ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แกะหลัก ภาวนาอย่างชาวบ้าน ผู้ทำกสิกรรม  (อ่าน 2814 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ศรัทธาของเราเป็นพืช
  ศรัทธา ( ความเชื่อ )
  พืช คือสิ่งที่จะปลูก เมื่อจะปลูก พืชอะไร ก็ย่อมได้พืชเช่นนั้น

ความเพียรของเราเป็นฝน
   ความเพียร ที่ย่อหย่อน และไม่ตึงเกิน     

ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ
   ความรอบรู้ในกสิกรรม ความรอบรู้ ในส่ิงที่กระทำ ไม่ใช่รู้ทุกอย่างในโลก แต่รอบรู้ในวิชากสิกรรมนั้น  เนื่องด้วยฝนมีฤดูกาลไม่ได้ตกทุกวัน ปัญญาความรอบรู้ในการบริหารจัดการน้ำ ให้มีอยู่เพื่อรักษาพืชผลจึงต้องใช้ปัญญาในการนำน้ำเข้าสู่นา

หิริของเราเป็นงอนไถ
   คันบังคับที่ต้องยึดไว้ให้มั่น คือความละอายใจ ๆ ก็จะสร้างความเกรงกลัวต่อบาป

ใจของเรา เป็นเชือก
   ใจเป็นเครื่องกระตุ้นให้ เดินต่อ วัวควายถ้าไม่กระตุ้นกระตุกเตือนมันก็จะยืนนิ่งอยู่อย่างนั้นดังนั้น ใจจึงต้องมีการกระตุ้นบ้าง

สติของเราเป็นผาลและปฏัก
    แต่บางครั้งการกระตุ้น มันก็ไม่ไหว จึงต้องมีการใช้เครื่องไม้เครื่องมือ ทิ่มแทงไปบ้างเล็กน้อย 

เราคุ้มครองกายคุ้มครองวาจา
    ขณะที่ทำงานอยู่ ก็ไม่ควรพูดมาก ทำเรื่องอย่างอื่น ต้องคอยคุ้มครองกาย เพราะการเหยียบย่ำลงไปในน้ำในผืนนานั้น มีอันตรายทั้งเสี้ยนหนามและสัตว์มีพิษที่อยู่ในดิน

สำรวมในอาหารในท้อง
    เมื่อการทำกสิกรรม มีอยู่การบริโภคอาหารในระหว่างกระทำกสิกรรม จึงไม่ควร ควรจะต้องหยุดพัก

ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ
    เมื่อหยุดการไถนาว่างเว้น ก็ใช้เวลาที่ควรในการกำจัดวัชชพืช เพราะวัชชพืชไม่ต้องปลูกมันสามารถขึ้นได้เอง ดังนั้ันนาที่ไม่มีการดูแลย่อมถูกวัชชพืชแย่งความอุดมสมบูรณ์ พืชผลอาจจะไม่ได้ หรือได้ก็ไม่สมบูรณ์

ความสงบเสงี่ยมของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส
    ความสันโดษพอใจ ในสิ่งที่มีเป็นเหตุไม่ขยายการทำกสิกรรมมากไป เพราะรู้ความพอดี บางคนทำมากไปมีกำลังพอ ดูแลมากก็ทำไม่ไหว ดังนั้นการทำกสิกรรม แต่พอดีจึงเป็นการคลายความลำบากในการจัดการ

ความเพียรของเรานำธุระไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ
    เมื่อผืนนาที่ไถแล้ว ได้ลงพืชสิ่งที่ต้องทำก็คือการหมั่นประกอบการดูแลพืชผลอย่างต่อเนื่องไม่วางธุระ
เมื่อชาวนาดูแลนา คือ พืชผลที่ลงแรงไว้อย่างนี้ ผลย่อมออกตามต้องการ

ไม่หวนกลับมาย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก
    ไม่เศร้าโศรก เพราะพืชผล ย่อมบริบูรณ์ ไม่ถึงภัยธรรมชาติ ย่อมไม่ทุกข์

การไถนานั้น เราไถแล้วอย่างนี้
     การไถนา ของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นอย่างนี้ แม้พระอริยะสาวก็เป็นอย่างนี้

การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ
    การไถนา ของพระพุทธเจ้า และ พระอริยะสาวก ย่อมมีผลเป็นอมตะ ( นิพพาน )

บุคคลไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
    บุคคลถ้าไถนาแบบนี้ ย่อมพ้นจากทุกข์ ทั้งปวง



บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



ศรัทธาของเราเป็นพืช
  ศรัทธา ( ความเชื่อ )
  ลำดับ ปฏิจจสมุปบาท สายออกจากทุกข์

     ศรัทธา ไปสู่ ปราโมทย์ ปราโมทย์ ไปสู่ ปีติ ปีติ ไปสู่ ฉันทะสมาธิ  ฉันทะสมาธิ ไปสู่ ยถาภูตญาณทัศศนะ ยถาภูตญาณทัศศนะ ไปสู่ นิพพิทา  นิพพิทา ไปสู่ วิราคะ  วิราคะ ไปสู่ วิมุตติ วิมุตติ ไปสู่ วิมุตติญาณทัศศนะ  วิมิตติญาณทัศศนะ ไปสู่ นิพพาน ( อนุปาทาปรินิพพาน )

ความเพียรของเราเป็นฝน
   ความเพียร ที่ย่อหย่อน และไม่ตึงเกิน     

ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ
   ความรอบรู้ ในกองพระกรรมฐาน และ ความเข้าใจเพื่อให้ความเพียร มีได้อย่างต่อเนื่อง

หิริของเราเป็นงอนไถ
   ความละอายใจต่อบาปอกุศล   

ใจของเรา เป็นเชือก
   กรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจเบื้องต้น เป็นอุบายสู่วิปัสสนาในท่ามกลาง มีมรรคผลและนิพพาน เป็นที่สุด   

สติของเราเป็นผาลและปฏัก
   การดำเนินสติ ในกองกรรมฐาน เป็นกายานุปัสสนา เป็นจิตตานุปัสสนา เป็นเวทนานุปัสสนา เป็นธรรมานุปัสสนา

เราคุ้มครองกายคุ้มครองวาจา
    การคุ้มครองด้วยการสำรวมวาจา และ อาชีวะปาริสุทธิ

สำรวมในอาหารในท้อง
    โภชเนมัตตัญญุตา การปัจจเวกขณปัจจัย 4  การกระทำอาหาเรปฏิกูลสัญญา

ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ
     การละจากสะสม การทำความผ่องใส ในปัจจัย 4
     ย้ำเตือนตนเสมอ ๆ ว่า นี่ไม่ใช่เรา นี่ไม่ใช่ของเรา นี่ไม่ใช่ตัวตนของเรา
     แม้ว่าเบื้องต้นจิตจะคิดว่า นี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา นีึ่ไม่ใช่ตัวตนของเรา แน่การกล่าวสัจจะคือความจริง ย่อมละทิฏฐิที่ผิดได้ แม้ด้วยการข่ม อดกลั้น และประหารในที่สุด

ความสงบเสงี่ยมของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส
    ความวิเวก ย่อมนำไปสู่ วิราคะฉันใด ความสงบเสงี่ยม ย่อมไม่พอกพูนกิเลส เพราะการอาศัยวิเวกนั่นเอง

ความเพียรของเรานำธุระไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ
    การดำเนินมรรคอันมีองค์ 8 ย่อมถึงซึ่งความเกษม

ไม่หวนกลับมาย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก
    ย่อมมีการสิ้นกิเลส เพราะได้ มรรค และ ผล

การไถนานั้น เราไถแล้วอย่างนี้
     การไถนา ของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นอย่างนี้ แม้พระอริยะสาวก็เป็นอย่างนี้

การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ
    การไถนา ของพระพุทธเจ้า และ พระอริยะสาวก ย่อมมีผลเป็นอมตะ ( นิพพาน )

บุคคลไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
    บุคคลกระทำกรรมฐาน ด้วยองค์ประกอบอย่างนี้  ย่อมพ้นจากทุกขอุปาทานขันธ์ ทั้งปวง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 16, 2016, 08:31:23 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แกะหลัก ภาวนาอย่างชาวบ้าน ผู้ทำกสิกรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 16, 2016, 07:46:19 pm »
0

    ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แกะหลัก ภาวนาอย่างชาวบ้าน ผู้ทำกสิกรรม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 16, 2016, 09:08:07 pm »
0

  สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: แกะหลัก ภาวนาอย่างชาวบ้าน ผู้ทำกสิกรรม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2017, 12:10:13 pm »
0
 :25: st11 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ