เรื่องทั่วไป > ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน)

การบวช แบบ เอสาหัง และ อุกาสะ แตกต่างกันอย่างไร คร้า่

(1/3) > >>

หมวยจ้า:
กำลังทำรายงาน เรื่องประเพณี พระสงฆ์

เรื่องการบวช เอสาหัง และ อุกาสะ


การบวชทั้งสองแบบนี้ พระที่บวชนั้นจักมีคุณสมบัติต่างกันใช่หรือไม่

การบวชแบบ อุกาสะ เป็นของธรรมยุติ ใช่หรือป่าว คร้า

การบวชแบบ เอสาหัง เป็นของ มหานิกาย ใช่หรือป่าว คร้า

 :25: :25:

raponsan:
อ้างจาก: หมวยจ้า ที่ สิงหาคม 08, 2010, 07:49:58 am>>>>กำลังทำรายงาน เรื่องประเพณี พระสงฆ์

เรื่องการบวช เอสาหัง และ อุกาสะ


การบวชทั้งสองแบบนี้ พระที่บวชนั้นจักมีคุณสมบัติต่างกันใช่หรือไม่

การบวชแบบ อุกาสะ เป็นของธรรมยุติ ใช่หรือป่าว คร้า

การบวชแบบ เอสาหัง เป็นของ มหานิกาย ใช่หรือป่าว คร้า

 :25: :25:
<<<<
น้องหมวย จำสลับกันครับ

ที่ถูกคือ เอสาหัง เป็นของธรรมยุต

และอุกาสะ เป็นของมหานิกาย

ลองใช้กูเกิลเสริชดูซิครับ มีหลายเว็บที่น่าสนใจ

(ไม่รู้โกรธรึเปล่าที่ตอบแบบนี้)

ผมสงสัยว่า น้องหมวยกำลังหาคนช่วยทำรายงานอยู่ ใช่ไหมครับ


ขอให้รายงานได้เกรด A+ นะครับหมวยนีย์ :s_good: :s_good: :s_good:
 :49:  :34: :bedtime2: :25:

หมวยจ้า:
อยากได้ข้อมูล มากกว่านี้

แต่ไม่รบกวนแล้ว เพราะคุณปุ้ม ตอบ คำถาม คุณ fasai ก็หลายวันเลย

พักผ่อน มาก ๆ นะครับ

ว่าแต่ไปภาวนามาก่อนเข้าพรรษา 9 วัน จะมีเรื่อง คนค้นกรรม 3 อีกหรือป่าว คร้า

:25: :25: :25:

raponsan:
คณะธรรมยุต
คณะสงฆ์ที่ตั้งขึ้นใหม่ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นภิกษุในรัชกาลที่ ๓; เรียกว่า ธรรมยุตติกา หรือ ธรรมยุติกนิกาย ก็มี;
 
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วย” (การคณะสงฆ์ น.๑๐)

คณะมหานิกาย
คณะสงฆ์ไทยเดิมทีสืบมาแต่สมัยสุโขทัย, เป็นชื่อที่ใช้เรียกในเมื่อได้เกิดมีคณะธรรมยุตขึ้นแล้ว;

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์อันมีเป็นพื้นเมือง (ของประเทศไทย-ผู้เขียน) ก่อนเกิด ธรรมยุติกนิกาย” (การคณะสงฆ์ น.๙๐)
 
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์(ป.อ.ยุตโต)


ประวัติคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
โดยคุณเมืองแก้ว
   
เป็นบทความดี ๆ ของคุณ muangkaew ที่เขียนเมื่อปี พ.ศ. 2548 เกี่ยวกับประวัติของคณะสงฆ์ในธรรมยุตินิกายครับ เป็นบทความที่แยกแยะความแตกต่างในด้านวัตรปฏิบัติ การนุ่งห่มและระเบียบในคณะสงฆ์ของธรรมยุตและมหานิกายไว้อย่างละเอียดครับ

บทความนี้ผมเขียนขึ้นเอง จากการศึกษาเอกสารหลักฐานต่างๆประกอบกับประสบการณ์ของตนเอง ได้ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว จึงได้เอามาฝากให้อ่านกันเป็นความรู้ครับ ต่อไปจะมีบทความอื่นที่เป้นประโยชน์ทยอยมาเรื่อยๆ ถ้ามีใครสงสัยอะไรก็ถามมาได้ครับ จะตอบให้เท่าที่ภูมิความรู้อันน้อยนิดนี้จะอำนวย

นับแต่อดีตพระพุทธศาสนาได้เข้ามาเผยแพร่และประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยเกิน กว่าพันปีแล้ว โดยเข้ามาทั้งสายอาจริยวาท(มหายาน)และเถรวาท(หินยาน) แต่ในปัจจุบันสายอาจริยวาทนั้นมีผู้นับถือเพียงส่วนน้อย เป็นกลุ่มๆไปในแต่ละแห่ง เช่น คณะสงฆ์จีนนิกาย คณะสงฆ์อนัมนิกาย เป็นต้น มีเพียงสายเถรวาทที่ยังคงเจริญรุ่งเรืองแพร่หลายและนับถือสืบทอดกันมาในทุก ภูมิภาคและยังได้แพร่หลายไปในต่างประเทศด้วย

โดยคณะสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยนั้น แบ่งย่อยเป็น2 นิกายด้วยกัน คือ

มหานิกาย ซึ่งมีพระสงฆ์อยู่จำนวน 80 กว่า% ของพระสงฆ์ทั้งหมด
ส่วนที่เหลืออีก 10กว่า% คือพระสงฆ์ในธรรมยุติกนิกาย

คณะสงฆ์มหานิกาย คือ คณะสงฆ์ที่นับถือและปฏิบัติสืบมาแต่นิกายลังกาวงศ์ คือ ประเทศลังกา อันเป็นแบบดั้งเดิม ส่วนคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายไว้ว่า “ธรรมยุติกนิกาย คือ พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง

 แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วย สืบสายต่อกันลงมา” คำว่า “ธรรมยุต” แปลว่า “ผู้ประกอบด้วยธรรม” หรือ “ชอบด้วยธรรม” หรือ “ยุติตามธรรม” หมายถึง คณะสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่าข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติในข้อนั้น โดยเว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นข้อปฏิบัติที่ประพฤติตามกันมาแต่ผิดธรรมวินัยก็ตาม

คณะสงฆ์ธรรมยุตกำเนิดขึ้นจากการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 แต่ครั้งยังมิได้ทรงครองราชย์และได้ทรงผนวชเป็นภิกษุในคณะสงฆ์มหานิกายอัน นับถือมาแต่ดั้งเดิม เมื่อ พ.ศ.2367 มีพระนามว่า “วชิรญาโณ” เสด็จประทับ ณ วัดมหาธาตุ และได้เสด็จไปทรงศึกษาวิปัสสนาธุระที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาสในปัจจุบัน) และวัดราชสิทธาราม จนทรงเข้าใจเจนจบสิ้นความรู้ของพระอาจารย์ที่จะสอนได้

 เมื่อทรงสงสัยไต่ถาม พระอาจารย์ก็มิสามารถตอบได้ ทูลแต่ว่าครูอาจารย์เคยสอนมาอย่างนี้เท่านั้น เป็นเหตุให้ทรงท้อถอยในวิปัสสนาธุระ จึงเสด็จกลับมาประทับที่วัดมหาธาตุเพื่อศึกษาด้านคันถธุระ เพื่อให้สามารถอ่านพระไตรปิฎกได้ด้วยพระองค์เอง ทรงศึกษาด้านภาษาบาลีจนแตกฉาน

จนครั้งหนึ่งได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมต่อหน้าพระที่นั่งตามที่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอให้แปลให้ฟัง จึงทรงแปลพอเฉลิมพระราชศรัทธาเพียง 5 ประโยค ทั้งที่ทรงภูมิความรู้สูงกว่านั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก 9 ประโยค ให้ทรงถือเป็นสมณศักดิ์

เมื่อทรงศึกษาพระไตรปิฎกโดยละเอียด ก็ทรงพบว่าข้อปฏิบัติทางพระวินัยของภิกษุบางหมู่ในเวลานั้นมีความผิดพลาด คลาดเคลื่อนไปจากพระธรรมวินัยมาช้านานแล้ว จึงสลดพระทัยในการจะทรงเพศบรรพชิตต่อไป

วันหนึ่งเสด็จเข้าสู่พระอุโบสถวัดมหาธาตุ ทรงอธิษฐานขอให้ได้พบวงศ์บรรพชาอุปสมบทที่บริสุทธิ์สืบเนื่องมาแต่พระ พุทธเจ้าแต่ดั้งเดิมภายใน7วัน มิฉะนั้นจะทรงเข้าพระทัยว่าพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์สิ้นแล้ว ก็จะสึกเป็นฆราวาสไปรักษาศีลห้าศีลแปด

ครั้นผ่านไปได้สักสองสามวัน ก็ได้ทรงได้ยินข่าวพระเถระชาวรามัญ(มอญ)รูปหนึ่ง ชื่อ ซาย พุทธวํโส บวชมาจากเมืองมอญ ได้เป็นพระราชาคณะที่ พระสุเมธมุนี อยู่ที่วัดบวรมงคล(อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงกันข้ามกับวัดสมอราย) เป็นผู้ชำนาญในพระวินัยปิฎก และประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จึงเสด็จไปทรงศึกษาด้วย

พระสุเมธมุนีได้ทูลอธิบายถึงวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์รามัญนิกายสีมากัลยาณีที่ ท่านได้อุปสมบทมาให้ทรงทราบอย่างละเอียด ชี้ให้เห็นชัดว่าวงศ์บรรพชาอุปสมบทนี้มีเชื้อสายมาจากพระอนุรุทธเถระ เชื่อมโยงมาจนถึงพระอุปัชฌาย์ของพระสุเมธมุนีได้ 88 ชั่วคนแล้ว

ทรงพิจารณาเห็นว่าถูกต้องตามพระพุทธพจน์ที่ทรงศึกษาจากพระไตรปิฎก จึงมีพระราชศรัทธาที่จะประพฤติตามแบบพระมอญ และเนื่องจากทรงพิจาณาเห็นว่าอุปสมบทวิธีตามแบบรามัญน่าจะถูกต้องตามพระพุทธ บัญญัติมากที่สุดในเวลานั้น

จึงทรงทำทัฬหีกรรม คือ ทรงอุปสมบทซ้ำในคณะสงฆ์รามัญนิกายสีมากัลยาณีอีกครั้งหนึ่ง ณ วัดสมอราย โดยมีพระสุเมธมุนี (ซาย พุทธวํโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ. 2368 อันเป็นปีที่ทรงผนวชได้ 2 พรรษา และเสด็จกลับไปประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุตามเดิม

การที่คณะสงฆ์ไทยได้แยก ออกเป็น 2 นิกายนี้ มีคนจำนวนมากที่ไม่เข้าใจว่าเหตุใดต้องตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตขึ้นเป็นนิกายใหม่ บางคนถึงขั้นติเตียนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงทำสังฆเภท คือ ทำให้สงฆ์แตกกัน อันเป็นอนันตริยกรรม คือ กรรมอันชั่วช้าที่สุดในทางพระพุทธศาสนา บางคนมีความคิดที่จะพยายามรวมคณะสงฆ์มหานิกายและธรรมยุตเข้าด้วยกัน

แต่ในความเป็นจริงนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตขึ้น โดยยึดพระธรรมวินัยเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ เป็นผลให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติตนทางด้านพระวินัยของคณะสงฆ์ทั่วประเทศ ตลอดถึงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ เป็นผลให้พระพุทธศาสนาเจริญมั่นคงสืบมาถึงปัจจุบัน

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุตด้วย ได้ทรงกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “....การที่ภิกษุสงฆ์แยกออกเป็นนิกายต่างๆ ไม่ใช่เป็นการแปลก มีในทุกๆประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และการที่แยกกันออกไปนี้ อาจกล่าวได้ตามประวัติศาสตร์ว่าต้องมีเป็นธรรมดา ถึงพยายามรวมให้เป็นหนึ่งสักเท่าไรก็ไม่สำเร็จ อาจสำเร็จได้ชั่วคราว

 แต่ต่อมาไม่นานก็กลับแยกกันออกไปอีก ในศาสนาอื่นๆก็มีแยกเป็นลัทธินิกายต่างๆเหมือนกัน การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามิใช่อยู่ที่การพยายามเพื่อรวมนิกายสงฆ์ แต่อยู่ที่การพยายามให้พระสงฆ์ทุกนิกายตั้งอยู่ในพระธรรมวินัย ส่วนการรวมกันนั้น เมื่อดีเสมอกันหรือเสื่อมเสมอกัน ก็รวมกันเข้าได้เอง...”

สำหรับ ความแตกต่างกันของพระพระมหานิกายและพระธรรมยุตนั้น นอกจากจะมีที่มาต่างกันดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อปฏิบัติหลายประการที่ต่างกันอย่างมาก เนื่องจากคณะธรรมยุตยึดถือพระธรรมวินัยเป็นหลักปฏิบัติ จึงเคร่งครัดในด้านพระวินัยเป็นอย่างยิ่ง

เช่น การอุปสมบท นาคจะต้องกล่าวคำขออุปสมบทให้ได้ด้วยตนเอง โดยจะต้องถูกต้องตามสำเนียงภาษามคธ ซึ่งออกเสียงค่อนข้างยากสำหรับผู้ไม่คุ้นเคย จะไม่มีการบอกให้นาคพูดตาม หากไม่สามารถกล่าวคำขออุปสมบทด้วยตนเอง จะไม่ได้รับอนุญาตให้อุปสมบท การสวดมนต์ก็จะสวดด้วยสำเนียงภาษามคธด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้พระธรรมยุตจะไม่จับเงิน เนื่องจากปฏิบัติตามพระวินัยซึ่งมีมาในพระปาฏิโมกข์ข้อที่ห้ามจับเงินจับทอง หากคฤหัสถ์จะถวายปัจจัย (คือเงิน) จะต้องถวายด้วยใบปวารณาแทน ส่วนปัจจัยให้มอบต่อไวยาวัจกรหรือโยมวัดจัดการแทน

 การห่มผ้าของพระธรรมยุตจะเหมือนกันหมดทั้งหมด คือ ห่มแหวก โดยใช้ผ้าสีแก่นขนุน (คล้ายสีน้ำตาล) และผ้าสังฆาฏิจะเป็นผ้า 2 ชั้น คือ เหมือนผ้าจีวร 2 ผืนเย็บติดกันนั่นเอง การฉันภัตตาหารก็เช่นกัน พระสงฆ์ในธรรมยุตจะเทอาหารทั้งคาวหวานลงในภาชนะใบเดียวกันแล้วจึงฉัน หรือที่เรียกว่า "การฉันอย่างสำรวม"เป็นต้น

การประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดนี้มิได้มีแต่ในคณะสงฆ์ธรรมยุตเท่านั้น

แต่ในคณะสงฆ์มหานิกายบางกลุ่มก็มีการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ด้วยเช่นกัน เช่น กลุ่มพระมหานิกายศิษย์พระอาจารย์ชา สุภทฺโท แห่งวัดหนองป่าพง เนื่องจากพระอาจารย์ชา สุภทฺโท เป็นหนึ่งในพระมหานิกายหลายรูปที่ได้ไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

โดยมิได้อุปสมบทใหม่เป็นพระธรรมยุต เช่นเดียวกับ พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล พระอาจารย์กินรี จนฺทิโย พระอาจารย์บุญมี ญาณมุนี ด้วยพระอาจารย์มั่นประสงค์จะให้มีผู้นำในการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในฝ่ายมหา นิกายด้วย จึงไม่อนุญาตให้ศิษย์เหล่านี้อุปสมบทเป็นพระธรรมยุต

โดยท่านให้เหตุผลว่ามรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ และต่อมาก็ได้ปรากฏพระมหานิกายผู้ที่มีหลักฐานและเหตุผลอันควรเชื่อถือได้ ว่าเป็นพระอริยเจ้าผู้ทรงมรรคผลจริง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีความสำคัญเหนือนิกายและสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น และเป็นเหตุนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง


บรรณานุกรม
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช. พุทธศาสนวงศ์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2543.
พระ พรหมมุนี (อ้วน ติสฺโส). ที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาและฉลองพระอุโบสถ วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2479.
คณะศิษยานุศิษย์. พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐาน ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์, 2546.
คณะศิษยานุศิษย์. บูรพาจารย์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์, 2545.
พระ อาจารย์อุเทน กลฺยาโณ. มณีรัตน์ อัญมณีแห่งไพรสณฑ์ ประวัติและธรรมหลวงปู่ครูบาจารย์เฒ่าทองรัตน์ กนฺตสีโล. กรุงเทพฯ : ปาปิรุสพับลิเคชั่น, 2546.
สุเชาวน์ พลอยชุม. ประวัติคณะธรรมยุติกนิกาย. (ม.ป.ท.) : (ม.ป.พ.), 2542.


ที่มา บทความเรื่อง "ประวัติพระสงฆ์ธรรมยุตนิกาย" โดยคุณ muangkaew จากเว็บไซต์ http://www.bkkonline.com/scripts/dhammayut/detail.asp?id=12

ขอขอบคุณเว็บ  http://kai1981.multiply.com/reviews/item/4

raponsan:
คุณสมบัติของผู้ที่จะบวชได้

ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชาย การได้บวชถือเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ ผลบุญจะแผ่ไปถึงบุคคลผู้ใกล้ชิด และลบล้างกรรมชั่วในอดีตได้ ตามแต่กำลังการบำเพ็ญตน หรือหากท่านยินดีที่จะดำรงสถานภาพของสมณเพศไปจนตลอดชีวิต ก็นับว่าเป็นการอุทิศตนช่วยธำรงค์ไว้ซึ่งการสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนา ไปจนตราบชั่วกาลนาน

การคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะมาอยู่ในสมณเพศถือว่ามีส่วนสำคัญมาก การหละหลวมในการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะมาบวช ให้คนทั่วไปเขากราบไหว้นับถือ มีส่วนทำให้สถาบันศาสนาสั่นคลอน ดังจะเห็นได้จากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นว่า คนเคยต้องโทษจำคุกในคดีอาญามาบวชเป็นพระ ก็นอกจากจะไม่อยู่ในศีลแล้ว ยังก่อคดีอุกฉกรรจ์อีกจนได้


๏ ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

๑. เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่น ติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด

๒. มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้

๓. ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ

๔. ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน

๕. เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ

๖. มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย

๗. เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ


๏ ต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวชได้แก่

๑. เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน

๒. เป็นคนหลบหนีราชการ

๓. เป็นคนต้องหาในคดีอาญา

๔. เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ

๕. เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา

๖. เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่น วัณโรคในระยะอันตราย

๗. เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้

สิ่งต่างๆ ข้างต้นจะมีเขียนถามไว้ในใบสมัครขอบวชซึ่งต้องไปเขียนที่วัดนั้นๆ
 

คัดลอกมาจาก
http://www.salatham.com/ 

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป