ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๕ สาย นำมาฝากครับ เชิญดาวน์โหลด  (อ่าน 4301 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

บูรณะ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 11
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


 “หนังสือคู่มือการปฏิบัติธรรม (สมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔)” ของสำนักปฏิบัติธรรมใหญ่ ๕ สำนัก คือ สำนักพุทโธ สำนักอานาปานสติ สำนักยุบพอง สำนักรูปนาม และสำนักสัมมาอรหัง ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากสำนักปฏิบัติธรรมทั้ง ๕  เรียบเรียงขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการศึกษาสัมมาปฏิบัติพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า ตามแบบที่สำนักใหญ่ ๕ สำนัก ต่างเลือกถือธรรมเป็นอารมณ์สมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามจริตอัธยาศัยของตน เป็นแนวทางปฏิบัติภาวนาและสอนศิษยานุศิษย์สืบต่อๆ กันมานั้น ซึ่งหนังสือเล่มนี้นับว่ามีคุณประโยชน์แก่การศึกษาสัมมาปฏิบัติพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง และประการสำคัญที่สุด คือให้ผู้สนใจศึกษาสัมมาปฏิบัติได้มีโอกาสเลือกวิธีปฏิบัติ (สมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน) ตามจริตอัธยาศัยของตน


www.ebooks.in.th/ebook/7713/คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน_๕_สาย/

http://www.ebooks.in.th/download/7713/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99_%E0%B9%95_%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2
บันทึกการเข้า

บูรณะ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 11
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
๑. สมาธิคืออะไร ?๕ คำตอบข้อนี้มีได้ต่างๆ กัน อาจจะมุ่งหมายถึงการทำ กิริยาที่ทำ
หรือสิ่งที่ถูกทำ และผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ ล้วนแต่เรียกว่า สมาธิไปหมด. ส่วนความ
มุ่งหมายอันแท้จริง ท่านให้คำจำกัดความไว้ว่า สมาธิคือ กุศลจิตที่มีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้
นี่เป็นการแสดงว่า ท่านเพ่งเล็งถึงผลที่เกิดขึ้น โดยตรง. ส่วนการทำ ก็พลอยมีความหมายไป
ตามนั้น กล่าวคือการทำให้เกิดมีกุศลจิตที่มีอารมณ์แน่วแน่นั่นเอง. ข้อควรสังเกตอย่างยิ่ง
อยู่ตรงคำที่ว่า กุศลจิต มิได้อยู่ตรงคำที่ว่าแน่วแน่ แต่อย่างเดียว เพราะเป็นอกุศลจิต แม้มี
อารมณ์แน่วแน่ก็กลายเป็นมิจฉาสมาธิไป. ด้วยเหตุนี้แหละ สิ่งที่จะใช้เป็นอารมณ์ของสมาธิ
นั้น ต้องเป็นอารมณ์ซึ่งเป็นที่ตั้งแหง่ กุศลจิตเสมอไป ทั้งเจตนาในการที่จะทำสมาธิ ก็ตอ้ ง
เป็นสิ่งที่บริสุทธิ์มาแต่เดิม หรือประกอบด้วยปัญญา หรือสัมมาทิฏฐิ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น.
๒. ได้ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีอรรถ (ความหมาย) ว่าอย่างไร ? อธิบายว่า อรรถว่า
ตั้งมั่น ทั้งส่วนจิตและเจตสิก. จิตตั้งมั่นเพราะมีเจตสิกธรรมซึ่งเป็นความตั้งมั่นเกิดอยู่กับจิต
ซึ่งกำลังเป็นกุศลจิต โดยนัยที่กล่าวแล้วในข้อหนึ่ง. คำว่า ตั้งมั่น หมายความว่า ตั้งมั่นอยู่ใน
อารมณ์อันเดียว อันอารมณ์อื่นแทรกแซงเข้ามาไม่ได้ อันนิวรณ์หรือกิเลสครอบงำไม่ได้.



ตัวอย่างข้อความ ครับ
บันทึกการเข้า