ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธาตุกรรมฐานที่พระพุทธเจ้า มีขั้นตอนอย่างไรครับ  (อ่าน 9765 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

บุญสม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ท่านโกลิตะหรือพระโมคคัลลานะหลังจากบวชได้  ๗  วัน  ไปพักอาศัยอยู่  ณ  บ้านกัลลวาฬคาม(กัลลวาฬมุตตคาม)  บำเพ็ญสมณธรรม  ฟังธรรมว่าด้วยธาตุกัมมัฏฐานจากพระพุทธเจ้า  บรรลุพระอรหัตตผล
   ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณตามที่ตั้งความปรารถนาไว้


       ส่วนท่านอุปติสสะ  หรือพระสารีบุตร  หลังจากบวชได้  ๑๕  วัน  ไปพักอาศัยอยู่  ณ  ถ้ำสูกรขาตา
   เขตกรุงราชคฤห์  พร้อมกับพระพุทธเจ้า  เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตรแก่หลานชายของ
   ท่านชื่อทีฆนขปริพาชก  พระสารีบุตรส่งญาณไปตามแนวพระสูตร  บรรลุพระอรหัตตผล  ถึงที่สุดแห่งสาวก
   บารมีญาณตามที่ตั้งความปรารถนาไว้  (สารตฺถ.ฏีกา.  ๓/๖๒/๒๗๗-๒๗๘)




จากประโยชน์ ที่เป็นสีน้ำเงิน อยากทราบว่า ธาตุกรรมฐาน ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงแก่ พระโมคคัลลานะ มีรายละเอียดอย่างไร บ้างครับ

 :c017:
บันทึกการเข้า

Jet

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 93
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธาตุกรรมฐานที่พระพุทธเจ้า มีขั้นตอนอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 11:07:48 am »
0
สนใจเรื่อง ธาตุกรรมฐาน ครับ เชิญบรรยายต่อด้วยจ้า

 :s_hi: :c017: :25:
บันทึกการเข้า

Ice

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธาตุกรรมฐานที่พระพุทธเจ้า มีขั้นตอนอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 11:08:43 am »
0
ขอด้วยอีกคน เพราะมีความรู้สึกว่า เกี่ยวกับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ด้วยคะ

 :s_hi: :c017: :)
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ธาตุกรรมฐานที่พระพุทธเจ้า มีขั้นตอนอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 11:56:24 am »
0


   ธาตุกัมมัฏฐาน กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์,
       กำหนดพิจารณาร่างกายแยกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา


   ธาตุ  สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย,
       ธาตุ ๔ คือ
           ๑. ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน
           ๒. อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ
           ๓. เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ
           ๔. วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว เรียกสามัญว่า ธาตุลม ;

       ธาตุ ๖ คือ เพิ่ม
           ๕. อากาสธาตุ สภาวะที่ว่าง
           ๖. วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้


    จตุธาตุววัตถาน การกำหนดธาตุ ๔
      คือ พิจารณาร่างกายนี้ แยกแยะออกไปมองเห็นแต่ส่วนประกอบต่างๆ ที่จัดเข้าไปในธาตุ ๔ คือ ปฐวี   อาโป เตโช วาโย ทำให้รู้ภาวะความเป็นจริงของร่างกาย ว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น ไม่เป็นตัวสัตว์บุคคลที่แท้จริง



อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจากhttp://video.nationchannel.com




ปฐวีธาตุ ธาตุดิน คือธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน
       ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า;
       อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงปฐวีธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน
       แต่ในทางพระอภิธรรม ปฐวีธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำและในลมที่เรียกกันสามัญ ซึ่งรู้สึกถูกต้องได้ด้วยกายสัมผัส


อาโปธาตุ ธาตุที่มีลักษณะเป็นเอิบอาบ ดูดซึม, แปลสามัญว่า ธาตุน้ำ,
       ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ข้อความนี้ เป็นการกล่าวถึงอาโปธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และพอให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน
       แต่ในทางอภิธรรม อาโปธาตุเป็นสภาวะที่สัมผัสด้วยกายไม่ได้ มีในรูปธรรมทั่วไป แม้แต่ในกระดาษ หนังสือ ก้อนหิน ก้อนเหล็ก และแผ่นพลาสติก;


เตโชธาตุ ธาตุไฟ, ธาตุที่มีลักษณะร้อน, ความร้อน;
       ในร่างกาย ได้แก่ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวายและไฟที่เผาอาหารให้ย่อย

วาโยธาตุ ธาตุลม คือธาตุที่มีลักษณะพัดไปมา, ภาวะสั่นไหว เคร่งตึง ค้ำจุน;
       ในร่างกายนี้ ส่วนที่ใช้กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ
       (ตามสภาวะ วาโยธาตุ คือ สภาพสั่นไหว หรือค้ำจุน);


อากาศธาตุ สภาวะที่ว่าง, ความเป็นที่ว่างเปล่า,
       ช่องว่างในร่างกาย ที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องอวัยวะต่างๆ;


วิญญาณธาตุ ธาตุรู้, ความรู้แจ้ง, ความรู้อะไรได้



อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจากwww.bloggang.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 01, 2011, 12:14:58 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ธาตุกรรมฐานที่พระพุทธเจ้า มีขั้นตอนอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 12:06:43 pm »
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค


๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)

ธาตุมนสิการบรรพ
                [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม

   คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม

   ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล
   ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ


   จบธาตุมนสิการบรรพ


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔.  หน้าที่  ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273
ขอบคุณภาพจากwww.dhammajak.net




อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาสติปัฏฐานสูตร


               ธาตุมนสิการบรรพ              
               พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางการใส่ใจถึงกายโดยเป็นของปฏิกูลอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยทางการใส่ใจถึงกายโดยความเป็นธาตุ จึงตรัสธาตุมนสิการบรรพว่า ยังมีอีกข้อหนึ่ง เป็นต้น.

               ในธาตุมนสิการบรรพนั้น มีการพรรณนาอรรถพร้อมด้วยข้อเทียบเคียงอุปมาดังต่อไปนี้. คนฆ่าโคบางคน หรือลูกมือของเขา ที่เขาเลี้ยงดูด้วยอาหารและค่าจ้าง ฆ่าโคแล้วชำแหละแบ่งออกเป็นส่วนๆ แล้ว นั่ง ณ ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง คือที่ชุมทางย่านกลางทางใหญ่ ซึ่งไปได้ทั้ง ๔ ทิศ ฉันใด

ภิกษุ (ผู้บำเพ็ญธาตุกัมมัฏฐาน) ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมพิจารณากาย ซึ่งชื่อว่าตั้งอยู่ตามที่ เพราะตั้งอยู่ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งอิริยาบถทั้ง ๔ และซึ่งชื่อว่าดำรงอยู่ตามที่ เพราะตั้งอยู่ตามที่ อย่างนี้ว่า ในกายนี้มีปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ.

               กายสักว่าธาตุ ๔              
               ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่า เมื่อคนฆ่าโคเลี้ยงโคอยู่ก็ดี นำโคไปยังที่ฆ่าก็ดี นำมาผูกไว้ที่ฆ่าก็ดี กำลังฆ่าก็ดี มองดูโคที่ฆ่าตายแล้วก็ดี ความสำคัญว่าโค ยังไม่หายไปตราบเท่านี้ เขายังไม่ได้ชำแหละโคนั้นออกเป็นส่วนๆ ต่อเมื่อเขาชำแหละแบ่งออกแล้ว ความสำคัญว่าโคก็หายไป กลับสำคัญเนื้อโคไป เขามิได้คิดว่า เราขายโค คนเหล่านี้ซื้อไป ที่แท้ เขาคิดว่า เราขายเนื้อโค คนเหล่านี้ซื้อเนื้อโค เปรียบฉันใด

               แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อครั้งเป็นปุถุชนผู้เขลา เป็นคฤหัสก็ดี บรรพชิตก็ดี ความสำคัญว่าสัตว์หรือบุคคล ยังไม่หายไปก่อนตราบเท่าที่ยังไม่พิจารณาเห็นกายนี้นี่แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ แยกออกจากก้อน โดยความเป็นธาตุ ต่อเมื่อเธอพิจารณาเห็นโดยความเป็นธาตุ ความสำคัญว่าสัตว์จึงหายไป จิตก็ตั้งอยู่ด้วยดีโดยความเป็นธาตุอย่างเดียว.

               เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
               ภิกษุพิจารณาเห็นกายอันนี้นี่แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ


               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฯลฯ วาโยธาตุ ดังนี้ฉันนั้น.
               ก็พระโยคาวจรเปรียบเหมือนคนฆ่าโค ความสำคัญว่าสัตว์เปรียบเหมือนความสำคัญว่าโค อิริยาบถทั้ง ๔ เปรียบเหมือนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ความพิจารณาเห็นโดยความเป็นธาตุ เปรียบเหมือนการที่คนฆ่าโคนั่งแบ่งออกเป็นส่วนๆ นี้เป็นการพรรณนาบาลี ในธาตุมนสิการบรรพนี้. ส่วนกถาว่าด้วยกัมมัฏฐาน ท่านพรรณนาไว้พิสดาร ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้ว.

               คำว่า หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน หรือในกายของคนอื่น หรือในกายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกำหนดธาตุ ๔ ด้วยอาการอย่างนี้อยู่.
               ข้อต่อไปจากนี้ ก็มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น. แต่ในที่นี้มีข้อต่างกันอย่างเดียว คือ พึงประกอบความอย่างนี้ว่า สติกำหนดธาตุ ๔ เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจเป็นต้นแล้ว พึงทราบว่า นี้เป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดธาตุ ๔ ดังนี้. ส่วนคำที่เหลือก็เช่นกับที่กล่าวมาแล้วแต่ก่อนนั่นแล.


               จบธาตุมนสิการบรรพ   

 
อ้างอิง http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=2##ธาตุมนสิการบรรพ
ขอบคุณภาพจากwww.oknation.net
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ธาตุกรรมฐานที่พระพุทธเจ้า มีขั้นตอนอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 12:36:42 pm »
0


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ ชื่อมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เป็นสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖


๔๐. ธาตุวิภงคคสูตร
สูตรว่าด้วยการแจกธาตุ


    พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ เสด็จแวะพัก ณ กรุงราชคฤห์ ทรงอาศัยที่อยู่ของช่างหม้อชื่อภัคคะพักแรมคืน . ตรัสแสดงธรรมแก่กุลบุตรชื่อปุกกุสาติผู้บวชอุทิศพระองค์ แต่ไม่รู้จักพระองค์โดยใจความสำคัญ คือ:-

    บุรุษนี้มีธาตุ ๖ ,   มีอายตนะสำหรับถูกต้อง ๖,   มีความท่องเที่ยวไปแห่งใจ ๑๘ อโนปวิจาร ),   มีธรรมที่ควรตั้งใจไว้ในใจ ๔ ,   บุคคลตั้งอยู่ในธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจแล้ว กิเลสย่อมไม่เป็นไป เมื่อกิเลสไม่เป็นไป ก็เรียกได้ว่า มุนีผู้ระงับ,   ไม่ควรประมาทปัญญา ,   ควรตามรักษาสัจจะ ,   ควรเจริญการสละ,   ควรศึกษาความสงบ แล้วได้ตรัสอธิบายรายละเอียด.

    ๒. ในการแจกรายละเอียด   ทรงแสดงธาตุ ๖   ดิน ,  น้ำ ,  ไฟ,ลม ,  อากาศ ,  วิญญาณ ;  อายตนะ   สำหรับถูกต้อง ๖ คือ  ตา,  หู ,  จมูก ,   ลิ้น,   กาย ,   ใจ ;   
   มโนปวิจาร ๑๘   คือความท่องเที่ยวไปแห่งใจในโสมนัส ( ความดีใจ ) ๖   ในโทมนัส ( ความเสียใจ ) ๖   ในอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ )   รวมเป็น ๑๘ ; 


   ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔   คือ   ปัญญา ,  สัจจะ , จาคะ   ( การสละกิเลส ) ,   
   และอุปสมะ ( ความสงบระงับ ).   แล้วตรัสอธิบายแต่ละข้อโดยพิสดารต่อไปอีก โดยเฉพาะวิญญาณ   ตรัสอธิบายว่า   ได้แก่สิ่งที่รู้แจ้งสุข   ทุกข์  และไม่ทุกข์ไม่สุข   
( ดูมหาเวทัลลสูตรเทียบดูด้วย ในพระสุตตันตะ   เล่ม ๔   หน้า ๕ ) ในข้อ ๔๓ . มหาเวทัลลสูตร

    ๓. พระปุกกุสาติก็รู้ได้ทันทีว่าตนพบพระศาสดาแล้ว จึงก้มลงกราบขอประทานอภัยโทษ พระผู้มีพระภาคตรัสประทานอภัย.   พระปุกกุสาติ ( ซึ่งเดิมบวชเอาเอง )   จึงกราบทูลขอบวชบรรพชาอุปสมบท.   ตรัสสั่งให้หาบาตรจีวร   ในขณะที่หาบาตรจีวรนั้น   ก็ถูกแม่โคขวิดถึงแก่ชีวิต.   เมื่อมีผู้กราบทูลถามถึงคติในสัมปรายภพ ( ภพเบื้องหน้า )   ของปุกกุสาติ   ก็ตรัสตอบว่า เป็นอนาคามี   เพราะละสัญโญชน์เบื้องต่ำ   ๕ ประการได้.


อ้างอิง พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน(อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)   
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/6.4.html
ขอบคุณภาพจากhttp://forum.camerartmagazine.com




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


๑๐. ธาตุวิภังคสูตร (๑๔๐)

 [๖๗๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไปก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่


บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะพึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก ฯ

ฯลฯ......ฯลฯ.......ฯลฯ

[๖๘๔] ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี

ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนคือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า


หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน
ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น

พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดปฐวีธาตุได้ ฯ


ฯลฯ......ฯลฯ.......ฯลฯ

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๘๗๔๘ - ๙๐๑๙.  หน้าที่  ๓๗๐ - ๓๘๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=8748&Z=9019&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=673
ขอบคุณภาพจากhttp://image.dek-d.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ธาตุกรรมฐานที่พระพุทธเจ้า มีขั้นตอนอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 12:54:53 pm »
0
 
  ขอบอกก่อนว่า การพิจาณาเรื่องธาตุนี้ เหมาะแก่ผู้ที่มี "พุทธจริต"

 การพิจารณาธาตุนั้น ในทางกรรมฐานมัชฌิมาฯ พระอาจารย์ได้สอนไว้แล้ว

 แต่ผมไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเผย จุดเด่นก็คือ การเดินจงกรมธาตุ

 หากเดินถูกวิธี จะได้สมาธิเร็วมาก



  หากสนใจ การเจริญกรรมฐาน "จตุธาตุววัตถาน" ในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค เชิญคลิกลิงค์นี้ได้เลย
 http://www.larnbuddhism.com/visut/2.19.html

 ผมจะแนบไฟล์การเจริญกรรมฐาน "จตุธาตุววัตถาน" ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ มาให้ดาวน์โหลด

 ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า ท่านสอนตามแนวคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค และคัมภีร์นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของกรรมฐานมัชฌิมาฯ

 ขออภัยที่ให้รายละเอียดมากกว่านี้ไม่ได้
  :03: :91: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

whuchi

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 80
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธาตุกรรมฐานที่พระพุทธเจ้า มีขั้นตอนอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 05:59:50 pm »
0
เยี่ยมครับ คำอธิบาย ทำให้มองเห็นหลายมุม ทั้ง ธาตุกรรมฐาน ในมหาสติปัฏฐาน ใน อภิธรรม ในแนวปฏิบัติ

ก็คือการพิจารณา แยกธาตุ ออกเป็น ธาตุ ดิน ไฟ น้ำ ลม

 ขอบคุณมากครับ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า

มหายันต์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 154
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธาตุกรรมฐานที่พระพุทธเจ้า มีขั้นตอนอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 06:10:55 pm »
0
ยอดเยี่ยม สมบูรณ์ ด้วยเนื้อหา
 แต่ก็ยังอยากรู้ในแนว กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับด้วยนะครับ

  ถ้าผมจำไม่ผิด ในพระธรรมปีติ แยกเป็น ธาตุ ถึง 5 ธาตุ

   :s_hi: :coffee2:
บันทึกการเข้า

แก้ว

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธาตุกรรมฐานที่พระพุทธเจ้า มีขั้นตอนอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 09:27:59 am »
0
อ่านแล้ว พอจะเข้าใจ บ้างคะ

อนุโมทนา กับทุกท่านที่มอบความรู้ ให้คะ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ธาตุกรรมฐานที่พระพุทธเจ้า มีขั้นตอนอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 09:50:23 am »
0
เป็น เรื่องที่น่าอ่าน เพื่อการพอกพูนกรรมฐาน ทุกท่านโปรดได้อ่านกันด้วยนะจ๊ะ

 :s_good:
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา