ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การสวดพระมาลัย จำเป็นต้องมีในงานศพ ทุกครั้งหรือป่าว  (อ่าน 30085 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การสวดพระมาลัย ผมเคยไปงานศพหลายครั้ง ฟังพระท่านสวด

เล่นเสียงสูง เสียงต่ำ บางท่วงทำนองอย่างกับร้องเพลง ผมเองก็นึกอยู่ว่า

พระท่านทำอย่างนี้จะเป็นการผิดศีล หรือป่าวครับ เหมือนเทศน์แหล่ ผมว่า เหมือน พระร้องเพลง

เลยครับ ชาวบ้านฟังแล้วอาจจะว่าหายาก หรือ งาม

แต่ผมฟังแล้ว รู้สึกไม่อยากให้ท่านสวดอย่างนี้

หรือว่าเป็นประเพณี ที่ควรรักษา

ถ้าอย่างนั้น การสวดพระมาลัย มีประวัติมาอย่างไร ครับ

มีการเริ่มสวดกันเมื่อไร ครับ

ใครเป็นผู้เริ่ม นำมาสวด

มีทำนอง กี่ทำนองครับ เพราะผมเคยไปฟัง ทำนองไม่เหมือนกันสักวัด เลยครับ

ผมเคยไปเจอที่อยุธยา วัดอะไรจำไม่ได้ มีการนำ อุบาสก 4 คนไปถือ ตาลปัตร แล้วก็สวด กระแทก

ตาลปัตรกับพื้น เป็นจังหวะ การสวดนั้นเรียกว่า สวดพระมาลัย หรือป่าวครับ


ประวัติพระมาลัย นั้นเป็น พุทธสาวก องค์ไหนครับ
 :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อ้างถึง
การสวดพระมาลัย จำเป็นต้องมีในงานศพ ทุกครั้งหรือป่าว

ตอบว่าไม่มีความจำเป็น ในงานศพ

ตอบสั้น ๆ ไว้ให้คนอื่น ตอบบ้างนะ

 ;)

Aeva Debug: 0.0004 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 16, 2010, 10:09:28 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระมาลัย มาจากไหน.? อย่างไรกัน.?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2010, 05:07:14 pm »
0



ความเป็นมาเรื่องพระมาลัย

                วรรณกรรม เรื่องพระมาลัย ซึ่งปรากฏในประเทศไทยยังมีความเป็นมาที่ไม่แน่นอน โดยมีข้อ

สันนิษฐานว่า น่าจะได้เค้าโครงเรื่องมาจากเรื่อง “มาลัยวัตถุ” ที่ปราชญ์ชาวลังกาแต่งไว้เป็นภาษาบาลี ผู้แต่งน่า

จะเป็นพระภิกษุ ในรัชสมัยของพระเจ้าปรักกรมพาหุ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเรื่องพระ

มาลัยนี้ถูกแต่งขึ้นในลังกา เพราะไม่ปรากฏคัมภีร์นี้เลยในลังกา แต่เค้าโครงเรื่องจูลคัลละในคัมภีร์สหัสสปกรณ์

ของลังกา ซึ่งแต่งเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ได้กลายมาเป็นเค้าโครงของเรื่อง มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ ของ

พม่า จึงมีข้อสันนิษฐานแย้งอีกว่า น่าจะได้เค้าโครงเรื่องมาจากเรื่อง “มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ” ซึ่งถูกแต่งขึ้นใน

ประเทศพม่า โดยภิกษุชาวพม่า ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้แพร่หลายเข้ามา

ในประเทศไทย ๒ ทางด้วยกันคือ ทางล้านนาไทย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ ทางสุโขทัยประมาณ

พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ แต่ก็มีข้อสังเกตว่า ไม่ปรากฏหลักฐานต้นฉบับคัมภีร์มาเลยยเทวัตเถรวัตถุในประเทศ

พม่าเลย จากข้อมูลตรงนี้จึงสันนิษฐานได้ว่า เรื่องพระมาลัยที่แต่งขึ้นในประเทศพม่านั้น อาจจะเป็นผลงานทาง

วรรณกรรมสั้นๆ ที่เรียกว่า “พระสูตร” จึงมีการใช้คำว่า พระมาลัยสูตร เป็นลำดับต่อมา ดังที่ เปลื้อง ณ นคร ได้

กล่าวไว้ว่า “พระมาลัยสูตร นี้นับว่าเป็นเรื่องที่มีสิริมงคลเช่นเดียวกับเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก.” จากเหตุผลที่

กล่าวมาข้างต้นนั้น จึงไม่สามารถที่จะสรุปประวัติความเป็นมาของวรรณกรรมเรื่องนี้ได้


ความแพร่หลายของเรื่อง

                เรื่อง พระมาลัยนี้มีแพร่หลายในประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยปรากฏ

เป็นวรรณกรรมบ้าง เป็นบทสวดบ้าง ที่เป็นวรรณกรรมนั้น คือ พระมาลัยคำหลวง เป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมา

ธิเบศฯ จารไว้ในสมุดข่อยเป็นอักษรไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และอีกเรื่อง คือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งพระ

มหาธรรมราชาลิไทยได้ทรงระบุไว้ในคาถานมัสการบานแผนกว่า “ในปาเลยยกะ” เข้าใจว่า คำว่า ปาเลยยกะ

นั้น อาจหมายถึง พระมาเลยยกะหรือเรื่องพระมาลัยนั่นเอง ส่วนที่เป็นบทสวดนั้นจะถูกจารไว้ในสมุดข่อยบ้าง ใน

ใบลานบ้าง ด้วยตัวอักษรของแต่ละท้องถิ่น เป็นอักษรไทยบ้าง อักษรธรรมบ้าง ภาษาที่ใช้ในการจารเป็นภาษา

โบราณ และอักขรวิธี ก็เป็นแบบโบราณ เช่น ในภาคใต้มีการจารไว้ในสมุดข่อยด้วยอักษรขอมหรืออักษรไทย ที่

เรียกว่า “บุด” และได้มีผู้ปริวรรตเป็นอักษรไทย แล้วเรียกว่า “พระมาลัยคำกาพย์” ในภาคอีสานมีการจารด้วย

อักษรธรรมไว้ในใบลานแล้วเรียกว่า “มาไลยหมื่น มาไลยแสน” ส่วนทางภาคเหนือก็มีการจารไว้ในใบลานเช่น

เดียวกันกับทางภาคอีสาน แต่เรียนว่า “ฏีกาพระมาลัย”

             เรื่องพระมาลัยนั้นนอกจากจะมีเรื่องราวแพร่หลายในประเทศไทยดังกล่าวแล้ว ยังมีเป็นที่รู้จักกันดีใน

ประเทศใกล้เคียงที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น พม่า ลาว และเขมร อีกด้วย ชื่อที่ใช้เรียกก็มีความคล้ายกัน คือ

ในประเทศพม่า เรียกว่า “เซียงมาเลเบี้ยว” แปลว่า กาพย์พระมาลัย (เซียง แปลว่า พระ, มาเล แปลว่า มาลัย,

เบี้ยว แปลว่า กาพย์) ในประเทศลาว เรียกว่า “มาลัยหมื่น มาลัยแสน” เช่นเดียวกับทางภาคอีสานของไทย และ

ประเทศเขมรใช้ชื่อภาษาบาลีตามต้นฉบับตัวเขียนว่า “มาเลยฺยเทวตฺเถรวตฺถุ” เนื้อหาของพระมาลัยในแต่ละ

ประเทศที่กล่าวมานั้นเป็นไปในทำนองเดียวกัน

             สำนวน ต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะแตกต่างกันเพียงชื่อที่ใช้เรียก และการใช้ถ้อยคำภาษาและ

รูปแบบของคำประพันธ์เท่านั้น แต่เค้าโครงของเรื่องยังเหมือนเดิม คือ กล่าวถึง นรก สวรรค์  บาป บุญ คุณ

โทษ และพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ เพื่อเป็นสื่อให้ผู้ฟัง หรือผู้อ่านได้เข้าใจถึงกรรมดี กรรมชั่ว ผลของกรรม

การทำบุญ ทำทาน อานิสงส์ของการทำบุญ ทำทาน และการปฏิบัติเพื่อให้ได้เกิดในสมัยของพระพุทธเจ้าพระ

นามว่า พระศรีอาริยเมตไตรยในอนาคต


อิทธิพลของเรื่องพระมาลัย

                เรื่องพระมาลัยมีอิทธิพล เป็นอย่างมากต่อความเชื่อของคนไทยในเรื่อง นรก สวรรค์ บาป บุญ คุณ

โทษ คือเชื่อว่า เมื่อทำบาปก็จะได้รับผลตอบแทนที่ไม่ดีคือตกนรก ส่วนเมื่อทำบุญ ทำทานอันเป็นความดีก็จะได้

รับผลตอบแทนที่ดีคือได้ขึ้นสวรรค์ เป็นต้น เช่นเดียวกับเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง แต่เรื่องพระมาลัยสามารถเข้าถึง

ชาวบ้านได้มากกว่า เพราะเรื่องพระมาลัยมีการนำมาสวดในงานพิธีต่างๆ เช่น พิธีแต่งงานตอนเจ้าบ่าวไปนอนเฝ้า

หอ และใช้สวดหน้าศพ นอกจากความเชื่อในเรื่องดังกล่าวแล้ว เรื่องพระมาลัยยังมีอิทธิพลต่อคนไทยในเรื่อง

พระศรีอาริย์ หรือพระศรีอาริยเมตไตรยเป็นอย่างมากอีกด้วย ความจริงแล้วเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระศรีอาริย์นั้น ได้

มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกก่อนหน้าที่จะมีเรื่องพระมาลัยเกิดขึ้น คือ ปรากฎอยู่ในจักกวัตติสูตร หมวดทีฆนิกาย

ปาฏิกวรรคว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมนุษย์มีอายุขัย ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าศรีอาริยเมตไตรย

จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ....” แต่ในพระไตรปิฎกไม่ได้

กล่าวถึงเกณฑ์ในการทำบุญต่าง ๆ ที่ปรากฎในเรื่องพระมาลัยนั้นคงจะเกิดจากความคิดหรือจินตนาการของผู้

ประพันธ์เอง เพื่อที่จะเบี่ยงเบนความคิดเดิมที่มุ่งทำบุญเพื่อให้ถึงพระนิพพานมาเป็นการ มุ่งทำบุญเพื่อให้ได้เกิด

ในยุคพระศรีอาริย์ แล้วจึงเข้าถึงพระนิพพานในภายหลัง ดังนั้น คนทั้งหลายจึงนิยมทำบุญกุศลตามที่เรื่องพระ

มาลัยได้กำหนดไว้ เช่น การฟังเทศน์มหาชาติอันประกอบด้วยคาถา ๑,๐๐๐ ให้จบภายในหนึ่งวัน การฟังเทศน์

มหาชาติจึงเป็นประหนึ่งว่า เรือที่นำคนที่ต้องการไปเกิดในยุคของพระศรีอาริย์ให้ถึงฝั่ง และถือเป็นประเพณีอัน

สำคัญอีกด้วย เพราะอิทธิพลดังกล่าวมาจึงเป็นเหตุให้ นิยมสร้างเป็นหนังสือไว้ตามวัดต่าง ๆ เพื่ออุทิศผลบุญให้

แก่ญาติที่ล่วงลับไป และด้วยเชื่อที่ว่าการสร้างหนังสือพระมาลัย หรือสมุดพระมาลัย ก็เหมือนกับได้สร้างพระ

ธรรมไว้ในพระพุทธศาสนาด้วย จะได้รับกุศลผลบุญเป็นอย่างมาก อนึ่งในหนังสือพระมาลัยทุกเล่มจะจารพระ

อภิธรรม ๗ คัมภีร์ไว้ต้อนต้นของหนังสือด้วย ไม่แปลกที่คนทั่วไปจะเรียกหนังสือพระมาลัยว่า “คัมภีร์พระมาลัย”

 

พระมาลัย : วรรณกรรมท้องถิ่นพม่าที่เลือนหาย

                ชาวพม่ารู้จักพระมาลัยว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง มีนาม  ว่า เฉี่ยนมาแล เรื่องราวของพระมาลัยมี

กล่าวไว้ในคัมภีร์พุทธศาสนานอกพระไตรปิฎก  พบว่ามีทั้งที่เขียนเป็นภาษาบาลีและภาษาพม่า อย่างไรก็ตาม

ชาวพม่าทั่วไปแทบไม่รู้จักเฉี่ยนมาแล  ความรู้เกี่ยวกับเฉี่ยนมาแลจึงต้องศึกษาจากเอกสารโบราณ และเค้ามูล

จากประเพณีของบางท้องถิ่นเท่านั้น

             เรื่องราวของพระมาลัยในประเทศพม่ามีกล่าวถึงในแง่ของความเป็นมาและงานพิธี โดยบันทึกเป็น

จารึก คำบอกเล่า และ สิ่งปลูกสร้าง  จากหลักฐานด้านจารึกเผยให้ทราบว่าคัมภีร์มหาวงศ์ เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึง

เรื่องของเฉี่ยนมาแลไว้แรกสุด  โดยพระมหานามะเถระ  จากเมืองอนุรา เกาะสิงหล ซึ่งมีการเรียบเรียงในราวปี

พุทธศักราช ๖๐๐ หรือ ๘๐๐   ต่อมาในคริสตศักราชที่ ๑๘๗๘ พระจีแตเลทะสะยาดอ แห่งเมืองชเวต่องได้แปล

คัมภีร์อรรถกถามหาวงศ์นั้นออกมาเป็นภาษาพม่า และตั้งชื่อว่า มหาวงศ์วัตถุ

             ในคัมภีร์มหาวงศ์วัตถุนั้นกล่าวถึง เฉี่ยนมาแล ว่า คือ พระมาลิยะมหาเทวะอรหันต์มหาเถระ ซึ่งเป็น

ใหญ่ในบรรดาพระอรหันต์ ๕ รูป พระองค์ทรงออกบิณฑบาตรับข้าวยาคูและภัตตาหารจากกษัตริย์ทุฏฐคามณิ

แห่งเกาะสิงหล แล้วนำไปแจกจ่ายแก่สงฆ์ ๙๐๐ รูป ที่จำพรรษาอยู่ นอกจากนี้ยังพบเรื่องราวของพระมาลัยจาก

ในคัมภีร์ รสวาหินี ที่พระรัฏฐปาละ แห่งมหาวิหารวาสีแปลไว้เป็นภาษาบาลี

             ในคัมภีร์รสวาหินีนี้ประกอบด้วยเรื่องเล่า ๑๐๓ บท ใน ๔๐ บทแรก กล่าวถึงเรื่องที่เกิดในชมพูทวีป

ส่วนใน ๖๓ บทท้าย กล่าวถึงเรื่องราวที่เกิดในเกาะลังกาทวีปสิงหล คัมภีร์รสวาหินีนี้ในประเทศพม่ารู้จักกันดีใน

ชื่อว่า มธุรรสวาหินีวัตถุ มธุรรสวาหินีวัตถุฉบับนี้เรียบเรียงในสมัยพุกามแต่ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และกล่าวกันว่าเป็น

คัมภีร์ที่เขียนเป็นภาษาบาลีพม่า โดยแปลมาจากภาษาสิงหล ต่อมามีการแปลเป็นภาษาพม่า แต่มิได้กล่าวไว้ว่า

เขียนเสร็จเมื่อไร  อย่างไรก็ตามได้พบหนังสือฉบับคัดลอกหนหลังในปี ค.ศ.๑๗๗๓   

             ในคัมภีร์มธุรรสวาหินีได้กล่าวถึงพระมาลัยว่า พระมาลัยได้ไปปฏิบัติกรรมฐานในวัดป่าเวลิยวิหาร

เกาะสิงหล วันหนึ่งเกิดอาพาธ เป็นโรคลมแน่นท้องจึงต้องออกบิณฑบาตข้าวยาคูมาเป็นยารักษาโรคจากอุบาสกผู้

หนึ่ง และด้วยทิพยญาณว่าอุบาสกผู้นี้จะได้เป็นเทพในสวรรค์ชั้นดุสิต จึงพาอุบาสกผู้นั้นไปกราบไหว้พระธาตุ

จุฬามณีบนสรวงสวรรค์ เมื่อไปถึงสรวงสวรรค์อุบาสกผู้นั้นก็ได้พบหมู่เทพและได้พบพระศรีอาริยเมตไตรย

โพธิสัตว์ และเมื่อกลับมาก็ได้บอกเล่าความสุขสบายในสรวงสวรรค์ให้ชาวบ้านทั้งหลายฟังจนชาวบ้านต่างมีจิต

ประกอบกุศลกันอยู่เนืองๆ และในที่สุดอุบาสกผู้นั้นก็ได้ไปเกิดเป็นเทพนามว่า มเหสักกะ ณ สวรรค์ชั้นดุสิตนั้น

ต่อมาคัมภีร์มธุรรสวาหินีนั้นได้กลายมาเป็น เฉี่ยนมาแลวัตถุ (พระมาลัยวัตถุ) ซึ่งมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระมาลัยที่

แตกต่างออกไป คือ พระมาลัยได้ไปจำพรรษา ณ หมู่บ้านโรหณะชนบท เกาะสิงหล วันหนึ่งได้ไปยังเมืองนรก

และสวรรค์ ขณะที่ไปในเมืองนรกได้พบเห็นชาวนรกที่ต้องทนทุกข์ทรมาน และเมื่อไปในสวรรค์ก็ได้พบกับเหล่า

เทพผู้มีบริวารสมบูรณ์พร้อม โดยพระอินทร์เป็นผู้เล่าความเป็นมาของเทพเหล่านั้นให้ฟังว่าเคยได้ประกอบกรรมดี

อันใด จึงส่งผลให้มาเกิดเสวยสุขในสรวงสวรรค์ นอกจากนี้พระมาลัยยังได้พบและสนทนากับพระ

ศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ และพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ได้ฝากให้บอกชาวโลกให้ประกอบกุศลทำบุญและ

ฟังธรรมเป็นนิจสิน เพื่อจะได้พบกับพระองค์ในภพหน้า เมื่อพระมาลัยกลับมายังโลกมนุษย์ก็ได้เล่าเรื่องราวต่างๆ

ให้ชาวบ้านฟัง ชาวบ้านผู้เลื่อมใสจึงปฏิบัติกุศลและทำทานกันถ้วนหน้า

             ในประเทศพม่านั้นได้พบเรื่อง เฉี่ยนมาแลวัตถุ หรือ พระมาลัยวัตถุจำนวนมาก ทั้งในรูปคำภีร์ใบลาน

และหนังสือบุด   ในบรรดาเอกสารเหล่านั้นได้พบหนังสือใบลานพระมาลัยเก่าแก่ฉบับหนึ่งที่คัดลอกในปี

ค.ศ.๑๖๖๘  สมัยพระเจ้าญองยาง ตัวอักษรที่จารเป็นภาษาพม่าสมัยญองยาง โดยแปลมาจากภาษา

มคธ(บาลี)  และมีอีกฉบับหนึ่งเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระมาลัย เขียนไว้ในปี ค.ศ.๑๗๖๑ กล่าวกันว่าเป็นฉบับที่

แปลมาจากภาษาไทย อย่างไรก็ตามเนื้อหาของเรื่องจากใบลานเก่าแก่ ๒ ฉบับนี้ไม่มีความแตกต่างกัน ต่อมาใน

ปี ค.ศ. ๑๘๐๔ ของสมัยคอนบอง  ได้มีการแต่งเรื่องพระมาลัยในรูปแบบกาพย์กลอนที่เรียกว่า ปโยะลีงกา ใน

บรรดาพระมาลัยวัตถุที่เขียนเป็นกาพย์กลอนนี้ เฉี่ยนมาแลปโยะ หรือ กาพย์พระมาลัย โดยกวีอูโน แห่งสมัย

คอนบองนับเป็นงานที่เด่นมาก  ในต้นยุคอาณานิคม ยังมีการพิมพ์พระมาลัยฉบับปโยะเผยแพร่เป็นจำนวนมาก

แต่กลับมิได้ระบุชื่อผู้แต่งไว้ เพียงแต่กล่าวว่าได้เคยมีการจัดพิมพ์เฉี่ยนมาแลวัตถุไว้ฉบับแรกในโบราณทีปนี

ฉบับที่ ๒ ซึ่งเขียนโดยสะยาเตง แห่งเมืองหม่อบี่ จึงกล่าวได้ว่าในสมัยอาณานิคมนั้นเป็นช่วงที่มีการตีพิมพ์เรื่อง

เฉี่ยนมาแลวัตถุ (พระมาลัยวัตถุ) อย่างแพร่หลาย

             นอกเหนือจากการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาและคำบอกเล่าเรื่องราวของพระมาลัยผ่านงานที่เป็น

ลายลักษณ์อักษรแล้ว ในสังคมพม่ายังมีการกล่าวถึงความสำคัญของพระมาลัยต่อวิถีชีวิตชาวบ้านในรูปแบบต่างๆ

ด้วย เช่น การจัดงานประเพณี การใส่บาตรพระมาลัย ตลอดจนการตั้งชื่อพระเจดีย์

             การจัดงานประเพณีพระมาลัยนั้น มีชื่อเรียกภาษาพม่าว่า เฉี่ยนมาแล-บแว งานเฉี่ยนมาแล-บแวนี้

เป็นงานประเพณีงานหนึ่งที่ชาวพม่าเคยรู้จักกันดี   มีหลักฐานว่า ธรรมเนียมการจัดงานนี้มีสืบมาตั้งแต่สมัยพุกาม

จนถึงสมัยรัตนบุระอังวะ และมีการกล่าวถึงการจัดงานเฉี่ยนมาแล-บแวไว้หลายแห่ง เช่นในจารึกตีงจีญ่องโอะ

ค.ศ.๑๒๐๑  กล่าวถึงการฟังธรรมเรื่องพระมาลัยในสมัยพุกามไว้  และในจารึกสมัยพุกามก็มีการกล่าวถึงเรื่อง

พระมาลัยควบคู่ไปกับพระเวสสันดร  อีกทั้งในจารึกมิพญาจีชเวจอง สมัยพระเจ้ามีงจีสวา แห่งกรุงอังวะ

ค.ศ.๑๓๗๓    ได้จารึกไว้ว่า มีการฟังธรรมเฉี่ยนมาแลมาตั้งแต่สมัยพุกาม และยังกล่าวถึงการจัดงานเฉี่ยนมา

แล-บแวว่าจัดกันอย่างยิ่งใหญ่ ส่วนในเมียนมามีงโอะโชะโป่งส่าตาน (คำบันทึกการปกครองของกษัตริย์พม่า)

ฉบับที่ ๕ ได้กล่าวไว้ว่า การจัดงานเฉี่ยนมาแล-บแวนี้ เป็นงานประเพณี ๑ ใน ๓ งาน ที่จัดในเดือนตะส่องโมง

หรือเดือน ๘ ของพม่า เป็นช่วงเดียวกับงานทอดกฐินและงานตามประทีปในระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 

             นอกจากการจัดงานประเพณีแล้ว ในจารึกเกี่ยวกับปราสาทมหามุนี ก็ได้กล่าวถึงเรื่องการใส่บาตร

เฉี่ยนมาแลซูน(ข้าวพระมาลัย) แด่พระสงฆ์ด้วย  นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงการตั้งชื่อพระเจดีย์ว่าเฉี่ยนมาแล ดัง

พบในบทกลอนเจและกาพยา ซึ่งเป็นเพลงกลอนพื้นบ้านสมัยคอนบองได้กล่าวถึงพระเจดีย์ชเวมาแล ที่เมืองซิ่ง

กู่ ไว้ว่า  สาวชาวนาชักชวนคนรักไปยังพระเจดีย์ชเวมาแล เพื่อยกหินเสี่ยงทายว่าทั้งสองจะเป็นคู่ครองที่แท้จริง

หรือไม่  และที่เมืองยะมีตีง มีพระเจดีย์เล็กๆ ๑ องค์ ชื่อว่า เฉี่ยนมาแล-พยา ที่พระเจดีย์มีป้ายติดไว้ว่าเป็นพระ

เจดีย์สมปรารถนา ในเดือนตะส่องโมง(เดือน ๘ พม่า) จะมีการจัดงานเฉี่ยนมาแล-บแว ชาวบ้านจะนำเครื่องบูชา

มาบูชาพระเจดีย์ ซึ่งเรียกว่า พันห้าอย่าง อันประกอบด้วย ประทีป ข้าว ดอกไม้ น้ำ และตุง
 
             นอกจากนี้ยังพบพระนามของกษัตริย์ปรากฏในจารึกหลายพระองค์ อาทิ พระเจ้าอะลองสี่ตู พระเจ้า

ช้างเผือกหงสาวดี (บุเรงนอง) และพระเจ้าโพด่อพญา ว่าได้ถวายที่ไร่ที่นาต่อพระเจดีย์ จึงอาจกล่าวได้ว่าพระ

เจดีย์ชเวมาแลนี้ได้สร้างมานับแต่สมัยพุกามแล้ว และก็มักจะจัดงานฉลองพระเจดีย์ในเดือนตะส่องโมงดังกล่าว

             นอกจากนี้ยังพบพระเจดีย์เฉี่ยนมาแลที่เมืองมัณฑะเล ณ บริเวณด้านเหนือของพระเจดีย์มหามุนี 

และในคันธกุฎีบนพระเจดีย์เฉี่ยนมาแลนั้นมีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง นามว่า เฉี่ยนมาไลก์พญา และมีการจัดงาน

ฉลองเฉี่ยนมาแลเป็นประจำทุกปี โดยงานจะเริ่มในตอนบ่ายของวันเพ็ญเดือนตะส่องโมง จะมีคนขายดอกบัวที่

ลานพระเจดีย์ และผู้คนที่มากราบไหว้เจดีย์ก็จะซื้อดอกบัวถวาย โดยบ้างก็ปักไว้ในแจกัน และบ้างก็โยนบัวขึ้นไป

ยังองค์พระเจดีย์เป็นที่สนุกสนาน แต่กลับไม่พบการเทศนาพระเวสสันดรชาดกและคำสวดพระมาลัย แม้แต่

ทายกวัดก็ยังไม่รู้จักเรื่องราวเฉี่ยนมาแลวัตถุ จึงอาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบันนี้ ชาวเมืองมัณฑะเลไม่ค่อยรู้เรื่องราว

เกี่ยวกับเฉี่ยนมาแลวัตถุกันนัก

             ส่วนที่รัฐยะไข่ ก็พบว่าเคยมีธรรมเนียมการสวดพระมาลัยวัตถุและพระเวสสันดรชาดก โดยจะสวด

ทั้ง ๒ คาถาพร้อมกันในวันเดียวของวันเพ็ญเดือนตะดีงจู๊ต (เดือน ๗ ช่วงงานจุดประทีปและออกพรรษา) มีการ

จัดงานในบริเวณวัด และสร้างมณฑป ๑,๐๐๐ หลัง ในแต่ละมณฑปจะจัดวางของบริจาคอย่างละ ๑,๐๐๐ ชิ้น

และในการอ่านพระมาลัยวัตถุและพระเวสสันดรชาดกจะจัดผู้อ่านผลัดเปลี่ยนกัน ในใบลานเฉี่ยนมาแลวัตถุที่พบที่

เมืองยะไข่นั้นบอกปีไว้ว่าเป็นปี ค.ศ. ๑๙๒๔ เรื่องราวพระมาลัยในใบลานของยะไข่นั้นเหมือนกับเรื่องราวของ

เฉี่ยนมาแลวัตถุของพม่า  ในปัจจุบันงานฉลองเฉี่ยนมาแลของยะไข่ไม่เป็นที่นิยมแล้ว

             ส่วนในรัฐฉาน คนไทขึนในรัฐฉานมีธรรมเนียมอยู่ว่า หลังจากแต่งงานได้ระยะหนึ่งแล้ว ชีวิตครอบ

ครัวจึงจะลงตัว เมื่อถึงเวลานั้นก็จะทำบุญด้วยการคัดลอกประวัติของพระมาลัย และเรื่องราวพระเวสสันดรชาดก

จากนั้นจะเชิญเพื่อนบ้านให้มาฟังบทสวด หลังจากพิธีนี้แล้วจึงจะถือว่าครอบครัวใหม่นี้เป็นที่ยอมรับของสังคม

พิธีการอ่านพระมาลัยวัตถุและพระเวสันดรชาดกนับเป็นที่แพร่หลายในรัฐฉาน

             ส่วนทางตอนล่างของประเทศพม่า มีการจัดงานเฉี่ยนมาแลเช่นกัน โดยมีรูปแบบต่างออกไป คือจะ

จัดทำมณฑปเป็นรูปเรือใหญ่ที่เรียกว่า หล่อกา เพื่อใช้เป็นที่จัดวางผลไม้ ขนม ตุง อย่างละ ๑,๐๐๐ เรือที่จัดทำ

ขึ้นนี้มีความหมายเปรียบเสมือนแพนำสู่พระนิพพาน ชาวบ้านที่นี่เรียกงานฉลองนี้ว่า หล่อกาบแวด่อ ตามชื่อของ

เรือ แต่บ้างก็เรียกว่า งานถ่องปยิบแวด่อ ตามชื่อเครื่องบูชาที่ถวายอย่างละพัน ในสารานุกรมพม่าได้กล่าวถึงการ

จัดงาน เฉี่ยนมาแลถ่องปยิบแวด่อ ทีเมืองพย่าโป่ง ในเดือนต่อตะลีง (เดือน ๖ ในช่วงประเพณีแข่งเรือของเดือน

สิงหาคม-กันยายน) 

             ส่วนในหมู่บ้านกะเหรี่ยงบริเวณริมแม่น้ำจะทำเรือหล่อกาฉลองในงานเฉี่ยนมาแลบแว แต่ใน

ปัจจุบันไม่พบการจัดงานนี้แล้ว ส่วนที่เมืองตะนาวศรีก็มีการจัดงานเฉี่ยนมาแลบะแวเช่นกัน และที่เมืองมะริดก็มี

การจัดงานวันเวสสันดร มีการนิมนต์พระมาสวด ๓ วัน ๓ คืน ส่วนที่เมืองทวาย จะจัดงานเฉี่ยนมาแลบะแวด่อ

หรือ เวสันดรบะแวด่อ อยู่เป็นประจำในทุกวันเพ็ญเดือนตะดีงจู๊ต (เดือน ๗ พม่า) โดยจะจัดเครื่องบูชาจำนวน

๑,๐๐๐ ชิ้น และมีการอ่านเฉี่ยนมาแลวัตถุ เมื่ออ่านจบจะมีการตีกังสะดาร เป่าหอยสังข์ และรำฟ้อนกันอย่างสนุก

สนาน จากนั้นก็จะผลัดกันอ่านพระเวสสันดรชาดก ๑๔ บทจนจบในวันนั้น
 
             จะเห็นได้ว่าการจัดงานพระมาลัยมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวของพระมาลัยวัตถุ และเรื่องราวของ

พระมาลัยก็ได้แพร่หลายไปทั่วประเทศพม่า เช่นเดียวกับประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบว่าเรื่อง

ราวของพระมาลัยวัตถุนี้มีการเสริมแต่งออกไปมาก เนื้อเรื่องจึงมีความแตกต่างไปจากเค้าเรื่องเดิมในตำราสิงหล

รสวาหินี (มธุรรสวาหินี) ส่วนเนื้อหาของเรื่องพระมาลัยภูมิภาคนี้กลับไม่มีความแตกต่างกัน

             พระมาลัยวัตถุนี้ในบางครั้งเคยมีการจัดทำเป็นภาคผนวกประกอบหนังสือใบลานเรื่องพระเวสสันดร

ชาดก ใบลานในลักษณะเช่นนี้มีพบในประเทศพม่าเช่นกัน อาทิ หนังสือใบลานที่พบในจังหวัดตะนาวศรี ลงปีที่คัด

ลอกไว้ว่า วันจันทร์ ที่ ๒ เดือนวาโส่ (เดือน ๔ พม่า) ศักราช ๑๒๔๗ จะเห็นได้ว่าพระมาลัยวัตถุเป็นที่นิยมแพร่

หลาย และมีการสืบต่อในรูปแบบที่หลากหลาย แต่ก็เป็นเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้องกับพระมาลัยวัตถุฉบับบาลี

ของศรีลังกา

             ในประเทศพม่าช่วงศตวรรษที่ ๑๑ แห่งยุคพุกาม ได้พบตำราภาษาบาลีของนิกายเถรวาทที่สืบจาก

นิกายสิงหลมหาวิหารเป็นจำนวนมาก และในกลางศตวรรษที่ ๑๒ เป็นช่วงของความเจริญทางด้านวรรณกรรม

ภาษาบาลี และมีพระสงฆ์นิกายสิงหลอยู่มาก  ดังในจารึก มีงจีสว่าชเวจองที่จารึกในปี ค.ศ.๑๓๗๔ และจารึก

ตีงจีญ่องโอะที่จารึกในปี ค.ศ.๑๒๐๑ ได้กล่าวถึงเรื่องการฟังธรรมพระมาลัยวัตถุ สิ่งนี้จึงเป็นหลักฐานที่แสดงให้

เห็นว่าพระมาลัยวัตถุได้เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศพม่ามาแล้วตั้งแต่ในสมัยต้นศตวรรษที่ ๑๓ และในศตวรรษที่

๑๔ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหากพูดถึง เฉี่ยนมาแล ชาวพม่าในเมืองใหญ่ๆ มักไม่ทราบว่าเฉี่ยนมาแล คือใคร

และเมื่อพูดถึงเรื่องพระเถระที่เดินทางไปยังนรกสวรรค์แล้ว พระโมคคัลลานะ กลับเป็นที่รู้จักกันมากกว่า

เฉี่ยนมาแล จึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาว่าเพราะเหตุใดเรื่องราวของเฉี่ยนมาแลจึงได้เลือนหายไปจากความทรงจำของ

ชาวพม่า





อ้างอิงที่มา
http://www.watdao.com/board/index.php?topic=141.0
http://office.nu.ac.th/myanmar/lite/index6_13.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2010, 11:41:16 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ประเพณีนิยมเรื่องการสวดพระมาลัย

                 การสวดพระมาลัย เป็นการขับลำนำชนิดหนึ่งทางภาคใต้ซึ่งใช้สวดกันในงานศพ การสวดพระมาลัย

ถือกันว่าเป็นการนำเอาเรื่องราวต่างๆของพระมาลัยมาสวดกันตาม สำเนียงของคนทางภาคใต้ “พระมาลัย” มี

ความสำคัญอย่างไรนั้น ได้บันทึกลงไว้ในคัมภีร์สวดพระมาลัย ไว้ดังนี้

             “ในกาลอันล้นพ้นไปแล้วแต่ครั้งก่อน ภิกษุหนึ่งได้พระพร ชื่อมาลัยเทพ เถร อาศัยบ้านกัมโพช

ชนบทโลหะเจน อันเป็นบริเวณในแว่นแคว้นแดนลังกา พระเถรนั้นเธอมีฤทธิ์ ประสิทธิ์ด้วยปัญญา มีศีลครอง

สิกขาฌานสมาบัติ บริบูรณ์ สิ้นกิเลสประเสริฐศักดิ์ สันโดษนักไตรจักปูน รู้หลักศรัทธาพูนใจ ละเอียดทรงพระ

ธรรม์ ปรากฏด้วยรู้หลัก มีฤทธิ์นักถึงอรหันต์ อุปมาเหมือน พระจันทร์ อันปรากฏในเวหา ท่านนั้นเสด็จไปในนรก

ด้วยกรุณา เพื่อจะให้เขา สั่งมา แล้วบอกแก่ญาติพลัน”

จากบทสวดข้างบนก็พอจะทำให้เห็นถึงความสำคัญของพระมาลัยที่นำมาเป็นบทสวดได้บ้างพอสมควร


ประวัติความเป็นมา

                 สวดพระมาลัยนี้ไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่แน่นอน เพียงแต่เป็นการสืบทราบกันมาด้วย

ถ้อยคำของอาจารย์รุ่นเก่าๆ ว่าการสวดพระมาลัยนี้เป็นการสวด ต่อท้ายจากการสวดพระอภิธรรมเหมือนกับการ

สวดคฤหัสถ์ของภาคกลาง ในภาคใต้นั้น ถือว่าในการสวดพระมาลัยนี้น่าจะสวดให้ตลอดทั้งคืนเพื่อจะได้มีคนอยู่

เฝ้าศพ แต่ถ้าจะให้พระสงฆ์สวดอยู่ตลอดทั้งคืนนั้นไม่สามารถจะทำได้ จึงเอาฆราวาสมาสวดแทน ผู้สวดพระ

มาลัยไม่ใช่ศิลปินที่มาจากไหน เป็นเพียงนักแสดงธรรมะทั้งสิ้น เป็นผู้มีความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย จะต้องเข้า

ถึงธรรมจริงๆ ซึ่งเรียกกันว่าสัปปุรุษหรืออาจจะเรียกได้ว่าคนแก่วัดหรือคนถือศีล เพราะฉะนั้นผู้สวดพระมาลัยก็คือ

ผู้ที่เคยบวชเรียนมาแล้ว และได้เป็นนักสวดมาแต่ครั้งยังเป็นพระสงฆ์อยู่ เมื่อสึกออกมาก็เลยมาเป็นผู้สวดพระ

มาลัยได้อีก เพราะแต่ก่อนถือว่าผู้ที่บวชเรียนแล้วจะต้องรู้ถึงหลักธรรมต่างๆ พอสมควร

             จุดประสงค์ประการสำคัญในการสวดพระมาลัยนั้นก็เพื่อที่จะให้คนที่ได้รับฟังนั้นได้รู้ถึงบาปบุญคุณ

โทษต่างๆ ที่ทุกคนได้กระทำลงไป เช่น ให้รู้ว่าคนเรานั้นถ้าทำบาปพอตายลงไปแล้วก็จะต้องตกนรก ถ้าทำแต่

คุณงามความดีตายไปก็จะได้ขึ้นสวรรค์ ในการสวดพระอภิธรรมของพระสงฆ์ซึ่งทุกคนก็คงจะได้รับฟังอยู่บ้างนั้น

บทสวดต่างๆที่สวดนั้นเป็นภาษาบาลี และในการสวดนั้นก็ไม่ได้แปลให้ด้วยว่าเป็นการกล่าวถึงใคร อะไร ที่ไหน

เมื่อไร เพราะฉะนั้นผู้ฟังเมื่อได้ฟังแล้วก็คงจะได้ฟังเพียงผ่านหูไปด้วยไม่เข้าใจในภาษาที่สวดแต่ประการใด แต่

การสวดพระมาลัยนี้บทสวดต่างๆที่สวดไปนั้น เป็นภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ทุกวัน ผู้ฟังฟังแล้วก็สามารถเกิดความเข้า

ใจได้ง่าย และอีกประการหนึ่งเนื้อหาสาระต่างๆ ที่ใช้สวดนั้นนอกจากจะกล่าวถึงบาปบุญคุณโทษแล้ว เมื่อกล่าว

ถึงสิ่งอันใดก็พยายามแสดงท่าทางออกมา เช่น พระมาลัย ยมบาล หรืออาจจะแสดงตัวเป็นเปรตตามที่กล่าวใน

เรื่องราว ซึ่งจะทำให้คนที่ได้นั่งฟังเกิดความพอใจ หรือแม้แต่คนที่หลับไปแล้วก็สามารถจะตื่นขึ้นมาอยู่เป็นเพื่อน

กันไปจนรุ่งเช้าได้ด้วยทำนองต่างๆของการสวด

             แต่ในสมัย หลัง ๆ การสวดพระมาลัยเปลี่ยนไปมาก มีเรื่องพระมาลัยพอเป็นเค้า ได้แทรกเนื้อเรื่อง

อื่น ๆ เพื่อเพิ่มบรรยากาศให้สนุกสนานขึ้นจนแทบจะหาพระมาลัยเรื่องเดิมไม่ได้ ทำให้งานศพเกิดความรื่นเริงมาก

ยิ่งขึ้น คัมภีร์ที่ใช้ในบทสวดนี้เรียกว่า " คัมภีร์มาลัย " หรือ หนังสือสวดมาลัย หรือ หนังสือมาลัย เป็น หนังสือ

บุดจารึกตัวอักษรขอมไทย ทำนองประพันธ์เป็นกาพย์ มีความหนาประมาณ 1 คืบ ยาวประมาณ 1-2 ศอกเศษ

ซึ่งสามารถพบได้ที่วัด สวนป่าน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

             การสวดมาลัยเริ่มสวดตั้งแต่หัวค่ำ เมื่อพระสวดศพจบและกลับวัดไปแล้ว ผู้ที่อยู่ในงานศพ หรือ

วง(คณะ) ตั้งวงสวดต่อ จนกระทั่งรุ่งเช้าจึงหยุด ผู้สวดในวงหนึ่ง ๆ มีประมาณ 4 คน มีตาลปัตรบังหน้าทุกคน เป็น

แม่เพลง 2 คน เรียกแม่ " แม่คู่ " และอีก 2 คน เรียก " คู่หู " แม่เพลงนั่งหันหลังให้โลงศพ ลูกคู่นั่งหันข้างให้

โลงศพ ลูกคู่มีหน้าที่ร้องรับการสวดของแม่เพลง แต่หากตอนใดที่แม่เพลงเห็นว่าสำคัญ ก็เปิดโอกาสให้ลูกคู่ออก

ท่าทางรำประกอบตอนนั้นด้วย การสวดบางตอนอาจมีการผสมโรงจากคนดูเพื่อความสนุกสนาน ส่วนเครื่องดนตรี

น้อยวงที่จะมี ส่วนใหญ่ใช้เสียงลูกคู่ทำเป็นเสียงประกอบต่าง ๆ ที่ต้องการ บางวงที่มีเครื่องดนตรีเช่น รำมะนาและ

ขลุ่ย แต่ เดิมงานศพแทบทุกงานในเมืองนครต้องรับวงมาลัยไปประจำงาน เพราะค่าใช้จ่ายน้อย เพียงแต่เลี้ยง

อาหารให้ค่าตอบแทนเล็กน้อย ได้คืนล่ะ 100 บาท หรือ 200 บาท ตามแต่ฐานะของเจ้าภาพ

             ในระยะหลัง การสวดมาลัยไม่ค่อยเป็นไปตามที่ปฏิบัติแต่เดิม ส่วนมากนิยมนั่งล้อมวงข้างหน้าศพ

จำนวนกี่คนก็ได้ ไม่จำกัดว่าใครนั่งตำแหน่งไหน นั่งกันได้ตามสะดวก มีการผลัดกันร้องผลัดกันรับ หรือไม่ก็ต่อ

กลอนกันทั้งวง ไม่มีการใช้ตาลปัตรเหมือนแต่ก่อน   
               
        แต่เดิมนั้นการสวดมาลัยมีพิธีการตามลำดับดังนี้

       1. เริ่มต้นด้วยการสวดบท " นโม " เพื่อไหว้ครู เป็นการสวดทำนองกลอนเรียกว่า " ตั้งนโม "

       2. ดำเนินเรื่องที่เรียกว่า " ตั้งในการ " กล่าวประวัติของพระมาลัยอย่างละเอียด

       3. กล่าวบทที่เรียกว่า " สำหรับบท " เป็นการกล่าวถึงพระพุทธองค์และพระเกียรติคุณ

       4. กล่าวบทที่เรียกว่า " พระเถร " ก็คือพระมาลัยนั้นเอง

       5. กล่าวบทที่เรียกว่า " ฉันชา " บรรยายโทษของการผิดลูกเมียผู้อื่น

       6. กล่าวบทที่เรียกว่า " เมียท่าน " บรรยายความชั่วช้าในการคบชู้

       7. กล่าวบทที่เรียกว่า " เบ็ดเตล็ด " หรือ " ลำนอก " เป็นการนอกเรื่องพระมาลัย เป็นของแถมที่นักสวด

มาลัย คิดขึ้นมาเพื่อความสนุกสนานในการสวด โดยมากมักจะเล่นเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้ " จันทโครพ " (ตอนฤษี

ให้ผะอบแก่จันทโครพ) ลักษณวงศ์ (ตอนฆ่าพราหมณ์) พระอภัยมณี (ตอนศรีสุวรรณเข้าเมืองรมจักรและตอน

จับเจ้าละมาน) และราชาธิราช (ตอนพระยาน้อยชมตลาด) และก่อนจบจะมีการกล่าวร่ำลาให้พรเจ้าของบ้านและ

ผู้ตาย บัดนี้การสวดมาลัยในเมืองนครยังมีอยู่บ้างแถวชนบท วงมาลัยบางวงได้รับงานเพียงเดือนละครั้งสองครั้ง

ส่วนใหญ่คนต่างเมืองจะรับไปสวด

             การสวดมาลัยนับว่าจะสูญหายไปทุกที่ เพราะประเพณีที่มีค่าสูญหายไปทุกที ทั้งนี้ผู้สนใจฝึกฝน

และหาคนที่มีพรสรรค์ในด้านนี้ยาก 





บทสวดบำเพ็ญกุศล (พระมาลัย)

http://www.openbase.in.th/node/2585




อ้างอิงที่มา
http://www.laksanathai.com/book3/p244.aspx
http://www.tungsong.com/NakhonSri/Tradition_NakhonSri/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2/Index_02%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2.html

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2010, 12:40:15 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

lastman

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 158
  • สระบุรี มีอรอยพระพุทธบาทมากที่สุด.................
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
บทส่งท้าย(ของโบราณ)

โอ้โอ๋แสนสงสารท่านผู้ตาย……มาวางวายปล่อยปละละสังขาร์…….
เข้าตราสังแสนทุเรศเวทนา…….. มือคาขาทั้งสามบ่วงดูรุงรัง……
ถ้าพูดได้เขาจะบอกว่าเจ็บขัด……. อย่าผูกมัดฉันเลยหนาอย่าตราสัง!!….
เลือดคงแห้งเส้นคงหดหมดกำลัง…… เพราะมรณังพูดไม่ได้หนอกายเรา……
สิ้นสนุกสุขสบายกันครานี้……… ต้องเป็นผีให้เขาหามไปเผา……..
ขึ้นจนอืดขึ้นจนพองเป็นหนองเน่า…… พรุ่งนี้เช้าก็ต้องจรจากเรือนตน……
ผู้อยู่หลังก็จะตั้งแต่เศร้าโศก…….. ต้องวิปโยคทุกเช้าเย็นกระเสือกกระสน….
ลูกพลัดแม่พ่อพลัดลูกทุกตัวตน…….. ต้องวายชนม์ชีพสลายตายจากกัน……
โอ้อาลัยใจห่วงเสียวดวงจิต……… อาวรณ์คิดนิจจาแทบอาสัญ……..
พูดไม่ออกบอกไม่ได้ต้องไกลกัน…… นับแต่วันชีวิตดับไม่กลับมา…….
ถ้าพูดได้เขาจะบอกว่าแม่คุณ……. ช่วยทำบุญแล้วส่งไปให้บ้างหนา…….
ให้ใส่บาตรทุกเช้าทั้งข้าวปลา……. อีกเงินตราถวายพระอย่าละเลย……..
ฉันมาสวดยังพลอยเศร้าไห้…….. อดคิดถึงมิได้เจียวโยมเอ๋ย…….
ช่างมาลาโลกไปกระไรเลย……. โธ่ชีวิตของเราเอ๋ยไม่จีรัง………

ดูบทเต็มได้ที่นี่ นะครับ

http://www.buddhapoem.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=72384&Ntype=5
บันทึกการเข้า
อนันตริยกรรม ๖ พึงงดเว้น
มีเพื่อนบอกว่าคุณจะเลวอย่างไรก็ได้ แต่อย่าทำผิดศีล ๕

ทิด...คนหนึ่งที่นับถืออาจารย์

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระกษิติครรภโพธิสัตว์ (พระมาลัย) คติในแนวมหายาน
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2010, 01:11:57 am »
0



พระกษิติครรภโพธิสัตว์ หรือพระมาลัย

                 พระกษิติครรภโพธิสัตว์ แปลว่า พระโพธิสัตว์ผู้เป็นครรภ์แห่งแผ่นดิน หรือเป็นนัยยะว่าพระองค์ทรง

สถิตอยู่ใต้พื้นพิภพ เพราะพระองค์มีมหาปณิธานว่า " ตราบใดที่ยังมีสัตว์หลงเหลือในนรกภูมิแม้เพียงหนึ่ง

พระองค์จะมิทรงเข้าสู่พุทธภูมิ "  ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าสัตว์ในนรกนั้นมีจำนวนมากมายกว่าประชากรบน

สวรรค์และโลกมนุษย์มาก เนื่องจากคนทำชั่วมีมากกว่าคนทำดี ด้วยพระองค์ทรงประกาศมหาปณิธานที่ยิ่งใหญ่

และยากยิ่งที่จะสำเร็จได้ สาธุชน จึงสดุดีพระองค์ว่า "พระมหาปณิธานโพธิสัตว์" และพระวจนะหนึ่งของพระองค์

ที่เป็นที่ซาบซึ้งประทับใจสรรพสัตว์ทั้งปวงว่า " หากเรามิเข้าสู่นรกภูมิแล้วไซร้ ผู้ใดเล่าจะเป็นผู้เข้านรกภูมิ "

             ท่านมีชื่อในภาษาบาลีว่า ksitigarbha  ตามความเชื่อแบบมหายาน ท่านเป็นหนึ่งในแปดพระ

โพธิสัตว์ ที่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูง ถึงคุณธรรมของท่านที่มีความสงบไม่หวั่นไหว ดุจดั่งผืนแผ่นดิน และ

ปัญญาไตร่ตรองอย่างละเอียดลึกซึ้งดุจแผนที่ขุมทรัพย์ จนเป็นที่มาของชื่อเรียก ในภาษาจีนกลางว่า (ตี้จั้ง)

             di (ตี้) หมายถึง ผืนแผ่นดิน

             zang (จั้ง) มาจากคำเต็มว่า  baozang (เป่าจั้ง) หมายถึง ขุมทรัพย์ ,ทรัพย์สมบัติ

             ตามบันทึก เล่าประวัติของท่านไว้ว่า ตั้งแต่ในอดีตชาติอันนานแสนนาน ในสมัยพระพุทธเจ้าพระองค์

ก่อน ๆ พระกษิติครรภโพธิสัตว์ ทรงเคยถือกำเนิดเป็นบุตรีในสกุลพราหมณ์ครอบครัวหนึ่ง บิดาชื่อ

"ชีรชิณณพราหมณ์" มารดาชื่อ "ยัฏฐีลีพราหมณี" บิดาได้ถึงแก่กรรมก่อนมารดา จึงทำให้อาศัยอยู่กับมารดา

ตลอดมา พระองค์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพราหมณี เป็นผู้มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เป็นคนใจดีมีเมตตา

อยู่ในศีลในธรรม ส่วนมารดานั้นกลับประพฤติตรงข้ามกับบุตรี ไม่นับถือพระรัตนตรัย ไม่เชื่อเรื่องกรรม ไม่เชื่อ

เรื่องสวรรค์หรือนรก แม้ว่านางพราหมณีบุตรีจะชักชวนหรือโน้มน้าวจิตใจอย่างไร เพราะนางยัฏฐีลีพราหมณีมี

มิจฉาทิฐฐิรุนแรง

             ต่อมา นางยัฏฐีลีพราหมณี ได้ถึงแก่กรรมลง ผลกรรมที่นางทำไว้ทำให้นางไปตกนรกอเวจี ภายหลัง

นางพราหมณีผู้นี้ ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนา นางก็ระลึกถึงมารดาของนางขึ้นมาได้ นางก็ทราบด้วย

ปัญญาว่าบัดนี้ มารดาคงต้องตกนรกอยู่เป็นแน่ ด้วยความเป็นห่วง นางจึงจัดการขายบ้านเรือนและทรัพย์สมบัติทั้ง

หมดที่มี โดยรวบรวมเงินทั้งหมดไปซื้อดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องสักการะบูชาต่างๆ ไปสักการะบูชาตามวัดวา

อารามต่างๆ และนำไปบริจาคทานแก่คนยากจน และสัตว์ที่อดอยากหิวโหย เพื่อเป็นการอุทิศบุญกุศลให้แก่

มารดาที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้นางพราหมณีบุตรี ยังเป็นผู้ถือศีล บำเพ็ญเพียรภาวนา บูชากราบไหว้พระสัมมา

สัมพุทธเจ้า (พระนามว่า พระสัมมาสัมพุทธปัทมอิศวรชาตตถาคต) โดยนางภาวนาขอให้ผลของการบริจาคทาน

ของนาง จงเกิดเป็นกุศลผลบุญไถ่บาปให้กับมารดาและพ้นจากนรก และไปสู่สุคติ

             เนื่องจากการปฏิบัติธรรมอย่างเสมอต้นเสมอปลายเรื่อยมา ทำให้วันหนึ่งนางพราหมณีบุตรีได้ยิน

เสียงทิพย์กระซิบบอกนางว่า "ดูกร พราหมณี จงหยุดเศร้าโศกเถิด ตถาคตจะชี้ทางให้" นางพราหมณี เกิดความ

ยินดีอย่างมาก ก้มลงกราบและอธิษฐานว่า "ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระเมตตา โปรดบอกที่อยู่ของมารดา

ของข้าพระองค์ด้วยเถิด เนื่องจากข้าพระองค์ได้ตั้งจิตไว้ว่า จะขอพบมารดาเพื่อทราบความเป็นอยู่ของท่านว่ามี

สุขทุกข์อย่างไรบ้าง แม้จะต้องเอาชีวิตเข้าแลกก็ยินดี หากจะช่วยเหลือมารดาของข้าพระองค์ให้มีความสุขได้"

แต่หลังจากนั้น เนื่องจากไม่มีเสียงตอบรับใดๆ อีกเลย นางจึงบังเกิดความเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้จนเป็นลมไป

พอนางฟื้นขึ้นมา นางก็ได้ยินเสียงทิพย์เข้ามาที่หูว่า "ดูกร พราหมณี จงหยุดเศร้าโศกเถิด บุญกุศลที่เจ้าทำทั้ง

การสักการะบูชาพระพุทธ และการบริจาคทานนั้น บุญกุศลแรงนัก จงหมั่นปฏิบัติบำเพ็ญต่อไป จะบังเกิดผลแก่

มารดาดังความปรารถนา" ทำให้นางดีใจและปิติสุขอย่างมาก และอธิษฐานขอให้นางได้พบมารดาดังที่หวังไว้

             ต่อมานางพราหมณีบุตรีได้นั่งเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างแน่วแน่ บุญกุศลได้ดลบันดาลให้วิญญาณ

ของนางออกจากร่างไปสู่ยังมหาสมุทรแห่งหนึ่ง ซึ่งน่ากลัวมาก น้ำทะเลที่นั่นเป็นน้ำเดือด และมีอสูรกายตัวใหญ่

น่ากลัวกำลังไล่จับมนุษย์ที่ลอยคออยู่ในน้ำจำนวนมากมาย นับไม่ถ้วน เพื่อฉีกกินเป็นอาหาร น่ากลัวมากจนนาง

ไม่กล้าหันไปมองด้วยความกลัวและสงสารมนุษย์เหล่านั้น ในระหว่างนั้นเอง ได้มีเทพอสูร นามว่า "บ่อตั๊ก" และ

บริวาร ได้เดินตรงเข้ามาหานางและพนมมือไหว้ และกล่าวว่า "สาธุ พระโพธิสัตว์ผู้เจริญ ท่านมาถึงแดนนรกนี้

ด้วยเหตุใด" นางพราหมณีบุตรีจึงตอบว่า "ข้าพเจ้ามีความประสงต์อยากทราบความเป็นอยู่ของมารดา ชื่อ ยัฏฐีลี

พราหมณี ซึ่งได้ถึงแก่กรรมเมื่อไม่นานมานี้ ไม่ทราบว่าตอนนี้วิญญาณของนางไปอยู่ที่แห่งใด ข้าพเจ้าเป็นห่วง

มารดามาก ขอโปรดอนุญาตให้ข้าพเจ้าได้พบมารดาด้วยเถิด" เทพอสูรเมื่อได้ฟัง จึงกล่าวตอบว่า "ข้าแต่พระ

โพธิสัตว์ผู้เจริญ มารดาของท่านนามว่า ยัฏฐีลีพราหมณี ได้เคยตกลงมาในดินแดนนรกภูมินี้ แต่เนื่องจากนางได้

รับบุญกุศลอันประเสริฐและยิ่งใหญ่จากการที่ท่านได้บำเพ็ญกุศลมาให้ มารดาของท่านได้ไปพ้นจากแดนนรกไป

สู่สุคติแล้ว" พร้อมกับยกมือพนมพร้อมกับก้มลงแล้วจากไป เมื่อนางได้ทราบดังนั้น นางจึงมีความยินดีและหมด

ห่วงในตัวมารดา แต่นางกลับเกิดความสงสารบรรดามนุษย์ที่ตกนรกและได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสเหล่า

นั้น จึงเกิดความเมตตาอันแรงกล้าที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ในนรกเหล่านั้น

             นางพราหมณีบุตรี จึงอธิษฐานต่อหน้าพระพุทธรูป “ไม่ว่าในชาตินี้ หรืออนาคตชาติอันมากมายไม่มี

ประมาณ ข้าฯขอตั้งมหาปณิธานที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ ขอถือศีลภาวนา บำเพ็ญทานบารมี เพื่อโปรดสรรพสัตว์

ที่กำลังได้รับความทุกข์เข็ญ ด้วยผลกรรมใด ๆ ให้ได้พ้นจากห้วงทุกข์ ในนรกอเวจีตลอดจนถึงอนาคต ได้ไปสู่

สุคติ และถึงพระนิพพานเป็นที่สุด ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง อย่าได้เบื่อหน่ายต่อการบำเพ็ญกุศลกรรมดัง

กล่าว.”  ด้วยเหตุที่ทรงบำเพ็ญบารมีเช่นนี้ จึงทำให้นางพราหมณีบุตรี เมื่อนางถึงแก่กรรม ได้กลับชาติมาเกิดเป็น

บุรุษ และบำเพ็ญเพียรสร้างบารมี ด้วยอานิสงส์แห่งมหาปณิธานของท่าน จึงทำให้ท่านได้มาเป็นพระกษิติครรภ

โพธิสัตว์ ซึ่งรักษามหาปณิธานของท่าน จนมาเป็นโศลกอันเลื่องลือประจำองค์ว่า

             " จะโปรดสัตว์โลกจนหมดสิ้น เพื่อเป็นประจักษ์พยานแห่งพุทธะจิต

               ตราบใดที่นรกยังไม่ว่าง สาบานว่าจะไม่ยอมบรรลุพระนิพพาน "

             ด้วย มหาปณิธานอันนี้ จึงทำให้ท่านใช้ฤทธิ์ไปแสดงธรรมโปรดสัตว์นรก เปรต อสุรกายอยู่ในนรก

เชื่อกันว่าในยามที่ท่านไปอยู่ในนรกนั้น ด้วยฤทธานุภาพและบุญญานุภาพของท่าน เป็นอานิสงส์ให้สัตว์นรกที่

กำลังต้องทัณฑ์ทรมานอยู่ ได้พ้นจากความทรมานเป็นการชั่วคราว .

             ตามความเชื่อทางมหายานนั้น ได้มีการบันทึกไว้ว่า พระศรีศากยมุนี ได้ไหว้วานขอให้พระกษิติครรภ

โพธิสัตว์ ได้ช่วยสั่งสอนชี้แนะพระธรรมแก่สัตว์โลก ในภพภูมิทั้งหก คือ นรก, สัมภเวสี, อสุรกาย, สัตว์

เดรัจฉาน, มนุษย์ และเทวดา

             ในช่วงที่เป็นรอยต่อ หลังจากพระศรีศากยมุนีได้ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว และ พระศรีอาริยเมตไตร

ยังไม่มาโปรด.





อ้างอิงที่มา
http://www.junjaowka.com/webboa[url=http://www.watdao.com/board/index.php?topic=141.0]http://www.watdao.com/rd/showthread.php?t=98268
http://www.mahayan.org/readarticle.php?article_id=4
http://www.sookjai.com/index.php?topic=1254.0
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2010, 12:13:39 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระมาลัยสูตร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2010, 01:31:52 am »
0
พระมาลัยสูตร

ท่องแดนมนุษย์

             ภาค มนุษย์ ตอน ชายถวายดอกบัว กล่าวถึงชายยากจนเข็ญใจ เก็บผักขายเลี้ยงดูมารดา วันหนึ่งไป

เก็บดอกบัวได้ ๘ ดอก เห็นพระมาลัยท่านเทศน์ จึงเดินเข้าไปด้วยใจกุศล ถวายดอกบัวด้วยศรัทธา ต่อมาวัน

หนึ่ง พระมาลัยเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านกัมโพชคาม ที่ท่านอยู่นั้น พอดีขณะนั้น มีบุรุษเข็ญใจคนหนึ่ง ซึ่งเป็น

ชาวบ้านกัมโพชคาม และพ่อของเขาได้ตายไปนานแล้ว เหลืออยู่แต่แม่ เขาได้อุตส่าห์ทนลำบากหาเลี้ยงแม่มา

ด้วยดี ทุกๆเช้า เขาจะถือขวานเข้าสู่ป่า เพื่อตัวฟืนมาขายตามประสายาก สักพักใหญ่ เมื่อได้ฟืนพอสมควรแล้วก็

แบกกลับมา วันนั้นเขากลับจากหาฟืน เดินผ่านสระแห่งหนึ่ง ซึ่งมีน้ำใสสะอาด จึงลงอาบในสระ ชำระล้างเนื้อตัว

ระงับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เสร็จแล้วก็ก้าวขึ้นมา บังเอิญ เหลือบเห็นดอกบัวบาน สะพรั่งชูช่อไสว อยู่ข้างๆ

ฝั่งสระ จึงเด็ดเอามา ๘ ดอก ครั้นขึ้นจากสระ แล้วก็เดินกลับบ้าน พอดีพบพระเถระ กลับจากบิณฑบาต สวนทาง

มา และด้วยท่วงท่าอันสง่างามของพระเถระ ทำให้เกิดความเลื่อมใส จึงตรงเข้าไปนมัสการ แล้ววางดอกบัวบน

ปากบาตร พลางถามอย่างอ่อนน้อมว่า

             "พระคุณเจ้าขอรับ ข้าพเจ้าบูชาด้วยดอกบัวในครั้งนี้ ด้วยหวังใจอยากจะได้ ร่ำรวย มั่งมี พ้นทุกข์พ้น

ยาก ทันตาเห็น ความหวังของข้าพเจ้าครั้งนี้จะสำเร็จหรือเปล่า ขอรับ"

เมื่อถูกถามแบบจู่โจมเช่นนั้น พระเถระก็นั่งคิดอยู่ครู่หนึ่ง แล้วจึงตอบเสียงเนิบนาบว่า"พ่อ หนุ่ม ท่านปรารถนาเกิน

วิสัยเสียแล้ว ท่านจะมีผลทันตาเห็น จะต้องเป็นทานที่ถวายแก่พระอรหันต์ ที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติมาใหม่เท่า

นั้น สำหรับตัวเราออกมานานแล้ว เห็นจะโปรดให้สำเร็จสมใจหวังไม่ได้แน่ละ"

             "แต่ข้าพเจ้าได้ทราบมานานแล้วว่า ถ้าได้ทำบุญกับพระอรหันต์แล้ว ย่อมจะได้ผลทันตาเห็นนี่นะ พระ

คุณเจ้า?" ชายเข็ญใจย้อนถาม

             "ไม่ เสมอไปหรอกท่าน สมเด็จพระศาสดาของเราตรัสบอกไว้ว่า ทานที่จะได้ผลทันตาเห็นนั้น จะ

ต้องมีสิ่งประกอบ ๔ อย่างคือ ถึงพร้อมด้วยผู้รับทาน นับแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ ผู้ออกจากนิโรธ

สมาบัติ ถึงพร้อมด้วยไทยธรรมที่หามาได้โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยเจตนาจะให้ทาน และพระอรหันต์ผู้มากด้วย

คุณธรรมเป็นผู้ยินดีในนิโรธสมาบัติ สำหรับท่านเพียงผู้รับเป็นพระอรหนต์ กับมีไทยธรรม รวมกันสองอย่างเท่า

นั้น จะให้สำเร็จทันตาเห็นได้ยังไง"
 
             "ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะทำยังไงจึงจะได้ผลดี เล่าพระคุณเจ้า"

             "พ่อหนุ่มเอ๋ย ท่านจงเอาดอกไม้บูชาพระรัตนตรัยเถิด"

             "พระรัตนตรัย พระคุณเจ้าหมายถึงอะไรขอรับ?"   

             "หมายถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อหนุ่ม"

             "อยู่ที่ใจของท่านเอง พ่อหนุ่มเอ๋ย จงตั้งใจระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เสีย

ก่อน แล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าขอบูชาดอกไม้เหล่านี้ แด่พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เพียงแค่นี้ก็จัดว่าท่าน ได้

บูชาพระรัตนตรัยแล้ว และจะต้องได้รับผลดีเป็นแน่"

เมื่อชายเข็ญใจได้ฟังพระเถระอธิบายดังนั้น ก็กระทำตามคำของท่าน พร้อมทั้งตั้งความปรารถนาว่า

             "ด้วย เดชะบุญที่ข้าพเจ้าถวายดอกบัวครั้งนี้ ถ้าข้าพเจ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ จะเกิดในภพใดๆ ก็ดี

ขึ้นชื่อว่า ความยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์ เหมือนชาตินี้ แล้วขออย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าเลยเป็นอันขาด"

             "ขอท่านจงสำเร็จดังที่ปรารถนาเถิด"

พระมาลัยเถระ กล่าวอนุโมทนาในที่สุด แล้วเดินจากไป หลังจากที่พระมาลัยกลับมาถึงวัด และฉันอาหารเช้า เป็น

ที่เรียบร้อยแล้ว ท่านก็นั่งคิดอยู่ในใจว่า

             "สถาน ที่ให้เกิดธรรมสังเวช ๗ แห่ง คือ ที่พระศาสดาประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร ทรงกระทำ

ยมกปาฏิหารย์ เสด็จลงจากดาวดึงส์ปรินิพพาน และสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาททั้ง ๕ นั้น เราได้ถวาย

สักการบูชาเสมออยู่แล้ว ยัง เหลือแต่พระจุฬามณีสถาน ซึ่งเป็นที่มวยพระเกศธาตุ ของพระบรมศาสดา

ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์นั้น เรายังมิได้ขึ้นไปนมัสการเลย พอดีครั้งนี้เราได้ดอกบัวมา ๘ ดอก ควรที่จะนำดอก

บัวนี้ขึ้นไปบูชาพระจุฬามณีสถาน ในดาวดึงส์สวรรค์ดีกว่า"



ท่องแดนสวรรค์

             เมื่อ คิดดังนั้นแล้ว พระเถระก็เข้าจตุตถฌาน บันดาลให้ร่างของท่านเหาะลอยล่องขึ้นสู่อากาศมิทัน

ช้า เพียงลัดนิ้วมือเดียว ก็ถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และมาปรากฏอยู่ ณ ลานพระจุฬามณีเจดีย์เบื้องหน้าไพชยนต์

ปราสาท ของพระอินทร์ ผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ พระเถระยกหัตถ์ขึ้นนมัสการพระจุฬามณี ทั้ง ๘ ทิศ บูชาด้วย

ดอกอุบลทั้ง ๘ ดอก แล้วกระทำประทักษิณ ๓ รอบ พร้อมทั้งนั่งลงนมัสการ กราบไหว้ทั้ง ๘ ทิศ เสร็จแล้วนั่ง

ณ ที่ข้างพระเจดีย์มุมหนึ่ง....

             ขณะนั้น พระอินทร์ซึ่งประทับอยู่ในทิพยวิมาน ทรงดำริในพระทัยว่า วันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เราจะ

ออกไปถวายเครื่องสักการบูชา พระจุฬามณี สักหน่อย ครั้นแล้วก็มีเทวบัญชาาประกาศ ให้มวลนางสวรรค์กัลยา

ทั้งหลายทราบ พร้อมทั้งจัดแจงแต่งองค์ เสด็จออกจากปราสาท ตรงไปยังพระจุฬามณีเจดีย์สถาน ติดตามด้วย

เทพบุตร เทพธิดาซึ่งเป็นบริวารจำนวนมาก

             ครั้นแล้วก็เสด็จ เข้าไปในลานพระเจดีย์ ทรงกระทำประทักษิณครบ ๓ รอบ แล้วทรุดองค์ ถวาย

อภิวาท ทรงตั้งเครื่องสักการบูชาไว้ ณ ที่วางเครื่องบูชา แล้วเสด็จออกมาประทับ ณ ที่มุมด้านหนึ่งของพระเจดีย์

เพื่อเปิดโอกาสให้บริวารเข้านมัสการต่อไป พอดีขณะนั้นเอง พระองค์ทอดพระเนตรมาเห็นพระมาลัย นั่งสงบ

เสงี่ยมอยู่ ณ มุมพระเจดีย์ด้านขวา ทำให้ฉงนสนเท่ห์ในพระทัยว่า พระผู้เป็นเจ้าองค์นี้มาจากที่ไหน และมาได้ยัง

ไง จึงตัดสินใจลุกจากที่ประทับ ตรงไปนมัสการพระเถระ แล้วตรัสปราศรัยขึ้นว่า

             "พระคุณเจ้าขอรับ พระคุณเจ้ามาจากไหน"

             "ขอถวายพระพร อาตมาภาพมาจากชมพูทวีป มหาบพิตร" พระมาลัยตอบอย่างทันที

             "ชมพูทวีป" พระอินทร์ทวนคำ "พระคุณเจ้า หมายถึงที่ไหนขอรับ"

             "หมาย ถึงโลกมนุษย์ มหาบพิตร โลกมนุษย์ซึ่งมีต้นหว้าสูงใหญ่ ยิ่งกว่าต้นไม้อื่นใดทั้งหมด เป็น

ต้นไม้ประจำทวีป จนได้นามว่า ชมพูทวีป นั่นแหละ มหาบพิตร"

             "พระคุณเจ้าทราบไหมว่า ชมพูทวีป ของพระคุณเจ้านั้นกว้างยาวเท่าไหร และมีสัตว์อาศัยอยู่มาก

น้อยเท่าใด ขอรับ"

             "เท่า ที่อาตมาทราบ ชมพูทวีปนั้นกว้างยาวได้หมื่นโยชน์ โดยประมาณ มหาบพิตร เป็นมหาสมุทร

เสีย ๔,๐๐๐ โยชน์ ป่าหิมพานต์เสีย ๓,๐๐๐ โยชน์ ส่วนอีก ๓,๐๐๐ โยชน์เป็นถิ่นมนุษย์อาศัยอยู่ และมีสัตว์

อาศัยอยู่จำนวนมาก แบ่งออกเป็น ๔ จำพวกด้วยกันคือ สัตว์สองเท้า สัตว์สี่เท้า สัตว์หลายเท้า และสัตว์ไม่มี

เท้า"

             "แหม! พระคุณเจ้าช่างจดจำเก่งเหลือเกิน" พระอินทร์รับสั่งชม "พระคุณเจ้าชื่ออะไรขอรับ"

             "อาตมาภาพมีนามว่า มาลัย มหาบพิตร" พระมาลัยตอบ "มหาบพิตรคงไม่ยออาตมาภาพอีกกระมัง

ว่าชื่อเพราะ"

             "ไม่ยอหรอก พระคุณเจ้า แต่จะขอถามต่อไปว่า ชื่อพระคุณเจ้าหมายความว่าอย่างไร"

             "อาตมาภาพเกิดที่เกาะมาลัย บ้านไม้จันทน์แดง มหาบพิตร ชื่อของอาตมาภาพจึงตั้งตามชื่อเกาะ"
     
             "แล้วพระคุณเจ้าขึ้นมาถึงสวรรค์ของข้าพเจ้านี้ พระคุณเจ้ามาโดยวิธีใดขอรับ"

             "อาตมา มาด้วยอำนาจฌานสมาบัติ เพียงลัดนิ้วมือเดียว ก็มาถึงที่นี่" พระมาลัยชี้แจง "เออ แล้ว

มหาบพิตร ยังไม่ได้บอกอาตมาเลย มหาบพิตร ชื่ออะไร" พระอินทร์หัวเราะพลางตอบว่า

             "ข้าพเจ้าเป็นคนหลายชื่อขอรับ หากจะนับให้ถ้วน ก็มีถึง ๗ ชื่อด้วยกัน คือ มาฆะ ปุรินทะ สักกะ วา

สวะ สหัสเนตร สุชัมบดี และ เทวานมินทร์"

             "ทำไมมหาบพิตรถึงได้มีชื่อมากมายยังงั้นเล่า อธิบายให้อาตมาฟังหน่อยได้ไหม"

             "ได้ ขอรับ พระคุณเจ้า" พระอินทร์ตกลงทันที "เมื่อครั้งข้าพเจ้าเป็นมนุษย์ ข้าพเจ้ามีชื่อว่า มฆ

มาณพ ครั้นมาเกิดบนสวรรค์ จึงได้ชื่อว่า มาฆะ เมื่อครั้งข้าพเจ้าเป็นมนุษย์นั้น ข้าพเจ้าให้ทานก่อนใครเสมอ จึง

ได้ชื่อว่า ปุรินทะ และเมื่อเวลาให้ทาน ข้าพเจ้าให้ทานด้วยความเคารพ จึงได้ชื่อว่า สักกะ ข้าพเจ้าเป็นสามีของ

นางสุชาดา จึงได้ชื่อว่า สุชัมบดี และข้าพเจ้าเป็นใหญ่กว่าเทวดาทั้งหลาย บนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์นี้ จึงได้ชื่อว่า เท

วานมินทร์

             "แล้วมหาบพิตรทำบุญอะไรไว้หนักหนา จึงได้มาเกิดเป็นพระอินทร์เล่า" พระมาลัยซักต่อไป

             "ข้าพเจ้าทำบุญหลายอย่างหลายประการ พระคุณเจ้า แต่ที่สำคัญที่สุดคือ วัตรบท ๗ ประการ

ข้าพเจ้าถือปฏิบัติมิได้ขาดจนตลอดชีวิตขอรับ"

             "มหาบพิตร ได้โปรดบอกหน่อยเถะว่า วัตรบท ๗ ประการ นั้น คืออะไรบ้าง เผื่ออาตาม จะได้จด

จำนำไปบอกชาวโลก ผู้อยากเป็นพระอินทร์ให้ปฏิบัติตามอย่างท่านบ้าง"

             "แหม! ท่าน ได้ยังงั้นก็ดีนะซี พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าอยากจะให้ชาวโลกทำอย่างข้าพเจ้าเหลือเกิน" น้ำ

เสียงของพระอินทร์ เต็มไปด้วยความกระตือรือร้น ราวกับจะไม่กลัวว่า จะมีใครมาเกิดเป็นพระอินทร์ ชิงตำแหน่ง

ของตนไปกระนั้นแหละ"

             "วัตร บท ๗ ประการ ที่ข้าพเจ้าถือปฏิบัติมานั้นคือ เลี้ยงพ่อแม่โดยความเคารพประการหนึ่ง มีความ

อ่อนน้อมยำเกรงต่อผู้เฒ่าผู้แก่ในตระกูล ไม่ดูหมิ่นท่านประการหนึ่ง พูดแต่คำที่ไพเราะอ่อนหวาน ไม่ส่อเสียด

ยุแยงตะแคงรั่วคนอื่น ไม่ตระหนี่เหนียวแน่น ตั้งอยู่ในความสุจริตซื่อตรง และไม่ยอมตกเป็นทาสของความโกรธ

ถึงเกิดขึ้นก็พยายามข่มไว้จนได้ ด้วยอำนาจคุณความดีที่ข้าพเจ้าบำเพ็ญมานี่แหละ ข้าพเจ้าจึงได้มาบังเกิด ณ

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ พระคุณเจ้า"

             "คำว่า ดาวดึงส์ หมายความว่าอย่างไร มหาบพิตร" พระมาลัย คงซักเรื่อยไป

             "หมายความว่า พิภพนี้มีเทวดาเกิดขึ้น ครั้งแรก ๓๓ องค์ แล้วเทดาองค์อื่นๆ จึงเกิด ขอรับ พระคุณ

เจ้า"

             "ดาวดึงส์นี่คงกว้างใหญ่มากนะ มหาบพิตร"

             "กว้าง หมื่นโยชน์ขอรับ พระคุณเจ้า และมีกำแพงสูง สิบหกโยชน์ล้อมรอบ มีประตูอีกพันหนึ่ง ข้าง

ในประดับด้วยสวนดอกไม้ และสระโบกขรณี ที่เที่ยวเล่นพักผ่อนหย่อนใจของพวกเทวดาขอรับ"

             "แล้วมีต้นไม้อะไรประจำทวีปบ้างไหม มหาบพิตร"

             "มีไม้ปาริฉัตตพฤกษ์ หรือ เรียกสามัญว่า ไม้แคฝอย เป็นต้นไม้ประจำทวีป ขอรับ"

             "ต้นใหญ่ขนาดไหน มหาบพิตร?"

             "ต้น ใหญ่มากขอรับ วัดรอบลำต้นประมาณ ๑๖ โยชน์ สูงถึงคาคบ ๕๐ โยชน์ มีกิ่งใหญ่ ๔ กิ่ง แผ่

ไปไกล กิ่งละ ๕๐ โยชน์ สูงขึ้นไปได้ร้อยโยชน์ พระคุณเจ้า"

             "แหม! ต้นใหญ่จังเลย มหาบพิตร แล้วใต้ร่มต้นไม้แคฝอยนี่ มีอะไรบ้างหรือเปล่า"

             "มี ซี พระคุณเจ้า มี บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ เป็นแท่นที่นั่งของข้าพเจ้าซึ่งชาวโลกรู้จักกันดี ถ้ามีเหตุ

เดือดร้อนขึ้นในเมืองมนุษย์ แท่นนี้จะแข็งกระด้าง ไม่อ่อนนุ่มเหมือนเวลาปกติ เป็นเครื่องหมายบอกให้ข้าพเจ้ารู้

ว่า มีเรื่องร้ายเป็นเหตุเภทภัยแก่ผู้มีบุญ ในเมืองมนุษย์ขึ้น แล้วจำต้องลงไปช่วยขอรับ"

             "แท่นนี้กว้างใหญ่ขนาดไหน มหาบพิตร"

             "ยาว ๖๐ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์ มีสีแดงเหมือนดอกชะบา และ หงอนไก่ พระคุณ

เจ้า"

             "แล้ววิมานที่มหาบพิตรอยู่นั่น มีชื่อว่าอะไร"

             "ชื่อ เวชยันต์มหาปราสาท สูงพันโยชน์ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ๗ ประการ และมีวิมานทองอีก

หลังหนึ่ง อยู่ภายในเวชยันต์มหาปราสาทนั้น สูง ๗๐๐ โยชน์ ประดับประดาด้วยแก้ว ๗ ประการ ขอรับ พระคุณ

เจ้า"

             "มหาบพิตรอยู่คนเดียวหรือมีคนอื่นอยู่ด้วย"

             "ข้าพเจ้า อยู่กันหลายคน พระคุณเจ้า มีมเหสีของข้าพเจ้า ๔ คนคือ นางสุธัมมา นางสุจิตรา นางสุ

นันทา และ นางสุชาดา กับนางฟ้า อีกประมาณ สองโกฏิห้าล้าน ขอรับ"

             "โอโฮ้! มหาบพิตรมีชายามากถึงสองโกฏิห้าล้าน แต่พระองค์ยกย่องให้เป็นมเหสีเพียง ๔ คนเท่า

นั้น นางทั้งสี่นี่ พระองค์ทรงรักมากใช่ไหม"

             "มิใช่หรอก พระคุณเจ้า เรื่องของเรื่องเป็นเพราะบุญกุศลที่ได้ทำไว้เมื่อชาติก่อนต่างหาก ข้าพเจ้าจะ

เล่าให้ฟัง เมื่อ ข้าพเจ้าเป็นมฆมาณพอยู่นั้น ข้าพเจ้าได้สร้างศาลาขึ้นหลังหนึ่ง อัครมเหสีทั้งสี่นี้ มีน้ำใจเลื่อมใส

เป็นอันดี นางสุจิตรา ได้ปลูกสวนดอกไม้ไว้ข้างศาลา นางสุนันทา ได้ขุดสระไว้สำหรับให้ผู้คนที่สัญจรไปมาพักที่

ศาลา ได้อาบน้ำชำระกาย นางสุธรรมา ได้สร้างช่อฟ้า แต่งเติมศาลาให้สวยงาม ส่วน นางสุชาดา ได้รักษาศีล

โดยเคร่งครัด นางทั้งสี่ ได้ทำบุญกุศลต่างๆ ครั้นสิ้นชีพแล้ว ก็ได้บังเกิดบนสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติร่วมกับ

ข้าพเจ้า"

             นางสุจิตรา มีสวนจิตรลดา กว้างได้ ๕๐๐ โยชน์ นางสุนันทา มีสระนันทโบกขรณี กว้างยาวได้

๕๐๐ โยชน์ นางสุธรรมา มีโรงธรรมเทวสภา กว้างยาวได้ ๓๐๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๙๐๐ โยชน์ สูง ๕๐๐

โยชน์ พื้นโรงธรรมสภานั้น ปูด้วยแก้วผลึกและแก้วอินทนิล ด้วยบุญกุศลที่นางได้ทำไว้นั่นเอง"

             "แหม! น่าอัศจรรย์จริง มหาบพิตร เออ! แล้วบนสวรรค์นี่มีสัตว์เดรัจฉานบ้างหรือเปล่า"

             "ไม่มีขอรับ พระคุณเจ้า"

             "เอ๊! ถ้ายังงั้นที่อาตมาเคยได้ยินเขาเล่าว่า พระองค์เวลาเสด็จออกไปชมสวน ทรงช้างเอราวัณ นี่น่ะ

ในเมื่อบนสวรรค์ไม่มี พระองค์จะเอาช้างเอราวัณมาจากไหน"
 
             ช้างเอราวัณ มิ ใช่สัตว์เดรัจฉานหรอก พระคุณเจ้า เป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง มีนามว่า เอราวัณเทพบุตร

เมื่อใดข้าพเจ้าจะไปเที่ยวสวน เอราวัณเทพบุตร ก็เนรมิตกาย เป็นช้างเอราวัณ เป็นพาหนะที่นั่งของข้าพเจ้า

เดิมที เอราวัณเทพบุตรนี้ ได้กระทำบุญร่วมกับข้าพเจ้ามา เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าเป็น มฆมาณพ พร้อมด้วยพวกเพื่อน

๗๗ คน กับช้างอีก ๑ เชือก ตอนสร้างศาลา ข้าพเจ้าได้ใช้ลากไม้ มาสร้างจนเสร็จ และเมื่อเสร็จแล้ว ศาลานั้นปู

ด้วยกระดาน ๓๓ แผ่น ข้าพเจ้าได้บอกช้างว่า ถ้าเห็นใครขึ้นมาบนศาลา และนั่งลงบนแผ่นกระดานของใครแล้ว

พาคนนั้นไปยังบ้านของตน ให้เจ้าของแผ่นกระดานเลี้ยงดูให้อิ่มหนำสำราญ พระคุณเจ้าขอรับ ช้างตัวนี้มีจิต

เลื่อมใสในการกุศล ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของข้าพเจ้าตลอดมา ครั้นตายจากชาตินั้น ได้ขึ้นมาเกิดบนสวรรค์ มีชื่อ

ว่า เอราวัณเทพบุตร ส่วนเพื่อนของข้าพเจ้า ทั้ง ๓๓ คนนั้น ก็ได้มาเกิดบนสวรรค์นี้ด้วยเหมือนกัน"

             "ตกลงว่า แม้แต่ช้าง หากมีจิตเลื่อมใสศรัทธาแล้ว ก็สามารถเกิดเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ได้ใช่ไหม

มหาบพิตร"

             "ถูกแล้วขอรับ พระคุณเจ้า ทุกอย่างสำคัญที่ใจ หากตั้งใจมั่นเสียอย่าง สิ่งที่ปรารถนาย่อมได้เสมอ"

             "จริงอย่างพระองค์ว่า แล้วทีนี้อาตมาอยากทราบว่า พระจุฬามณีเจดีย์นี้ พระองค์สร้างไว้เอง หรือว่า

ใครสร้างไว้"

             "ข้าพเจ้าสร้างไว้เอง พระคุณเจ้า สร้างไว้ให้เป็นที่ไหว้สักการบูชา ของหมู่เทวดาทั้งหลาย"

             "ในพระเจดีย์นี้บรรจุอะไรไว้ มหาบพิตร"

             "ในพระเจดีย์จุฬามณี บรรจุ พระเกศโมลี กับ พระเขี้ยวแก้ว ของ พระพุทธเจ้า ขอรับ"

             "มหาบพิตรได้มาจากไหน"

             "พระเกศโมลี ข้าพเจ้าได้มาแต่ครั้งเมื่อพระพุทธองค์เสด็จออกผนวช ทรงตัดมวยพระโมลี แล้ว

อธิษฐานว่า ถ้าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขอมวยพระโมลีนี้ จึงลอยอยู่เหนืออากาศ อย่าได้ตกลงพื้นดิน

เลย ตอนนั้น ข้าพเจ้าจึงเอาผอบทองคำ ลงไปรองรับ พระเกศโมลี ขึ้นมาบรรจุไว้ในเจดีย์นี้ขอรับ พระคุณเจ้า"

             "แล้วพระเขี้ยวแก้วล่ะ มหาบพิตร พระองค์ได้มายังไง"

             "ข้าพเจ้าได้มาจากที่แบ่งปันพระบรมธาตุ พระคุณเจ้า"

             "ใครเป็นคนถวายพระองค์"

             "ก็ โทณพราหมณ์ นะซิ พระคุณเจ้า"

             "จริงหรือ มหาบพิตร?"

             "จริงซี พระคุณเจ้า" พระอินทร์ยืนยันเสียงแข็ง

             "เห็น จะผิดไปกระมัง มหาบพิตร" พระเถระสวนขึ้นอย่างรู้เท่าทัน "อาตมาได้ทราบว่า พระอินทร์ลัก

พระเขี้ยวแก้วของโทณพราหมณ์ ตะแกไม่เห็นพระเขี้ยวแก้ว เสียใจถึงกับสลบล้มพับลงมิใช่หรือ พระองค์ไปลัก

ของเขามาจริงแล้วรับเสียดีๆ เถอะน่า"

             เมื่อถูกเล่นงานอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวเช่นนั้น พระอินทร์ก็รีบแก้ตัวขึ้นทันควัน

             "พระคุณเจ้าขอรับ ขอถามหน่อยว่าโทณพราหมณ์ ได้พระเขี้ยวแก้วมาจากไหน"

             "ก็ ได้มาจากกองพระบรมธาตุนะซี มหาบพิตร ตะแกเห็นว่า พระเขี้ยวแก้วนี้ สมควรที่แกจะได้ จึง

เก็บซ่อนไว้ในมวยผมของแก แล้วตวงพระบรมธาตุ แจกแก่กษัตริย์ทั้ง ๗ นคร ครั้นแจกเสร็จแล้ว พระเขี้ยวแก้ว

บนศีรษะหายไป แกเสียใจจนสิ้นสติ แต่หาได้ทูลให้กษัตริย์ทั้งหลายทราบไม่ ได้แต่ขอทะนานทอง ซึ่งตวงพระ

บรมธาตุไป แต่มาภายกลัง ก็ทราบกันไปทั่วโลกว่า พระอินทร์ลักพระเขี้ยวแก้ของแกไป"

             "ข้าแต่พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าขอชี้แจงให้พระคุณเจ้าทราบ ความจริง อันพระเขี้ยวแก้ว ของพระ

พุทธองค์นั้น เป็นแก้วอันหาค่ามิได้ คนใดคนหนึ่ง มีบุญญาธิการมาก สมควรจะได้ ก็ได้ไปด้วยเดชานุภาพของ

เขา ซึ่งข้าพเจ้าเอง ได้พระเขี้ยวแก้วนี้มา ก็ด้วยบุญญาธิการของข้าพเจ้าโดยแท้"

             "แต่ถึงกระนั้น ก็ยังจัดว่า พระองค์ขโมยเขามาอยู่ดี เพราะถือเอาของที่คนอื่นเขาไม่ได้ให้โดยแท้"

             "แต่ ถ้าของนั้นมีอิทธิฤทธิ์สามารถที่จะเหาะ จากเจ้าของ มาอยู่ในมือข้าพเจ้าเองเล่า พระคุณเจ้า จะ

จัดว่าข้าพเจ้า ขโมยเขามายังงั้นหรือ"

             "ก็พระองค์ใช้ฤทธิ์เดชเรียกร้องเอามานี่นา ทำไมจะไม่มาอยู่ในมือของพระองค์เล่า"

             "แหม! พระคุณเจ้าจะเอาผิดกับข้าพเจ้าให้ได้ยังงั้นหรือ" พระอินทร์ทรงพ้อ

             "เอา ยังงี้ดีกว่า ข้าพเจ้าจะขอถามพระคุณเจ้าสักข้อ สมมติว่า นกตัวหนึ่ง ทำรังอยู่บนยอดไม้ และ

ออกไข่ไว้ในรังนั้น ต่อมามีสุนัขตัวหนึ่ง มานั่งเฝ้าอยู่ที่โคนต้นไม้ พร้อมกับภาวนา ขอให้ไข่นกตกลงมาให้มันกิน

สักใบ ซึ่งในที่สุด ไข่นก ก็ตกจากรังลงมาให้มันกินจริงๆ แบบนี้พระคุณเจ้าจะโทษว่าสุนัขมันขโมยหรือเปล่า ขอ

รับ"

             "เปล่า มหาบพิตร จะเรียกว่ามันขโมยไม่ได้ นอกจากจะเรียกว่า เป็นโชคปากของมันมากกว่า"

             "ถ้ายังงั้น ข้าพเจ้าก็มิได้เป็นขโมย ตอนที่โทณพราหมณ์ ตวงพระบรมธาตุ แจกแก่กษัตริย์ทั้ง ๗

พระนครนั้น ข้าพเจ้านำผะอบทอง ลงไปยืนอยู่ข้างหลังแก พลางอธิษฐานว่า หากข้าพเจ้ามีบุญวาสนา ขอให้พระ

เขี้ยวแก้ว ที่ซ่อนอยู่ในมวยผมของโทณพราหมณ์ จงเสด็จมาอยู่ ในผะอบทองนี้ และไม่ช้าไม่นาน พระเขี้ยว

แก้ว ก็เสด็จมาปรากฏอยู่ในผะอบทอง ตามคำอธิษฐานของข้าพเจ้า ให้ข้าพเจ้าได้นำมาบรรจุไว้ ณ พระเจดีย์

จุฬามณีบนสวรรค์นี่ขอรับ พระคุณเจ้า แล้วอย่างนี้จะเรียกว่า ข้าพเจ้าขโมยได้ยังไง"

เมื่อ ถูกโต้ด้วยเหตุผลอันแยบยลดังนั้น พระคุณเจ้า ก็จนปัญญาที่จะกล่าวหาพระอินทร์ ว่าเป็นขโมยอีกต่อไป แต่

กระนั้น ก็ยังไม่หมดความสงสัย จึงซักไซ้เจ้าแห่งสวรรค์ต่อไป

             "อัน ที่จริง มหาบพิตรก็เป็นเทวดาผู้บริบูรณ์ พรั่งพร้อมด้วย ทิพย์สมบัติทุกสิ่งทุกประการแล้ว แต่

เหตุไฉน จึงอัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว มาบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์ กระทำการสักการบูชาให้เสียเวลา พระองค์จะ

ปรารถนาสมบัติอะไรอีก ที่มีอยู่นี้ยังไม่พออีกหรือ มหาบพิตร"

             "แล้ว พระคุณเจ้าล่ะ พระคุณเจ้าเป็นพระอรหันต์ หมดสิ้นอาสวะกิเลสแล้ว ยังอุตส่าห์มาสักการบูชา

พระจุฬามณีเจดีย์ถึงเมืองสวรรค์ พระคุณเจ้าคงปรารถนาอะไรอีกกระมัง"

             "อาตมามิได้ปรารถนาอะไร มหาบพิตร ที่อาตมา ขึ้นมาสักการบูชาพระจุฬามณเจดีย์ครั้งนี้ ก็เพื่อให้

เป็นประเพณี เยี่ยงอย่าง พระอริยเจ้า และที่เจดีย์ ๗ แห่งในโลกมนุษย์ อาตมาก็ได้ไปทำการสักการบูชามาทั่ว

แล้ว ถึงเจ็ดครั้ง หาได้ปรารถนาทะยานอยากสิ่งใดไม่ คงต้องการให้เป็นประเพณีของพระอริยเจ้า ตามที่กล่าวมา

เท่านั้นเอง"

             "ข้าพเจ้า ก็ดุจเดียวกัน การที่อัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว มาประดิษฐานในพระจุฬามณีเจดีย์นี้ ก็มิได้

ปรารถนาทิพยสมบัติอันใดอีก เพราะที่มีอยู่แล้วก็เกินต้องการ ข้าพเจ้าประสงค์อยู่อย่างเดียวคือ ให้บรรดาเทวดา

บนสวรรค์ชั้นฟ้าทั้งหลาย ได้มีสิ่งเคารพสักการะ สิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ ไม่หลงระเริงประมาทมัวเมาเท่านั้นเองขอ

รับ พระคุณเจ้า"

             "มหาบพิตรคิดถูกต้องแล้ว อาตมาขอชม" ... 

             ขอย้อนกล่าวถึงชายเข็ญใจ ที่ได้ถวายดอกบัวแปดดอกแก่พระมาลัยนั้น ต่อมาเขาล้มป่วยลง และรู้

ตัวว่า คราวนี้คงไม่รอดเอื้อมหัตถ์มัจจุราชแน่ๆ พอดีก็ระลึกถึงดอกบัวที่เขาถวายพระเถระขึ้นมาได้ และดูเหมือน

เขานึกถึงแต่เรื่องดอกบัวนี้อยู่ จนกระทั่งสิ้นลมหายใจ ในที่สุด ก็ไปบังเกิดเป็นเทพบุตร ในปราสาท ดอกบัว

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนางฟ้านางสวรรค์ จำนวนพันหนึ่ง เป็นบริวาร

เล่ากันว่า ปราสาทดอกบัวของเทพบุตรองค์นี้ สร้างด้วยแก้วเจ็ดประการ สวยงามล้ำเลิศยิ่งนัก โดยเฉพาะภายใน

ปราสาท กระหึ่มด้วยเสียงดนตรีทิพย์ ที่มวลสาวสวรรค์ทั้งหลาย จัดสรรมาบำเรอตลอดเวลา

ทุกขณะ ไม่ว่าเทพบุตรนั้นจะก้าวเท้าเดินไปไหน แม้กระทั่งในปราสาท ดอกบัวทิพย์จะปรากฏผุดขึ้นมารองรับ

เท้าของเขาทุกๆ ก้าว และเหนือสิ่งอื่นใด กลิ่นปากของเทพบุตรองค์นี้ หอมฟุ้งขจรขจายไปทั่วสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ตลอดเวลา ประหนึ่งว่า กลิ่นดอกบังฉะนั้น และเพราะกลิ่นหอมหวลนี่เอง ทำให้พวกเทวดาบนสวรรค์ ต่างพากัน

แปลกใจฉงนฉงานไปตามๆกัน ด้วยไม่ทราบว่า ต้นตอของกลิ่นมาจากที่ไหน จนอดรนทนไม่ไหว จึงพากันเข้าไป

ทูลพระอินทร์ว่า

             "ขอเดชะ ขณะนี้มีกลิ่นประหลาดกลิ่นหนึ่ง หอมฟุ้งขจรขจายอยู่บนสวรรค์ของเรานี้ พะย่ะค่ะ ข้าพเจ้า

เดาเอาว่าคงเป็นกลิ่นดอกบัวอะไร ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไกลนัก และมิหนำซ้ำ ยังหอมอยู่ได้ตลอดวัน จนปวดขมอง

พะย่ะค่ะ"

             ฝ่ายพระอินทร์ เจ้าแห่งสวรรค์ เมื่อทรงสดับเช่นนั้น ก็นิ่งคิดอยู่เป็นครู่ ครั้นแล้วจึงเอ่ยขึ้นว่า "คงเป็น

กลิ่นดอกบัว ที่เกิดใหม่ตรงโน้นกระมัง?" รับสั่งพลางชี้หัตถ์ไปที่ปราสาทดอกบัว ของเทพบุตรองค์นั้น ซึ่งมองเห็น

ตระหง่านอยู่เบื้องหน้า "เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน เพื่อให้แน่ใจ เราไปดูกันให้ถึงที่ดีกว่า"

             "ไปเมื่อไร พะย่ะค่ะ?" เทวดาพวกนั้นย้อนถาม

             "เดี๋ยว นี้แหละ ชักช้าอยู่ทำไมล่ะ" พระอินทร์รับสั่งพลางเสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ออกเดินนำหน้า

พาเทวดาพวกนั้น ตรงไปยังปราสาทดอกบัวทันที

ครั้นมาถึงปราสาทดอกบัว องค์อินทร์ก็เสด็จเข้าไปข้างใน พอดีพบเทพบุตรเจ้าของปราสาท จึงรับสั่งทักทายขึ้น

ว่า

             "เธอใช่ไหม ที่เป็นเจ้าของปราสาทแห่งนี้?"

             "ใช่ พระเจ้าข้า" เทพบุตรดอกบัวทูลตอบ และขณะที่เปิดปากพูด กลิ่นหอมของดอกบัว ยิ่งฟุ้ง

อบอวลมากขึ้น "พระองค์มีธุระอะไรจะใช้ข้าพเจ้าหรือ พระเจ้าข้า?"

             "เปล่า หรอกเธอ ฉันมาที่นี่ ก็เพื่ออยากคุยกับเธอนิดหน่อยเท่านั้น" พระอินทร์รับสั่งตอบ พร้อมกับ

สูดเอากลิ่นดอกบัวเข้าไปเต็มที่ จนแทบสำลัก

             "เชิญประทับให้สำราญก่อนเถิด พระเจ้าข้า" เทพบุตรดอกบัวเชิญองค์อินทร์ประทับนั่ง พร้อมกับ

เทวดาผู้ติดตามด้วย

             "แหม! ปราสาทเธอสวยมาก และยังมีกลิ่นดอกบัวหอมอบอวลอยู่ตลอดเวลาเสียด้วย" พระอินทร์รับ

สั่งชม หลังจากทรุดองค์ลงประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว ตอนที่เธอเป็นมนุษย์ เธอทำบุญอะไรไว้นะ ถึงได้สมบัติอันงด

งามขนาดนี้?"

             "ข้าพเจ้า เป็นคนยากคนจน เก็บผักหักฟืนขายเลี้ยงตัวเองกับแม่ พระเจ้าข้า ต่อมาวันหนึ่ง ข้าพเจ้า

ไปอาบน้ำที่สระแห่งหนึ่ง ได้เก็บดอกบัว 8 ดอก มาถวายพระภิกษุองค์หนึ่ง ครั้นตายจากโลกมนุษย์ จึงได้มา

บังเกิดในปราสาทดอกบัวนี้ พระเจ้าข้า"

             "เธอทำบุญเพียงนั้นเอง หรือ?" พระอินทร์ย้ำถามอย่างไม่แน่ใจ "ดอกบัว 8 ดอกกับสมบัติอันยิ่ง

ใหญ่มโหฬารช่นนี้ มันเทียบกันไม่ได้เลยนี่นะ เธอ"

             "แต่ข้าพเจ้าทำบุญเพียงแค่นั้นจริงๆ พระเจ้าข้า" เทพบุตรยืนยัน "ส่วนจะเทียบกันได้หรือไม่ ข้าพเจ้า

ไม่ทราบ"

             "แหม! น่าอัศจรรย์จริง" เทวดาองค์หนึ่งที่ตามเสด็จมาด้วยสอดขึ้น "ทำบุญน้อยแต่ได้ผลมากเช่นนี้

น่าทำเหลือเกิน จริงไหม พะย่ะค่ะ?"

             "จริง แต่ทว่า มนุษย์ปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยอยากทำบุญกัน" พระอินทร์ตอบ พลางหันมาทางอุบล

เทพบุตรอีก "เออ! แล้วกลิ่นดอกบัวที่ตลบอบอวลไปทั่วภิพลอยู่ขณะนี้ ก็คงจะไปจากปราสาทของเธอ ซึ่งเกิดขึ้น

เพราะอานิสงส์การถวายดอกบัวแปดดอกนะซี"

             "พระเจ้าข้า และกลิ่นตลบอยู่ในปราสาทของข้าพเจ้าขณะนี้ ก็ออกไปจากปากของข้าพเจ้านี่แหละ"

             "เมื่อ พระอินทร์และเทวดาทั้งหลาย ได้ทราบที่มาของกลิ่น ซึ่งข้องใจสงสัยเป็นหนักหนาแล้วดังนั้น

แทนที่จะโมโหโกรธา ตรงเข้าเล่นงานเข้าของกลิ่น กลับยินดีปรีดาและเลื่อมใสในการทำบุญ ด้วยดอกบัว 8 ดอก

ของเทพบุตรนั้นเป็นที่ยิ่ง และเมื่อเสด็จออกจากปราสาทดอกบัวแล้ว พระองค์ก็ตรงไปยังสระสวรรค์ เก็บดอก

อุบลซึ่งชูช่อไสวอยู่ในสระแห่งนั้น มาสักการบูชาพระจุฬามณีเจดีย์ พร้อมกับพวกเทวดาทั้งหลายทันที และดู

เหมือนว่า ตั้งแต่นั้นมา ดอกบัวในสระสวรรค์ถูกเก็บไปบูชาพระจุฬามณีเจดีย์ทุกวัน โดยพระอินทร์บ้าง พวกเทวดา

บ้าง จนแทบจะเกลี้ยงสระอยู่รอมร่อ ทั้งนี้เพราะ ทั้งพระอินทร์และพวกเทวดา ต่างก็อยากได้ปราสาทดอกบัว อีก

ทั้งมีกลิ่นบัวหอมฟุ้งจากปากตลอดเวลา อย่างอุบลเทพบุตรบ้างนั่นเอง

แต่ ยังไงก็ตาม อุบลเทพบตุรยังเสวยสุขสมบัติ อยู่ในปราสาทดอกบัวต่อมา จนกระทั่งบัดนี้ และดูเหมือนว่า จะ

จุติลงมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็ต่อเมื่อพระศรีอาริย์ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั่นเอง ซึ่งก็หมายความว่า ตอนนั้น เขา

จะไม่พบกับความเข็ญใจไร้ทรัพย์ดังชาติก่อนเลย สมกับที่เขาปรารถนาไว้ต่อหน้าพระมาลัยทุกประการ

สำหรับพระมาลัยเถระ ผู้เปิดประตูนรกสวรรค์ หลังจากที่ได้เที่ยวโปรดสัตว์ผู้ยากทั้งหลาย รวมทั้งมวลมนุษย์ให้ละ

ชั่ว กระทำความดีต่อมาอีกหลายปี ก็เข้าสู่นิพพานในที่สุดดังนี้แล



อ้างอิงที่มา : www.siamvip.comwww.gmcities.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2010, 11:54:29 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา คร้า

นั่งอ่านไป ชม. กว่า ๆ ยังอ่านไม่หมด เลย

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระมาลัย อรหันตขีณาสพ ผู้มีบุญญฤทธิ์ โปรดสัตว์
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2010, 03:32:45 am »
0
พระมาลัยท่องนรกภูมิ




พระมาลัย เยี่ยมเมืองนรก

             ณ ตามพปัณณิทวีป ซึ่งปัจจุบันคือเกาะลังกา มีพระเถระองค์หนึ่งชื่อ "พระมาลัย" ท่านเป็นพระ

อรหันต์ขีณาสพ มีบุญญานุภาพ และฤทธิ์เดชเกริกไกร มีเกียรติคุณแผ่ไพศาล เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในทวีปนี้

พระมาลัยอาศัยบ้านกัมโพชะ ซึ่งเป็นชนบทเล็กๆ เป็นที่โคจรบิณฑบาต และอยู่จำพรรษามาเป็นเวลาช้านาน ท่าน

มีอุปการคุณแก่บรรดามนุษย์ ในหมู่บ้านแห่งนี้มาก โดยนอกจากจะเป็นเนื้อนาบุญให้ชาวบ้าน ได้ทำบุญสุนทาน

กันแล้ว ท่านยังเข้าฌาณสมาบัติชำแรกแผ่นดินไปเมืองนรกบ่อยๆ และทุกครั้งที่ท่านไปถึง ท่านจะสำแดงฤทธิ์

บันดาลไฟที่กำลังลุกโชนโชติช่วง เผาไหม้บรรดาสัตว์นรกอยู่อย่างบ้าคลั่งนั้นให้ดับ พร้อมกับให้ฝนเทลงมาตก

ต้องร่างแสนจะร้อนเร่าจนเกือบจะสุกเกรียมของสัตว์ผู้ยากเป็นการใหญ่ ขณะเดียวกัน ก็บันดาลลมให้กระพือพัด

ต้นงิ้วและภูเขาไฟ รวมทั้งอีกาปากเหล็กทั้งหลาย ให้กระจัดกระจายพลัดพรายไปจนหมด เสร็จแล้วบันดาลให้น้ำ

ที่กำลังเดือดพล่านในกระทะทองแดง กลายเป็นน้ำเย็น และมีรสหวานปานน้ำผึ้ง ให้พวกสัตว์นรกเหล่านั้นได้ดื่ม

กินกันอย่างสำราญ ต่อจากนั้นก็แสดงธรรมโปรดให้เป็นที่เอิบอาบซาบซึ้งใจทั่วกัน



เพิ่มเติมจากริงก์

http://www.larnbuddhism.com/pramarai/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2010, 04:06:50 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ ได้รู้เรื่องเพิ่มจริง ๆ ปกติ

คุณธรรมธวัช ไม่แต่งกลอนส่งท้าย ไปอีกหน่อยหรือ คะ

 :c017: :s_good: :25:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระมาลัย แท้จริงเป็นใคร.? มาจากไหนแน่.?
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2010, 12:16:17 pm »
0
ประวัติพระตี้จัง (พระมาลัย)




                ในหนังสือ "ลัทธิของเพื่อน" เสถียรโกเศศ และนาคะประทีป ได้กล่าวถึงประวัติของพระตี้จังอีกเรื่อง

หนึ่งพระ ตี้จังเป็นโอรสของพระเจ้าแผ่นดินสยาม มีนามตามแซ่ว่า "กิม" และมีฉายาว่า "เกียวก๊ก" เมื่อ

พ.ศ.1297 ได้สละโลกออกบรรพชา แล้วจาริกไปประเทศจีน

             นัก ปราชญ์จีนและชาวต่างประเทศ มีความเห็นว่า พระตี้จังคงไปจากสยาม เพราะในคัมภีร์และศิลา

จารึกที่รักษาไว้ที่วัดข้างภูเขาเกาฮั่วซัว เขียนชื่อชาติภูมิของพระตี้จังว่า "ซินหลอ" หรือบางทีก็ "เซียมหลอ"

ถ้าคำว่า ซินหลอ ถูกต้อง ก็น่าจะเป็นประเทศเกาหลี เพราะในสมัยดังกล่าวมีดินแดนชื่อ "ซินหลอ" หรือ

"ซิลลา" เป็นก๊กหนึ่งในเกาหลี แต่ถ้าเซียมหลอ ถูกต้อง ก็เป็นอันยุติว่า พระตี้จังเป็น "คนไทย" จริงๆเพราะจีน

เรียกสยามว่า "เซียมหลอ"

             เมื่อ พระตี้จังจาริกไปยังประเทศจีน ได้ล่องเรือไปตามแม่น้ำเอียงซีเกียง ถึงตำบลเกาฮั่วซัว เห็น

ภูมิประเทศงดงาม จึงตกลงใจขึ้นจากเรือที่นั่น แล้วไปหาเจ้าหน้าที่ ขอเนื้อที่พอที่จะปูเสื่อนั่งสวดมนต์ภาวนา เจ้า

หน้าที่ก็อนุญาต พระตี้จัง "เข้าญาณ" ประชาชนเห็น "แสงรัศมี" เปล่งออกมาจากพระตี้จังจึงรู้ว่าเป็นผู้วิเศษ ก็พา

กันไปสักการบูชา พระตี้จังเข้าญาณอยู่ที่นั่นถึง 75 ปี ลุปีที่ 25 วัน 13 ค่ำ เดือน 7 พระตี้จังก็บรรลุโพธิญาณ

ละสังขาร สิริชนมายุได้ 99 ปี ร่างกายของท่านไม่เน่าเปื่อย ขุนนางจีนชื่อมีนกง ผู้เลื่อมใสศรัทธาท่านมากได้

ถวายที่ดินและคอยปรนนิบัติเสมอ ได้จัดฝังศพให้บนปากหลุมมีเปลวเพลิงแลบขึ้นมาแสดงให้เห็นว่า "พระตี้จังลง

ไปเปลื้องทุกข์สัตว์ในนรก" ตามตำนานที่คนไทยรู้จาก สวดพระมาลัย คือพระมาลัยเป็นพระอรหันต์ที่เกิดหลังจาก

พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปนานแล้ว อาศัยที่บ้านกัมโพธ ประเทศลังกา คุณลักษณะ เด่น คือ มีอิทธิฤทธิ์ เหาะเหิน

เดินอากาศได้ เคยไปโปรดสัตว์ในสวรรค์และนรก คุณสมบัตินี้ตรงกับพระโมคคัลลานะ พระอัครสาวกเบื้องซ้าย

ของพระพุทธเจ้า เมื่อ พระมาลัยไปเยือนนรก อำนาจฤทธิ์เดชของท่านทำให้ความทรมานในนรกสูญหาย สัตว์

นรกได้รับความสุขชั่วขณะ เมื่อพระมาลัยกลับสัตว์นรกก็ได้รับทุกขเวทนาต่อไป สัตว์นรกฝากสั่งความถึงญาติ

มิตรบนโลกมนุษย์ พระมาลัยกลับมาก็บอกแก่ญาติมิตรว่าไปพบอะไรมาบ้าง และให้ช่วยทำบุญทำกุศลไปให้ผู้

ตายที่ตกนรก ต่อมา พระมาลัยได้เฝ้าพระศรีอาริย์ และนำคำตรัสของพระศรีอาริย์มาบอกชาวโลกให้กระทำแต่

ความดี

             เหตุหนึ่งที่เรื่องพระมาลัยยังคงมีการสืบต่อ รักษากันมาในประเทศไทยนี้ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึง

ปัจจุบัน ก็เป็นเพราะความฉลาด หลักแหลมของคนโบราณ ที่ให้มีการสวดพระมาลัย ในงานพิธีกรรมทางศาสนา

เรื่อง การสวดพระมาลัย นี้แต่เดิมเราเชื่อกันว่าเอาเรื่องมาจากลังกา แต่ อาจารย์สุภาพรรณ ณ บางช้าง ได้ศึกษา

พบว่า ไม่ได้เอามาจากลังกาแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นในเมืองไทย และ เชื่อว่าเอามาจาก มารายกะ ของพม่าเป็น

เค้าเรื่อง ในประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ก็มีจารึก ที่พม่าจารึกว่ามีการสวดพระมาลัยกัน เมื่อเข้ามาแล้วคนไทยก็

ได้เอามาแต่งขยายเพิ่มเติมคัมภีร์เดิมให้เข้าใจได้ ชัดเจนง่ายขึ้นเป็นฎีกามาลัยที่เราได้ยินกัน จากนั้นฎีกามาลัยก็

กลายมาเป็นพระมาลัยกลอนสวด พระมาลัยคำหลวง การสวดจะสวดในลักษณะเป็นงานมงคล งานทางศาสนา

หรือว่างานอวมงคล และการสวดพระมาลัยจะแพร่หลายอยู่ในทุกภาค แต่จำแนกเป็น ๒ สายใหญ่ๆ สายของภาค

เหนือและภาคอีสาน จะสวดควบคู่ไปกับประเพณีเทศน์มหาชาติ งานบุญพระเวสสันดร งานบุญเดือนยี่ของชาว

อีสาน ภาคกลางกับภาคใต้ จะสวดในงานศพ คือแต่เดิมจะสวดพระมาลัยกันในพิธีแต่งงาน ต่อมาภายหลังก็เริ่ม

เลื่อนมาสวดในงานศพ แต่เดิมพระสงฆ์จะเป็นผู้สวด ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นฆราวาสเป็นผู้สวด วิธีการสวดในภาค

กลางและภาคใต้จะเหมือนกัน โดยเขาจะมีหนังสือสวดพระมาลัยที่อยู่ในหีบพระอภิธรรม

             นอกจากคัมภีร์พระมาลัย ที่จารหรือเขียนด้วยตัวหนังสือขอมแล้ว ยังมีฉบับภาษาไทยที่แต่งเป็น

กาพย์ ฉันท์ โคลง กลอน ดังจะขอยกวรรณกรรมท้องถิ่นเมืองพัทลุง เรื่องพระมาลัย  ต้นฉบับเป็นหนังสือบุดขาว

จารอักษรด้วยหมึกดำ แต่งแต่ปีใดไม่ปรากฏ ประพันธ์ในรูปกาพย์และฉันท์ ซึ่งถือเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของ

บรรพชนของชาวพัทลุง โดยจะขอคัดลอกมาเฉพาะตอนที่พระศรีอาริยเมตไตรยสั่งให้พระมาลัยไปบอกชาวชมพู

ทวีปว่า ผู้ใดต้องการเกิดทันศาสนาของพระองค์ให้ปฏิบัติตน ดังนี้
 

                                 เมื่อนั้นพระสีอาน                             ฟังองกานก็เต็มใจ

                     จึงตรัดว่าพระมาไลย                                    ผู้เป็นเจ้ากล่าวเพราะดี

                                 เจึงสั่งพระมาไลย                            ท่านจะไปในโลกี

                     จงท่านเอาคดี                                            ดังนี้บอกแก่ฝูงชน

                                 ว่าพระโพทิสัด                                ผู้จะตรัดเป็นทศพน

                     ได้ยินว่าฝูงคน                                            ทำกุสนสร้างสมภาน

                                 ทำแล้วปราถหนา                            จะขอพบพระสีอาน

                     ได้ยินบ่อหมินาน                                         พระหฤาไทยก็ยินดี

                                 ท่านตรัดสั่งให้รู้                              ว่าผู้ใดในโลกี

                     จะใคร่พบพระไมตรี                                      พระสีอานผู้มีคุน

                                 ให้หญิงชายทั้งหลาย                        เร่งขวนขวายก่อทำบุน

                     ให้จำสินทานทุกคน                                     ให้ฟังธรรมไหว้พระสงฆ์

                                 ผู้ใดจะขอพบ                                 ประสบเจ้าหน่อพุทธอง

                     ให้ผู้นั้นเร่งบันจง                                         ทำบุนแล้วให้แผ่ผน

                                 อย่าได้ทำร้ายกาด                           อย่าประมาทลืมกุสน

                     อย่าทำเป็นสนล่อวน                                    ให้ผิดของผองใจกัน
 
                                 ถ้าผู้ใดจะใคร่พบ                             จะขอพบเจ้าจอมทัม

                     อย่าทำบาปอันฉกัน                                      คือปานาทิปาตา

                                 ถ้าผู้ใดจะใคร่ทัน                             เมื่อท่านได้เป็นศาสดา

                     อย่าลักทรับท่านมา                                      เอามาไว้เป็นของตน

                                 ถ้าผู้ใดจะใคร่พบ                             ขอประสบหน่อทศพน

                     อย่าทำเป็นสนละวน                                     ด้วยเมียท่านบ่อมิเป็นการ

                                 ถ้าผู้ใดจะใคร่ทัน                             ศาสนาพระสีอาน

                     อย่ากินเล้าสุราบาน                                      ผู้กินเล้ามิทันพระเลย

                                 ถ้าผู้ใดใคร่จะทัน                             เมื่อเทอเป็นพระชมเชย

                     ฝูงคนทั้งหลายเอ้ย                                       อย่าได้กล่าวมุดสาวาทา

                                 ถ้าผู้ใดจะใคร่เห็น                             หน่อทศพนสร้อยพระศาสดา

                     ให้จำสินภาวะนา                                          ทรงทุดงกัมะถาร

                                 ถ้าผู้ใดจะใคร่เห็น                             สมเด็จองพระสีอาน

                     ให้ตั้งใจชื่นบาน                                           ฟังนิทานพระเวดสันดอน

                                 ถ้าท่านผู้ใดจะใคร่ไว้                         เมื่อท่านได้เป็นพระบอวอน

                     ให้ฟังนิทานพระเวดสันดอน                            ในวันเดียวจบทั้งนั้น

                                 ฟังบาลีพระเทศหนา                          ฟังคาถาถ้วนทั้งพัน

                     เข้าแลขนมนั้น                                            ทุกสิ่งพันจงมากมาย

                                 ฉัดทงเพดานกั้น                               รูปภาพนั้นผูกแขวนสาย

                     ประทีปทูพเทียนถวาย                                    ดอกไม้เพลิงเรืองรัศหมี

                                 ดอกบัวหลวงดอกบัวขาว                    ดอกสามหาวจงกละนี

                     ดอกอุบนอันขาวสี                                        นีลบนดอกมลทา

                                 ดอกกระบุดขาวไสยสุด                      ดอกลัดปุดแดงรจนา

                     สิ่งละพันถวายบูชา                                        มหาชาดเวดสันดอน

                                 ฟังแล้วประนิบัด                                ทำตามอัดพระสั่งสอน

                     มหาชาดพระเวดสันดอน                                 ถ้วนคาถาแลบาลี

                                 ผู้ใดทำดังนี้จบ                                 จึงจะพบพานด้วยดี

                     จึงจะเห็นพระไมตรี                                        เมื่อเป็นพระพ้นประมาณ





อ้างอิงที่มา
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=iamzeon&month=11-2009&date=05&group=84&gblog=197
http://www.wattana.prohosts.org/attact/Ek/Ek9.php
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2010, 12:48:48 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

The-ring

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้อ่านสาระ ครบเลยครับ กว่าจะอ่านจบ 2 ชั่วโมง กว่า ๆ
:25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
โยมธรรมธวัช ละเอียด แต่กว่าจะหาข้อมูลให้ครบ

ก็หลายวัน อนุโมทนาด้วย นะจ๊ะ ที่ช่วยเป็นปากเสียงให้กับพระธรรม

เจริญพร

 ;) ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระมาลัย "พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์"
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กันยายน 27, 2011, 04:02:14 am »
0
พระมาลัย "พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์"
ภาคอานิสงส์การกล่าวพระนามบูชา



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 27, 2011, 04:20:12 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระมาลัย "พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์"
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กันยายน 27, 2011, 04:10:55 am »
0
พระมาลัย "พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์"
ภาคปณิธานบำเพ็ญตน




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 27, 2011, 04:17:28 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระมาลัย "พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์"
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: กันยายน 27, 2011, 04:29:17 am »
0
พระมาลัย "พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์"
บทสรรเสริญพระคุณ

บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

samathi

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 93
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา กับเรื่องที่นำเสนอครับ วันพระยามเช้าครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระมาลัย "พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์"
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2011, 07:45:37 am »
0
พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์
(สองขัตติยราชา)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 23, 2011, 07:50:43 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระมาลัย "พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์"
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2011, 08:03:50 am »
0
พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์
(สังสารวัฎฎ์ ; ห้วงวัฎจักรทะเลทุกข์)




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 23, 2011, 08:17:44 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระมาลัย "พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์"
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2011, 08:26:41 am »
0
พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์
(ทุกข์/ทัณฑ์/นรก/กรรม)



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 23, 2011, 08:29:29 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา