ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เกี่ยวกับ ฌาน  (อ่าน 2727 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

samathi

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 93
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เกี่ยวกับ ฌาน
« เมื่อ: มิถุนายน 16, 2011, 04:38:49 am »
0
คำว่า "ฌาน" แปลว่า "การเพ่ง" ตามปกติแล้วก็มีความหมายใน 2 ระดับ
ระดับ แรก เป็นส่วนเหตุ เรียกว่า "อารัมมณูปนิชฌาน" คือ  การเพ่งดูอารมณ์ที่เป็นเครื่องตั้งสติกำหนดระลึก เช่น ดูลมหายใจเข้าออก ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ฯลฯ  จนจิตของบุคคลผู้นั้น ตั้งมั่นเป็นสมาธิไม่หวั่นไหว ที่เรียกว่า "อัปปนาสมาธิ"  ในชั้นนี้กว่าจะเข้าถึงฌานอันเป็นส่วนผลที่เรียกว่า "รูปฌาน"   ซึ่งเป็นการแสดงถึงความประณีตของจิตที่เกิดขึ้นจากการเจริญสมถกรรมฐานโดย ลำดับนั้นเอง

1.ปฐมฌาน มีองค์ 5 คือ
  วิตก ความตรึกที่เป็นกุศล
  วิจาร ได้แก่ความตรอง กุศลธรรมที่ตนตรึกนั้น  มีความสงบประณีตสูงขึ้นกว่าความตรึกตรองของสามัญชน เพราะว่าความตรึกตรองของท่านเหล่านั้นไม่ประกอบด้วยกิเลสและอกุศลธรรม
  ปิติ ความเอิบอิ่มใจที่เกิดขึ้น แสดงออกมาในลักษณะต่างๆ
 สุข ความสบายกายสบายใจ  อันเกิดจากจิตที่มีความสงบมีลักษณะโปร่งเบาบังเกิดขึ้นทั้งกายและจิต
 เอกัคคตา  จิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ  ไม่ถูกโยกคลอนให้หวั่นไหว  ด้วยการเหนี่ยวนึกของตนเอง และแรงกระทบมาจากภายนอก ในกรณีที่สิ่งกระทบนั้นไม่แรงเกินไป

2.ทุติยฌาน มีองค์ 3 ซึ่งเป็นพัฒนาการทางจิตที่ก้าวไกลขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ดังนั้นในทุติฌาน จึงไม่มีวิตก คือความตรึก ไม่มีวิจาร คือความตรอง แต่มีปิติ คือความเอิบอิ่มใจ
                สุข  คือความสบายกายสบายใจที่ประณีตยิ่งนัก ความสุขในชั้นทุติฌานนั้น  ท่านเรียกว่าเป็นความสุขที่หวานใจยิ่งนัก  เป็นความเอิบอิ่มเป็นความซาบซึ้งตรึงตรา   ซึ่งจิตธรรมดาของบุคคลไม่สามารถสัมผัส ความสุขในชั้นนี้ได้และเอกัคคตา คือจิตตั้งมั่นเป็นอันเดียว  มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้นกว่าในปฐมฌาน

3.ตติย ฌาน มีองค์ 2 คือ ความสุขและเอกัคคตา เพราะปิติสงบระงับไปจากจิตของบุคคลนั้น  ความสุขจึงมีความเกี่ยวข้องกับความสงบ  จิตของผู้ปฏิบัติก็จะเยือกเย็นและสงบมากยิ่งขึ้น

4.จตุตถฌาน มีองค์ 2 คือแม้ความสุขก็จะหายไป  ใจจะปรากฏเป็นอุเบกขาที่เรียกว่า เป็นอุเบกขาฌาน อันเป็นอาการของปัญญาปรากฏขึ้นภายในจิตพร้อมกับเอกัคคตา คือจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิไม่หวั่นไหว

ฌานทั้ง  4 ประการนี้ ท่านเรียกว่า "รูปฌาน" บางทีก็เรียกว่า  รูปสมาบัติ  ทั้งนี้เพราะว่ามีรูปธรรมเป็นอารมณ์ให้บังเกิดขึ้น   เมื่อกล่าวในชั้นของจิตแสดงว่าระดับจิตขึ้นสู่รูปาวาจรภูมิ คือชั้นที่มีรูปเป็นอารมณ์ ท่านเหล่านี้เมื่อทำลายกาลกิริยาตายไป  ถ้าฌานท่านไม่เสื่อม   ก็จะบังเกิดเป็นพรหมในพรหมโลกตามกำลังของฌานที่ท่านเหล่านั้นได้บรรลุเป็นผล ต่อเนื่อง  จากการเจริญสมถกรรมฐานนั้น มุ่งสงบนิวรณ์ทั้ง 5 ประการ  ซึ่งเป็นสนิมใจ เป็นเครื่องกั้นใจคนไว้ไม่ให้บรรลุความดี

"ผู้ใดที่ปฏิบัติได้ฌาณ ขอความกรุณาบอกอาการของฌาณที่เกิดขึ้นแต่ละขั้นด้วยครับ "....

การที่จิตมีฌาณเกิดขึ้น..หมายถึงจิตเรา..ไม่มีสภาวะของนิวรณ์ ๕ อยู่ในจิต...
สภาวะดังกล่าวเกิดขึ้น ๑ ขณะก็คือการได้ ฌาณ ๑ ขณะ...ส่วนลำดับของฌานนั้น ก็ จะมี
๑. จิตเรา..ไม่มีสภาวะของนิวรณ์ ๕ อยู่ในจิต...โดยที่เรายังมีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
๒.จิต เรา..ไม่มีสภาวะของนิวรณ์ ๕ อยู่ในจิต...โดยที่เรา...มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขเกิด
๓.จิตเรา..ไม่มีสภาวะของนิวรณ์ ๕ อยู่ในจิต...โดยที่เรา...มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปิติสิ้นไป
๔.จิต เรา..ไม่มีสภาวะของนิวรณ์ ๕ อยู่ในจิต...โดยที่เรา....ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ซึ่งจะไม่เกี่ยวอะไร กับ...นิมิต.....ตัวโครง...ตัวลอย....ไม่เจ็บ...ไม่ปวด...ไม่รู้สึก อะไร..เห็นหรือไม่เห็นลมหายใจ..เห็นเทวดา..เห็นนรก..เห็นแสง..อะไรอะไรอีก มากมาย
สภาวะธรรมที่เกี่ยวข้องมีแค่ตามที่ได้กล่าวข้างต้นครับ....

หมายเหตุ...นิวรณ์ ๕ มีดังนี้
๑.กามฉันทะ คือความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย) 
๒.พยาปาทะ คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ
๓.ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอย และมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอน
๔.อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ
อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที
ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่างๆ ที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้
๕.วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี

บันทึกการเข้า

poepun

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับ ฌาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2011, 04:39:34 am »
0
ลักษณะ อาการของสภาวะที่เรียกว่าฌาน ต่างกันไปในแต่ละขั้นครับ

เริ่มจากปฐมฌาน

เมื่อ เจริญภาวนาไปเรื่อยๆ จนจิตเปลี่ยนเป็นฌานจิต ณ เวลานั้นจะทราบได้เองว่า นี่คือฌาน ที่ทราบเพราะว่านิวรณ์ทั้ง 5 ดับสนิท หมดจด หมดเกลี้ยง

คือกิเลสที่เคยมีมา หายวับดับไปหมด จึงไม่แปลกที่บางคนจะหลงคิดไปว่าตนเองบรรลุมรรคผลเป็นอริยบุคคลแล้ว

อย่าง แรกคือ หมดสิ้นความยินดี หมดสิ้นความสนใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ได้ยินเสียงดังแค่ไหนก็ไม่รำคาญ หมดสิ้นความลังเลสงสัยในสิ่งที่กำลังปฏิบัติอยู่

มีสติมากมายกว่าจิต ของคนปกติ จะคิดอ่านพิจารณาสิ่งใดก็คล่องแคล่วว่องไว ไม่ติดขัด และไม่ฟุ้งซ่านรำคาญใจ พิจารณามากเท่าใดก็ไม่เหนื่อย ไม่เครียด

หาก กำลังปวดเมื่อยอยู่ ความปวดเมื่อยเหล่านั้นก็จะหายเป็นปลิดทิ้ง หากคันหรือเจ็บเพราะแมลงสัตว์กัดต่อยอยู่ ก็จะหายเจ็บหายคันเป็นปลิดทิ้ง

ทั่ว ทั้้งร่างกายในทุกๆส่วนตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า รวมถึงลมหายใจ จะเย็นสดชื่นยิ่งกว่าเ้ปิดเครื่้องปรับอากาศ และไม่หนาวสะท้านเลยแม้แต่น้อย ร่างกายทุกส่วนมีแต่ความเบาสบาย เย็น สดชื่น แจ่มใส มีผรณาปีติไหลเอิบอาบฉาบทาทั่วทั้งกาย

ในปฐมฌานนี้ จะรู้สึกถึงลักษณะ 5 ประการ คือวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
แม้ในคนที่ไม่เคยอ่านหนังสือตำราก็สามารถรู้ได้ถึงสิ่งทั้ง 5 ประการนี้

ใน กรณีที่ภาวนาโดยใช้อานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้าออก วิตก คือ การสูดลมหายใจเข้า แล้วรู้ว่าเมื่อลมหายใจเข้า เกิดปีติ เกิดความสุข เกิดความตั้งมั่น

ก็จะรู้ว่า ถ้าต้องการให้ปีติเกิดขึ้นมากกว่าเดิม ต้องยกจิตขึ้นรับอารมณ์ปีติ ต้องน้อมจิตเข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับอารมณ์ปีติ เมื่อรู้ดังนี้ ก็ยกจิตขึ้นรับอารมณ์ปีติ โผเข้าไปหาอารมณ์ปีติ หรือน้อมจิตเข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับอารมณ์ปีติ ปีติก็จะเกิดมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า จิตจะมีปีติเต็มดวงใจ จิตอิ่มเอิบ เอิบอาบ เป็นสุข และตั้งมั่น  มั่นคง ราวกับว่ามีเสาหลักต้นใหญ่ปักอยู่ตรงกลางร่างกาย หรือดวงใจ

สักพัก ปีติจะค่อยๆจางลง เบาบางลง พร้อมๆกับลมหายใจที่ไหลออก เมื่อรู้ว่าลมหายใจกำลังไหลออก และปีติกำลังค่อยๆจางลง เบาบางลง ก็รู้ว่าต้องกระทำซ้ำแบบเดิมอีกรอบ ปีติสุขจึงจะเกิดขึ้นอีกรอบ

คอย ประคองอารมณ์ของปฐมฌานแบบนี้ไปเรื่อยๆ  ตรึกนึกถึงอารมณ์ของผรณาปีติ จากนั้นยกจิตขึ้นรับอารมณ์ปีติ เป็นหนึ่งเดียวกับอารมณ์ของปีติ รู้สุข รู้โสมนัส และเข้าถึงซึ่งความตั้งมั่นอันยิ่งใหญ่ที่ไม่หวั่นไหว

ถ้า ถามว่าหากไม่เจริญวิตกโดยยกจิตขึ้นรับอารมณ์ ไม่เจริญวิจารโดยการเข้าถึงอารมณ์ปีติ ไม่เข้าไปคลุึกเคล้าเป็นหนึ่งเดียวกับอารมณ์ปีติ จะเป็นเช่นไร

ผลที่ ได้ก็คือ ผรณาปีติที่ไหลเอิบอาบเย็นชุ่มฉ่ำแช่มชื่นสดใสสบายกาย สบายใจ จะหายไปในทันที และอารมณ์ปีติสุขจะมลายหายไปเช่นกัน เหลือแต่เพียงความสงบเงียบ แต่จิตยังตั้งมั่นอยู่ บางท่านเรียกสภาวะอย่างหลังนี้ตามภาษาพูดว่า ตกภวังค์ แต่น่าจะเรียกว่า เคลื่อนจากอารมณ์ของฌานมากกว่า

สำหรับอุคคหนิมิตของอานาปานสติใน อุปจารสมาธิช่วงเฉียดฌานนั้น เหมือนกับปุยเมฆสีขาวบนท้องฟ้า หรือเหมือนกับไอของน้ำแข็งแห้งที่ลอยบริเวณหน้าเวที บางครั้งก็เป็นแสงสว่างกลมขาว ราวกับใครส่องไฟเข้าหาใบหน้า

ส่วนปฏิภาคนิมิตของอานาปานสติตอนได้ฌานนั้น จะเป็นเหมือนแก้วมณีมีประกายระยิบระยับ หรือเหมือนสร้อยมุกที่มีประกายระยิบระยับ

พวก นิมิตที่ลอยอยู่นี้จะลอยอยู่ระดับสายตาท่ามกลางความมืดของเปลือกตาที่ปิด สนิทอยู่ หากพุ่งความสนใจไปที่นิมิตมากกว่าอารมณ์ปัจจุบัน นิมิตจะหายไป แต่พอหันกลับมาใส่ใจรู้อารมณ์ในปัจจุบันตามเดิมนิมิตเหล่านี้ก็จะกลับมาลอย อยู่ตรงหน้าเหมือนเดิม ปฏิภาคนิมิตนี้อธิษฐานให้ใหญ่ก็ขยายใหญ่ขึ้นได้ อธิษฐานให้หดเล็กลงก็หดเล็กลงได้จริงเหมือนกับที่กล่าวไว้ในตำรา

ถ้า เจริญกสิณภาวนา อุคคหนิมิตที่เกิดในอุปจารสมาธิช่วงเฉียดฌานนั้นก็มีลักษณะตามชนิดของกสิณ ที่น้อมนึกระลึกถึง เช่นกสิณไฟ อุคคหนิมิตจะเป็นดวงกลมๆ คล้ายพระอาิทิตย์ดวงโตยามเช้า สีออกส้มแดงลุกโชน เหมือนถ่านที่ติดไฟทั่วทั้งก้อนที่ปราศจากขี้เถ้า

ถ้าเป็นกสิณสีแดงก็จะเป็นสีแดงธรรมดา ถ้าเป็นสีเขียว สีเหลือง ก็จะเป็นสีเขียว สีเหลืองธรรมดา

ถ้า เป็นกสิณสีขาว จะขาวเหมือนสำลี หรือก้อนเมฆ หรือคล้่ายพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ ถ้าเป็นอากาศกสิณ ก็จะเป็นวงกลมเป็นช่องว่างท่ามกลางความมืด สามารถมองเห็นเหตุการณ์ภายนอกได้เหมือนลืมตาอยู่ แต่เห็นเฉพาะภายในเขตวงกลมด้านในของนิมิต

ถ้าเป็นกสิณน้ำจะเป็น ระลอกคลื่นเบาๆ กระเพื่อมไปมาเล็กน้อยภายในวงกลมของอุคคนิมิต ลักษณะของน้ำจะเหมือนน้ำในสระว่ายน้ำหรือเหมือนน้ำในขันน้ำ

ถ้าเป็นกสิณดิน จะเป็นก้อนดินหรือเกล็ดดินสีน้ำตาลดำอยู่ภายในวงกลมของอุคคหนิมิต

ส่วนปฏิภาคนิมิตของกสิณภาวนา ก็เหมือนกันกับปฏิภาคนิมิตของอานาปานสติ

ขอกล่าวถึงลักษณะอาการของปฐมฌานก่อนนะครับ ไว้ค่อยเล่าต่อถึงลักษณะของฌานชั้นต่อๆไป
บันทึกการเข้า