ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธรูปสำคัญของล้านช้าง.!! ที่สยามเชิญมาประดิษฐานในประเทศ  (อ่าน 280 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

(จากซ้าย) พระแซกคำ, พระแสน (เมืองมหาชัย), พระฉันสมอ


พระพุทธรูปสำคัญของล้านช้าง.!! ที่สยามเชิญมาประดิษฐานในประเทศ

พระพุทธรูปสำคัญในไทย จำนวนหนึ่งเชิญมาแต่เขตล้านช้างคือเมืองเวียงจันท์ และเมืองอื่นทางตะวันออกหลายองค์ เป็นพระพุทธรูปสร้างที่อื่น ตกไปอยู่ในอาณาเขตล้านช้าง โดยประวัติบ้าง สร้างขึ้นในเขตล้านช้าง แต่เมื่อยังเป็นประเทศศรีสัตนาคนหุตบ้าง พระพุทธรูปที่สร้างทางเขตล้านช้างมักเรียกกันว่าฝีมือช่างลาวพุงขาว

นอกจาก พระแก้วมรกต (เดิมประดิษฐานอยู่ล้านนา ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาเชิญไปล้านช้าง) และพระบาง (ภายหลังเชิญกลับล้านช้าง) ที่เชิญมาสยามในสมัยกรุงธนบุรีแล้ว ช่วงรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ยังเชิญพระพุทธปสำคัญจากล้านช้างอีกหลายองค์มาประดิษฐานในไทย ดังนี้

@@@@@@@

1. พระเสริม พระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของเมืองเวียงจันท์ คราวปราบกบฏเวียงจันท์สมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ทำลายเมืองเวียงจันท์เสีย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ ซึ่งเสด็จเป็นจอมพลขึ้นไปในคราวนั้น จึงโปรดเชิญพระเสริมมาไว้ที่วัดโพธิชัย แขวงเมืองหนองคาย ซึ่งตั้งเป็นเมืองใหญ่แทนเมืองเวียงจันท์

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเชิญพระเสริมลงมาอยู่เทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ 4 เดิมทรงจะให้ประดิษฐานเป็นพระประธานวัดบวรสุทธาวาส แต่เมื่อทอดพระเนตรพระเนตรเห็นโปรดพระลักษณะ ให้ประดิษฐานไว้บนพระแท่นเศตวฉัตรในท้องพระโรง เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เชิญพระเสริมไปตั้งเป็นพระประธานในวิหารวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

2. พระแซกคำ พระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราชล้านาน อัญเชิญมาเวียงจันท์ พร้อมกับพระฉันสมอและพระบาง เมื่อคราวสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ ขึ้นไปปราบกบฏ ภายในบรรจุพระบรมารีริกธาตุ จำนวน 100 องค์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระยาราชมนตรี (ภู่) ไปตั้งเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดคฤหบดี กรุงเทพฯ

3. พระฉันสมอ พระพุทธรูปศิลปะจีน สร้างเป็นปางฉันสมอตามพุทธประวัติ เชิญมาจากเวียงจันท์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เจ้าจอมน้อย (สุหรานากง) เพื่อนำไปประดิษฐานในพระมณฑปวัดอัปสรสวรรค์ กรุงเทพฯ

4. พระใส พระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง ตามตำนานว่าสร้างพร้อมกับพระเสริมและพระสุก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เชิญจากเมืองหนองคาย มาประดิษฐานที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2401

5. พระแสน (เมืองมหาชัย) เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์บูชาขอฝนได้ เชิญมาจากถ้ำในแขวงเมืองมหาชัย เมืองเวียงจันท์ในคราวเดียวกับที่เชิญพระใสกับพระเสริมลงมา โปรดให้ประดิษฐานร่วมกับพระเสริมและพระใส ที่วัดปทุมวนาราม มาจนปัจจุบัน

6. พระแสน (เมืองเชียงแตง) พระพุทธรูปสำคัญที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ เชิญมาจากเมืองเชียงแตง เวียงจันท์ คราวไปปราบกบฏ ประดิษฐานอยู่ที่บุษบกเบื้องหน้าพระพุทธปฏิมากรพระประธาน ในพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพฯ

7. พระอินทรแปลง หรือพระอินแปง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันท์ เมื่อ พ.ศ. 2041 เดิมทรงพระราชดำริจะเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดมหาพฤฒาราม แต่ภายหลังโปรดให้เชิญไปประดิษฐานไว้ในพระวิหารวัดเสนาสน์ พระนครศรีอยุธยา

8. พระอรุณ หรือพระแจ้ง เชิญมาจากเมืองเวียงจันท์เมื่อ ปีมะเมีย พ.ศ. 2401 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เชิญไปประดิษฐานไว้ในพระวิหารวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระนามพ้องกับวัดนั้น

@@@@@@@

ซึ่งพระพุทธรูปล้านช้างส่วนใหญ่มักพระราชทานแยกย้ายไปประดิษฐานไว้ตามพระอารามต่างๆ มักอยู่นอกกำแพงพระนคร ด้วยขณะนั้นผู้คนยังกังวลกับรังเกียจตามคติชาวล้านช้าง เช่น ปีใดฝนแล้ง ก็มักโทษกันว่าเพราะเชิญพระล้านช้างเข้ามา เป็นต้น

คลิกอ่านเพิ่ม :
ผีรักษาพระพุทธรูปไม่ถูกกัน พระพุทธรูปก็ประดิษฐานร่วมกันไม่ได้?!?





ขอขอบคุณ :-
ข้อมูลจาก : สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ตํานานพระพุทธรูปสําคัญ, วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร พิมพ์ถวายเป็นมุทิตาสักการะ ในวโรกาสพระราชพิธีศุภมงคลเฉลิมพระชนมพรรษ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2558
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_77916?utm_source=dable
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2564
เผยแพร่เนื้อหาในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ