ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นันทชาดก-ชาดกว่าด้วยความมานะถือตัว  (อ่าน 3089 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
นันทชาดก-ชาดกว่าด้วยความมานะถือตัว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2015, 06:08:06 pm »

นันทชาดก-ชาดกว่าด้วยความมานะถือตัว

 เมื่อฤดูฝนอย่างกรายมาถึงพระภิกษุทั้งหลายก็อยู่จำพรรษาตามพุทธบัญญัติ มิได้ออกเที่ยวจาริกที่ใดๆๆได้ตามปกติเป็นเวลานาน 3_เดือน ครั้นวสันตฤดูผ่านพ้นภิกษุในพระเชตะวันมหาวิหารก็พร้อมที่จะเดินทางออกไปเผยแผ่พุทธธรรมดังที่เคยกระทำต่อเนื่องกันมาอีกครั้ง พระสารีบุตรเถระอัครสาวกของพระพุทธศาสดาก็เช่นกัน
 ปรารถนาแรกเมื่อผ่านพรรษานี้ก็คือการจาริกออกไปยังทักขิณาคีรีทิศใต้ของนครสาวัตถี เพื่อนำพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ไปโปรดนิคมห่างไกลให้พ้นทุกข์ การเดินทางครั้งนั้นพระสารีบุตรมีสิทธิ์ติดตามไปด้วย ซึ่งเป็นภิกษุผู้ประพฤติเรียบร้อย ชาวชนบททักขิณาคีรีซึ่งก็คือจุดหมายในการออกจาริกในครั้งนี้นี่เอง
 “จากตรงนี้แล้ว เราจะไปทักขิณาคีรีทางใดกัน” “ศิษย์รู้จักเส้นทางแถวนี้ดี จะนำทางพระอาจารย์ไปเองนะขอรับ” ศิษย์ผู้นี้ปรนนิบัติดูแลพระสารีบุตรอย่างเคารพนอบน้อมมาตลอดทาง ดังที่เคยปฏิบัติมาในพระอารามเชตะวัน “เส้นทางนี้ขรุขระเดินลำบากยิ่งนัก ให้ศิษย์ถือของให้เถอะขอรับพระอาจารย์” จนจาริกล่วงมาจนถึงชนบทชายแดนแคว้นโกศลอย่างตั้งใจ
 กริยาอาการการของภิกษุผู้ติดตามพระอัครสาวกก็เปลี่ยนไป “ท่านนะรีบๆ เดินเข้าเถิด จะได้ถึงที่หมายเร็วๆ ผมนะเหนื่อยเต็มทนแล้วน่ะ” (ศิษย์ชาวนิคมนี้ไม่สำรวมแล้วเพราะเหตุใดกันนะ) “เหตุใดเล่าท่านจึงมุ่งหน้าเข้าพงเข้ารกอีก เขตนิวาสบ้านชาวนิคมนะอยู่ทางโน้น....เฮ้อ” “อ้อ....เป็นทางนี่หรอกรึ” “ก็ใช่นะสิ นี่ทางเข้าก็เห็นๆ กันอยู่ นี่ไงละท่าน
 มาเถอะ ผมจะพาท่านไปยังธรรมศาลา จะได้แสดงธรรมให้เสร็จๆ ซะที ไม่รู้ทางแล้วยังจะเดินนำอีก” พระสารีบุตรแสดงธรรมโปรดชาวชนบทชายขอบแคว้นโกศลที่แห่งนั้น จนได้เวลาสมควรแล้วก็เดินทางกลับ “โอ้ย..ต้องเดินทางกลับอีกแล้ว เมื่อยล้าเต็มทนแล้วนี่” แต่เมื่อพ้นชนบทเขตบ้านเก่าออกมา ภิกษุผู้เป็นศิษย์ก็กลับมาสู่พระอาการเป็นปกติ
 ด้วยกริยาที่นอบน้อมดังเดิม “เดินระวังๆ นะขอรับพระอาจารย์ ทางลาดชันมาก” (ศิษย์ผู้นี่กลับมานอบน้อมดังเคยแล้ว น่าแปลกจริงๆ) อีกหลายวันต่อมาศิษย์ที่เคยก้าวร้าว ก็ยังเรียบร้อยเป็นปกติ มิได้เย้อหยิ่งถือดีเหมือนที่เคยกระทำในชนบทพิสัยนั้นแม้แต่น้อย “ธรรมข้อนี้ ศิษย์พิจารณาแล้วยังไม่รู้แจ้งซะที พระอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยเถอะขอรับ”
 (ล่วงมาบัดนี้ก็ผ่านมาตั้งหลายวัน ศิษย์ผู้นี้ก็ยังนิสัยนอบน้อมอย่างเคย เอ้....แล้วตอนจาริกเผยแผ่พระธรรม ไฉนจึงประพฤติแปลกไปเช่นนั้นละ) ความเป็นไปดังนี้คือข้อสงสัยภายในจิตใจของพระสารีบุตรเถระอยู่ตลอดเวลา “อือ...เพราะเหตุใดกันนะ อะไรที่ทำให้ศิษย์ผู้นี้ประพฤติผิดแผกไป” จนได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์คราวหนึ่ง
  พระอัครสาวกได้นำข้อสงสัยนี้ขึ้นทูลถวายเพื่อให้ทรงไขปริศนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสดับแล้ว จึงโปรดพระสารีบุตรและหมู่สงฆ์ในพระวิหารว่า “ชนหมู่ใดเมื่อระลึกรู้ถึงความสำคัญที่ตนมีต่อผู้อุปการะดูแลตน เมื่อถึงวาระใช้ความสำคัญนั้นแล้ว มิได้ยำเกรงดังเคยผู้นั้นไร้ธรรม ดังนันทะทาสในอดีตชาติหนึ่งเย้อหยิ่ง วาระที่ผู้เป็นนายจำเป็นต้องพามาก่อน”
 เมื่อได้ฟังดังนั้นพระสารีบุตรจึงอาราธนาขอให้พระพุทธองค์ทรงโปรดเล่าชาดก นันทะทาสอันกระทำดังเดียวกับผู้เป็นศิษย์กระทำไว้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงระลึกชาตินั้นด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณ แล้วตรัสเล่านันทชาดก ดังนี้ ในพาราณสี นครใหญ่แห่งแคว้นกาสี ยังมีเศรษฐีชราผู้หนึ่ง เพิ่งมีบุตรกับภรรยารุ่นสาว
 ยิ่งบุตรโตขึ้นเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งทุกข์ใจด้วยความเป็นห่วงบุตรมากเท่านั้น “อีกหน่อยพอเราตาย ภรรยาก็คงหาสามีใหม่ มาผลาญทรัพย์สินจนหมดแน่ๆ เฮ้อ..” “ท่านพ่อๆ มาเล่นกันๆ” “โธ่ลูกชายของพ่อ พ่อต้องหาทางเก็บทรัพย์สมบัติไว้ให้เจ้าโดยปลอดภัยซะแล้ว” เศรษฐีผู้คิดการณ์ไกลเรียกหา นันทะ ทาสบุตรชายคนเก่าแก่ของตระกูลมาเก็บเงินทองใส่หีบไว้ได้เป็นจำนวนมาก
 “นันทะ เจ้าจงเอาหีบสมบัติเหล่านี้ไปฝังไว้เถิด เมื่อบุตรของเราเติบโตขึ้นเจ้าค่อยมอบมันให้เขาเพื่อเป็นทุนค้าขาย” “ได้ขอรับ ท่านเศรษฐีข้าจะเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีเลย” “ดีมาก แล้วเจ้าอย่าบอกเรื่องนี้กับใครละ จนกว่าบุตรชายเราเติบโตเป็นหนุ่ม” “ขอรับ ข้าจะเก็บเป็นความลับ ขอรับท่านเศรษฐี” “เจ้าต้องช่วยดูแลให้เขาเติบโตเป็นคนดี มีศีลธรรมและขยันหมั่นเพียร
  เพื่อรักษาทรัพย์ไว้ เราจะได้ตายตาหลับ” “ท่านเศรษฐีอย่าห่วงเลย ข้าน้อยจะดูแลนายน้อยเป็นอย่างดี ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม แผลแม้แต่น้อยนิดก็จะไม่ให้มี แม้แต่ไฝเม็ดเดียวก็จะไม่ให้ขึ้น” “ไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอก” ต่อมาไม่นานเศรษฐีชราก็ตายจากไป ทิ้งภรรยาสาวให้เลี้ยงดูบุตรต่อไป “โธ่ลูกแม่ พ่อเจ้าจากเราไปเสียแล้ว”
 “ท่านแม่อย่าเสียใจไปเลย ลูกจะดูแลท่านแม่แทนท่านพ่อเอง” นันทะทาสรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับท่านเศรษฐี คอยดูแลรับใช้นายน้อยจนเติบใหญ่ขึ้นตามวัย “แม่จ๋าลูกโตพอที่จะรับเอาทรัพย์ของพ่อมาดูแลหรือยังจ๊ะ” “ยังหรอกจ๊ะ เอาไว้เจ้าโตเป็นหนุ่มก่อนเถิด” วันคืนผ่านไปนายน้อยของนันทะทาสก็เจริญวัยเป็นหนุ่มฉกรรจ์
  ได้ร่ำเรียนศิลปะศาสตร์การพาณิชย์จนเป็นที่พอใจของมารดา และแล้ววันสำคัญแห่งตระกูลก็มาถึง “ลูกเอ๋ย เจ้าให้คนเรียกลุงนันทะมาเถิด ถึงเวลาแล้วที่ต้องขุดสมบัติของพ่อเจ้าขึ้นมาใช้” “ห๊า..ขุดสมบัติหรือท่านแม่ ทำไม ไม่เห็นลูกรู้ความลับเรื่องนี้เลย” “พ่อเจ้าสั่งลุงนันทะเอาไว้ ว่ารอให้ลูกโตก่อนถึงจะบอกนะจ๊ะ ไปเถอะ เจ้าไปเรียกลุงนันทะมาเถิด”
  “นายหญิงเรียกข้าน้อยมา มีอะไรหรือขอรับ” “เราจะให้เจ้าพาลูกชายของเราไปยังที่ฝังทรัพย์ ขุดสมบัติเหล่านั้นให้เขามาดูแลเองซะที” “ได้ ขอรับ” “ต้องรบกวนลุงนันทะด้วยนะ” “ยินดี ขอรับนายน้อย ข้าน้อยจะดูแลอย่างดี” “ลุงนันทะ เรานะเริ่มเดินทางพรุ่งนี้เช้าเลยแล้วกัน ท่านเตรียมตัวให้พร้อมนะ” “ได้เลย ขอรับนายน้อย ข้าน้อยเฝ้าดูแลทรัพย์สมบัติเหล่านั้นนานแล้ว
    รอคอยวันที่นายน้อยจะเติบโตเป็นหนุ่ม ยินดีจริงๆ ในที่สุดก็ได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับท่านเศรษฐีจนสำเร็จ” “เมื่อเราขุดสมบัติขึ้นมาแล้ว วานลุงนันทะ จัดคนไปขนมาเก็บด้วยเถอะนะ” “ได้ขอรับ นายน้อย” เมื่อได้เวลา นันทะทาสก็นำจอบ เสียม เครื่องมือขุดกับเสบียงเล็กน้อยมารับทายาทเศรษฐีไปสู่หมู่บ้านที่เคยนำสมบัติไปฝังไว้ด้วยกริยาสุภาพเป็นปกติ
 ถึงชายป่าตรงโน้น ข้าน้อยจะจัดอาหารให้ขอรับนายน้อย” (นันทะทาสคนนี้ช่างดีจริงๆ ดูแลปรนนิบัติเราอย่างดี ต่อไปเราจะต้องเลี้ยงดูเขาให้มีความสุข บริวารเช่นนี้หายากยิ่งนัก) “เตรียมเดินทางต่อเถอะขอรับ นิคมที่ฝังสมบัติท่านเศรษฐีไว้ยังอีกไกล” จนแดดยามบ่ายคล้อยลง ทั้งสองนายบ่าวก็เดินเข้าสู่เขตหมู่บ้าน “ถึงหมู่บ้านที่ฝังสมบัติแล้วขอรับ”
  “ท่านพ่อกับลุงนันทะ มาฝังซะไกลเลยนะครับ” ทันที่เดินผ่านหลักเขตศิลา นันทะทาสก็มีอาการเปลี่ยนไป “โอ้ย..เหนื่อย เอา เจ้าเอาไปแบกไปคอนซะมั่งซิ จะได้รู้รสชาติการทำงานหนักบ้าง เร็วๆ รับไปเร็วๆ อย่าให้มีน้ำโหนะ” (เอะ..นี่ลุงนันทะเป็นอะไรไปนี่) นันทะทาสเมื่อแสดงอาการหยาบกระด้างแล้ว ก็ไม่ยอมเลิกรา กลับลำเลิกบุญคุณและพูดจาตะคอกขู่เข็ญอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
  “เฮอะๆๆ อยากได้สมบัติก็ขุดเอาเองเลย ข้าจำไม่ได้แล้วละว่า มันฝังเอาไว้ตรงไหน ฮ้า ฮ่าๆๆ อยากได้ก็หาเองแล้วกัน” “เฮ้อ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็หยุดค้นหาเถอะ” หนุ่มทายาทเศรษฐีประหลาดใจในกริยาของนันทะทาสเป็นอย่างมาก เพราะทันทีที่สั่งการขุดหาทรัพย์ ความอวดดีหยาบกระด้างก็หยุดลงด้วย” “ได้ขอรับ นายน้อย เก็บของกลับเลยนะครับ นายน้อยหิวหรือยัง ข้าน้อยจะได้หาอาหารมาให้”
 เมื่อเดินทางพ้นหมู่บ้านนิคมนั้น นันทะทาสก็นอบน้อมพูดจาไพเราะเหมือนเดิม กลับมาสู่บ้านก็ปรนนิบัติดูแลเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น “นายน้อย น้ำ ขอรับ ข้าน้อยผสมกับน้ำผึ้งไว้ หอมหวานชื่นใจขอรับ” “มาแย่งงานเราดูแลนายน้อยตลอดเลย มันน่านัก” “อย่าบ่นน่า เจ้าก็มีเหมือนกัน ข้าเก็บไว้ให้ในครัวแล้ว” (ผ่านมาหลายวันแล้ว ลุงนันทะคงหายเครียดแล้วละมั่ง ลองชวนไปขุดสมบัติอีกดีกว่า)
 “ลุงนันทะ พรุ่งนี้เราไปขุดสมบัติของท่านพ่อกันเถอะ” “ได้ขอรับนายน้อย ข้าน้อยจะเตรียมของให้เรียบร้อย” และแล้วทุกสิ่งก็เป็นเช่นเดิม คือเมื่อเดินทางไปถึงบริเวณซึ่งฝังสมบัติไว้ นันทะทาสก็ทำตัวเหมือนเป็นศัตรู มิได้ให้เกียรติยำเกรงดังเคย “เดินเร็วหน่อยซิ ชักช้าอยู่ได้ หาเองแล้วกันสมบัตินะ อยากได้ก็หาเอง”
 หนุ่มน้อยจนปัญญาที่นำทรัพย์สินของบิดามาประกอบอาชีพได้ เพราะไม่รู้เหตุแห่งการก้าวร้าวของนันทะทาส (เอ้..ลุงนันทะเนี่ย ประพฤติแปลกไปอีกแล้วนะ นี่เราจะทำยังไงดีเนี่ย..อ้อ..ไปปรึกษาบัณฑิตดีกว่า) พลันเมื่อนึกถึงพราหมณ์บัณฑิตท่านหนึ่ง ทุกสิ่งก็ถูกไขปริศนาโดยง่ายดาย “มานพเอ๋ย เหตุดังนี้เป็นเพราะนันทะทาสถือว่าตนเป็นผู้เดียวที่รู้จุดฝังซ่อนสมบัติของนาย
 เมื่อตนไปถึงที่นั้น เกิดลำพองกล้าข่มขู่นายด้วยลืมตัว” “อือ..ถ้าเป็นเช่นนั้น เราควรจะทำอย่างไรดีล่ะ” “เธอจงชักชวนเขาไปขุดทรัพย์นั้นอีกครั้ง หากนันทะทาสยืนอวดดี กล่าวข่มขู่อยู่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละมีทรัพย์ฝังอยู่” “ดีจัง อย่างงี้เราก็คงได้ทรัพย์สมบัติของท่านพ่อมาทำทุนค้าขายเสียที” ชายหนุ่มกราบขอบคุณบัณฑิตผู้ทรงปัญญา
 แล้วรีบนำนันทะทาสกลับไปนิคมที่ฝังทรัพย์ไว้ “รีบเข้าเถอะลุงนันทะ วันนี้เราต้องขุดสมบัติมาให้ได้นะ” “ขอรับนายน้อย” เมื่อผ่านเขตนิคมชนบทนั้นเข้าไปสักพัก ทันที่ที่นันทะทาสทำกริยาลำพอง หนุ่มผู้เป็นนายก็ทำตามคำสอนของบัณฑิต “อ้อนวอนก่อนซิ แล้วข้าถึงจะบอกว่าสมบัติอยู่ตรงไหน เฮอะ ฮ่าๆๆ” (เริ่มอวดดีอีกแหละ แสดงว่าต้องอยู่ตรงนั้นแน่ๆ)
 “เอาล่ะเจ้าขุดสมบัติขึ้นมาสิ” “อูย...รู้ได้ยังไงละเนี่ย” เมื่อขุดทรัพย์นำกลับบ้านมาหมดแล้ว ทุกอย่างก็คืนสู่สภาพเดิม นันทะทาสไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือนายอีก ก็กลับมาสุภาพเรียบร้อยเหมือนที่เคยเป็นมา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อตรัสชาดกจบแล้วทรงมีอนุสติเป็นคาถาประจำชาตินี้ว่า

 
มัญเญ โสมัณณโย ราสิ โสวัณณมาลา จนันทโก
ยัตถ ทาโส อามชาโต ฐิโต ถูลาติ ตัชชติ
ทาสชื่อนันทะเป็นบุตรนางทาสี  ยืนกล่าวคำหยาบในที่ใด
เรารู้ว่ากองแห่งรัตนทั้งหลาย  และดอกไม้ทองมีอยู่ในที่นั้น
 
ในพุทธกาลสมัย นันทะทาส กำเนิดเป็น ภิกษุศิษย์พระสารีบุตร
บุตรเศรษฐี กำเนิดเป็น พระสารีบุตร
พราหมณ์บัณฑิต เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
    • ดูรายละเอียด
Re: นันทชาดก-ชาดกว่าด้วยความมานะถือตัว
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2015, 12:37:20 am »
 st11 st12 st12 like1
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
Re: นันทชาดก-ชาดกว่าด้วยความมานะถือตัว
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2015, 04:40:30 pm »
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
Re: นันทชาดก-ชาดกว่าด้วยความมานะถือตัว
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2015, 09:31:46 pm »

   ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา