ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ผ้าจำนำพรรษา และ ผ้าอาบน้ำฝน แตกต่างกันอย่างไร ถวายแล้วมีอานิสงส์อย่างไรบ้าง.?  (อ่าน 797 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ผ้าจำนำพรรษา และ ผ้าอาบน้ำฝน แตกต่างกันอย่างไร ถวายแล้วมีอานิสงส์อย่างไรบ้าง.?


ใกล้เข้าสู่เทศกาลเข้าพรรษาแล้ว ชาวพุทธนิยมถวาย ผ้าจำนำพรรษา และ ผ้าอาบน้ำฝน แด่พระภิกษุสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล

หลายท่านอาจสับสนว่าผ้าจำนำพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนเป็นสิ่งเดียวกัน เพราะเครื่องไทยทาน (วัตถุที่ถวายพระภิกษุโดยไม่เจาะจง แต่หากเจาะจงหรือพระภิกษุทราบแน่ชัดแล้วว่าถวายสิ่งนี้เฉพาะท่านเท่านั้นจะเรียกว่า “ไทยธรรม“) ทั้งสองนี้ ต่างเป็นที่นิยมถวายในช่วงเข้าพรรษา ซึเคร็ตจึงขอไขข้อสงสัยในเรื่องนี้ให้กระจ่าง เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่าน


ผ้าจำนำพรรษา คือ ผ้าไตรจีวรที่พุทธศาสนิกชนรีบถวายก่อนออกพรรษา อาจเพราะมีเหตุไม่สะดวกที่จะตระเตรียมผ้าไตรจีวรถวายในช่วงออกพรรษา จึงขอถวายไว้ตั้งแต่ช่วงเข้าพรรษา จึงมีอีกชื่อว่า “อัจเจกจีวร” พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุรับผ้าไตรจีวรนี้ได้ในช่วง 10 วันสุดท้ายของการเข้าพรรษา เหตุที่เรียกว่า ผ้าจำนำพรรษาเพราะเป็นผ้าที่พระภิกษุไม่สามารถใช้ได้ในขณะเข้าพรรษานั่นเอง ต้องรอให้ออกพรรษาเสียก่อนจึงสามารถใช้ได้

ผ้าอาบน้ำฝน คือ ผ้านุ่งสำหรับพระภิกษุในขณะอาบน้ำฝน สามารถศึกษาเรื่องผ้าอาบน้ำฝนเพิ่มเติมได้ที่ >>> นางวิสาขา มหาอุบาสิกา ผู้ให้กำเนิดการถวาย ผ้าอาบน้ำฝน

@@@@@@

เมื่อคลายความสงสัยกันความสับสนระหว่างผ้าจำนำพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนแล้ว ลองมาฟังเรื่องอานิสงส์ของเครื่องไทยทานทั้งสองนี้กัน

ครั้งสมัยพุทธกาลมีอุบาสกชื่อว่า “ติสสะ” ชักชวนภรรยาย้อม ตัด และเย็บผ้าไตรจีวรขึ้นเพื่อถวายเป็นผ้าจำนำพรรษา แล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้ายังพระเชตวัน พระมหาโมคคัลลานะกำลังท่องไปในแดนสวรรค์ได้พบวิมานแก้วปรากฏขึ้น ภายในวิมานเต็มไปด้วยเทพธิดามากมาย แต่กลับไร้ซึ่งเทพบุตรผู้เป็นเจ้าของ จึงเหาะกลับไปยังพระเชตวันแล้วทูลถามพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เจ้าของวิมานตอนนี้ยังมีชีวิตอยู่บนโลกมนุษย์ และวิมานนั้นเกิดขึ้นจากกุศลที่เขาได้ถวายผ้าจำนำพรรษา เมื่อเขาสิ้นอายุขัยแล้วสถานที่ที่เขาจะไปเกิดคือวิมานแก้วนั้นเอง เมื่อติสสะสิ้นบุญก็ไปเกิดเป็นเทพบุตรสถิตในวิมานแก้ว รื่นรมย์ด้วยทิพยสมบัติ และเทพธิดาผู้เป็นบริวารนับพันนาง



อานิสงส์แห่งการถวายผ้าอาบน้ำฝน นอกจากนางวิสาขามหาอุบาสิกาจะเป็นผู้ริเริ่มให้เกิดการถวายผ้าอาบน้ำฝนแล้ว มีสตรีนางหนึ่งที่ได้ผลบุญยิ่งใหญ่จากการถวายผ้าอาบน้ำฝนด้วย นางมีชื่อว่า “อมัยทาสี” หรือ “นางทาสอมัย” นางเกิดศรัทธาอยากถวายผ้าอาบน้ำฝนจึงบอกแม่ไปดังนั้น แม่เตือนนางว่าเราเป็นแค่ทาสจะนำเงินที่ไหนไปซื้อผ้ามาทำผ้าอาบน้ำฝน นางอมัยร้องไห้เสียใจ แม่สงสารจึงแนะนำให้นางไปขอขึ้นค่าแรงจากเศรษฐี แล้วนำเงินนั้นไปซื้อผ้ามาทำผ้าอาบน้ำฝน แต่เศรษฐีกลับไม่ยอมขึ้นค่าแรงให้

สุดท้ายนางจึงสละผ้าห่มของตนซักให้สะอาด แล้วย้อมและตัดเย็บเป็นผ้าอาบน้ำฝน จากนั้นนางนำไปถวายพระภิกษุที่พระเชตวัน หลังจากนั้น 7 วัน นางกำลังตัดฟืนอยู่ในป่า พระเจ้าพันธุราชเสด็จผ่านมา พอได้เห็นนางก็ทรงพึงพอพระทัย และรับนางเป็นพระมเหสี เมื่อนางสิ้นอายุขัยก็ไปเกิดเป็นเทพธิดาสถิตในวิมานทองคำ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์


 
ที่มา :-
www.84000.org/อานิสงส์ถวายผ้าจำนำพรรษา
www.84000.org/อานิสงส์ถวายผ้าอาบน้ำฝน
www.museumthailand.com , https://th.wikipedia.org
ภาพ : https://pixabay.com
ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/164095.html
https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/164095.html/2
By nintara1991 ,13 July 2019
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ