ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีเจริญเข้าสู่สมาธิจิตเพื่อให้ใจเราสงบโดยง่าย  (อ่าน 3489 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วิธีเจริญเข้าสู่สมาธิจิตเพื่อให้ใจเราสงบโดยง่าย

ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง
วิธีเจริญเข้าสู่สมาธิจิตเพื่อให้ใจเราสงบโดยง่าย ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


วิธีการเจริญเข้าสู่สมาธิจิตนี้ เกิดขึ้นจากเมื่อผมได้กัมมัฏฐานแล้วได้รู้ได้เห็นในกัมมัฏฐานหลายอย่างทั้งสมถะและปรมัตถธรรม แต่เพราะเห็นมากก็กลายเป็นผู้ถืออุปาทานในนิมิตหรือสิ่งที่รู้เหฟ็นนั้นๆทำให้หลงทางอยู่ และ เมื่อเข้าสมาธิก็ติดคิดในสภาพที่รับรู้นั้นๆไว้อยู่เป็นประจำจนฟุ้งซ่านไปไม่เป็นสมาธิ ผมจึงได้เสาะหาวิธีทางการปฏิบัติต่างๆที่ครูบาอาจารย์และพระอริยะเจ้าหลายท่านชี้่แนะไว้เพื่อตัดคตวามฟุ้งซ่านใดๆออกจากใจขณะทำสมาธิ จนไปพบกับวิธีที่เรียบง่าย ไม่บังคับจิต ไม่ทำให้ฝืนจิต แต่ทำให้สามารถเข้าสู่สมาธิจิตได้โดยง่าย และ สามารถทรงสภาพของสมาธิจิตนั้นได้นานตามลำดับในแต่ละขั้นสมาธิจิต ซึ่งวิธีนี้ผมได้ไปอ่านพบจากแนวทางการสอนปฏิบัติกัมมัฏฐานของหลวงปู่ฤๅษี หรือ พระราชพรหมญาณ แต่ที่รู้มานั้นเป็นเพียงแค่พื้นฐานของคำง่ายๆที่ว่า "ทรงอารมณ์"

ตาม Link นี้ครับ http://www.praruttanatri.com/v1/spec...hudong/33.html

ซึ่งอาจเป็นเหตุให้แนวทางที่จะกล่าวต่อไปนี้ไม่ตรงกับที่หลวงปู่ท่านสอนนัก แต่เป็นการอ้างอิงอาศัยวิถีของท่านร่วมกับสิ่งที่ผมปฏิบัติอยู่เป็นประจำตามจริตนิสัยของผมครับ


วิธีเจริญเข้าสู่สมาธิจิตเพื่อให้ใจเราสงบโดยง่าย

1. เวลาทำสมาธิภาวนา ให้กระทำใน นั่ง ยืน เดิน นอน ตามแต่ที่เราพอใจหรือเหมาะสม
2. เมื่อเริ่มทำสมาธิให้กำหนดลมหายใจเข้าออกตามปกติ จะบริกรรมเช่นใดก็ตามแต่จะ พุทธ-โธ หรือ ยุบ-พอง หรือ ใดๆก็ตามแต่ที่จริตเราชอบ
3. ระลึกถึงสภาพจิตที่เป็นกุศลจิต คือ มีความสงบ อบอุ่น ผ่องใส ไม่ติดข้องใจในสิ่งใด มีความเบาบาง ใสสว่าง
4. ระลึกจิตให้ทรงอารมณ์ในสภาพที่เป็นกุศลนี้ให้ตั้งอยู่ ให้คงอยู่ซักระยะ ระลึกเข้าความเบาสบาย ผ่องใส ไม่ติดข้องใจไว้ เพื่อไม่เ็ป็นการจดจ้องในอารมณ์ จะทำให้ปวดหัวได้
5. เมื่อทรงอารมณ์เข้าในสภาวะที่เป็นกุศลจิตนี้ สภาพจิตที่เป็นตัวรู้ของเรามันจะรู้สภาพปรมัตถธรรมที่เกิดนี้ของเรา แล้วตั้งจิตทรงอารมณ์ไว้ซักระยะ
6. เมื่อตัวรู้เกิดแก่จิต เราจะรู้ด้วยตัวเองทันทีว่าขณะนี้กำลังจิตเราพอที่จะเคลื่อนระดับเข้าสู่สมาธิจิตที่สูงขึ้นหรือไม่ กำลังจิตเต็มที่ในขึ้นนั้นแล้วหรือยัง
7. หากทรงอารมณ์จิตอยู่แล้วจิตไปรับรู้ส่วนใดให้สภาพจิตของเราหลุดจากอารมณ์ที่เราทรงไว้อยู่เมื่อตัวรู้ว่าหลุดเกิดก็ให้เราระลึกถึงสภาพจิตที่เป็นอยู่ก่อนจะหลุดนั้นแล้วตั้งจิตเข้าทรงอารมณ์ใหม่ ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าตัวรู้เกิดรู้ว่ากำลังจิตในสมาธิจิตขณะนั้นเป็นอย่างไร มีกำลังมากพอจะเคลื่อนไปในระดับต่อไปหรือไม่
8. เมื่อตัวรู้ รู้ว่าจิตเรามีกำลังพอที่จะเคลื่อนเข้าสู่สมาธิที่มีความละเอียดสงบมากขึ้น ก็ให้ระลึกถึงสภาพสมาธิจิตที่สูงขึ้นที่มีความสงบ ผ่องใส ปรุงแต่งเบาบางลง มีตัวรู้เกิดขึ้นสืบต่อเนื่องรู้สภาพจิตนั้นๆที่กำลังดำเนินไปอยู่

- ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จะสามารถเข้าสู่ อุปจาระสมาธิจิตได้ง่ายเป็นขั้นต่ำ มีสติหรือตัวรู้เกิดขึ้นเสมอๆเนืองๆ สืบไปจนถึงระดับปฐมฌาณที่เป็นเอกัคตาต่อไปในระดับสมาธิจิตที่สูงขึ้นๆไปจนสภาพจิตตัดการรับรู้ทางกาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 07, 2012, 11:52:39 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วิธีตัดการรับรู้ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบง่ายๆ

หากเรากำลังเจริญกัมมัฏฐานอยู่แล้วเกิดจิตไปรับรู้จับต้องอารมณ์ที่รู้ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ(ใจในที่นี้หมายถึงความนึกคิดปรุงแต่งจิตใดๆ) ให้ระลึกรู้พิจารณาดังนี้ครับ

1. เมื่อได้ยินเสียง ได้มองเห็น ได้รู้กลิ่น ได้รู้รส ได้รับกระทบสัมผัสทางกาย(โผฐัพพะ เช่น คัน เจ็บ ปวด ฯลฯ) ได้ปล่อยจิตไหลไปตามความนึกคิดปรุงแต่งใดๆ(ธัมมารมณ์ เช่น ตรึกนึกคิดปรุงแต่ง จิตคล้อยตามความปรุงแต่งนั้นๆเป็นต้น จิตส่งออกนอก) เมื่อรู้ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งนี้เกิดขึ้นแก่เรา ก็ให้วางใจไว้ก่อน ไม่ต้องไปคิดว่าส่งจิตออกนอกแล้ว ไม่อยู่กับสมาธิแล้วตัดจิตบอกไม่เอาๆแล้วรีบกลับมาเข้าสมาธิ เพียงแต่เมื่อเรารู้สิ่งนี้เกิดขึ้นนี้แล้วให้พิจารณาดังนี้ว่า เพราะเรามีอาการทั้ง 32 ประการนี้เป็นเบื้องต้น เพราะเรามี หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เป็นปกติอยู่ การได้ยินเสียง ได้เห็นรูป ได้รู้รส ได้รู้กลิ่น ได้รูการกระทบสัมผัสทางกาย เกิดความตรึกนึกคิดปรุงแต่งจิต สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะรับรู้ ไม่รู้มันก็ผิดปกติของกายที่ครบ 32 ประการ มันจึงรู้เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติของกายและจิตเราดังนี้
                         1.1. พิจารณาว่า ธรรมชาติของหู มันมีไว้รับรู้เสียง มันจึงได้ยินเสียงต่างๆเป็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติของมัน
                         1.2. พิจารณาว่า ธรรมชาติของตา มันมีไว้มองเห็น มันจึงเห็นรูปต่างๆเป็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติของมัน
                         1.3. พิจารณาว่า ธรรมชาติของจมูก มันมีไว้รับรู้กลิ่น มันจึงได้รับรู้กลิ่นต่างๆเป็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติของมัน

                         1.4. พิจารณาว่า ธรรมชาติของลิ้น มันมีไว้รับรู้รสชาติ มันจึงได้รู้รสชาติต่างๆเป็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติของมัน
                         1.5. พิจารณาว่า ธรรมชาติของกาย มันมีไว้รับรู้การกระทบสัมผัสจากสิ่งภายนอก พยุงส่วนต่างๆ เคลื่อนไหว ฯลฯ (นึกแค่นี้พอไม่ต้องไปลงลึกมันจะคิดเกินการพิจารณา เดี๋ยวจิตมันติดคิด) มันจึงรับรู้ถึงการ เจ็บ ปวด คัน จั๊กจี้ เคลื่อนย้าย ฯลฯ เพราะว่าเรานั้นมีกายอยู่เป็นปกติจึงมีการรับรู้กระทบสัมผัสทางกายเป็นธรรมดา มีเจ็บ มีปวด มีคัน มีสั่น มีเคลื่อนไหว เป็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติของมัน
                         1.6. พิจารณาว่า ธรรมชาติของจิตใจ มันมีไว้รับรู้อารมณ์ มันมีไว้ตรึกนึกคิดปรุงแต่ง มีไว้เสวยอารมณ์(เวทนา) มันจึงได้รู้อารมณ์ ตรึกนึกคิดปรุงแต่งสร้างเรื่องราวไปต่างๆเป็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติของมัน

2. อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบเมื่อจิตหลุดไปรู้อารมณ์ภายนอก
                         2.1. พิจารณาดูว่า เราทุกคนนี้ต้องเคยเปิดเพลงหรือฟังเพลงไปอ่านหนังสือไปใช่ไหม หรือ ทำงานไปด้วย ขณะที่ตาเราจิตเราจดจ้องทำงานอยู่ รู้อยู่แล้วว่าเสียงที่ได้ยินเป็นเสียงเพลง เราก็จะชินปกติไม่ได้ใส่ใจอะไรมาก โดยที่จิตเราสามารถจดจ่อดำเนินทำกิจต่างๆที่เราดำเนินไปอยู่นั้นตามปกติใช่ไหมครับ
                         2.2. พิจารณาดูว่า คนทุกคนต้องรู้ว่าฝนตก รู้ว่าเสียงนี้เสียงฝน เสียงนี้ฝนกระทบหลังคาบ้าง แต่ตามองออกไปดูข้างหน้าดูภาพทิวทัศน์ต่างๆ ทำอารมณ์ถ่ายมิวสิควีดีโอไปโดยขณะจิตนั้นเราเสพย์อารมณ์จาการมองเท่านั้นโดยที่ไม่ได้ใส่ใจเสียงฝนตกมันใช่ไหมครับ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเรารู้ว่า..นี่เสียงอะไร เสียงนี้มันเกิดขึ้นธรรมดาเมื่อฝนตก ได้ได้ยินเสียงนี้เป้นธรรมดา ใจมันชินกับเสียงฝนตกนี้ ไม่ได้ใส่ใจอะไรกับเสียงมากมาย
                         2.3. เมื่อเราได้ยินเสียงใดๆขณะทำสมาธิก็ทรงอารมณ์ไว้แบบนี้ จิตมันจะจดจ่อกับสภาพสภาวะที่ธัมมารมณ์หรือสภาพธรรมของจิตที่มันดำเนินไป หรือ จดจ่อ อยู่กับเรากำหนดภาวนาอยู่ โดยไม่หลุดไปตามเสียงที่ได้ยินนั้นๆ

- เมื่อรับรู้อารมณ์ใดๆทางสฬายตนะ(อายตนะภายใน)ที่เหลือ เราก็พิจารณาเปรียบเทียบเช่นนี้ไปเพื่อความวางเฉย เพื่อให้ใจชินกับสภาพนั้นๆ
หากเราเข้าใจในธรรมดาชาติการรับรู้ของ สฬายตนะ แล้ว เราจะลดความติดข้องใจในการรับรู้นั้นๆมากขึ้น ชินกับการรับรู้นั้นๆมากขึ้น จะทำให้จิตเราไม่หลุดไปจากสมาธิจิตง่ายๆ

3. เอาจิตกลับมาทรงอารมณ์ไว้ให้คงอยู่ในสมาธิจิตดังเดิม ระลึกตั้งมั่นทรงสมาธิจิตในสภาพนั้นๆที่เราดำเนินไปก่อนหลุดจากสมาธิจิตนั้น ก็จะเข้าสมาธิจิตง่ายขึ้น ตัดขาดการรับรู้อารมณ์ภายนอกมากขึ้นเรื่อยๆครับ
- เมื่อกระทำบ่อยๆ..บางท่านอาจจะสามารถเข้าออกสมาธิจิตในสภาพจิตต่างๆได้คล่องขึ้น และ อาจมองเห็นการแยกกายกับจิตไวขึ้น...ก็เป็นได้ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 07, 2012, 11:04:40 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การทรงอารมณ์และสภาวะจิตไว้สำคัญอย่างไร

- เราจะสังเกตุได้ว่า เอ..ทำไมเวลาเรานั่งสมาธิ รู้หมดทุกอย่าง ควบคุมอารมณ์ได้ กุศลจิตเกิด ดับความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี วางสู่อุเบกขาจิตได้
- พอเราออกจากสมาธิมีใครมากระต้นหน่อย มีเสียง สี กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ใดๆที่เราไม่ชอบมากระตุ้นหน่อย แหมอารมณ์เรามันเกรี้ยวกราดไปด้วยโทสะจริงๆ หยุดก็ไม่ได้ แม้รู้ว่ากำลังตรึกนึกโกรธอยู่ แต่อีกนั่นแหละมันกลับมีฉันทะเกิดควบกับโทสะว่า พอใจยินดีที่จะโกรธ ด่า โวยวาย ทำลาย ทำร้าย นี่แน่ะ พอพอใจยินดีชอบที่จะทำในสิ่งนั้นๆที่มันโกรธมันก็หยุดไม่อยู่แล้ว หรือ พอพอใจยินดีที่จะใคร่เสพย์อารมณ์ใดๆ มันก็หลุดไปแล้วห้ามไม่หยุด เพราะคิดว่าได้ทำอย่างนี้ๆแล้วมันสมอารตมณ์หมาย สมใจ ได้ระบาย
- นี่จะเห็นว่าหากผู้ไม่มีสมาธิจิตดีพอนี้พอออกสมาธิเป็นอย่างนี้ทุกคน บางครั้งแม้มีสมาธิจิตดีแต่ทรงอารมณ์ไว้ไม่ได้มันก็ควบคุมตนไม่ได้ ปล่อยไหลไปตามสังขารขันธ์นั้นไปซะแล้ว
- พระราชพรหมญาณท่านกล่าวสอนว่า ทรงอารมณ์ไว้ให้ได้ หากทรงอารมณ์ไว้ได้ สี เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ ใดๆมากระทบเรา เราก็จะคงสติ คงสภาวะจิตที่ไม่ติดข้องใจนั้นได้ นี่มันมีค่ามากนักครับ



- ผมเองปฏิบัติทางสายพระป่าหลวงปู่มั่นมา สายพระพุฒาจารย์อาสฯ คือ ยุบ-พองมา เพราะมีครูอุปัชฌาย์คือ หลวงปู่นิลมหันตปัญโญ และ พระอาจารย์สุจินต์ ท่านสอนประสิทธิ์ประสาทให้ตอนบวช พอสึกมาก็ยังปฏิบัติตามที่ครูอุปัชฌาย์ทั้ง 2 ท่านสอนอยู่ แต่ดีที่ครูอุปัชฌาย์ทั้ง 2 ท่านไม่จำกัดแนวทาง ท่านบอกทางไหนก็ดีหมดตามแต่จริตที่จะทำให้มันเข้าถึงธรรมได้ ขอแค่ทางนั้นเป็นไปไม่ขัดกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงเป็นเหตุให้ผมไม่จำกัดแนววิธีกัมมัฏฐานใดๆ พร้อมที่จะเรียนรู้ทุกสายกัมมัฏฐานเพื่อรู้และเผยแพร่ธรรมะ ข้อธรรม และ แนวทางการปฏิบัติกัมมัฏฐานทั้งหลาย
- หากข้อความใดๆ หรือ กระทู้ใดๆไม่ก่อเกิดประโยชน์ หรือ อาจเป็นแนวทางที่ชี้ผิดทางไม่ตรงกับที่พระพุทธเจ้าพระสมณโคดมองค์พระบรมศาสดาของผมและท่านทั้งหลายตรัสสอนไว้ดีแล้วนั้น ก็ขอท่านทั้งหลายโปรดอดโทษนั้นไว้แก่ผมด้วย และ ได้โปรดชี้แนะติเตียนสั่งสอนเพื่อให้ผมได้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้องยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 07, 2012, 11:39:41 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ เรียนแล้วนำมาถ่ายทอดด้วย ดีมากคะ
สาธุ :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า