ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เวทนาเกิดระหว่าง ภาวนา ควรทำอย่างไร ถึงจะถูกต้องในการภาวนา  (อ่าน 6171 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

lamai54

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 138
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นั่งกรรมฐาน ภาวนา ทีไร ปวดเหน็บ ปวดขา ทรมาน  ๆ มาก ๆ พอมาถึงตรงนี้ทีไร ก็จะเลิกทุกที
เพราะทนเวทนาไม่ได้ ทำอย่างไรดีคะ ที่จะสามารถ ก้าวข้ามเวทนา นี้ไปได้

 ถามจริง ๆ นะ ห้ามตอบกวนใจ นะคะ

 ช่วยด้วย

  :17: :c017:
บันทึกการเข้า
แข่งขันในโครงการ yamaha นะฮะ อย่าเข้าใจว่าเป็นพวกเสื้อแดง.... เราไม่ใช่....

samathi

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 93
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รู้สึกว่า จะ้ต้องใช้การกำหนดเวลา ร่วมในครั้งแรก เหมือนกับการฝึกกาย ไปด้วยครับ

คือ เรากำหนดไว้ที่ 10 นาที 15 นาที 20 นาที ไม่ต้องหักโหมครับ เอาจิตกำหนด บริกรรม ให้ได้ตามเวลา

( ไม่รู้ว่าตอบกวนใจ หรือ ไม่ )

 :58:  :hee20hee20hee:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
นั่งกรรมฐานทนเวทนาไม่ได้ ทำอย่างไรดีคะ ที่จะก้าวข้ามเวทนาไปได้

 ช่วยด้วย


การนั่งภาวนาด้วยการคู้บัลลังก์ หลังตรง ถือเป็นมาตรฐานการนั่งที่นิยมทำกัน แต่ทุกขเวทนาจากอาการเหน็บชา

ไล่จากปลายเท้าถึงบั้นเอวเป็นปัญหาให้กับหลายๆท่าน ผมเองก็ประสพมาก่อนอย่างยิ่งยวด สิ่งหนึ่งประการแรก

เราเห็นได้ คือ ร่างกายนี้เป็นทุกข์เสมือนประหนึ่งว่ามันไม่ใช่เรา เป็นเรา และของของเราชัดเจน ๑ ความเจ็บปวด

ทรมานยากที่จะฝืนทนและเป็นทุกข์ปรากฏแก่เรานี่จัดเป็นวิบากผล ๑ จิตจับจดบริกรรมหยั่งฐานศูนย์ตั้งมั่นอยู่ด้วย

สติรู้ซึ่งกิริยากระทำเป็นบารมี ๑



สิ่งที่ผมกล่าวไว้ให้อย่างนี้ เพียงให้คุณละมัยเห็นอานิสงส์องค์คุณที่ปรากฏอยู่หาสูญเปล่าไม่แต่อย่างไร ทุกครั้งที่

ทำให้น้อมถวายเป็นพุทธบูชาทุกครั้งด้วยศรัทธา และแผ่อุทิศความดีนี้ให้กายสังขารที่หน่วงเราให้เป็นทุกข์ อีกทั้ง

เจ้ากรรมที่เราหลงพลาดผิดคิดกระทำไปเป็นนายเวร เพื่อให้กายนี้นายเวรนี้ผ่อนปรนเรา ภาวนาครั้งต่อไปกำลังใจ

จะไม่หย่อนท้อ ขอให้สู้และสู้ต่อไปนะครับ



ฝากไว้ ให้ละมัย

     ชาติภพหยั่งกระทำ   ล้วนเป็นกรรมให้จำทน
ชีพนี้อย่าจำนน      ให้ลุค้นภาวนา.


                                                                           ธรรมธวัช.!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 19, 2011, 07:05:05 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ว่าด้วยสัทธานุสารี  และธัมมานุสารีบุคคล


         [๔๗๓]   กรุงสาวัตถี.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  จักขุสัมผัสสชเวทนา
ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา  โสตสัมผัสสชาเวทนา
ฯลฯ   ฆานสัมผัสสชาเวทนา    ฯลฯ    ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา    ฯลฯ
กายสัมผัสสชาเวทนา    ฯลฯ    มโนสัมผัสสชาเวทนา
    ไม่เที่ยง    มีอัน
แปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ผู้ใดเชื่อมั่น
ไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้   เรากล่าวผู้นี้ว่า   สัทธานุสารี  ฯลฯ
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
 จบ  เวทนาสูตร



บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สุขเวทนา   เป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป
ทุกขเวทนา   เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป
อทุกขมสุขเวทนา   เป็นสุขเพราะรู้ชอบ  เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด.
(จูฬเวทัลลสูตร
         เวทนา  การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก คือความรู้สึกในรสของอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการผัสสะ(Feeling)   ดังเช่น ความรู้สึกในรสของอาหาร(อาหารนี้ทำหน้าที่เป็นอารมณ์)ที่เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติจากการผัสสะของลิ้น  คือชิวหา  เป็นเพียงความรู้สึก(Feeling)ที่พึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ที่อาจเป็นความรู้สึกชนิดถูกใจ  ชอบใจ สบายใจ สบายกาย   หรือไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ ไม่สบายใจ ไม่สบายกาย    หรือเฉยๆ  อันขึ้นอยู่กับสัญญาความจำได้หมายรู้  (จึงไม่ใช่อาการที่เมื่อทานเข้าไปแล้วเกิดความคิดว่า  "อร่อย" อันเป็นสังขารขันธ์ทางใจหรือจิตตสังขาร  หรือทางวาจาที่เปล่งออกมาว่าอร่อย  อันเป็นสังขารขันธ์ทางวาจาหรือวจีสังขาร  หรืออาการน้ำลายสออันเป็นสังขารขันธ์ทางกายหรือกายสังขาร)
         เวทนาเป็นสังขาร  และเป็น  รับรู้ได้ด้วยทั้งกายและใจ ไม่มีตัวไม่มีตนเป็นแก่นแกนแท้จริง จึงไม่ใช่อัตตา,ไม่ใช่ของตัวของตนอย่างแท้จริง   เป็นอนัตตาจึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนา  เป็นสังขารที่หมายถึงสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอย่างหนึ่ง   ดังนั้นจึงย่อมเกิดแต่มีเหตุต่างๆมาเป็นประชุมกันชั่วขณะหรือระยะหนึ่ง  เหมือนดัง  จึงเกิดผลขึ้นเป็นเวทนาได้   ดังแสดงในเรื่องขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์ ตลอดจนปฏิจจสมุปบาท  จึงมีสามัญญลักษณะเหมือนดังสังขารทั้งหลายทั้งปวง  ที่มีความไม่เที่ยง จึงมีอาการแปรปรวน   เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็คงทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไป   และเป็นอนัตตา ที่ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นแกนอย่างแท้จริง ให้จับต้องควบคุมบังคับบัญชาได้    อยู่ในสภาวะเมื่อเหตุปัจจัยประชุมกันครบองค์ผัสสะ  ก็เกิดขึ้นเป็นไปตามธรรมหรือสภาวธรรมของผู้มีชีวิตที่จำต้องรับรู้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส  จะไปห้ามไม่ให้เกิด ไม่ให้มี ไม่ให้เป็นก็ไม่ได้  กล่าวคือ จึงเกิดเป็นสุขเวทนาบ้าง จึงเป็นทุกขเวทนาบ้าง  จึงเป็นอทุกขมสุขเวทนาบ้าง อันย่อมเป็นไปตามธรรม หรือที่เรียกกันโดยทั่วๆไปว่า  เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง หรือเฉยๆบ้าง  แล้วก็ดับไป  เกิดดับๆๆ..  อยู่เยี่ยงนี้อยู่ตลอดเวลา  ไม่มีตัวตนแท้จริง  จึงเป็นสิ่งที่ควรรู้ด้วยปัญญายิ่ง เพื่อให้เกิดไม่ไปยึดมั่นหมายมั่น กล่าวคือ ไม่ไปอยากด้วยด้วยการละเสีย   หรือไม่อยากให้เกิดขึ้นด้วยการละเสียซึ่งในเวทนาเหล่านั้น  ถ้าไม่ละตัณหาดังกล่าว  ก็จักเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดที่แสนเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายของเหล่าอุปาทานขันธ์  ๕ ใน อย่างเป็นทุกข์ขึ้น
ที่รู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์กันอยู่ในโลกนี้  ก็คือ เวทนา  นั่นเอง
เวทนา  - เสวยอารมณ์  - ความรู้สึก ที่ย่อมต้องเกิดขึ้น เมื่อมีกการผัสสะกับอารมณ์  ทุกครั้งทุกทีไป
จึงย่อมเกิดขึ้น   จะไม่ให้เกิดขึ้นย่อมเป็นไปไม่ได้  ตราบที่ยังดำรงชีวิตหรือขันธ์อยู่
แต่ที่ทำให้เร่าร้อนเผาลนยิ่ง   และพระองค์ท่านสอนให้ดับไปก็คือเวทนูปาทานขันธ์
อันย่อมเกิดขึ้น  เมื่อเวทนาหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้น  ไปประกอบด้วยอุปาทาน
อันเนื่องมาจากการเกิดตัณหาขึ้น
อันเป็นการดำเนินไปตามปฎิจจสมุปบาทธรรม  ฝ่าย
         เดิมก็ได้กล่าวถึงเวทนาอย่างละเอียดพอสมควร  ไว้แล้วทั้งในปฏิจจสมุปบาทและในขันธ์๕   แต่เนื่องจากเนื้อหาสาระมีเป็นจำนวนมากในธรรมทั้ง๒  จึงอาจพินิจพิจารณาจำแนกแตกธรรมได้ไม่แจ่มแจ้งชัดเจน   เพราะเกิดการปะปนสับสนกับธรรมอื่นๆ  จึงนำมาแจกแจงจำแนกแตกธรรมโดยละเอียดเป็นลำดับขั้นโดยเฉพาะอีกครั้งหนึ่ง   เนื่องเพราะมีความสำคัญในการเจริญธรรมหรือวิปัสสนาในพระศาสนา  ทั้งในขันธ์  ๕ และปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างยิ่ง  และแม้ในสติปัฏฐาน ๔ อันมีเวทนานุปัสสนา
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ควรทำในเวทนา อย่างนี้
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2011, 08:24:50 am »
0
อาตมา ได้ยก พระสูตร และ เนื้อหา อันปรากฏในเว็บมากมาย ให้เข้าใจก่อนว่า

 เวทนา นั้นมี อยู่ 3 ประการ

  1. ทุกขเวทนา

  2. สุขเวทนา

  3. อทุกขมสุขเวทนา

 มีอารมณ์ 3 ประการ

  1. ติดในทุกขเวทนา อารมณ์ร่วม คือ โทมนัส ไม่ยินดี ไม่พอใจ เป็นทุกข์

  2. ติดในสุขเวทนา  อารมณ์ร่วม คือ โสมนัส ยินดี พอใจ เป็นสุข

  3. ติดในอทุกขมสุขเวทนา อารมณ์ร่วมกลาง มีใจ เหมือนไม่ยินดี ยินร้าย เป็นกลาง แต่พร้อมที่จะเป็น ชาวบ้านมักเรียกว่า ว่า อุเบาขา คือ วางเฉย ตรง ๆ ของศัพท์ก็ดังนี้


  เวทนา ทั้ง 3 อะไรเป็นปัญหามากกที่สุด สำหรับ ปุถุชน

  คำตอบก็มักจะบอกว่า ทุกขเวทนา เป็นปัญหามากที่สุด เพราะมีความอึดอา ระอา เหนื่อย ไม่สบายกาย ไม่สบายใจเป็นประมาณ ซึ่งบรรดา ชาวปุถุชนทั้งหลาย ล้วนแล้วไม่ยินดีอยู่แล้ว โดยวิสัย

  ดังนั้น เมื่อ ทุกขเวทนา เกิด เราก็จะพยายาม ละ หนี ออก จาก ทิ้ง เปลี่ยน โดยธรรมชาติ

  ทุกขเวทนา มากับคำว่า ตบะ / อดทน  ซึ่งใครมี ตบะ หรือ อดทน ต่อ ทุกขเวทนา ได้มากก็ถือว่าเป็นยอดคน ตามความเชื่อ ซึ่งส่วนนี้ในพระพุทธศาสนานั้น จัดเป็น อัตตกิลมถานุโยค คือ การทรมานตนเพื่อความเป็นยอดคน เหนือคน เช่น ทนไฟ ทนน้ำ ทนอากาศ เป็นต้น

 ดังนั้น ถ้าจะอธิบายต่อจะเป็นเรื่อง ลำบากในการพิมพ์ จึงขอสรุปวิธี รับมือ กับ ทุกขเวทนา ดังนี้

สำหรับ ทุกขเวทนา ที่เกิดแล้วดับได้เอง เช่น ปวดเหน็บชา ระหว่างนั่งกรรมฐานเป็นต้น 

   สำหรับชาวภาวนาแล้ว เมื่อ เวทนาเกิดในระหว่าง ภาวนา ก็ต้องมีอดทน แต่พอประมาณ ไม่ฝืนจนเกินไป ไม่ตึงจนเกินไป ไม่ยอม หรือย่อหย่อน จนเกินไป ใช้เวลาเข้าช่วยในการฝึกฝน เช่นการกำหนดเวลา เป็นต้น เริ่มจากน้อยไปหามาก ในระหว่างฝึกฝนนั้น สิ่งสำคัญที่องค์ภาวนา ไม่ใช่อยู่กับการสู้กับเวลา


   เมื่อทุกขเวทนา เกิด มาก ๆ ในระหว่างเวลา ก็ให้พิจารณา ตามความเหมาะสม ว่าจะควรเปลี่ยน อิริยาบถ หรือ ไม่ควรเปลี่ยน อิีริยาบถ อย่าลืม เรามีความเจ็บ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้ ( ผู้ภาวนามักจะลืมกัน )
จึงพยายามฝืนจนเป็นทุกข์ทางจิตเพิ่ม คือ กายทุกข์ พาใจทุกข์อีก ต่อไปก็จะรำคาญการฝึกภาวนา เห็นเรื่องการภาวนานั้นเป็นเรื่องยาก ทั้ง ๆ ที่แท้จริง อยู่ที่ผลจากการสงบระงับของกิเลสในการภาวนาก่อนเป็นเรื่องแรก ที่ทุกคนมักทิ้ง และไม่ยอมทำความเข้าใจกัน

   เพียงเท่านี้ ท่านทั้งหลายก็จะสามารถเผชิญทุกขเวทนาได้ .....

   การเผชิญเวทนา นั้นเราต้องเผชิญ กับ เวทนา ทั้ง 6 จึงจักก้าวล่วงเวทนาได้ นะจ๊ะ

 เจริญธรรมเท่านี้ก่อน

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เจริญ อภิณหปัจจเวกขณ ให้เข้าใจ สำหรับผู้ภาวนา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2011, 08:33:47 am »
0
 อภิณหปัจจเวกขณ์ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ควรพิจารณาอยู่เนืองๆ เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆวัน คือ
๑.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
๓.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น เป็นต้น

๕.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของ ๆ ตัว  มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นที่พี่งพาอาศัย มีกรรมเป็นมรดกตกทอด ไมว่าเราทำกรรมอันใด ๆ ไว้ เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ถ้าเราทำกรรมดีก็จักได้รับกรรมดี ถ้าเราทำกรรมชั่วก็จักได้รับกรรมชั่ว




เจริญธรรม


 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


บทปลงสังขารครับ

เป็นวีดีโอ ที่ดีมาก ๆ ครับ ต้องเสริช์หาครับ

ผมคิดว่า อาจจะมี วีดีโอ ที่พระอาจารย์ปล่อยไว้บน youtueb อีกนะครับ

สาธุ สาธุ สาธุ

 :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 20, 2011, 09:37:44 pm โดย Hero »
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ