห้วย “มงคล” ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นทั้งชื่อหมู่บ้าน วัด โรงเรียนและโครงการต่างๆ อีกมากมาย

        วัดห้วยมงคลก่อตั้งในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ จากที่พักสงฆ์เล็กๆ จนกระทั่งเป็นสำนักสงฆ์และเป็นวัดในเวลาต่อมา โดยมีหลวงพ่อปลั่ง ปภาโส เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดองค์แรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๓๔ ต่อมาเจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ คือ พระครูปภัสสรวรพินิจ หรือพระอาจารย์ไพโรจน์ ได้ปกครองวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ จนถึงปัจจุบัน

ได้ดำริที่จะสร้างหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ เพื่อสืบทอดและเผยแพร่พระพุทธศานา โดยได้รับความอุปถัมภ์ จากท่านพลเอกวิเศษ คงอุทัยกุล รองสมุหราชองครักษ์ ร่วมสร้างถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ ครบรอบ ๗๒ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ ทรงเสด็จมาเป็นประธานหล่อเศียร ในวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๖ และทรงเสด็จมากราบนมัสการหลวงพ่อทวด

เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๗ ปัจจุบันวัดห้วยมงคล ยังเป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นที่อบรมศีลธรรมแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา เช่น โครงการเข้าค่ายพุทธบุตร และยังเป็นศูนย์รวมของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ที่มาสักการะบูชาได้เข้าถึงพระรัตนตรัยอีกด้วย

        พุทธศาสนิกชนที่ประสงค์จะเดินทางไปกราบไหว้ หลวงปู่ทวด ณ วัดห้วยมงคล สอบถามรายละเอียดเส้นทางได้ที่ วัดห้วยมงคล หมู่ ๖ ต.ทับใต้ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๑๑๐ โทร.๐-๓๒๕๗-๖๑๘๗-๘


ที่มา http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/หลวงปู่ทวด_วัดห้วยมงคล
26405  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ลอดใต้ท้องช้าง ที่วัดห้วยมงคล เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2011, 12:31:49 pm
พระอาจารย์ไพโรจน์ ปภัสสโร กับปาฏิหาริย์หลวงปู่ทวด วัดห้วยมงคล


ขอบคุณภาพจากwww.panyathai.or.th/

       "แขวนหลวงปู่ทวดแล้วไม่ตายโหง" นี้เป็นความเชื่อในปาฏิหาริย์อย่างหนึ่งของคนในวงการพระเครื่อง รวมทั้งวงการอื่นๆ แต่สำหรับ พระอาจารย์ไพโรจน์ ปภัสสโร เจ้าอาวาสวัดห้วยมงคล ต.ทับใต้ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก กลับมีมุมมองเรื่องปาฏิหาริย์ของหลวงปู่ทวดที่ว่า "หลวงปู่ทวด คุ้มครอง ดูแล และเลี้ยงทุกคน"

        พระอาจารย์ไพโรจน์ บอกว่า ทุกวันนี้วัดห้วยมงคลกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปแล้ว โดยในแต่ละวัน จะมีพุทธศาสนิกชนเดินทางมากราบไหว้นับร้อยคน แต่ถ้าเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ อาจจะสูงถึงหลักพันคน นอกจากความสะอาดเรื่องสถานที่แล้ว ทางวัดยังมีโรงทานเตรียมอาหารไว้เลี้ยงด้วย

        สำหรับปัจจัยการทำบุญที่ได้จากญาติโยมนั้น นอกจากใช้ดูแลศาสนสถานภายในวัดแล้ว ทางวัดยังได้นำไปเป็นทุนการศึกษา ทุนอาหารกลางวัน สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในพื้นที่ใกล้วัดนอกจากนี้แล้ว ยังนำไปมอบให้ทหารตำรวจใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งอาจจะพูดได้เต็มปากว่า ปาฏิหาริย์หลวงปู่ทวด นอกจากช่วยให้คนไม่ตายโหงแล้ว ยังคุ้มครอง ดูแล และเลี้ยงทุกคน อีกด้วย

ส่วนที่มาของปัจจัยนั้น มีทั้งจากการจำหน่ายดอกไม้ธูปเทียน และพระหลวงปู่ทวด ทั้งนี้ พระอาจารย์ไพโรจน์ ได้อธิบายถึงการสร้างพระหลวงปู่ทวดของวัดว่า มี ๒ ลักษณะ คือ เนื้อโลหะ และเนื้อว่าน การสร้างพระเนื้อโลหะจะจ้างโรงงานผลิต

ส่วนการทำพระเนื้อว่านและเนื้อดินนั้น ลูกศิษย์ที่เป็นทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ รวมทั้งลูกศิษย์สายต่างๆ ที่ได้เคยอุปถัมภ์ค้ำจุนต่อกัน จะนำว่านมงคลมามอบให้ เช่น ว่านสบู่เลือด ว่านกันเขี้ยวกันงา ว่านตะบะ ว่านเพชรกลับ ว่านสาวหลง ว่านกันงูเงี้ยวเขี้ยวขอต่างๆ ว่านเสน่ห์จันทน์ขาว เสน่ห์จันทน์แดง ฯลฯ

ขอบคุณภาพจากwww.moohin.com/

        "การสร้างวัตถุมงคล การทำวัตถุมงคล แต่ละครั้งจะต้องใช้ว่านนับพันชนิด รวมกับมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากสถานที่ต่างๆ ซึ่งว่านแต่ละชนิดนั้น ตามคติความเชื่อโบราณนั้น เชื่อว่ามีดีอยู่ในตัว เช่น ว่านสาวหลง คติความเชื่อของคนโบราณเชื่อว่า มีอานุภาพด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ และทำมาค้าขายดี ในขณะที่ ว่านกันเขี้ยวกันงา คติความเชื่อของคนโบราณเชื่อว่า พกพาติดตัวแล้วจะปลอดภัยจากสัตว์ดุร้ายที่มีเขี้ยวงา" พระอาจารย์ไพโรจน์กล่าว

        เมื่อถามถึงจำนวนการสร้างพระหลวงปู่ทวด อาจารย์ไพโรจน์ บอกว่า น่าจะสร้างพระหลวงปู่ทวดทั้งแจกทั้งให้เช่าบูชาไปแล้วหลายล้านองค์ และครั้งหนึ่งเคยทำพระหลวงปู่ทวดให้เช่าบูชาเพียงองค์ละ ๑ บาท เท่านั้น เพื่อสงเคราะห์ญาติโยมที่เดินทางมาไหว้หลวงปู่ทวด แม้ว่าจะองค์ละบาท แต่มวลสารไม่ธรรมดา เพราะได้ใช้ดินจากสังนีเวชยสถาน ๔ แห่ง รวมทั้งดินจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ มาเป็นมวลสาร

        นอกจากนี้แล้ว พระอาจารย์ไพโรจน์ ยังพูดถึงการสร้างพระหลวงปู่ทวดรุ่นปาฏิหาริย์ว่า ในโอกาสที่ครบ ๒ ปี ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่ทวด ณ วัดห้วยมงคลว่า การจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่ทวดขึ้นมา ได้ยึดหลักของมวลสารแต่เดิมของพระเครื่องหลวงปู่ทวด คือ ว่าน และดินกากยายักษ์ เป็นส่วนผสมหลัก

โดยได้ทำพิธีพุทธาภิเษก มีพระสงฆ์ ๕,๐๐๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิอาจารย์ทรงวิทยาคมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก ณ มณฑลพิธีหน้าองค์หลวงพ่อทวด ส.ก. เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๙ และครั้งที่ ๒ ในวันเสาร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ทางวัดจะประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก "หลวงพ่อปู่รุ่นปาฏิหาริย์" โดยทูลเชิญทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริสวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นประธานชุดเทียนชัย
[/size]
ที่มา http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/หลวงปู่ทวด_วัดห้วยมงคล
26406  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ลอดใต้ท้องช้าง ที่วัดห้วยมงคล เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2011, 12:26:12 pm

ประวัติสมเด็จหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด



ขอบคุณภาพจากwww.panyathai.or.th/

        หลวงปู่ทวด หรือ สมเด็จพะโคะ มีนามเดิมว่าปู เป็นบุตรนายหู นางจัน วันเดือนปีเกิดของเด็กชายปู บ้างว่าเป็นเดือน ๔ ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๒๕ บ้างว่าปี พ.ศ. ๙๙๐ ฉลู สัมฤทธิศก บ้างว่า พ.ศ. ๒๑๓๑ โดยอนุมาน เข้าใจว่าคงเป็นปลายสมัยมหาธรรมราชา อาจเป็นปี พ.ศ. ๒๑๒๕ หรือ ๒๑๓๑

ตอนเด็กชายปูยังเป็นทารก มีเรื่องเล่าเป็นปฏิหาริย์เอาไว้ว่า หลังจากนางจันเลิกอยู่ไฟก็ออกเกี่ยวข้าวทันที วันหนึ่งนางไปเก็บข้าวก็เอาบุตรให้นอนในเปลใต้ต้นหว้า งูบองหลาขึ้นมานอนบนเปลนั้น มารดาบิดามาเห็นตกใจ งูก็เลื้อยหายไป แต่ได้คายแก้ววิเศษเอาไว้ให้

        เมื่อเด็กชายปู อายุได้ ๗ ขวบ บิดาได้นำไปฝากกับท่านสมภารจวง ซึ่งเป็นพี่ชายของนางจันผู้เป็นมารดา (หลวงลุง) วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือ เด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ ๑๐ ขวบ ก็บวชเป็นสามเณร และบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับพระชินเสนที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญ และมีชื่อเสียงมากมาจากกรุงศรีอยุธยา

เมื่ออายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ต่อมาก็ได้เข้ารับการอุปสมบทมีฉายาว่า "ราโมธมฺมิโก" แต่คนทั่วๆ ไปเรียกว่า "เจ้าสามีราม"' เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่า การศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอ จึงได้ขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา

ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นลมทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ ต้องทอดสมออยู่ถึง ๗ วัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมด บรรดาลูกเรือจึงตั้งข้อสงสัยว่า การที่เกิดอาเพศในครั้งนี้เป็นเพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะ ได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด

ขอบคุณภาพจากwww.moohin.com/

ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าซ้ายแช่ลงไปในทะเล ก็บังเกิดอัศจรรย์ น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่ม ก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้น เจ้าสามีรามเป็นชีต้น หรืออาจารย์ของเจ้าสำเภาอินสืบมา

        อภินิหารที่ท่านสามีรามเหยียบน้ำทะเลจืดเป็นที่โจษขานมาถึงบัดนี้ และเหตุการณ์ตอนนี้เล่าเสริมพิสดารขึ้นว่า ตอนแรกนายอินเชื่อมั่นว่า พระสามีรามเป็นกาลกิณี เรือจึงต้องพายุ เพราะก่อนมาไม่เคยเป็น เมื่อคลื่นลมสงบ จึงคิดจะเอาเจ้าสามีรามปล่อยเกาะ แต่ครั้นเห็นปาฏิหาริย์จึงขอขมาโทษ

        ส่วนอภินิหารอีกทางหนึ่งเล่าสืบกันมาว่า ครั้งหนึ่งขณะที่ท่านเดินอยู่ชายทะเล พวกโจรสลัดเห็นเข้าจึงใคร่จะลองดี ได้จับท่านใส่เรือ ชั่วครู่ก็เกิดอัศจรรย์ ทั้งๆ ที่คลื่นสงบแต่เรือแล่นไปไม่ได้ ออกแล่นก็วนเวียนอยู่ที่เดิม ในที่สุดน้ำจืดที่มีอยู่ได้หมดลง ท่านนึกสงสาร

จึงแหย่เท้าซ้ายลงในน้ำ แล้ววักน้ำขึ้นล้างหน้าและดื่มกิน พวกโจรเห็นจึงลองดูบ้าง เห็นเป็นน้ำจืดจึงช่วยกันตักเอาไว้ แล้วกราบขอขมาโทษ นำท่านส่งขึ้นฝั่ง ขณะที่เดินทางมาได้หยุดพักเหนื่อย เอาไม้เท้าพิงไว้กับต้นยางซึ่งขึ้นเคียงคู่กัน ต่อมายางนั้นก็คดเยี่ยงไม้เท้านั้น บัดนี้ยางนั้นเรียกว่า "ยางไม้เท้า"

        เล่ากันว่าเมื่อถึงวัยชรา ท่านได้แสดงปาฏิหาริย์หายไปพร้อมกับสามเณรน้อยองค์หนึ่งซึ่งนำดอกไม้ทิพย์ออกติดตามหาพระศรีอาริย์จนได้พบท่าน และในคืนวันเพ็ญนั้นเอง ชาวบ้านได้เห็นดวงไฟกลมโตบนท้องฟ้าเปล่งฉัพพรรณรังสีงดงามมาก กระทำทักษิณาวัฎอยู่ ๓ รอบ แล้วหายไปทางทิศอาคเนย์ ชาวบ้านจึงแน่ใจว่าท่านได้ไปสู่พระนิพพานแล้ว เหตุการณ์นั้นล่วงเลยมาหลายร้อยปีแล้ว

        ในยุคนี้และสมัยนี้ เกือบจะไม่มีชาวไทยคนใดเลย ที่จะไม่ได้ยินหรือได้ฟังกิติศัพท์เล่าลือเกี่ยวกับ ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ความศักดิ์สิทธิ์อันนี้ บ้างก็เป็นเรื่องของการคลาดแคล้วจากอุบัติเหตุสยอง จากไฟไหม้ หรือจากภัยพิบัตินานานับประการ และหลวงพ่อทวดมิใช้จะคุ้มครองเฉพาะในด้านอุบัติเหตุเท่านั้น แม้แต่ในทางโชคลาภก็ให้ผลอย่างดีที่สุด ดังที่ได้ประจักษ์แก่ผู้เสื่อมใสมาแล้ว[/size]

ที่มา http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/หลวงปู่ทวด_วัดห้วยมงคล
26407  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ลอดใต้ท้องช้าง ที่วัดห้วยมงคล เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2011, 12:21:05 pm

ลอดใต้ท้องช้าง ที่วัดห้วยมงคล





26408  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / องค์ดาไลลามะครบ 76 ปี คนนับหมื่นร่วมฟังธรรมะ เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2011, 12:07:03 pm

ขอบคุณภาพจากwww.thairath.co.th/

องค์ดาไลลามะครบ 76 ปี คนนับหมื่นร่วมฟังธรรมะ

องค์ดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณ อายุครบ 76 ปี ชาวทิเบตพลัดถิ่น และชาวต่างชาตินับหมื่น ร่วมฟังธรรมะย่านไชน่าทาวน์ ในกรุงวอชิงตัน…

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ชาวทิเบตพลัดถิ่นนับหมื่นคน รวมถึงชาวอเมริกัน และชาวยุโรปจำนวนมาก รวมตัวกันที่อาคารเวอไรซันในย่านไชน่า ทาวน์ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ของสหรัฐฯ เมื่อ 6 ก.ค. เพื่อร่วมฟังธรรมะและสวดภาวนา เนื่องในวันคล้ายวันเกิดครบรอบอายุ 76 ปี ขององค์ดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวทิเบต ซึ่งเดินทางเยือนสหรัฐฯเป็นเวลา 11 วัน

โดยองค์ดาไลได้กล่าวด้วยว่า วันเกิดปีนี้เป็นปีที่มีความสุขอย่างยิ่ง เพราะได้ผ่อนภาระหน้าที่ทางการเมืองให้แก่รัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบตอย่างเป็นทางการตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา.


่ที่มา http://www.thairath.co.th/content/oversea/184739
26409  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: กัลยาณวัตร คืออะไร พี่น้องเพื่อนสมาชิกธรรม ทราบหรือยัง คะ เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2011, 07:07:56 pm


พระะไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ ชื่อมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๕

๓๓. มฆเทวสูตร
สูตรว่าด้วยพระเจ้ามฆเทพ

    ๑ . พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่ามะม่วงของพระเจ้ามฆเทพ ใกล้กรุงมิถิลา ทรงทำพระอาการยิ้มแย้มให้ปรากฏ เมื่อพระอานนท์กราบทูลถามถึงเหตุที่ทรงยิ้ม จึงตรัสเล่าว่า กรุงมิถิลานี้เคยมีพระราชาพระนามว่ามฆเทพ เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม ทรงประพฤติธรรมในพราหมณคฤหบดี ชาวนิคมชนบททั้งหลายทรงอยู่จำอุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์

ตรัสสั่งช่างกัลบกว่า ถ้าเห็นเส้นพระเกสาหงอกเมื่อไรให้บอก เมื่อล่วงกาลมานาน ช่างกัลบกเห็นพระเกสาหงอกก็กราบทูลให้ทรงทราบ ตรัสให้เอาแหนบถอนให้ถอดพระเนตร ครั้นแล้วพระเจ้ามฆเทพจึงตรัสเรียกเชฏฐโอรส ( ลูกชายคนโต ) มา ทรงมอบราชสมบัติให้แล้ว ตรัสสั่งให้ปฏิบัติทำนองเดียวกับพระองค์ ( คือเมื่อเส้นพระเกสาหงอกให้ออกผนวช ) ให้รักษากัลยาณวัตรอันนี้ อย่าเป็นคนสุดท้าย ที่ทำให้กัลยาณวัตรนี้ขาดสูญ แล้วจึงออกบวช.

   ๒. ทรงแผ่เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต และอุเบกขาจิตไปทั้งหกทิศ สู่โลกทั้งปวง เจริญพรหมวิหาร ๔ ดังกล่าวมานี้ เมื่อสวรรคตก็เข้าถึงพรหมโลก. พระโอรสของพระเจ้ามฆเทพ พระราชนัดดาของพระเจ้ามฆเทพ ก็ทรงประพฤติสืบต่อกันมาโดยนัยนี้ สืบมาจนถึงพระเจ้านิมิ ซึ่งเป็นพระธัมมิกราชา องค์สุดท้าย

เมื่อมาถึงพระราชบุตรของพระเจ้านิมิ ผู้ทรงพระนามว่า พระเจ้าฬารชนกะ ก็ทรงตัดกัลยาณวัตรนั้น ไม่เสด็จออกผนวช จึงนับเป็นพระองค์สุดท้ายแห่งกษัตริย์เหล่านั้น, ตรัสสรุปว่า วัตรนั้นเพียงให้ถึงพรหมโลก แต่กัลยาณวัตรที่ทรงตั้งไว้ในปัจจุบันนี้ คืออริยมรรคมีองค์ ๘ ทำให้ตรัสรู้ และให้ได้นิพพาน. ในที่สุดตรัสเตือนให้รักษากัลยณวัตรของพระองค์ อย่างเป็นคนสุดท้าย.



ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
ขอบคุณภาพจาก www.rmutphysics.com/



อ่าน มฆเทวสูตร เรื่องพระเจ้ามฆเทวะ ฉบับเต็มๆได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  บรรทัดที่ ๗๒๔๙ - ๗๔๗๓.  หน้าที่  ๓๑๖ - ๓๒๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=7249&Z=7473&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=452


ขออนุญาตช่วยหนูชมพู่สักนิด "ถ้าเป็นคนสุดท้ายแบบสุภัททะปริพาชก" ก็น่าจะดีนะครับ
 :welcome: :49: :25: ;)
26410  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / นอร์เวย์มอบคัมภีร์พุทธศาสนา 2 พันปี ประดิษฐานวัดสระเกศ เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2011, 11:43:32 am

นอร์เวย์มอบคัมภีร์พุทธศาสนา 2 พันปี ประดิษฐานวัดสระเกศ


รัฐบาลนอร์เวย์ มอบ "ธรรมเจดีย์" พระคัมภีร์โบราณอายุ 2 พันปี ประดิษฐานถาวร ณ พระบรมบรรพต วัดสระเกศ หนึ่งเดียวในโลก เฉลิมฉลองโอกาสมหามงคล "ในหลวง" 84 พรรษา เตรียมเปิดให้ประชาชนชมของจริงวันอาสาฬหบูชา...

เมื่อวันที่ 11 ก.ค. พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลนอร์เวย์ อัญเชิญ "ธรรมเจดีย์" พระคัมภีร์โบราณทางพระพุทธศาสนาเก่าแก่ที่สุด ที่ค้นพบในถ้ำของเทือกเขาบาบิยัน ประเทศอัฟกานิสถาน อายุ 2,000 ปี มาจัดแสดงที่พุทธมณฑล ของประเทศไทย เมื่อเร็วๆ นี้ จากนั้นรัฐบาลนอร์เวย์ได้ถวายพระคัมภีร์บางส่วนให้ประดิษฐานไว้ในประเทศไทย

เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีว่า ไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ได้รับพระคัมภีร์จากรัฐบาลนอร์เวย์ ซึ่งเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสนอร์เวย์ ได้พระราชทานพระไตรปิฎกเป็นที่ระลึกกับรัฐบาลนอร์เวย์ การถวายพระคัมภีร์ดังกล่าวจึงถือเป็นการร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสมหามงคล และเป็นการตอบแทนประเทศไทยด้วย


พระวิจิตรธรรมาภรณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับ "ธรรมเจดีย์" จะนำไปบรรจุที่พระบรมบรรพตภูเขาทอง วัดสระเกศ บริเวณศาลาด้านหน้า ทางขึ้นภูเขาทอง ซึ่งภายในศาลาดังกล่าวจะมีการจำลองหุบเขาบาบิยัน ซึ่งเชื่อว่าเป็นเส้นทางสายไหม ซึ่งสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นคันธาระ ซึ่งเป็นแคว้นกำเนิดพระพุทธรูปยุคแรกของโลก พร้อมจำลองพระพุทธรูปโบราณไว้ด้วย

ขณะเดียวกันได้บรรจุโอ่งสำหรับบรรจุพระคัมภีร์โบราณเป็นแบบโปร่งใส และมีแว่นขยายส่อง เพื่อให้เห็นอักษรพราหมีโบราณที่จารึกโดยพระอรหันต์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า อักษรพราหมีนั้น เป็นอักษรในพระคัมภีร์พระพุทธศาสนาจากหุบเขาบาบิยัน และมีลักษณะเช่นเดียวกับ อักษรที่เขียนสลักบนผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บนพระบรมบรรพต

ในขณะเดียวกัน ภายในศาลาจะมีประวัติความเป็นมาของพระคัมภีร์ และความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาในอัฟกานิสถานด้วย จะมีการนำสื่อดิจิตอลสมัยใหม่มาผสมผสานให้นิทรรศการเข้าใจง่ายขึ้น ทั้งนี้ ทางวัดจะเปิดให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าชมอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 ก.ค.นี้ ซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชา.

อ้างอิง
นอร์เวย์มอบคัมภีร์พุทธศาสนา2พันปี ประดิษฐานวัดสระเกศ - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
http://board.palungjit.com/f36/นอร์เวย์มอบคัมภีร์พุทธศาสนา2พันปี-ประดิษฐานวัดสระเกศ-297932.html
ขอบคุณภาพจาก www.thairath.co.th/
26411  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ยูเนสโกเลือก"ภาพเศียรพระในรากต้นโพธิ์"ที่อยุธยา ให้เป็น 1 ในที่สุดมรดกโลก เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2011, 11:27:20 am


ยูเนสโกเลือก"ภาพเศียรพระในรากต้นโพธิ์"ที่อยุธยา ให้เป็น 1 ในที่สุดมรดกโลก

วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 19:30:10 น.
นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร ในฐานะกรรมการมรดกโลก กล่าวว่า ในช่วงการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สำนักงานใหญ่ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประเทศฝรั่งเศส ได้มีการคัดเลือกภาพแหล่งมรดกโลกทั้งด้านทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม ประมาณ 40-50 ภาพ ขนาด 1 x 1.5 เมตร จากแหล่งมรดกโลกทั้งหมด 936 แหล่ง เพื่อนำมาติดไว้บริเวณรั้วของสำนักงานใหญ่ทั้ง 4 ด้าน พร้อมทั้งเขียนบรรยายที่มาของภาพแหล่งมรดกโลกต่างๆ ไว้ด้วย


จากการที่คณะผู้แทนจากประเทศไทยได้เดินทางไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ผ่านมา ได้พบเห็นภาพเศียรพระที่อยู่ในรากไม้ต้นโพธิ์ วัดมหาธาตุ มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็น 1 ในสถานที่ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก ติดอยู่บริเวณประตูใหญ่ด้านหน้าทางเข้าสำนักงานใหญ่ยูเนสโก


“สำหรับเศียรพระที่อยู่ในรากไม้ต้นโพธิ์เป็นการเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือเรียกอีกอย่างว่าเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ช่วงบูรณะสมัยก่อน ซึ่งมีโบราณวัตถุมาเรียงกันไว้จำนวนมาก จนกระทั่งมีรากไม้มาหุ้มเศียรพระ ถือเป็นภาพที่น่าสนใจของไทย ซึ่งการที่ได้เห็นภาพดังกล่าวติดอยู่ริมรั้วของสำนักงานใหญ่ยูเนสโก

อย่างน้อยก็ถือเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจที่ยูเนสโกได้คัดเลือกภาพเศียรพระที่อยู่ในรากไม้ต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของมรดกโลกอยุธยา แทนที่จะเลือกวัดมหาธาตุ หรือวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งเป็นสถานที่เก่าแก่มีคนรู้จักมากจากมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา หรือเลือกมรดกโลกบ้านเชียงมาติดไว้ อย่างไรก็ตาม ในครั้งต่อไปอาจจะมีการนำภาพมรดกโลกอื่น ๆ มาติดแทนก็ได้” นางโสมสุดากล่าว

กรรมการมรดกโลกกล่าวต่อไปว่า ส่วนภาพอื่น ๆ ที่ได้นำมาติดไว้บริเวณรั้วของสำนักงานใหญ่ยูเนสโกนั้น ส่วนใหญ่เป็นภาพไฮไลต์สุดยอดและมีความโดดเด่นของมรดกโลกของแต่ละประเทศ เช่น มรดกโลกมาชู ปิกชู เมืองสาบสูญแห่งเมืองอินคา ประเทศเปรู


ซึ่งในส่วนของไทยก็รู้สึกประหลาดใจ และประทับใจเล็ก ๆ ที่เห็นภาพดังกล่าวปรากฏ เพราะคิดว่าเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบเล็ก ๆ ของวัดมหาธาตุฯ แหล่งมรดกโลกอยุธยาเท่านั้น ซึ่งจากการวิเคราะห์เบื้องต้น อาจจะมีความแปลก หรืออาจจะเป็นสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ และเศียรพระยังมีความสมบูรณ์ แสดงให้เห็นว่าแหล่งมรดกโลกอยุธยามีหลายจุดที่น่าเยี่ยมชม แม้จะเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ในวัดมหาธาตุยังมีผู้ที่ให้ความสนใจและคัดเลือกภาพมาเผยแพร่สู่สายตาชาวโลก


รายงานข่าวกล่าวว่า ภาพเศียรพระในรากต้นโพธิ์เคยปรากฏในเว็บไซต์ Tripadvisor อยู่ในเครือข่ายของเว็บไซต์ยูเนสโก ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวยุโรปนิยมหาข้อมูลท่องเที่ยวในเอเชีย พบว่านักท่องเที่ยวจะไม่พลาดที่จะมาชมแหล่งอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เศียรพระพุทธรูปหินทรายที่ถูกห่อหุ้มด้วยรากของต้นโพธิ์ภายในวัดมหาธาตุ ถือว่าเป็นอันซีนไทยแลนด์

เพราะนักท่องเที่ยวเข้าใจว่าพระอยู่ใต้ต้นโพธิ์ผุดขึ้นมา จึงทำให้นักท่องเที่ยวสนใจเป็นอย่างมาก ที่สำคัญได้มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพเศียรพระพุทธรูปหินทรายที่ถูกห่อหุ้มด้วยรากต้นโพธิ์ด้วย

ทั้งนี้ ในปี 2553 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในยุโรปและเอเชียมาเที่ยวชมอยุธยามากถึง 1.2 ล้านคน จาก 92 ประเทศ อาทิ โปรตุเกส เยอรมนี ญี่ปุ่น ซึ่งประเทศแถบยุโรปถือเป็นอันดับ 1 ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด ล่าสุด กรมศิลปากรได้ทำสถิตินักท่องเที่ยวเข้าชมและใช้บริการแหล่งโบราณสถานและมรดกโลก เดือนตุลาคม 2553-พฤษภาคม 2554 มีนักท่องเที่ยวเข้าชมอุทยานฯพระนครศรีอยุธยาแล้วถึง 719,378 คน



ที่มา  http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1310473961&grpid=01&catid=&subcatid=
ขอบคุณภาพจาก www.matichon.co.th/, http://img.kapook.com/
26412  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เสียงอ่าน ประวัติพระราหุล และ การ์ตูนพระราหุลกุมารบรรพชา เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2011, 07:35:02 pm






:welcome: :49: :25: ;)
26413  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำงาน แล้วเพ่งสมาธิ กับงาน เป็นการภาวนาหรือไม่ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2011, 11:10:06 am
สัมมาสมาธิ ในมรรค๘ หมายถึง ฌาน ๔

การมีสมาธิในขณะทำงาน ไม่ถือว่า เป็นสัมมาสมาธิ

แต่การเพ่งสีต่างๆ เป็นเวลานาน เช่น เขียว เหลือง แดง

จัดเป็นกสิน แต่ต้องได้ นิมิตนะครับ เพ่งสีแบบนี้ ถึงแม้จะได้แค่ขณิกสมาธิ

หรือ อุปจารสมาธิ ซึ่งยังไม่เป็นฌาน(อัปนาสมาธิ) โดยส่วนตัวผม ถือว่า

สมาธินี้เป็นทางไปสู่มรรค ผล นิพพานได้ น่าจะอนุโลมให้เป็น สัมมาสมาธิได้

ตอบคำถามที่ว่า เป็นภาวนาหรือไม่ หากเป็นสมถภาวนา ก็น่าจะมีอยู่บ้าง แต่วิปัสสนาภาวนา คงยากที่เกิดได้

 :welcome: :49: :25: ;)

ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
26414  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: เหมือนหงายของที่คว่ำ_เปิดของที่ปิด_บอกทางให้แก่คนหลงทาง คืออะไร..??!! เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2011, 10:40:34 am

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

๔. ทีฆนขสูตร
เรื่องทีฆนขปริพาชก

             [๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตาเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์.
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มี
พระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.


ได้กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
ทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.


             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่
เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน.


             ท่านพระโคดม ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น แม้ความ
เห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.

อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือ
ความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละได้.


อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้
ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีน้อยคือน้อยกว่าคนที่ยังละไม่ได้.

ฯลฯ..........................ฯลฯ.........................ฯลฯ

ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร)

ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก

             [๒๗๕] ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันถึงแล้ว มีธรรมอัน
ทราบแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความ
เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า


ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก

     - เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
     - เปิดของที่ปิด
     - บอกทางให้แก่คนหลงทาง
     - หรือตามประทีปในที่มืด


 ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม
โดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระ
ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.

จบ ทีฆนขสูตร ที่ ๔.

ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร)

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  บรรทัดที่ ๔๖๖๑ - ๔๗๖๘.  หน้าที่  ๒๐๔ - ๒๐๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4661&Z=4768&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269
ขอขอบคุณภาพจาก www.fisho.com/,www.wanramtang.com/
26415  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: เหมือนหงายของที่คว่ำ_เปิดของที่ปิด_บอกทางให้แก่คนหลงทาง คืออะไร..??!! เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2011, 10:19:47 am

โปรดปริพาชกทีฆนขะ


     วันนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่เรียกกันว่าแบบลักษณะแคนนอน ระบบตีวัวกระทบคราด หรือว่ายังไงก็ได้ ว่าแต่ไม่ใช่เป็นเจตนาเช่นนั้น ความจริงแล้วเป็นเรื่องของความเข้าใจของผู้ทำหน้าที่พัดอยู่ คือพระสารีบุตร อัครสาวกฝ่ายขวา ทำหน้าที่พัดขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมกับปริพาชกทีฆนขะ

ปรากฏว่าขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่นั้น พระสารีบุตรผู้ทำหน้าที่พัดอยู่ข้างหลัง ก็เกิดแวบขึ้นในพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงจนกระทั่งได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ นี่เรียกว่าเทศน์กับองค์ข้างหน้า แต่องค์ข้างหลังบรรลุ นี่เป็นการแสดงธรรมในลักษณะแคนนอน


ที่มา  http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/buddhist1/index/indexpic60.htm


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ ชื่อมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๕

๒๔. ทีฆนขสูตร
สูตรว่าด้วยปริพพาชกชื่อทีฑนขะ

   ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ถ่ำสูกรขาตา ( ถ้ำสุกรขุด ) เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. ปริพพาชก ชื่อทีฆนขะ ( ไว้เล็บยาว ) มาเฝ้า แสดงความเห็นว่า ทุกอย่างไม่ควรแก่ตน ๑๓  ตรัสตอบว่า ถ้าอย่างนั้น ความเห็นนั้น ก็ไม่ควรแก่ท่านด้วย. ทูลต่อไปว่า ตนชอบใจความเห็นที่ว่า สิ่งนั้นเหมือนกันหมด ๑๔  ตรัสตอบว่า คนที่พูดอย่างนี้ ยังไม่ละทิฏฐินั้น ซ้ำยังไปถือทิฏฐิอื่นอีกด้วย มีอยู่มาก แต่คนที่พูดอย่างนี้แล้วละทิฏฐินั้นไม่ถือทิฏฐิอื่น มีน้อยมาก.

   ๒. ครั้นแล้วตรัสแสดงถึงสมณพราหมณ์บางพวกที่เห็นว่า ทุกสิ่งควรแก่ตนบ้าง ทุกสิ่งไม่ควรแก่ตนบ้าง เห็นว่า บางอย่างควร บางอย่างไม่ควรบ้าง. ฝ่ายที่เห็นว่า ทุกสิ่งควรแก่ตน ใกล้ไปทางยินดี ยึดมั่นยึดถือ. ฝ่ายที่เห็นว่า ทุกสิ่งไม่ควรแก่ตน. ใกล้ไปในทางไม่ยินดี ไม่ยึดมั่น ไม่ยึดถือ .

ปรพพาชกจึงกล่าวว่า พระสมณโคดมยกย่องความเห็นของตน. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า ฝ่ายที่เห็นว่า บางอย่างควร บางอย่างไม่ควร ก็ใกล้ไปทางยินดีบ้าง ไม่ยินดีบ้าง เป็นต้น. แล้วตรัสต่อไปว่า วิญญูชนย่อมพิจารณาเห็นว่า การยึดถือทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมทำให้ทะเลาะวิวาทกัน ทำให้เบียดเบียนกัน จึงละทิฏฐิเหล่านั้น และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น.

   ๓. ตรัสสอนว่า ควรพิจารณาเห็นกายนี้โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นต้น จนถึงไม่ใช่ตัวตน. เมื่อพิจารณาอย่างนี้ ก็จะละความพอใจในกายเสียได้.

   ๔. ครั้นแล้วตรัสเรื่องเวทนา   ๓ คือ   สุข   ทุกข์   ไม่ทุกข์ไม่สุข   และชี้ให้เห็นความไม่เที่ยง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น เป็นต้น ของเวทนาเหล่านั้น. เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ อริยสาวกย่อมเบื่อหน่ายในเวทนาทั้งสามและเมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด และหลุดพ้น รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว สิ้นชาติ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำหน้าที่เสร็จแล้ว ฯ ล ฯ . ผู้มีจิตหลุดพ้นอย่างนี้ ย่อมไม่วิวาทกับใคร ๆ . สิ่งใดที่เขาพูดกันในโลก ก็พูดตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดถือ.

   ๕. พระสารีบุตรนั่งพัดอยู่เบื้องพระปฤษฏางค์พระผู้มีพระภาค มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ( เป็นพระอรหันต์ ) ส่วนปริพพาชกชื่อทีฆนขะ ได้ดวงตาเห็นธรรม ( เป็นโสดาบันบุคคล ) เมื่อเห็นธรรมแล้ว ปริพพาชกชื่อทีฆนขะกราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.


ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
26416  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เหมือนหงายของที่คว่ำ_เปิดของที่ปิด_บอกทางให้แก่คนหลงทาง คืออะไร..??!! เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2011, 10:12:21 am
อุบัติแห่งพระศาสดา


    มีการอุปมาว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น  ทรงแสดงธรรมอุปมาได้  4  อย่าง
 
        - เหมือนหงายของที่คว่ำ 
        - เหมือนเปิดของที่ปิด 
        - เหมือนชี้ทางกับผู้เดินทางไม่ให้หลงทาง   
        - เหมือนจุดประทีปเอาไว้ในที่มืด 


ประทีปที่จุดไว้ในที่มืดสามารถทำให้ผู้เดินทางได้เห็นอย่างแจ่มชัด   ไม่สะดุดและไม่เดินชนสิ่งกีดขวาง  ชีวิตจะได้ราบรื่น  เมื่อพระศาสดาอุบัติเกิดขึ้น  ฝูงชนเป็นอันมากพากันแซ่ซ้องสาธุ ตั้งแต่ราชามหากษัตริย์  ถึงยาจกยากจนแสนเข็ญ  รวมถึงสัตว์โลกทั้งหลาย


ที่มา http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/buddhist1/index/indexpic1.htm


ธรรมอุปมา ๔ อย่างนี้ หากค้นในพระไตรปิฎก จะพบได้หลายที่ คำเหล่านี้ล้วนเป็นการสรรเสริญธรรมของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น เท่าที่หาได้มีอยู่ในพระไตรปิฎกหลายเล่ม เช่น

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑  มหาวิภังค์ ภาค ๑
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒  มหาวิภังค์  ภาค ๒
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔  มหาวรรค  ภาค ๑
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕  มหาวรรค  ภาค ๒
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑  ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒  ทีฆนิกาย มหาวรรค
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓  ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔  มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕  มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖  มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗  สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘  สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐  สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑  สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒  อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓  อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔  อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗  ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


ผมจะยกตัวอย่างมาให้ดูสักเล่ม เป็น พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕  มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ สูตรนี้ชื่อว่า "ทีฆนขสูตร" เป็นของทีฆนขปริพาชก มีศักดิ์เป็นหลานของพระสารีบุตร พระพุทธเจ้าได้เทศน์โปรดฑีฆนขปริพาชกจนบรรลุโสดาบัน ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ พระสารีบุตร ซึ่งนั่งอยู่ด้วยได้บรรลุอรหันต์

วันนั้นมีเหตุการณ์ที่มหัศจรรย์เกิดขึ้น ๔ อย่างด้วยกัน คือ

    ๑. พระสงฆ์ 1,250 รูปที่พระพุทธองค์ได้ส่งไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแว่นแคว้นต่างๆ ได้กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
    ๒. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
    ๓. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ คือผู้ได้อภิญญา 6 ข้อ
    ๔. วันที่พระสงฆ์ทั้งหมดมาชุมนุมกันนี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)


ซึ่งในโอกาสนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่เรียกว่าโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาอีกด้วย

ถึงตรงนี้คงเข้าแล้วนะครับว่า วันนี้คือ วันจาตุรงคสันนิบาต หรือที่ีเรียกกันโดยไปว่า วันมาฆบูชา นั่นเอง

26417  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: "อ.เจน ญาณทิพย์" นักสืบญาณทิพย์ เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2011, 06:24:54 am





ขอบคุณภาพจากยูทูบ
26418  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: "อ.เจน ญาณทิพย์" นักสืบญาณทิพย์ เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2011, 06:19:00 am






ขอบคุณภาพจากยูทูบ
26419  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / "อ.เจน ญาณทิพย์" นักสืบญาณทิพย์ เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2011, 09:24:21 pm

"อ.เจน ญาณทิพย์" นักสืบญาณทิพย์

ขอแนะนำสุภาพสตรีท่านหนึ่งซึ่งเธอมีจิตสัมผัสพิเศษที่สามารถเห็นกรรมของผู้อื่นได้

เธอชื่อว่า "คุณเจน" หรือ เจนจิรา ซึ่งเธอมีอาชีพเป็นผู้ช่วยทนายความ

 แต่สิ่งทีน่าสนใจคือ เธอได้เคยใช้ญาณตามหาคนที่หายตัวไปจนเจอ

และยังใช้ญาณตามหาของที่หายไปคืนเจ้าของได้ และอีกหลายๆเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับคุณเจน

ผมได้รู้จักคุณเจนครั้งแรกก็จากสื่ออินเตอร์เนทในเว็บไซต์แห่งหนึ่ง

 ซึ่งคุณเจนได้ให้ความรู้ในเรื่องกรรมกับผู้คนและให้เมลล์ติดต่อไว้  ผมรู้สึกว่าคุณเจนมี

สิ่งพิเศษในตัวเอง คิดว่าน่าจะมีญานเห็นกรรมคนได้

 ผมจึงติดต่อกับเธอผ่านเมลล์และได้โทรติดต่อพูดคุยกับเธอ

จึงได้รู้ว่า คุณเจนจิรา คือผู้มีญาณอีกท่านหนึ่ง

ผมขอสรุปประวัติของคุณเจนคร่าวๆดังนี้



คูณเจนเป็นคนกรุงเทพ และปัจุบันก็อาศัยอยู่ที่กรุงเทพ

ปัจจุบัน อายุ 28 ปี  เรียนจบปริญญาตรี และทำงานเป็นเลขาทนายความ

คุณเจนยังโสด และไม่เคยมีแฟนด้วยเพราะเธอบอกว่ามีไม่ได้ เพราะจะถูกลงโทษ

เมื่ออายุประมาณ 7-9 ขวบ เธอมองเห็นเทวดาและคุยกับเทวาดาโดยไม่ใช่เป็นการฝัน

แต่คุยกับเทวดาที่ลอยอยู่บนเมฆและตอนนั้นเธอพยายามบอกทุกคนตามประสา

เด็กแต่เพื่อนๆก็ไม่มีใครเห็นเธอเลย จนคุณเจนคิดว่าตัวเองไม่เต็มหรือเสียสติไปเพราะคุยกันทุกวัน


คุณเจนเล่าว่า

 "ตอนเด็กๆดิฉันจะเห็นกระดานส่วนตัวดิฉันมีสีขาวและมีกระดานสีดำ

สีขาวทำหน้าที่จดบันทึกความดีที่ดิฉันทำแล้ว

มีเครื่องหมายถูกกำกับส่วนสีดำจะมีเครื่องหมายผิดกำกับเช่นเดียวกัน

ถ้าทำอะไรผิดดิฉันแทบจะเป็นบ้า ว่านี้มันคืออะไรเพราะภาพกระดานมันตามมาหลอกหลอนดิฉันตลอดแล้ว



คิดดูซิค่ะว่าเด็กหญิงคนหนึ่งมีอะไรแปลกๆเกิดขึ้นกับชีวิตที่เปลี่ยนไปตามอายุขึ้นเรือยๆ

พอถึงอายุ 9 ขวบดิฉันก็เป็นหนักกว่าเดิมคือมีอาจารย์ที่ไหนก็ไม่รู้มาสั่งสอนผ่านทางความฝันโดยได้สอนเส้นลายมือและ

การดูโหงวเฮ้งถึง7วัน7คืนดิฉันยิ่งต้องหาทางพิสูจน์ให้ได้ว่าดิฉันบ้าหรือปกติหรือ

มีความพิเศษกว่าเพื่อนคนอื่นกันแน่

โดยเริ่มจากการดูให้กับอาจารย์ที่โรงเรียนที่ดิฉันเรียนอยู่และเพื่อนๆทุกคนก็ถามว่า

รู้ได้อย่างไรซึ่งก็เป็นจริงอย่าง

ที่ดิฉันบอกและดิฉันก็กลับมาคิดว่าการที่ดิฉันเป็นอย่างนี้คงไม่ใช่เรื่อง

การเป็นบ้าแล้วแต่ก็ไม่หยุดที่จะลองของอีกต่อมาเรื่อยๆ

เมื่อถามคุณเจนว่า เริ่มดูกรรมแบบจริงจังครั้งแรกเมื่อไหร่


เธอตอบว่า

"เมื่ออายุ15 ปี ดิฉันเริ่มจะเป็นวัยรุ่น ดิฉันเปิดกรรมอย่างจริงจังโดยดูให้กับญาติ

ของแม่ที่อยู่ต่างจังหวัดโดยมองไปเห็นว่า

เขาทำไมร้องไห้ทุกวันค่ะ  ญาติคนนั้นถึงกับอึ้งไปแล้วตอบว่า

รู้ได้อย่างไรทั้งๆที่ดิฉันอาศัยอยู่ที่กรุงเทพไม่ได้อยู่กับญาติคนนี้

ต่อจากนั้นมาดิฉันจึงเปิดบ้านเพื่อช่วยเหลือคนโดยกลับมาจากโรงเรียนยังไม่ทันถอด

ชุดนักเรียนก็มีคนมารอดิฉันเต็มบ้านเพื่อให้ช่วยเปิดกรรม

 ดิฉันจึงได้ทำหน้าที่ที่เบื้องบนมอบหมายมาโดยตลอดจนถึงปัจุบันค่ะตอนนี้"

 


จากนั้นคุณเจนได้พัฒนาญาณตนเองให้แก่กล้าขึ้นตามลำดับ จนสามารถมองเห็น

การตายของคนล่วงหน้าได้

หรือ รู้เรื่องการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคกรรมได้ เคยตามหาคนที่หายออกจากบ้านและ

สามารถเห็นว่าจะเกิดอุบัติเหตุล่วงหน้าได้และยังมีอีกหลายเรื่องที่รู้ได้

 

คุณเจนได้พูดถึงตัวเองว่า

"หลายคนมักเรียกดิฉันว่าหมอเจนคนรู้กรรมหรือหมอตาทิพย์หรือคนมีญานแต่จะ

เรียกดิฉันว่าอะไรก็แล้วแต่  ดิฉันคิดเสมอว่าสิ่งต่างๆที่ได้มานั้น มาจากสวรรค์

เบื้องบนให้ดิฉันมาช่วยเหลือแนะนำแนวทางให้คนที่ไม่รู้บาปบุญหรือกรรมเวร

และให้ย้อนกลับมามองสิ่งรอบตัวเราว่าอาจจะทำกรรมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

 และได้ทบทวนชีวิตปัจุบันให้เดินหน้าทำแต่สิ่งที่ถูกที่ควร หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์กับ

ตัวเองและผู้อื่นอย่างไม่ต้องหวังสิ่งตอบแทน" 


 

คูณเจนเคยเล่าให้ผมฟังว่า เธอสามารถตามหาคนที่หายไปได้ โดยให้ญาติคนนั้น

นำรูปถ่ายมาให้เธอดู และเธอก็จะรู้ว่า คนที่หายไปนั้นอยูที่ไหน

หรือสามารถใช้ญาณช่วยหาของที่หายไปให้เจ้าของได้

 

นอกจากนี้ คุณเจนยังเคยใช้ญาณช่วยตำรวจตามหาคนร้ายด้วย

ผมจึงขอตั้งฉายาให้เธอว่า "นักสืบญาณทิพย์"

การตรวจกรรมกับคุณเจน จะไม่รับดูทางโทรศัพท์หรือผ่านเอ็มนะครับ

แต่ต้องไปเจอคุณเจนเองที่บ้านซึ่งอยู่ถนนจรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพ

 และต้องจองคิวล่วงหน้าโดยคุณเจนจะแจ้งให้ทราบก่อนทางอีเมล

เมื่อใกล้ถึงวันที่จะเปิดบ้านตรวจกรรม


 
และคุณเจนจะเปิดดูกรรมเพื่อช่วยคนประมาณ 2 วันติดกัน แต่ไม่ได้ระบุวันแน่นอนตายตัว

ว่าจะเปิดเมื่อไหร่ เพราะคุณเจนต้องทำงานประจำไปด้วย จึงต้องขึ้นอยู่กับเวลา

และโอกาสจะอำนวย

 
ส่วนเรื่องค่าดูนั้น คุณเจนย้ำเสมอว่าไม่ได้ทำเป็นอาชีพ จึงไม่ได้กำหนดค่าครูไว้ตายตัว

แต่ขึ้นอยู่กับผู้มาดูจะให้ตามกำลังศรัทธา ไม่มีการบังคับ

คติประจำใจของคุณเจนคือ  "คิดดีทำดีและจะได้รับแต่สิ่งที่ดี"


 


มาฟังเรื่องบทสัมภาษณ์ของคุณโอดสมาชิกเว็บญาณทิพย์ที่ได้ไปสัมภาษณ์พูดคุยกับคุณเจน

ผู้หญิงมีญาณทิพย์ ชื่อ “เจน” เธอท้าผมครับ

“เมื่อก่อนตอนเด็ก ดิฉันไม่รู้วิธีเปิด – ปิด มันทุกข์นะค่ะ

ไปที่ไหนก็เห็นตลอด บางครั้งไปงานศพ ผีก็ออกจากโลงมาร้องกับดิฉัน

คือ มาให้ไปบอกอะไรต่าง ๆ กับญาติ พี่น้องของเค้านะค่ะ

อย่างนั่ง ๆ อยู่ก็จะทราบว่าศพด้านในสวมชุดอะไร

อย่างล่าสุดเป็นงานของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับในรั้ว ในวังก็เช่นกัน

ดิฉันเองจึงไม่ค่อยอยากจะไปงานศพสักเท่าไหร่

ตอนหลังก็มาทราบวิธีว่าจะต้องอธิษฐานขอในการ ปิด –เปิด สัมผัสดังกล่าว”



“บางครั้งขับรถไปไหนมาไหน ชนวิญญาณต้องขอโทษ ขอขมาเค้าเหมือนกันนะค่ะ

ในรถดิฉันต้องมี “น้ำมนต์” ติดไว้ในรถ อย่างคราวขับไป “บางแสน”

มีวิญญาณขอติดไปด้วย กลับมาถึงบ้านคนแถวนั้นเห็นว่ามีคนมาด้วย

ค่ะ เค้าเกาะหลังคามา ก็ต้องใช้น้ำมนต์พรมเพื่อให้ลง ไม่อย่างนั้นรถมันหนัก

แต่ก็กรวดน้ำ อุทิศกุศลให้เค้านะค่ะ คงไม่ไหวหรอก ถ้าจะต้องช่วยทุกจิต ทุกวิญญาณ”


นั้นคือ ความรวมเบื้องต้นจากการพี่ผมได้พูดคุยกับ “คุณเจน นักสืบญาณทิพย์” ของพี่รักฯ

ซึ่งจริง ๆ แล้ว ที่ผ่านมาเธอเป็นทั้ง “นักการขาย การตลาดญาณทิพย์ นักการโรงแรมญาณทิพย์

นักการท่องเที่ยวญาณทิพย์” เธอเล่าให้ผมฟังว่า เธอทำงานมาอย่างหลากหลาย

อยากทำก็อยู่ ไม่อยากอยู่ก็ไป “ไม่ใช่ว่าโดนให้ออกนะค่ะ ดิฉันออกเอง

โลกส่วนตัวสูงนิดหนึ่ง เจ้านายเราก็เคยทัก เคยทายให้เค้า มันก็เป็นตามนั้น

เค้าก็ไม่อยากให้ออกหรอกค่ะ”


ทุกวันนี้เธอทำหน้าที่เป็น “ผู้ช่วยทนาย คดีไหนแพ้ดิฉันบอกก็คือ แพ้

คดีใดชนะก็คือ ชนะ” เจ้านายเธอ ซึ่งเป็นเพื่อนของพี่ชายนั้น

จัดได้ว่าโชคดีไม่น้อย ที่ได้เธอมาร่วมงาน

ทุกวันนี้เธอก็ใช้ชีวิตอย่างคนปกติทั่วไป..............................

K โอด........แล้ว ๆๆๆ อะไรคือ สัญญาณแรกที่บอกว่าเราไม่เหมือนคนอื่นครับ
K เจน........อ่อ ก็อย่างที่บอกนั่นแหละค่ะ ตอนที่คุยกับ “เทวดา”
K โอด ........ครับ แล้ว แล้ว “เทวดาน้อยและพี่ ๆ นางฟ้า เหล่านั้นแต่งตัวยังไงครับ
(ก็ยังงงตัวเองอยู่รู้ได้ไงว่าเป็นเทวดา นางฟ้าน้อย ๆ สงสัยจะเริ่มมี “ยาน”)
K เจน........เป็นเทวดาเด็กเหล่านั้น มีรัศมีกายแตกต่างกันไป มีเครื่องทรงบ้าง ไม่มีบ้างตามแรงบุญ ค่ะ
K โอด........คุยอะไรกันบ้าง ครับอยากรู้จัง
K เจน........คุยกันเรื่องการเรียนค่ะ ว่าจะต้องยังไงให้ดี อะไรอย่างนั้นแหละค่ะ
K โอด ........โอ้ว แม่เจ้า ....แล้วมากันยังไงครับ
K เจน........ก็มาให้เห็นด้วยตาในห้องเรียน นั่งอยู่บนเมฆค่ะ


เฮ้อๆๆ ทุกท่านครับ ถ้าผมนั่งข้าง ๆ เธอตอนนั้น แล้วนั่งเรียนกันอยู่

เกิดเธอนั่งพูดกับเทวดาน้อย ๆ แต่ผมไม่เห็น ก็คงอึ๊ง กิมกี๋ ไปตาม ๆ กัน

และมันก็ไม่ใช่ก็ครั้งนั้นที่เธอกับเหล่าเทวดาน้อยได้สนทนากัน

แต่ต้องบอกว่าเป็นช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตเลยที่เดียว


นอกจากนี้แล้วกระดาน ขาว – ดำ ที่พี่รักฯ ได้เล่าไว้

อันนั้นแหละครับ คือ ครูสอนเรื่อง บาป บุญ ให้แก่เธอ

“เวลาดิฉันทำบาป ก็จะมีเครื่องหมายถูกในช่องกระดานดำ

เวลาสร้างกุศล สร้างบุญ เครื่องหมายถูกจะปรากฏในช่องขวา

จะได้รางวัลเมื่อทำดี จะถูกลงโทษเมื่อทำบาป คือ ผลที่ตามมา”


นรก – สววรค์ คือ สถานที่ ที่เธอได้ไปเยือนมาแล้วในวัยเด็ก

เธอเล่าให้ผมฟังว่า มันก็ไม่ได้ต่างกับที่มนุษย์ส่วนใหญ่รับรู้กันอยู่

เพียงแต่ว่าหลายคนอาจจะลังเล สงสัยหรือไม่เชื่อว่ามีอยู่จริงเท่านั้นเอง

..........ที่นั่นเป็นสถานที่ดิฉันรู้สึกได้ว่าทุกข์ หดหู่ มาก มีต้นงิ้วอยู่หลายต้น

ร่างคนคาปักอยู่ตามหนามงิ้ว กะทะทองแดงมีขนาดใหญ่ จนประมาณไม่ได้

ดิฉันตัวเท่ามด ไฟลุกท่วม................ชายในชุดสีขาวนำเธอไปในนรก

และเธอก็ได้นำมาบอกเล่าให้ผู้เป็นพ่อและแม่ฟัง

“ดิฉันลงไปในขุมที่ลึกมากอยู่เหมือนกัน” คุณเจนกล่าว


.........สวรรค์เป็นที่ที่ ดิฉันรู้สึกสุข เย็น สงบ ทุกอย่างสวยงาม ประมาณมิได้

มีบันไดเงิน ทอง เพชร ดิฉันอย่างอยู่ที่นั่นมาก เพราะมันสุข สุขแบบอธิบายไม่ได้

สิ่งก่อสร้างที่มนุษย์พยายามสร้างให้คล้ายกับสรวงสวรรค์ มันก็อาจจะคล้าย ๆ กัน

แต่สัมผัสรู้สึกมันต่างกัน บนโลกมนุษย์หาได้ยาก สถานที่ที่มีทุกข์มากที่สุด

จริง ๆ แล้วก็ คือ โลกมนุษย์นี่แหละค่ะ.......นั่นที่ผมถอดความได้

และมันก็เป็น 2 ครั้ง ที่เธอได้ไปเยือนในสถานที่ ที่คุณหรือผมอาจจะได้ไป

ไม่ที่ใดก็ที่หนึ่ง ซึ่งเราเป็นผู้กำหนดเอง


“ดิฉันเคยไปบวชที่เขาคิชกูฏ จ.จันทบุรี มีพระนำวิปัสนา

ดิเฝ้าขอ เฝ้าอธิษฐานเพื่อให้ได้ไปเยือนสวรรค์ อีกสักครั้ง

แต่ก็ยังไม่มีโอกาสอีกเลยหลังจากนั้น คงต้องรอคอยต่อไป” เธอบอกกับผม

เรื่องราววัยเด็กที่เกิดขึ้นกับเธอผ่านไปในระหว่างวัย 5-9 ขวบ

การมีปฏิสัมพันธิ์ต่าง ๆ กับโลกทิพย์ โลกต่างมิติ รวมทั้งผู้ที่แวะเวียนมาหาก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป


“เทวดา ต่าง ๆ ก็มีภาวะที่สูงขึ้นไปตามลำดับอายุของเธอ

ของขวัญรางวัล ที่เคยได้จากการทำดี ทำผิด โดยมีกระดานดำ ขาว บันทึก บาป บุญ ก็หายไป

แต่ขณะนี้ เมื่อใด ที่เธอสร้างกรรมดี เพิ่ม ยิ่งมากเท่าไหร่ เธอจะได้รางวัลเป็นของ

หรือการมองเห็นที่ คม ชัด เฉียบ ลึก มากขึ้น ตามวาระบุญนั้น”



การดูกรรมคนผ่าน “ญาณทิพย์” ของเธอนั้น ไม่ได้มีการระบุ กำหนดค่าครู

ใครใคร่ให้ ก็ให้ ใครไม่มี อย่ามาให้เกินตัว เป็นอย่างนั้นครับ

.......”คนทั้งหลายที่เป็นแบบดิฉันบางครั้งเองดิฉันก็ไม่เห็นด้วย แต่ก็เข้าใจทีบางท่าน

ก็ยึดอาชีพนี้เป็นหลัก ก็แล้วแต่วิถีคนค่ะ”

......."อย่างคุณยายท่านหนึ่ง ดูเสร็จแล้ว เธอมอบเงิน 100 บาท

ให้ดิฉัน ดิฉันขอให้เธอลดจำนวนลง คุณยายดึงออกจาก 100 เป็น 50 บาท

ดิฉันขอเธอให้ดึงออกอีก จนเหลือ...บาท เธอเกรงใจดิฉัน แต่ดิฉันทราบว่าเธอลำบาก"


“ดิฉันผ่านมาหลายภพชาติ บางทีก็อยากไปพบแม่ชีใหญ่ ที่วัดพิชัยญาติ

ให้ท่านพินิจกรรม เคยไปมาแล้วครั้งหนึ่งแต่คนเยอะมาก อยากถามท่าน ให้ท่านแนะ

ที่ผ่านมา ก็พอทราบเองบ้างจากการสอบถามในสมาธิ

เช่น เป็นพระ ทหาร หรือแม่ทัพนายกอง”



.......หน้าที่ของดิฉัน คือ ช่วยเหลือแนะแนวทางชีวิตแก่ผู้อื่น
.......หากละทิ้งหน้าที่ก็จะมี “การมาเพื่อเตือน”
.......ป่วยไข้ เหนื่อยหนัก ก็จะหายเพราะ “หน้าที่” ที่ดิฉันทำ ท่านจะมาช่วย


สุดท้ายผมขอให้เธอบอกความเป็นตัวตนของผมสั้น ๆ

เธอภาคเสธบอกให้ผมว่า “ถ้าอยากรู้ ต้องมาเจอดิฉันตัวเป็น ๆ

เดือนนี้แหละค่ะ ดิฉันจะเปิดกรรมที่บ้าน แล้วจะแจ้งให้คุณทราบ

และก็รู้ว่าคุณนั้นก็อยากดูจนตัวสั่น (ระริก ระริก เฮ้อๆๆ)

ถ้าเจอดิฉันแล้ว คุณก็จะได้รู้ว่าดิฉันเป็นอย่างไร”

อย่างนี้ผม เรียกว่า “ท้าพิสูจน์” ครับ ทุกท่าน


 
ที่มา http://www.yantip.com/index.php/component/content/article/62-2010-11-28-15-36-48/186-q-q-


26420  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: ประสบการณ์ "ขัดสมาธิเพชร" เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2011, 02:22:04 pm

การนั่งขัดสมาธิ (สะ-หมาด) คือการนั่งตามสบายอย่างหนึ่ง และ การนั่งแบบทำสมาธิ

1. การนั่งขัดสมาธิธรรมดา คือ การนั่งบนพื้นคู้เข่าทั้งสองข้างหาตัว แนบขาลงที่พื้น โดยให้ขาข้างหนึ่งซ้อน ทับอยู่บนขาอีกข้างหนึ่ง
ส้นเท้าทั้งสองข้าง จะสัมผัสกับขาเป็นอิริยาบถที่ใช้นั่งตามลำพังสบายๆ หรือสำหรับชายนั่งกับพื้นรับประทานอาหาร


การนั่งขัดสมาธิที่ใช้ในศาสนามี 2 แบบ คือ การนั่งขัดสมาธิราบ และขัดสมาธิเพชร

การนั่งขัดสมาธิราบ คือ การนั่งขัดสมาธิสองชั้นโดยเอาขาซ้อนทับกัน เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วหัวแม่มือ
จรดกันตั้งกายส่วนบนให้ตรง การนั่งขัดสมาธิราบนี้ใช้นั่งในการเจริญภาวนา ทำจิตใจให้สงบ ซึ่งเป็นการปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อ นั่งแบบนี้
จะมีผลให้เนื้อหนังและเอ็น ไม่ขด แม้นั่งนานทุกขเวทนาก็จะไม่เกิดขึ้น การบำเพ็ญภาวนาทางจิตใจจะได้ผล


ภาพประกอบจาก http://www.facebook.com/

การนั่งขัดสมาธิเพชร คือ การนั่งขัดสมาธิโดยคู้ เข่าทั้งสองข้าง เอาฝ่าเท้าทั้งสองขัดหรือ ไขว่ขึ้น วางบนหน้าขาท่านั่งขัดสมาธิ
แบบน ี้ต้องใช้การฝึกหัดให้เกิดความชำนาญโดย การหัดนั่งขัดสมาธิราบหรือขัดสมาธิสองชั้น ได้ชำนาญแล้ว



วิธีฝึกหัด ให้นั่งลง บนพื้นปล่อยให้ขาพักอยู่ตรงหน้าแล้วจึง ค่อยดึงขาซ้ายงอทำมุมฉากกับร่างกาย ใช้ส้นเท้าซ้ายนั้นพักอยู่บนพื้น
แล้วจับ เท้าขวาขึ้นวางบนต้นขาซ้าย ให้ส้นเท้า ขวาชิดกับหน้าขา อย่าให้เท้าขวาเป็นที่ทรมาน หรืออึดอัด ขยับเข่าซ้ายที่งออยู่ให้เข้ามา
ชิดตัว ยกข้อเท้าซ้ายขึ้นแล้ววาง หลังมือซ้ายลงบนต้นขาขวาให้ส้นเท้า จรดกับหน้าขาขวา เมื่อขัดสมาธิแบบนี้ได้ แล้วยืดกายท่อนบนให้ตรง
แบบนั่งขัดสมาธิราบ นั่งขัดสมาธิแบบนี้เรียกว่า "ขัดสมาธิเพชร" หรือเรียกว่า "นั่งท่าดอกบัว" ( ปัทมาสนะ) ใช้นั่งบริกรรมภาวนาหรือปฏิบัติ
โยคะ

ภาพประกอบจาก http://www.facebook.com/

ที่มา http://www.kanchanapisek.or.th/kp8/mthai/sit1-2.htm


นั่งสมาธิกัน โอ้โห...ลูกใครเนี่ย เก่งจริง ๆ ค่ะ ขัดสมาธิเพชรด้วยล่ะ!!!

ขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/
26421  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: ประสบการณ์ "ขัดสมาธิเพชร" เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2011, 02:16:39 pm
ภาพประกอบจากhttp://www.kanlayanatam.com/

หนังสือกฎแห่งกรรม เล่ม 9 :: ภาคกฎแห่งกรรม ::
เรื่อง ปรากฎการณ์ที่วัดอัมพวัน โดย ไพจิตร ลีนุกูล
ภาคประสบการณ์พิเศษที่วัดอัมพวัน


วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
วันนี้เวลาเดิม ยังคงมีเสียงมาสอนวิปัสสนากรรมฐานอีกเช่นเคย เป็นการสอนให้ต่อสู้กับเวทนาในการนั่งขัดสมาธิเพชร ข้าพเจ้าทดลองทำตามโดยการนั่งขัดสมาธิเพชร เวทนาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่เกิน ๑๐ วินาที จะมีอาการปวดที่ขาทั้งสองข้างมาก มากกว่านั่งขัดสมาธิธรรมดาหลายเท่านัก เสียงนั้นให้ข้าพเจ้าค่อย ๆ นับ ๑ ถึง ๑๐๐ ช้าพเจ้านับ ๑ ไม่ทันถึง ๑๐ กลับปวดมากขึ้น ๆ แทบจะตายเสียให้ได้ แต่ข้าพเจ้าก็ต่อสู้กับเวทนาได้จนนับถึง ๑๐๐

หลังจากนั้นเสียงนั้นก็ให้นั่งขัดสมาธิเพชรสลับกับนั่งขัดสมาธิธรรมดาไปเรื่อย ๆ จากการสังเกต ข้าพเจ้าสามารถนั่งขัดสมาธิเพชรได้นานขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับองค์ภาวนาพองหนอยุบหนอ และก่อนที่จะสิ้นเสียงในวันนี้ ได้บอกแก่ข้าพเจ้าเป็นครั้งสุดท้ายว่า ในการแผ่เมตตาให้ข้าพเจ้านั่งขัดสมาธิเพชรทุกครั้งไป

ในค่ำคืนวันนี้ เป็นวันที่พระเดชพระคุณท่านฯ จะได้มอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมทุกคน ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ก่อนสิ้นสุดพิธีในวันนี้ พระเดชพระคุณท่านฯ ได้แสดงธรรมให้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมทุกคน พร้อมทั้งแง่คิดต่าง ๆ มากมาย สิ่งที่แปลกประหลาดก็คือ ธรรมที่ท่านแสดงล้วนแล้วแต่เป็นการตอบข้อสงสัยของผู้ปฏิบัติธรรมทุกคน โดยที่ยังไม่มีการถามแต่ประการใด

นอกจากนี้สิ่งที่ทุกคนอยากรู้ อยากได้ หรืออยากให้ช่วยเหลือ ก็ได้รับการกล่าวแจ้งแถลงไขรวมอยู่ในธรรมบรรยายในครั้งนี้ด้วย เป็นเรื่องที่แปลกประหลาด หรือเป็นเพราะญาณวิถีอันแก่กล้า ของพระเดชพระคุณท่านพระราชสุทธิญาณมงคล (หลวงพ่อจรัญ) ที่มีเมตตาต่อพวกเราทุกคน

ภาพประกอบจาก http://www.facebook.com/

ที่มา http://www.jarun.org/v6/th/lrule09r0102.html

26422  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ประสบการณ์ "ขัดสมาธิเพชร" เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2011, 02:06:45 pm
ภาพจากhttp://file.siam2web.com/

ประสบการณ์ "ขัดสมาธิเพชร"


ถาม
- นั่งคู้บัลลังก์คืออะไรครับ ใช่การนั่งขัดสมาธิเพชรหรือเปล่า แล้วการทำสมาธิโดยการนั่งวิธีนี้ ดีกว่าวิธีอื่นๆ หรือไม่ครับ?


เรื่องการขัดสมาธิเพชรนั้น
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร แห่งถ้ำผาปล่อง ท่านชอบมากครับ
เวลาไปนั่งฟังธรรมของท่านก็ดี ไปนั่งปฏิบัติต่อหน้าท่านก็ดี
ท่านชอบแนะนำให้ขัดสมาธิเพชร
เพราะมีข้อดีหลายอย่างครับ คือทำให้ไม่นั่งหลับง่ายๆ
และจิตใจก็จะเข้มแข็งมาก สมชื่อสมาธิเพชรทีเดียว
เนื่องจากเป็นท่านนั่งที่ทรมานมากกับคนที่ไม่คุ้นเคย


คราวหนึ่งพาเพื่อนที่เรียนในสถาบันจิตวิทยาความมั่นคงด้วยกัน
ขึ้นไปกราบท่านบนถ้ำผาปล่อง เชียงดาว เชียงใหม่
แต่ละท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการต่างๆ ทั้งนั้น
พอไปถึงหลวงปู่ก็แสดงธรรม โดยให้นั่งขัดสมาธิเพชร
ท่านเทศน์ไปสักพักก็มีคนแอบเปลี่ยนท่านั่งเป็นสมาธิราบบ้าง พับเพียบบ้าง
มีผู้เขียนกับผู้ใหญ่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอีกท่านหนึ่ง ที่ทนนั่งได้จนท่านเทศน์จบ

ภาพประกอบจาก http://www.facebook.com/

พอท่านเทศน์จบท่านก็ยิ้ม บอกว่า "ยังไง นั่งกันไม่ไหวเลยหรือ"
เพื่อนที่ทนนั่งได้ตลอดก็กราบเรียนท่านว่า "โอ๊ยแย่ครับหลวงปู่ ปวดขาเหลือเกิน"
หลวงปู่มองหน้าด้วยความเมตตาอย่างยิ่ง แล้วถามว่า
"ขา มันบอกว่า มันปวดหรือโยม"
เพื่อนก็ตอบว่า "ครับ ขามันปวดมากเลยครับ"


สรุปแล้ว เพื่อนไม่เข้าใจที่ท่านสอน
คือท่านสอนให้พิจารณาต่อไปว่า ขาเป็นเพียงธาตุที่ไม่รู้จักเจ็บปวด
ความเจ็บปวดเป็นเวทนาที่แทรกอยู่ในกายเท่านั้น
แต่ทั้งขาและเวทนาก็ไม่เคยบ่นว่าปวด
คนที่เร่าร้อนโอดโอยแทนขา คือจิตของเราเองต่างหาก


สำหรับท่านั่งสมาธินั้น นอกจากคำว่า "คู้บัลลังก์" แล้ว
ยังมีภาษาเก่าที่ตายไปแล้วอีกคำหนึ่ง
คือคำว่า "นั่งพะแนงเชิง"
"เชิง" คือเท้า "พะแนง" คือ ทับ ซ้อน
ต่อมาคนรุ่นหลังออกเสียงเพี้ยนไปเป็นคำว่า พนัญเชิง
เวลานี้เหลือที่ใช้คำนี้อยู่แห่งเดียว คือวัดพนัญเชิง กับหลวงพ่อพนัญเชิง
เคยอ่านพบว่า ที่เรียกท่านว่าหลวงพ่อพะแนงเชิง
ก็เพราะท่านเป็นพระนั่งสมาธิขนาดใหญ่องค์แรกๆของอโยธยา (ก่อนอยุธยา)
ในขณะที่พระขนาดใหญ่ก่อนหน้านั้น นิยมสร้างเป็นพระนั่งห้อยพระบาท


ภาพประกอบจาก http://www.facebook.com/

ที่มา  http://dungtrin.com/mag/?12.pra
26423  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / "ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเท่านั้น" จึงชื่อว่า "บูชาเรา" เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2011, 12:40:29 pm

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕

           
   ๔. เรื่องพระธรรมารามเถระ [๒๕๕]
                 
         
ข้อความเบื้องต้น
   
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระธรรมารามเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ธมฺมาราโม ธมฺมรโต" เป็นต้น.

               
พวกภิกษุปรึกษาเรื่องปรินิพพานของพระศาสดา
               
               ดังได้สดับมา เมื่อพระศาสดาตรัสบอกว่า "การปรินิพพานของเราจักมีโดยล่วงไป ๔ เดือน ตั้งแต่เดือนนี้" ภิกษุหลายพันรูปเที่ยวแวดล้อมพระศาสดาแล้ว.
               บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนไม่อาจเพื่อจะอดกลั้นน้ำตาไว้ได้. ธรรมสังเวชเกิดแก่ภิกษุผู้ขีณาสพแล้ว. ภิกษุทั้งปวงปรึกษากันว่า "เราจักทำอย่างไรหนอแล?" ดังนี้แล้ว ก็เที่ยวไปโดยรวมกันเป็นพวกๆ.



             
พระธรรมารามะไม่เกี่ยวข้องด้วย   
           
               ส่วนภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่าธรรมารามะ ไม่เข้าไปสู่สำนักของภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุทั้งหลายพูดว่า "อย่างไร? ผู้มีอายุ" ก็ไม่ให้แม้คำตอบ คิดว่า "ข่าวว่า พระศาสดาจักปรินิพพานโดยล่วงไป ๔ เดือน ส่วนเราเป็นผู้มีราคะยังไม่ไปปราศแล้ว เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่นี้แหละ จักพยายามบรรลุพระอรหัต" ดังนี้แล้ว ก็เป็นผู้ๆ เดียวเท่านั้นอยู่ นึก คิด ระลึกถึงธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว.

               ภิกษุทั้งหลายกราบทูล (เรื่องนั้น) แด่พระตถาคตว่า "พระเจ้าข้า พระธรรมารามะมิได้มีแม้สักว่าความเยื่อใยในพระองค์ ไม่ทำแม้สักว่าการปรึกษากับพวกข้าพระองค์ว่า "ข่าวว่า พระศาสดาจักปรินิพพาน พวกเราจักทำอย่างไรกันเล่า?"


               พระศาสดารับสั่งให้หาตัว               
               พระศาสดารับสั่งให้เรียกเธอมาแล้ว ตรัสถามว่า "ข่าวว่า เธอทำอย่างนั้น จริงหรือ?"
               พระธรรมารามะ. จริง พระเจ้าข้า.
               พระศาสดา. เพราะเหตุอะไร?.

               พระธรรมารามะ. ข่าวว่า พระองค์จักปรินิพพานโดยกาลล่วงไป ๔ เดือน ส่วนข้าพระองค์เป็นผู้มีราคะไม่ไปปราศ เมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่นี้แหละ ข้าพระองค์จักพยายามบรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงนึก คิด ระลึกถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้วอยู่.

         
      พระศาสดาทรงอนุโมทนาด้วย    
           
               พระศาสดาประทานสาธุการแก่เธอว่า "ดีละๆ" แล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีความรักใคร่ในเราแม้รูปอื่น พึงเป็นเช่นภิกษุธรรมารามะนี้แหละ. แท้จริง ภิกษุทั้งหลาย เมื่อทำการบูชาด้วยระเบียบและของหอมเป็นต้น หาชื่อว่าทำการบูชาแก่เราไม่, ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเท่านั้น จึงชื่อว่าบูชาเรา"


               ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๔.     ธมฺมาราโม ธมฺมรโต       ธมฺมํ อนุวิจินฺตยํ
                            ธมฺมํ อนุสฺสรํ ภิกฺขุ       สทฺธมฺมา น ปริหายติ.
                                      ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม
                            ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่ ย่อมไม่เสื่อม
                            จากพระสัทธรรม.


               
แก้อรรถ 
             
               พึงทราบวิเคราะห์ในบทเหล่านั้นว่า :-
               ธรรมคือสมถะและวิปัสสนา เป็นที่มายินดีของภิกษุนั้น เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในธรรมนั้นนั่นแล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้ยินดีแล้วในธรรม ชื่อว่าผู้ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม เพราะนึกถึงธรรมนั้นนั่นแหละบ่อยๆ อธิบายว่า ผู้นึกถึงธรรมนั้นอยู่.


               บทว่า อนุสฺสรํ ได้แก่ ระลึกถึงธรรมนั้นนั่นแหละอยู่.
               บทว่า สทฺธมฺมา ความว่า ภิกษุเห็นปานนั้น ย่อมไม่เสื่อมจากโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประเภท และจากโลกุตรธรรม ๙.
               ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นตั้งอยู่แล้วในพระอรหัต.
               เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

               
เรื่องพระธรรมารามเถระ จบ.
       


อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1244&Z=1300
ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=35&p=4


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://download.buddha-thushaveiheard.com/
26424  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: การถอดกายทิพย์ ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีหรือไม่ คะ เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2011, 12:23:20 pm
น่าสนใจมากครับ ในวิชา กรรมฐาน ที่มีแนวทางที่ชัดเจน ครับ

แต่ฝึกอยากไม่ครับ เรื่องของกายทิพย์

 :s_hi:


วันที่ ๑๔ สิงหาคมที่จะถึง เชิญที่บ้านคุณจิตตรี จ.สระบุรี...."เกรงใจ บ่ได้วิชา"
 :welcome: :49: :25: ;)
26425  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: เวลาในการภาวนา ไม่มีช่องว่าง ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2011, 12:16:53 pm

ภาพจากwww.sangthipnipparn.com/

กระทู้ที่เกี่ยวข้องครับ......

"ตื่น ๕ ส่วน หลับ ๑ ส่วน" พระพุทธองค์ตรัสไว้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4331.msg16014#msg16014



ยาม, ยาม-

[ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม;

ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม;


(โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ

; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน

; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).

อ้างอิง  พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


ยาม คราว, เวลา, ส่วนแห่งวันคืน

ปฐมยาม ยามต้น, ยามที่หนึ่ง, ส่วนที่หนึ่งแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน; เทียบ มัชฌิมยาม, ปัจฉิมยาม

มัชฌิมยาม ยามกลาง, ส่วนที่ ๒ ของราตรี เมื่อแบ่งคืนหนึ่งเป็น ๓ ส่วน, ระยะเที่ยงคืน; เทียบ ปฐมยาม, ปัจฉิมยาม

ปัจฉิมยาม ยามสุดท้าย, ช่วงสุดท้ายแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน; เทียบ ปฐมยาม, มัชฌิมยาม

อ้างอิง
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ยาม
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C2%D2%C1

26426  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / Re: เป็นพระอินทร์ 36 กัลป์_มหาจักรพรรดิ 26 กัลป์ ต้องสวด"อาการวัตตาสูตร" เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2011, 12:22:09 pm
พระคาถาอาการะวัตตาสูตร

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๘ พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ดี ได้ทรงกระทำตามกันมาทุกๆพระองค์

พระสูตรนี้เป็นพระสูตรอันใหญ่ยิ่งหาสูตรอื่นมาเปรียบมิได้ ด้วยมีทั้ง พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ พระปิฎก

ขอท่านทั้งหลายอย่าได้ทิ้งวางในที่อันไม่สมควรเลย จงทำการสักการะบูชา สวดมนต์ ภาวนา ฟัง ตามสติกำลังด้วยเทอญ


1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
(พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)

2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
(อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)

3.อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
(คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)

4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)

5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
(มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)

6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
(ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)

7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)

8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
(วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)

9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)

10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
(โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)

11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)

12 . อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
(กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)

13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)

14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
(จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)

15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)

16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)

17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
(ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)

อานิสงส์อาการวัตตาสูตร

......ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานี
ราชคฤห์มหานคร ในสมัยครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวก เข้าไปสู่ที่เฝ้าถวายอภิวาทโดยเคารพแล้วนั่ง
ในที่ควรส่วนข้างหนึ่งเล็กแลดูสหธัมมิกสัตว์ทั้งหลาย ก็เกิดปริวิตกในใจคิดถึงกาลต่อไปภายหน้าว่า
“อิเม โข สตฺตา ฉินฺนมูลา อตีตสิกฺขา” สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ที่หนาไปด้วยกิเลสมีอวิชชาหุ้มห่อไว้ มี
สันดานอันรกชัฏด้วยอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากุศลมูลขาดแล้ว มีสิกขาอันละเสียแล้ว เที่ยง
ที่จะไปสู่อบายทั้ง ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายและสัตดิรัจฉาน เมื่อสัตว์หนาไปด้วยอกุศล จะนำตน

ให้ไปไหม้อยู่ในอบายภูมิตลอดกาลยืดยาวนาน ธรรมเครื่องกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า คือบารมี
๓๐ ทัศ มีอยู่จะห้ามกันเสียได้ซึ่งจตุราบายทุกข์ทั้งมวล และธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ในพระสูตร
พระวินัย พระปรมัตถ์ล้วนเป็นธรรมที่จะนำให้สัตว์พ้นจากสังสารทุกข์ทั้งนั้น เมื่อปริวิตกเช่นนี้เกิดมีแก่
พระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรแล้ว ด้วยความเมตตากรุณาแก่ประชาชนทั้งหลายที่เกิดมาในสุดท้าย
ภายหลังจะได้ปฏิบัติเป็นเครื่องป้องภัยในอบาย พระผู้เป็นเจ้าจึงยกอัญชลีกรถวายอภิวาทพระบรม

โลกนาถเจ้า แล้วทูลถามว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ “เย เกจิ ทุปฺปญฺญา ปถคฺคลา” บุคคลทั้ง
หลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีปัญญายังหนาด้วยโมหะหารู้จักพุทธกรณธรรม คือบารมีแห่งพระพุทธเจ้านั้น
ไม่เพราะเป็นคนอันธพาล กระทำซึ่งกรรมอันเป็นบาปทั้งปวงด้วยอำนาจราคะ โทสะ โมหะ เข้าครอบ

งำกระทำกรรมตั้งแต่เบาคือ ลหุกรรม จนกระทั่งกรรมหนักคือครุกรรม โดยไม่มีความกระดากอาย
เบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์ จากชีวิตอินทรีย์แล้วจะไปเกิดในอเวจีนิรยาบาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
เจ้าข้าผู้ประเสริฐ ธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพสามารถปราบปรามห้ามเสียซึ่งสัตว์ทั้งหลาย มิให้ตกไปสู่
นรกใหญ่จะมีอยู่หรือพระพุทธเจ้าข้า


ในลำดับนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงอาการวัตตาสูตร
กำหนดด้วยวรรค ๕ วรรค มีนวราทิคุณวรรค เป็นต้น จนถึงปารมีทัตตะวรรค เป็นคำรบ ๕
คาถาอาการวัตตาสูตรนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าสูตรอื่น ๆ ในการที่ป้องกันภัยอันตรายแก่ผู้มาตาม
ระลึกอยู่เนืองนิตย์ บาปกรรมทั้งปวงจะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานได้ด้วยอำนาจอาการวัตตาสูตรนี้

และบุคคลผู้ใดได้ฟังก็ดีได้เขียนเองก็ดี หรือได้จ้างท่านผู้อื่นเขียนให้ก็ดีได้ท่องทรงจำไว้ก็ดี ได้กล่าว
สอนผู้อื่นก็ดี ได้สักการบูชาเคารพนับถือก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่เนือง ๆ ก็ดี ก็จะได้พ้นจากภัย ๓๐
ประการคือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่า กระบือบ้านและกระบือเถื่อน
พยัคฆะ หมู เสือ สิงห์ และภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชา ผู้เป็นจอมของ

นรชน ภัยอันเกิดแต่น้ำและเพลิงเกิดแต่มนุษย์และอมอุษย์ภูตผีปิศาจเกิดแต่อาชญาของแผ่นดินเกิดแต่
ยักษ์กุมภัณฑ์ และคนธรรพ์อารักขเทวตา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆ เกิดแต่วิชาธร
ผู้ทรงคุณวิทยากรและภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ
อันตรธานพินาศไป ทั้งโรคภัยที่เสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ก็จะวินาศเสื่อมคลายหายไปด้วยอำนาจ

เคารพนับถือในพระอาการวัตตาสูตรนี้แล ดูกรสารีบุตรบุคคลผู้นั้นเมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสรวัฏฏ์ จะ
เป็นผู้มีปัญญาละเอียดสุขุม มีชนมายุยืนยงคงทนนาน จนเท่าถึงอายุไขยเป็นกำหนดจึงตายจะตายด้วยอุ
ปัททวันอันตราย นั้นหามิได้ ครั้นเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ร่างกายก็จะมีฉวีวรรณอัน

ผ่องใจดุจทองคำธรรมชาติ จักษุประสาทก็จะรุ่งเรืองงามมองดูได้ไกลมิได้วิปริต จะได้เป็นพระอินทร์
๓๖ กัลปเป็นประมาณ จะได้สมบัติพระยาจักรพรรดิราชาธิราช ๑๖ กัลป คับครั่งไปด้วยรัตนะ ๗
ประการก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้สวดสาธยายอยู่เนืองนิตย์ “ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติ” แม้แต่สดับฟังท่านอื่น
เทศนา ด้วยจิตประสันนาการเลื่อมใสก็ไม่ไปสู่คติตลอดยืดยาวนานถึง ๙๐ แสนกัลป์


ที่มา http://www.84000.org/pray/arekanwattasood.shtml


ผมแนบไฟล์หนังสือ บทสวดอาการวัตตาสูตร คำแปล และอานิสงส์ มาให้แล้ว
26427  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / Re: เป็นพระอินทร์ 36 กัลป์_มหาจักรพรรดิ 26 กัลป์ ต้องสวด"อาการวัตตาสูตร" เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2011, 12:04:23 pm


    อานิสงส์พระอาการวัตตาสูตร(โดยละเอียด)

    เมื่อครั้งพุทธกาล พระสารีบุตร ได้ปริวิตกในจิตว่าจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ไม่รู้จักบารมีแห่งพระพุทธเจ้าได้อย่างไร จึงได้กราบทูลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มีธรรมอันใดเล่าที่จะลึกสุขุม จะห้ามเสียซึ่งหมู่อันธพาลพังกระทำบาปกรรม ทั้งปวงไม่ให้ตกไปในนรกอเวจี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบท พระอาการวัตตาสูตร ว่ามีอานิสงส์ดังนี้

    ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งนักหนา แม้จะปรารถนาพระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ นิพพานสมบัติ
    ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เป็นพระพุทธเจ้าปัญญามาก

    เพราะเจริญพระพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้เจริญได้ทุกวันจะเห็นผลความสุขขึ้นเอง ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ ครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30 ประการได้ 4 เดือน ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดาน



    เว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุตสาหะ ตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียนได้ สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชาเคารพนับถือ พร้อมทั้งไตรทวารก็ดี ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใสจะกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตร อันจะเป็นที่พักผ่อน พึ่งพาอาศัยในวัฏฏสงสาร ดุจเกาะและฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่

    ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี พระตถาคตพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว ได้ทรงพระเจริญตามพระสูตรนี้มาทุกๆ พระองค์ จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่นไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึงเป็นธรรมอันระงับไปโดยแท้ในอนาคตกาล


    ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาต คือ ปลงชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไปเป็นวัชร กรรมที่ชักนำให้ปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม คือ สัญชีพนรก อุสุทนรก สังฆาตนรก โรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก อเวจีนรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน กำเนิดไซร้

    ถ้าได้ท่องบ่นทรงจำจนคล่องปากก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน 90 แสนกัลป์

    ผู้นั้นระลึกตามเนืองๆ ก็จะสำเร็จไตรวิชชาและอภิญญา 6 ประการ ยังทิพจักษุญาณให้บริสุทธิ์ ดุจองค์มเหสักข์เทวราชมีการรีบร้อนออกจากบ้านไป จะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่านไป จะเป็นที่พึ่งอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหาร ภัยอันตราย ศัตรู หมู่ปัจจามิตร ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ นี้เป็นทิฏฐธรรมเวทนียานิสงส์ปัจจุบันทันตาในสัมปรายิกานิสงส์ ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น

    แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้เมื่อสืบขันธประวัติในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ หิรัณยรัตนมณีเหลือล้นขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือนและที่คลังเป็นต้น ประกอบด้วยเครื่องอลังการภูษิตพรรณต่างๆ จะมีกำลังมากแรงขยันต่อยุทธนาข้าศึกศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ
    มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงามไม่วิปริตแลเห็นทั่วทิศที่สรรพรูปทั้งปวง


    และจะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส์อยู่ 36 กัลป์ โดยประมาณและจะได้เป็นบรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระในทวีปใหญ่ 4 มีทวีปน้อย 2000 เป็นบริวารนานถึง 26 กัลป์ จะถึงพร้อมด้วยปราสาทอันแล้วไปด้วยทอง ควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ เป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราช จะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนาน

    ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารอานิสงส์คงอภิบาลตามประคองไปให้มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาณอวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุพระนิพพาน



    อนึ่ง ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน กำเนิดและมหานรกใหญ่ทั้ง 8 ขุมช้านานถึง 90 แสนกัลป์ และจะไม่ได้ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุตโตพยัญชนก อันมีเพศเป็น 2 ฝ่าย จะไม่ไปเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกระเทยที่เป็นอภัพบุคคล

    บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆ ก็จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองธรรมชาติ เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชนผู้ได้ทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยจึงจะตาย จะเป็นคนมีศีลศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรค-พยาธิเบียดเบียน
    สรรพอันตรายความจัญไรภัยพิบัติ สรรพอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกายก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงส์


    ผลที่ได้สวดมนต์ ได้สดับฟังพระสูตรนี้ด้วยประสาทจิตผ่องใส เวลามรณสมัยใกล้จะตายไม่หลงสติจะดำรงสติไว้ในทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์ นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบซึ่งพระสูตรเจือปนด้วยพระวินัยพระปรมัตถ์มีนามบัญญัติชื่อว่า อาการวัตตาสูตร มีข้อความดังได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้ ฯ


ที่มา - เว็บ oknation.net
ขอบคุณภาพประกอบจากhttp://download.buddha-thushaveiheard.com/
26428  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / Re: เป็นพระอินทร์ 36 กัลป์_มหาจักรพรรดิ 26 กัลป์ ต้องสวด"อาการวัตตาสูตร" เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2011, 11:50:59 am
ภาพจากhttp://www.rmutphysics.com/

พระอาการวัตตาสูตร

เป็นสูตรโบราณนับถือกันมาว่าศักดิ์สิทธิ์มาก แต่ไม่ปรากฏมีอยู่ในพระไตรปิฎกเลย เนื้อเรื่องก็เป็นทำนองพระพุทธภาษิต ตรัสแสดงแก่พระสารีบุตร ณ ภูเขาคิชฌกูฎ แขวงเมืองราชคฤห์ พระเถรเจ้าได้เล็งญาณเห็นส่ำสัตว์ผู้หนาด้วยกิเลส ได้ประกอบอกุศลกรรมต้องไปอบาย จึงมีความปริวิตก กรุณาในส่ำสัตว์ทั้งหลายยิ่งนัก เห็นอยู่แต่พระบารมี ๓๐ ทัศ ซึ่งพระบรมศาสดาบำเพ็ญมาเท่านั้นจะช่วยป้องกันสัตว์เหล่านั้นได้

จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พรรณนาความปริวิตกของท่านให้ทรงทราบ สมเด็จพระบรมศาสดาจึงทรง แสดงพระอาการวัตตาสูตร กำหนดด้วยวรรค ๑๗ วรรค คือ

อรหาทิคุณ ๑ อภินิหารวรรค ๑ คัพภวุฏฐานวรรค ๑ อภิสัมโพธิวรรค ๑
มหาปัญญาวรรค ๑ ปารมิวรรค ๑ ทสปารมิวรรค ๑ วิชชาวรรค ๑
ปริญญาณวรรค ๑ โพธิปักขิยวรรค ๑ ทสพลญาณวรรค ๑ กายพลวรรค ๑
ถามพลวรรค ๑ จริยาวรรค ๑ ลักขณวรรค ๑ คตัฏฐานวรรค ๑ ปเวณีวรรค ๑ รวม ๑๗ วรรค


มีข้อความพิสดาร แต่ล้วนเป็นคำสรรเสริญพระพุทธคุณว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบริบูรณ์ด้วยพระคุณอย่างนี้ ๆ


เช่น ในอรหาทิคุณวรรค มีข้อความดังนี้

“อิติปิ โส ภควา อรหํ อิติปิ โส ภควา สมฺมาสมฺพุทฺโธ อิติปิ โส ภควา

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน อิติปิ โส ภควา สุคโต อิติปิ โส ภควา โลกวิทู อิติปิ โส ภควา อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ

อิติปิ โส ภควา สตถา เทวมนุสฺสานํ อิติปิ โส ภควา พุทฺโธ อิติปิ โส ภควา ภควาติ”


ในอภิสัมโพธิวรรค มีข้อความดังนี้

“อิติปิ โส ภควา อภิสมฺโพธิปารมิสมฺปนฺโน สิลขนฺธปารมิสมฺปนฺโน สมาธิขนฺธปารมิสมฺปนฺโน

ปญฺญขนฺธปารมิสมฺปนฺโน ทฺวตฺตึสมหาปุริส ลกฺขณปารมิสมฺปนฺโน อภิสมฺโพธิวคฺโค จตุตฺโถ”


พระบรมศาสดา ได้ตรัสพรรณนาคุณานิสงส์ของพระสูตรนี้ว่า “ดูก่อนสารีบุตร ครั้งเมื่ออาการวัตตาสูตรนี้ ชนทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้กล่าวอยู่เป็นอัตราแล้ว บาปกรรมทั้งหมด ก็จะไม่ได้ช่องที่จะหยั่งลงไปในสันดาน แม้ถึงผู้นั้นกล่าวอยู่สักครั้งหนึ่งก็ดี ได้บอกกล่าวก็ดี หรือได้เขียนเองก็ดี และได้ให้ผู้อื่นเขียนก็ดี หรือได้ทรงจำไว้ได้ก็ดี หรือได้กระทำสักการบูชานับถือก็ดี หรือได้ระลึกเนือง ๆ โดยเคารพพร้อมด้วยไตรประณามก็ดี

จะปรารถนาสิ่งใด ๆ ก็จะสำเร็จแก่บุคคลผู้นั้น ตามประสงค์พร้อมทุกสิ่งสรรพ์ ฯลฯ ก็ถ้าหากว่าบุคคลผู้ใดมีศรัทธาจะระลึกตามอาการวัตตาสูตรนี้เนือง ๆ บุคคลผู้นั้นเมื่อละเสียซึ่งอัตภาพร่างกายในปัจจุบันชาตินี้แล้ว จะปฏิสนธิในภพเบื้องหน้าในภพใดภพหนึ่ง ก็จักไม่เกิดในเดรัจฉาน ในเปตวิสัย จักไม่เกิดในชีพนรก ในอุสุทะนรก ในสังฆาฏะนรก ในโรรุวะนรก ในมหาโรรุวะนรก ในดาบนรก ในมหาดาบนรก ในอเวจีนรก ฯลฯ

และไม่ไปเกิดเป็นอสุรกาย กำหนดนับถึง ๙๐ แสนกัปป์เป็นประมาณ ฯลฯ จะได้ไปเกิดในสุคติภพ บริบูรณ์ด้วยสุขารมณ์ต่ำ ๆ มีอินทรีย์ผ่องใสสมบูรณ์ มีปัญญาเป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ

จะได้เกิดเป็นพระอินทร์กำหนดถึง ๓๖ กัปป์โดยประมาณ จะได้สมบัติจักรพรรดิราช เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร กำหนดนานถึง ๒๖ กัปป์ ฯลฯ ในปัจจุบันภพ ก็จะเป็นผู้ปราศจากภัยเวรต่าง ๆ ปราศจากโรคาพยาธิเบียดเบียน มีอายุมั่นขวัญยืนอยู่เย็นเป็นสุข ฯลฯ”

เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสประกาศคุณเดชานุภาพ และอานิสงส์ผลของพระสูตรนี้จบลง ธรรมาภิสมัยก็บังเกิดแก่หมู่ชนที่ได้สดับ ประมาณแปดหมื่นโกฏิ ด้วยประการฉะนี้


ที่มา http://www.dharma-gateway.com/ubasok/satien/ubasok-16.htm
26429  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / เป็นพระอินทร์ 36 กัลป์_มหาจักรพรรดิ 26 กัลป์ ต้องสวด"อาการวัตตาสูตร" เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2011, 11:35:59 am
ภาพจาก http://www.dhammajak.net

หลวงพ่อใหญ่(หลวงปู่สังวาลย์)เล่าให้ฟัง

วันพระแรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม
บทอาการวัตตาสูตรนี่นะ เทวดาจะหมดอายุแล้วจะต้องจุติ เสียใจก็เที่ยวถามหมู่เทพเทวดาทั้งหลาย
เทวดาผู้ใหญ่บอกให้เอาอาการวัตตาสูตรมาสวด สามารถอายุยืนได้
เราอยากจะช่วยรักษาบทสวดนี้เอาไว้ ไม่ให้สูญหาย พิมพ์ตัวโตๆนะ จะได้สวดกัน


ก่อนนี้เราอยู่ในป่าช้า แรมค่ำหนึ่งหรือสองค่ำ เดือนยังไม่ทันพ้นยอดไม้ เรากำลังนั่งสมาธิอยู่
ฝันว่ามีคนมาสวดอาการวัตตาสูตรให้กับเรา บอกจะป้องกันไว้ให้ ป่าช้าก็สะท้านหวั่นไหว
เหมือนพายุพัดอึกทึกเหมือนวัวควายมันกำลังวิ่งมา หมาที่อยู่ที่นั่นมันก็เห่าแบบกลัวเลยนะ


แต่เราก็ไม่หวั่นไหวเลย นั่งเฉย พอรุ่งเช้าเราไปดูก็เห็นกิ่งยางกับต้นไม้ในป่าช้าหักจริงๆ พออีก 2 วัน
ก็ฝันว่าให้เราท่องมนต์บทนี้ ทั้งๆ ที่เราสวดไม่ได้


พอรุ่งขึ้นในบิณฑบาตก็มีคนมาใส่บาตรเอาบทสวดนี้มาให้กับเรา เราก็เลยสวด สวดจนขึ้นใจ แบบท่องปาติโมกข์ พอได้กรรมฐาน เลยไม่ได้สวดเลยท่องบทนี้ไปที่ไหนไม่อดอยากนะ ใครท่องแล้วไปไหนจะไม่อดอยาก จะไม่ตายโหง หมาบ้าควายบ้าจะไม่ทำลายได้มีอานุภาพดี

พิมพ์ตัวโตๆ นะ พิมพ์สีอะไร แบบไหนก็ดีทั้งนั้น สำหรับเราไม่มีอะไรไม่ดี ทุกอย่างดีหมด


ที่มา http://sites.google.com/site/sanghathan/vattasutr
26430  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: รูปหล่อ_พระธาตุ_พระเครื่อง_ผ้ายันต์_ของ พ ร ะ ร า หุ ล เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2011, 08:04:38 pm

ผ้ายันต์พระราหุลเถระ


ที่มา
http://www.dd-pra.com/pages/auction/detail.aspx?id=569266
http://www.skytemple.org/th/index.php?view=category&id=14
26431  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: รูปหล่อ_พระธาตุ_พระเครื่อง_ผ้ายันต์_ของ พ ร ะ ร า หุ ล เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2011, 07:58:34 pm

วัดปราสาท พิมพ์พระราหุล หายาก เคาะเดียว

พระสมเด็จราหุล วัดประสาทปี2506เนื้อว่านสบู่เลือดหายากมากๆ

เหรียญหลวงพ่อราหุล วัดราหุลคงนิมิตร อ.พรหมบุรี สิงห์บุรี รุ่นไม่ถอย ๒๕๓๗ *no1

ที่มา http://uauction.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=288&qid=874
http://www.krusiam.com/shop/aa/product/detail.asp?ProductID=P0106575
http://shopping.sanook.com/product/popup/2498896/
26432  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: รูปหล่อ_พระธาตุ_พระเครื่อง_ผ้ายันต์_ของ พ ร ะ ร า หุ ล เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2011, 07:54:25 pm



พระราหุล รุ่นสร้างพระมหาเจดีย์ วัดนก กรุงเทพฯ เนื้อตะกั่ว ตอดโค๊ต+หมายเลข๘๓

ที่มา  http://www.dd-pra.com/pages/auction/detail.aspx?id=980388
26433  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / รูปหล่อ_พระธาตุ_พระเครื่อง_ผ้ายันต์_ของ พ ร ะ ร า หุ ล เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2011, 07:45:49 pm
รูปหล่อ_พระธาตุ_พระเครื่อง_ผ้ายันต์_ของ พ ร ะ ร า หุ ล

รูปพระราหุล ณ วัดพลับ
พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน ณ.วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)

พระอรหันต์ราหุล (ลาวาโล)วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์

พระธาตุพระราหุล


ที่มา
http://www.flickr.com/photos/27635610@N00/page3/
http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/350/4350/images/exit2011.jpg
http://www.watcharathath.com/content.php?id=54
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=juandmee&month=02-12-2007&group=2&gblog=23
26434  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คติธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2011, 07:34:18 pm


คติธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้

อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป

ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิน

หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
๑. จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง
๒. จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์
๓. พยายามตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน
ดังนั้นเมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรมจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเราเพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง


ทางแห่งความหลุดพ้น
เจ้าประคุณสมเด็จฯ มักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่าชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ถึงหนึ่ง ร้อยปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า ดังนั้นจึงควรประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏท่านเปรียบเทียบว่า มนุษย์อาบน้ำ ชำระกายวันละสองครั้งเพื่อกำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้เพียงนาที

ด้วยเหตุนี้ ทำให้จิตใจของมนุษย์ ยุคปัจจุบันเศร้าหมองเคร่งเครียดและดุดัน ก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง และกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

แต่งใจ
ขอให้ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่า ร่างกายของเรานี้ไฉนจึงต้องชำระทุกวันทั้งเช้าและเย็นจะขาดเสียไม่ได้ทั้ง ที่หมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นนิจ แต่ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์ออกมา แม้จะพยายามหาของหอมมาทาทับ ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้ ...ใจของเราล่ะ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าร่างกายเป็นผู้สั่งบัญชางาน ให้กายแท้ๆ มีใครเอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มันสั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใด หรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ทำความสะอาดหรือ?

กรรมลิขิต
เราทั้งหลายเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติแล้ว ล้วนแต่มีกรรมผูกพันกันมาทั้งสิ้น ผูกพันในความเป็นมิตรบ้างเป็นศัตรูบ้าง แต่ละชีวิตก็ย่อมที่จะเดินไปตามกรรมวิบากของตนที่ได้กระทำไว้ ทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นเครื่องลิขิต

อดีตกรรม ถ้ากรรมดี เสวยอยู่
ปัจจุบันกรรม สร้างกรรมชั่ว ย่อมลบล้าง
อดีตกรรม กรรมแห่งอกุศล วิบากตน
ปัจจุบัน สร้างกรรมดี ย่อมผดุง

เรื่องกฎแห่งกรรม ถ้าเป็นชาวพุทธแล้ว เขาถือว่าเป็นกฎแห่งปัจจังตัง ผู้ที่ต้องการรู้ ต้องทำเอง รู้เอง ถึงเอง แล้วจึงจะเข้าใจ

นักบุญ
การทำบุญก็ดี การทำสิ่งใดก็ดี ถ้าเป็นการทำตนให้ละทิฏฐิมานะทำเพื่อให้จิตเบิกบาน ย่อมเสวยบุญนั้นในปรภพ มนุษย์ทุกวันนี้ทำแบบมีกิเลส ดังนั้น บางคนนึกว่าเข้าสร้างโบสถ์เป็นหลังๆ แล้วเขาจะไปสวรรค์หรือเปล่า เขาตายไปอาจจะต้องตกนรก เพราะอะไรเล่า เพราะถ้าเขาสร้างด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ เป็นการทำเพื่อเอาบุญบังหน้าในการเสวยความสุขส่วนตัวก็มี บางคนอาจเรียกได้ว่าหน้าเนื้อใจเสือ คือข้างหน้าเป็นนักบุญ ข้างหลังเป็นนักปล้น

ละความตระหนี่มีสุข
ดังนั้นบุญที่เขาทำนี้ถือว่า ไม่เป็นสุข หากมาจากการก่อกรรม บุญนั้นจึงมีกระแสคลื่นน้อยกว่าบาปที่เขาทำเอาไว้หากมีใครเข้าใจคำว่า บุญ นี้ดีแล้ว การทำบุญนี้จุดแรกในการทำก็เพื่อไม่ให้เรานี้เป็นคนตระหนี่ รู้จักเสียสละเพื่อความสุขของผู้อื่น ธรรมดาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมีทุกข์ก็ควรจะทุกข์ด้วย เมื่อมีความสุขก็ควรสุขด้วยกัน


อย่าเอาเปรียบเทวดา
ในการทำบุญ สิ่งที่จะได้ก็คือ ระหว่างเราผู้เป็นมนุษย์เรารู้ว่าสิ่งที่เราทำนี้จะเป็นมงคล ทำให้จิตใจเบิกบานดีนี่คือการเสวยผลแห่งบุญในปัจจุบัน ทีนี้การทำบุญเพื่อจะเอาผลตอบแทนนั้น มนุษย์นี้ออกจะเอาเปรียบเทวดา ทำบุญครั้งใด ก็ปรารถนาเอาวิมานหนึ่งหลังสองหลัง การทำบุญแบบนี้เรียกว่า ทำเพราะหวังผลตอบแทนด้วยความโลภ

บุญนั้นก็ย่อมจะไม่มีผล ท่านอย่าลืมว่า ในโลกวิญญาณเขามีกระแสทิพย์รับทราบในการทำของมนุษย์แต่ละคนเขามีห้องเก็บบุญ และบาปแห่งหนึ่งอันเป็นที่เก็บบุญและบาปของใครต่อใครและของเรื่องราวนั้นๆ กรรมของใครก็จะติดตามความเคลื่อนไหวของตนๆนั้น ไปตลอดระหว่างที่เขายังไม่สิ้นอายุขัย

บุญบริสุทธิ์
การที่สอนให้ทำบุญโดยไม่ปรารถนานั้นก็เพื่อให้กระแสบุญนั้นบริสุทธิเป็นขั้น ที่นึ่ง จะได้ตามให้ผลทันในปัจจุบันชาติ แต่ถ้าตามไม่ทันในปัจจุบันชาติ ก็ติดตามไปให้เสวยผลในปรภพ คือ เมื่อสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์ไปแล้ว ฉะนั้น เขาจึงสอนไม่ให้ทำบุญเอาหน้า ทำบุญอย่าหวังผลตอบแทน สิ่งดีที่ท่านทำไปย่อมได้รับสนองดีแน่นอน

สั่งสมบารมี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับนักปฏิบัติธรรมแล้ว การทำบุญทำทานย่อมเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติจิตให้บรรลุธรรมได้เร็วขึ้นเป็น บารมีอย่างหนึ่ง ในบารมีสิบทัศที่ต้องสั่งสม เพื่อให้สำเร็จมรรคผลนิพพาน

เมตตาบารมี

การทำบุญให้ทานเพียงแต่เรียกว่า ทานบารมี หากบำเพ็ญสมาธิจิตจนได้ญาณบารมี และโดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกอย่างนั้น ถ้าท่านให้โดยไม่มีเจตนาแห่งการให้ ให้สักแต่ว่าให้เขาท่านก็ย่อมได้กุศลเรียกว่าไม่มากและทัศนคติของอาตมาว่า การบำเพ็ญเมตตาบารมีในภาวนาบารมีนั้นได้กุศลกรรมกว่าการให้ทาน

แผ่เมตตาจิต
ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น เกิดจากกรรม 3 อย่าง คือ มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม หรือกายกรรมที่เป็นรูป การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา 1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์ 1 หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย ฉะนั้น เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า

อานิสงส์การแผ่เมตตา
ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคำว่า แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไปเมื่อจิตของเรามี เจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา หรืออีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขาๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล

เราแผ่เมตตาจิตให้ทุกๆวัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุกๆดวง ดวงวิญญาณทุกๆดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง ๔ นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป

ฉะนั้น ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จิตแน่วแน่แล้ว โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้

ประโยชน์จากการฝึกจิต
...ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนมีสมาธิแน่วแน่ เมื่อจิตนิ่งก็รู้ตน เริ่มพิจารณาตน รู้ตนเองได้ ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญานี้เรียกว่า ปัญญาภายในจากจิตวิญญาณ ซึ่งเราจะใช้ปัญญานี้ได้แน่นอน เมื่อเกิดมีปัญหาขึ้นในชีวิตตลอดระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า นี่คือประโยชน์ของการฝึกจิตแล้ว คุณของสมาธิยังเป็นพลังป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัย เจ็บป่วยได้ กล่าวคือ การบำเพ็ญจิต จนจิตสงบนิ่งแล้ว

ระบบต่างๆทางประสาทจะได้รับการพักผ่อน เป็นการปรับธาตุในกายให้เกิดพลังจิตเข้มแข็ง กายเนื้อก็จะแข็งแรงกระชุ่มกระชวยด้วย โลหิตในร่างกายจะหมุนเวียนสะดวกขึ้น ความตึงเครียดตามร่างกายและประสาทต่างๆ จะผ่อนคลายเป็นปกติ โรคต่างๆจะลดน้อยลงโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หายป่วยได้ด้วยการฝึกจิตและเดินจงกรม

(คัดลอกจากหนังสือ เรียน ธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โตพรหมรังสี )


ที่มา  http://luangputo.com/Menu01/Menu02.htm
26435  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2011, 08:48:37 am
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://nkgen.com/

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
อุปมาอริยสัจกับรอยเท้าช้าง


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า

ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  บรรทัดที่ ๖๐๔๒ - ๖๓๐๘.  หน้าที่  ๒๔๕ - ๒๕๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6042&Z=6308&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=340




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
มงคลสูตรในขุททกปาฐะ


มงคล ๓๘ (สิ่งที่ทำให้มีโชคดี, ธรรมอันนำมาซึ่งความสุขความเจริญ เรียกเต็มว่า อุดมมงคล คือมงคลอันสูงสุด)

มงคลที่ ๓๓. อริยสจฺจาน ทสฺสนํ (เห็นอริยสัจ, เข้าใจความจริงของชีวิต)

นี้เป็นมงคลอันอุดม "เทวะมนุษย์ทั้งหลายกระทำมงคลเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ปราชัยในที่ทุกสถาน

ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง นี้คืออุดมมงคลของเทวะมนุษย์เหล่านั้น."

 
อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๔๑ - ๗๒.  หน้าที่  ๓ - ๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=41&Z=72&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=5
26436  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เชิญร่วมตักบาตร ดอกไม้ประจำปี 2554 15 - 16 ก.ค.54 ณ วัดพระพุึทธบาท สระบุรี เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2011, 08:45:44 pm
ทราบแล้ว อย่างไปร่วมทำบุญ และกราบนมัสการรอยพระพุทธบาท มาก ๆ เลยคะ
ถ้าไปที่วัดพระพุทธบาท แล้ว ไปที่ไหนต่อได้บ้างคะ ที่เป็นสถานที่ ชาวธรรม ควรได้ไปเยือน คะ

แนะนำเส้นทางให้หน่อยคะ

 :c017:

แนะนำ หลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์

ประวัติ "หลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์" อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3987.msg14840#msg14840

๑๐ อันดับยอดนิยม วัตถุมงคล “หลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์” จ.สระบุรี
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3709.0

หลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์ ผ่านจากอยุธยา ไปสระบุรี แวะไหว้กราบ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=855.msg3716#msg3716

 :welcome: :s_good: :49:
26437  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อิทัปปัจจยตา เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2011, 07:40:08 am


อิทัปปัจจยตา

ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย”,ความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย ,กระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย, 

       กฎที่ว่า  “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;

                 เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี, เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ”,

                 เป็นอีกชื่อหนึ่งของหลัก ปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัจจยาการ


อ้างอิง
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)




ปฏิจจสมุปบาท มีองค์หรือหัวข้อ ๑๒ (การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน, ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น)

๑/๒. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี
๓. สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี
๔. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป จึงมี


๕. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี
๖. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี
๗. ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี
๘. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี


๙. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี
๑๐. อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพ จึงมี
๑๑. ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ จึงมี
๑๒. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี


โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม

เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ.
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้

แสดงตามลำดับ จากต้นไปหาปลายอย่างนี้ เรียกว่า อนุโลมเทศนา ถ้าแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น ว่า ชรามรณะ เป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขาร มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา


อ้างอิง
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพประกอบจาก www.yehyeh.com/
26438  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: สมาธิรักษาโรค เรื่องจริงของคุณพวงพิกุล ทิพย์สังวาลย์ เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2011, 07:03:31 am
เป็นเรื่องที่น่า อ่าน อีกเรื่อง เลยคะ กว่าจะอ่านจบก็ร่วม ชม. คะ
พอได้แนวทาง และ ชื่นชมกับผู้ภาวนาอีกท่าน คะ

สนใจเรื่อง สมาธิรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

โดยส่วนตัวยังไม่เชื่อว่า สมาธิจะบำบัดโรคกายได้จริง คะ

 :smiley_confused1: :c017:

ในแนวกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มีวิชารักษาโรคโดยเฉพาะ เรียกว่า

"พระนวหรคุณ 9 ที่ และวิธีรักษาตัวเอง" ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน)


 :welcome: :49: :25: ;)
26439  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เชิญร่วมตักบาตร ดอกไม้ประจำปี 2554 15 - 16 ก.ค.54 ณ วัดพระพุึทธบาท สระบุรี เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2011, 08:09:08 pm

ภาพจากwww.bloggang.com/

อานิสงส์ถวายดอกไม้ธูปเทียน

......ในครั้งพุทธกาลก็มีผู้กระทำมาแล้วย่อมมีผลานิสงส์อย่างอเนกประการ คือ นายสุมนมาลากร
มีเรื่องอยู่ว่านายสุมนมาลาการนี้ เก็บดอกมะลิมาถวายพระเจ้าพิมพิสารวันละ
๘ ทะนาน และรับเงิน ๘ กหาปณะต่อวัน ขณะที่เขาเก็บดอกไม้อยู่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก
บิณฑบาตภายในพระนคร พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป เป็นบริวาร


นายสุมนมาลาการเห็นก็เกิดจิตเลื่อมใสคิดอยากจะทำบุญแก่พระตถาคต แต่ไม่เห็นอย่างอื่นนอกจากดอกไม้ จึงเอาดอกไม้เหล่านั้นบูชาพระองค์ โดยไม่เกรงกลัวพระราชาจะทรงกริ้วโกรธ ถึงแม้จะถูกพระราชาประหารชีวิตก็ยอมตายการบูชาดอกไม้ของนายมาลาการได้กระทำซัดดอกไม้ขึ้นไปในเบื้องบน ของพระตถาคต ๒ กำมือ ดอก
ไม้เกิดอัศจรรย์ขึ้นไปประดิษฐานเบื้องบนเป็นเพดานกั้นพระเศียรพระตถาคต แล้วก็ซัดไปทาง
พระหัตถ์ขวา ๒ กำด้านพระปฤษฎางค์ ๒ กำ พระหัตถ์ซ้าย ๒ กำ รวมทั้งหมด ๘ กำ

ดอกไม้เหล่านั้นได้เกิดอัศจรรย์แวดล้อมพระตถาคตอยู่ตลอดเวลานายมาลาการเห็นดังนั้นก็ยินดียิ่งนัก ได้ถือกระเช้าเปล่าไปเรือนฝ่ายภรรยาเห็นไม่มีดอกไม้ในกระเช้านายมาลาการบอกแก่ภรรยาว่าได้เอาดอกไม้บูชาพระตถาคตแล้วนางได้ตอบว่าธรรมดาพระราชาเป็นผู้ดุร้าย กริ้วคราวเดียวก็ทำความพินาศให้ถึงความตาย

ภาพจากwww.kroobannok.com/

ดังนั้นความพินาศนี้พึงมีแก่เรา เพราะเธอได้ทำกรรมไว้นางได้อุ้มลูกไปเฝ้าพระราชาทูลขอหย่ากับ นายมาลาการกับพระองค์พระราชาทรงทราบความต่ำทราม แห่งจิตของนาง แล้วก็ทำเป็นกริ้วและอนุญาตให้นางหย่ากับนายมาลาการ แล้วพระราชาได้เสด็จไปสู่สำนักพระศาสดาถวายบังคมทูลอาราธนาพระศาสดาไปรับภัตตาหารในพระราชวังพระศาสดาทรงทราบพระราชหฤทัยของพระราชา พระองค์ทรงรับอาราธนาแล้วเสด็จไปสู่พระราชวังของพระราชา

แต่พระศาสดาทรงพระประสงค์ จะประทับที่พระลานหลวง จะประกาศคุณงามความดีของนายมาลาการพระราชาทรงอังคาส พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามส่งเสด็จพระศาสดาไปสู่วิหารเสด็จกลับมาตามนายมาลาการ ถวายถึงสาเหตุที่ถวายดอกไม้แก่พระศาสดา

พอทราบเรื่องแล้วทรงพระราชทานรางวัลอย่าง ๘ ชนิดมีช้าง ๘ เชือก ม้า ๘ ตัว ทาส ๘ คน ทาสี ๘ คน กหาปณะ ๘ พัน นารี ๘ นาง และเครื่องประดับอย่างละ ๘ และบ้านส่วยอีก ๘ หมู่บ้านเป็นอันว่ากรรมดีได้สนองผลให้แก่นายสุมนมาลาการในวันนั้นเอง

ที่มา http://www.84000.org/anisong/21.html
26440  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เชิญร่วมตักบาตร ดอกไม้ประจำปี 2554 15 - 16 ก.ค.54 ณ วัดพระพุึทธบาท สระบุรี เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2011, 07:57:56 pm
อนุโมทนาสาูธุ คะ ยังไม่เคยทำบุญใส่ดอกไม้เป็นทางการ

  มีอานิสงค์ ของการถวาย แบบนี้ให้อ่านหรือไม่คะ

  ขอบคุณคะ

   :25: :25: :25:

เมื่อพระองค์เสวยพระชาติเป็น“สังขพราหมณ์” เคยบูชาพระสถูปด้วย“ดอกไม้”
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=496.0

กระทู้นี้น่าจะใกล้เคียงที่สุด
:welcome: :49: :25: ;)
หน้า: 1 ... 659 660 [661] 662 663 ... 707