ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าเป็นพระสงฆ์ ไม่เผยแพร่ ธรรมได้หรือ ไม่ครับ  (อ่าน 4008 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

ถ้าเป็นพระสงฆ์ ไม่เผยแพร่ ธรรมได้หรือ ไม่ครับ  ?


 :25: thk56
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ถ้าเป็นพระสงฆ์ ไม่เผยแพร่ ธรรมได้หรือ ไม่ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2015, 11:27:57 am »
0
ถ้าเป็นพระสงฆ์ ไม่เผยแพร่ ธรรมได้หรือ ไม่ครับ  ?

มีพระสงฆ์อริยะสาวกรูปหนึ่งที่ทรงฤทธิ์อภิญญามากกระทำฤทธิ์จนเป็นเหตุให้ต้องถูกพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าขับไปอยู่ ณ อมรโคยานทวีป สงฆ์รูปดังกล่าวมีนามนั้นว่า "พระปิณโฑลภารทวาชเถระ" ผู้เอกทัคคะเลิศในทางบันลือสีหนาท เป็นผู้มีปกติกล่าวตวาดเสียงห้าวหาญต่อหมู่สงฆ์เสมอๆว่า "ใครผู้ใดสงสัยในมรรคผลให้ถามข้าพเจ้า" ด้วยวาสนาท่านห้าวหาญตวาดดัง คงไม่มีใครกล้าถามอาจจะด้วยคร้ามเกรงท่าน ท่านเองก็มิได้มีสงฆ์ศิษย์อนุจรแวดล้อมดั่งเช่นพระเถระรูปอื่นๆ ดังนั้นการกล่าวถามถึงสงฆ์ที่ไม่เผยแผร่ธรรมก็คาดว่าคงมี ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องทำ ทั้งนี้ต้องอยู่ที่วาสนาท่านธำรงสัจจ์ปรารถนาในกิจที่รับเนื่องไว้เป็นภาระสืบสัตย์ตามนั้น พระสงฆ์ที่ไม่มุ่งเผยแผร่ธรรมจักอยู่สันโดษ ถ้าถามผมอย่างในปัจจุบันก็เพียงรับทักษิณาทานให้เหรียญ เจิมแป้ง เขกกระโหลก ลงนะที่หน้าปิดแผ่นทอง เพียงนั้นอยู่รอดปลอดภัยค้าขายรุ่งเรือง หากแต่พระสงฆ์ที่เป็นครูบาอาจารย์สอนสั่งนำศิษย์ได้มีไม่มาก มากก็ไม่จริง จริงก็ไม่แท้ แท้ก็ไม่ใช่ เรื่องอย่างนี้อยู่ที่วาสนาบุคคลครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 29, 2015, 11:29:39 am โดย ธุลีธวัช (chai173) »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถ้าเป็นพระสงฆ์ ไม่เผยแพร่ ธรรมได้หรือ ไม่ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2015, 02:03:00 pm »
0
 like1
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ถ้าเป็นพระสงฆ์ ไม่เผยแพร่ ธรรมได้หรือ ไม่ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2015, 08:58:53 am »
0


หน้าที่ของพระสงฆ์
โดย พระภูริพัฒน์ หอมแก้ว

พระสงฆ์ คือ หมู่สาวกผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า. ในทางรัฐศาสตร์ พระสงฆ์หรือองค์การทางศาสนาเป็นกลุ่มทางสังคม ที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง (รวมด้วย) คือ ให้รัฐบาลช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของคณะสงฆ์และมีนโยบายการพัฒนาคณะสงฆ์ / พระพุทธศาสนา

การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองเป็นเรื่องแห่งปัจจุบันสมัยที่ทุกคนควรเข้าไปเกี่ยวข้อง บางคนที่มีความคิดล้ำหน้ามองว่า พระสงฆ์ไม่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง และการเรียกร้องสิทธิของคณะบุคคลเท่าที่ควรจะเป็น โดยเหตุนี้ พระสงฆ์จึงคงเหลือบทบาทหรือพันธกิจอยู่เพียง 2 บ และ 2 ส คือ บ = บิณฑบาต บ = บังสุกุล และ ส = สังฆทาน และ ส = สวดมนต์ ซึ่งเป็นเรื่องกิจวัตรและกิจกรรมทางพิธีกรรม โดยไม่ได้ใส่ใจต่อทุกขสัจของสังคมรอบด้าน

หน้าที่ของพระสงฆ์ มีทั้งหน้าที่หลักและหน้าที่รอง ซึ่งล้วนแต่เป็นกิจที่พระสงฆ์ไม่อาจเลี่ยงได้ การจะปฏิบัติกิจใด ๆ ก็ตามต้องไม่ละเลยการประพฤติในส่วนที่เรียกว่า “พรหมจรรย์” ซึ่งเป็นความประพฤติเพื่อความประเสริฐ เพื่อบรรลุถึงความสิ้นกิเลส โดยประพฤติให้เป็นไปตามพุทธบัญญัติและต้องเอื้อเฟื้อ ไม่ละเมิดพุทธอาณัติอันเป็นข้อห้ามมิให้ประพฤติ หรือเรียกว่าประพฤติให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย ซึ่งถือว่าหน้าที่นั้นเป็นหน้าที่หลักของพระสงฆ์ เพราะพระธรรมวินัยนี้เป็นหน้าที่หลักการของพระพุทธศาสนาได้ทั้งหมด จึงถือได้ว่าการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยเป็นหน้าที่แรกของสงฆ์ในพระพุทธศาสนา และเป็นหลักข้อกำกับควบคุมการกระทำหน้าที่อื่น ๆ ได้ทั้งหมดของพระสงฆ์ ซึ่งหน้าที่ที่สำคัญนั้นมี 4 ประการ ได้แก่

1. หน้าที่ในการศึกษาธรรม
2. หน้าที่ในการปฏิบัติธรรม
3. หน้าที่ในการเผยแผ่ธรรม
4. หน้าที่ในการรักษาธรรม





หน้าที่ในการศึกษาธรรม

หน้าที่แรกของสมณะที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในสมณสูตร มี 3 ประการ ดังพุทธดำรัสที่ว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจของสมณะที่สมณะควรทำ 3 อย่างนี้ 3 อย่างเป็นไฉน ? คือ
     การสมาทานอธิศีลสิกขา 1
     การสมาทานอธิจิตสิกขา 1
     การสมาทานอธิปัญญาสิกขา 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิศีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิจิตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษาเช่นนี้แล”


การศึกษาพระธรรม คือ การศึกษาในการเรื่องอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ศีลจิต (สมาธิ) และปัญญา เป็นสิ่งที่สมณะในพระพุทธศาสนาจะต้องศึกษาให้เคร่งครัดแล้วจึงจะนำไปสู่กระบวนการที่จัดเจน หมายความว่าหน้าที่ศึกษาจะนำไปสู่การกระทำหรือการปฏิบัติที่ถูกต้อง. สิกขา 3 หรือไตรสิกขานั้นหมายถึงข้อที่จะต้องศึกษา ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษาคือฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน. หน้าที่การศึกษาจะนำไปสู่การกระทำหรือการปฏิบัติที่ถูกต้องสิกขา 3 หรือไตรสิกขานั้น มีความหมายดังนี้

    ๑. อธิศีลสิกขา สิกขา คือ ศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง
    ๒. อธิจิตตสิกขา สิกขา คือ จิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรม เช่น สมาธิอย่างสูง
    ๓. อธิปัญญาสิกขา สิกขา คือ ปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสู





หน้าที่ในการปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรมนั้นถือได้ว่าเป็นรากแก้วชั้นสำคัญในพระพุทธศาสนา ถ้าไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับผลใด ๆ เลย แต่การจะเห็นคุณค่าแห่งการปฏิบัติธรรมได้ บุคคลนั้น ๆ ย่อมจะเล็งเห็นประโยชน์ มองเห็นโทษในความประมาทมัวเมาในชีวิตเร่งคิดหาวิธีที่จะบำเพ็ญตนให้ได้รับความสุขสูงสุด ความสุขสูงสุดที่จะบังเกิดได้ย่อมมาจากการประพฤติปฏิบัติธรรม

ในอรกานุสาสนีสูตร พระพุทธเจ้าได้ทรงยกเรื่องอรกศาสดาขึ้นมาตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อไมให้ประมาทมัวเมาในวัย ในชีวิต ให้เร่งรีบขวนขวายปฏิบัติธรรม โดยทรงชี้ให้เห็นว่าชีวิตนี้สั้น ควรรีบทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ในปัจจุบันนี้อย่างมากอยู่ได้ก็เพียงร้อยปี หรืออาจจะน้อยกว่าบ้างมากกว่าบ้าง โดยทรงเตือนว่า…
    “ภิกษุทั้งหลาย กิจใด ศาสดาผู้แสวงประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์เอื้อ เอ็นดู พึงกระทำแก่สาวก กิจนั้น เรากระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ขอเธอทั้งหลาย จงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าต้องเป็นผู้เดือดร้อนใจในภายหลังเลย นี้คืออนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”

การปฏิบัติธรรมมีจุดมุ่งหมาย 2 ประเด็น คือ เพื่อให้ตนหลุดพ้นจากกองกิเลส ตันหา 1 และเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ 1 ในประเด็นหลังนั้นพอมองเห็นได้แม้จะไม่มากในสังคม แต่ก็ไม่ใช่ไม่มี ส่วนประเด็นแรกอาจจะถือเป็นประเด็นหลัก เพราะถ้าไม่ปฏิบัติจนสามารถละ ลดกิเลสของตน การที่เราจะอำนวยประโยชน์แก่ผู้อื่นก็เป็นไปได้ยาก การทำให้ตนหลุดพ้นหรือให้ถึงภาวะเกลี้ยงเกลา ไม่มีความทุกข์นั้นมีอยู่

วิธีที่จะทำให้จิตใจของคนแต่ละคนเข้าถึงภาวะเกลี้ยงเกลา ไม่มีความทุกข์เลยนั้นก็ คือ ได้แก่การปฏิบัติที่ใจของตัว คือการจัดการกับจิตใจของตัวเสียใหม่ และพยายามที่จะรู้จักตัวนั่นเอง กล่าวคือ ถ้าถือว่าจิตใจเป็นตัวเราก็พยายามรู้จักตัวเรา หรือถ้าจะถือว่าตัวเราทั้งหมดก็พยายามรู้จักทั้งหมด คือ พยายามรู้จักโลก แล้วปฏิบัติไปให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติ หรือกฎความจริงที่เกี่ยวกับตัวเราหรือจิตใจนั้น เมื่อนั้นก็จะถึงภาวะที่จะเป็นความดับทุกข์ได้อย่างเกลี้ยงเกลา





หน้าที่ในการเผยแผ่ธรรม

ในหน้าที่ที่สาม คือ การเผยแผ่ธรรมนั้น นับว่าเป็นหัวใจของการสืบอายุพระพุทธศาสนาและเป็นการแสดงเจตนาต่อพุทธประสงค์อย่างแท้จริง ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสฝากวัตถุประสงค์ที่สำคัญให้แก่พระอรหันต์สาวก 60 องค์ว่า… “พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง และงามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์..”

หน้าที่หรือว่าบทบาทในการเผยแผ่นี้ เป็นบทบาทของพระสงฆ์ที่สำคัญหากจะเทียบกับบทบาทด้านอื่น บทบาทนี้นับว่าเป็นงานที่คณะสงฆ์จัดทำมากกว่าอย่างอื่น. อนึ่ง ในการเผยแผ่นั้น พระสงฆ์ก็ดำรงตนในบทบาทหน้าที่ดังที่พระพุทธองค์เคยดำรงมาแล้วเพราะการเผยแผ่ธรรมนั้นเป็นการให้ปัญญาแก่พุทธบริษัท จำต้องตั้งตนอยู่บนพื้นฐานความเป็นธรรม ผู้แสดงต้องมีภูมิธรรมความรู้ด้วย ดังพุทธพจน์ที่ว่าจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์นั้น คือ การกระทำหน้าที่หลักของพระสงฆ์ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แม้จะต้องจาริกรอนแรมไปยังสถานที่ไกล ๆ ก็ตาม พระสงฆ์ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ให้ธรรมะ แจกธรรมะแก่ชนทั้งโลก

พระสงฆ์สาวกในสมัยพุทธกาล เป็นพระสงฆ์ที่ต้องใช้ความเพียรมาก เพื่อนำธรรมให้เข้าถึงประชาชนหรือนำประชาชนให้เข้าถึงพระศาสนา ซึ่งอาจจะเรียกระยะแรกนี้ว่า ระยะออกไปหาประชาชนและในการประกาศพระศาสนาหรือเผยแผ่พระศาสนานั้น เป็นหลักการสำคัญที่จะต้องระลึกถึงหลักโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้แก่พระอรหันต์ 1,250 รูป ในวันมาฆปุรณมี คือ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งเป็นพุทธโอวาทที่ประมวลสรุปพุทธวาทะ ด้วยข้อความเพียง 3 คาถากึ่ง ฉะนั้น พระวาทนี้จึงนับถือว่าได้แสดงหัวใจพระพุทธศาสนาไว้

โอวาทปาฏิโมกข์ แปลว่า โอวาทหรือคำสอนที่เป็นหลักเป็นประธาน อย่างที่เรียกว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา และถ้ามองในแง่นักเผยแผ่ ก็ถือว่าโอวาทปาฏิโมกข์นี้เป็นหลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย การแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้ ในมหาปทานสูตร กล่าวถึงว่าพระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะทรงแสดงในที่ประชุมสาวกครั้งใหญ่ มิใช่เฉพาะพระสมณโคดมของเราทั้งหลายเท่านั้นที่ทรงแสดงใจความตามมหาปทานสูตร ว่าดังนี้

    “ขันติ ความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสว่าพระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง ผู้ทำร้ายผู้อื่น ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย การไม่ทำบาปทั้งสิ้น การยังกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
          การไม่กล่าวร้าย 1
          การไม่ทำร้าย 1
          ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ 1
          ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร 1
          ที่นอนที่นั่งอันสงัด 1
          การประกอบความเพียรในอธิจิต 1
    หกอย่างนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”





หน้าที่ของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามในคาถาในท่อนที่ 3 นั้น เป็นจุดประสงค์คือหน้าที่ของพระสงค์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่พึงดำรงตนอยู่ในหลักปฏิบัตินี้ ในหลักการเผยแผ่ พอจะสรุปได้ดังนี้ คือ

    ๑. ไม่โจมตี (ได้แก่ข้อไม่กล่าวร้าย)
    ๒. ไม่บีฑา (ได้แก่ข้อไม่ทำร้าย)
    ๓. รักษาศีล (ได้แก่ข้อสำรวมในพระปาฏิโมกข์)
    ๔. ไม่เห็นแก่กิน (ได้แก่ข้อรู้ประมาณในภัตตาหาร)
    ๕. ไม่เห็นแก่นอน (ได้แก่ข้อที่นั่งที่นอนอันสงัด)
    ๖. ฝึกสอนใจตนเอง (ได้แก่ข้อประกอบความเพียร ฝึกฝนพัฒนาจิตของตนเอง)

จึงนับว่าเป็นการแสดงปฏิปทาที่จะนำเอาใจความตามท่อนที่ 1 และที่ 2 นั้นไปสั่งสอนผู้อื่นอีกต่อไป พระโอวาทที่เรียกว่า พระโอวาทปาฏิโมกข์ทั้งหมดนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสแกพระอรหันต์ทั้งนั้น จึงมิได้มุ่งที่จะอบรมให้ท่านบรรลุมรรคผล แต่ว่ามุ่งที่จะวางแนวพระพุทธศาสนา

 :25: :25: :25: :25:

หลักอีกประการหนึ่งซึ่งจะขาดเสียมิได้ในการเผยแผ่ คือ การใคร่ครวญตามหลักพุทธวาจา 6 ประการ ที่ทรงมุ่งประโยชน์เป็นสำคัญ และทรงเลือกกาลเวลาที่จะอำนวยประโยชน์อย่างจริง. ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค นั้นเป็นการเฉลยเหตุที่ได้พระนามว่า “ตถาคต” โดยได้ตรัสกับจุนทะไว้ให้เห็นว่า พระตถาคตนั้นทรงรู้ธรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ถ้าหากไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็จะไม่ทรงพยากรณ์ กับทั้งในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ก็แสดงให้เห็นถึงว่า พระพุทธองค์ทรงเลือกที่จะตรัสเฉพาะวาจาที่ประกอบด้วยประโยชน์เท่านั้น อาจสรุปได้ดังนี้

    ๑. คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น-ไม่ตรัส
    ๒. คำพูดที่จริง ถูกต้อง, แต่ไม่เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น- ไม่ตรัส
    ๓. คำพูดที่จริง ถูกต้อง, เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น – เลือกเวลาตรัส
    ๔. คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์, ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น – ไม่ตรัส
    ๕. คำพูดที่จริง ถูกต้อง, แต่ไม่เป็นประโยชน์, ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น – ไม่ตรัส
    ๖. คำพูดที่จริง ถูกต้อง, เป็นประโยชน์, เป็นที่รักที่ชอบใจของคนอื่น – เลือกกาลตรัส

ดังนั้น ตถาคตจึงเป็น กาลวาที, สัจจวาที, ภูตวาที, ธรรมวาทีและวินยวาที

เมื่อกล่าวดังนี้แล้วย่อมพิจารณาได้ว่าหัวใจสำคัญในการเผยแผ่พระธรรมวินัย พระพุทธศาสนาก็เพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก และประโยชน์ตามพุทธประสงค์ก็ทรงวางไว้ 3 หลัก เรียกว่า อัตถะ คือ ประโยชน์, จุดหมาย, ผลที่มุ่งหมายปรารถนา ดังนี้

1. ทิฎฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ในชาตินี้)
2. สัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์ชาติหน้า)
3. ปรมัตถะ (ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน)

ประโยชน์หรือจุดมุ่งหมายทั้ง 3 ประการนี้ คือ สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้พุทธบริษัท 4 เพื่อที่จะไม่คลาดไม่พลัดตกจากประโยชน์อันพึงจะได้ในพระพุทธศาสนานี้


อ่านต่อด้านล่าง......
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ถ้าเป็นพระสงฆ์ ไม่เผยแพร่ ธรรมได้หรือ ไม่ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2015, 09:05:38 am »
0



หน้าที่ในการรักษาธรรม

การรักษาธรรม เป็นหน้าที่ซึ่งจะต้องรักษาพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ อีกทั้งเป็นการธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาในหลาย ๆ วิธีการ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือ ความตั้งมั่นแห่งพระพุทธศาสนา การไม่ทำให้พระธรรมวินัยวิปรติแปรปรวนนั่นเอง สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ บัญญัติไว้ เป็นสิ่งที่ต้องใคร่ครวญและปฏิบัติตาม ไม่เพิกเฉยละเลยทอดทิ้ง ตรงกันข้ามสิ่งใดที่มิได้ทรงแสดงไว้บัญญัติไว้ที่ขัดต่อพระธรรมวินัยก็ไม่ควรกระทำ เพราะจะนำโทษทุกข์มาให้ ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายไม่ขวนขวายเด็ดขาด ดังพุทธดำรัสว่า

      “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าธรรม แสดงสิ่งที่มิใช่วินัย ว่าเป็นวินัย ที่วินัยว่าไม่ใช่วินัย พระดำรัสที่มิได้ภาษิตไว้ว่าภาษิตไว้ ที่ภาษิตไว้ว่ามิได้ภาษิตไว้ แสดงกรรมอันตถาคตมิได้สั่งสมไว้ว่าทรงสั่งสม ที่สั่งสมไว้ว่ามิได้ทรงสั่งสม สิ่งที่ตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ว่าทรงบัญญัติ ที่บัญญัติไว้ว่ามิได้ทรงบัญญัติ แสดงอาบัติว่าอนาบัติ ที่อนาบัติว่าอาบัติ แสดงลหุกาบัติว่าครุกาบัติ ที่ครุกาบัติว่าลหุกาบัติ แสดงอาบัติที่ชั่วหยาบว่าไม่ชั่วหยาบ ที่ไม่ชั่วหยาบว่าชั่วหยาบ แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าไม่มีส่วนเหลือ ที่ไม่มีส่วนเหลือว่ามีส่วนเหลือ แสดงอาบัติที่ทำคืนได้ว่าไม่ได้ ที่ไม่ได้ว่าได้
       ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมทำให้สัทธรรมนี้อันตรธาน”


สิ่งสำคัญที่พระพุทธองค์ทรงมีวัตถุประสงค์ ในการที่ทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ อันไพศาล มิใช่จำเพาะกลุ่มหรือเพื่อพระพุทธองค์เอง ทั้งนี้เพื่อให้พระภิกษุตระหนักไม่เพิกเฉย หรือละเลย ดังวัตถุประสงค์ที่ว่า

    ๑. เพื่อความตั้งอยู่ด้วยดีแห่งสงฆ์
    ๒. เพื่อความอยู่สำราญแห่งสงฆ์
    ๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
    ๔. เพื่อการอยู่สำราญแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก
    ๕. เพื่อป้องกันอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในปัจจุบัน
    ๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในสัมปรายภพ
    ๗. เพื่อความเลื่อมใสแห่งบุคคลทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส
    ๘. เพื่อความเจริญยิ่งแห่งความเลื่อมใสของบุคคลทั้งหลายผู้เลื่อมใสแล้ว
    ๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
    ๑๐ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย

 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

ในวัตถุประสงค์ทั้ง 10 ข้อนี้ย่อได้ 5 หมวด คือ

    ๑. เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์หรือส่วนรวน ได้แก่ ความในข้อที่ 1 และ 2
    ๒. เพื่อประโยชน์แก่ตัวบุคคล ได้แก่ ความในข้อที่ 3 และ 4
    ๓. เพื่อประโยชน์แก่ชีวิตของมนุษย์เอง ได้แก่ ความในข้อที่ 5 และ 6
    ๔. เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป ได้แก่ ความในข้อที่ 7 และ 8
    ๕. เพื่อประโยชน์แก่ตัวพระศาสนา ได้แก่ ความในข้อที่ 9 และ 10

มีเหตุการณ์ที่เป็นจุดแห่งการคำนึงถึงความดำรงอยู่แห่งพระพุทธศาสนาอยู่เหตุการณ์หนึ่ง คือภายหลังพุทธปรินิพพานไปแล้วเพียง 7 วัน รอยร้าวแห่งสังฆมณฑลได้เริ่มเผยโฉมออกมาอย่างโจ่งแจ้ง โดยที่มีพระภิกษุรูปหนึ่งผู้บวชเมื่อแก่ นามว่า สุภัททะ ได้กล่าวจ้วงจาบคือ กล่าวตู่หรือกล่าวติเตียนพระธรรมวินัยโดยประการต่าง ๆ และแสดงความดีใจอย่างออกหน้าออกตาในการปรินิพพานของพระพุทธองค์. ใช่ว่าจะมีแต่สุภัททะก็หาไม่ แต่ยังมีภิกษุที่เป็นฝักฝ่ายของพระเทวทัตอีกมากที่มีความเห็นเช่นเดียวกับพระสุภัททะ ด้วยวาทะที่ได้กล่าวในท่ามกลางภิกษุทั้งหลายในคราวนั้นว่า

      “อย่าอาวุโส พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไรไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว ด้วยว่าพระมหาสมณะนั้น เบียดเบียนพวกเราอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ ก็บัดนี้ พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่กระทำสิ่งนั้น”

ถ้อยคำของสุภัททะทำให้ท่านมหากัสสปะ สังฆพฤฒาจารย์ คือ พระสงฆ์ผู้อาวุโสที่สุดนั้นมาใคร่ครวญคำนึงด้วยความวิตก และสังเวช พร้อมกับดำริที่จะชำระมลทินเพื่อธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา รักษาพระธรรมไว้ จึงชักชวนพระอรหันต์สาวกทั้งหลายดังนี้ว่า…

     “เอาเถิด ท่านทั้งหลาย พวกเราจงสังคายนาพระธรรมและวินัยเถิด ในภายหน้าสภาวะมิใช่ธรรมจักรุ่งเรือง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาวะมิใช่วินัยจักรุ่งเรือง วินัยจักเสื่อมถอย ภายหน้าอธรรมวาทีบุคคลจะมีกำลัง ธรรมวาทีบุคคลจักเสื่อมกำลัง อวินัยวาทีบุคคลจักมีกำลัง วินัยวาทีบุคคลจักเสื่อมกำลัง”

     หน้าที่ในการธำรงรักษาพระธรรมวินัยจึงเป็นสาระที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในหลาย ๆ หน้าที่ของพระสงฆ์นับแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา

 



หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย

เมื่อพิจารณาตามความในพระไตรปิฎก พบว่าเครื่องมือที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์แห่งสงฆ์มีอยู่ 2 ส่วน

    ๑. หลักพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ เป็นแม่แบบที่พระสงฆ์จะพึงปฎิบัติทั้งในส่วนการศึกษาธรรม การปฏิบัติธรรม การเผยแผ่ธรรม และการรักษาธรรม
    ๒. หลักจตุปาริสุทธิศีล และหลักการพิจารณาตามเหตุผลตามความเหมาะสมคือ หลักให้พิจารณาโดยเทียบเคียง ตรวจสอบ

ถ้าเพ่งในแง่ประโยชน์ส่วนที่ว่าด้วยข้อธรรมทั้งหลายนั้น มุ่งเน้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นเป็นส่วนใหญ่ คือ เมื่อพระสงฆ์ดำรงชีพด้วยการอาศัยก้อนข้าวชาวบ้านแล้ว พระสงฆ์ย่อมจะอำนวยประโยชน์ให้แก่ชาวบ้านเป็นการตอบแทน ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นแบบอย่าง และเสนอแนะให้แนวทางในการดำเนินชีวิตแก่บุคคล ชุมชน ข้อธรรมจึงเป็นประโยชน์ภายนอก (แก่สังคม)

สำหรับส่วนที่ว่าด้วยข้อศีลทั้งหลายนั้น มุ่งเน้นเพื่อโดยตรงสำหรับฝึกหัดขัดเกลาพระสงฆ์โดยเฉพาะ และเป็นขีดขั้นหรือพรหมแดนที่จะขีดลงไปว่า พระสงฆ์มีกรอบสำหรับความเป็นสงฆ์ซึ่งแตกต่างจากคฤหัสถ์ เพราะตนอยู่ในฐานะพิเศษ ครองศรัทธาของชาวบ้านอยู่ เมื่อประพฤติล่วงศีลก็ทำให้ความเป็นสงฆ์ด่างพร้อย และผิดศีลขั้นสูงสุดคือขาดจากความเป็นสงฆ์ หรือหมดสภาพความเป็นสงฆ์ อยู่ร่วมในสังฆกรรมหรือสังคมเดียวกันไม่ได้ ข้อศีลจึงเป็นประโยชน์ภายใน (แก่ตนเอง)

 
ที่มา http://www.baanjomyut.com/library_2/buddhist_monks_in_thai_politics/01.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ถ้าเป็นพระสงฆ์ ไม่เผยแพร่ ธรรมได้หรือ ไม่ครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2015, 09:32:14 am »
0
อ้างถึง
ข้อความโดย: chatchay

ask1

ถ้าเป็นพระสงฆ์ ไม่เผยแพร่ ธรรมได้หรือ ไม่ครับ  ?


 :25: thk56



ans1 ans1 ans1 ans1

หน้าที่ของสงฆ์มีอยู่ ส่วนใครจะปฏิบัติตามได้มากน้อยอย่างไร คงต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของบุพกรรม หรือวาสนาบารมีที่สั่งสมมาแต่กาลก่อน ขอให้ดูพระพาหิยะเป็นตัวอย่าง ท่านสั่งสมบารมีมานับแสนกัปเพื่อจะเป็นพระอสีติมหาสาวก แต่การเป็นพระอสีติมหาสาวกของท่าน ได้เพียงแค่คำยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็น "เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา" เท่านั้น
     ท่านบรรลุอรหันต์ไม่ทันข้ามวันก็สิ้นอายุขัย ท่านไม่มีโอกาสสั่งสอนใครเลย
     ลองพิจารณาดูเถิด เป็นถึงเอตทัคคะ แต่เหลือเชื่อ...ไม่ได้เอ่ยปากสั่งสอนใครเลยสักคำ ท่านบำเพ็ญบารมีมานับแสนกัป แต่ไม่ได้สร้างบารมีมาเพื่อสั่งสอนใครเลย

     ขอคุยเท่านี้ครับ

      :welcome: :49: :25: :s_good:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถ้าเป็นพระสงฆ์ ไม่เผยแพร่ ธรรมได้หรือ ไม่ครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2015, 10:10:50 am »
0
จริง อย่างคุณ raponsan กล่าวไว้ นั่นแหละ
  ความเป็นจริง เรื่องการสอน ไม่ได้มีความจำเป็นสำหรับ พระสงฆ์ในปัจจุบันแล้ว เพราะว่า มีคนสอนมากแล้ว มีสำนักใหญ่ มีหนังสือตำรา มีพระไตรปิฏก อีกต่างหาก มีทั้งสื่อเสียงภาพเคลื่อนไหว

  ที่ทำอยู่ตอนนี้ ก็เพื่อชื่อเสียง ทั้งนั้นแหละ

 :88: :58: :49: st12 st12 st12
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ถ้าเป็นพระสงฆ์ ไม่เผยแพร่ ธรรมได้หรือ ไม่ครับ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2015, 10:43:43 am »
0
 st11 st12 st12 st12
 :25: :25: :25:
 สำหรับ บท วิสัชชนา ที่ละเอียด นั้นมีประโยชน์ แก่คนที่อ่าน เป็นอย่างมาก
 ฉันอ่านแล้ว ยังอดอนุโมทนา ไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่ ถ้าเป็นฉันตอบ มันจะสั้นกว่านี้ อีกมาก

 นับว่าคนต้ั้งคำถามฉลาด เลือกห้อง

  like1
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถ้าเป็นพระสงฆ์ ไม่เผยแพร่ ธรรมได้หรือ ไม่ครับ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2015, 11:03:27 am »
0
ทำไม พระอาจารย์ไม่โต้ตอบ คุณ modtanoy บ้างคะ

  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ