ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - samathi
หน้า: 1 [2] 3
41  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ทำไมต้องมีเปิดผนึกจดหมาย ด้วยครับ ทำไมสมาชิก จึงไม่ถามที่กระทู้โดยตรงครับ เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 06:55:01 pm
ทำไมต้องมีเปิดผนึกจดหมาย ด้วยครับ ทำไมสมาชิก จึงไม่ถามที่กระทู้โดยตรงครับ

 :smiley_confused1:
42  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว แต่ยังรักแฟนเก่าอยู่ อย่างนี้ถือว่านอกใจหรือไม่คะ เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 06:37:39 pm
ถึงเลิกกันแต่ก็ไม่ได้เป็นศัตรูกัน ก็คุยกันได้แบบคนรู้จัก แต่ต้องรักษาระยะห่าง กับรักษาใจตนเองให้มั่นคงไว้  อย่าให้มีกันพบกันแบบสองต่อสอง ถ้าจะพบกันต่างฝ่ายต่างพาครอบครัวไปด้วย ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าไป
43  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปฏิบัติมาหลายปี ทำไมจึงไม่สำเร็จเสียที คะ เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 06:11:52 pm
อ้างถึง
งเจอญาณม้วนเสื่อเข้าให้แล้ว

ไม่เข้าใจคำว่า ญาณม้วนเสื่อ

โปรดอธิบายขยายความด้วยคะ

 :smiley_confused1:
44  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.thaniyo.com/ วัดวะภูแก้ว เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 06:05:27 pm


http://www.thaniyo.com/

วัดวะภูแก้ว  คะ
45  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ขอเชิญเข้าร่วมปฏิบัติธรรม วันวิสาขบูชา ระหว่างวันที่ 14-15-16-17 พฤษภาคม 2554 เมื่อ: เมษายน 27, 2011, 07:29:14 pm
อนุโมทนา ด้วยครับ
 :25:
46  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระพุทธเจ้า ตรัสว่าทุกสิ่ง อยู่ภายใต้กฏพระไตรลักษณ์ เมื่อ: เมษายน 04, 2011, 09:45:19 pm
อ้างถึง
แต่หลวงตามหาบัวบอกว่า นิพพานไม่ใช้ไตรลักษณ์

ไม่่ใช่อนัตตา และไม่ใช่อัตตา  ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน

ตามความเข้าใจ เบื้องต้น ก็หมายความว่า หลวงตามหาบัว ยืนยันว่า นิพพาน พ้นจากสภาพพระไตรลักษณ์

ตามความคิด ผมก็ว่าน่าจะใช่ นะครับเพราะว่า ถ้านิพพาน ไม่พ้นจากสภาพพระไตรลักษณ์ นิพพาน ก็ต้องมีการเกิด และดับ และ เป็นสภาวะ ที่สูญ ตาม สุญญตนิพพาน


   ที่นี้คำว่า นิพพาน ปรากฏในพระไตรลักษณ์ ด้วยอำนาจญาณ

   อนิมิตต วิโมกข์  ( นิพพาน )

   อัปปณิหิต วิโมกข์ ( นิพพาน )

   สุญญต วิโมกข์ ( นิพพาน )

   จากการตีความ ว่า วิโมกข์ และ นิพพาน คือ ศัพท์เดียวกัน

   ดังนั้นจะเห็นว่า ถ้าเกิดญาณทัศนะที่แจ่มชัดขึ้นแล้ว ก็จะพ้นจากสภาพพระไตรลักษณ์ กลายเป็นวิโมกข์ หรือ นิพพาน นั้น ๆ

   ผมอาจจะเข้าใจผิด ลองตีความตามศัพท์ก่อน นะครับ

    :13:
47  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ขอเชิญร่วมงานบุญ เททองหล่อรูปเหมือนหลวงปู่สรวง ณ วัดมงคลเทพประสิทธิ์ จ.ลพบุรี เมื่อ: เมษายน 01, 2011, 07:51:38 pm
อ้างถึง
นายจำเริญ ไกรเทพ, นายธวัชชัย สุพันธ์สาย เป็นตัวแทนกลุ่มพนักงาน R C I group นำถวาย



โดยได้นำถวายเป็นทางการไปแล้วครั้งที่ ๑ จำนวน ๑๐,๓๙๐ บาท

วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔ เวลา ๑๑.๐๐ น.



และจะมีการจัดนำถวายเพิ่มเติมอีกในครั้งที่ ๒ ในวาระต่อไป

อนุโมทนาด้วย จ้า

 :25:
48  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ขอเชิญร่วมงานไหว้ครูบูรพาจารย์ของพระอาจารย์กฤษฎาพร กนฺตวีโร หลวงพี่ต่อวัดมณีวงศ์ เมื่อ: มีนาคม 17, 2011, 09:30:41 pm
วัดอยู่ในเมืองหรือไม่ครับ

 :13:
49  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / Re: รายการ RDN ช่วงนี้ไม่ได้ยินเสียงครับ เมื่อ: มีนาคม 17, 2011, 04:25:15 pm
ชอบฟังคะ แต่ก็ฟังได้เป็นบางช่วงคะ ส่วนใหญ่จะฟังประมาณ 20.00 น.คะ

 :25:
50  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ในขณะที่มีอารมณ์ โศรกเศร้าอยู่ ควรเจริญกรรมฐานอย่างไร คะ เมื่อ: มีนาคม 12, 2011, 02:00:58 pm
ในสภาวะ บางครั้งเราก็พบความเศร้าโศรก และ เจอเพื่อนที่มีปัญหา ความเศร้าโศรก หลากเรื่อง

ในขณะที่จิตมีความเศร้าโศรก ควรเจริญกรรมฐาน อย่างไร คะ

 :25:
51  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เห็นความจริงคือ เห็นอะไร เมื่อ: มีนาคม 12, 2011, 01:59:30 pm
เวลาไปวัดฟังธรรม มักจะได้ยินพระท่านเทศน์สอนให้เห็นความจริง

การเห็นความจริง นั้นคือเห็นอย่างไร จึงจะเรียกว่า เห็นความจริง


 :c017:
52  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: พื้นที่ชีวิต - เด็กวัดชื่อ สิงห์ 10Mar11 เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 06:26:16 pm
เป็นรายการที่ดีมาก ๆ เลยคะ ดูแล้วเำพิ่มศรัทธากำลังใจ ในการภาวนา

เพราะได้เห็นชีวิตอีกมุมหนึ่ง ที่เราไม่รู้มาก่อน โดยเฉพาะเราผู้หญิงอาจจะไม่รู้ชีิวิต แบบนี้

กันเลยนะคะ ....สาูธุ

 :25:
53  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: นิทานธรรม เรื่อง เชื่อฉันสิ เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 06:14:26 pm
อ่านแล้วรู้สึก ได้เลยว่า อาจารย์ที่มีลูกศิษย์อย่างนี้ เหนื่อยแน่ ๆ

ส่วนลูกศิษย์ ขาดอะไรไปอย่างหนึ่งน้า คิดไม่ออก....

 :34:
54  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เพื่อนสมาชิก มีความคิดอย่างไร กับวัดติดทีวี ในห้องส้วม จ๊ะ เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 06:13:07 pm
ก็ดีนะ อาศัยไปนั่งดูรายการในห้องส้วม ไม่ต้องออกมาเลยเนอะ

 :57:
55  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เกิดซึนามิ คลื่นสูง 15 เมตร แผ่นดินไหว 9 ริกเตอร์ ที่ญี่ปุ่นในวันนี้ 11 มี.ค.54 เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 06:12:19 pm
ด่วน! เกาะฮอนชูญี่ปุ่น เกิดแผ่นดินไหว 8.9 ริกเตอร์ จนทำให้ตึกโตเกียวเกิดเพลิงไหม้ คนหนีตายจ้าละหวั่น อาจเกิดสึนามิตามมา

วันนี้ (11 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักข่าวต่างประเทศรายงานด่วน ประเทศญี่ปุ่นเกิดแผ่นดินไหว 8.9 ริกเตอร์ จนทำให้ตึกโตเกียวเกิดเพลิงไหม้ คนหนีตายจ้าละหวั่น ศูนย์เตือนภัยอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนด่วน อาจเกิดสึนามิตามมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมอุตุนิยมวิทยาของไทย ประกาศแผ่นดินไหว บริเวณทางตะวันออกของเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ที่ละติจูด 38.61 องศาเหนือ ลองจิจูด 142.14 องศาตะวันออก ความลึก 5 กิโลเมตร ขนาด 8.9 ริกเตอร์ เมื่อเวลา 12.46 น.

เจ้าหน้าที่ตำรวจญี่ปุ่นรายงานความ เสียหายล่าสุด ในจังหวัดมิยะงิ โดยระบุว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว 8.9 ริกเตอร์ ส่งผลกระทบทำให้เกิดคลื่นสึนามิความสูงประมาณ 5 เมตร เข้ากระทบชายฝั่ง สิ่งปลูกสร้าง รถยนต์ เรือได้รับความเสียหายจำนวนมาก ระบบสาธารณูปโภคเสียหายเป็นบริเวณกว้าง

รายงานจากสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่า ได้คำนวณความเสี่ยงคลื่นสึนามิ ว่า หากจะมาถึงประเทศไทย ที่จังหวัดนราธิวาส ภายในเวลา 16 ชั่วโมง หรือเช้ามืดวันที่ 12 มี.ค. แต่จะสรุปว่ามีโอกาสมาถึงหรือไม่ก็ต้องผ่านประเทศเกาหลี หรือประเทศจีนด้านตะวันออกภายใน 5 ชั่วโมง หรือราว 18.00 น.วันนี้

น.อ.สม ศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ศูนย์เตือนภัยฯ ได้ประสานกับกรมอุตุนิยมวิทยา เฝ้าระวังเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ขอให้ประชาชนอย่าเพิ่งแตกตื่น และเฝ้าติดตามข่าวสารจากศูนย์เตือนภัยอย่างใกล้ชิด.


Thanks dailynews.co.th
56  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เกิดซึนามิ คลื่นสูง 15 เมตร แผ่นดินไหว 9 ริกเตอร์ ที่ญี่ปุ่นในวันนี้ 11 มี.ค.54 เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 06:11:29 pm
http://ht.cdn.turner.com/cnn/big/world/2011/03/11/sot.tsunami.hit.japan.cnn_640x360_dl.flv
57  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เกิดซึนามิ คลื่นสูง 15 เมตร แผ่นดินไหว 9 ริกเตอร์ ที่ญี่ปุ่นในวันนี้ 11 มี.ค.54 เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 06:09:37 pm


กำลังดูข่าวอยู่เหมือนกันค่ะ น่ากลัวมากๆๆๆ จขกท.รายงานข่าวได้เร็วมาก ตอนนี้มีภาพเหตุการณ์สดที่ญี่ปุ่น (ช่อง 7 )
มีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 คน บ้านเรือน 3 ล้านหลังคาไม่มีไฟฟ้าใช้
มีคนไทยอยู่ในบริเวณเกิดเหตุประมาณ 300 คน กำลังเร่งช่วยเหลือ
แรงสั่นสะเทือนถึงกรุงปักกิ่ง  โตเกียว มีไฟไหม้ 6 จุด
น่ากลัวเนาะ
58  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / กำหนดการพิธีสมโภชเบิกเนตรพระพุทธศิลามหาบารมี 17 มีนาคม 2554 เมื่อ: มีนาคม 10, 2011, 07:47:02 pm
กำหนดการพิธีสมโภชเบิกเนตรพระพุทธศิลามหาบารมี
ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมชำระจิต บารมีธรรม
ต.เขาคันทรง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
วันที่ 17 มีนาคม 2554


 
พิธีการเริ่ม 09.00 น.
09.00 น.           พิธีสมโภชพระพุทธศิลามหาบารมี                                                                           
                       บรรเลงดนตรีไทยโดยชมรมข้าราชการบำนาญ
10.00 น.           พระสงฆ์ 9 รูป (พระวัดเก่าโบราณ) เดินทางมาถึง บารมีธรรม
10.09 น.           เจริญพระพุทธมนต์
                       พิธีเบิกเนตรพระพุทธศิลามหาบารมี
11.00 น.           ถวายภัตตาหารเพล
                       บรรเลงดนตรีไทยโดยชมรมข้าราชการบำนาญ
                       ถวายสังฆทานพระสงฆ์ 9 รูป พระสงฆ์อนุโมทนา (เสร็จพิธี)
                       ขอเชิญรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
13.00 น.           พิธีปิดการสมโภชน์พระพุทธศิลามหาบารมีเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ


http://www.paramidhamma.com/index.php?name=news&file=readnews&id=6
59  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ร่วมปฏิบัติธรรม ในวันที่ 13-14-15 เมษายน 2554 ณ lotuscamp อำเภอบ่อพลอย เมื่อ: มีนาคม 10, 2011, 07:43:38 pm

ขอเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมปฏิบัติธรรม ในวันที่ 13-14-15 เมษายน 2554

ณ lotuscamp อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี..ครับ

ฟรี!!!ตลอดงานครับ
ปิดรับลงทะเบียน วันที่ 10 เมษายน 2554 เวลา 12.00 น.




สอบถามรายละเอียด ติดต่อได้ที่

คุณธานินทร์  แก้วสำราญ เบอร์โทรศัพท์ 081-0118256
ลงทะเบียนกดที่นี่ครับ



อาจารย์ ศุภกิจ  อัครเบญจพล ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมบ้านป่าสมาธิ ณ.ค่ายอัครเบญจพล อำเภอบ่อพลอยจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเปิดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการนั่ง สมาธิแก่ผู้สนใจทั่วไป เป็นการอบรม 3วัน 2คืน ซึ่งได้เปิดอบรมมา27 รุ่นแล้ว
(ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย  แต่ต้องเดินทางไปเอง)


โดยปัจจุบันมีการอบรม   ดังนี้

แบบที่ 1 สำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานมาก่อน
หรือผู้สนใจการนั่งสมาธิแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร
รับสมัครรุ่นละ 150คน


 

ลงทะเบียนกดที่นี่ครับ


 

 กำหนดการปฏิบัติธรรม

วันที 13-14-15 เมษายน 2554

ณ ค่ายอัครเบญจพล (Lotus camp)

อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี

..............................................................................

 


วันที่ 13 เมษายน 2554

7.00-12.00 น. ผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมลงทะเบียน ,เบิกเครื่องนอน ,เข้าที่พัก


 

12.00-12.50 น. เชิญรับประทานอาหารกลางวัน ที่โรงอาหาร

13.00-16.30 น. พิธีเปิดการปฏิบัติธรรม และ ร่วมปฏิบัติธรรม รับชมสื่อธรรมะพร้อมกันบนศาลา

17.30-19.00 น. รับประทานอาหาร และ พักผ่อนตามอัธยาศัย

19.00-22.00 น. ร่วมปฏิบัติธรรม และ รับชมสื่อธรรมะพร้อมกันบนศาลา

22.00 น. เป็นต้นไป พักผ่อน
             
              วันที่ 14 เมษายน 2554

7.00-7.50 น. ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย

8.00-8.50 น. ร่วมรับประทานอาหารเช้าพร้อมกัน

9.00-11.50 น. ร่วมปฏิบัติธรรม และ รับชมสื่อธรรมะพร้อมกันบนศาลา

11.50-12.50 น. รับประทานอาหารกลางวันพร้อมกัน

13.00-16.15 น. ร่วมปฏิบัติธรรม และ รับชมสื่อธรรมะพร้อมกันบนศาลา

17.30-18.50 น. รับประทานอาหารเย็น และ พักผ่อนตามอัธยาศัย

19.00-22.00 น. ร่วมปฏิบัติธรรม และ รับชมสื่อธรรมะพร้อมกันบนศาลา

 22.00 น. เป็นต้นไป พักผ่อน





     
               วันที่ 15 เมษายน 2554 

7.00-7.50 น. ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย

8.00-8.50 น. ร่วมรับประทานอาหารพร้อมกัน

9.00-10.15 น. ร่วมปฏิบัติธรรมพร้อมกันบนศาลา

10.30-11.30 น. พิธีทำบุญเลี้ยงพระ และ ถวายสังฆทาน

11.50-12.50 น. รับประทานอาหารกลางวันพร้อมกัน

13.00-13.30 น. พิธีปิดการปฏิบัติธรรม และ ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกพร้อมกันบนศาลา

13.30 น. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ






สิ่งที่ต้องเตรียมนำไปสถานที่ปฏิบัติธรรม


1.  ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม ร่ม(เวลาฝนตก)

2.  ชุดขาวสำหรับปฏิบัติธรรม

3.  เครื่องใช้ส่วนตัว

4.  ยาแก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้หวัด และอื่นๆตามความจำเป็น (กรณีมีโรคประจำตัวให้นำยาไปด้วย)

5.  ยาฉีดกันยุง หรือยาทากันยุง

6.  รองเท้าฟองน้ำ

7.  น้ำยาล้างห้องน้ำ (ใช้ทำความสะอาดก่อนกลับ)

8.  ไฟฉาย

*ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความเสมอภาคกัน*


http://www.lotuscamp.com/index.php?mo=5&qid=648914
60  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญบวชถือศีัลจาริณี7-16มีนาคม 2554 ณ.วัดแสงสุริยาราม กำแพงเพชร เมื่อ: มีนาคม 10, 2011, 07:38:06 pm
เชิญบวชถือศีัลจาริณี

7-16 มีนาคม 2554

ณ.วัดแสงสุริยาราม ตำบลวังชะโอน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร   
 
เนื่อง จากวัดแสงสุริยาราม ต.วังชะโอน อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชรได้จัดงานเข้าอยู่ปริวาสกรรมประพฤติวัตรปฏิบัตรธรรมจึงขอเชิญชวน ญาติโยมญาติธรรมทั้งหลายทั้งชาย-หญิงได้บวชถือศีลจาริณี ในวันที่ ๗มีนาคมถึง๑๖มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ดังนั้นจึงเชิญชวนญาติธรรมทุกท่านได้มาร่วมงานประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมใน ครั้งนี้   โทร.0899945500  การเดินทางนั่งรถตู้ตรงข้ามหมอชิตใหม่ คิวจ่าดำมาลงที่วัดแสงสุริยาราม ค่ารถ ๓๐๐ บาท ส่งถึงวัด หรือนั่งกรุงเทพฯ-สายเหนือผ่านกำแพงเพชร ลงบ้านสลกบาตร อำเภอขาณุฯโทรให้รถออกไปรับ หรือผ่านพิษณุุโลก ลงบ้านทุ่งใหญ่ อำิเภอโพธิ์ประทับช้าง โทรให้รถออกไปรับ โทร.0899945500 ตลอด 24 ชั่วโมง 
61  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ปัจจุบัน นี้มีตัวอย่าง ของฆราวาส ที่ปฏิบัติได้ธรรม บ้างหรือป่าวคะ เมื่อ: ธันวาคม 16, 2010, 10:37:59 pm
ปัจจุบันนี้ มีผู้กล่าวว่าตนปฏิบัติ ได้อย่างนั้น อย่างนี้มากมายครับ

แต่เท่าที่ผม ลงไปสัมผัส และ ติดตามด้วยหลายท่าน ก็ขอบอกตรง ๆ ว่า

ผมยอมรับพระสงฆ์ มากกว่าครับ

 เพราะส่วนใหญ่ สายฆราวาส มุ่งกอบโกยในศาสนา ครับ ใช้ หลักความเชื่อ ทำให้คนหลงศรัทธา

และเป็นสานุศิษย์ ตามด้วยการเป็นชมรม และ ตามกันเป็นขบวน และสุดท้าย ก็เป็นเรื่องหาผลประโยชน์

บางท่านก็เขียนหนังสือขาย ทำยาขาย ทำวัตถุมงคลออกมาขายกัน ตามแต่ที่จะหลอกชาวบ้านได้

สำหรับ สายฆราวาสนั้น ผมเองยังมองไม่เห็นใครที่จะเป็นที่ น่าเคารพได้จริง

ถึงแม้ว่า พระอริยะบุคคล จะมีได้ในเพศฆราวาส แต่ความเป็นจริง เอง ผมก็ยังสงสัยอยู่ว่า

พระอรหันต์ ที่อยู่ในเพศฆราวาส นั้นจะมีอยู่จริง ๆ หรือ ครับ

แต่สำหรับ สายพระสงฆ์ สมมุติสงฆ์นั้น เรามองที่ปฏิปทา ปฏิบัติได้ง่ายกว่าครับ

เพราะพระสงฆ์ นั้นท่านจะละ และ ไม่ยึดติด ไม่ต้องอ้างโลกมาเป็นเหตุ เป็นผล เราจะเห็นได้ง่าย

แต่พระสงฆ์ ที่ออกมาทำงาน เสียสละ หลังจากท่านบรรลุธรรม แล้วผมเองก็ว่าจะเห็นน้อยมากนะครับ

ว่าแต่ ต้องการถามฝ่าย ฆราวาส ไปเพื่ออะไรครับ


จะนำมาเป็นตัวอย่าง หรือ จะตามไปเป็นสานุศิษย์ครับ

 :smiley_confused1:
62  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ครอบครัว ไม่กินหวาน เมื่อ: ธันวาคม 16, 2010, 10:27:09 pm
ผงเเห่งโรคและความตายที่เรากินทุกวัน!!!

ผงเเห่งความเจ็บป่วยที่ว่าคือ???

น้ำตาลนั่นเอง!!!สิ่งที่ผมจะกล่าวเป็นเรื่องจริงที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนเเละกระทู้นี้ไม่ใช่กระทู้อ่านเล่น!!!
ความ หวานในที่นี่คือทุกอย่างที่มีรสหวานเพราะมันคือน้ำตาลเหมืนอกัน เราอาจเคยได้ยินคำว่าทำไมโชคร้ายยังงี้ที่ป่วยอย่างงี้เเต่ความจริงกว่าร้อย ละ90นี่มีสาเหตุที่สมควอย่างยิ่งที่จะป่วยซึ่งหลังจากที่อ่านเเล้วคงเข้าใจ สุขภาพมากขึ้นนะครับ
โรคและอาการที่เกิดจากกินน้ำตาล110อย่างด้วยกันดังนี้
1กดการทำงานภูมิต้านทาน
2ทำลายสมดุลเกลือเเร่ของร่างกาย
3ทำให้สมาธิสั้นอารมณ์แปรปรวน
4ทำให้ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง
5ลดความสามารถการต้านทานเชื้อโรค
6ลดความยืดหยุ่นของผิวหนัง
7ทำให้ระดับHDLลดลง
8ทำให้ร่างกายขาดธาตุโครเมียม
9นำไปสู่การเป็นมะเร็งได้
10ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารสูงขึ้น
11ทำให้ขาดธาตุทองเเดง
12รบกวนการดูดซึมเเคลเซียมและเเมกนีเซียม
13ทำให้สายตาเเย่ลง
14ทำให้สารในสมองบางตัวถูกกระตุ้นให้ทำงานผดปกติ
15ทำ ให้มึนหัวคิดอะไรไม่ออกเพราะอินซูลินถูกใช้มากไปจนสร้างไม่ทันเเละน้ำตาลจะ ถูกใช้เร็วมากไปทำให้น้ำตาลลดลงมากหรือคิดง่ายง่ายทุบเเรงก็เจ็บมากทุบเบาก็ เจ็บน้อย
16ทำให้ระบบทางเดินอาหารเป็นกรด
17ทำให้มีการหลั่งแอดดรีนาลินอย่างรวดเร็วมากไป
18ทำให้ดูดซึมอาหารผืดปกติ
19ทำให้เเก่เร็ว
20ฟันผุ
21ทำให้อ้วน
22ลำไส้อักเสบ
23ทำให้เป็นโรคสุราเรื้อรัง
24กระเพราะเป็นเเผล
25ข้ออักเสบ
26ทำให้เป็นดรคหอบหืด
63  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ทำไมเวลา ท่องคำภาวนา ไม่ต้องให้ใช้ความคิด ครับ เมื่อ: ธันวาคม 16, 2010, 10:24:53 pm
ทำไมเวลา ท่องคำภาวนา ไม่ต้องให้ใช้ความคิด ครับ

เพราะถ้าไม่ใช้ ความคิด ผมว่า พิจารณาอะไร ไม่ได้นะครับ

ถ้าไม่ใช้ความคิด จะวิปัสสนา ได้อย่างไร ?

 :25:
64  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การสัมปยุตธาตุ มีความจำเป็นอย่างไร เมื่อ: ธันวาคม 16, 2010, 10:23:27 pm
การสัมปยุตธาตุ มีความจำเป็นอย่างไร

 เกี่ยวกับธาตุ จำเป็นต้องทำอะไรกับ ธาตุ ครับ

 :25:
65  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สมาธิ กับ สติ คือสภาวะเดียวกันหรือไม่ เมื่อ: ธันวาคม 16, 2010, 10:20:39 pm
สมาธิ กับ สติ คือ สภาวะเดียวกันหรือไม่

อะไรเป็นเหตุให้เกิด สมาธิ

อะไรเป็นเหตุให้เกิด สติ

วิปัสสนา ต้องการสมาธิ หรือ ต้องการ สติ

 :25:
66  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เราสามารถ ฝึกสมาธิ โดยไม่ใช้คำภาวนา ได้หรือ ไม่ เมื่อ: ธันวาคม 16, 2010, 10:18:29 pm
เราสามารถ ฝึกสมาธิ โดยไม่ใช้คำภาวนา ได้หรือ ไม่

คือ นั่งสมาธิ แล้วไม่ต้องภาวนาอะไร แต่ให้เป็นสมาธิ ทำได้หรือป่าวครับ

67  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นามผู้สร้างหนังสือพระกรรมฐานห้อง ๔ เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 09:07:00 am
กราบนมัสการ พระคุณเจ้า

หนังสือพิมพ์เสร็จ จำหน่ายเล่มละกี่บาท คะ ต้องการซื้อแจกญาติในวันปีใหม่ด้วยคะ

 :25: :25:
68  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สัญญา 10 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 08:59:34 am
พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๔

             อาพาธสูตร บางทีก็นิยมเรียกกันไปว่าคิริมานนทสูตร เนื่องจากเป็นพระสูตรที่แสดงแก่พระอานนท์เพื่อให้แสดงแก่พระคิริมานนท์ที่กำลังอาพาธทนทุกทรมานอยู่  เป็นพระสูตรที่แสดงสัญญา ๑๐ ที่มีอานิสงส์ทําให้หายจากการอาพาธเจ็บป่วย, สงบระงับความเจ็บป่วย  เป็นฐานะที่จะมีได้ คือเกิดขึ้นได้,  การเจริญในสัญญา ๑๐ ก็คือการเจริญวิปัสสนาอันดีงามยิ่งอย่างหนึ่งนั่นเอง อันยังให้จิตสงบระงับและเกิดนิพพิทาญาณ จึงยังให้เเกิดอานิสงส์ในทางสงบระงับโรคภัยไข้เจ็บได้ดียิ่ง (อ่านคำแนะนำในการนำไปปฏิบัติเพื่อรักษาโรคภัยด้านล่าง)

อาพาธสูตร

             [๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก

ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก

ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า ฯ

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่คิริมานันทภิกษุไซร้

ข้อที่อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

             สัญญา ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ

อนิจจสัญญา ๑       อนัตตสัญญา ๑   

อสุภสัญญา ๑         อาทีนวสัญญา ๑   

ปหานสัญญา ๑       วิราคสัญญา ๑   

นิโรธสัญญา ๑        สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ๑   

สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา ๑     อานาปานัสสติ ๑ ฯ

             ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี  ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

รูปไม่เที่ยง 

เวทนาไม่เที่ยง 

สัญญาไม่เที่ยง 

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง 

วิญญาณไม่เที่ยง 

ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา ฯ  (แสดงอุปมาของขันธ์ ๕)

             ดูกรอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี  ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า 

จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา, 

หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา, 

จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา, 

ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา, 

กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา, 

ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา 

ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา ฯ

(ทั้งอนิจจสัญญาและอนัตตสัญญา ควรอ่านพระไตรลักษณ์ประกอบการพิจารณา จึงยังประโยชน์สูงสุด)

             ดูกรอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแล  เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป  เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา

มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ  เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ  ว่าในกายนี้มี

ผม  ขน  เล็บ  ฟัน  หนัง  เนื้อ  เอ็น  กระดูก  เยื่อในกระดูก  ม้าม 

หัวใจ  ตับ  พังผืด  ไต  ปอด  ไส้ใหญ่  ไส้น้อย  อาหารใหม่  อาหารเก่า  (มันสมอง) (ทั้ง ๒๐ นี้จัดเป็นปฐวีธาตุหรือธาตุดินนั่นเอง)

ดี  เสลด  น้ำเหลือง  เลือด  เหงื่อ  มันข้น  น้ำตา  เปลวมัน  น้ำลาย  น้ำมูก  ไขข้อ  มูตร  (ทั้ง๑๒ จัดเป็นอาโปธาตุหรือธาตุน้ำด้วยเช่นกัน)

ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ 

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอสุภสัญญา ฯ (ปฏิกูลมนสิการบรรพ ก็เรียก, หรือทวัตติงสาการ)

             ดูกรอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี  ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

กาย(พึงเข้าใจด้วยว่า ทุกบุคคล เขา เรา ไม่มียกเว้นใดๆทั้งสิ้น)นี้ มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้นอาพาธต่างๆ จึง(อาจ)เกิดขึ้น(กับทุกบุคคลได้)ในกายนี้ คือ

โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละออง บวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง

อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน  อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน  อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน  อาพาธมีไข้สันนิบาต  อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน  อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ  อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง  อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม

ความหนาว  ความร้อน  ความหิว  ความกระหาย  ปวดอุจจาระ  ปวดปัสสาวะ

(กายย่อมอาจมีโรคภัย ที่เป็นทุกข์และโทษอันเป็นธรรมหรือธรรมชาติของกาย   และย่อมต้องเกิดความรู้สึกรับรู้ในทุกข์ต่างๆ(ทุกขเวทนา)เป็นธรรมดาจากการผัสสะ  ดังเช่นเมื่อมีการกระทบใน เย็น ร้อน อ่อน แข็ง กล่าวคือย่อมเกิดทุกขเวทนาอันเป็นทุกข์ธรรมชาติหรือเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติของกายเป็นธรรมดานั่นเอง)

ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วยประการดังนี้   

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา ฯ

             ดูกรอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมไม่ยินดี  ย่อมละ  ย่อมบรรเทา  ย่อมทำให้หมดสิ้นไป  ย่อมทำให้ถึงความไม่มี  ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว

ย่อมไม่ยินดี  ย่อมละ  ย่อมบรรเทา  ย่อมทำให้หมดสิ้นไป  ย่อมทำให้ถึงความไม่มี  ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว

ย่อมไม่ยินดี  ย่อมละ  ย่อมบรรเทา  ย่อมทำให้หมดสิ้นไป  ย่อมให้ถึงความไม่มี  ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว

ย่อมไม่ยินดี  ย่อมละ  ย่อมบรรเทา  ย่อมทำให้หมดสิ้นไป  ย่อมให้ถึงความไม่มี  ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าปหานสัญญา ฯ

             ดูกรอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี  ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

ธรรมชาตินั่นสงบ  ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง

ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา

ธรรมเป็นที่(ทำให้)สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าวิราคสัญญา ฯ

             ดูกรอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี  ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

ธรรมชาตินั่นสงบ  ธรรมชาตินั่นประณีต  คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง

ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา

ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่านิโรธสัญญา ฯ

             ดูกรอานนท์ สัพพโลเก อนภิรตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้

ละอุบาย และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็นอนุสัยแห่งจิต  ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น 

(ดังเช่นโลกธรรม ๘  จึงหลงวนเวียน ยินดียินร้ายอยู่ในโลกธรรมทั้ง ๘, อีกทั้งโลกที่หมายถึงตัวตน )

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพโลเก อนภิรตสัญญา ฯ

             ดูกรอานนท์ สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้

ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง (เพราะพิจารณาแล้ว รู้เห็นในความจริงของสังขารทั้งปวง ทั้งสังขารกายดังข้างต้น  ดังสังขารทั้งปวงในไตรลักษณ์)

(ฝ่าย สังขารร่างกายนั้น ก็ล้วนต้องดูแลรักษา ต้องหาอาหารต้องหมั่นเติมให้เต็มให้อิ่มทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นภาระเวร,เป็นภาระกรรมที่ต้องคอยดูแลต้องรักษาไปตลอดกาลนานจนสิ้นกาละ  ทางหนึ่งพึงเข้าทางปาก อีกทางหนึ่งพึงขับถ่ายออกมาก็แสนปฏิกูลเหลือกำลัง  เป็นอาทีนวะคือเป็นทุกข์เป็นโทษของสังขารกายที่ย่อมต้องเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จึงมีเจ็บป่วยอาพาธเป็นธรรมดา มีแก่เป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา  เมื่อพิจารณาจึงย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง ย่อมหน่ายจึงคลายกำหนัดในสังขารต่างๆ เมื่อรู้ความจริงดังนี้ เสมอๆ เนืองๆ เป็นอเนกฯลฯ.)

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา ฯ

             ดูกรอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้

อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี  นั่งคู้บัลลังก์  ตั้งกายให้ตรง  ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า,

เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า,

(พึงระลึกเข้าใจด้วยว่า เป็นการดำรงอยู่กับสติ เพื่อมิให้ดำริพล่าน  มิได้มีเจตนาเอาลมหายใจเป็นอารมณ์หรือวิตกเพื่อกระทำฌานหรือสมาธิเป็นสำคัญแต่อย่างใด

เพียงแต่บางครั้งสติอาจขาด จึงอาจเลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิบ้างเป็นเป็นครั้งคราว ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา)

เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว,

เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น, 

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง(ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า,

ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร(ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า,

ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า,

ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร(เวทนา) หายใจออก  ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขาร หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า,

ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า,

ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า, 

ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น หายใจเข้า, 

ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า,

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า,

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจเข้า,

ย่อมศึกษาว่า จักเป็น ผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิท หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท หายใจเข้า,

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืน หายใจออก  ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืน หายใจเข้า

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอานาปานัสสติ ฯ (อานาปานสติ ก็เขียน)

             ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่ คิริมานนทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ

             ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ในสำนักของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าว สัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์  ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่านพระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้  ท่านพระคิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น  ก็แลอาพาธนั้นเป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ละได้แล้ว ด้วยประการนั้นแล ฯ

จบสูตรที่ ๑๐

ยามเมื่อเจ็บป่วย

             อาพาธสูตรเป็นการใช้สมาธิเพียงเพื่อให้จิตสงบไม่ซัดส่ายสอดแส่ออกไปฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่ง  แล้วนำจิตที่สงบดีแล้วนึ้ไปดำเนินวิปัสสนาคือการใช้ความคิดพิจารณาให้เกิดปัญญา คือเห็นความจริง  ปัญญาจากการเห็นความจริงนี้นี่เอง จึงเกิดการปล่อยวางคือความยึดมั่น อันอำนวยประโยชน์ช่วยในการรักษาความเจ็บป่วยไข้ได้เป็นอัศจรรย์

             รูปขันธ์หรือกายหรือสังขารกายนั้นเป็นสังขาร - สิ่งที่ถูกหรือเกิดขึ้นจากเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้นอย่างหนึ่ง   จึงย่อมเหมือนสังขารทั้งปวงที่มีความเสื่อมแปรปรวนไปด้วยอำนาจไตรลักษณ์แก่ทุกๆสังขารร่างกายเป็นธรรมดา  ที่ย่อมไม่พ้นอำนาจของอนิจจังไม่เที่ยงจึงแปรปรวนไปเจ็บป่วยต่างๆนาๆ  ทุกขังทนอยู่ไม่ได้ จึงต้องแตกดับไปในที่สุด  และเพราะอนัตตาไม่มีตัวตนแท้จริง จึงไม่ใช่ตัวใช่ตนของใครๆอย่างแท้จริงเช่นกัน จึงย่อมควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้อย่างแท้จริงไม่ให้เจ็บป่วบ  ด้วยตัวตนที่เข้าใจว่าเป็นตนหรือของตนนั้นความจริงเป็นเพียงมายาของกลุ่มก้อนหรือมวลรวมของเหล่าเหตุปัจจัยต่างๆที่มาประชุมปรุงแต่งกันขึ้น ที่มายาล่อลวงไปว่าเป็นตนหรือของตัวตน  ตัวตนที่เข้าใจผิดว่าเป็นตนนั้น แท้จริงจึงขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุที่มาเป็นปัจจัยกันจึงถูกต้อง  ดังรูปขันธ์หรือกายนี้ความจริงยิ่งแล้วจึงขึ้นโดยตรงอยู่กับเหตุคือธาตุทั้ง ๔ (ดูทวัตติงสาการ) ด้วยเป็นอนัตตาจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับตนที่หมายถึงเราหรือของเรา(หรือหมายถึงความปรารถนาของเรา)ดังที่ปุถุชนเข้าใจกันโดยทั่วไป  ตนหรือเราจึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนาโดยตรง  จึงอาจมีการเจ็บป่วยไข้อันเป็นทุกข์เป็นโทษโดยธรรมหรือธรรมชาติของทุกๆสังขารกาย(รูปขันธ์)เกิดขึ้นได้ ในทุกบุคคล เขา เรา   ดังที่ท่านได้แสดงไว้ดีแล้วในอาทีนวสัญญาข้างต้น

              องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ยามที่อาพาธเจ็บป่วยไข้ทางกาย ก็มีท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์แพทย์ประจำพระองค์ เป็นผู้ถวายพระโอสถดูแลรักษา,  ดังนั้นปุถุชนแม้อริยสาวกทั้งปวง ยามเมื่อเจ็บป่วยไข้หนักแปรปรวนด้วยอาทีนวะประการใดๆก็ดี อันคือเป็นไปตามธรรมคือธรรมชาติที่ย่อมเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา  ก็จำต้องรักษาทางกาย ไปตามเหตุปัจจัยหรือความจำเป็นของโรคนั้นๆโดยอาศัยหมอ  แล้วให้ประกอบด้วยการระลึกหรือการเจริญวิปัสสนาในสัญญา ๑๐ ประการ ดังความในอาพาธสูตรนี้  ก็ย่อมจักทำให้ความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นจางคลาย หรือขั้นสงบลงได้โดยพลันเป็นอัศจรรย์นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้  เพราะการรักษาพยาบาลที่ดีตามเหตุ และประกอบด้วยจิตที่ดีอัน เกิดแต่การปฏิบัติเจริญวิปัสสนาที่ถูกต้องดีงาม กล่าวคือ ขณะที่จิตพิจารณาธรรมคือสัญญาทั้ง ๑๐ได้อย่างแนบแน่นนั้น จิตย่อมไม่ส่งส่ายออกไปปรุงแต่งภายนอกแม้ในเรื่องเจ็บป่วย จิตย่อมสงบมี กำลัง ไม่ฟุ้งซ่านออกไปปรุงแต่ง  และถ้ายิ่งเกิดความเข้าใจในธรรมหรือนิพพิทาย่อมยิ่งยังผลอันยิ่งใหญ่  ดังกล่าวเหล่านี้ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตเกิดกำลังอำนาจที่ดี จากการหยุดความกังวลปรุงแต่งด้วยการเจริญวิปัสสนาอย่างตั้งมั่นได้ ตลอดจนการปล่อยวางจากนิพพิทาที่จักเกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาจนรู้ความจริงยิ่งอย่างปรมัตถ์  ย่อมยังให้เกิดอานิสงส์ผลของบุญ คือส่งผลดีที่เป็นกำลังของจิตโดยตรงที่ส่งผลเนื่องไปถึงกายได้อย่างรวดเร็วรุนแรงชนิดเป็นอัศจรรย์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าปาฏิหาริย์จนหายเจ็บป่วยไข้ได้  ดังความที่แสดงในอาพาธสูตรนี้  จึงเป็นฐานะที่จะมีได้   เหตุปัจจัยที่เป็นไปดังนี้ก็เพราะ จิตและกาย(หรือเบญจขันธ์)ต่างล้วนเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันเช่นกันตราบเท่าที่ยังมีชีวิตตินทรีย์อยู่ ดังที่ได้กล่าวแสดงอยู่เนืองๆเป็นอเนกทั้งในเรื่องขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาท  ดังนั้นจิตและกายจึงย่อมส่งผลหรือเป็นเหตุเป็นปัจจัยถึงกันและกันอย่างเนื่องสัมพันธ์กันโดยตรงไปในทิศทางเดียวกัน ตราบเท่าที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตินทรีย์อยู่นั่นเอง

           อำนาจในการรักษาความเจ็บไข้ จึงเกิดขึ้นแต่การปล่อยวางด้วยปัญญากล่าวคือนิพพิทานั่นเอง,   ส่วนอำนาจของการรักษาด้วยอำนาจของฌานหรือสมาธิล้วนๆนั้นก็เกิดแต่การปล่อยวางเช่นกัน แต่เป็นการปล่อยวางจากการที่จิตหยุดการฟุ้งซ่านปรุงแต่งจึงเกิดแต่อำนาจของฌานสมาธิขึ้น ซึ่งไม่สามารถทรงอยู่ได้ตลอดไปและอาจเกิดการติดเพลินหรือนันทิคือตัณหาขึ้นได้ในภายหลัง ดังนั้นจึงควรประกอบด้วยการวิปัสสนาในสัญญาทั้ง ๑๐ เป็นสำคัญอีกด้วย

              หากแม้นไม่สามารถเป็นฐานะที่จะมีได้  อันเนื่องมาแต่เจ็บป่วยไข้ด้วยถึงกาลวาระหรือวาระสุดท้ายแล้วก็ตามที  ผู้ที่เจริญวิปัสสนาดังนี้อยู่เนืองๆในวาระนั้น  ก็ย่อมได้รับผลเป็นสุคติ ตามอัตตภาพตนเป็นที่สุดอย่างแน่นอน

              ดังนั้นในผู้ที่อาพาธเจ็บป่วยไข้ด้วยโรคอันรุนแรงอันใดก็ดี  จึงไม่ควรท้อแท้ใจไปตีอกชกหัว พิรี้พิไร คร่ำครวญรำพัน กล่าวคือเกิดทุกขเวทนาแล้วไม่พิรี้พิไร รำพัน โอดครวญนั่นเอง   ควรทำการรักษาพยาบาลตามเหตุที่เป็นปัจจัยให้เกิดในทางโลกหรือทางการแพทย์เสียก่อนนั่นเอง  แล้วจึงให้ประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนาในเหล่าสัญญา ๑๐ อยู่เนืองๆเป็นอเนกที่มีโอกาส  ก็จักยังประโยชน์แก่ตนยิ่งเป็นสุคติแม้ในปัจจุบัน แลทั้งภายภาคหน้า   อย่าได้ไปหลงไปเชื่อแต่สิ่งหลอกลวงในสิ่งศักสิทธิ์เสียอย่างขาดเหตุผลจนเสียการ เสียแม้ชีวิต

สัญญา ๑๐ : ความกำหนดหมาย, สิ่งที่ควรกำหนดรู้ กำหนดหมายไว้ในใจอยู่เนืองๆ เป็นอเนก มี ๑๐ ประการ คือ

    ๑. อนิจจสัญญา กำหนดหมาย กำหนดรู้ความไม่เที่ยงของสังขารคือชีวิตหรือขันธ์ ๕  และแม้สังขารต่างๆอีกทั้งปวง
    ๒. อนัตตสัญญา กำหนดหมาย ความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง  ล้วนไม่ใช่ตัวใช่ตน  ของเราอย่างแท้จริง
    ๓. อสุภสัญญา กำหนดหมาย ความไม่งาม เป็นปฏิกูลแห่งกาย ทั้งกายตนแลผู้อื่น ทุกบุคคล เขา เรา
    ๔. อาทีนวสัญญา กำหนดหมายใน ทุกข์แลโทษแห่งกาย กล่าวคือย่อมมีโรค,อาพาธต่างๆเป็นของคู่กับสังขารกายอีกด้วย โดยธรรมหรือธรรมชาติ
    ๕. ปหานสัญญา กำหนดหมาย เพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม ตั้งแต่บรรเทา ลดละ จนถึงกำจัด
    ๖. วิราคสัญญา กำหนดหมายว่า วิราคะ คืออริยมรรคว่า เป็นธรรมอันสงบ  ธรรมอันประณีต  การคลายความอยากได้หายติด เป็นมรรคอันประเสริฐ เป็นสมบัติของอริยะควรแก่การปฏิบัติ
    ๗. นิโรธสัญญา กำหนดหมายว่า นิโรธ คืออริยผล ว่า เป็นธรรมอันสงบ  ธรรมอันประณีต  เมื่อบรรลุผลย่อมเป็นสุขอย่างยิ่ง
    ๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมาย ความไม่น่าเพลิดเพลิน ไม่น่ายินดี ไม่น่าอภิรมย์ในโลกทั้งปวง  ล้วนดังปรากฏในโลกธรรม ๘ อันเป็นธรรมหรือธรรมชาติของโลก
    ๙. สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา กำหนดหมาย ความไม่น่าปรารถนา อึดอัด น่าระอาในสังขารกาย  ตลอดแม้สังขารทั้งปวง เพราะการรู้ความจริงดังสัญญาต่างๆข้างต้น  ตลอดจนพระไตรลักษณ์ที่แสดงสัีงขารทั้งปวง ล้วนอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่เนืองๆ ย่อมยังให้เกิดปัญญาจนเกิดนิพพิทาในสังขารทั้งปวง
    ๑๐. อานาปานัสสติ การมีสติกำหนดรู้ในลมหายใจเข้าออก เป็นเครื่องอยู่ เป็นเครื่องกำหนด(จึงไม่ได้หมายถึง การใช้ลมหายใจเป็นอารมณ์หรือวิตกเพื่อการทำฌานสมาธิแต่อย่างเดียว กล่าวคือให้มีสติ ไม่ขาดสติเลื่อนไหลลงภวังค์ไปในฌานสมาธิระดับประณีต) ย่อมทำให้จิตสงบระงับไม่ดำริพล่าน หรือไม่ส่งจิตออกไปคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านออกไปภายนอกให้เกิดการผัสสะต่างๆให้เป็นเกิดทุกขเวทนาหรือทุกข์อันเร่าร้อน

 

สัญญา ๑๐ จึงใช้ปฏิบัติวิปัสสนา และมีอานิสงส์ให้สงบระงับจากการเจ็บไข้หนักด้วย เป็นฐานะที่พึงมีได้
69  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: รวมเรื่อง อานาปานสติ เท่าทีจะหาได้ จ้า..... เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 08:55:20 am
    จาก อานาปานสติสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
70  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: รวมเรื่อง อานาปานสติ เท่าทีจะหาได้ จ้า..... เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 08:54:40 am
อานาปานสติ
(สำหรับคนทั่วไป อย่างง่าย ขั้นต้นๆ เพื่อรู้จักไว้ทีก่อน)

ท่านพุทธทาส

            ในกรณีปรกติ ให้นั่งตัวตรง (ข้อกระดูกสันหลัง จดกันสนิท  เต็มหน้าตัด ของมันทุกๆ ข้อ) ศีรษะตั้งตรง ตามองไปที่ปลายจมูกให้อย่างยิ่ง จนไม่เห็นสิ่งอื่น จะเห็นอะไรหรือไม่เห็น ก็ตามใจ ขอให้จ้องมองเท่านั้น พอชินเข้า ก็จะได้ผลดีกว่าหลับตา และไม่ชวนให้ง่วงนอนได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะคนขึ้ง่วง ให้ทำอย่างลืมตานี้ แทนหลับตา ทำไปเรื่อยๆ ตามันจะหลับ ของมันเอง ในเมื่อถึงขั้นที่มันจะต้องหลับตา หรือจะหัดทำอย่างหลับตาเสียตั้งแต่ต้นก็ตามใจ  แต่วิธีที่ลืมตานั้น จะมีผลดีกว่าหลายอย่าง แต่ว่าสำหรับบางคน รู้สึกว่าทำยาก โดยเฉพาะพวกที่ยึดถือในการหลับตา ย่อมไม่สามารถทำอย่างลืมตา ได้เลย มือปล่อยวางไว้บนตัก ซ้อนกันตามสบาย ขาขัด หรือซ้อนกัน โดยวิธีที่จะ ช่วยยัน น้ำหนักตัว ให้นั่งได้ถนัด และล้มยาก ขาขัด อย่างซ้อนกัน ธรรมดา หรือ จะขัดไขว้กัน นั่นแล้วแต่จะชอบ หรือทำได้ คนอ้วนจะขัดขา ไขว้กันอย่างที่ เรียกขัดสมาธิเพชรนั้น ทำได้ยาก และไม่จำเป็น แต่ขอให้นั่งคู้ขามา เพื่อรับน้ำหนักตัว ให้สมดุลย์ล้มยากก็พอแล้ว ขัดสมาธิอย่างเอาจริงเอาจัง ยากๆ แบบต่างๆ นั้น ไว้สำหรับ เมื่อจะเอาจริง อย่างโยคี เถิด

            ในกรณีพิเศษ สำหรับคนป่วย คนไม่ค่อยสบาย หรือแม้แต่คนเหนื่อย จะนั่งอิง หรือนั่งเก้าอี้ หรือเก้าอี้ผ้าใบ สำหรับเอนทอด เล็กน้อย หรือนอนเลยสำหรับคนเจ็บไข้ ก็ทำได้ ทำในที่ ไม่อับอากาศ หายใจได้สบาย ไม่มีอะไรกวน จนเกินไป เสียงอึกทึกที่ดังสม่ำเสมอ และไม่มีความหมายอะไร เช่น เสียงคลื่น เสียงโรงงาน เหล่านี้ ไม่เป็นอุปสรรค (เว้นแต่ จะไป ยึดถือเอาว่า เป็นอุปสรรค เสียเอง)  เสียงที่มี ความหมายต่างๆ (เช่น เสียงคนพูดกัน) นั้นเป็นอุปสรรคแก่ผู้หัดทำ  ถ้าหาที่เงียบเสียงไม่ได้  ก็ให้ถือว่าไม่มีเสียงอะไร  ตั้งใจทำไปก็แล้วกัน  มันจะค่อยได้เอง

            ทั้งที่ตามองเหม่อ ดูปลายจมูกอยู่ ก็สามารถรวมความนึก หรือความรู้สึก หรือเรียกภาษาวัดว่า สติ ไปกำหนด จับอยู่ที่ลมหายใจ เข้าออก ของตัวเองได้ (คนที่ชอบหลับตา ก็หลับตาแล้ว ตั้งแต่ตอนนี้) คนชอบลืมตา ลืมไปได้เรื่อย จนมันค่อยๆหลับของมันเอง เมื่อเป็นสมาธิ มากขึ้นๆ เพื่อจะให้กำหนดได้ง่ายๆ ในชั้นแรกหัด ให้พยายาม หายใจ ให้ยาวที่สุด ที่จะยาวได้ ด้วยการฝืน ทั้งเข้า และออก หลายๆ ครั้งเสียก่อน เพื่อจะได้รู้ของตัวเอง ให้ชัดเจนว่า ลมหายใจ ที่มันลาก เข้าออก เป็นทาง อยู่ภายในนั้น มันลาก ถูก หรือ กระทบ อะไรบ้าง ในลักษณะอย่างไร และกำหนดได้ง่ายๆ ว่า มันไปรู้สึกว่า สุดลง ที่ตรงไหน ที่ในท้อง (โดยเอาความรู้สึก ที่กระเทือนนั้น เป็นเกณฑ์ ไม่ต้องเอาความจริงเป็นเกณฑ์) พอเป็นเครื่องกำหนด ส่วนสุดข้างใน และส่วนสุดข้างนอก ก็กำหนดง่ายๆ เท่าที่จะกำหนดได้ คนธรรมดา จะรู้สึกลมหายใจ กระทบปลาย จะงอยจมูก ให้ถือเอาตรงนั้น เป็นที่สุดข้างนอก (ถ้าคนจมูกแฟบ หน้าหัก ริมฝีปากเชิด ลมจะกระทบ ปลายริมฝีปากบน อย่างนี้ ก็ให้กำหนด เอาที่ตรงนั้น ว่าเป็นที่สุดข้างนอก) แล้วก็จะได้ จุดทั้งข้างนอก และข้างใน โดยกำหนดเอาว่า ที่ปลายจมูก จุดหนึ่ง ที่สะดือจุดหนึ่ง แล้วลมหายใจ ได้ลากตัวมันเอง ไปมา อยู่ระหว่าง จุดสองจุด นี้ ขึ้นลงอยู่เสมอ ทีนี้ ทำใจของเรา ให้เป็นเหมือน อะไรที่คอย วิ่งตามลมนั้น ไม่ยอมพราก ทุกครั้ง ที่หายใจทั้งขึ้น และลง ตลอดเวลา ที่ทำสมาธินี้ นี้จัดเป็นขั้นหนึ่ง ของการกระทำ เรียกกันง่ายๆ ในที่นี้ก่อนว่า ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา"

            กล่าวมาแล้วว่า เริ่มต้นทีเดียว ให้พยายามฝืนหายใจให้ยาวที่สุด และให้แรงๆ และหยาบที่สุด หลายๆ ครั้ง เพื่อให้พบจุดหัวท้าย แล้วพบเส้นที่ลาก อยู่ตรงกลางๆ ได้ชัดเจน เมื่อจิต(หรือสติ) จับหรือ กำหนดตัวลมหายใจ ทึ่เข้าๆ ออกๆ ได้ โดยทำความรู้สึก ที่ๆ ลมมันกระทบ ลากไป แล้วไปสุดลง ที่ตรงไหน แล้วจึงกลับเข้า หรือ กลับออก ก็ตาม ดังนี้แล้ว ก็ค่อยๆ ผ่อน ให้การหายใจนั้น ค่อยๆ เปลี่ยน เป็นหายใจอย่างธรรมดา โดยไม่ต้องฝืน แต่สตินั้น คงที่กำหนดที่ ลมได้ตลอดเวลา ตลอดสาย เช่นเดียวกับเมื่อ แกล้งหายใจหยาบๆ แรงนั้นเหมือนกัน คือกำหนด ได้ตลอดสาย ที่ลมผ่าน จากจุดข้างใน คือ สะดือ (หรือท้องส่วนล่างก็ตาม) ถึงจุดข้างนอก คือ ปลายจมูก (หรือ ปลายริมฝีปากบน แล้วแต่กรณี) ลมหายใจ จะละเอียด หรือ แผ่วลงอย่างไร สติก็คงกำหนด ได้ชัดเจน อยู่เสมอไป โดยให้การกำหนด นั้น ประณีต ละเอียด เข้าตามส่วน ถ้าเผอิญเป็นว่า เกิดกำหนดไม่ได้ เพราะลมละเอียดเกินไป ก็ให้ตั้งต้นหายใจ ให้หยาบ หรือ แรงกันใหม่ (แม้จะไม่เท่าทีแรก ก็เอาพอให้กำหนด ได้ชัดเจน ก็แล้วกัน) กำหนดกันไปใหม่ จนให้มีสติ รู้สึก อยู่ที่ ลมหายใจ ไม่มีขาดตอน ให้จนได้ คือ จนกระทั่ง หายใจอยู่ตามธรรมดา ไม่มีฝืนอะไร ก็กำหนดได้ตลอด มันยาว หรือสั้นแค่ไหน ก็รู้ มันหนัก หรือเบาเพียงไหน มันก็รู้พร้อม อยู่ในนั้น เพราะสติ เพียงแต่คอยเกาะแจอยู่ ติดตามไปมา อยู่กับลม ตลอดเวลา ทำได้อย่างนี้ เรียกว่า ทำการบริกรรม ในขั้น "วิ่งตามไปกับลม" ได้สำเร็จ การทำไม่สำเร็จนั้น คือ สติ (หรือความนึก) ไม่อยู่กับลม ตลอดเวลา เผลอเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ มันหนีไปอยู่ บ้านช่อง เรือกสวนไร่นา เสียเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ มารู้เมื่อ มันไปแล้ว และก็ไม่รู้ว่า มันไปเมื่อไหร่ โดยอาการอย่างไร เป็นต้น (webmaster - อาการดังกล่าวนี้ที่เกิดขึ้น มักเกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ กล่าวคือ จิตส่งออกไปปรุงแต่ง หรือเกิดอาการตกภวังค์)  พอรู้ ก็จับตัวมันมาใหม่ และฝึกกันไป กว่าจะได้ ในขั้นนี้ ครั้งหนึ่ง ๑๐ นาที เป็นอย่างน้อย แล้วจึงค่อยฝึกขั้นต่อไป

            ขั้นต่อไป ซึ่งเรียกว่า บริกรรมขั้นที่สอง หรือ ขั้น "ดักดู อยู่แต่ ตรงที่แห่งใด แห่งหนึ่ง" นั้น จะทำต่อเมื่อ ทำขั้นแรก ข้างต้นได้แล้ว เป็นดีที่สุด (หรือใคร จะสามารถ ข้ามมาทำขั้นที่สอง นี้ได้เลย ก็ไม่ว่า) ในขั้นนี้ จะให้สติ (หรือความนึก) คอยดักกำหนด อยู่ตรงที่ใด แห่งหนึ่ง โดยเลิก การวิ่งตามลมเสีย ให้กำหนดความรู้สึก เมื่อลมหายใจ เข้าไปถึง ที่สุดข้างใน (คือสะดือ) ครั้งหนึ่ง แล้วปล่อยว่าง หรือวางเฉย แล้วมากำหนด รู้สึกกัน เมื่อลมออก มากระทบ ที่สุดข้างนอก (คือปลายจมูก) อีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ปล่อยว่าง หรือ วางเฉย จนมีการกระทบ ส่วนสุดข้างใน (คือสะดือ) อีก ทำนองนี้ เรื่อยไป ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเป็นขณะที่ปล่อยว่าง หรือ วางเฉย นั้น จิตก็ไม่ได้หนี ไปอยู่บ้านช่อง ไร่นา หรือที่ไหน เลยเหมือนกัน แปลว่า สติคอยกำหนด ที่ส่วนสุด ข้างในแห่งหนึ่ง ข้างนอกแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้น ปล่อยเงียบ หรือ ว่าง เมื่อทำได้อย่างนี้เป็นที่แน่นอนแล้ว ก็เลิกกำหนด ข้างในเสีย คงกำหนด แต่ข้างนอก คือที่ปลายจมูก แห่งเดียวก็ได้ สติคอยเฝ้ากำหนด อยู่แต่ที่ จะงอยจมูก ไม่ว่าลมจะกระทบ เมื่อหายใจเข้า หรือเมื่อหายใจออก ก็ตาม ให้กำหนดรู้ ทุกครั้ง สมมติเรียกว่า เฝ้าแต่ตรงที่ ปากประตู ให้มีความรู้สึก ครั้งหนึ่งๆ เมื่อลมผ่าน นอกนั้น ว่าง หรือ เงียบ ระยะกลาง ที่ว่าง หรือ เงียบ นั้น จิตไม่ได้หนี ไปอยู่ที่บ้านช่อง หรือที่ไหน อีกเหมือนกัน ทำได้อย่างนี้ เรียกว่า ทำบริกรรมในขั้น "ดักอยู่แต่ ในที่แห่งหนึ่ง" นั้น ได้สำเร็จ จะไม่สำเร็จ ก็ตรงที่จิตหนีไป เสียเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ มันกลับเข้าไป ในประตู หรือ เข้าประตูแล้ว ลอดหนีไปทางไหนเสียก็ได้ ทั้งนี้เพราะระยะที่ว่าง หรือ เงียบนั้น เป็นไปไม่ถูกต้อง และทำไม่ดีมาตั้งแต่ข้างต้น ของขั้นนี้ เพราะฉะนั้น ควรทำให้ดี หนักแน่น และแม่นยำ มาตั้งแต่ขั้นแรก คือ ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" นั้นทีเดียว

            แม้ขั้นต้นที่สุด หรือที่เรียกว่า ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" ก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย สำหรับทุกคน และเมื่อทำได้ ก็มีผลเกินคาดมาแล้ว ทั้งทางกายและทางใจ จึงควรทำให้ได้ และทำให้เสมอๆ จนเป็นของเล่น อย่างการบริหารกาย มีเวลา สองนาทีก็ทำ เริ่มหายใจ ให้แรงจนกระดูกลั่น ก็ยิ่งดี จนมีเสียงหวีด หรือ ซูดซาด ก็ได้ แล้วค่อยผ่อน ให้เบาไปๆ จนเข้า ระดับปรกติ ของมัน ตามธรรมดาที่คนเราหายใจ อยู่นั้น ไม่ใช่ระดับปรกติ แต่ว่า ต่ำกว่า หรือ น้อยกว่าปรกติ โดยไม่รู้สึกตัว โดยเฉพาะ เมื่อทำกิจการงานต่างๆ หรือ อยู่ในอิริยาบถ ที่ไม่เป็นอิสระ นั้น ลมหายใจของตัวเอง อยู่ในลักษณะ ที่ต่ำกว่าปรกติ ที่ควรจะเป็น ทั้งที่ตนเอง ไม่ทราบได้ เพราะฉะนั้น จึงให้เริ่มด้วย หายใจอย่างรุนแรง เสียก่อน แล้วจึงค่อยปล่อย ให้เป็นไป ตามปรกติ อย่างนี้ จะได้ลมหายใจ ที่เป็นสายกลาง หรือ พอดี และทำร่างกาย ให้อยู่ในสภาพ ปรกติด้วย เหมาะสำหรับ จะกำหนด เป็นนิมิต ของอานาปานสติ ในขั้นต้น นี้ด้วย ขอย้ำ อีกครั้งหนึ่งว่า การบริกรรมขั้นต้น ที่สุดนี้ ขอให้ทำ จนเป็นของเล่นปรกติ สำหรับทุกคน และทุกโอกาสเถิด จะมีประโยชน์ ในส่วนสุขภาพ ทั้งทางกาย และทางใจ อย่างยิ่ง แล้วจะเป็น บันได สำหรับขั้นที่สอง ต่อไปอีกด้วย

            แท้จริง ความแตกต่างกัน ในระหว่างขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" กับขั้น "ดักดูอยู่เป็นแห่งๆ" นั้น มีไม่มากมายอะไรนัก เป็นแต่เป็นการผ่อนให้ประณีตเข้า คือ มีระยะ การกำหนดด้วยสติ น้อยเข้า แต่คงมีผล คือ จิตหนีไปไม่ได้ เท่ากัน เพื่อให้เข้าใจง่าย จะเปรียบกับ พี่เลี้ยง ไกวเปลเด็ก อยู่ข้างเสาเปล ขั้นแรก จับเด็กใส่ลงในเปล แล้วเด็กมันยัง ไม่ง่วง ยังคอยจะดิ้น หรือ ลุกออกจากเปล ในขั้นนี้ พี่เลี้ยง จะต้องคอย จับตาดู แหงนหน้าไปมา ดูเปล ไม่ให้วางตาได้ ซ้ายที ขวาที อยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เด็ก มีโอกาสตกลงมา จากเปลได้ ครั้นเด็กชักจะยอมนอน คือ ไม่ค่อยดิ้นรนแล้ว พี่เลี้ยง ก็หมดความจำเป็น ที่จะต้อง แหงนหน้าไปมา ซ้ายทีขวาที ตามระยะ ที่เปลไกวไป ไกวมา พี่เลี้ยง คงเพียงแต่ มองเด็ก เมื่อเปลไกว มาตรงหน้าตน เท่านั้น ก็พอแล้ว มองแต่เพียง ครั้งหนึ่งๆ เป็นระยะๆ ขณะที่เปลไกว ไปมา ตรงหน้าตน พอดี เด็กก็ไม่มีโอกาส ลงจากเปล เหมือนกัน เพราะ เด็กชักจะยอมนอน ขึ้นมา ดังกล่าวมาแล้ว ระยะแรก ของการบริกรรม กำหนดลมหายใจ ในขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" นี้ ก็เปรียบกันได้กับ ระยะที่พี่เลี้ยง ต้องคอยส่ายหน้าไปมา ตามเปลที่ไกว ไม่ให้วางตาได้ ส่วนระยะที่สอง ที่กำหนดลมหายใจเฉพาะที่ปลายจมูก หรือที่เรียกว่า ขั้น "ดักอยู่ แห่งใดแห่งหนึ่ง" นั้น ก็คือ ขั้นที่ เด็กชักจะง่วง และยอมนอน จนพี่เลี้ยง จับตาดูเฉพาะ เมื่อเปลไกว มาตรงหน้าตน นั่นเอง

            เมื่อฝึกหัด มาได้ถึง ขั้นที่สอง นี้อย่างเต็มที่ ก็อาจฝึกต่อไป ถึงขั้นที่ ผ่อนระยะการกำหนดของสติ ให้ประณีตเข้าๆ จนเกิดสมาธิ ชนิดที่แน่วแน่ เป็นลำดับไป จนถึงเป็นฌาณ ขั้นใด ขั้นหนึ่ง ได้ ซึ่งพ้นไปจาก สมาธิอย่างง่ายๆ ในขั้นต้นๆ สำหรับ คนธรรมดาทั่วไป และไม่สามารถ นำมากล่าว รวมกัน ไว้ในที่นี้ เพราะเป็นเรื่อง ที่ละเอียด รัดกุม มีหลักเกณฑ์ ซับซ้อน ต้องศึกษากัน เฉพาะผู้สนใจ ถึงขั้นนั้น

            ในชั้นนี้ เพียงแต่ขอให้สนใจ ในขั้นมูลฐาน กันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็น ของเคยชิน เป็นธรรมดา อันอาจจะ ตะล่อมเข้าเป็น ชั้นสูงขึ้นไป ตามลำดับ ในภายหลัง ขอให้ ฆราวาสทั่วไป ได้มีโอกาส ทำสมาธิ ชนิดที่อาจทำ ประโยชน์ทั้ง ทางกาย และทางใจ สมความต้องการ ในขั้นต้น เสียชั้นหนึ่งก่อน เพื่อจะได้เป็นผู้ชื่อว่า มีศีล สมาธิ ปัญญา ครบสามประการ หรือ มีความเป็น ผู้ประกอบตนอยู่ใน มรรคมีองค์แปดประการ ได้ครบถ้วน แม้ในขั้นต้น ก็ยังดีกว่า ไม่มีเป็นไหนๆ กายจะระงับ ลงไปกว่า ที่เป็นอยู่ ตามปรกติ ก็ด้วยการฝึกสมาธิ สูงขึ้นไป ตามลำดับๆ เท่านั้น และจะได้พบ "สิ่งที่มนุษย์ ควรจะได้พบ" อีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ไม่เสียที ที่เกิดมา. 

     

    หอสมุดธรรมทาน

    ๒๘ สิงหาคม ๒๔๙๑
71  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: รวมเรื่อง อานาปานสติ เท่าทีจะหาได้ จ้า..... เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 08:53:29 am
พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๓
   

 คลิกขวาเมนู

             [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่.

ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มอานิสงส์ใหญ่?

ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้  อยู่ในป่าก็ดี  อยู่ที่โคนไม้ก็ดี  อยู่ในเรือนว่างก็ดี

นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก  มีสติหายใจเข้า.

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว  เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น  เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น.

ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ย่อมสำเหนียก ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขาร หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุข หายใจออก ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุข หายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่น หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่น หายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจออก ย่อม สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียก ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะ หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะ หายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า.

ดูกรราหุล อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้  ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง

อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป  หาเป็น อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

จบ มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒.
72  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: รวมเรื่อง อานาปานสติ เท่าทีจะหาได้ จ้า..... เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 08:53:01 am
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้ มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย

ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย

ย่อม เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย

ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย

ย่อมเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย   

ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ อานาปานสติสูตร ที่ ๘
73  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: รวมเรื่อง อานาปานสติ เท่าทีจะหาได้ จ้า..... เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 08:52:38 am
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้ เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ..........ฯลฯ (เหมือนดังข้างต้นใน เห็นกายในกาย)

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ..........ฯลฯ (เหมือนดังข้างต้น)

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อ เธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอัน ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรม นั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิต ตั้งมั่น ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น ได้เป็นอย่างดี ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้ เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
74  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: รวมเรื่อง อานาปานสติ เท่าทีจะหาได้ จ้า..... เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 08:52:09 am
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้  อยู่ในป่าก็ดี  อยู่ที่โคนไม้ก็ดี  อยู่ในเรือนว่างก็ดี  นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า  เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า,  เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว,  หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว,  เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น,  หรือเมื่อหายใจ เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น,   สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก, ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก, ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก, ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก  ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก  ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก  ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก  ว่าเราจักเป็น ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความคลายกำหนัด หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก, ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า,  ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

             [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว, หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว,  เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น,  หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้า นี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย  (เพราะ)มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ (ย่อม)กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ (เพราะทำเหตุ กล่าวคือมีสติ รู้สึกตัวไม่ซัดส่ายไปปรุงแต่งนั่นเอง อภิชฌาและโทมนัสจึงระงับไปด้วยปฎิจจสมุปบันธรรม  จึงมิได้หมายถึงต้องกระทำอะไรๆเพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัส)

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเรา จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข  หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก  ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า,  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก ทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า,  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า,  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า,  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ

             [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ   เธอเมื่อเป็นผู้ มีสติ อย่างนั้นอยู่  ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ   เธอเมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ   ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ   ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ   ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ   ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น ได้เป็นอย่างดี ฯ
75  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: รวมเรื่อง อานาปานสติ เท่าทีจะหาได้ จ้า..... เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 08:51:42 am
๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)

              [๒๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวก ผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และ พระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ  ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาท พร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวก โอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำ สอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ

             [๒๘๓] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้ เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณ ที่ตนยังไม่ถึง  เพื่อบรรลุคุณ ที่ตนยังไม่บรรลุ  เพื่อทำให้แจ้งคุณ ที่ตนยังไม่ทำให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท 

             พวกภิกษุ ชาวชนบททราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่ง ฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะ เพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ

             [๒๘๔] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บาน แห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับ บริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้  ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก  และถวายของมาก มีผลมากยิ่งขึ้น  ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น  ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควร ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ ฯ

             [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็น พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษ แล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะ สิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕ จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกคาทามี เพราะสิ้นสัญโญชน์๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง มายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะ สิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ ความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญพละ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญมรรค มีองค์ ๘ อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญเมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญกรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญมุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญอุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญอสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญอนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

             [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ ความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
76  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / รวมเรื่อง อานาปานสติ เท่าทีจะหาได้ จ้า..... เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 08:51:09 am
พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๔
   

                    อานาปานสติสูตร นี้แบ่งสาระที่แสดงเป็นสำคัญๆ ได้ดังนี้

                    หลักการเจริญอานาปานสติ

                    แสดงการเจริญอานาปานสติ แล้วย่อมทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์

                    แสดงการเจริญในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์

                    และแสดงการเจริญใน โพชฌงค์ ๗ ย่อมยังให้ วิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์

            การปฏิบัติในอานาปานสติสูตรนี้  มีข้อสังเกตุประการหนึ่งว่า ล้วนเป็นการปฏิบัติที่ต้องมีสติที่หมายถึงการระลึกรู้กำกับทั้งสิ้น  จึงเป็นการเจริญสมถวิปัสสนา  จึงมิได้หมายถึงการปฏิบัติในแง่สมถสมาธิที่มีเจตนากำหนดเอาลมหายใจเป็นอารมณ์หรือเครื่องกำหนดของจิตเพื่อให้เกิดสมาธิหรือฌานขึ้น เพื่อให้จิตรวมลงสงบหรือสุขแต่อย่างเดียว  ดังที่เห็นได้จากการปฏิบัติธรรมกันเป็นส่วนใหญ่ทั่วไป,  ดังนั้นพึงแยกแยะให้ถูกต้องด้วยว่า ขณะนั้นปฏิบัติอะไร?  ต้องการฝึกสติเพื่อให้เกิดสัมมาสมาธิอันเป็นไปเพื่อการวิปัสสนา  หรือฝึกฌานสมาธิล้วนๆอันเป็นเรื่องทั่วไปที่มีมานานแสนนานแม้ในเหล่าอัญญเดียรถีร์ก็ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาลเสียอีก อันจัดเป็นมิจฉาสมาธิ  ฌานสมาธิจึงไม่ใช่เรื่องของพระพุทธศาสนาแต่ฝ่ายเดียว,  เพราะมีผู้เข้าใจสับสนกันเป็นอันมากโดยเข้าใจความนัยๆอย่างผิดๆโดยไม่รู้ตัวไปเสียว่า อานาปานสติ คือการฝึกหรือปฏิบัติฌานสมาธิที่ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดหรืออารมณ์ เพื่อเข้าถึงความสุขสงบเท่านั้น  จึงขาดการวิปัสสนาอันเป็นหัวใจของการปฏิบัติในพระศาสนาไปเสีย การปฏิบัติธรรมจึงยังไม่บริบูรณ์แต่ก็พาให้เข้าใจผิดไปว่าได้ปฏิบัติถูกต้องหรือดีงามบริบูรณ์แล้ว จึงขาดความก้าวหน้า,  ทั้งๆที่ตามความจริงแล้วอานาปานสติมิได้มีจุดประสงค์โดยตรงที่ฌานหรือสมาธิ(แต่ก็ทำให้เกิดฌานสมาธิขึ้นได้เช่นกัน!) แต่เป็นการฝึกให้มีสติตามชื่อพระสูตรอยู่แล้วพร้อมการวิปัสสนาคือสำเหนียก ที่แปลว่าศึกษานั่นเอง   และสังเกตุได้ว่าสิ่งที่เกิดและกล่าวถึงในอานาปานสติสูตรนี้มีเพียงองค์ฌานปีติ สุขเพียงเท่านั้นที่เด่นชัดขึ้น อันย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเมื่อมีจิตแน่วแน่เท่านั้นเพราะการอยู่กับการ ปฏิบัติหรือการพิจารณาธรรมต่างๆรวมทั้งสังขารกายอันเกิดแต่ลมหายใจ และจัดเป็นเวทนาคือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากอานาปานสตินี้ คือสุขเวทนาของปีติและสุขนั่นเอง แต่ไม่ถึงขั้นเลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิระดับประณีตลึกซึ้งแต่อย่างใด จึงยังคง มีสติบริบูรณ์,  แต่ถึงอย่างไรก็ตามทั้งสติและสมาธิก็มีความเนื่องสัมพันธ์ หรือเป็นเหตุปัจจัยกัน ดังนั้นในบางครั้งก็่เลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิระดับลึกประณีตขึ้นก็เป็นไปโดยสภาวธรรม(ธรรมชาติ)เนื่องจากการพักผ่อนในการพิจารณา เป็นไปโดยอาการธรรมชาติ  แต่ล้วนต้องมิได้เกิดแต่เจตนาจากการติดเพลิน(นันทิ)ในความสงบ สุข ปีติ ฯ. จากผลของฌานสมาธิ อันเป็นตัณหาชนิดรูปราคะหรืออรูปราคะอันละเอียดอ่อนแต่ประการใด(ซึ่งมักเกิดขึ้นกับนักปฏิบัติแต่เป็นไปโดยไม่รู้ตัว ในผู้ที่ขาดการวิปัสสนา)  กล่าวคือ โดยมิได้ด้วยเจตนาทำฌานสมาธิ    มีแต่เจตนาแรงกล้าในการฝึกสติให้เห็นธรรมในกายสังขารหรือธรรมอื่นๆประกอบไปด้วยเป็นสำคัญ

            กล่าวโดยย่อก็คือ ถ้ามีสติพิจารณาอยู่ก็เป็นการเป็นสมถวิปัสสนาที่ประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนา กล่าวคือ เจริญทั้งสติ, สมาธิ และปัญญา,  เพราะสตินั้นเนื่องสัมพันธ์ให้เกิดสมาธิด้วย  และการพิจารณาตามดังธรรมบรรยายก็ยังให้เกิดปัญญา จึงเป็นการเจริญสมถวิปัสสนาอย่างครบถ้วนกระบวนความ,   แต่ถ้าเพราะต้องการอาศัยลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดเพื่อให้จิตสงบแน่วแน่แต่ฝ่ายเดียวก็เป็นการเจริญแต่สมาธิ  แต่ถ้ายึดในอารมณ์ที่เกิดขึ้นหรือลงภวังค์ก็เป็นเจริญฌาน ที่ปฏิบัติกันโดยทั่วๆไปในอัญญเดียรถีร์ด้วย  จึงควรทำให้ถูกต้องตามเจตนาด้วย  จึงจักถือว่าถูกต้องดีงาม  เพราะลมหายใจนั้นสามารถใช้เป็นอารมณ์หรือเครื่องกำหนดในการปฏิบัติ วิปัสสนา สติ สมาธิหรือฌาน ก็ได้ ขึ้นอยู่กับนักปฏิบัติเองเป็นสำคัญ   อันจะเกิดขึ้นและเป็นไปดังนี้

             กล่าวโดยสรุป ในการปฏิบัติโดยย่อก็คือ  จิตที่สงบสบายแต่อานาปานสติแล้ว ดำเนินต่อไปในการเจริญวิปัสสนาต่างๆเสียนั่นเอง

มิจฉาสมาธิ  ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีมิจฉาสติ

สัมมาสมาธิ  ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีสัมมาสติ

มิจฺฉาสติสฺส  มิจฺฉาสมาธิ ปโหติ

สมฺมาสติสฺส  สมฺมาสมาธิ  ปโหติ

(อวิชชาสูตร ๑๙/๑
77  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: หลักปฏิบัติง่าย ๆ ที่สุด ในการเดินจิตไว เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 10:39:56 am
อ้างถึง
เพราะเวลาของดิฉัน จะหมดแล้ว

เป็นสำนวนที่แปลก ๆ ครับ

 ถ้าอย่างนั้นเวลา ผมก็ใกล้แล้วเหมือนกัน ครับ

  ผมเคยฟังพระอาจารย์ พูดให้ฟังอยู่ครั้งหนึ่งเรื่องของคนป่วยครับ
 
    ท่านยกบุคคลจริงด้วยครับ คือ

    สมัยที่ท่านอยู่กับพระอาจารย์มหาประทีป นั้น พระมหาประทีบป่วยด้วยโรคหัวใจ เข้าผ่าตัดก็หลายครั้ง

   ใคร ๆ ต่างก็คิดว่า พระมหาประทีปนั้น จักตายในไม่ช้า เพราะใครนั่งใกล้ ก็จะได้ยินเสียง ติ๊ก ๆ ที่หัวใจ

   ของท่าน ฟังแล้วก็น่าจะัคล้อยตามครับ

     พระอาจารย์เล่าต่อไปว่า เชื่อไหม ขณะปัจจุบันนี้ พระมหาประทีป ยังมีอายุอยู่เลย

     ส่วนบุคคลที่เป็นอุปัฏฐาก และ สหายธรรม นั้นกับมรณะภาพลงเสียก่อน

     มีพระอาจารย์สงวน จันทะวังโส รองจากมหาประทีป ศิษย์อุปัฏฐาก อีกสองท่าน

     พระอาจารย์ที่นับถือ ดูแล้วแข็งแรง ก็ล้วนล้มหายตายจากกันไป ร่วม 10 กว่ารูป

        คงเหลือแต่พระมหาประทีป ที่ดูเหมือนเจ็บ ออด ๆ แอด ๆ นั้นกับมีชีวิตอยู่ถึงปัจจุบัน

    อันว่าความตาย ล้วนเกิดกับใครก็ได้ทุกคน


       พระอาจารย์เล่า พระสูตร เรื่อง นางเปสการี อุบาสิกาหญิง ที่โต้คำถาม กับพระพุทธเจ้า ให้

  ชนทั้งหลาย งวยงง สงสัย เล่นตอนนั้น ว่า

      พระพุทธเจ้า ทรงตรัสถาม เธอว่า

     พ.  กุมาริกา เธอมาจากไหน ?

     กุ.   ไม่ทราบ พระเจ้าข้า

     พ. เธอจักไปที่ไหน ?

     กุ.  ไม่ทราบ พระเจ้าข้า

     พ.  เธอไม่ทราบหรือ ?

     กุ.  ทราบ พระเจ้าข้า

     พ.  เธอทราบหรือ ?

     กุ.  ไม่ทราบ พระเจ้าข้า
   
    เกริ่นไว้เท่านี้ก่อน เพราะผมไม่ใช่คนขยันพิมพ์

    ใครที่พอมีเรื่องนี้แล้ว ช่วยโพสต์ให้ คุณ chusri อ่านต่อด้วยครับ

    ให้กำลังใจ ซึ่งกันและกัน ครับ

    :25: :25:
78  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ถ้าเรามีชีวิตอยู่ได้ไ่ม่เกิน เดือน คุณอยากทำอะไร ? เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 10:29:05 am
ผมคงหนักใจ ถ้ารู้ขนาดนี้ เป็นจริง เรื่องการประกอบอาชีพ ไม่เป็นกังวล แล้วครับ

ผมจะมุ่งหน้าไปที่วัดใด วัดหนึ่ง เรียนบอกเจ้าสำนักว่า ผม.....จะมีชีวิตถึงตรงนี้ ด้วยโรค...นี้

ผมอยากภาวนาจริง ๆ จัง ๆ เป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต.....

ผมจะภาวนา ให้มากที่สุดครับ

และผมจะทำอภัย อโหสิกรรม ตลอดเวลา



คนที่เขียนแบบนี้ น่าจะเลศนัย นะครับ ต้องการบอกอะไรครับ

 :25: :25:
79  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สมาธิ กับ การลดน้ำหนัก เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 10:24:11 am

ขณะ นี้ฝรั่งหันมาสนใจกรรรมฐานกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้กรรมฐานเพื่อการลดน้ำหนัก หลายสิบปีมาแล้วในยุคซิกตีส์ตอนที่วงดนตรี เดอะบีทเทิลส์ กำลังดังทะลุฟ้า วิชากรรมฐานดังขึ้นมา ทำให้เป็นที่รู้จักของฝรั่ง เนื่องจากนักดนตรีสี่เต่าทอง หันไปสนใจวิชากรรมฐาน ไปเรียนวิชากับอาจารย์มหาฤาษีที่อินเดีย กรรมฐาน หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า meditation จึงดังระเบิด พระอาจารย์มหาฤาษีองค์นั้น ก็พลอยดังขึ้นมาเหมือนกัน ได้รับเชิญไปทัวร์ ไปสอนวิชาไปออกทีวีในประเทศตะวันตกมากมาย ตอนท่านมหาฤาษีสอนทฤษฎีกรรมฐานที่เรียกว่า transcendental meditation หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า T.M.
ที่จริงกรรมฐานเป็นวิชาที่มานานหลายพันปีก่อนพุทธกาลเสีย อีก ในพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงเรื่องนี้ใน มหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าเคยไปเรียนวิชานี้กับพระอาจารย์ที่เก่งที่สุดในสมัยนั้นหลาย สำนัก จนรู้แจ้งทำได้หมดสิ้นแล้วยังพัฒนาไปไกลกว่าที่มีอยู่ กรรมฐานแบ่งใหญ่ๆ เป็นสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน สมถกรรมฐานเป็นการเข้าสมาธิที่พระพุทธเจ้าคิดขึ้นเอง เป็นการเพ่งพิจารณาทางด้านธรรมะ เช่น พิจารณาขันธ์ห้า ฯลฯ

กรรมฐานที่ฝรั่งนำเอาไปปฏิบัติกันเป็นแค่สมถกรรมฐาน อย่างเช่น T.M. ของมหาฤาษีก็เป็นสมถกรรมฐานเหมือนกัน แต่ใช้ในการท่องบ่นมนรากำกับจิตใจ ทุกวันนี้วิชากรรมฐานเข้าถึงพวกฝรั่งกันมากขึ้น มีการนำเอาวิชานี้ไปใช้ผ่อนคลายรักษาความเครียดในชีวิตประจำวัน หมอและโรงพยาบาลหลายแห่งในสหรัฐฯ แนะนำให้คนไข้เอาไปทำกัน มี หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าการนั่งสมาธิสามารถลดความดันโลหิต ทำให้หลอดเลือดมีสุขภาพดีขึ้น จิตใจดีขึ้นเพราะความสงบระงับคลื่อนสมองของคนนั่งสมาธิที่เข้าฌานลึก มีลักษณะนิ่งกว่าคลื่นสมองของคนนอนหลับเสียอีก ขณะนี้นักควบคุมน้ำหนักตัวอ้างว่ามันมีผลดีต่อการลดน้ำหนักด้วย

เขาสอนเทคนิคการควบคุมอาหารโดยให้เริ่มต้นแบบในบ้านเรา คือ กำหนดลมหายใจเข้าออกยุบหนอพองหนอ ก่อนจะกินอาหารควรหายใจเข้าออกอย่างมีสติยุบหนอพองหนอสัก 5 ครั้ง เขาว่ามันจะทำให้เหมือนมีการติดเบรค มีสติและทำให้รู้รสแซ่บซาบซึ้งมากกว่าการรีบกินรีบกลืน

ที่แมสซาซูเล็ตเมติคัลเซ็นเตอร์ มีการสอนให้คนไข้ลดความเครียดและความอ้วนโดยเทคนิคที่เรียกว่า Raisin Meditation หรือ ลูกเกดกรรมฐาน โดยเขาแจกลูกเกดให้นักเรียนคนละ 2 เม็ด ในดการกินแต่ละเม็ดให้ใช้เวลาอย่างน้อย 5 นาที ก่อนจะกินแต่ละเม็ดให้นักเรียนครุ่นคิดพิจารณาถึงกลิ่น สีสัน สัมผัส แล้วนึกถึงพื้นเพที่มาของลูกเกดตั้งแต่ที่มันยังอยู่บนต้นองุ่น ชาวไร่ให้การดูแลฟูมฟักรักษา แล้วชาวไร่ก็เก็บมันมาคัดเลือก ตากให้แห้ง แล้วเอามาขายหรือส่งออก หลังจากการพิจารณาอย่างนั้นแล้วก็เอามันเข้าปาก ตอนเข้าปากก็พยายามใช้ลิ้นสัมผัสรับรสแล้วเคี้ยวช้าๆ ขณะที่เคี้ยวก็พยายามจดจ่อสมาธิให้ร้สึกตัวถุกอิริยาบถ ให้รู้ว่ากำลังเคี้ยวลิ้นกำลังเคลื่อนไหวอย่างไร และพยายามทำให้น้ำและเนื้อลูกเกดให้สัมผัสกับต่อมรับรสบนลิ้นให้ทั่วถึง ทำให้นกินได้รับทั้งรูป รส กลิ่น สัมผัส และ.เสียง (เคี้ยว) เมื่อเสร็จกระบวนการดังกล่าวแล้วก็ทำการกลืน ตอนที่กลืนก็อาจจะพูดกับตัวเองอย่างสุภาพอ่อนหวานว่า "ตอนนี้เรามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่ากับหนึ่งลูกเกดแล้ว" เมื่อกินลูกเกดเม็ดแรกจบตามกระบวนการกรรมฐานแล้วก็เริ่มกินเม็ดที่สองแบบ เดียวกัน การทำอย่างนี้จะทำให้กินอาหารช้าลงมาก ทำให้ความหิวลดน้อยลงหรือหายไปก่อนที่จะกินอาหารเข้าไปมากเกินไป ท่านอาจจะเอาวิธีนี้ไปลองทำขณะกินข้าวยำดู ข้าวยำมีส่วนผสมหลายอย่าง ทำให้มีเรื่องคิดพิจารณามากมาย ตั้งแต่มะพร้าว ถั่วงอก ถั่วฝักยาว ข้าวสวย จนถึงรุกขเทวดา

ที่ จริงท่านสอนไว้ว่ากรรมฐานเป็นสิ่งที่ทำได้ทุกขณะจิต ความคิดจิตของเราคิดถึงแต่สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ก็เท่ากับเข้าสมาธิกรรมฐาน อยู่แล้ว การทำกรรมฐานไม่จำเป็นต้องไปทำที่วัดหรือสำนักฤาษีใดๆ คุณอาจจะลองทำที่ทำงานในเวลาที่ว่างก็ได้ โดยการนั่งตัวตรง หลับตา ปล่อยวางกล้ามเนื้อให้คลายตัว เพ่งสมาธิไปที่การหายใจเข้าออก พลางบอกตัวเองว่ายุบหนอพองหนอทุกครั้งมที่หายใจออกและหายใจเข้า ส่วนมากเวลาที่ทำในตอนแรกๆ จิตใจมักจะวอกแวกหลุดจากสมาธิ เนื่องจากมีวิวรณ์ห้าอย่างคือ ความใคร่ในกาม ควาามอาฆาตพยาบาท ความหงุดหงิดรำคาญใจ ความสงสัยคลางแคลงใจ ความง่วงเหงาหาวนอน แต่ไม่เป็นไร เมื่อเรารู้ตัวเมื่อเรารู้ตัวก็เพ่งสมาธิกลับเข้ามาใหม่ ฝึกไปฝึกมาตื้อบ่อยๆ เข้าไปทนไม่ไหวมันก็จะมีสมาธิขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย เขาแนะนำให้ทำอย่างนี้วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 10-20 นาที เมื่อเราฝึกมากๆ เข้าจิตใจเราจะมีพลัง สามารถต่อสู้กับกิเลสพื้นๆ ได้ เช่น สู้กับความหิว เป็นต้น

การทำกรรมฐานร่วมกับการกินแบบ นี้ทำให้คนกินอาหารน้อยลง แต่ได้รับรู้รสชาติอาหารมากขึ้น มีความสุขสงบมากขึ้น และถ้ามีพลังใจทำไปได้จนเป็นนิสัยก็สามารถช่วยลดน้ำหนักได้แน่

ขอขอบคุณ
http://www.ladytip.com/main/content/view/2977/

ที่มาจาก fwd mail
80  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: โครงการธรรมสัญจร ชมรมพุทธธรรมกรรมฐาน 3 - 6 ธ.ค. 2553 เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 10:12:33 am
รูปภาพ วัดอนาลโย ครับ



ถ้ายืนมองจากวัดศรีโคมคำ ก็จะมองเห็นภูเขาอีกด้านหนึ่งของกว๊านพะเยาว์ ก็คือวัด อนาลโย


จากรูปเป็นพระพุทธรูปปางลีลา หน้าทางเข้าพระตำหนัก


ทางขึ้นเป็นสภาพวัดโบราณครับ

ผมเคยไปที่นี่หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ไปชมสถานที่ไม่หมด ครับ เป็นสถานที่วิเวกมากครับ



พระพุทธรูปทองคำอยู่ในนี้ครับ


หน้า: 1 [2] 3