ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การที่เราพิจารณาร่างกาย เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นวิปัสสนาหรือยัง  (อ่าน 4452 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การที่เราพิจารณาตามความเป็นจริงว่า ร่างกายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่เป็นวิปัสสนารึยังคะ

ใช้การพิจารณาอย่างนี้ ว่า กายนี้เป็น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน เหมือนท่องอยู่

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
มี 2 คำที่ควรทำความศึกษาเมื่อจะเจริญ วิปัสสนา นะ

1. วิปัสสนึก

2. วิปัสสนา

ลองหาความหมาย 2 คำนี้ดูกันก่อนนะจ๊ะ

เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เท่าที่ได้ยินได้ฟังมา การพิจารณาอย่างนั้น มีศัพท์เรียกกันเล่นๆว่า วิปัสสนึก

แต่แม่ชีทศพร ท่านบอกว่า วิปัสสนาต้องเิริ่มด้วยวิปัสสนึกก่อน

ผมได้อ่านได้ฟัง หลวงพ่อฤาษีลิงดำและหลวงพ่อปราโมทย์เทศน์มา

ผมสรุปเอาเองว่า การพิาจารณาต้องระวังอย่าให้กลายเป็นเพ่ง

เพราะถ้าเพ่งจนแข็ง จะกลายเป็นสมถะ แต่การวิปัสสนาเบื้องต้นต้องช่วยจิตมันคิดก่อน

การช่วยจิตคิด น่าจะเป็นการทำให้จิตตั้งมั่น หรือสร้างสมาธิ เพื่อเป็นกำลังของวิปัสสนา

ปัญหามันมีอยู่ว่า สมาธิระดับไหนที่เพียงพอสำหรับวิปัสสนา บางคนกล่าวว่า ต้องเป็นสัมมาสมาธิ

ปัญหาก็ตามมาอีก แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า สมาธิที่มีอยู่ขณะนั้นเป็นสัมมาสมาธิ

เรื่องนี้ผมสรุปให้เลย ทุกคนต้องมีครูบาอาจารย์เป็นที่พึ่งครับ ท่านจะบอกเราเอง

ผมเคยถามแม่ชีทศพรว่า ทำไมผมขึ้นวิปัสสนาไม่ได้ ท่านตอบว่า สมาธิคุณแข็งไป


จากประสบการณ์ของผมเอง เวลาที่ผมไม่คิดอะไร และเวลานั้นจิตใจเบาสบายไม่แข็งไม่อ่อน

รู้สึกมีความสุขเล็กๆโชยเข้ามา เมื่อนั้นผมรู้สึกว่ากายกับใจของผมเป็นคนละส่วนกัน

บางครั้งทานข้าวเสร็จใหม่ๆก้็รู้ึสึกขึ้นมาแวบหนึ่งว่า ร่างกายเราเป็นของน่าเบื่อหน่ายต้องคอยดูแลอยู่เสมอ

ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผม มันเกิดขึ้นเองครับ ผมไม่ได้พิจาราณาอะไรเลย

ผมสรุปให้ว่า สำหรับผมแล้ว จิตที่ไม่มีปลิโพธและนิวรณ์ เป็นจิตที่เหมาะแก่การวิปัสสนา

อธิบายได้ยากครับ เป็นเรื่องปัจจัตตัง ผมคุยเป็นเพื่อนได้เท่านี้ครับ

 ;) :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 06:54:36 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
(เราจะรู้จริงหรือไม่รู้ เรื่อง รูป-นาม ก็เป็นอยู่อย่างนั้นตลอดไป) รู้พระไตรลักษณ์ ได้แก่ การรู้ลักษณะ 3 ประการคือ รู้อนิจจัง รู้ทุกขัง รู้อนัตตา การรู้พระไตรลักษณืนั้น ต้องรู้ถึง 4 ขั้นคือ 1รู้ตามหลักแบบเรียน(รู้แบบปริยัติ-สุตตามยะปัญญา) 2รู้ตามที่คิดนึกเอาเอง(-จินตามะยะปัญญา) 3รู้ตามจากการปฏิบัติจริง จนถึงญาณ4(ภาวนามะยะปัญญา) 4รู้ขั้นสูงสุด (โลกุตตะระปัญญา) ที่เราตอบ ตอบตามหนังสือของพระอาจารย์=ก็คือจําเค้ามาเล่า ส่วนของผู้ทีถาม ให้ตรวจดูเอาเองว่าตรงกับข้อใด
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำการบ้านที่พระอาจารย์สั่งไว้ นะคร้า...


   วิปัสสนึก ก็คือ การตามคิด พิจารณา อันเป็นยามปกติ คือใช้การปรุงแต่ง คิด นึก ก่อน

  ซึ่งทุกวิธี ก็ใช้วิธีการนี้


   วิปัสสนา ก็คือ การใช้ สติ สมาธิ ที่สงบจากนิวรณ์ธรรม แล้ว พิจารณาธรรมที่สมควร แก่การพิจารณา

  โดยส่วนนี้จะใช้คำว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ ใน วิสุทธิ 7 คือ รู้เห็นตามความเป็นจริง คร้า...


 :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง