ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จิตเหนื่อยรึความคิดเหนื่อย คืออะไรครับ แก้ไขอย่างไร  (อ่าน 1060 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

คุณพระแม่โพสพ 7721

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :a102: จะมีวิธีแก้ไขไหมครับ
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




11 วิธีที่ช่วยให้เรา มีจิตใจที่เฉียบคม

ทุกวันนี้ชีวิตของเราอาจเต็มไปด้วยผู้คนมากมายที่พยายามแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เราได้เปรียบ คือ การมี “จิตใจที่เฉียบคม” หรือจิตใจที่พร้อมจะต่อสู้ แก้ไขปัญหา และสามารถก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมั่นคง

11 วิธีที่ช่วยให้เรา มีจิตใจที่เฉียบคม

    1. คิดแบบทำน้อยแต่ได้มาก
    2. ฝึกการควบคุมลมหายใจ
    3. คิดวิธีแก้ปัญหาเพื่อส่วนรวม
    4. ทำเรื่องสำคัญให้ดีที่สุด
    5. เคลียร์สมองด้วยการบริจาคของที่ไม่ใช้
    6. กินอาหารโปรตีนสูง แป้งน้อย น้ำตาลต่ำ
    7. ลองเสี่ยงในเรื่องที่น่าเสี่ยง
    8. ลดกิจกรรมที่กระตุ้นโดปามีน
    9. พูดให้ช้าลง และฟังให้มากขึ้น
  10. สร้างความท้าทายให้ตัวเอง
  11. ขยายความคิดสร้างสรรค์

สามารถรับฟังแบบเต็มได้ที่ : https://bit.ly/3ixZ48t





Thank to : https://today.line.me/th/v2/article/aGrx72n
Mission To The Moon | เผยแพร่ 22 ม.ค. เวลา 19.00 น.


 ans1 ans1
ลองทำตามนี้ดูไปก่อน ส่วนข้อธรรมโดยพิสดาร จะมาตอบในโอกาสต่อไป 
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




นิวรณ์ : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิวรณ์(อ่านว่า นิ-วอน) (บาลี: nīvaraṇāna) แปลว่า เครื่องกั้น ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป

นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ

    1. กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
    2. พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
    3. ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
    4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใด ๆ
    5. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ

กรรมฐานที่เหมาะสมแก่นิวรณ์

    • กามฉันทะ ให้ภาวนากายคตาสติ อสุภะ 10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพื่อทำลายความอยากในกามเสีย
    • พยาบาท ให้ภาวนาอัปมัญญาหรือพรหมวิหาร 4 วรรณกสิน 4 เพื่อเพิ่มความเมตตา
    • ถีนมิทธะ ให้ภาวนาอนุสสติ 7 คือพุทธานุสสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ อุปสมานุสสติ และอาโลกสัญญา (แสงสว่างเป็นอารมณ์) เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและความเพียร
    • อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ภาวนากสิน 6 คือ ปฐวีกสิน อาโปกสิน วาโยกสิน เตโชกสิน อากาสกสิน อาโลกกสิน เพื่อเพิ่มกำลังสมาธิ (อานาปานสติ เอามาเพิ่มทีหลังไม่เกี่ยวกับที่อ้างอิง แต่เป็นตัวระงับความฟุ้งซ่าน)
    • วิจิกิจฉา ให้ภาวนาจตุตธาตุววัตถาน (พิจารณาธาตุ 4) อานาปานสติ มรณานุสสติ เพื่อละความสงสัย

ลักษณะ

    • กามฉันทะ เหมือนน้ำที่ถูกสีย้อม
    • พยาบาท เหมือนน้ำที่กำลังเดือด
    • ถีนมิทธะ เหมือนน้ำที่มีจอกแหนปกคลุมอยู่
    • อุทธัจจะกุกกุจจะ เหมือนน้ำที่เป็นคลื่น
    • วิจิกิจฉา เหมือนน้ำที่มีเปือกตม

บุคคลย่อมไม่อาจมองเห็นใต้น้ำได้สะดวกฉันใด เมื่อจิตมีนิวรณ์ บุคคลย่อมไม่อาจเห็นจิตตามจริงได้สะดวกฉันนั้น

@@@@@@@

ศีล 5 ที่สามารถควบคุมนิวรณ์

    • พยาบาท ให้ควบคุมด้วย การไม่ฆ่าสัตว์
    • อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
    • กามฉันทะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ประพฤติผิดในกาม
    • วิจิกิจฉา ให้ควบคุมด้วยการไม่พูดเท็จ
    • ถีนมิทธะ ให้ควบคุมด้วย การไม่เสพสิ่งเสพติดอันเป็นเหตุให้ประมาท

องค์ฌานที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์

    • วิตก แก้ถีนมิทธะ
    • วิจารณ์ แก้วิจิกิจฉา
    • ปีติ แก้พยาบาท
    • สุข แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ
    • เอกัคคตา แก้กามฉันทะ

เมื่อจิตเป็นอัปปนาสมาธิจนเกิดองค์ฌานทั้ง 5 ย่อมทำลายนิวรณ์ลงได้ ชั่วคราว คือในขณะอยู่ในฌาน และนอกฌาน เมื่อยังทรงอารมณ์ฌานไว้ได้อยู่ (ฌานยังไม่เสื่อม)

พละ 5 ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์

    • ศรัทธา แก้วิจิกิจฉา
    • วิริยะ แก้ถีนมิทธะ
    • สติ แก้พยาบาท
    • สมาธิ แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ
    • ปัญญา แก้กามฉันทะ



อาหารของนิวรณ์

ร่างกายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ทั้งห้า ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน
อาหารของนิวรณ์ในที่นี้ หมายถึง ปัจจัยอันนำมาซึ่งผลคือ นิวรณ์ (ซึ่งอาหารของนิวรณ์ทั้งหมดนั้น ถ้าสังเกตดูจะพบว่ามี การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย หรือ อโยนิโสมนสิการเป็นองค์ประกอบด้วยเสมอ)

อาหารของกามฉันท์

สิ่งที่เป็นอาหารให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกามฉันท์ที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งสวยๆงามๆ (ศุภนิมิต) หรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากได้ พบสิ่งสวย ๆ งาม ๆ

อาหารของพยาบาท

สิ่งที่เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือพยาบาทที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งที่ทำให้เกิดความขุ่นเคืองใจ ขัดใจ (ปฏิฆนิมิต)

อาหารของถีนมิทธะ

สิ่งที่เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งเหล่านี้ คือ

    1. ความไม่ยินดี ในที่อันสงัด หรือในธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล
    2. ความเกียจคร้าน
    3. ความบิดกายด้วยอำนาจกิเลส (บิดร่างกาย เอียงไปมา รู้สึกไม่สบาย ด้วยอำนาจกิเลส)
    4. ความเมาอาหาร
    5. ความที่ใจหดหู่

อาหารของอุทธัจจกุกกุจจะ

สิ่งที่เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย ในความไม่สงบใจ เปรียบเสมือนกองไฟที่คุกร่น แม้ไม่เห็นเปลวไฟแล้ว เหลือแต่ถ่านดำๆ ก็ยังมีความร้อนออกมาอยู่ ให้คนที่นั่งผิงไฟรู้สึกร้อนได้

อาหารของวิจิกิจฉา

สิ่งที่เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือวิจิกิจฉาที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย






อ้างอิง :-
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
Thank to :-
source : https://th.wikipedia.org/wiki/นิวรณ์
Photo : pinterest


ans1 ans1
อาการจิตเหนื่อย ของ คุณ P12108 น่าจะเป็น "ถีนมิทธะ" คงต้องทำความเพียรเพิ่ม ผมลงวิธีแก้ไขโดยละเอียดให้แล้วครับ
 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

คุณพระแม่โพสพ 7721

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แล้วถ้าเป็นกรณีที่ต้องผ่อนคลายล่ะครับ เช่นดั่งสายพิณ ตึงและหย่อน กรณีนี้เป็นไปได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 ask1 ans1

คำถามของ คุณพระแม่โพสพ 72 : "แล้วถ้าเป็นกรณีที่ต้องผ่อนคลายล่ะครับ เช่นดั่งสายพิณ ตึงและหย่อน กรณีนี้เป็นไปได้ไหมครับ"

ตอบ : ไม่ค่อยเข้าใจคำถามนัก น่าจะหมายถึง การปรับอินทรีย์ให้สมดุลย์ อินทรีย์ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา , อินทรีย์ของแต่ละคนแก่หรืออ่อนต่างกัน ผู้รู้แนะนำว่าให้เริ่มจากสติก่อน ,แนะนำให้ไปอ่านเรื่องเหล่านี้ครับ :-


การปรับสมดุลอินทรีย์ 5 ตามธาตุทั้ง 4 ในทางพระพุทธศาสนา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=33205.0

ความสมดุลของอินทรีย์ 5
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=33206.0

บาลานซ์อินทรีย์ เพื่ออะไร ทำไมต้องบาลานซ์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2913.0

ระหว่าง ศรัทธา กับ ปัญญา ควรเริ่มอย่างไร ในการภาวนา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5606.msg20973#msg20973

ศรัทธา กับ ปัญญา ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ คะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5800.msg21792;topicseen#msg21792

คุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ