ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ส่วนที่ 2 อุปาทายรูป  (อ่าน 4826 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ย้อนกลับไปอ่าน ตอนที่ 2 ถ้ายังไม่เข้าใจ
รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ( หมายถึง เป็นเอกเทศโดยส่วนเดียว จากขันธ์ทั้ง 5 )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20904.0



ตอนที่ 3

บทตั้งท่องจำ อุปาทายรูป 24 (อุปาทายรูปํ   จตุวีสติวิธํ )
 อุปาทายรูปํ   จตุวีสติวิธํ  จกฺขุ  โสตํ  ฆานํ  ชิวฺหา  กาโย  รูปํ  สทฺโท   คนฺโธ   รโส   
 อิตฺถินฺทฺริยํ  ปุริสินฺทฺริยํ  ชีวิตินฺทฺริยํ หทยวตฺถุ
 กายวิญฺญตฺติ   วจีวิญฺญตฺติ   อากาสธาตุ   
 รูปสฺส   ลหุตา   รูปสฺส มุทุตา   รูปสฺส   กมฺมญตา   รูปสฺส   อุปจโย 
 รูปสฺส  สนฺตติ  รูปสฺส ชรตา รูปสฺส อนิจฺจตา กวฬิงฺกาโร อาหาโรติ ฯ 

2.อุปาทายรูป มี 24 ประการ
       1.จักขุ 2.โสตะ  3.ฆานะ  4.ชิวหา 5.กาโย  6.รูปัง  7.สัทโท 8.คันโธ 9.รโส
10.อิตถินทรีย์ 11.ปุริสินทรีย์  12.ชีวิตินทรีย์ 13.หทัยวัตถุ
14.กายวิญญัติ 15.วจีวิญญัติ 16.อากาสธาตุ
17.รูปลหุตา 18.รูปมุทุตา 19.รูปปาคุญญตา  20.รูปอุปจยะ
21.รูปสันตติ 22.รูปชรตา 23.รูปอนิจจตา 24.กวกฬิงการาหาร


     สำหรับศัพท์ในกรรมฐาน มูลกัจจายนะ นั้น เวลาเรียกรูป ที่เป็นภูตรูป อันประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 จะใช้คำว่า ภาชนะ เพื่อให้พ้นจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ภาชนะเครื่องปั้น ย่อมประกอบด้วยทั้งสี่ มี ไตรลักษณะ แต่ปราศจากส่วนที่เป็น ใจ ทั้งหมด ดังนั้นใน มหาภูตรูป จึงใช้คำเรียกว่า ภาชนะ หมายความเป็นที่ใส่ หรือ เครื่องใช้

     ส่วนอุปาทายรูป นั้น เป็น รูปที่เกิดได้ต้องอาศัยใจ ร่วมด้วย แต่ไม่อยู่ด้านนอกของภาชนะ เพียงแต่เป็นสมมุติส่วนใด ส่วนหนึ่ง หรือครอบคลุมแทนภาชนะได้

  ( ยังมีต่อ รอกันก่อน อันนี้ตอบส่วนที่สอง สำหรับคนที่ก้าวหน้า )

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 02, 2016, 01:54:02 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ส่วนนี้เป็นการตอบคำถามรวมเลยนะว่า ทำไม ฐานจิต ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ต้องยู่ตรงนี้ ตรงอื่นได้ไหม ?


สำหรับอุปาทายรูปในมูลกรรมฐาน เป็นภาคต่อจาก มหาภูตรูป 4 นั้นก็คือ อุปายรูป 2 ส่วนซึ่งมีความสำคัญในพระกรรมฐาน เป็นส่วนที่ควบคุม ภาชนะทั้งหมด เป็นกลาง หมดจด มาก่อนดั้งเดิม เปลี่ยนแปลงภาชนะให้ อยู่ หรือ เป็น ได้กล่าวว่า บุคคลเมื่อจะถึงแก่กรรม คือ ละสังขาร ( ละจากภาชนะ ) นั้นจะละไปตามลำดับธาตุ แต่จะละได้ที่สุด ก็คือ การดับ แห่ง หทัยวัตถุ นั่นเอง ดังนั้นกรรมฐานเวลาภาวนา ขึ้นอัปปนาจิต เวลาใช้ ลหุตา ลหุสัญญา นั้น จำเป็นต้องใช้ที่ หทัยวัตถุ เพราะเป็น ธาตุชนิดเดียวกัน บ้างท่านกล่าวว่าไปใช้ที่ ศูนย์นาภี นั้นยังไม่ถูก ไม่สามารถใช้ได้เพราะเป็นคนละธาตุ ดังนั้น มหาภูตรูป อยู่ส่วนล่าง ในภาชนะ รวมอยู่ที่ศูนย์นาภี ส่วน อุปาทยรูปธาตุ นั้น มีธาตุ สองอย่าง คือ มโนธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุ ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งจะไปทำให้เกิด ยถาภูตญาณลำดับที่ 1 คือ อุภโตธาตุ ( ธาตุสองส่วน ซึ่ง จัดเป็น ทุวิธัง รูป รูปสองส่วน ) ดั่งข้อความบทบาลี ด้านล่างนี้
 
  มโนธาตุมโนวิญฺญาณธาตูนํ   นิสฺสยลกฺขณํ   หทยวตฺถุ   ตาสํเยว ธาตูนํ   อาธารณรสํ   อุพฺพาหนปจฺจุปฏฺฐานํ ฯ   หทยสฺส   อนฺโต กายคตาสติกถาย   วุตฺตปฺปการํ   โลหิตํ   นิสฺสาย   สนฺธารณาทิกิจฺเจหิ ภูเตหิ   กตุปการํ   อุตุจิตฺตาหาเรหิ   อุปตฺถมฺภิยมานํ   อายุนา อนุปาลิยมานํ   มโนธาตุมโนวิญฺญาณธาตูนญฺเจว    ตํสมฺปยุตฺตธมฺมานญฺจ วตฺถุภาวํ สาธยมานํ ติฏฺฐติ

  หทัยวัตถุ ( หทยวตฺถุ ) มีความเป็นที่อาศัยของ มโนธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุเป็นลักษณะ มีการรับรองธาตุเหล่านั้น นั่นเหละเป็นกิจ มีการประมวลธาตุทั้ง 2 เข้ามาเป็นผล อาศัยเลือดมีประการดังกล่าวแล้วกายคตาสติกถา ได้อุปการะที่ภูตรูป ทั้งหลาย ซึ่งมีหน้าที่คำ้จุนไว้เป็นต้น มีอุตุ จิต และอาหารอุปถัมภ์อยู่ มีอายุคอยเลี้ยงรักษา ให้สำเร็จเป็นที่ต้งแห่งมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตกับ ธาตุทั้ง 2 นั้นตั้งอยูภายในแห่งหัวใจ

   ดังนั้นเวลาภาวนา กรรมฐานใด ๆ เมื่อมาถึง หทัยวัตถุ สิ่งที่ต้องรู้แจ้งชัดสภาวะธรรมขึ้นก่อน คือ พระลักษณะ นั่นก็คือ ปีติ และ ยุคลธรรม  ส่วนสุขไม่ใช่ลักษณะ ผู้ภาวนาตามลำดับกรรมฐาน เมื่อภาวนาก็จะเข้าพระลักษณะ ตัวที่รับรู้พระลักษณะ ก็คือ หทัยวัตถุ ไม่ใช่ ฐานที่ 1 2 3 4 ที่เป็นภาชนะ ตัวภาชนะเป็นตัวแสดงอาการ แต่ตัวที่รับรู้ลักษณะ คือ หทัยวัตถุ ดังนั้นผู้ภาวนาเมื่อจะยังพระรัศมี ต้องเดินจิตผ่านภูตรูป มาจนถึง หทัยวัตถุ อุปาทายรูป ก่อน แล้ว จึงทำปฏิโลม ( ถอยกลับ ) ส่วนพระลักษณะ ก่อน จึงจะเข้าส่วนของรัศมี ซึ่งหมายถึง จิตจะต้องผ่านส่วนธรรม ทุวิธังรูป ก่อน หรือ กำหนดแจ้งชัดในสภาวะธรรม ที่ปีติ เกิด และ ปีติ ดับไป ยุคลธรรม เกิด ยุคลธรรม ดับไป นั่นเอง รายละเอียดอยู่ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับแล้ว

        รูปปริจฺเฉทลกฺขณา   อากาสธาตุ   รูปปริยนฺตปฺปกาสนรสา รูปมริยาทปจฺจุปฏฺฐานา   อสมฺผุฏฺฐภาวฉิทฺทวิวรภาวปจฺจุปฏฺฐานา   วา ปริจฺฉินฺนรูปปทฏฺฐานา   ยาย   ปริจฺฉินฺเนสุ   รูเปสุ  อิทมิโต  อุทฺธมโธ ติริยนฺติ จ โหติ ฯ

      อากาสธาตุ อุปายรูปธาตุ มีการตัดตอนรูปเป็นลักษณะ มีการประกาศริมขอบรูปเป็นกิจ มีขอบเขตของรูปเป็นผล หรือมีความถูกต้องไม่ได้และเป็นช่องเป็นผล มีรูปที่ถูกตัดตอนแล้วเป็นเหตุใกล้ ในรูปทั้งหลายที่ถูกอากาสธาตุใดตัดตอนแล้ว ย่อมมีการกำหนดได้ว่า รูปนี้ทางนี้ด้านบน ทานี้ข้างล่าง และทางนี้ขวาง

       หทัยวัตถุ แม้เป็นที่ตั้ง ของ มโนธาตุ ( มนธาตุ ) และ มโนวิญญาณธาตุ ( มนายตนะธาตุ ) แต่ถ้าไม่สามารถกำหนดขอบเขต ก็จะกินแดนของภาชนะทั้งหมด แม้ตัวภาชนะถ้ากำหนดขอบเขตไม่ได้ก็จะเต็มเป็นอนันตจักรวาล ซึ่งไม่ถูกต้องกว้างเกินไป ทำให้เยิ่นเย้อในการมองเห็นยิ่งกว้างก็ยิ่งมองไม่เห็นอะไรสำคัญ เหมือนคนยืนชมวิวกว้าง ก็กำหนดได้แต่วิวไม่สามารถสังเกตอะไรได้ ดังนั้น หทัยวัตถุ จึงต้องอากาสธาตุ เป็นตัวกำหนดขอบเขตน์ ขึ้นมาเป็นตัวกำหนดตัวอากาศจึงเหมือนช่องว่าง ที่รองรับ หทัยวัตถุ กล่าวคือ เป็นที่ตั้งฐานจิตนั่นเอง

      ส่วนฐานจิตอื่น ๆ นั้น ไม่ได้เกิดจาก หทัยวัตถุ เกิดแต่เพียงธาตุใด ธาตุหนึ่ง เป็นที่สถุิตย์ของธาตุใดธาตุหนึ่ง เป็นตัวขับผลักดันธาตุให้ดำเนินไป ดังนั้นโบราณกาลเมื่อกำหนดฐานจิต ในกองกรรมฐาน จึงกำหนดธาตุไปตามต้นกำเหนิด ดังนี้

      1. ศูนย์นาภี เป็นที่รับธาตุ มหาภูตรูปทั้ง 4 ตั้งแต่เริ่มจุติ ดังนั้นผู้เกิดในครรภ์จึงอาศัยสายรกสายสะดือเป็นที่ประกอบธาตุ แต่ฐานธาตุนี้ จะถูกปิดเมือออกจากครรภ์มารดา พอออกจากครรภ์ ธาตุทั้ง 4 ก็จะกระจายไปสถิตย์ในภาชนะ ตามลำดับดังนี้ ดังนั้นศูนย์นาภี จึงเป็นที่รวมสัปยุตธรรมภายนอกเข้ามาในภายใน ครูอาจารย์ จึงให้ทำการสัมปยุตต คือประกอบธรรมด้วยใจลงไปที่ สะดือ ( ศูนย์นาภี ) ตั้งแต่แบบเบา กลาง และ ประณีต
 
      2. ฐานธาตุดิน อาศัยปลายกระเพาะ คือ ลำไส้ เป็นที่อยู่ ของกากอาหารที่ร่างกายไม่ใช้แล้ว เตรียมพร้อมเป็นอุจจาระเพื่อขับถ่ายออก เมื่อออกมาจากกายก็เรียกว่า กรีสัง หรือ อุจจาระ ซึ่งมีความชัดเจนด้วยธาตุใหญ่ คือ ธาตุดิน สำหรับฐานนี้ วัดจากสะดือลงไปประมาณ 3 - 4 นิ้วตามร่างกายบุคคลอ้วนหน่อยก็สี่นิ้ว พร้อมนิดก็สองนิ้ว ท้วม ๆ ก็ 3 นิ้ว โดยประมาณ

      3. ฐานธาตุไฟ อาศัยอยู่กระเพาะ เป็นผลิตน้ำย่อย และ สารให้อบอุ่นแก่ร่างกาย ความร้อนนี้ ทรงลงถึงอวัยวะให้กำเนิดด้วยเป็นเส้นตรง ดังนั้น แกนกลางจึงมีความร้อนอันเกิดจากการเผาผลาญพลังงาน รูปแบบต่าง ๆใน ภาชนะ สำหรับฐานนี้ ก็อยู่สูงขึ้นมาจาก สะดือ ประมาณ 2 - 4 นิ้วตามลักษณะกายของแต่ละบุคคล

      4.ฐานธาตุน้ำ อาศัยอยู่ที่ ท่ามกลางถุงน้ำดีและไตทั้งสองข้าง เชื่อมต่อกับท่อปัสสาวะ เป็นที่หลั่งไหลของน้ำ เหมือนปั้มที่คอยกระเพื่อมน้ำส่วนอื่น ๆ ในภาชนะ สำหรับฐานนี้ อยู่ท่ามกลาง ของ หทัยวัตถุ และ ศูนย์นาภี

      5.ฐานธาตุลม อาศัยอยู่ที่ปลายปอดเป็นตัวปั๊ม ต่อเขื่อกับหัวใจ หทัยวัตถุ มีหน้าที่ปั๊มลมให้ทำงาน ให้ธาตุอื่น ๆ ทำงาน ธาตุดินจะเคลื่อนก็ต้องอาศัย ธาตุลม ธาตุน้ำ จะเคลื่อนได้ ก็ต้องอาศัย ธาตุลม ธาตุไฟ จะทำงานได้ ก็ต้องอาศัยธาตุลม ดังนั้น ธาตุลมในกองกรรมฐาน ยังกระจายลมเป็น ธาตุ อีกสามชนิด ในกองกรรมฐาน คือ ปัสสาวาตะ ( ลมเข้า ) อัสสวาตะ ( ลมออก )นิสสวาตะ ( ลมสูญ ) สำหรับฐานนี้ อยู่ ลิ้นปี่

      6.ฐานธาตุอากาส เป็นที่อยู่ ของ หทัยวัตถ เป็น อุปาทายรูปธาตุทั้งสองประการ ที่สถิตย์ของฐาน คือ ท่ามกลางราวนม

      อันนี้คือการวาง มโนธาตุ ตามธาตุ ฐานต่างเรียกว่า มโนธาตุ ดังนั้นไม่ว่า ฐานจิตใด ๆ ตัวหทัยวัตถุ ก็จะรับทราบทุกฐาน เช่นกัน 

     ( ต่อไปว่าแหล่งกำเนิดวิตก  ที่ผู้ปฏิบัติมักกระทำผิดกันประจำ จนเป็นนิสัยที่ผิด ทำให้ลักษณะไม่เกิด รัศมีไม่ปรากฏ ตอนต่อไป)

         
     

 

   อ่านต่อตอนที่ 4
หลักวิชาของครู กรรมฐาน สายนี้ แบ่งวิชา ออกเป็น หมวด ดังนี้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=18874.0
( ตั้งแต่ตอนที่ 4 ไป ไม่อนุญาตบุคคลภายนอกเข้าอ่านนอกจากเป็นสมาชิก เว็บ ระดับ สีเขียวขึ้นไป เนื่องด้วยวิชากรรมฐานปกติแล้วต้องเป็นศิษย์ขึ้นกรรมฐาน แจ้งกรรมฐานต่อครูอาจารย์เสมอๆ เพื่อให้วิชาก้าวหน้า เบื้องต้นเน้นให้จิตเป็นอัปปนา เข้า ฌาน ได้ ตั้งแต่ ฌาน 1 - 4 แล้วจึงฝึก ฌานที่ 5 จากนั้น ขึ้นเป็นอรูป อีก 4 จากนั้นเข้า สมาบัติ เพื่อ วิปัสสนา )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 02, 2016, 06:14:19 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ส่วนที่ 2 อุปาทายรูป
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 02, 2016, 11:34:02 pm »
0
 :91:
          อ่านรอบ ก็ยังงง

                 คงต้องเพิ่มความคุ้นเคย
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ส่วนที่ 2 อุปาทายรูป
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 05, 2016, 10:36:43 pm »
0
 :13: :13: st12 st11
     สองวันนี้ ได้ทวนทั้งสี่ตอน แล้ว


          สาธุ ที่ได้อ่าน ครับ

           มีโอกาสอีกจะอ่านอีก  รวมถึงที่ห้องศิษย์ด้วยครับ
       
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ส่วนที่ 2 อุปาทายรูป
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 15, 2016, 08:33:42 pm »
0
ปฏิบัติธรรม มีแค่ ละความเห็นแก่ตัว ก็เท่ากับสุดแล้ว ไม่ต้องศึกษามากมาย
 :smiley_confused1: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ส่วนที่ 2 อุปาทายรูป
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2016, 09:35:53 pm »
0
กรรมฐาน ที่นี่ อธิบายละเอียด ในประเทศไทย ผมฟังมาหลายครูอาจารย์ ถ้าอธิบาย แล้วมีข้อความกำกับ ครูอาจารย์ ที่นี่อธิบายได้อย่างละเอียดและก็เข้าใจด้วย

   คุณ มด น้อยหน่อย นะครับ ของดี จะไม่ได้อ่าน นะครับ

   st11 st12 st12
บันทึกการเข้า

sinsae

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 277
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ส่วนที่ 2 อุปาทายรูป
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2016, 09:36:28 pm »
0
 st11 st12 st12 like1
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ส่วนที่ 2 อุปาทายรูป
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2016, 01:10:53 pm »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ