ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “ข้าว” ต้นแรกในโลก เกิดที่เมืองจีน  (อ่าน 307 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
“ข้าว” ต้นแรกในโลก เกิดที่เมืองจีน
« เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2022, 06:46:02 am »
0

ภาพจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม


“ข้าว” ต้นแรกในโลก เกิดที่เมืองจีน

ใครจะรู้ว่า ข้าวสวยร้อนๆ ที่เสิร์ฟกับเป็ดย่างและกุ้งราดซอสตามภัตตาคารจีนที่คุณชื่นชอบนั้น บรรพบุรุษของมันถือกําเนิดเมื่อ 9,000 ปีที่แล้ว หรืออาจจะเก่ากว่านั้น

ประเทศจีน คือแหล่งกําเนิดของข้าวปลูก ซึ่งทําให้พวกหาของป่า-ล่าสัตว์หันมาตั้งหลักปักฐานเป็นผู้ใช้แรงงานและเพาะปลูก ตามความเห็นของ Richard S. MacNeish นักโบราณคดีชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง ผู้ซึ่งทําการขุดค้นในประเทศจีนตั้ง แต่ พ.ศ. 2536 โดยโครงการร่วมมือพิเศษกับรัฐบาลจีน

“อารยธรรมจีนไม่สามารถดํารงอยู่ได้ หากปราศจากข้าว”

MacNeish กล่าวไว้ที่เมืองลอสแองเจลิส ระหว่างการเดินทางกลับประเทศจีนเพื่อขุดค้นครั้งต่อไป

“นั่นเป็นเพราะว่า ข้าวปลูก ทําให้คนเริ่มมาอาศัยอยู่รวมกัน”

MacNeish เป็นประธานมูลนิธิ Andover เพื่อการวิจัยทางโบราณคดี และเคยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยบอสตันมาก่อน เขาศึกษาหาแหล่งกําเนิดข้าวอันเป็นอาหารหลักของประชากรครึ่งโลกมาเป็นเวลานานแล้ว เขามีความเชี่ยวชาญโบราณคดีด้านเกษตรกรรม การค้นพบแหล่งโบราณคดีที่มีหลักฐานการเพาะปลูกข้าวโพด ฟักทอง และพืชชนิดอื่นๆ ที่เก่าที่สุดในอเมริกา สร้างชื่อเสียงให้กับเขาเป็นอย่างมาก

MacNeish จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยชิคาโกมา เกือบครึ่งศตวรรษแล้ว ปัจจุบัน [พ.ศ.2538] อายุ 78 ปี เขาขุดค้นมาแล้วทั่วโลก มีผลงานตีพิมพ์กว่า 300 เรื่อง ทั้งหนังสือและบทความ

MaclNeish กล่าวอย่างมีอารมณ์ขันว่า “ผมได้คลานเข้าคลานออกตามถ้ำต่างๆ มากกว่าพวกมนุษย์ถ้ำนีแอนเดอลจริง ๆ เสียอีก”

@@@@@@@

เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ค้นพบถ้ำในนิวเม็กซิโก ซึ่งพบหลักฐานลายนิ้วมือมนุษย์คนแรกในอเมริกา บนเตาไฟดินเหนียว ซึ่งอาจจะมีอายุถึง 40,000 ปีมาแล้ว

ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 Macleish เป็นผู้อํานวยการร่วมของโครงการโบราณคดี อันเป็นความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติของจีน เมื่อ พ.ศ. 2535 โดยเขามีเพื่อนร่วมงานเป็นนักโบราณคดีจีน คือ หยาน เวนหมิง (Yan Wenming) จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง

รัฐบาลจีนได้อนุญาตให้ MacNeish ทํางานอย่างลุล่วง ไปด้วยดี ซึ่งน้อยนักที่นักวิจัยต่างชาติจะมีโอกาสเช่นนี้

ในการขุดค้นร่วมกับหยาน และทีมงานชาวอเมริกันและชาวจีนอีก 50 คน MacNeish ได้พบร่องรอยของข้าวป่าที่มีอายุถึง 16,000 ปีมาแล้ว และข้าวปลูกที่มีอายุเก่าถึง 9,000 ปี

หลักฐานที่พบ อาทิ เศษภาชนะดินเผาอย่างหยาบ, สะเก็ดหิน, ชิ้นส่วนกระดูกและเศษต้นข้าวสมัยโบราณ ทีมงานขุดได้จากถ้ำสองแห่งในหุบเขาใกล้เมืองหนานชาง (Nanchang) เมืองหลวงของมณฑลเจียงสี (Jiangxi) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน

“ข้าวไหม้ที่พบในหม้อดิน แสดงว่าแม่บ้านสมัยก่อนฝีมือ การหุงข้าวแย่เอามากๆ” MacNeish กล่าวติดตลก

แต่ผลการวิเคราะห์เศษข้าวไหม้ โดยการส่องกล้องจุลทรรศน์นั้น แสดงให้เห็นว่า การเพาะปลูกข้าวเริ่มต้นที่ประเทศจีน


@@@@@@@

MacNeish กล่าวว่า ในถ้ำทั้งสองแห่งที่ทีมงานขุดค้น มีชั้นดินทางวัฒนธรรมหลายชั้น ตั้งแต่ 6,000 ปี จนถึง 30,000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่สังคมผลิตอาหารยุคต้นๆ ย้อนกลับไปถึงสังคมหาของป่าล่าสัตว์

ประมาณ 16,000 ถึง 13,000 ปีมาแล้ว ยุคน้ำแข็งใกล้จะสิ้นสุด สัตว์ใหญ่หลายชนิดสูญพันธุ์ไป ดังนั้นพวกที่ล่าสัตว์จึงต้องเริ่มสะสมข้าวป่าและพืชเพื่อเป็นอาหาร

จากนั้นประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว มีบางคนได้พบข้าวพันธุ์ อันเป็นสัญญาณการเริ่มต้นของการเพาะปลูกข้าว และการ เพาะปลูกข้าวในนาคงจะเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 9,000 ปีที่แล้ว

MachNeish กล่าวว่า ข้าวพันธุ์ใหม่ที่พบนี้ไม่เหมือนกับข้าวป่าที่มีก้านและใบเดี่ยว แต่ข้าวพันธุ์ใหม่มีถึง 5 ก้าน ย่อมหมายถึง จํานวนอาหารที่เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า

ในสมัยโบราณมนุษย์ก็คงอยากรู้อยากเห็นเหมือนกับสมัยนี้ สั่งสมประสบการณ์จากการปลูกข้าวพันธุ์ใหม่

“พวกเขายินดีกับผลที่ได้รับ ลงแรงน้อยแต่ได้อาหารมาก” เขากล่าว

จากนั้นมนุษย์ก็เริ่มทดลองปลูกข้าวในที่เปียก

“จุดเริ่มต้นของการเพาะปลูกข้าวในนาเริ่มเมื่อ 9,000 ปี มาแล้ว”

ช่วงเวลานี้ที่มนุษย์เริ่มเข้าใจแล้วว่า ถ้าเขาเพาะเมล็ดพืชในดิน เขาก็จะมีอาหารชนิดอื่น ๆ

“ในไม่ช้ามนุษย์ก็มีอาหารเพียงพอที่จะดํารงชีวิตอยู่ที่ใดที่หนึ่งได้ทั้งปี พวกเขาปลูกพืชมากขึ้น จนปักหลักปักฐานอย่างถาวร พวกเขาก็คือชาวนาในหมู่บ้านนั่นเอง” เขากล่าว

@@@@@@@

ผลการทดสอบตัวอย่างดินจากถ้ำต่างๆ ด้วยกล้อง จุลทรรศน์ พบเซลล์เดียวชื่อ Phytoliths ซึ่งได้มาจากต้นข้าว

ผลจากการวิเคราะห์กระดูกมนุษย์ที่พบในถ้ำ ปรากฏว่า พบธาตุคาร์บอนและไนโตรเจนในกระดูก สามารถกล่าวได้ว่า กระดูกเหล่านี้เป็นของมนุษย์ที่กินข้าวเป็นหลัก

MacNeish อธิบายว่า นักวิจัยสามารถกําหนดอายุของหลักฐานต่างๆ ได้ โดยการหาปริมาณของคาร์บอน-14 ซึ่งมันดูดซับจากสภาพแวดล้อมที่มันอยู่ เมื่อมนุษย์กินพืช มนุษย์ก็จะรับเอาธาตุคาร์บอนเข้าไปสะสมอยู่ในกระดูก พืชแต่ละชนิดจะมีธาตุคาร์บอนในอัตราส่วนที่แน่นอน และสัดส่วนเหล่านี้จะยังคงอยู่ในกระดูก อันสามารถบ่งบอกถึงภาวะทางโภชนาการของมนุษย์ได้

“ข้าว มีลักษณะที่พิเศษมาก” เขากล่าว

การกําหนดอายุโดยวิธีคาร์บอน-14 เคยใช้มาแล้วในการวิเคราะห์อาหารของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในนิวเม็กซิโก

จนกระทั่งในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา มีความเชื่อว่า การเพาะปลูกข้าวครั้งแรกเกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใกล้ กับประเทศพม่าและไทยทุกวันนี้

แต่นับว่าโชคดีที่ได้พบข้าวไหม้ในถ้ำ “จีนมีความสุข เพราะมันคือชื่อเสียงระดับชาติ” เขากล่าว

ในการเดินทางไปจีนครั้งนี้ MacNeish ได้วางแผนที่จะ ขุดค้น 3 ครั้งในพื้นที่เดียวกัน เขาต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับ ภาชนะดินเผายุคแรกให้ได้มากกว่านี้ และต้องการกําหนดอายุให้แน่นอนกว่านี้

ดังนั้นเขาจึงต้องการขุดให้ทุกชั้นดินของหมู่บ้านซึ่งสร้างทับซ้อนกันมาหลายสมัย เนินดินที่มีชั้นวัฒนธรรมถึง 25 สมัย นี้กําลังกวักมือเรียกเขา

แต่ละชั้นดินบอกแต่ละเสี้ยวประวัติศาสตร์ จาก 25,000 ปีที่แล้วจนถึงยุคราชวงศ์ชาง ซึ่งคาดว่าอยู่ในช่วง 3,597 จนถึง 3,060 ปีมาแล้ว ยุคที่เมืองถือกําเนิดขึ้น

แล้วอนาคตล่ะ.?
MaeNeish กล่าวว่า “ถ้าผมยังไม่ตายซะก่อน ผมจะหาต้นกําเนิดของข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์”







ขอขอบคุณ :-
ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 18, ฉบับที่ 2 (ธ.ค. 2539)
ผู้เขียน   : ขวัญฤทัย ชิ้นมาลัย, ภูวดล สุวรรณดี
เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2565
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 20 พฤษภาคม 2565
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_87150
บทความนี้ผู้เขียน เก็บความจาก RICE STALKING ITS ORIGINS โดย K. CONNIE KANG แห่งนิตยสารไทม์ส
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ