ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ม้าทรง' เจ็บไหม.? | รู้จักที่มาม้าทรง ตามความเชื่อ และหลักวิทยาศาสตร์  (อ่าน 252 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



'ม้าทรง' เจ็บไหม.? | รู้จักที่มาม้าทรง ตามความเชื่อ และหลักวิทยาศาสตร์

ม้าทรง คือ บุคคลที่ปฏิบัติความเชื่อพหุเทวนิยมของชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาอยู่ในประเทศไทย และชาวไทยเชื้อสายจีน พบเห็นในงานแห่เทศกาลกินเจตามศาลเจ้าจีนในภาคใต้ ม้าทรงคือผู้แสดงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ เชื่อมโยงความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณของเทพ เมื่อมาประทับร่างมนุษย์

ประวัติม้าทรง

ม้าทรง มีชื่อเสียงจากการแสดงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ในงานเทศกาลถือศีลกินผักในจังหวัดภูเก็ต มีความเชื่อหลายอย่างเกี่ยวกับม้าทรง เช่น เป็นบุคคลที่เทพเจ้าจีนทรงเลือกเพื่อประทับร่าง ไร้ความเจ็บปวด จึงแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างจากบุคคลธรรมดา

ม้าทรงมีทั้งม้าทรงชาย และม้าทรงหญิง การแสดงของม้าทรงเป็นวัฒนธรรมที่สืบสานเรื่องราวของจิตวิญญาณ แสดงออกมาเพื่อขัดเกลาสังคมด้วยความเชื่อ เพื่อให้ผู้ที่เชื่อตระหนักถึงเทพเจ้า รู้จักเกรงกลัวต่อบาป และยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวในเทศกาลถือศีลกินผักของจังหวัดที่จัดงานแสดงด้วย

อีกความเชื่อหนึ่งของม้าทรง คือ การแสดงของคณะงิ้วที่ทำขึ้นเพื่อขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวจีนโบราณ โดยอาศัยม้าทรงเป็นผู้ชำระบาปในพิธีกรรม



บุคคลที่เป็นม้าทรงมีลักษณะอย่างไร

อาการของคนเป็นม้าทรง จะสั่น หัวเราะเสียงดัง ตบโต๊ะ ก่อนจะใช้อาวุธประจำกายแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เช่น ใช้มีดแทงคอ และส่วนต่างๆ ของร่างกาย สาเหตุของการเป็นม้าทรงเชื่อว่าเทพเจ้าจีนเข้าสู่ร่างของผู้ที่ถูกเลือก โดยที่ผู้ถูกเลือกไม่รู้ตัว แบ่งสาเหตุของการถูกเลือกเป็นม้าทรงได้ดังนี้

1. เพื่อต้องการต่อดวงชะตาให้คนที่ชะตาขาด ยังไม่ถึงคาด ให้พ้นจากความตาย
2. คนที่เทพเจ้าคุ้มครอง มีการสืบทอดจากบรรพบุรุษ

ขั้นตอนการแสดงม้าทรง

ผู้ที่เป็นม้าทรงถือว่าเป็นผู้ที่เทพเจ้าทรงเลือก ดังนั้นการแต่งกายของนักแสดงจึงแต่งกายให้ตรงกับเพศของเทพเจ้า มีขั้นตอนการประทับร่าง ดังนี้

    1. ไหว้เทพเจ้า
    2. ชำระร่างกายโดยการนำกระดาษกิม หรือกระดาษเงินกระดาษทองมาวนรอบศีรษะ แขน ขา และรอบลำตัว เพื่อประทับร่างทรง
    3. สวมเครื่องแต่งกาย
    4. ประกอบพิธีกรรม แสดงอิทธิฤทธิ์ของม้าทรง

ขณะประกอบพิธีกรรมผู้ที่เป็นม้าทรงจะมีกิริยาท่าทางต่างจากเดิม คือ มีเสียงแหบห้าว หัวเราะเสียงดัง หรือมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากมนุษย์ทั่วไป และจะวิ่งไปยังด้านหน้าแท่นบูชา

ความเชื่ออื่นๆ คือ ม้าทรงเป็นผู้ถอดแบบเทพในร่างมนุษย์ และเป็นผู้รับเคราะห์กรรมแทนมนุษย์ตามหลักพุทธศาสนามหายาน



ข้อห้ามม้าทรง

ผู้ที่เป็นม้าทรง ต้องรักษาความสะอาดร่างกาย และรักษาศีล 5

ม้าทรงเจ็บไหม

การแสดงอิทธิฤทธิ์ของม้าทรงเป็นที่สงสัยของผู้พบเห็นว่า เป็นการเล่นกล หรือใช้อาวุธกับตัวจริง จากในอดีตพบว่าการแสดงที่ผาดโผนก็ทำให้ม้าทรงเสียชีวิตมาหลายคน และการใช้อาวุธแทงทะลุส่วนต่างๆ ของร่างกายขณะแสดง หรือที่เรียกว่า เทพเจ้าประทับร่าง ม้าทรงอาจไม่เจ็บ

ม้าทรงกับหลักวิทยาศาสตร์

ม้าทรงเป็นความเชื่อทางจิตใจ แต่ขณะทรงประทับร่าง ร่างกายไม่รับรู้ความเจ็บปวด อาจมาจากการหลั่งสารเคมีพิเศษ หรือฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) ที่ช่วยให้ร่างกายทนต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

อะดรีนาลีน (Adrenaline) เป็นสารเคมีที่หลั่งจากสมอง สั่งการส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบหลอดเลือด เนื้อเยื่อ และกระดูก เมื่อร่างกายเจอกับความเครียด ความโกรธ ความตื่นเต้น หรือตกใจอย่างรุนแรง ฮอร์โมนนี้จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว เป็นเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมบางคนถึงอันตราย หรือยกของหนักได้หลายกิโลกรัม






อ้างอิง : ศึกษาแนวโน้มของม้าทรงเทพเจ้าจีนระหวางปี พ.ศ.2558 ถึง พ.ศ.2560., วัชรภรณ์ จีระเสถียร และ พรรณวดี ขําจริง file:///Users/user/Downloads/6647-Article%20Text-38018-1-10-20190326.pdf [สืบค้นเมื่อ 4 ต.ต. 2565]

Thank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/2517647
4 ต.ค. 2565 17:28 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ