ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คิดบวก “สู้ภัยโควิด19” เปลี่ยนวิกฤตเป็น ‘ความยั่งยืนของชุมชน’  (อ่าน 2730 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

start9db1

  • บุคคลทั่วไป
0



คิดบวก “สู้ภัยโควิด19” เปลี่ยนวิกฤตเป็น ‘ความยั่งยืนของชุมชน’

ปัจจุบันตัวเลขผู้ป่วยสะสมจากไวรัสโควิด19  ที่ทวีสูงขึ้นเรื่อยๆ…ยังไม่มีใครตอบได้ว่าการระบาดครั้งนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด

แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการเข้มข้นขึ้นทุกขณะ แต่ผู้ป่วยก็ยังคงเพิ่มจำนวนขึ้น ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่ในหลายประเทศทั่วโลก มาตรการใดๆ ก็ไม่อาจเกิดผลได้ หากคนในสังคมไม่เข้าใจ ไม่ตระหนัก และไม่ให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง เช่นนี้แล้ว ประชาชน ‘ทุกคน’ จึงเป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่จะทำให้มาตรการของรัฐสัมฤทธิ์ผล รวมถึงหนุนเสริมส่วนที่ตนเองทำได้เพื่อร่วมกันต่อสู้ภัยโควิด19

นั่นเป็นที่มาของ คำว่า ‘ตื่นรู้’ ในแผนงาน ‘รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19’ ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และภาคีเครือข่ายกำลังผลักดันเพื่อเปลี่ยน ‘ประชาชนผู้ตื่นตระหนก’ เป็น ‘พลเมืองผู้ตื่นรู้’ เท่าทันสถานการณ์และลงมือทำอะไรบางอย่างในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

ในสถานการณ์ปกติ สช. เป็นองค์กรที่เชื่อมโยงภาคีเครือข่ายมากมายในทุกระดับอยู่แล้ว เพื่อขับเคลื่อนเรื่อง ‘สุขภาพ’ ในความหมายกว้างทั้ง กาย ใจ สังคม และปัญญา ในยามวิกฤต ทุนเดิมเหล่านี้จึงทำให้การสานพลังในแนวราบเพื่อดูแล เฝ้าระวัง ป้องกัน และเยียวยาสถานการณ์ที่กำลังส่งผลกระทบต่อคนทั้งประเทศเป็นไปได้อย่างค่อนข้างรวดเร็ว

โดยเริ่มจากวงหารือระหว่างภาคียุทธศาสตร์ด้านสุขภาพในส่วนกลาง เช่น สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายหมออนามัย ร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ด้านสังคม ไม่ว่าจะเป็น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS เครือข่ายภาคประชาชน


@@@@@@

รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า การรวมพลังครั้งสำคัญครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ

ประการแรก สานพลังและบูรณาการภารกิจ เครือข่าย เครื่องมือ องค์ความรู้ และงบประมาณของภาคียุทธศาสตร์ทั้งด้านสุขภาพและสังคม เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนสู้ภัยโควิด19 ของภาคีเครือข่ายและหน่วยงานในพื้นที่

ประการที่ 2. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในแต่ละจังหวัด อำเภอ ตำบล เพื่อให้เกิดข้อตกลงร่วมหรือ ‘ธรรมนูญประชาชนสู้ภัยโควิด19’ ในระดับตำบลและหมู่บ้าน

ประการสุดท้าย เพื่อให้ความรู้และปรับเปลี่ยนบทบาทของประชาชนจากภาวะตื่นกลัวเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และมีส่วนร่วมกำหนดมาตรการของตนเพื่อหนุนช่วยภาครัฐ

    “มาตรการของรัฐอย่างเดียวให้ผลระดับหนึ่ง จุดสำคัญคือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการของประชาชนในชุมชน ผลกระทบของเรื่องนี้จะทำมีตามมาอีกมหาศาล ผลกระทบทางสังคมคือตื่นตระหนก ตื่นกลัว โดยเฉพาะเมื่อมีการเดินทางจาก กทม. สู่ต่างจังหวัดจำนวนมาก ผลกระทบด้านเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นชัดเจนแล้ว และจะมีกระทบด้านความมั่นคงตามมา

@@@@@@

หน่วยงานภาคียุทธศาสตร์ส่วนกลางเห็นว่าเราต้องจับมือกับภาคีเครือข่ายด้านสังคม ปรึกษาหารือจนได้ข้อตกลงว่าต้องบูรณาการเครือข่ายและเครื่องมือเพื่อหนุนช่วย ทำงานร่วมกับภาคีในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนประชาชนในพื้นที่ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และกำหนดมาตรการของภาคประชาชน โดยใช้ตำบลเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการสู้ภัยโควิด ใช้ชุมชนหมู่บ้านเป็นฐานปฏิบัติการ มีประชาชนทุกครอบครัวเป็นศูนย์กลาง” นพ.ประทีปกล่าว

ประเทศไทยมีตำบลกว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศ ในแต่ละแห่งมีกลไกอย่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โรงพยาบาลสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) สภาองค์กรชุมชน และประชาชนทั่วไป ภาคีทั้งหมดที่ร่วมหารือเห็นตรงกันว่า เราจำเป็นต้องประสานทั้งหมดนี้เพื่อร่วมกันหาแนวทางการจัดการ กำหนดบทบาท และสร้างมาตรการทางสังคม

เช่น การเฝ้าระวังในระดับชุมชน ตำบล ครอบครัว บุคคล การรับมือกับปัญหาทางเศรษฐกิจ การดูแลกลุ่มเปราะบางต่างๆ ได้ โดยชุมชนเป็นผู้กำหนดให้สอดคล้องตามบริบทของตนเอง และสามารถใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นในการดำเนินการได้เลยทั้งกองทุน โดย สช. และภาคีเครือข่ายก็ได้เตรียมสนับสนุนการทำงานในระดับต่างๆ ด้วย

อย่างไรก็ตาม ระดับตำบลไม่สามารถรับมือเรื่องนีได้ตามลำพังได้ จึงจำเป็นต้องมีกลไกระดับจังหวัดและอำเภอมาหนุนเสริม โดยจะมีสมัชชาสุขภาพจังหวัดเป็นแกนประสานเพื่อจัดวงหารือ ในระดับจังหวัดภาคส่วนที่เข้าร่วมประกอบด้วย กรรมการจังหวัด ภาควิชาการ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม ส่วนระดับอำเภอมีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) โรงพยาบาลอำเภอ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อสร้างมาตรการหนุนเสริมและส่งต่อข้อมูลไปยังระดับประเทศ นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบาย ขณะเดียวกันก็ต้องสนับสนุนปฏิบัติการในระดับตำบล


@@@@@@

นอกจากนี้ เพื่อความสะดวกและสามารถตอบสนองได้ทันสถานการณ์ สช. จึงได้จัดทำแนวทางการจัดกระบวนการปรึกษาหารือแล้วทั้ง 3 ระดับ โดยจะกำหนดรายละเอียดขอบเขตการทำงานที่แตกต่างแต่ก็สอดประสานกัน แบ่งเป็น

    1) แนวทางการปรึกษาหารือระดับจังหวัด สำหรับสมัชชาสุขภาพจังหวัดใช้ในการดำเนินการ
    2) แนวทางการปรึกษาหารือระดับอำเภอ สำหรับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ/สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ใช้ในการดำเนินการ
    3) แนวทางการปรึกษาหารือระดับตำบล สำหรับท้องถิ่น/ท้องที่/รพ.สต./สภาองค์กรชุมชน ใช้ในการดำเนินการ

ตัวอย่างประเด็นที่หารือและสร้างมาตรการทางสังคมร่วมกันในท้องถิ่น เช่น

1. แนวทางการปฏิบัติตนของบุคคลและครอบครัว
2. การเป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง และประสานสนับสนุนข้อมูลกับเจ้าพนักงานควบคุมโรคระดับต่างๆ
3. การช่วยเหลือดูและกันของคนในชุมชน ท้องถิ่น สังคม การดูแลกลุ่มเปราะบางต่างๆ ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม
4. การจัดการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้รองรับคนในชุมชน ท้องถิ่น สังคมได้
5. การจัดการขยะ สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะขยะติดเชื้อ
6. การจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ อาสาสมัครต่างๆ
7. การจัดกิจกรรมทางสังคม ประเพณี
8. การสื่อสาร รณรงค์ สร้างความรู้ความเข้าใจสู่ประชาชน และสาธารณะ

อย่างน้อยการระบาดของโควิด 19 ทำให้ชุมชนมีความเข้มเเข็งมากขึ้น เช่นเดียวกับเมื่อตอนน้ำท่วมใหญ่ของประเทศไทยว่าไหมคะ




ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/healthy-body/200411.html
By sirakan ,4 April 2020
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2020, 07:15:26 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า