ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สาวสมัยพุทธกาลเข้าใจผิด คิดว่าช่วยคลายกำหนัดให้พระแล้วจะได้บุญ  (อ่าน 190 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ภาพประกอบเนื้อหา - ภาพพิมพ์ พระสงฆ์ ถือตาลปัตร ปลายศตวรรษที่ 17 ภาพจากหอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส


สาวสมัยพุทธกาลเข้าใจผิด คิดว่าช่วยคลายกำหนัดให้พระแล้วจะได้บุญ

ใน พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 วินีตวัตถุ เขียนไว้ว่า (เน้นคำใหม่โดยกองบรรณาธิการ)

“…สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบงมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า

‘นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ’
‘อย่าเลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร’ [ภิกษุตอบ]
‘นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่สะดือ ทำอย่างนี้ท่านไม่ต้องอาบัติ’

ท่าน [ภิกษุ] ได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

@@@@@@@

พระองค์ตรัสว่า ‘ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส’ (เรื่องที่ 54)…”

ทั้งนี้ ในพระวินัยปิฎกยังมีตัวอย่างลักษณะคล้ายๆ กันอีกหลายกรณีที่สตรีเสนอคลายกำหนัดให้ภิกษุด้วยวิธีการต่างๆ เช่นให้เสียดสีที่เกลียวท้อง เสียดสีที่ซอกรักแร้ หรือแม้กระทั่ง “ช่องหู” ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า พฤติการณ์เช่นนั้นไม่ทำให้ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

คลิกอ่านเพิ่มเติม : อาบัติ “ปาราชิก” ย้อนดูเหตุการณ์ปาราชิกสมัยรัชกาลที่ 4
คลิกอ่านเพิ่มเติม : รัชกาลที่ 4 ทรงออกประกาศ ห้ามพระสงฆ์ไม่ให้ใบ้-แทง “หวย” แลประพฤติอนาจาร





ขอขอบคุณ :-
บทความ : จาก ศิลปวัฒนธรรม > ประวัติศาสตร์
เผยแพร่ : วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2565
เผยแพร่ออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 16 สิงหาคม 2559
website : https://www.silpa-mag.com/history/article_1553
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ