ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - เ็พ็ญนภา
หน้า: [1]
1  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ขอความร่วมมือ สมาชิก เพื่อสำรวจสถานะ ของสมาชิก เพื่อ ธรรมวิจยะ ให้เหมาะสม เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2016, 05:25:07 pm
 st12 st12 st12
 ชอบฟังรายการ แต่ตอนนี้ไม่สามารถ เข้าห้องศิษย์ สายตรงได้ คะ

2  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: อนุโมทนา กับ กองผ้าป่า ช่วยเหลือ สำนักงานส่งเสริมพระกรรมฐาน ปี 2557 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2014, 09:23:57 am
 st11 st12
3  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปณิธาน ในการภาวนา และการเผยแผ่ พระธรรม เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2014, 10:00:31 am
 st11 st12
4  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: รู้สึก ว่าสับสนกับการทำความดีคะ ทำไมทำดี ไม่ดี เสียทีคะ เมื่อ: ตุลาคม 19, 2012, 04:45:53 pm
ทำดี เชื่อมั่น ในความดี เทวดารู้ เทวดาเห็น เมื่อถึงคราววิบากแห่งบุญมาถึง เราก็คงนั่งยิ้ม มีสุขคะ
 วันนี้มาจากเมื่อวานนี้ คะ

 
5  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ไม่ทราบ พระสงฆ์ เรียนฟรีหรือไม่ครับ ที่ มจร. และ มมร. เมื่อ: ตุลาคม 15, 2012, 10:24:37 am
ปริญญาทาง พุทธศาสนา นั้นต้องใช้ให้ถูกที่คะ
  ถ้านำไปสมัครงาน บริษัท อุตสาหกรรม การเงิน ต่าง ๆ เหล่านี้ มีญาติจบมาเป็นพระ ลาสิกขา แล้วไปสมัครทำงาน ส่วนใหญ่ไม่แม้จะเรียกสัมภาษณ์เลยคะ

  ดังนั้นไปใช้ให้ถูกที่ คะ เช่น นำไปสมัครในหน่วยงานทหารเป็นอนุศาสนาจารย์ เป็นสังฆการี พิธีกรรม เป็นครูสอนวิชาสังคมพุทธศาสตร์ เป็นต้น คะ

  เพราะศักดิ์ และ สิทธิ์ ของ ปริญญาบัตรยังไม่ที่ยอมรับของชาวโลก ในด้านการทำงาน ประกอบอาชีพคะ เหมือนพวก ใบนักธรรม ใบเปรียญ ก็เช่นกันคะ ถ้านำไปสมัครงาน สู้ ใบ รบ. ม 3  ม 6 ยังไม่ได้เลยคะ

   :49: :13: :13: :13:
6  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: รวมตอบปัญหา เดือน ก.ย. 55 ( 20 คำถาม โดย ธัมมะวังโส ) เมื่อ: ตุลาคม 15, 2012, 10:11:42 am
รอพระอาจารย์ มาตอบขยายความเพิ่มเติม อยู่คะ

 :25: :c017:
7  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เมื่อจะกำหนดจิต ให้เป็นวิปัสสนา ในกรรมฐานนั้น จะรู้่ได้อย่างไร เมื่อ: สิงหาคม 07, 2012, 10:21:41 am
คือ การรู้ได้ด้วยตนเอง นี้พอจะเข้าใจคะ แต่ถ้าจิตมีสมาธิ พอจะเจริญวิปัสสนา แล้วเราจะยกอะไรให้จิตเป็นองค์วิปัสสนา คะอยากให้พระอาจารย์แนะนำต่อตรงนี้ด้วยคะ

 ปกติก็จะยก เรื่องราว แบบฟุ้งซ่านไป มากำหนดอย่างนี้ทำให้หลากเรื่อง และหลุดจากวิปัสสนาคะ

   :s_hi: :c017: :25:
8  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สุสิมปริพาชก แทรกหลักการในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 10:52:08 am
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค


๑๐. สุสิมสูตร
             [๒๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคอันเทวดาและมนุษย์ทั้งมวล
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ทรงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ แม้ภิกษุสงฆ์อันเทวดาและมนุษย์ทั้งมวลก็
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
เภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ แต่พวกปริพาชกเดียรถีย์อื่น อันเทวดาและ
มนุษย์ทั้งมวลไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ไม่ยำเกรง ไม่ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ฯ
             [๒๘๐] สมัยนั้นแล สุสิมปริพาชกอาศัยอยู่ ณ พระนครราชคฤห์กับ
ปริพาชกบริษัทเป็นอันมาก ครั้งนั้นแล บริษัทของสุสิมปริพาชกได้กล่าวกะสุสิม-
*ปริพาชกว่า มาเถิดท่านสุสิมะ ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของพระสมณ
โคดม ท่านเรียนธรรมแล้ว พึงบอกข้าพเจ้าทั้งหลาย พวกข้าพเจ้าเรียนธรรม
นั้นแล้วจักกล่าวแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้พวกเราก็จักมีเทวดาและ
มนุษย์ทั้งมวลสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง จักได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ฯ
             สุสิมปริพาชกยอมรับคำบริษัทของตน แล้วเข้าไปหาท่านพระอานนท์
ถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นสุสิมปริพาชกนั่งเรียบ-
*ร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านพระอานนท์ ผมปรารถนาจะประพฤติ
พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ ฯ
             [๒๘๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์พาสุสิมปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระ
พุทธเจ้าข้า สุสิมปริพาชกผู้นี้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ ผมปรารถนา
จะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้สุสิมปริพาชก
บวช ฯ
             สุสิมปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
             [๒๘๒] สมัยนั้นแล ได้ยินว่า ภิกษุเป็นอันมากอวดอ้างพระอรหัตผล
ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
             ท่านสุสิมะได้ฟังมาว่า ภิกษุเป็นอันมากอวดอ้างพระอรหัตผลในสำนัก
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
             ทันใดนั้นเอง ท่านสุสิมะก็เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับ
ภิกษุเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นท่านสุสิมะนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ได้ยินว่า
ท่านทั้งหลายอวดอ้างพระอรหัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้จริงหรือ ฯ
             ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า จริงอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ ฯ
             [๒๘๓] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
บรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้
ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตก
เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์
พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด
พรหมโลกก็ได้ บ้างหรือหนอ ฯ
             ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ ฯ
             [๒๘๔] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วย
ทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ บ้างหรือหนอ ฯ
             ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ ฯ
             [๒๘๕] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
กำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือ
จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือ
จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิต
ฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็น
มหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือ
จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ
หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือ
จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น บ้างหรือหนอ ฯ
             ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ ฯ
             [๒๘๖] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ
บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบ
ชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏ-
*กัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏกัปวิวัฏกัป
เป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ
อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น ในภพนั้น เรามีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้น
มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น แล้วมาเกิดในภพนี้ ย่อมระลึกถึง
ชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้
บ้างหรือหนอ ฯ
             ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ ฯ
             [๒๘๗] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วย
อำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายเพราะกายแตกดับไป ก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ส่วนสัตว์เหล่านั้น ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโน
สุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ
เมื่อตายเพราะกายแตกดับไป ก็เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลัง
จุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วย
ประการฉะนี้ บ้างหรือหนอ ฯ
             ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ ฯ
             [๒๘๘] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
ถูกต้องอารูปวิโมกข์อันสงบ ก้าวล่วงรูปวิโมกข์ทั้งหลายด้วยกาย บ้างหรือหนอ ฯ
             ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ ฯ
             [๒๘๙] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรม
เหล่านี้ มีอยู่ในเรื่องนี้ในบัดนี้ อาวุโส เรื่องนี้ เป็นอย่างไรแน่ ฯ
             ภิ. ท่านสุสิมะ ผมทั้งหลายหลุดพ้นได้ด้วยปัญญา ฯ
             สุ. ผมไม่เข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้โดยพิสดาร
ได้ ขอท่านทั้งหลายจงกล่าวแก่ผม เท่าที่ผมจะพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่าน
ทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารเถิด ฯ
             ภิ. ท่านสุสิมะ ท่านพึงเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม แต่ผมทั้งหลายก็หลุด
พ้นได้ด้วยปัญญา ฯ
             [๒๙๐] ครั้งนั้นแล ท่านสุสิมะลุกจากอาสนะแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นท่านสุสิมะนั่งเรียบร้อยแล้ว กราบทูลถ้อยคำที่สนทนากับภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด
แด่พระผู้มีพระภาค ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สุสิมะ ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ญาณในพระ
นิพพานเกิดภายหลัง ฯ
             พระสุสิมะกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่เข้าใจเนื้อความ
แห่งคำที่พระองค์ตรัสไว้โดยย่อนี้โดยพิสดารได้ ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสแก่
ข้าพระองค์ เท่าที่ข้าพระองค์จะพึงเข้าใจ เนื้อความแห่งพระดำรัส ที่พระองค์ตรัสโดย
ย่อนี้ โดยพิสดารเถิด ฯ
             [๒๙๑] พ. ดูกรสุสิมะ เธอจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม โดยแท้จริงแล้ว
ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ญาณในพระนิพพานเกิดทีหลัง สุสิมะ เธอจะเข้าใจความ
ข้อนั้นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
             สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
             สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สมควร
หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
             สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ
             พ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
             สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
             สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สมควร
หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
             สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ
             พ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
             สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
             สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สมควร
หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
             สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ
             พ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
             สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
             สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สมควร
หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
             สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ
             พ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
             สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
             สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สมควร
หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
             สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ
             [๒๙๒] พ. ดูกรสุสิมะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่
เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั่นอันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ
             เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายใน
ก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี
ในที่ใกล้ก็ดี เวทนาทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ
             สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายใน
ก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี
ในที่ใกล้ก็ดี สัญญาทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ
             สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่
ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี สังขารทั้งหลายทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอัน
ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา ฯ
             วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายใน
ก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี
ในที่ใกล้ก็ดี วิญญาณทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา  นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ
             [๒๙๓] พ. ดูกรสุสิมะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ
หน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขารทั้งหลาย แม้ใน
วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี ฯ
             [๒๙๔] พ. ดูกรสุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา
และมรณะหรือ ฯ
             สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติหรือ ฯ
             สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพหรือ ฯ
             สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทานหรือ ฯ
             สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ... เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ... เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ ... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ... เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
หรือ ฯ
             สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             [๒๙๕] พ. ดูกรสุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะชาติดับ ชราและมรณะ
จึงดับหรือ ฯ
             สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า
             พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ ฯ
             สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ... เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ... เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึง
ดับ ... เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ... เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ...
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ...
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ... เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... เพราะ
อวิชชาดับ สังขารจึงดับหรือ ฯ
             สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             [๒๙๖] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมบรรลุอิทธิวิธี
หลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้
ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด เหมือน
ไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือน
เดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปบนอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์
พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด
พรหมโลกก็ได้ บ้างหรือหนอ ฯ
             สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า
             [๒๙๗] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียงสอง
ชนิด คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และอยู่ใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุ
อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์บ้างหรือหนอ ฯ
             สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             [๒๙๘] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้ใจของ
สัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ ฯลฯ จิตไม่
หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น บ้างหรือหนอ ฯ
             สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             [๒๙๙] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อน
ได้เป็นอันมาก คือชาติหนึ่งบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อม
ทั้งอาการ ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ บ้างหรือหนอ ฯ
             สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             [๓๐๐] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่
กำลังจุติ ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรม บ้างหรือหนอ ฯ
             สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             [๓๐๑] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมถูกต้องอารูปวิโมกข์
อันสงบ ก้าวล่วงรูปวิโมกข์ทั้งหลาย ด้วยกายบ้างหรือหนอ ฯ
             สุ. มิใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             [๓๐๒] พ. ดูกรสุสิมะ คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรมเหล่านี้มีอยู่
ในเรื่องนี้ ในบัดนี้ เรื่องนี้เป็นอย่างไรแน่ ฯ
             ลำดับนั้นเอง ท่านสุสิมะหมอบลงแทบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้า ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า โทษได้ตกถึง
ข้าพระองค์ เท่าที่โง่ เท่าที่หลง เท่าที่ไม่ฉลาด ข้าพระองค์บวชขโมยธรรมใน
ธรรมวินัยที่พระองค์ตรัสดีแล้วอย่างนี้ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับโทษไว้โดยความ
เป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไป ของข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า ฯ
             [๓๐๓] พ. เอาเถิด สุสิมะ โทษได้ตกถึงเธอ เท่าที่โง่ เท่าที่หลง
เท่าที่ไม่ฉลาด เธอบวชขโมยธรรมในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ เปรียบ
เหมือนเจ้าหน้าที่จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแสดงตัวแก่พระราชา แล้ว กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ โจรคนนี้ ประพฤติผิดแด่พระองค์ ขอพระองค์จงทรง
ลงอาชญาตามที่พระองค์ทรงพระประสงค์แก่โจรคนนี้เถิด พระราชาพึงรับสั่งให้ลง
โทษโจรนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปมัดบุรุษนี้ไพล่หลังให้มั่นด้วยเชือกที่เหนียว
แล้วเอามีดโกนโกนหัวเสีย พาเที่ยวตระเวนตามถนน ตามทางสี่แยก ด้วยฆ้อง
ด้วยกลองเล็กๆ ให้ออกทางประตูด้านทักษิณ แล้วจงตัดศีรษะเสียข้างด้านทักษิณ
ของเมือง ราชบุรุษมัดโจรนั้นไพล่หลังอย่างมั่นคง ด้วยเชือกที่เหนียวแล้วเอามีด
โกนโกนหัว พาเที่ยวตระเวนตามถนน ตามทางสี่แยกด้วยฆ้อง ด้วยกลองเล็กๆ
พาออกทางประตูด้านทักษิณ พึงตัดศีรษะเสียข้างด้านทักษิณของเมือง สุสิมะ
เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นต้องเสวยทุกข์และโทมนัสอันมีกรรมนั้น
เป็นเหตุหรือหนอ ฯ
             สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             [๓๐๔] พ. ดูกรสุสิมะ บุรุษนั้นต้องเสวยทุกข์และโทมนัสอันมีกรรม
นั้นเป็นเหตุ แต่การบวชของเธอผู้ขโมยธรรมในธรรมวินัยที่ตถาคตกล่าวดีแล้ว
อย่างนี้ นี้ยังมีผลรุนแรงและเผ็ดร้อนกว่านั้น และยังเป็นไปเพื่อวินิบาต แต่เพราะ
เธอเห็นโทษ โดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษนั้นของเธอ
ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป ข้อนี้
เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมหาวรรคที่ ๗


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=3187&Z=3452
9  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: นอนไม่หลับ ในช่วงที่ควรจะหลับ แต่ไปหลับ ในช่วงที่ควรจะตื่น คะ เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2012, 10:44:15 am
การนอนดึกเป็นเหตุให้อายุสั้น เท่ากับเร่งวันตายให้ตัวเอง การทำงานดึกทำให้ร่างกายล้า เหมือนกับ เครื่องยนต์ overload ไม่ช้าเครื่องก็พัง วิธีแก้ไขในกรณีต้องทำงานดึก (เพื่อไม่ให้ร่างกายโทรมเร็ว) ผู้ที่มีหน้าที่บริหารงาน มักจะพบปัญหานี้กันมาก เพราะต้องเร่งงาน ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคนนอนดึก

1. ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดอาการล้า
2. ระบบร่างกายจะรวน ดังนี้


ระบบการย่อยอาหาร
ท้องอืด ท้องเฟ้อง่าย อาหารย่อยไม่ดี ทำให้อุจจาระหยาบ คืออาหารที่ทานเข้าไป ถ้าไม่นอนดึก อุจจาระจะสวย ไม่มีเศษอาหารติดอยู่ เหมือนกับแท่งทอง แต่ถ้าอดนอนแล้วอุจจาระจะหยาบ จะมีเศษ อะไรต่างๆ ติดอยู่ เหมือนกับรถที่มีเขม่าติด เกิดจากการที่ร่างกายย่อยไม่หมด เพราะล้า แนวทางแก้ไข ให้ลดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารเหนียวๆ มิฉะนั้นลำไส้ทำงานหนัก ยิ่งนอนดึกแม้ เราหลับไปแล้ว แต่ลำไส้ไม่หลับ ยังคงย่อยอยู่ต่อไป พอตื่นขึ้นมาก็เพลีย ให้ทานไข่ นม แทนพวกเนื้อ สัตว์ ก็จะพอถูไถไปได้ มิฉะนั้นท้องจะผูกเป็นประจำ ริดสีดวงทวารจะถามหา (ถ้าหากอ้วนก็ให้ทานนม แทนไข่)
ท้องผูก มี 2 ลักษณะ
1. ผูกแข็ง คือ อุจจาระแข็ง
2. ผูกเหลว คือ อาการถ่ายอุจจาระไม่หมด ยังค้างอยู่ แต่ลำไส้ล้า กระเพาะอาหารล้า ทำให้ไม่มี แรงบีบให้ออกจนหมด

ดังนั้นในวันหนึ่งๆ จึงต้องถ่ายหลายครั้ง โรคที่จะตามมาก็คือ ผื่นคันบริเวณขาหนีบ (ไม่ใช่เพราะความสกปรกหมักหมม) จะคันทั้งวัน ปกติอุจจาระจะกึ่งแข็งกึ่งเหลว ถ้าแข็งแสดงว่าส่วนที่เป็นน้ำได้ซึมกลับเข้ามาในลำไส้ ซึ่ง มันเป็นของเสีย ที่ต้องขับออก ผลก็คือทำให้น้ำเหลืองเสีย ก็จะมาประทุบริเวณเนื้ออ่อนๆ เช่นที่ขาหนีบ สาเหตุก็มาจาก ท้องผูกนั่นเอง เพราะฉะนั้น อย่านอนดึก ถ้าต้องดึกก็ให้ออกกำลังหน้าท้อง ให้ท้องเกิดกำลัง จะได้รีดอุจจาระออกมา ได้เร็ว ทานเสร็จแล้วอย่านอน ให้เดินสักครึ่งชั่วโมง เพราะพอขาได้เดิน ลำไส้มันก็ต้องไปกับขาด้วย จะช่วย ทำให้ย่อยได้ดีขึ้น ท้องจะผูกน้อยลง ผื่นคันก็จะหาย ถ้ายังไม่หาย (เนื่องจากอายุมาก) ให้ทานน้ำขิงสด (ไม่ใช่ขิงผง เป็นซองๆ) พวกที่นอนดึกต้องให้ท้องอุ่นมากๆ ให้หาผ้ามาห่ม เดี๋ยวท้องจะอืด เฟ้อ บางทีต้องให้เท้าอุ่นด้วย ให้หา ถุงเท้ามาใส่ มิฉะนั้นเท้าจะชา

ระบบปัสสาวะ
ถ้านอนไม่ดึก ประมาณ 3-4 ทุ่ม พอตื่นเช้าขึ้นมาจะปัสสาวะครั้งเดียวจบ แต่ถ้านอนดึก ยิ่งนอนตีหนึ่ง กลางดึกจะต้อง ลุกเข้าห้องน้ำถี่ เพราะร่างกาย overload ต้องการน้ำมาก กล้ามเนื้อข้างในจะบีบคั้นเอาพลังงานออกมาใช้ จึงต้องใช้น้ำมาก ผลก็คือปัสสาวะบ่อย ทำให้พวกเกลือแร่ที่อยู่ในร่างกายจะถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะด้วย ยิ่งอายุ 35 ขึ้นไปจะยิ่งแย่ แนวทางแก้ไขคือ ให้ทานแคลเซี่ยมเม็ดได้ แต่อย่ามาก แค่ 1 เม็ดก็พอ ถ้าทานมากจะทำให้แคลเซี่ยมพอก คืออาการที่กระดูกงอกทับเส้นประสาท (ถ้า เป็นแล้วต้องให้คนนวด และทานยาละลายแคลเซี่ยมช่วย) ถ้าไม่ทานแคลเซี่ยมชดเชย จะทำให้เลือดจาง เม็ดโลหิตจาง
สรุปแล้วการอดนอน เท่ากับเร่งวันตายให้ตัวเอง การนอนดึกต้องดื่มน้ำให้มาก และเติมเกลือในน้ำด้วย คือพอเราดื่มแล้วมันออกมาหมดทั้งทางปัสสาวะและเหงื่อ เราทานเกลือมากๆ ยังออกทางเหงื่อได้ แต่ถ้าทานแคลเซี่ยมมากทำให้กระดูกงอก ส่วนโค้ก เป๊ปซี่ กระทิงแดง อย่าทาน พอเราอยู่ดึกและกลั้นปัสสาวะ มันจะซึมกลับเข้าเส้นเลือด ทำให้น้ำเหลืองเสีย ก็จะไปประทุที่ขาหนีบ หรือท้องแขนเป็นเม็ดแดงๆ เป็นจ้ำขึ้นทั่วเลย
บางคนไม่กลั้น แต่ดื่มน้ำน้อย อาการก็จะเหมือนกับการโม่แป้งฝืดๆ ลำไส้บีบตัวไม่ไหว ต้องเค้น ก็จะเพลีย แต่ถ้าดื่มน้ำมาก ทำให้ถ่ายสบาย ถ้าดื่มน้ำน้อยจะทำให้กรดยูเรียเข้มข้น พอเรากลั้นปัสสาวะมันก็จะซึมเข้าเส้นเลือด ทำให้น้ำเหลืองเสีย ถ้ากลั้นบ่อยๆ จะทำให้ปัสสาวะไม่หมด ระบบเหงื่อ คนที่ไม่มีเหงื่อออก จะแย่ ถ้าขับเหงื่อให้ออกได้ร่างกายสบาย ถ้าเหงื่อไม่ออกความร้อนภายในร่างกายจะระบายไม่ได้ ทำให้อึดอัด ของเสียในร่างกายก็ออกไม่ได้ โรคผิวหนังจะถามหา สิวฝ้าจะขึ้น เพราะฉะนั้น ดื่มน้ำให้มากพอและออกกำลังกาย เท่านั้นพอ เอาจนเหงื่อออกให้ได้ คนนอนดึกเหงื่อจะไม่ค่อยออก ของเสียตกใน สิวฝ้าขึ้น มันก็จะไปออกทางปัสสาวะแทน ไตเลยทำงานหนัก

ระบบหายใจ
ระบบหายใจจะเสียตามมา ร่างกายจะเอาออกซิเจนไปแลกเลือดดำให้เป็นเลือดแดงได้ต้องมีความชื้น ถ้าความชื้นน้อยมันจะไม่แลก ทำให้อึดอัด เหมือนอยู่ห้องแอร์แล้วอึดอัด เพราะความชื้นไม่พอ ไม่ใช่ อากาศไม่พอ อากาศมันแห้งเลยเอาความชื้นในตัวเราไป ทำให้ปอดทำงานไม่สะดวก และออกซิเจนไม่ ได้
แนวทางแก้ไข ให้เอาน้ำใส่กะละมังไว้ข้างตัว ยิ่งเป็นน้ำร้อนยิ่งดี ถ้าอึดอัดให้เอาผ้าหนุนเท้าให้สูง เลือดก็จะไหลลงมาได้ จะทำให้นอนสบาย การดื่มน้ำหวานๆ ตอนอยู่ดึกๆ ก็ช่วยได้ แต่อย่าหวานมากจะทำให้อ้วน ถ้าจะให้ดีที่สุดอย่าอยู่ดึก ดึกได้ เป็นครั้งคราวถ้าจำเป็น คนนอนดึกเสียงจะแห้ง เพราะไตมันล้า การใช้สบู่ ให้ใช้สบู่เด็ก เพราะเป็นสบู่อ่อน การกัดจะน้อย อย่าใช้สบู่แรงๆ ให้ฟอกสบู่วันละครั้งก็พอ ถ้าฟอกวันละหลายๆ ครั้งไขมันจะหมด จะทำให้ผิวแตก ถ้าคันมากๆ อันเนื่องมาจากการนอนดึก ถ้า เราไม่ทราบเราจะยิ่งฟอกสบู่หนักเข้าซึ่งไม่ดี ให้ฟอกวันเว้นวัน การดูแลรักษาร่างกายให้ดี จะทำให้นั่งสมาธิได้ดี นั่งได้นาน ไม่คัน ไม่เข้าห้องน้ำบ่อย
10  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เพื่อน ๆ ชาวธรรมมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ ที่มีกลุ่มคน บุคคลที่งัดเรื่องเก่า ๆ เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2012, 10:41:57 am
เพื่อน ๆ ชาวธรรมมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ ที่มีกลุ่มคน บุคคลที่งัดเรื่องเก่า ๆ ของพระที่ไม่ดีมาโพสต์ วางไว้ตามที่ต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่เป้นเรื่องเก่า หลายปีแล้ว หรือ มีคดีสิ้นสุดไปแล้ว ออกมาเพื่อวางให้เป็นข่าวขึ้นมาใหม่ ดูเหมือนจะต้องการทำว่าเป็นข่าวใหม่ เกิดขึ้นใหม่ มีเกิดขึ้นทุกวัน ประมาณนั้น

   ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธควรจะทำอย่างไร ดี คะ

    :s_hi: :49:
11  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อาชีพ โสเภณ๊ นี่เป็นอาชีพ ผิดศีล และ ธรรม หรือไม่คะ เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 08:22:55 am
อาชีพ โสเภณ๊  นี่เป็นอาชีพ ผิดศีล และ ธรรม หรือไม่คะ
 คือสงสัย อย่างเรื่อง สิริมา ครั้งพุทธกาลคะ

   :smiley_confused1: :67:
12  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / Re: องค์หลวงปู่อุทัย สิริธโร เมตตาสอนเดินจงกรม ณ วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2012, 09:04:01 am
รวมพระธรรมเทศนาโดยหลวงปู่อุทัย สิริธโร 18 กัณฑ์ 4-10 กพ 55
แก่คณะศาลยุติธรรม

550204a

550204b

550205b

550205c

550205d

550206b

550206c

550206d

550207b

550207c

550208b

550208c

550208d http://www.youtube.com/watch?v=w0rRD0OzFk4#ws (Embedding disabled, limit reached)
550209b http://www.youtube.com/watch?v=jZ8CG-OP50k#ws (Embedding disabled, limit reached)
550209c http://www.youtube.com/watch?v=seGW5K4qRGI#ws (Embedding disabled, limit reached)
550209d http://www.youtube.com/watch?v=OfL9Dl0Dv1I#ws (Embedding disabled, limit reached)
550210a http://www.youtube.com/watch?v=jckqXFdOGhk#ws (Embedding disabled, limit reached)
550210b http://www.youtube.com/watch?v=jYTm_v7JDDs#ws (Embedding disabled, limit reached)

550311สมเด็จพระมหามุนีวงศ์  http://www.youtube.com/watch?v=S-JHinSJyzc#ws (Embedding disabled, limit reached)
550311หลวงปู่บุญมา http://www.youtube.com/watch?v=http://gdata.youtube.com/feeds/api/videos/Tet_UfkZNgI?v=2#errorVideo not found
550311 หลวงปู่บุญกู้ http://www.youtube.com/watch?v=BnNHYz-kkNA#ws (Embedding disabled, limit reached)
550311 หลวงปู่คูณ http://www.youtube.com/watch?v=TVGwbD04jUc#ws (Embedding disabled, limit reached)

550312 บรรยากาศงานแสดงมุทิตาจิตแด่หลวงปู่อุทัย สิริธโร ครบ 76 ปี 56 พรรษา http://www.youtube.com/watch?v=1x8LnFgd5kk#ws (Embedding disabled, limit reached)

รวมวีดีโอพระธรรมเทศนาจากองค์หลวงปู่อุทัย สิริธโร
ที่แสดงแก่นักศึกษาคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ณ วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
วันที่ 31 มีนาคม - 3 เมษายน 2555

550331 http://www.youtube.com/watch?v=TSuiVRgjlsM#ws (Embedding disabled, limit reached)

550401A http://www.youtube.com/watch?v=SVkabj8QNHo#ws (Embedding disabled, limit reached)

550401B http://www.youtube.com/watch?v=fImDFxDEPfE#ws (Embedding disabled, limit reached)

550401C http://www.youtube.com/watch?v=JSWf2Qm9HWI#ws (Embedding disabled, limit reached)

550402 http://www.youtube.com/watch?v=DIO0yznkQH8#ws (Embedding disabled, limit reached)

550403A http://www.youtube.com/watch?v=RhucyKodtv4#ws (Embedding disabled, limit reached)

550403B http://www.youtube.com/watch?v=GAKThnI65oo#ws (Embedding disabled, limit reached)

หลวงปู่อุทัยเดินจงกรม550425 http://www.youtube.com/watch?v=YCpToVocF10#ws (Embedding disabled, limit reached)

ทำวัตรเย็น  http://www.youtube.com/watch?v=Zstk6L6yYQs#ws (Embedding disabled, limit reached)

ธรรมจัก - ชัยยะ http://www.youtube.com/watch?v=o2hen_sOeJc#ws (Embedding disabled, limit reached)

อนัตตลักขณสูตร http://www.youtube.com/watch?v=wG8bB2WO9TE#ws (Embedding disabled, limit reached)

อทิตตปริยายสูตรhttp://www.youtube.com/watch?v=FKS4WurnozQ

ปาฏิโมกข์ http://www.youtube.com/watch?v=KN69eSQ7OCA#ws (Embedding disabled, limit reached)

ดูแล้วปฏิบัติธรรมไปด้วย ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป

จากคุณ    : look4images
13  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / หลวงปู่อุทัย สิริธโร เดินจงกรม นั่งสมาธิ อบรมจิตใจ เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2012, 09:03:02 am
http://www.youtube.com/watch?v=YCpToVocF10#ws (Embedding disabled, limit reached)

หลวงปู่อุทัย สิริธโร เดินจงกรม นั่งสมาธิ อบรมจิตใจ
14  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / องค์หลวงปู่อุทัย สิริธโร เมตตาสอนเดินจงกรม ณ วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2012, 09:01:46 am
http://www.youtube.com/watch?v=zfs-ojA9Zb4#ws (Embedding disabled, limit reached)

Published on May 19, 2012 by puntisak
องค์หลวงปู่อุทัย สิริธโร เมตตาสอนเดินจงกรม ณ วัดเขาใหญ่ญาณสัมปันโน
เดินจงกรมกลางธรรมชาติ อย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อเห็นธรรมะในใจ 25 เมษายน พ.ศ.2555
15  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทนนั่งให้ได้ตามเวลา แม้จิตไม่เป็นสมาธิ จะมีประโยชน์อะไรกับการภาวนาบ้างคะ เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2012, 12:34:47 pm
จากข้อความที่ ตอบ แสดงให้เห็นว่า การนั่งทนก็เป็นทาง ที่ได้ประโยชน์เช่นกัน
ให้กำลังใจ ดีนะคะ

 โดยปกติ นั่งกรรมฐาน ไม่เกิน 30 นาที ก็เลิกแล้วคะ

  :25:
16  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรียนถามว่า พระ กับ โยม ใครจะสามารถรับธรรมเป็น พระอริยะบุคคลได้ก่อนกันครับ เมื่อ: เมษายน 24, 2012, 10:06:53 am
  คือการภาวนา นั้น ความสมบูรณ์ อยู่ที่ ศีล สมาธิ ปัญญา ใช่หรือไม่คะ

  ในเมื่อ พระ มีศีล 227 ข้อ โยม มีศีล 5 - 8 อย่างนี้ จะเอา พระ กับ โยม ไปเทียบกันได้อย่างไร คะ

  คือ ศีล พระมากกว่า พูดถึงความได้เปรียบ ก็ไม่รู้กี่ เท่า ถ้าเทียบกับ ศีล 5 =44 เท่า

  ก็ยังไม่เข้าใจ ว่า โยม จะได้เปรียบพระ ได้อย่างไร ในการเข้าถึง อริยมรรค อริยผล

  :smiley_confused1:
17  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เชิญเข้าปฏิบัติธรรมวันเสาร์-อาทิตย์ที่๒๖-๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ที่คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม เมื่อ: เมษายน 19, 2012, 08:27:38 am
อนุโมทนา สาธุ กับข่าวสารการปฏิบัติธรรม

 :25: :25: :25: :c017:
หน้า: [1]