ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - นิรตา ป้อมนาวิน
หน้า: [1] 2 3 ... 7
1  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / CCO ของ BitPay กล่าว Dogecoin กำลังแย่งส่วนแบ่งทางตลาดจาก Bitcoin เมื่อ: เมษายน 29, 2021, 11:53:26 am


Dogecoin กำลังแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดในการชำระเงินด้วยคริปโตเคอร์เรนซีของ Bitcoin โดยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ของ BitPay นาย Sonny Singh กล่าวว่า

“เชื่อไหมว่าเราเห็นปริมาณการซื้อที่เพิ่มขึ้นในตลาดคริปโตจากการซื้อ Dogecoin”

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Dogecoin มีส่วนร่วม 10 เปอร์เซ็นของธุรกรรมทั้งหมดที่ทำผ่าน BitPay

เมื่อต้นเดือนมีนาคม ทีมบาสเก็ตบอล Dallas Mavericks ของ Mark Cuban เริ่มยอมรับการชำระเงินด้วย Dogecoin และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Newegg ผู้ค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ใช้ Dogecoin เป็นตัวเลือกการชำระเงินแบบใหม่

ในขณะเดียวกันส่วนปริมาณแบ่งของ Bitcoin ทั้งหมดได้ลดลง 50 เปอร์เซ็น แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นาย Singh กล่าวอีกว่า Bitcoin ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือในการลงทุน ในขณะที่สกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ถูกใช้สำหรับการชำระเงิน นอกจาก Dogecoin แล้ว stablecoin เองก็ยังได้รับความนิยมมากขึ้นจากผู้ค้า BitPay เช่นกัน

ที่มา https://siamblockchain.com/2021/04/27/cco-bitpay-said-dogecoin-is-over-bitcoin/
2  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ใครคือผู้สร้าง Bitcoin? เมื่อ: เมษายน 28, 2021, 11:51:44 am


ทุกๆวันนี้ มีหลายๆคนที่รู้จักและเคยได้ยินเกี่ยวกับ Bitcoin แล้ว แต่อาจจะยังมีไม่มากที่จะรู้จักบิดาแห่ง Bitcoin ผู้นี้ว่าเป็นใคร

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2007 ซึ่งเป็นปีแห่งการเขียนโค้ดของเขา และหลังจากนั้นประมาณเดือนพฤศจิกายนปี 2008 นั้น whitepaper ฉบับหนึ่ง ก็ถูกโพสลงบน The Cryptography Mailing บน metzdown โดยโปรแกรมเมอร์ หรือกลุ่มนักโปรแกรมเมอร์ที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto โดย whitepaper ฉบับนั้นได้มีชื่อว่า “Bitcoin: A Peer-toPeer Electronic Cash System”

หลังจากนั้น Satoshi Nakamoto ได้ทำการทดลองและทดสอบซอฟต์แวร์ของ Bitcoin อีกหลายๆครั้งก่อนที่จะนำมาเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างจริงจังในเดือนมกราคม ปี 2009 โดยวันที่ 3 มกราคมปีดังกล่าวนั้น ถือเป็นวันแรกของโลกที่บล็อกแรกของ Bitcoin ถูกขุดขึ้นมา ซึ่งถือเป็นวันที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของ Cryptocurrency เลยก็ว่าได้ ถัดมาอีก 6 วันหลังจากนั้น Satoshi Nakamoto ก็ได้ทำการอัพเดตเวอร์ชันของ Bitcoin ให้เป็นเวอร์ชัน 0.1 บน Sourceforge โดยมีการแก้บัคเล็กน้อย

Satoshi Nakamoto นั้นยังเป็นผู้สร้างเว็บ Bitcoin.org ที่เขาใช้เป็นสถานที่ๆพูดคุยและทำงานร่วมกับนักพัฒนาคนอื่นๆแบบไม่เปิดเผยตัวตน โดยการทำงานของเขานั้นจะผ่านอินเทอร์เนตตลอดและจะไม่มีใครสามารถรู้ตัวตนของเขาได้ ซึ่ง ณ ตอนนี้เราก็ยังไม่รู้ว่า Satoshi Nakamoto เป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย หรือทั้งสองแบบกันแน่ จนกระทั่งสองปีให้หลัง เขาก็ประกาศขอโอนมอบตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายนักพัฒนาให้กับ Gavin Andresen และยุติบทบาททุกอย่างที่เกี่ยวกับ Bitcoin ในเดือนธันวาคม ปี 2010

หลังจากนั้นในวันที่ 23 เมษายน 2011 Satoshi Nakamoto ก็กลับมาอีกครั้งด้วยการส่งอีเมล์หานักพัฒนาซอฟต์แวร์คนหนึ่งนามว่า Mike Hearnโดยกล่าวว่า “ในขณะนี้เราได้ไปทำอย่างอื่นแล้ว ตอนนี้ Bitcoin อยู่ในการดูแลที่ดีของ Gavin และทุกๆคนแล้ว” หลังจากนั้นก็ไม่มีใครรู้เลยว่าเขาไปทำโครงการอะไรต่อ

แล้วมีใครอีกที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Bitcoin?
หลังจากนั้นไม่นาน กลุ่มนักพัฒนาและผู้ใช้ Bitcoin ก็เริ่มเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ โปรเจค Bitcoin Core นั้นเป็นโปรเจคที่ใหญ่ และมีนักพัฒนา, คนทดสอบ, คนประเมินระบบ และอื่นๆอีกมาก แต่กระนั้นโปรเจคดังกล่าวก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์หากขาดนักบำรุงรักษาที่คอยช่วยดูและแก้ไขและออกแพชมาอุดรอยรั่ว ซึ่งพวกเขามีนามว่า Wladimir J. van der Laan,Jonas Schnelli และ Marco Falke

ก่อนหน้าที่จะมาเป็นหัวหน้าฝ่ายนักพัฒนา Bitcoin Core นั้น นาย Gavin Andresen เคยทำงานเป็นนักออกแบบโมเดล 3D มาก่อน และหลังจากนั้นในปี 2014 เขาก็ได้เข้ามาร่วมทำโปรเจคดังกล่าว

เมื่อได้รับเลือกให้มาสานต่อโครงการจาก Satoshi Nakamoto แล้วนั้น อีกสองปีถัดมาเขาก็ได้ก่อตั้ง Bitcoin Foundation เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาเหรียญ cryptocurrency ดังกล่าว และหลังจากนั้น การทำงานเป็นหัวหน้าของเขาก็สิ้นสุดลงในวันที่ 8 เมษายน 2014 เมื่อนาย Gavin ได้ส่งต่อตำแหน่งนี้ไปให้นาย Wladimir J. van der Laan

ในเดือนเมษายน 2013 นาย Jonas Schnelli ได้กลายเป็นอีกหนึ่งในกลุ่มนักพัฒนา Bitcoin Core และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทผู้ผลิต hardware wallet ของ Bitcoin นามว่า Digital Bitboxเขายังเป็นผู้สร้าง libbtc หรือ ไลบรารีของ Bitcoin (ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม) ที่เป็นภาษา C ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในเกือบๆจะทุก OS อีกด้วย



หนึ่งปีหลังจากนั้น นาย Wladimir ได้ออกมาประกาศว่าเขาได้รับ Marco Falke ให้มาเป็นหนึ่งในนักทดสอบระบบของ Bitcoin Core โดยเขายังได้กล่าวชมฝีมือของนาย Marco อีกด้วย

นักพัฒนาทุกๆคนก็อยากจะสร้างซอฟต์แวร์ที่มีความทันสมัย โดยทางนักพัฒนา Bitcoin Core นั้นได้ทำการทดสอบ และอัพเกรดระบบมาแล้วหลายครั้งนับไม่ถ้วนในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นสำหรับผู้ใช้ Linux และ Qt, LevelDB,การทำ seeding nodes ผ่าน IRC และอื่นๆอีกมากมาย จากนั้นเมื่อมีการพัฒนา Bitcoin จนถึงเวอร์ชัน 0.9.0 พวกเขาก็เปลี่ยนชื่อมันให้กลายเป็น Bitcoin Core ซึ่งในขณะนี้เวอร์ชันล่าสุดของ Bitcoin คือ 0.14.2 อัพเดตเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2017

นักพัฒนาหลักนั้นมักจะทำเพื่อส่วนรวม โดยเขาอยากให้ Blockchain ของ Bitcoin นั้นมีความเป็นการกระจาย (decentralized) อย่างสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนั้นพวกเขายังมีความพยายามที่จะทำให้ซอฟต์แวร์นั้นมีความเสี่ยงต่ำ โดยงานและโคดของพวกเขาได้ถูกโพสไว้ให้ทุกๆคนสามารถเข้าไปเยี่ยมชมและตรวจสอบได้ที่นี่

บุคคลจริงๆหรือแค่นิยาย?
Satoshi Nakamoto นั้นเคยอ้างว่าเขาเป็นชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน ปี 1975 แต่สิ่งที่สร้างความขัดแย้งจนทำให้หลายๆคนออกมาตั้งข้อสงสัยคือการที่เขานั้นไม่เคยโพสงานของเขาออกมาเป็นภาษาญี่ปุ่นเลย บวกกับการใช้งานภาษาอังกฤษได้อย่างเหมือนเจ้าของภาษา

ถ้าหากเราลองนำชื่อของเขามาแปลเป็นภาษาไทยนั้น จะแปลได้ว่า “ผู้ชาญฉลาดที่อยู่ในรากฐาน” โดย Satoshi แปลว่า “ชาญฉลาด” ในขณะที่คำว่า Naka แปลว่า “อยู่ใน” และ Moto ที่แปลว่า “รากฐาน”

แต่กระนั้น มันก็เป็นเพียงแค่หนึ่งในการแปลเท่านั้น โดยยังมีอีกหลายๆคนพยายามแปลชื่อของเขาอีกมาก ซึ่งสามารถอ่านได้ที่นี่ บางคนก็ใช้วิธีแปลและพรรณาที่แตกต่างกันไป โดยหนึ่งในนั้นคือ “ผู้ที่เกิดมาจากขี้เถ้า” ที่มาจากคำว่า Satoshi และ “จุดกำเนิดแห่งศูนย์รวม” จากคำว่า Nakamoto ซึ่งถ้าหากนำมาแปลรวมกันนั้นจะแปลได้ว่า “ผู้ที่เกิดมาจากขี้เถ้าแห่งจุดศูนย์รวม” แต่ก็อย่างที่ว่า ทั้งหมดนี้เป็นแค่การพรรณาเท่านั้น และชื่อของเขาอาจจะถูกตั้งขึ้นมาแบบมั่วๆก็ได้

จนกระทั่งมาถึงตอนนี้ ก็ยังไม่มีใครรู้ว่าบิดาแห่ง Bitcoin คือใคร โดยเฉพาะเพศของเขาว่าเป็นหญิงหรือชาย หรืออาจจะเป็นคนกลุ่มหนึ่ง ก่อนหน้านี้ก็มีคนพยายามที่จะตั้งข้อสมมติฐานว่าบุคคลเหล่านี้อย่าง Charlie Lee หรือ Hal Finney และ Dorian Nakamoto อาจจะเป็นตัวตนที่แท้จริงของ Satoshi Nakamoto ก็เป็นได้ แต่กระนั้นมันก็ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด และพวกเขาเองนั้นก็ได้ออกมาปฏิเสธถึงสมมติฐานเหล่านี้

แม้ว่าจะยังไม่สามารถมีใครไขความลึกลับของบิดาแห่ง Bitcoin ออกได้ แต่งานของเขานั้นได้กลายเป็นผลงานระดับ masterpiece ที่สร้างประโยชน์ให้กับหลายๆคนบนโลกนี้ได้มากเลยทีเดียว

ที่มา https://siamblockchain.com/2017/07/18/%e0%b9%83%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87-bitcoin/
3  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เทคโนโลยี Blockchain คืออะไร และมันจะมาเปลี่ยนโลกได้อย่างไร เมื่อ: เมษายน 28, 2021, 08:57:03 am


ในโลกยุคปัจจุบันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยี Blockchain เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาและสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมโลกเป็นอย่างมาก เป็นที่รู้กันว่าผู้ที่สร้าง Blockchain นี้ขึ้นมาคือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto หรือผู้ที่เป็นบิดาแห่งเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีนามว่า Bitcoin ที่หลาย ๆ คนรู้จักกันดี

แต่สิ่งที่ผู้คนอยากรู้มากกว่าว่าใครเป็นคนสร้าง Blockchain ขึ้นมาก็คงจะเป็นคำถามที่ว่า Blockchian นั้นคืออะไร?

ซึ่งทาง Siam Blockchain จะมาอธิบายให้เข้าใจกันอย่างเห็นภาพง่าย ๆ

เทคโนโลยี Blockchain หากอธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ลองนึกภาพว่ามันเป็นเสมือนโซ่ที่สร้างขึ้นเพื่อกระจายข้อมูลเก็บไว้ในชิ้นส่วนโซ่ที่ต่อกัน แต่ข้อมูลเหล่านั้นจะไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ เรียกได้ว่า Blockchain เป็นอินเตอร์เน็ตในรูปแบบใหม่โดยเริ่มแรกถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างสกุลเงินดิจิทัล (Digital Currency) เช่นBitcoin อย่างไรก็ตามในตอนนี้เทคโนโลยี Blockchain ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับสกุลเงินดิจิทัลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ณ ปัจจุบันวงการอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้นำศักยภาพของเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้ประโยชน์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจของตนอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น



Bitcoin ถูกเรียกว่าว่าเป็น “ทองคำดิจิทัล” ที่มีมูลค่าปัจจุบันคือ 1.12 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Blockchain ก็ถูกนำมาสร้างเงินดิจิทัลประเภทอื่นได้ การมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้จะทำให้เรารู้ว่าเทคโนโลยี Blockchain นั้นเข้ามาปฏิวัติโลกในยุคปัจจุบันอย่างไรบ้าง

นาย Don & Alex Tapscott ผู้เขียนหนังสือ Blockchain Revolution (2016) กล่าวว่า

“เทคโนโลยี Blockchain เป็นเทคโนโลยี บัญชีเก็บข้อมูลแบบดิจิทัลที่กระจายข้อมูลแบบเหมือน ๆ กันที่สามารถตั้งโปรแกรมให้บันทึกข้อมูลใด ๆ ก็ได้ โดยไม่จำกัดอยู่แค่เพียงข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงิน”

ฐานข้อมูลที่ถูกกระจายให้แต่ละคนถือร่วมกัน
ลอกนึกภาพของเอกสารฉบับหนึ่งที่ถูกคัดลอกเป็นพัน ๆ ครั้งบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จากนั้นลองจินตนาการว่าเครือข่ายดังกล่าวถูกออกแบบมาให้อัพเดทข้อมูลในเอกสารดังกล่าวอยู่ตลอด เช่นเดียวกับการทำงานของ Blockchain โดยพื้นฐานก็เป็นเช่นนี้

ข้อมูลที่อยู่บน Blockchain จะสามารถเข้าถึงได้ทุกคน ฐานข้อมูลของ Blockchain จะไม่ได้ถูกเก็บไว้ในที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว หมายความว่าข้อมูลที่ถูกบันทึกบน Blockchain จะถูกเปิดเผยเป็นสาธารณะและสามารถถูกเข้ามาตรวจสอบได้ ข้อมูลเหล่านี้จะไม่มีส่วนกลางเข้ามาทำหน้าที่ควบคุมและปกป้อง ดังนั้นนักแฮ็คจะไม่สามารถเข้ามาแฮ็คข้อมูลนี้ได้ เนื่องจากว่าไม่มีจุดศูนย์กลางให้โจมตี นั่นหมายความว่าหากพวกเขาต้องการจะแฮ็คเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้น พวกเขาจะต้องโจมตีฐานข้อมูลที่ถูกกระจายออกไปทั้งหมดในเวลาพร้อมกัน อีกทั้งคอมพิวเตอร์หลายพันเครื่องหลายล้านเครื่องจะเข้ามาดูแลข้อมูลดังกล่าวทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้หมด

หากเปรียบเทียบ Blockchain เป็น Google Docs
หลักการทำงานพื้นฐานของ Google Docs หากอธิบายแบบง่าย ๆ คือการที่เราทำงานที่ต้องใช้ Microsoft Word บน Google Document และสามารถกดแชร์งานที่เราทำอยู่นี้ให้ผู้อื่นเข้ามาทำการตรวจสอบได้ ปัญหาคือคุณต้องรอจนกว่าอีกฝ่ายจะส่งเอกสารมาก่อนที่คุณจะเข้ามาทำการแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือตรวจสอบเอกสารนี้ได้เพราะอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ได้กดปุ่มแชร์เอกสารจนกว่าเขาจะทำงานนั้นเสร็จ ดังนั้นทั้งสองฝ่ายนี้จะไม่สามารถเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเอกสารได้พร้อม ๆ กันตราบใดที่มีฝ่ายหนึ่งยังไม่ได้กดปุ่มแชร์ ซึ่งกลไกการทำงานนี้ก็เหมือนกับการทำงานของธนาคารในการเก็บและถ่ายโอนเงินกล่าวคือทางธนาคารจะล็อคการเข้าถึงไว้และเมื่อต้องถ่ายโอนเงินก็จะเปิดให้เข้าถึงข้อมูลได้

หากเปรียบเทียบ Google Document กับบัญชีกระจายข้อมูล (Shared Ledger) ผู้ใช้งาน Google Docs จะสามารถเข้ามาทำงานในเอกสารพร้อม ๆ กันได้ถ้ามีการกดแชร์เอกสารทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเห็นความเคลื่อนไหวของเอกสารนี้ทุกอย่างทั้งก่อนแก้ไขและหลังการแก้ไขเอกสารนี้ซึ่งก็เหมือนกับการกระจายข้อมูลและเมื่อเราได้เผยแพร่ข้อมูลเป็นการทั่วไปให้กลุ่มคนจำนวนมากเข้าถึงได้มันก็จะกลายเป็น Distributed Ledger (การกระจายข้อมูลเป็นการทั่วไป)

คุณ William Mougayar ที่ปรึกษาด้านการลงทุนและผู้เชี่ยวชาญด้าน Blockchain กล่าวว่า

“ลองนึกภาพเอกสารที่เกี่ยวกับกฎหมายที่สามารถเอาเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ได้ คือแทนที่จะส่งมันให้คนอื่น ๆ ไปมา แล้วไม่รู็เลยว่าใครแก้อะไรตรงไหนไปบ้าง และไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเวอร์ชันที่คนแก้มาตรงกับเวอร์ชันก่อนหน้านี้มั้ย เอาจริง ๆ นะ ผมอยากรู้จริง ๆ ว่าทำไมเอกสารเกี่ยวกับธุรกิจทุก ๆ ตัวถึงไม่สามารถถูกแชร์ให้เห็นได้ แต่กลับถูกส่งกลับไปมา”

เทคโนโลยี Blockchain มีข้อดีอย่างไร ?
เทคโนโลยี Blockchain เหมือนกับอินเตอร์เน็ตตรงที่ว่ามันเป็นระบบที่มีความทนทานสูงมาก (Robustness) ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในกล่องที่อยู่บน Blockchain จะ

ไม่ถูกควบคุมโดยใครคนใดคนหนึ่ง
เมื่อจุดใดจุดหนึ่งเล็ก ๆ ในระบบเสีย จะไม่ส่งผลทำให้ระบบทั้งระบบล่ม (Has no single point of failure)
Bitcoin ซึ่งถูกสร้างปี 2008 ในตอนนั้น Blockchain ของ Bitcoin ไม่เคยมีรายงานว่าระบบการทำงานของมันมีความผิดพลาดหรือล้มเหลวเลย แต่ในปัจจุบันที่มีการแฮ็คหรือการจัดการที่ผิดพลาดเกิดขึ้นเพราะ human error หรือความผิดพลาดโดยมนุษย์ เช่นการแฮ็คเว็บผู้ให้บริการซื้อขายเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ ไม่ใช่การเจาะระบบ Blockchain แต่อย่างใด

คุณ Ian Khan นักเขียนด้านเทคโนโลยีกล่าวใน Tedx ว่า

“ฟังดูเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก คือ Blockchain เป็นกลไกที่จะทำให้ทุกคนได้แสดงออกถึงความรับผิดชอบของตนเอง ขจัดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการทำธุรกรรมหรือข้อผิดพลาดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือเครื่องจักร, หรือแม้กระทั่งการแลกเปลี่ยนที่ไม่ได้เกิดจากความยินยอมของคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นแล้วความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดของเทคโนโลยี Blockchain คือการช่วยรับรองความถูกต้องของการทำธุรกรรมโดยการบันทึกข้อมูลโดยไม่เพียงแต่ผู้บันทึกข้อมูลตัวหลักเท่านั้น แต่มันเป็นเรื่องของผู้บันทึกข้อมูลทุก ๆ ฝ่ายที่ถูกเชื่อมต่อกัน ผ่านกลไกการตรวจสอบที่มีความปลอดภัย”
เครือข่าย Blockchain ของ Bitcoin ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเห็นพ้องต้องกันของทุกฝ่าย (consensus) จะมีการตรวจสอบข้อมูลในทุก ๆ 10 นาที ระบบจะตรวจสอบธุรกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 10 นาทีนี้ การทำธุรกรรมในแต่ละครั้งดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ในกล่องที่เราเรียกว่า Block คุณสมบัติที่สำคัญคือ

ความโปร่งใสของข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้สาธารณะ
ข้อมูลจะไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้เพราะมันจำเป็นต้องใช้พลังการประมวลผลอย่างมหาศาลที่ต้องไปลบล้างข้อมูลบนเครือข่ายทั้งหมด (อ่านเพิ่มเติมเรื่องการโจมตี 51%)
ในทางทฤษฎีก็อาจเป็นไปได้ที่จะมีคนทำแบบนั้นแต่ในทางปฏิบัติแล้วมันเป็นไปได้ยากมาก ๆ ซึ่งความพยายามที่จะเข้าไปแทรกแซง Blockchain เพื่อขโมยเหรียญ Bitcoin นั้นว่ากันว่าจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อส่งกำลังประมวลผลคอมพิวเตอร์ที่มากกว่าประเทศหนึ่งประเทศเสียอีก

คุณVitalik Buterin ผู้สร้างเหรียญEthereum กล่าวว่า

“เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการ เมื่อผมพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ในแถบตะวันตกผู้คนบอกว่าพวกเขาเชื่อถือ Google, Facebook หรือธนาคารมากกว่า แต่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบทวีปอื่นไม่ไว้วางใจองค์กรและบริษัทต่าง ๆ มากนักซึ่งผมหมายถึงแอฟริกา อินเดีย ยุโรปตะวันออกหรือรัสเซีย มันไม่เกี่ยวกับว่าจะต้องเป็นที่ที่ร่ำรวยเท่านั้นถึงจะเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้ อันที่จริงแล้วเทคโนโลยี Blockchain มีโอกาสที่จะเข้าถึงประเทศที่ไม่ได้ร่ำรวยมากที่สุดได้มากกว่าเสียอีก”

เครือข่ายโหนด (node)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ถูกเรียกว่า “โหนด” จะสร้างบล็อคขึ้น โหนดคือคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย Blockchain โดยใช้ตัว client ทำการตรวจสอบความถูกต้องและส่งต่อการทำธุรกรรม โหนดจะได้รับสำเนาของ Blockchain ที่ดาวน์โหลดโดยอัตโนมัติเมื่อมันเข้าไปอยู่บนเครือข่าย Blockchain



โหนดทุกตัวเป็นผู้ดูแล Blockchain และเข้ามาอยู่ในระบบด้วยความสมัครใจ ไม่ขึ้นกับส่วนกลาง (decentralized) แต่โหนดทุกตัวที่เข้ามาอยู่ใน Blockchain ก็มีจุดประสงค์คือการได้มาซึ่ง Bitcoin ที่ถูกขุดขึ้นมาใหม่

ในบางครั้งโหนดถูกเรียกว่าเป็นการขุด Bitcoin ซึ่งเป็นการเรียกที่ไม่เหมาะสมนัก การที่จะได้ Bitcoin มานั้นโหนดแต่ละอันต้องแก้ปริศนาคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มแรก Bitcoin เป็นเหตุผลที่ Blockchain ถูกสร้างขึ้นแต่ตอนนี้ Blockchain กลายเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในแง่การใช้งานมากที่สุด

ในตอนนี้มีเหรียญคริปโตเคอเรนซีที่เหมือนกับ Bitcoin อยู่ในตลาดประมาณ 1,600 เหรียญ ในขณะเดียวกันก็มีการนำเทคโนโลยี Blockchain ไปปรับใช้กับวงการอื่น ๆ มากขึ้น

คุณ Larry Summers อดีตเลขานุการกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า

“Bitcoin มีบุคลิกลักษระเหมือนเป็นเครื่องแฟ็กซ์ คือเครื่องแฟ็กซ์หนึ่งเครื่องก็เป็นได้แค่ที่กั้นประตูที่ไร้ประโยชน์ แต่ในโลกที่ใคร ๆ ทุกคนมีเครื่องแฟ็กซ์นั้นมันจะถือเป็นสิ่งที่มีค่ามหาศาล”

แนวความคิดของการกระจายศูนย์ (decentralization)
เทคโนโลยี Blockchain ถูกออกแบบมาเป็นเทคโนโลยีแบบกระจายอำนาจที่ไม่ขึ้นกับส่วนกลาง (decentralized technology) อะไรที่เกิดขึ้นบน Blockchain คือการทำงานของเครือข่ายโดยรวม ประเด็นคือ Blockchain เป็นการตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการค้าในรูปแบบใหม่ซึ่งการตรวจสอบแบบดั้งเดิมอาจกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ทำพร้อมกันได้เกือบทั้งหมดบน Blockchain หรืออาจทำให้การเก็บบันทึกข้อมูลบางประเภท เช่น การจดทะเบียนที่ดินกลายเป็นสาธารณะอย่างเต็มที่และทำให้เกิดการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโลกใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain ในการจัดการกับฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมของ Bitcoin ซึ่งก็หมายความว่า Bitcoin ถูกจัดการโดยเครือข่ายของมันเองโดยไม่มีอำนาจจากส่วนกลางเข้ามายุ่งเกี่ยว โดย decentralization นั้นก็คือเครือข่ายที่มีการดำเนินการแบบบุคคลต่อบุคคล (peer-to-peer) ที่ไม่ต้องขึ้นกับส่วนกลางนั่นเอง

คุณ Melanie Swan นักเขียนเกี่ยวกับ Blockchain ชื่อเรื่อง Blueprint for a New Economy (2015) กล่าวว่า

“เครือข่ายแบบ decentralized จะเป็นคลื่นลูกใหม่ของเทคโนโลยี”

ใครที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain ?
ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมทางการเงินดูเหมือนจะเป็นผู้ที่นำเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้มากที่สุด โดยเฉพาะกับเรื่องการโอนเงินข้ามประเทศ ทำให้ตอนนี้นักพัฒนา Blockchain เป็นที่ต้องการในตลาดโลกเป็นอย่างมาก

การนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ทำให้สามารถตัดคนกลางสำหรับการทำธุรกรรมต่าง ๆ ออกไปได้ ลองนึกถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ถูกทำให้ใช้งานได้ง่ายมากขึ้นในปัจจุบันด้วยนวัตกรรม Graphical User Interface (GUI) ซึ่งหากนำ GUI มาเปรียบกับโลกของ Bitcoin นั้น มันก็คือกระเป๋า ( wallet) ที่เอาไว้เก็บเหรียญ Bitcoin และ cryptocurrency อื่น ๆ เพื่อโอน หรือนำไปใช้ซื้อของ

การทำธุรกรรมออนไลน์จะต้องมีการยืนยันตัวตนซึ่งในอนาคต wallet apps อาจมีการจัดการเกี่ยวกับการยืนยันตัวตนในรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย

คุณ Wiilliam Mougayar ผู้เขียนThe Business Blockchain: Promise, Practice, and Application of the Next Internet Technology กล่าวว่า

“ตัวตนในโลกออนไลน์จะมีลักษณะเป็น decentralized และเราจะเป็นเจ้าของข้อมูลที่เป็นของเราได้อย่างแท้จริง”

เทคโนโลยี Blockchain กับความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น
การกระจายข้อมูลบนเครือข่ายทำให้มันช่วยขจัดความเสี่ยงที่ข้อมูลจะถูกรวบรวมไว้ที่ส่วนกลาง

ทำให้นักแฮ็คไม่มีฐานข้อมูลกลางที่ไว้ใช้เจาะข้อมูล ในปัจจุบันนี้อินเตอร์เน็ตมีปัญหาด้านความปลอดภัย เราเชื่อว่าการใช้ username และ password จะช่วยป้องกันไม่ให้ข้อมูลหรือทรัพย์สินของเรานั้นรั่วไหล เทคโนโลยี Blockchain จะช่วยทำให้ความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สินของเรามีมากขึ้นได้ด้วยวิธีการทางด้านความปลอดภัยของ Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ต้องเข้ารหัส (encryption technology)

หรือที่เราเรียกว่า ‘key’ ตัว Public Key จะระบุ address ของผู้ใช้ที่อยู่บน Blockchain และ Bitcoin ที่ถูกโอนไปมาบนเครือข่ายจะถูกบันทึกข้อมูลการทำธุรกรรมไว้บน adress ของผู้ถือ ส่วน Private Key จะเปรียบเสมือน password ที่ทำให้เจ้าของสามารถเข้าถึง Bitcoin หรือเหรียญดิจิทัลอื่น ๆ ได้ ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้บน Blockchain จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

เครือข่ายบนเลเวลที่สอง
ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ที่ว่านี้จะทำให้เว็บไซต์นั้นมีเลเยอร์ของฟังก์ชันการทำงานตัวใหม่โผล่ขึ้นมา

ปัจจุบันผู้ใช้งาน Bitcoin สามารถที่จะส่งเงินหากันเองได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง อีกทั้งอัตราการใช้งานเหรียญดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมานั้น มูลค่าการทำธุรกรรมของ Bitcoin ต่อวันโดยรวมคิดเป็นตัวเลขที่สูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์ต่อวัน ความได้เปรียบในด้านของความปลอดภัยของ Blockchain นั้นทำให้ธุรกิจด้าน internet กำลังพึ่งพาสถาบันการเงินแบบเก่าในปัจจุบันน้อยลง

คุณ George Howard อาจารย์รับเชิญของ Brown University, Berklee College of Music และผู้ก่อตั้ง George Howard Strategic กล่าวว่า

“ปี 2017 จะเป็นปีที่สำคัญของเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งบริษัท Startup หลายแห่งอาจจะเริ่มมีรายได้มากขึ้นหรือบางแห่งอาจจะไปไม่รอดเนื่องจากมีเงินทุนไม่มากพอ ในปี 2017 นี้จะเป็นปีที่มีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการผลิตสินค้าเพิ่มมากยิ่งขึ้นแต่ผู้บริโภคอาจไม่สังเกตเห็นว่าเทคโนโลยีนี้เข้ามาทำให้ชีวิตของผู้คนหรือธุรกิจดีขึ้นอย่างไร ปี 2017 เป็นปีที่แสดงให้เห็นถึงการนำ Blockchain มาใช้ประโยชน์มากยิ่งขึ้นซึ่งมันทำให้ผู้ที่สงสัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ได้เห็นการทำงานของมันด้วยตัวเองไม่ใช่แค่ได้ยินมา

ที่มา https://siamblockchain.com/2017/06/04/blockchain-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3/
4  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แจ้งเตือนคุณ aventure1 ห้ามมาโพสขายของในห้องนี้อีก เมื่อ: เมษายน 26, 2021, 04:05:11 pm
เนื่องจากมีคนคอยมาโพสขายของในเว็บทุกวัน ชื่อคุณ aventure1 จึงขอแจ้งคุณว่าเว็บนี้เป็นเว็บธรรมะ เนื้อหาที่นำมาโพสควรเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับธรรมะ ไม่ใช่การโพสขายของ ทำให้เว็บเปลืองพื้นที่ จึงขอเตือนคุณว่าควรเลิกโพสได้แล้วนะค่ะ เพื่อจัดระเบียบเว็บหากพบเห็นว่าคุณยังโพสอีก เราขออนุญาติแจ้งลบ User ของคุณออกจากเว็บค่ะ เราเคยเตือนคุณหลายครั้งแล้วนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ
5  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สวัสดีเพื่อนๆชาวธรรมจ้า เมื่อ: กันยายน 16, 2019, 04:21:51 pm
  ตามหัวข้อเลยมากล่าวทักทายเห็ยเงียบหายไปนาน อิอิ  :s_good: :s_good:
6  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ลืมไปแล้วโพสไปได้กี่เรื่องแล้วนี้ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2019, 04:48:14 pm
 ตั้งใจจะโพสให้ครบ 500 ตามสัจจะวาจาที่ได้เคยพูดไว้ ไม่รู้จะไปหาเรื่องได้ครบจากไหนเนี้ย (มาบ่นเล่นเฉยๆ)
 :smiley_confused1: :smiley_confused1: :hee20hee20hee:
7  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เที่ยวชมวัดมหาธาตุ อยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อน เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2018, 05:44:16 pm


 
วัดมหาธาตุ กรุงศรีอยุธยา เป็น ๑ ในวัดที่จัดอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
เป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญที่สุดในกรุงศรีอยุธยา เพราะนอกจากเป็นที่ประดิษฐาน
พระบรมธาตุกลางเมืองแล้ว ยังเป็นที่พำนักของ สมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสีอีกด้วย
วัดแห่งนี้จึงได้รับการก่อสร้าง และ ดูแลตลอดเวลา



ประวัติ
สันนิษฐานว่าวัดนี้ได้ริเริ่มสร้างองค์พระมหาธาตุขึ้นในแผ่นดินสมเด็จบรมราชาธิราชที่ ๑
(ขุนหลวงพระงั่ว) แต่อาจจะยังไม่สำเร็จในรัชกาลของพระองค์ จนถึงรัชกาของสมเด็จ
พระราเมศวรจึงทรงสร้างเพิ่มเติมจนเสร็จบริบูรณ์เป็นพระอาราม แล้วขนานนามว่า”วัดมหาธาตุ”

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.๒๑๕๓-๒๑๗๑)พระปรางค์เคยพังลงมา
เกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงบูรณะใหม่
โดยเสริมพระมหาธาตุให้สูงยิ่งขึ้น รวมเป็นความสูง 25 วา ดังปรากฏในพงศาวดารฉบับ
พระราชหัตถเลขาว่า“ศักราช ๙๙๕ (พ.ศ.๒๑๗๖) ปีระกา เบญจศก ทรงพระกรุณาให้สถาปนา
พระปรางค์วัดพระมหาธาตุอันทำลายลง เก่าเดิมในองค์สูง ๑๙ วายอดนภศูลสูง ๓ วาจึงดำรัสว่า
ทรงเก่าล่ำนัก ให้ก่อใหม่ไห้องค์สูงเส้น ๒ วายอดนภศูลคงไว้ เข้ากันเป็นเส้น ๕ วา (๕๐เมตร)
ก่อแล้วเห็นเพรียวอยู่ ให้เอาไว้มะค่ามาแทรก ตามอิฐเอาปูนบวก ๙ เดือนสำเร็จให้กระทำ
การฉลองเป็นอันมาก”หลังจากรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแล้ว ก็ไม่ปรากฏเรื่องราว
ของวัดมหาธาตุอีกเลย

ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกครั้งหลังใน พ.ศ.๒๓๑๐ ในคราวนั้นวัดมหาธาตุถูกไฟไหม้
เสียหายมาก พระอุโบสถและวิหาร ตลอดจนกุฏิสงฆ์ถูกเผาผลาญยับเยิน คงเหลือแต่ซากผนัง
และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัดมหาธาตุก็ได้กลายเป็นวัดร้าง จนกระทั่งพระยาไชยวิชิต (เผือก)
ผู้รักษาการกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลที่๓ทำการซ่อมวัดหน้าพระเมรุที่ริมครองสระบัวขึ้นใหม่หมด
ทั้งวัด จึงได้เชิญพระพุทธรูปองค์นั่งห้องพระบาทไปประดิษฐานไว้ในวิหารน้อย ซึ่งอยู่ใน
วัดหน้าพระเมรุจนบัดนี้
























8  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เที่ยววัดเลียบ " วัดราชบุรณราชวรวิหาร " เมื่อ: มีนาคม 07, 2018, 01:45:23 pm




วัดราชบุรณราชวรวิหาร
เป็นวัดเก่าแก่ เดิมชื่อ "วัดเลียบ" ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐาน



พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามว่า "วัดราชบุรณะ"
 :58: :58: :88: :88:


พระปรางค์นี้สร้างขึ้นมาใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3




ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า และ โรงไฟฟ้าวัดเลียบ สถานที่สำคัญ ๆ ของวัด รวมทั้งพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือขรัวอินโข่ง จึงถูกระเบิดทำลายจนหมด ปัจจุบันวัดราชบุรณะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหมด




เพราะมีพระมหากษัตริย์ที่คอยบำรุงพระพุทธศาสนาถึงได้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้





9  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / วันมาฆบูชา เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2018, 05:14:06 pm


วันมาฆบูชา 2561 ตรงกับวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งประวัติวันมาฆบูชา มีความหมายและความสำคัญอย่างไร เรามีข้อมูลมาฝาก

          วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง และได้เวียนมาบรรจบอีกครั้ง โดย วันมาฆบูชา 2561 ตรงกับ วันพฤหัสบดี 1 มีนาคม สำหรับประวัติวันมาฆบูชา ความสำคัญของวันมาฆบูชา รวมถึงกิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

ความหมายของวันมาฆบูชา

          คำว่า "มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3
การกำหนดวันมาฆบูชา

          การกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม

ความสำคัญวันมาฆบูชาและประวัติวันมาฆบูชา

          ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"

          ทั้งนี้ในวันมาฆบูชาได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อม ๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่

          1. วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์

          2. มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

          3. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6

          4. พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

          และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" นี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ

          - จาตุร แปลว่า 4
          - องค์ แปลว่า ส่วน
          - สันนิบาต แปลว่า ประชุม

          ดังนั้น "จาตุรงคสันนิบาต" จึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" นั่นเอง

          ทั้งนี้วันมาฆบูชาถือว่าเป็นวันพระธรรม ขณะที่วันวิสาขบูชาถือว่าเป็นวันพระพุทธ ส่วนวันอาสาฬหบูชา เป็นวันพระสงฆ์

ประวัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย

          พิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตามในหนังสือ "พระราชพิธีสิบสองเดือน" อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ว่า

          ประเทศไทยเริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2394 ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศลในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศราชวรวิหารและวัดราชประดิษฐ์จำนวน 30 รูป ฉันภัตตาหารในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

          เมื่อถึงเวลาค่ำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออก ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ พระสงฆ์ทำวัตรเย็นและสวดคาถาโอวาทปาฏิโมกข์ เมื่อสวดจบทรงจุดเทียน 1,250 เล่ม รอบพระอุโบสถ มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาฏิโมกข์ 1 กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลี และภาษาไทย ส่วนเครื่องกัณฑ์ประกอบด้วยจีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3 ตำลึงและขนมต่าง ๆ เมื่อเทศนาจบ พระสงฆ์ 30 รูป สวดรับ

          ในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปี แต่มีการยกเว้นบ้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากบางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีกแห่ง นอกเหนือจากภายในพระบรมมหาราชวัง

          ต่อมาการประกอบพิธีมาฆบูชาได้แพร่หลายออกไปภายนอกพระบรมมหาราชวัง และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศลและประกอบกิจกรรมทางศาสนา

          นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยประกาศให้วันมาฆบูชา เป็นวันกตัญญูแห่งชาติอีกด้วย

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติในวันมาฆบูชา

          หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติคือ "โอวาทปาฏิโมกข์" ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อไปสู่ความหลุดพ้น หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้

หลักการ 3 คือหลักคำสอนที่ควรปฏิบัติ ได้แก่

          1. การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง อันได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว 10 ประการที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ (การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)

          2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การทำความดีทุกอย่างตาม กุศลกรรมบถ 10 ทั้งความดีทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีความเมตตาปรารถนาดี มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)

          3. การทำจิตใจให้ผ่องใส คือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดจากนิวรณ์ที่คอยขัดขวางจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่ ความพอใจในกาม, ความพยาบาท, ความหดหู่ท้อแท้, ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย

          ซึ่งทั้ง 3 หลักการข้างต้น สามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์" นั่นเอง


อุดมการณ์ 4 ได้แก่

          1. ความอดทน อดกลั้น คือ ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา ใจ
          2. ความไม่เบียดเบียน คือ งดเว้นจากการทำร้าย หรือเบียดเบียนผู้อื่น
          3. ความสงบ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
          4. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา


วิธีการ 6 ได้แก่

          1. ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้าย โจมตีใคร
          2. ไม่ทำร้าย คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
          3. สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ เคารพระเบียบวินัย กฎกติกา รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม
          4. รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดีในการบริโภค รวมทั้งการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
          5. อยู่ในสถานที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
          6. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือ การฝึกหัดชำระจิตใจให้สงบ มีประสิทธิภาพที่ดี



ที่มา kapook.com
10  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / “นุ่งโจง ห่มสไบ ร่วมแต่งไทย เที่ยวงานวัง” งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 2561 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2018, 04:12:54 pm


ปีนี้ งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จะถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่อลังการ เพื่อเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระผู้มีคุณูปการอเนกอนันต์ ทรงส่งเสริมให้ลพบุรีเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม การศาสนา การทูต รวมทั้งเป็นการ สืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและเผยแพร่เอกลักษณ์อันโดดเด่นของชาวจังหวัดลพบุรี ที่แสดงให้เห็นถึงบรรยากาศชาวลพบุรีพร้อมใจกัน แต่งไทยทั้งเมืองระหว่างวันที่ 9 มกราคม - 18 กุมภาพันธ์ 2561 โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคราชการ ภาคท้องถิ่น ภาคเอกชน พ่อค้าแม่ค้าและพี่น้องประชาชนในจังหวัดลพบุรี

อิอิ ไปแล้วจัดชุดไทยนิดนึ่ง (ช่วงนี้มันก็จะฮิตๆหน่อย)
ชุดไทยมีให้เช่าในราคา 100 บาทหน้างานเลือกได้ตามชอบใจเลย
พระนารายณ์ราชนิเวศอยู่ในตัวเมืองลพบุรี ไม่ไกลจากเขาวงพระจันทร์เท่าไหร่ใครผ่านไปก็สามารถแวะชมได้ตลอด









ที่ทรงงานสมเด็จพระนารายณ์








ยังมีภาพให้ชมอีกมากมาย









นั่งเสลียงนิดนึ่ง 55


ที่นี้เป็นพระที่นั่งทรงงานของสมเด็จพระนารายณ์ (ลงรูปกล้องหลังไม่ได้ไฟล์มันใหญ่)






พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนารายณ์




ตาลปัตรสมัยนั้นดูลวดลายงดงามแปลกตา


อาวุธโบราณ มีปืนด้วย น่าจะนำมาจากพวกชาวต่างชาติตะวันตก ที่เข้ามาในสมัยนั้น


ตู้เก็บหนังสือ เอาไว้เก็บหนังสือ คัมภีร์โบราณของสำคัญในสมัยนั้น







ยังมีรูปให้ดูอีกเยอะลงไม่ได้ขอไปลดไฟล์ก่อนเดี๋ยวมาลงใหม่ ลงได้แต่รูปถ่ายตัวเอง

 like1 like1 like1
11  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / รู้สึกหดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง เมื่อ: ตุลาคม 03, 2016, 09:42:43 pm
ทำไมยิ่งพยายามศึกษาธรรมก้อแล้ว นั่งกรรมฐานบ้างก้อแล้ว(ถึงจะฝึกยังไม่ถึงไหน) ฟังธรรมก้อแล้ว แต่ทำไมใจมันรู้สึกเค้วงคว้าง ว่างเปล่า เหนื่อย ท้อแท้ สิ้นหวัง....บางทีก้อสงสัยตัวเองนี้ฉันเป็นอะไร ฉันทำอะไรอยู่ มันเป็นความทุกข์ที่อธิบายยาก...ทำไมถึงเป็นแบบนี้... :'( :'(
12  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / นี่ไม่ได้ด่าไอ้พวกคนที่ชอบ Hack เว๊ปนี้นะ เมื่อ: ธันวาคม 08, 2015, 06:35:56 pm
เด็กเวรเด็กพ่อแม่ไม่สั่งสอน(หรือว่าสอนแต่มันไม่ฟัง) ไม่มีอะไรจะทำแล้วใช่ไหม ถึงได้มา Hack เว๊ปนี้ หลายครั้งแล้ว  >:( >:( >:( >:( >:(
13  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / อ่านให้จบนะ ดีมากๆ ภพภูมิและมนุษย์ เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2015, 02:40:32 pm

คำถามถึงเทวดา, พญานาค, พระภูมิเจ้าที่,
สัตว์เดรัจฉาน,เปรต, สัตว์ในนรก และมนุษย์

คำถามเดียวกัน แต่ต่างคำตอบ ต่างภพภูมิ ต่างวาระ ต่างบารมี ต่างความคิด
ต่างการกระทำ ต่างจุดมุ่งหมาย

"ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์อยากจะทำอะไร"

เทวดา ตอบว่า
"เราจะพิจารณาธรรม เพราะมนุษย์มีกายสังขาร ที่เหมาะกับการพิจารณาธรรมมาก ร่างกายของมนุษย์เป็นเครื่องมือที่ใช้พิจารณาธรรมได้ดีที่สุด น่าอิจฉาพวกมนุษย์จริงๆ"

พญานาค ตอบว่า
"บวชสิ ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ เราจะบวช ... เป็นพญานาคมีฤทธิ์มากก็จริง แต่บวชไม่ได้ พ้นทุกข์ไม่ได้ ไม่เหมือนมนุษย์ พระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้นาคบวช แต่มนุษย์บวชได้ มนุษย์สร้างบุญใหญ่ไปสวรรค์ชั้นสูง ไปแดนนิพพานได้ แสนประเสริฐ"

พระภูมิเจ้าที่ ตอบว่า
"ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง คราวนี้เราจะไปทำบุญใส่บาตรทุกวัน ไม่ต้องมานั่งรอคนอุทิศส่วนกุศลมาให้เราอีก ไปทำเองเลย เพิ่มบารมีได้เร็วทันใจดี"

สัตว์เดรัจฉาน ตอบว่า
"ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ เราจะสงเคราะห์สัตว์ตัวอื่นๆ เป็นสัตว์นั้นทุกข์มาก พูดก็ไม่ได้ คิดอะไรฉลาดๆก็ไม่ได้
เป็นมนุษย์มีสมองมีปัญญา เราจะใช้ปัญญาของมนุษย์ทำให้ตัวเองไม่ต้องมาเป็นสัตว์อีก"

เปรต ตอบว่า
"เราไม่อยากมีหน้าตาน่าเกลียด ไม่อยากมีปากเท่ารูเข็ม มีรูปร่างสูงเหมือนต้นตาล
ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ เราจะถือศีล จะได้ไม่ต้องมาเป็นเปรตผู้หิวโหย อดๆ อยากๆ ทนทุกข์ทรมานแบบนี้"

สัตว์นรกในอเวจี ตอบว่า
"ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ เราจะทำความดี จะไม่ผิดศีล5อีก จะปฏิบัติธรรม เพราะนรกมันร้อนมันโหดร้าย อยู่แล้วมีแต่ความเจ็บปวด ทุรนทุราย ถ้าข้ามีโอกาสอีกครั้ง เราจะไม่ทำเลว เราไม่อยากทรมาน ไม่อยากได้ชื่อว่าเป็นสัตว์นรกอีก"

แต่เมื่อถามคำถามเดียวกัน
มนุษย์ตอบว่า "อยากสมหวังรัก,อยากรวย,อยากมีตำแหน่งสูง,อยากมีอำนาจ แม้ต้องผิดศีล ทำร้ายใครก้อจะทำ"

อนิจจาใครหนอ..น่าสงสารที่สุด!
มนุษย์ผู้ที่อยากแต่ทรัพย์สมบัติภายนอกที่ยึดถือได้ชั่วคราว
ทั้งที่มีโอกาสจะทำบุญกุศลมากกว่าเพื่อน ทำให้มีอริยทรัพย์คือ

ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัวไปทุกภพภูมิ อยู่ภายในใจ มี ๗ สิ่งคือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา

14  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / อนุสาสิกชาดก: ดีแต่สอนคนอื่น เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2015, 06:12:33 pm
อนุสาสิกชาดก: ดีแต่สอนคนอื่น

    ในสมัยหนึ่ง
พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี
ทรงปรารภภิกษุณีผู้พร่ำสอนรูปหนึ่งมักห้ามภิกษุณีรูปอื่นๆไปในที่หวงห้ามแต่ตนเองกลับไป
เป็นเหตุให้ประสบเหตุร้าย ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
   กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกป่า จ่าฝูงของนกนับร้อยตัว
อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่ง มีนางนกจัณฑาลตัวหนึ่ง
แตกฝูงไปหากินไกลถิ่น ที่ทางใหญ่กลางดง ได้เมล็ดข้าวเปลือกและถั่วที่ตกหล่นจากเกวียนชาวบ้านเป็นอาหาร
เกิดความโลภอยากเก็บไว้กินผู้เดียว เมื่อกลับมาหาฝูงจึงให้โอวาทแก่ฝูงนกว่า
" ธรรมดาทางใหญ่ในดงลึก
มีภัยเฉพาะหน้ามาก ทั้งจากฝูงช้าง ม้าและยวดยานที่เทียมโค
ถ้าไม่โผบินขึ้นได้เร็ว ก็อย่าไปที่นั้นนะ
" ฝูงนกจึงตั้งชื่อให้นางนกนี้ว่า
แม่อนุสาสิกา
   ต่อมาวันหนึ่ง
นางกำลังหากินอยู่ ได้ยินเสียงยานแล่นมาด้วยความเร็ว
ก็เหลียวดูนึกว่า ยังอยู่ไกลตัว ทันใดนั่นเอง
ยานพลันถึงตัวนาง ด้วยความเร็วปานลมพัด นางไม่อาจโผบินขึ้นได้ทัน
จึงถูกล้อยานทับตัวขาดเป็นสองท่อน นอนตายอยู่ตรงนั้น
   นกจ่าฝูง
เมื่อไม่เห็นนางกลับมาเข้าฝูง จึงเรียกประชุมนกและให้ออกติดตามหา
ไปพบนางในที่นั้น จึงกล่าวคาถาว่า
     "
นางนกป่าชื่ออนุสาลิกา พร่ำสอนนกตัวอื่นอยู่เนืองนิตย์

       แต่ตัวเองกลับโลภจัด
จึงถูกล้อรถบดขยี้ขาดเป็น ๒ ท่อน นอนอยู่ที่หนทางใหญ่


กินคนเดียวไม่อร่อย และกินได้ไม่นาน
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า นางนกสาลิกาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุณี อนุสาสิกาในครั้งนี้ ส่วนนกจ่าฝูง ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล
15  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / โมรณัจจชาดก ว่าด้วยผู้ขาดหิริโอตัปปะ เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2015, 01:56:15 pm

โมรณัจจชาดก ว่าด้วยผู้ขาดหิริโอตัปปะ

 ครั้นเมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธรัฐแล้ว ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จจากนครราชคฤห์ อันมีฉายาว่าเบญจคีรี ที่มีภูเขาทั้ง 5_เป็นปราการมาประทับยังนครสาวัตถีในแคว้นโกศลนั้น แสงธรรมจากพระพุทธองค์ก็ส่องรัศมีกระจ่างไปทั่วแผ่นดินอนุทวีปให้พลังแก่ชีวิตดุจกันกับแสงทินกร
 เวลานั้นกุลบุตรจากทุกตระกูลหลั่งไหลกันเข้าบวชในพระพุทธศาสนาเพราะสัจธรรมอันวิเศษเป็นจำนวนมาก “หากเราได้บวชแล้วจิตใจเราคงสงบมากกว่านี้แน่ อยากจะบวชเร็วๆ จังเลย” “การรักษาศีล ฟังธรรม จิตใจช่างสงบดีแท้ หากเราบวชแล้วประพฤติธรรม จิตใจคงสงบมากกว่านี้”
 นอกจากนี้ก็ยังมีสมณะนักบวชหลายนิกาย เมื่อนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเปรียบเทียบกับความเชื่อของตน ก็บังเกิดปีติ หันมาถือศีล ปฏิบัติธรรมวินัย จนพระเชตะวันมหาวิหารมากมายไปด้วยสงฆ์สาวก
  เช่นกันกับชายตระกูลพราหมณ์คนหนึ่ง เมื่อมีโอกาสมาฟังธรรมเทศนาก็รู้สึกสงบมีความสุขใจ จึงรอโอกาสมาบวชอยู่เช่นกัน “บัดนี้ เมื่อภรรยาเราตายจากไปแล้ว เราก็คงหมดห่วงหมดกังวลกับทางโลกแล้ว เราคงถึงเวลาเข้าสู่ร่มกาสาวพัตรตามความต้องการเสียที” พราหมณ์ผู้นี้มีฐานะดี กินอยู่สุขสบายจนเป็นนิจ จึงเตรียมเครื่องอำนวยความสะดวกไปใช้เป็นอย่างมาก
  “เอ เตรียมของครบหรือยังหน๊า กานี้สำหรับต้มน้ำ เหยือกนี้ไว้ใส่น้ำดื่มกิน อาหารเสริมก็มีแล้ว ทำไมตะกร้ายังดูโล่งๆ ขาดอะไรอีกหน๊า” นอกจากเตรียมเครื่องบริขารเกินจำเป็นแล้ว ก่อนเข้าเฝ้าขออุปสมบท พราหมณ์ยังนำช่างไปก่อสร้างกุฏิ โรงครัวส่วนตัว รอไว้ครบถ้วน
  “เอาล่ะๆ เสร็จแล้วก็มาเก็บกวาดซะให้สะอาดแล้วขนเฟอร์นิเจอร์มาได้” “ขอรับนายท่าน กระผมเกรงว่า โรงครัวจะเล็กเกินไป ไม่พอใส่ข้าวของ จะทำอย่างไรดีล่ะเนี่ย” “จะไปยากอะไรล่ะ เจ้าก็ไปบอกให้ช่างเนี่ย ให้เขาขยายโรงครัวให้ใหญ่ขึ้นสิ แต่ให้รีบๆ ทำหน่อยล่ะ เพราะฤกษ์บวชใกล้เข้ามาแล้ว”
  เมื่อใกล้ฤดูพรรษา พราหมณ์ผู้มีนิสัยสำรวยก็ได้รับพระกรุณาเป็นเอหิภิกขุอุปสมบทและอยู่จำพรรษาในกุฏิใหม่ของตน “ในที่สุด เราก็ได้บวชตามที่ใจปรารถนา จากนี้ไปคงได้ปฏิบัติธรรมให้จิตใจสงบได้เสียที” ภิกษุผู้รักสบายเมื่อบวชแล้ว นอกจากมีจีวรสวยงาม มีบริขารอุดมสมบูรณ์แล้ว ภิกษุใหม่รูปนี้ยังสั่งให้คนรับใช้ที่บ้านมาคอยบริการทั้งกลางวันกลางคืน “อาหารที่เราสั่งได้หรือยัง มาแล้วครับนายท่าน อุ่ย! ไม่ใช่สิ หลวงพี่”
 ความประพฤติของภิกษุสงฆ์รูปนี้ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากมายในหมู่สงฆ์ด้วยกัน “ภิกษุ ท่านเข้ามาบวชในศาสนาพุทธแล้ว ไยถึงไม่ละกิเลส ทำไมท่านถึงยังสะสมบริขารไว้มากมายเช่นนี้เล่า” “นั่นน่ะสิ เมื่อท่านยังรักความสบายอยู่อย่างนี้ แล้วเมื่อไหร่ท่านถึงจะบรรลุธรรมเล่า” “ไม่เอาหน่า หลวงลุง ท่านไม่มีเหมือนกระผมก็อย่าอิจฉาสิ กระผมเนี่ย จะบรรลุธรรมหรือไม่ มันก็เป็นเรื่องของกระผม พวกท่านไม่ต้องยุ่งหรอกหน่า”
ภิกษุผู้หลงในทรัพย์บริขารของตน จึงถูกนำตัวไปเฝ้าพระบรมศาสดาในธรรมสภา เพื่อให้องค์ศาสดาทรงตำหนิและให้สติเพื่อปลุกสำนึกในพระวินัยอันดีในเวลานั้น “ดูก่อนภิกษุ เธอมีโอกาสศึกษาพระธรรมอันดี สมควรอยู่ในวินัยสมณะ ไม่ผิดวินัยเช่นนี้” อนิจจา! พระกรุณาธิคุณนั้น กลับทำให้ภิกษุผู้มีกรรม บังเกิดความโกรธผุดลุกขึ้นกระชากจีวรออกจากร่างทันที “วินัยสมณะที่แท้ก็แค่ผ้าเหลืองเท่านั้น หึ! ถ้ากระผมถอดออกก็ถือเป็นอิสระใช่ไหม ถ้าอย่างนั้นน่ะ ก็เหลือวินัยข้อเดียวตามใจตัวเองเป็นดีที่สุด ฮ่าๆๆ” “เฮ้อ! ไม่น่าเลย พระองค์ทรงเตือนแล้ว ยังไม่สำนึกอีก”
 ภิกษุใหม่เคยต่อความสุขสบายมานาน เมื่อถูกทำให้อับอายก็โกรธจนลืมตัว ถอดจีวร ถอดอังสะ ยืนอุจาดกลางที่ประชุมอย่างขาดหิริโอตัปปะ “ฮ่าๆๆ เห็นไหม เมื่อเราถอดผ้าออกก็ถือว่าอิสระ ใครก็กล่าวโทษเราไม่ได้ ฮ่าๆๆ” “โอ้! ช่างไม่รู้จักอับอายบ้างเลย เฮ้อ” “ดูสิ ถูกตักเตือนอยู่แท้ๆ ยังไม่รู้ผิดอีก เฮ้อ! ไม่ได้เรื่อง”
การกระทำที่น่าอับอายนี้ อุบาสก อุบาสิกาและพระภิกษุทั้งหลายในธรรมสภาต่างไม่พอใจ จึงว่ากล่าวและบริภาษอย่างรุนแรงจนต้องหนีออกจากพระเชตวันไป สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงตรัสอดีตชาติของพระภิกษุผู้ไม่ละอายขึ้นเป็นอุทาหรณ์ ในโมรณัจจชาดกดังต่อไปนี้
  อดีตกาลย้อนไปแต่ครั้งต้นกัป ครั้งที่โลกยังสวยงามและอุดมสมบูรณ์ หมู่สัตว์ทั้งหลายต่างเคารพซึ่งกันและกัน ไม่ล่วงเกินกล่าวร้ายกัน เช่นคนในวันนี้ ในหิมพานต์ป่าใหญ่ครั้งนั้น ยังมีพญาหงส์เป็นหัวหน้าหมู่นกทั้งปวง คราวหนึ่งถึงเวลาการมีคู่ครองของธิดาพญาหงส์ ซึ่งเจริญวัยเป็นสาวและสวยงามกว่าวิหกใดๆ
 “ลูกของเราเนี่ย ช่างงามแท้ๆ เฮ้อ! ถึงเวลาหาคู่ให้ลูกของเราแล้วล่ะสิเนี่ย คิดไปก็ใจหาย ไม่อยากให้จากอกพ่อไปเลย เฮ้อ” “เราเป็นสาวเต็มตัวแล้วหรือเนี่ย ถึงเวลาที่จะมีคู่แล้วสิ คิดแล้วก็ตื่นเต้น เนื้อคู่เราจะเป็นนกเช่นใดนะ” เมื่อพญาหงส์ประกาศให้นกหนุ่มๆ ทั้งหลายมาชุมนุมกันเพื่อเลือกคู่ ธิดาซึ่งเป็นสาววัยกำดัด ก็ยิ่งงดงามจนชื่อเสียงกำจรขจาย เป็นที่ใฝ่ปองของนกทั้งหิมพานต์
  “สวยๆ อย่างเรา ก็ต้องได้คู่ที่ดี เหมาะกับเราเท่านั้น พ่อประกาศหาคู่ให้เราเช่นนี้ นกหนุ่มๆ น้อยใหญ่ก็คงแห่มาเพียบสินะ เฮ้อ! เราจะเลือกนกเช่นไรมาเป็นคู่ดีนะ” ครั้นถึงวันนัดหมาย นกทั้งหลายก็พากันบินมารวมกันกลางลานเลือกคู่ เร็วเข้าๆ ใครร่อนลงก่อนน่ะ ก็มีสิทธิ์ได้ดูตัวก่อนนะ ไม่รอใครแล้ว ธิดาหงส์ต้องเป็นคู่เราเท่านั้น”
 “อย่าโม้ไปหน่อยเลยหน่า เราต่างหากที่คู่ควรกับธิดาหงส์น่ะ” ไม่ช้าบริเวณรายรอบลานป่าที่พญาหงส์ใช้เป็นที่ชุมนุมก็มีเหล่านกทั้งหลายมารอกันมากมาย “โห! มีนกหนุ่มๆ มากันเพียบเลย อยากรู้จังว่าธิดาหงส์น่ะ หญิงในดวงใจของเรา จะชอบนกเช่นไร” “ก็ต้องเป็นนกที่สง่างามอย่างข้านี่แหละ”
  “เฮอะ อย่างเจ้านี่หรอ สง่างาม ถ้านกอย่าเจ้าสง่างามน่ะ ก็คงไม่มีนกตัวใดขี้ริ้วขี้เหร่แล้วล่ะ” เนื่องด้วยความงามอย่างเพียบพร้อมของหงส์สาว ทำให้มีนกหนุ่มๆ มากมาย ใฝ่ฝัน อยากเป็นคู่ “ถ้าเพียงแต่ได้น้องมาครองคู่ ชีวิตนี้พี่ก็ไม่ต้องการสิ่งใดอีกแล้ว ขอให้เป็นเราทีเถอะ ที่จะได้เคียงคู่กับน้องธิดาหงส์” “พญาแร้งหนุ่มอย่างเรา โดดเดี่ยวอยู่ในภูเขานี้มาก็หลายปี
 ถ้าได้ธิดาหงส์มาครองรักนะ หุบเขาแห่งนี้ก็คงไม่เปลี่ยวปล่าว เหงา เดียวดาย อย่างเช่นเคยแน่นอน โลกของเรานี่มันก็ต้องมีแต่สีชมพู มองไปทางไหนก็คงอบอุ่นไปด้วยความรักเต็มไปหมด ง่า” “กาดำอย่างเรา ถึงตัวจะดำแต่ใจก็ไม่ดำ หวังว่าธิดาหงส์น่ะ คงจะมองผ่านความดำเข้ามาถึงจิตใจอันงดงามของเราบ้าง เฮ้อ! ตื่นเต้นจริงๆ เลย ปีนี้หวังว่า จะได้สละโสดกับเขาซะที”
  เมื่อเวลาผ่านไปพอสมควร ธิดาพญาหงส์ก็แสดงความพึงพอใจ นกยูงหนุ่มตัวหนึ่ง “อุ้ย! ตายล่ะ ดูพ่อนกยูงตัวนั้นสิ ช่างงามสง่ายิ่งนัก ถูกใจเราเหลือเกิน” “เหอะๆๆๆ ธิดาหงส์มองมาทางเราอย่างชื่นชม วางท่าสง่างามไว้ งานนี้มีเฮแน่ เหอะๆๆๆ” เมื่อธิดาหงส์เลือกนกยูงหนุ่มมาเป็นคู่ ผู้เป็นพ่อจึงเชิญให้นกยูงผู้โชคดีออกมาแสดงตัวแก่เหล่าวิหคทั้งหลาย “โอ้โห อือหือ ช่างสง่างามยิ่งนัก ตัวดำๆ อย่างเราเนี่ย ก็คงต้องเหงาเหมือนเคย เฮ้อ! ไม่เจียมตัวจริงๆ เลย”
  “ช่างน่าปลาบปลื้มใจแทนเขาทั้งสองคน เหมาะสมกันยิ่งนัก” “เหอะๆๆๆ ดูสิ เหล่านกพวกเนี้ย ล้วนชื่นชมเรากันทั้งนั้น เฮ้อ! เกิดมาหล่อ สง่างามก็อย่างนี้แหละ” อันนกยูงนั้น มันลำพองในความงามของขนหางอยู่แล้ว ครั้นได้รับเกียรติ ได้รับคำเยินยอเข้า นิสัยอยากอวดก็กำเริบขึ้น “เหอะๆๆๆๆ เจ้านกทั้งหลายพวกนั้นน่ะ คงชื่นชอบความงามของขนหางเราล่ะสิ คอยดูเถอะ เราจะทำให้นกพวกนั้นน่ะ ต้องตาค้างเพราะความงามของเรา”
 นกยูงหนุ่มเชิดคอตั้ง ออกไปกลางลานโล่ง แล้วโชว์ขนหางออกลำแพน หันไปหันมา อวดของดีในตัวอย่างไม่อายใคร “นี่ ดูซะก่อน เจ้านกทั้งหลาย ขนของเรางามกว่าที่พวกเจ้าคิดไว้ตั้งเยอะ หันก้นไปทางโน้นหน่อยดีกว่า จะได้มองเห็นรอบๆ” “อุ้ย น่าเกลียดจริงๆ นกอะไรไม่รู้จักกาลเทศะเลยนะเนี่ย เฮ้ย กาดำอย่างเราน่ะ ถึงรูปจะไม่งาม แต่ก็ไม่เคยมีนิสัยอย่างนี้หรอกนะ” “นั่นนะสิ เสียดายธิดาหงส์จริงๆ ไม่น่าเลือกนกอย่างนี้เลย”
 “คิดได้ไง กางขนออกมา ไม่อายนกตัวอื่นๆ บ้างเลย” “ไม่รู้จักอายแบบเนี่ย เลือกแร้งอย่างเราซะดีกว่า แกว่าไหม” “นั่นน่ะสิ ลูกพี่รูปไม่หล่อ แต่นิสัยดีกว่านี้อีก” พญานกเมื่อเห็นพฤติกรรมนกยูงก็ทนขัดเคืองไม่ไหว “เธอขาด หิริ คือความไม่ละอายใจ ขาดโอตัปปะ คือความไม่เกรงคำนินทา จึงทำให้ประจานตนอย่างนี้ เธอคงไม่เหมาะที่จะเป็นคู่กับธิดาของเราแล้วล่ะ”
  “โธ่ ไม่น่าเลยเรา อยู่ดีไม่ว่าดี รู้เงี้ยะ ยืนเฉยๆ ก็ดี ฮือๆๆๆ ธิดาหงส์ของพี่” นกยูงถูกขับไล่ออกไปแต่บัดนั้น หงส์น้อยแสนสวย ถูกยกให้เป็นคู่กับหงส์หนุ่มที่มาเลือกคู่ด้วยความเหมาะสม ก็ได้ครองรักอยู่กินกันไปจนสิ้นอายุขัย
“หือ ดีใจจังที่ได้พี่หงส์มาเป็นคู่ คราวนี้น้องเลือกคู่ไม่ผิดจริงๆ” “พี่จะคอยดูแลเจ้าให้มีความสุขเองจ้า”

 
นกยูง ได้กำเนิดเป็น ภิกษุผู้ขาดหิริโอตัปปะ
พญานก เสวยพระชาติเป็น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

16  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / กากาติชาดก ชาดกว่าด้วยนางกากี เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2015, 06:26:22 pm

กากาติชาดก ชาดกว่าด้วยนางกากี

ในพุทธกาลสมัย ครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วนั้น พระพุทธองค์มีพระประสงค์จะปักฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง จึงได้เสด็จจาริกออกเผยแผ่พระธรรม โปรดแก่เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายยังดินแดนน้อยใหญ่ชมพูทวีป
 แม้ว่าจะมีอุปสรรคยากลำบากสักเพียงใด แต่พระองค์ก็มิทรงย่อท้อต่อความเหนื่อยยากพระวรกายเลยแม้แต่น้อย จนในที่สุดก็สามารถแผ่พระธรรมคำสอนให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้ยึดถือปฏิบัติเป็นหลักธรรมดำเนินชีวิตใต้ร่มธงธรรมอย่างผาสุก
 ณ พระอารามเชตวันมหาวิหาร ในสาวัตถีนคร ศาสนสถานอันเป็นที่ประทับของพระพุทธองค์นั้นเอง ชาวเมืองหลากตระกูลหลายชนชั้น ต่างเดินทางเพื่อมารับฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาด้วยความปีติยินดี เพราะบังเกิดความเลื่อมใสจนมีผู้คนศรัทธาเข้ามาบวชเป็นภิกษุสงฆ์เจริญภาวนาธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก
 “อ้าว วันนี้มาสมาทานศีล รับฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์ด้วยหรือท่าน” “จะพลาดได้อย่างไรล่ะท่าน โอกาสดีๆ ที่จะได้รับฟังพระธรรมจากพระพุทธองค์น่ะ ถือเป็นบุญวาสนาของพวกเราเลยล่ะ ดูซิ ชาวบ้านมากันเนืองแน่น โอ้โห! ทุกคนก็ล้วนอยากฟังพระพุทธโอวาทจากพระองค์ทั้งนั้นแหละ ช่างน่าชื่นใจจริงๆ” “งั้นก็รีบเข้าไปในโรงธรรมสภากันเหอะ จะได้นั่งแถวหน้า จะได้เห็นพระพุทธองค์ชัดๆ”
  ในครานั้น ยังมีภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง มีความกระสันอยากจะสึก พระพุทธองค์จึงเมตตาเรียกให้ภิกษุหนุ่มมาเข้าเฝ้า เพื่อให้พุทธโอวาท “ดูก่อนภิกษุ จริงหรอที่ว่า เธอไม่ยินดีต่อการบวชในสมณะเพศเสียแล้ว” “ข้าแต่องค์พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นความจริงพระเจ้าข้า” “ดูก่อนภิกษุ แล้วเหตุอันใดเล่าที่ทำให้เธอกระสันอยากละจากเพศบรรพชิตเสียเล่า”
 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ไม่สามารถละกิเลสที่เกาะกุมจิตใจได้ อยู่ไปก็มีแต่จะทำให้พระศาสนาเสื่อมเสีย เหตุนี้ข้าพระองค์จึงอยากสึกพระเจ้าค่ะ” จากนั้นพระพุทธองค์จึงให้ธรรมโอวาทเตือนสติแก่ภิกษุหนุ่มผู้กระสันจะสึกว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่ามาตุคาม อันเป็นสตรีเพศนั้น ไม่ว่าผู้ใดก็รักษาไว้ไม่ได้
 แม้แต่บัณฑิตในสมัยโบราณครั้งก่อน จะยกมาตุคามนี้ขึ้นไปไว้ยังวิมานฉิมพลี ท่ามกลางด้วยมหาสมุทรแล้วไซร้ ก็ยังมิอาจจะรักษาสตรีผู้นั้นไว้ได้เช่นกัน เธอจงตรองดูเถิด” แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ นำ กากาติชาดก มาสาธกแก่ภิกษุหนุ่ม พร้อมเหล่าสาวกดังนี้
 ย้อนไปในอดีตกาล ก่อนยุคพุทธกาลสมัย ณ ดินแดนพาราณสีนคร ภายใต้ร่มฉัตรแห่งพระเจ้าพรหมทัตทรงครองราชย์สมบัติอยู่นั้น ในวาระเดียวกันนี่เอง พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ บังเกิดอยู่ในครรภ์ของพระอัครมเหสีแห่งพระเจ้าพรหมทัตนั่นเอง
ครั้นเมื่อทรงเจริญวัยแล้วนั้น ก็เกิดเหตุการณ์อันน่าโทมนัสยิ่งนัก “เสด็จพ่อ ฮือ สวรรคตเสียแล้ว ฮือๆๆๆ เสด็จพ่อ ฮือๆๆๆ เสด็จพ่อ ฮือๆๆ” หลังจากที่พระเจ้าพรหมทัต พระราชบิดาสวรรคตสู่สวรรคาลัยแล้วนั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้ทรงครองราชย์เป็นพระราชาแห่งพาราณสีสืบต่อมา
จากนั้นไม่นาน พระราชาหนุ่มก็ทรงอภิเษกกับพระนาง กากาติ เป็นอัครมเหสี ผู้มีพระสิริโฉมงดงาม เปรียบประหนึ่งดุจนางเทพอัปสรแห่งสรวงสวรรค์ก็มิปาน จนเป็นที่ร่ำลือกันทั่วพระนคร
 “จริงหรือไม่ ที่ผู้คนในเมืองนี้ เขาร่ำลือกันนักกันหนาว่า พระมเหสีของพระราชานั้นน่ะ สวยงามราวกับนางฟ้า นางสวรรค์เลยทีเดียว” “โอ๊ย ท่านเอ้ย งามสุดจะบรรยายเลยล่ะ เกิดมาน่ะไม่เคยพบไม่เคยเห็นผู้หญิงที่ไหนสวยขนาดนี้ มองซ้ายมองขวา ไม่ว่ามุมไหนๆ ก็สวยไปหมดเลย ถ้าท่านเห็นนะ รับรองตาค้างแน่ๆ”
“ว่าแล้วก็ชักอยากจะเห็นเป็นบุญตาสักครั้งนึง” “โอ๊ย อย่างท่านอะนะ คงไม่มีบุญซะล่ะ มองข้าแทนก็แล้วกันนะ ข้าก็สวยพอไปวัดไปวาได้นะ เฮอะๆๆๆ” “อุ่ย เห็นแล้วสยอง”
  ในครานั้นมีพญาครุฑตนหนึ่ง มีนิสัยชอบเล่นสกาอยู่เป็นนิจ มักแปลงร่างเป็นมนุษย์มาเล่นสกากับพระเจ้าพาราณสีพระโพธิสัตว์ ฉับพลันที่ได้ยลพระสิริโฉมของพระอัครมเหสี ก็มีจิตปฏิพัทธ์หลงใหลในความงามนั้น บังเกิดเป็นความสิเน่หาจนยากจะทอดถอนใจได้
  “โอ้ ช่างสวยงามอะไรเช่นนี้ อื้ม! ช่างงามสมคำร่ำลือจริงๆ นี่เราตกหลุมรักนางตั้งแต่แรกเห็นเลยหรือเนี่ย” ฉับพลันกิเลสก็เกาะกุมจิตใจพญาครุฑ บันดาลความคิดลอบลักพาตัวพระอัครมเหสีไปยังวิมานฉิมพลี อันเป็นที่พำนักของตน โดยที่พระราชาโพธิสัตว์ไม่ได้ระแวงแม้แต่นิดเดียว
  และแล้วพญาครุฑลักพานางกากาติไปยังสู่สุบรรณภพของตนได้สำเร็จ “ฮ่าๆๆๆ มาอยู่กับพี่เถอะ ยอดยาหยี พี่เนี่ยจะใช้สองปีกโอบอุ้มเจ้าให้มีความสุข ฮ่าๆๆๆๆ” ไม่มีสิ่งใดจะต้านทานแรงกิเลสปรารถนาในใจของพญาครุฑได้
 เมื่อไปถึงวิมานฉิมพลีของตน พญาครุฑก็ใช้กำลังบังคับพระนางกากาติ หมายจะให้นางตกเป็นของตน และแล้วพระนางกากาติก็มิอาจต้านทานแรงกิเลสราคะของพญาครุฑได้ ในที่สุดพญาครุฑก็ได้ร่วมอภิรมย์กับพระนางกากาติ สมดังใจปรารถนา
ฝ่ายพระราชานั้น เมื่อไม่เห็นพระนางกากาติ พระอัครมเหสีตนก็กระวนกระวายใจด้วยความเป็นห่วง แม้นแต่ถามเหล่าขุนนางอำมาตย์ ทหารก็มิมีผู้ใดพานพบ “พวกท่านทั้งหลาย มีใครพบเห็นพระนางกากาติ มเหสีของเราบ้างไหม” “ข้าพระองค์ให้ทหารค้นทุกซอกทุกมุมพระราชวังก็ไม่เห็นพระมเหสีเลยพะย่ะค่ะ”
 เมื่อค้นหาจนทั่วพระนครแล้วก็ไม่มีวี่แววของพระอัครมเหสีเลยแม้แต่น้อย พระราชาจึงตรัสเรียกคนธรรพ์ นามว่า นฏกุเวร มาเข้าเฝ้าเพื่อให้ค้นหา พระมหาเทวี “นฏกุเวร เจ้าจงไปค้นหามเหสีของเรากลับคืนมาให้ได้โดยเร็วนะ” “รับด้วยเกล้าพระเจ้าค่ะ”
นฏกุเวร คนธรรพ์นั้น ล่วงรู้ว่า แท้ที่จริงแล้ว พญาครุฑที่จำแลงแปลงกายมาเป็นมนุษย์ เพื่อมาเล่นสกากับพระราชา คือ ผู้ที่ลักพาตัวพระนางกากาติ อัครมเหสีไป จึงคิดวางอุบายหาทางพาพระนางกากาติกลับมา “จะทำยังไงดีหน๊า ถึงจะไปรังเจ้าครุฑได้น่ะ อ้า! คิดออกแล้ว” นฏกุเวร นั้น แอบนอนซุ่มอยู่ในดงตะไคร้น้ำ ข้างสระแห่งหนึ่ง ที่ซึ่งพญาครุฑนั้นมาเล่นน้ำเป็นประจำ
 เมื่อขึ้นจากสระ นฏกุเวร จึงได้แอบเกาะอยู่ในระหว่างปีกของพญาครุฑ ด้วยร่างกายอันใหญ่โต พญาครุฑจึงไม่ได้ทันสังเกต หรือเอะใจเลยแม้แต่น้อย ในที่สุดก็บินกลับมายังสุบรรณภพ วิมานฉิมพลีของตน “พี่กลับมาแล้วจ้า น้องหญิงจ๋า” “ฮึๆๆๆ ในที่สุดแผนของเราก็ได้ผล ฮ่าๆๆๆ เจ้าครุฑนี่ช่างโง่เขลาจริงๆ ตัวใหญ่ซะเปล่า ฮึบ”
 เมื่อพญาครุฑเผลอ นฏกุเวร ก็หลบออกจากปีกของพญาครุฑแล้วหลบซ่อนตัว จนพญาครุฑลงไปเล่นสกากับพระราชายังเมืองมนุษย์ ตนจึงลอบเข้าไปยังตำหนักเพื่อพบกับพระนางกากาติ “น้องหญิงจ๋า พี่ขอไปเล่นสกาซักแป๊บนะจ๊ะ เดี๋ยวกลับมาจะหาของอร่อยๆ มาฝากนะจ๊ะ”
  “ฮ่าๆๆๆ ทีของเราแล้ว ทางสะดวก ฮิๆๆๆ” แต่ทว่าทันทีที่ นฏกุเวร ได้ยลความงามของพระนางกากาติ ก็พลันเกิดกิเลสต้องตาต้องใจ จนสุดที่จะห้ามใจได้ดั่งเช่นพญาครุฑ “โห งามยิ่งกว่าหญิงใดในโลก งามดุจดั่งนางฟ้านางสวรรค์ โอ้! เห็นแล้วสุดจะห้ามใจได้ น้องนางกากาติ นางฟ้าของพี่ ช่างงดงามบาดใจข้าเหลือเกิน”
 นฏกุเวร เห็นสบโอกาสก็ไม่รอช้า เข้าไปกระทำการเคล้าคลึงด้วยกิเลสกับพระเทวีในทันที เสร็จสมอารมณ์ปรารถนาแล้ว นฏกุเวร ก็หลบซ่อนตัว แล้วพอสบโอกาสก็แอบเกาะปีกพญาครุฑกลับมายังเมืองพาราณสีเหมือนเดิม “เจ้าพญาครุฑเอ๋ย ตัวโตซะเปล่าจะคิดบ้างไหม ว่าจะเป็นพาหนะให้ข้า ทั้งขามาและขากลับ โฮ้ย! รับส่งถึงที่เลย ฮ่าๆๆๆ”
 วันหนึ่งในขณะที่พญาครุฑแปลงร่างลงเล่นสกากับพระราชาอย่างเคยนั้น คนธรรพ์ นฏกุเวร ก็แสร้งทำทีถือพิณมาที่สนามสกา พร้อมขับกล่อมดนตรีเป็นทำนองเพลงว่า “หญิงคนรักของเราอยู่ ณ ที่แห่งใด กลิ่นของนางยังคงหอมฟุ้งมาจากที่แห่งนั้น ใจของเรายินดีในนางใด นางนั้นชื่อ กากาติ ซึ่งอยู่ไกลจากที่แห่งนี้”
 พญาครุฑเมื่อได้ฟังก็ตกใจ ว่าเหตุไฉนคนธรรพ์นี้ ถึงได้รู้ความจริงที่ตนนั้น ลักพาพระนางกากาติ จึงเอ่ยถามเป็นนัยว่า “ท่านข้ามทะเลไปได้ยังไง” “เราข้ามไปได้ก็เพราะท่าน” “แล้วไหนจะแม่น้ำเกปุระล่ะ ท่านข้ามไปได้อย่างไร” “เราข้ามแม่น้ำไปได้เพราะท่าน” “แล้วท่านข้ามทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาลอีกตั้ง 7_แห่งไปได้ยังไงกัน” “เราข้ามทะเลทั้ง 7 แห่งได้ก็เพราะท่านอีกนั่นแหละ” “หา! แล้วท่านขึ้นไปยังวิมานฉิมพลีได้ยังไง” “ฮึ้ย! ก็ท่านอีกนั่นแหละ ที่นำเราขึ้นไป ฮ่าๆๆๆ เราเกาะอยู่ในระหว่างปีกของท่าน
 กระทำการกิจทั้งปวงนี้ เพราะท่านเป็นผู้ชักนำเราไป” พญาครุฑพอทราบความจริงแล้วก็ถึงกับกล่าวติเตียนตนด้วยความเสียใจว่า “อันตัวเราเอง ก็มีร่างกายใหญ่โตซะเปล่า ช่างไม่มีความคิดซะเลย ปล่อยให้ชายชู้ใช้เป็นพาหนะใช้ไปหาเมียทั้งขาไป
และขากลับ โอ่ย น่าเจ็บใจตัวเองซะจริงๆ”
ด้วยความละอายใจ พญาครุฑก็เนรมิตกายคืนร่างดั่งเดิม แล้วบินกลับไปสู่สุบรรณภพ วิมานฉิมพลีของตน พาพระนางกากาติมาส่งคืนพระราชา แล้วก็ไม่หวนคืนมาเล่นสกากับพระราชาและเหล่ามนุษย์อีกเลย
พระพุทธองค์เมื่อตรัสชาดกแก่ภิกษุหนุ่มผู้กระสันอยากสึก พร้อมเหล่าพุทธสาวกทั้งหลายจบแล้ว ภิกษุหนุ่มผู้กระสันอยากสึกก็น้อมนำพุทธโอวาทฟื้นคืนสติกลับมาเจริญภาวนา จนในที่สุดก็บรรลุโสดาปัตติผล

 
 
พุทธกาลครั้งนั้น นฏกุเวร กำเนิดเป็น ภิกษุผู้กระสันอยากสึก
พระราชา เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
 
พระคาถาประจำชาดก
วาติ จายํ ตโต คนฺโธ ยตฺถ เม วสตี ปิยา
ทูเร อิโต หิ กากาติ ยตฺถ เม นิรโต มโน ฯ
หญิงคนรักของเราอยู่ ณ ที่แห่งใด
กลิ่นของนางยังหอมฟุ้งมาจากที่แห่งนั้น
ใจของเรายินดีในนางคนใด
นางคนนั้นชื่อกากาติ อยู่ไกลจากที่นี้ไป
 
กถํ สมุทฺทมตริ กถํ อตริ เกปุกํ
กถํ สตฺต สมุทฺทานิ กถํ สิมฺพลิมารุหิ ฯ
ท่านข้ามทะเลไปได้อย่างไร
ท่านข้ามแม่น้ำชื่อเกปุกะไปได้อย่างไร
ท่านข้ามสมุทรทั้ง 7 ไปได้อย่างไร
ท่านขึ้นต้นงิ้วได้อย่างไร
 
ตยา สมุทฺทมตรึ ตยา อตริ เกปุกํ
ตยา สตฺต สมุทฺทานิ ตยา สิมฺพลิมารุหิ ฯ
เราข้ามทะเลไปได้เพราะท่าน
ข้ามแม่น้ำชื่อเกปุกะไปได้เพราะท่าน
ข้ามสมุทรทั้ง 7 ไปได้เพราะท่าน
ขึ้นต้นงิ้วได้เพราะท่าน
 
ธิรตฺถุ มํ มหากายํ ธิรตฺถุ มํ อเจตนํ
ยตฺถ ชายายหํ ชารํ อาวหามิ วหามิ จาติ ฯ
กากาติชาตกํ สตฺตมํ ฯ
น่าติเตียนตัวเราผู้มีกายใหญ่โต
น่าติเตียนตัวเราผู้ไม่มีความคิด
เพราะว่าเราต้องนำมาบ้าง ซึ่งชู้ของเมียตนเอง
17  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / โภชาชานียชาดก-ชาดกว่าด้วยความเพียรอันยิ่งใหญ่ เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2015, 06:11:42 pm

โภชาชานียชาดก-ชาดกว่าด้วยความเพียรอันยิ่งใหญ่

พุทธกาลครั้งนั้น ณ เชตวันมหาวิหารในนครสาวัตถี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระเมตตาธิคุณต่อพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งกำลังเบื่อหน่ายคลายความเพียรลง ทรงอนุเคราะห์ด้วยพุทธวาจาว่า
 “ดูก่อนภิกษุ บัณฑิตในกาลก่อนนั้นได้ทำความเพียรที่ไม่น่าจะทำได้ แม้ได้รับบาดเจ็บสาหัสเพียงใด ก็มิได้ละความเพียร” แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงระลึกชาติด้วย บุพเพนิวาสนุสติญาณด้วยชาดกขึ้นเรื่องหนึ่ง โภชาชานียชาดก ความเพียรอันยิ่งใหญ่
 โภชาชานียะสินธพ ม้ามงคลแห่งนครพาราณสีได้กระทำความเพียรอันยิ่งใหญ่ แม้ได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสแต่ก็ไม่ละความเพียร พระเจ้าพรหมทัตผู้ปกครองนครพาราณสี แผ่นดินอันกว้างใหญ่สมบูรณ์มั่งคั่ง ยากยิ่งจะหาเมืองใดเปรียบ
นอกจากปราสาทพระราชมณเฑียรอันยิ่งใหญ่แล้ว อาชาสง่างาม นาม “โภชาชานียะ” ก็ถือเป็นสมบัติล้ำค่าที่เจ้าเมืองอื่น ๆ ต้องการหวังครอบครอง โภชาชานียะ ม้าในตระกูลสินธพซึ่งบังเกิดจากพระโพธิสัตว์มีพละกำลังเลิศกว่าม้าทั้งปวง
  วิ่งเร็วดุจสายฟ้า หากแม่ทัพผู้ใดได้ควบก็สามารถรบชนะได้ทั้งสิบทิศ พละกำลังความสามารถของโภชาชานียะเป็นที่ร่ำลือไปทั่วสารทิศ วันเวลาล่วงเลยผ่านไป พระเจ้าพรหมทัตจากเจ้าเมืองหนุ่มสง่างามก็ร่วงเข้าวัยชรา
 แม่ทัพนายกองคู่พระทัยก็ล้วนแก่เฒ่าลงเช่นกัน เป็นโอกาสให้เจ้านครทั้ง 7_เมืองในชมพูทวีปร่วมมือกันนำทหารเข้าล้อมหวังยึดนครพาราณสี และอาชาโภชาชานียะทรัพย์สมบัติที่มีค่ามหาศาล
 “เจ้าเมืองทั้ง 7 มีหนังสือแจ้งมาว่า ท่านจะยอมสละราชบัลลังก์แต่โดยดีหรือจะสละด้วยน้ำตา ฮ่าๆๆๆๆ” “เฮ้ย ไอ้ทูตคนนี้ มันกล้าพูดกับพระราชาของเราถึงเพียงนี้เชียวหรือ อวดดีมากไปแล้ว” “หนอย มาคนเดียวยังกล้า” “เสียบมันข้างหลังเลยมั้ยพี่”
  “ได้ข่าวว่าท่านมียอด อาชาไม่ใช่หรือ? แน่จริงก็ควบออกไปรบเลยซิ อยากจะเห็นนัก ว่าแน่สักแค่ไหน” “ข้าไม่ยอมให้ใครมารังแกง่าย ๆ หรอก แล้วพวกท่านจะได้เจอดีเหมือนกัน”
 หลังจากที่ทูตกลับไป พระเจ้าพรหมทัตทรงเรียกประชุมอำมาตย์ราชมนตรีทั้งหมด “หากปล่อยให้ เจ้าเมืองทั้ง 7_นำทหารมาบุกยึดชาวบ้านต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมากแน่ ๆ พวกท่านว่าควรจะทำอย่างไรดี?” “ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระบาทจะขอสละตัวเองทำลายกองพลทั้ง....ก่อนที่พวกมันจะเข้ามาบุกยึดเมืองเราเองพะย่ะค่ะ”
 “ทำเพียงคนเดียวจะรับศึกใหญ่ครั้งนี้ได้รึ?” “ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าข้าพระบาทได้ม้าโภชาชานียะแล้วไซร้ พระราชาทั้ง 7 พระองค์ก็มิเกินความสามารถของข้าพระบาทได้หรอกพะย่ะค่ะ” “ถ้าท่านมั่นใจเช่นนั้น ม้าสินธพโภชาชานียะหรือม้าอื่นก็เอาเถิด ชีวิตเราและพาราณสีอยู่กับท่านแล้ว ขอให้มีชัยกลับมาเถิด”
 นายทหารม้านั้น รับพระดำรัสแล้วก็ถวายบังคมพระราชาลงจากปราสาท นำม้าสินธพโภชาชานียะมา แล้วก็ผูกสอดเกราะทุกอย่าง เหน็บพระขันธ์ขึ้นหลังม้าออกจากพระนครไป ประดุจฟ้าแลบ นายทหารม้านำทหารเข้าโจมตีข้าศึกทัพแรกอย่างรวดเร็วและรุนแรงดุจธนูยักษ์
 “เอ้า! บุกเข้าไปพวกเรา จับตัวเจ้าเมืองให้ได้” “เฮ้ย! เจ้าม้า เอ็งมาวิ่งแซงข้าได้ไงว่ะ เอ็งต้องให้ข้านั่งควบไปซิโว้ย” “รอด้วย ม้าข้ามันวิ่งช้า” แค่ชั่วพริบตาเดียว ม้าสินธพโภชาชานียะและนายทหารม้าผู้กล้าหาญ ก็สามารถทะลวงเข้ามากลางค่ายข้าศึกกองทัพแรกได้ และจับเจ้าเมืองมาได้อย่างง่ายดาย
 “ข้าพระบาท จับตัวเจ้าเมืองกองทัพแรกมาให้แล้วพระเจ้าค่ะ” “เก่งมาก... ขอให้เจ้าโชคดี ได้รับชัยชนะปราบอีก 6 กองทัพให้ได้” เมื่อจับราชาองค์ที่หนึ่งได้และนำเข้าสู่พระนครแล้ว นายทหารม้าและอาชาโภชาชานียะก็บุกตะลุยตีค่ายอื่นๆ ต่อไป จนจับพระราชาได้ถึง 5 พระนคร
 “โอ้ย! มันเก่งจริงๆ เลยว่ะ ไม่น่าเลยเรา ปล่อยเราไปเถอะ เราโดนมันบังคับมา” “ทีตอนนี้มาทำโอดครวญ อยู่ในคุกไปเถอะพวกเจ้า ไปเถอะเจ้าโภชาชานียะ เราไปทำลายกองทัพที่ 6 กันต่อ” นายทหารม้าควบอาชาโภชาชานียะ ต่อสู้กับกองทัพที่ 6 อย่างสุดกำลัง จนสามารถจับตัวพระราชามาได้
  แต่อนิจจาการทำศึกกับกองทัพที่ 6 นี้ อาชาโภชาชานียะเสียหลักได้รับบาดเจ็บสาหัส “โธ่เว้ย! เหลืออีกเพียงค่ายเดียวเท่านั้นเอง เฮ้อ! ในเมื่อเจ้าบาดเจ็บสาหัสถึงเพียงนี้ก็พักเถอะ เราจะควบม้าตัวอื่นไปแทนก็ได้
 “โอ้โฮ! โดนเยอะเหมือนกันนะเนี่ย มีตั้งหลายแผลแน่ะ” “หือ! เลือดเต็มเลยอ่ะ น่ากลัว...” “เจ้าเนี่ย เป็นทหารเสียเปล่า ใจเสาะจริง ๆ เหอะ ไปดีกว่า เห็นแล้วจะเป็นลม” “เพื่อนเอ๋ย นอกจากเราแล้วไม่มีม้าตัวไหนที่จะพาเจ้าไปทำลายค่ายที่ 7 ของศัตรูได้หรอก”
 ถึงแม้อาชาโภชาชานียะจะบาดเจ็บสาหัสเพียงใด แต่ก็ยังมีความเพียรไม่หวาดหวั่นต่อความเจ็บปวด เนื่องด้วยรู้ว่ามีเพียงตนเองเท่านั้นที่จะพานายทหารผู้กล้าออกรบจนชนะได้ “หากว่าเรายอมแพ้ต่อการเจ็บปวดเสียตั้งแต่ตอนนี้ ทัพเราก็คงต้องพ่ายแพ้
 พระเจ้าพรหมทัตก็จะเป็นอันตราย เราจะไม่ยอมแพ้ เราจะเพียรพยายามต่อสู้จนชนะข้าศึกทั้งหมดให้ได้ ไปเถอะนักรบผู้กล้า ไปทำลายค่ายที่ 7_ด้วยกัน” อาชาโภชาชานียะ ทนต่ออาการบาดเจ็บ ฮึดสู้จนจับพระราชาได้ เมื่อมาถึงทวารหลวงก็สิ้นแรงล้มลง
  “โอ้! ไม่ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่าทรงฆ่าพระราชาทั้ง 7 เลย จงให้กระทำสาบานแล้วปล่อยไป แม้พระองค์ก็จงทรงบำเพ็ญทาน รักษาศีล ทรงครองราชย์สมบัติโดยธรรมเถิด” ด้วยพระบารมีแห่งพระโพธิสัตว์ คำสั่งเสียในสำนึกของอาชาโภชาชานียะ ก็รู้แจ้งในพระทัยของราชาพรหมทัตทุกประการ
 เมื่อสั่งเสียเสร็จอาชาโภชาชานีย ก็จากโลกไปอย่างสงบสุข พระเจ้าพรหมทัตโปรดให้ทำพิธีส่งม้าสินธพโภชาชานียะ อย่างสมเกียรติ และได้ประทานยศใหญ่แก่นายทหารม้าและทรงทำตามคำสั่งเสียของอาชาโภชาชานียะ ครองราชย์โดยทศพิธราชธรรมตลอดพระชนม์ชีพ

 
“ดูก่อนนายสารถี ม้าสินธพอาชาไนยถูกศรแทงแล้ว
แม้นอนตะแคงอยู่ข้างเดียวก็ยังประเสริฐกว่าม้าสามัญ
ท่านจงประกอบการรบให้สำเร็จเถิด”
 
พระเจ้าพรหมทัต ต่อมาเป็น พระอานนท์
แม่ทัพม้า ต่อมาเป็น พระสารีบุตร
ม้าโภชาชานีย คือ อดีตชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า
18  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ปัญจาวุธกุมาร-ชาดกว่าด้วยการทำความเพียร เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2015, 02:55:32 pm

ปัญจาวุธกุมาร-ชาดกว่าด้วยการทำความเพียร

 ขณะเมื่อพระพุทธศาสดาประทับในมหาวิหารทรงแจ้งในพระญาณว่า ยังมีภิกษุเกียจคร้านอาศัยครองเพศสมณะไปวันๆ ทรงตักเตือนด้วยพุทธโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุ แม้ในกาลก่อนบัณฑิตทั้งหลายกระทำความเพียร ในที่ที่ควรประกอบความเพียร ก็ยังบรรลุถึงราชสมบัติได้” ทรงระลึกชาติของพระองค์ด้วยชาดกเรื่องหนึ่งส่งเสริมพุทธโอวาทเกี่ยวกับความเพียรนั้น
 อดีตกาลนานมาในแผ่นดินพระเจ้าพรหมทัตนั้น กรุงพาราณสีร่มเย็นเป็นสุขด้วยราชธรรม ชาวเมืองใกล้ไกลเดินทางค้าขายไปมาหาสู่กันอย่างปลอดภัยเป็นอันดี ทุกคนอาศัยเส้นทางที่ตัดผ่านทุ่งโล่ง ผ่านหมู่บ้านมากมายไปยังพรหมแดนเมืองพาราณสี ไม่มีใครที่กล้าเสี่ยงเดินออกนอกเส้นทางผ่านป่าดงดิบที่ถึงแม้จะเป็นเส้นทางลัดเลยสักคน
  เจ้าชายเมืองพาราณสี นาม “ปัญจาวุธกุมาร” พระราชโอรสองค์เดียวของพระเจ้าพรหมทัต หลังจากได้สำเร็จการเรียนศิลปะวิทยาการจากสำนักทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลาแคว้นคันธาระแล้ว ก็ได้เดินทางกลับพระนครเพียงลำพังพร้อมอาวุธประจำกาย ด้วยความปรารถนาให้ถึงกรุงพาราณสีโดยเร็ว
 เพื่อจะได้เข้าเฝ้าพระราชบิดาก่อนตะวันตกดิน เจ้าชายจึงทรงเลือกใช้เส้นทางลัดผ่านป่าดงดิบเข้าไปยังกล้าหาญมิเกรงกลัวอันตรายใดๆ “อืม..ใช้เส้นทางลัดดีกว่า จะได้ไปเข้าเฝ้าพระบิดาได้โดยเร็ว” เจ้าชายปัญจาวุธกุมาร ทรงมีความวิริยะและสติปัญญาเป็นเลิศ มีศิลปะวิทยาการชั้นสูงทางอาวุธทั้งที่อยู่ในวัยหนุ่มเพียง 18_ปี เท่านั้นเมื่อครั้งประสูติโหรหลวงได้ถวายคำทำนายว่า
 "พระโอรสจะเป็นบุรุษที่เลิศทางปัญญา และเชี่ยวชาญศาสตราวุธอย่างไร้ผู้เทียมทาน “ข้าพเจ้าขอถวายคำทำนายว่า พระโอรสจะเป็นบุรุษที่เปี่ยมล้นไปด้วยปัญญา และความสามารถทางศาสตราวุธอย่างหาผู้เทียมทานได้ยาก พระเจ้าค่ะ” ความสามารถด้านศาสตราวุธของเจ้าชายคือ ทรงยิงธนูได้ราวห่าฝน พุ่งหอกซัดได้ไม่พลาดเป้า
  ตีกระบองได้หนักดุจทะลายขุนเขา และใช้พระขันธ์ได้ดีเท่ายอดขุนศึกผู้นำทัพ ด้วยความสามารถเหล่านี้จึงไม่ได้ทรงหวั่นเกรงต่ออันตรายใดๆ ในป่าดงดิบที่จะผ่านเข้าไป แม้จะทรงทราบมาก่อนแล้วว่า ไม่เคยมีผู้ใดที่เข้าไปในป่าดงดิบนี้แล้วรอดชีวิตออกมาได้ ระหว่างทางพระองค์ทรงพบกับพ่อค้าวาณิชที่ต่างห้ามปรามด้วยความห่วงใย
 “อย่าเข้าไปเลยเชื่อเราเถอะ ยอมเดินอ้อมภูเขาลูกนี้สัก_3-4_วันจะปลอดภัยกว่า” “มันคือป่ามรณะ ท่านไม่รู้หรือ เราไม่เคยเห็นใครผ่านออกไปได้เลยนะ” “ใช่ ท่านเปลี่ยนใจเสียเถอะ” “ขอบคุณนะ ทั้งสองที่ห่วงใยน่ะ ข้าสัญญาว่าจะไม่ประมาทต่อสิ่งที่อยู่ภายในป่าข้างหน้านั่น อย่าได้ห่วงเลย”
 เมื่อห้ามปรามไม่ได้ กองพ่อค้าวาณิชจึงต้องจำยอมและเดินทางจากไป  “ข้าเป็นศิษย์สำนักทิศาปาโมกข์ มีวิชาของครูบาอาจารย์คุ้มครอง ข้าไม่ขอยอมแพ้ต่ออุปสรรคใด ๆ” เจ้าชายแห่งพาราณสีเร่งเดินทางลงจากทุ่งหญ้ามายังประตูป่า ทรงพบว่ามันเป็นป่าทึบที่เงียบเชียบผิดไปจากป่าทั่วไป
 พระองค์จึงผ่านประตูป่าเข้าไปด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท การเดินทางผ่านป่าแห่งความตายเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องใช้พระขันธ์ตัดกิ่งหนามบ้าง เถาวัลย์บ้าง หลายครั้งทรงถูกกิ่งไม้และหนามทิ่มตำจึงเกิดบาดแผล แต่เจ้าชายก็ไม่ได้ทรงย่อท้อจนกระทั่งถึงป่าโปร่งสิ่งที่ได้เห็นทำให้เจ้าชายตกใจเป็นอย่างมาก
 “ฮ่า! บ้านต้นไม้  ใครกันที่มีพละกำลังมากขนาดนี้ ผืนดินก็ราบเรียบเหมือนโดนสิ่งที่มีน้ำหนักกดทับบ่อย ๆ เฮ้ย! ไม่น่าเชื่อเจอเท้ายักษ์ที่แท้ตัวอันตรายในป่านี้ก็คือยักษ์นั่นเองเหรอ” เมื่อพระโอรสปัญจาวุธกุมารรู้ว่าในป่านี้มียักษ์ จึงตั้งสติมั่นคงไว้ รีบมองสำรวจไปรอบๆ ด้าน
  ภาพที่เห็นคือกระดูกเศษเนื้อสัตว์และมนุษย์ ถูกแทะกินทิ้งไว้มากมาย มีทั้งของเก่าเป็นซากค้างปีและซากใหม่ที่ยังสดๆ เหม็นกลิ่นคาวคละคลุ้ง “คุณพระช่วย! นั่น! นั่น! นั่นมันยักษ์กินคนนี่”  “ฮ่าๆๆๆ ไอ้มนุษย์น้อย ฮ่าๆๆๆ ผ่านเข้ามาให้ข้ากินอีกคนแล้ว เหอะ ฮ่า ๆๆๆ”
 “ฝันไปเหอะ เจ้าไม่มีทางได้กินเราหรอก”  “จะสู้เหรอ เหอะ ฮ่าๆๆๆ ข้าคือสิเลสโลม มีขนเป็นเกราะกายสิทธิ์ เจ้าจะทำอะไรข้าได้ เหอะ ฮ่าๆๆๆ ไม่มีอาวุธใด ทำอันตรายข้าได้” “งั้นก็ลองชิมศรเหล็กอาบยาพิษของทิศาปาโมกข์หน่อยละกัน” “ห๊า!” ลูกธนูของเจ้าชายไม่สามารถทำอะไรเจ้ายักษ์ได้
   “ถ้าอย่างนั้นก็ดูธนูวิเศษของเจ้า กระจอกจริงๆ ฮ่าๆๆๆ” แม้ลูกธนูจะทำอะไรยักษ์ไม่ได้ แต่เจ้าชายก็ไม่ได้หวาดกลัวหรือท้อถอยแต่อย่างใด ยังคงงัดความสามารถที่มีอยู่ต่อสู้กับเจ้ายักษ์ต่อไป “ธนูสายฝนแห่งตักศิลา” “ห๊า เป็นไปได้ไงเนี่ย? ”
   “ฮ่าๆๆๆ จั๊กกะจี้ว่ะ นี่เหรอ ธนูสายฝนของเจ้า ข้านึกว่านุ่นซะอีก ฮ่าๆๆๆๆ เฮ้ย!..ข้าขี้เกียจเล่นกับเจ้าแล้ว มาให้ข้าหม่ำซะดี ๆ เจ้ามนุษย์น้อย มามะๆๆ ฮ่า ๆๆๆๆ” “ไม่มีทางหรอกเจ้ายักษ์ตะกละ ลิ้มรสพระขันธ์ของเราแทนล่ะกัน นี่!” “ฤทธิ์มากเหลือเกิน” เจ้าชายปัญจาวุธ ทรงใช้เพลงอาวุธที่ร่ำเรียนมาโถมเข้าใส่ยักษ์อย่างไม่เกรงกลัว
 แม้ว่าอาวุธของพระองค์จะไม่สามารถทำอะไรเจ้ายักษ์ได้ แต่พระองค์ก็ยังทรงมีมานะบุกเข้าไปต่อสู้จนได้โอกาสฟาดพระขันธ์ได้อย่างจัง การต่อสู้อย่างไม่ลดละของเจ้าชาย ทำให้เจ้ายักษ์รู้สึกรำคาญมันจึงใช้มือตบเจ้าชาย จนกระเด็นไปกระทบกับโขดหิน
 เจ้ายักษ์ใช้ขนกายสิทธิ์ของมัน ดูดพระขันธ์ของเจ้าชายไว้ โชคดีที่เจ้าชายมีหอกเป็นอาวุธอีกอย่างหนึ่ง เจ้าชายปัญจาวุธทรงตัดความเจ็บปวดทิ้งไป ฝืนทรงร่างกายหยิบหอกซัดปลายด้ามกระบอกขึ้น เตรียมสู้ต่อไปอีก “นี่เจ้ายังไม่เข็ดอีกหรอ?” “ไม่ เราไม่ยอมแพ้หรอก”
  “ได้เลย เข้ามาสิเจ้ามนุษย์น้อย เจ้าจะทำอะไรข้าได้ ฮ่าๆๆๆ ตายซะไอ้หนุ่มน้อย” “แกนั่นแหละที่ต้องตาย” เจ้าชายปัญจาวุธใช้หอกต่อสู้กับเจ้ายักษ์อีกครั้ง แต่แล้วก็โดนขนกายสิทธิ์ดูดใบหอกไปอีก เหลือแต่เพียงด้ามหอกเท่านั้น เจ้าชายรีบถอยมาตั้งหลักและหาช่องทางจัดการกับยักษ์
 ด้วยด้ามหอก ที่บัดนี้กลายเป็นกระบองอาวุธอีกชนิดหนึ่งที่พระองค์ทรงใช้ได้อย่างเชี่ยวชาญ “โอ่ย! กินยากกินเย็นเหลือเกิน หงุดหงิดแล้วนะโว้ย” ด้วยความโกรธเจ้ายักษ์จึงเนรมิตร่างให้ใหญ่ขึ้นอีก แล้วลงมือไล่จับเจ้าชายปัญจาวุธกินทันที แต่เจ้าชายก็ไม่ยอมแพ้ใช้ไม้กระบองตีเข้าที่มือเจ้ายักษ์อย่างไม่ลดละ
  ร่างเล็กๆ ของพระองค์ไฉนเลยจะต่อสู้กับร่างอันใหญ่โตของเจ้ายักษ์ได้ เจ้ายักษ์ใช้มืออันกำยำคว้าร่างของเจ้าชายไว้ “เก่งนักใช่ไหม๊? ทีนี้เสร็จแน่ บีบอาวุธของเจ้าซะ เดี๋ยวมันจะติดฟันข้า ฮ่าๆๆๆๆ” “เขี่ยทิ้งหรอ? ได้เลย นี่แน่” เจ้าชายปากระบองไปโดนตาของเจ้ายักษ์อย่างเต็มแรง
  “โว่ย จะตายแล้วยังฤทธิ์มากอีกหรอ? ตาข้าเกือบบอดเพราะกระบองเก่าๆ ของเจ้า เฮ่ย! ทนไม่ไหวแล้วนะโว้ย” ยักษ์สิเลสโลมโกรธเจ้าชายมากที่ทำมันบาดเจ็บ จึงตัดสินใจจะกินโอรสปัญจาวุธกุมารซะเดี๋ยวนั้น แต่เจ้าชายก็ไม่ได้หวาดกลัวแต่อย่างใด ทำให้เจ้ายักษ์เกิดความสงสัย
  “เจ้าไม่กลัวตายรึไง? ทำไมถึงไม่กลัวข้าแม้แต่นิด?” “ฮ่าๆ ไอ้ยักษ์โง่ นี่คงไม่เคยได้ยินชื่อของเราปัญจาวุธกุมารสินะ ดีล่ะ วันนี้ร่างของเจ้าแหลกเป็นผงแน่ ฮ่าๆๆๆ” ด้วยกิริยาห้าวหาญแม้กำลังจะถูกกิน ทำให้เจ้ายักษ์ร้ายประหม่า เริ่มระวังตัวเอง “หึๆๆๆ ปัญจาวุธกุมารหรอ เจ้ามีดีอะไร?
 ข้าจะต้องกลัวบอกมาซะซิ ข้าจะสละเวลาฟังเจ้าพล่ามสักนาทีสองนาที เฮอะ ฮ่าๆๆๆ” เจ้ายักษ์หารู้ไม่ว่าอาวุธอีกอย่างที่เจ้าชายมีนั้นก็คือปัญญาที่หลักแหลมของพระองค์นั่นเอง เมื่อยักษ์ร้ายหลงกลอยากรู้ ปัญจาวุธกุมารก็โผซ้ำตามแผนที่คิดไว้ “ฮึๆๆๆ เจ้ายักษ์เอ๋ย ทำไมเราต้องกลัวเจ้า
 ทุกคนเกิดมาก็ต้องตายด้วยกันทั้งนั้น จะตายช้าตายเร็วก็ต้องตายเหมือนกัน แต่เจ้ารู้หรือไม่ว่าในท้องของเราอ่ะ มีวชิราวุธ เฮ้อ ฮ่าๆๆๆๆ” วชิราวุธที่เจ้าชายพูดถึง เป็นอาวุธวิเศษของมหาเทพ ใครโดนอาวุธนี้ทำร้ายจะต้องตายเป็นผงธุลีดั่งสายฟ้าฟาดทุกราย
 “ถ้าเจ้ากินเราเจ้าก็ต้องตายเหมือนกัน เพราะวชิราวุธในกายเราจะบาดไส้พุงของเจ้าเป็นชิ้นๆ ฮ่าๆๆๆๆ เจ้ายักษ์เอ๋ย เราไม่ยอมตายคนเดียวหรอก เจ้าต้องตายไปพร้อมกับเราด้วย มาเลยเจ้ายักษ์รีบกินเราซิ จะได้ตายด้วยกัน เหอะ ฮ่าๆๆๆๆ” เจ้ายักษ์ได้ฟังดังนั้นก็รู้สึกกลัวขึ้นมา
 ร่ายเวทมนต์ย่อร่างตัวเองให้เล็กลงจนขนาดเท่าๆ กับช้าง แล้วปล่อยพระโอรสปัญจากุมารเป็นอิสระ แล้วเดินทางผ่านไปยังกรุงพาราณสีได้ “จะว่าไป ข้าก็ไม่ได้อยากกินเจ้าเท่าไหร่หรอก ตัวเล็กกะจิ๋วหลิว กินไปก็ไม่อิ่ม ครั้งนี้ข้าจะปล่อยเจ้าไปล่ะกัน” ปัญจาวุธกุมารขอบใจยักษ์ แต่ก็ยังไม่จากไปทันที
 เพราะใจที่มีเมตตาจึงอยากปลดปล่อยให้ยักษ์ร้ายพ้นบ่วงกรรม “สิเลสโลม หยุดก่อน เจ้ารู้หรือไม่ว่า เพราะเหตุใดชาตินี้ เจ้าจึงเกิดมาเป็นยักษ์และมีชีวิตอยู่ได้ด้วยเลือดเนื้อของผู้อื่น ต้องทำให้ผู้อื่นล้มตาย เฮ้อ! นับว่าเจ้าเกิดมาเพื่อสร้างกรรมแท้ๆ รู้หรือไม่ว่าเมื่อเจ้าสิ้นชีวิตละโลกนี้ไป
เจ้าต้องไปเกิดในอบายภูมิ ซึ่งก็คือนรก เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรต อสุรกาย แล้วเจ้าก็ต้องเกิดมาเป็นยักษ์อีกแน่ แม้ว่าหมดเวรกรรมจากอบายภูมิ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์อายุของเจ้าก็จะสั้น เหตุเพราะได้ทำลายชีวิตของผู้อื่นไว้มาก” ยักษ์สิเลสโลมนิ่งฟังปัญจาวุธกุมารพูดอย่างสงบ เพราะนี่เป็นการฟังพระธรรมครั้งแรกในชีวิตมัน
“รับปากได้รึไม่ว่า เจ้าจะไม่ฆ่าใครอีกและจะประพฤติธรรมรักษาศีล ศีล 5 มีเพียง 5_ข้อ เท่านั้น เจ้าต้องรักษาไว้ให้มั่นอย่าประมาท จำไว้นะเจ้ายักษ์” “ข้ารับปาก” เมื่อเจ้ายักษ์สิเลสโลมสัญญาว่าจะไม่ทำร้ายใครอีก ปัญจาวุธกุมารก็เก็บอาวุธประจำกายแล้วเร่งเดินทางออกไปจากป่า
นับแต่นั้นมาป่าชายแดนพาราณสีก็ไม่ได้เป็นดินแดนแห่งความตายอีกต่อไป ชาวบ้านช่วยกันผลัดเปลี่ยนเดินทางนำอาหารเข้าไปในป่า ครั้งละมากๆ เพื่อนำไปให้ยักษ์สิเลสโลมที่กลับใจมาบำเพ็ญเพียรได้กินแทนชีวิตคน ชาวบ้านเลิกหวาดกลัวยักษ์ กลายเป็นเพื่อนกันตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา “ขอบใจพวกเจ้าทุกคน อร่อยมาก ฮ่า ๆๆๆๆ”

 
“โย อลีเนน จิตฺเตน    อลีนมนโส นโร
ภาเวติ กุสลํ ธมฺมํ    โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา
ปาปุเณ อนุปุพฺเพน    สพฺพสโยชนกฺขยํ”
 
“คนเราถ้าไม่ย้อท้อ ไม่รวนเร ไม่หดหู่
ก็จะเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคงสามารถฝึกสติให้ดีได้
สมาธิ(Meditation)ก็จะก้าวหน้า บรรลุธรรมขั้นสูงๆ ขึ้นไปตามลำดับ”
 
ยักษ์ในครั้งนั้น ต่อมาคือ องคุลีมาล
ปัญจาวุธกุมาร คือ พระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า

19  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / จุลลกเศรษฐี-ชาดกว่าด้วยความฉลาดในการสร้างฐานะ เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2015, 02:40:47 pm

จุลลกเศรษฐี-ชาดกว่าด้วยความฉลาดในการสร้างฐานะ

ในสมัยพุทธกาลขณะที่องค์พระบรมศาสดาทรงสอดส่องพระพุทธญาณ ณ วัดชีวกัมพวัณ กรุงราชคฤห์เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ผู้ตกทุกข์ดังที่ทรงบำเพ็ญอยู่เป็นนิจ พลันสายพระเนตรทรงเห็นภิกษุหนุ่มจุลลปัณฐกะที่ท้อถอยสิ้นความเพียร เนื่องด้วยมีสติปัญญาทึบ
“เฮ้อ..ทำไมเราถึงได้ด้อยปัญญาเช่นนี้นะ ไม่บรรลุธรรมซะที สึกซะดีกว่า”  พระพุทธองค์จึงทรงเสด็จไปรอภิกษุองค์นี้ที่ซุ้มประตูวัด เทศนาสั่งสอนแล้วทรงเนรมิตผ้าขาวให้ผืนหนึ่ง “เจ้าจงบริกรรมภาวนาและลูบคลำผ้าขาวนี้อย่าได้ว่างเว้น”
 จากนั้นพระพุทธองค์ก็เสด็จจากไปทิ้งพระหนุ่มไว้ผู้เดียว ภิกษุหนุ่มได้เจริญภาวนาและลูบคลำผ้าขาวตามคำสั่งของพระพุทธองค์ได้มิว่างเว้น มิช้านานผ้าขาวนั้นก็คล้ำมอ พระหนุ่มจึงเกิดความคิด “สังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้สัมผัสแต่สิ่งสกปรก ฮ้า..”
วาระนั้นพระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยพระญาณจึงเปล่งพุทธวาจากับภิกษุหนุ่มได้ยินดุจประทับตรงหน้า “ผ้านั้นเศร้าหมองด้วยธุลีฉันใด ใจของคนเราก็ฉันนั้น เจ้าจงชำระธุลีแห่งจิตใจ คือราคะ โทสะ โมหะ ทั้ง 3_ประการนี้ออกเสียให้สิ้นเถิด”
 รุ่งขึ้นสังฆมณฑลก็ขานพระคุณพระพุทธองค์กันถ้วนหน้า ด้วยเหตุที่เปลี่ยนพระปัญญาทึบให้บรรลุธรรมได้ชั่วยามหนึ่ง “ในกาลอดีตตถาคตก็เคยช่วยเขาให้เกิดปัญญาสร้างฐานะมาแล้ว เดี่ยวเราจะเล่าให้ฟัง ย้อนไปในอดีตกาลกรุงพาราณสีที่รุ่งเรืองและคับคั่งไปด้วยการค้าพาณิชย์
กล่าวกันว่ากรวดทรายกลางถนน ณ ที่แห่งนี้ดุจทองคำและอัญมณีหากใครจะมีปัญญาหยิบเอาไป เศรษฐีผู้หนึ่งนามจุลลกะท่านเป็นบัณฑิตผู้คาดการใดไม่เคยพลาด ด้วยความสามารถในวิชานิมิตพยากรณ์ วันหนึ่งท่านเศรษฐีผู้นี้ได้นั่งรถม้าผ่านกลางใจเมืองเห็นหนูตายอยู่บนพื้นตัวหนึ่ง
ท่านพินิจดูแล้วก็ทำนายออกมา “หากใครมีปัญญาย่อมสามารถนำหนูตายนี้ไปเป็นทุนให้เจริญรุ่งเรื่องได้” มานพหนุ่มคนหนึ่งได้ยินคำที่เศรษฐีบัณฑิตกล่าว ด้วยความศรัทธาจึงเก็บหนูตายนั้นไว้ แล้วเขาก็พบกับป้าใจบุญคนหนึ่ง “พ่อหนุ่มหนูตายตัวนั้นนะ ป้าขอซื้อได้มั๊ย ป้าจะเอาไปให้แมวป้ากิน” “ด้วยความยินดีจ๊ะป้า”
 แล้วมานพหนุ่มก็ได้เงินมา 1 กากนึก จากซากหนูตาย ซึ่งเป็นเงินเพียงน้อยนิดเหลือเกิน จากนั้นเขาก็นำเงินที่ได้ไปซื้อน้ำอ้อยจากไร่เพื่อมาไว้บริการคนเก็บดอกไม้ที่กลับมาจากป่า “ท่านกลับมาจากการเก็บดอกไม้คงเหน็ดเหนื่อยกันแล้ว ดื่มน้ำอ้อยให้ชื่นใจเถิด”
"โอ้ว ชื่นใจเหลือเกิน เจ้าเอาดอกไม้เนี่ยไปเป็นการตอบแทนน้ำใจที่เจ้ามีต่อพวกเราแล้วกัน” ชายหนุ่มนำดอกไม้ที่ได้ไปขาย พอได้เงินมาวันรุ่งขึ้นเขาก็นำเงินไปซื้อน้ำอ้อยอีก ครั้งนี้เขาลงทุนนำเข้าไปบริการถึงในป่า ซึ่งทำให้เขาได้ดอกไม้มามากยิ่งขึ้น
ชายหนุ่มปฏิบัติเช่นนี้อยู่ทุกวัน จนกระทั่งวันหนึ่งในต้นฤดูฝนพายุพัดแรงจนกิ่งไม้หักโค่นเกลื่อนอุทยาน มานพหนุ่มจึงใช้ปัญญาที่ชาญฉลาดอาสาขนกิ่งไม้เหล่านั้นออกมา “อ้าว เด็กๆ มาช่วยชั้นขนกิ่งไม้เหล่านี้หน่อยแล้วจะให้น้ำอ้อยเป็นรางวัล” “เย้ ช่วยกันขนเร็วพวกเราจะได้กินน้ำอ้อยให้ชื่นใจไปเลย ขนๆๆๆ”
 มานพหนุ่มนำกิ่งไม้เหล่านั้นไปขายเป็นฟืนให้กับชายปั้นหม้อ ซึ่งครั้งนี้เขาได้เงินถึง 16 กหาปณะ กับโอ่งขนาดใหญ่อีก 1 ใบ ด้วยน้ำใจอันดีงามเขาจึงนำโอ่งใบนั้นไปใส่น้ำให้เหล่าคนเกี่ยวหญ้าของพาราณสีได้ดื่มกินกัน
ทุกคนซาบซึ้งในน้ำใจของเขาและพร้อมจะให้ความช่วยเหลือทุกครั้งที่เขาต้องการ ถัดจากนั้นอีกไม่กี่วัน มีกองม้าถึง 500_ตัวเข้ามายังพาราณสี ชายหนุ่มจึงขอจองหญ้าจากคนเกี่ยวหญ้าเหล่านั้นไว้ทั้งหมด “ท่านเป็นเจ้าของหญ้าทั้งหมดนี้ใช่หรือไม่ ข้าขอซื้อหญ้าให้ม้าข้ากินหน่อยเถอะ”
“หญ้าทั้งหมดในละแวกนี้เป็นของข้าเอง” ชายหนุ่มได้เงินจากการขายหญ้าทั้งหมด 1000 กหาปณะ แล้วโอกาสในการลงทุนก็เข้ามาหาเขาเอง วันหนึ่งมีเรือสำเภาบรรทุกสินค้าเข้ามาทอดสมอ ชายหนุ่มเห็นเรือเหล่านั้นก็เกิดปัญญาในการลงทุนรีบแต่งกายภูมิฐานแล้วไปเช่ารถม้า
“ลุงข้าขอเช่ารถม้าที่แพงที่สุด” “ได้เลยจ้าพ่อหนุ่ม” มานพหนุ่มได้นำเงินทุนที่มีทั้งหมดไปวางมัดจำสินค้าในเรือบรรทุกสินค้าเหล่านั้นทุกชิ้น “อะไรนะ สินค้าเหล่านี้ถูกท่านจองไว้หมดแล้วเหรอ” “ใช่ถ้าพวกท่านต้องสินค้าไปขายท่านก็ต้องซื้อจากข้า” ภายในวันเดียวชายหนุ่มเจ้าปัญญาก็สามารถหาเงินสดได้ถึง 2 แสน กหาปณะ
มานพหนุ่มที่เคยเป็นแค่ชายข้างถนน มาบัดนี้ได้กลายเป็นเศรษฐีและด้วยความกตัญญูรู้คุณ เขาจึงนำเงิน 1 แสน กหาปณะ ไปกราบขอบคุณท่านจุลลกะเศรษฐีผู้ที่ทำให้เขาได้เงินมามากมายจากการเก็บหนูตายบนถนนแค่เพียงตัวเดียว “เจ้าช่างมีน้ำใจดีงามและช่างเป็นคนกตัญญูรู้คุณ
 ด้วยความดีของเจ้า ข้าจะยกลูกสาวของข้าให้เจ้า ช่วยดูแลลูกสาวของข้าแทนข้าด้วยนะ เหอะๆ” ในกาลต่อมาจุลลกะเศรษฐีก็ได้สิ้นชีวิตไปตามยถากรรม มานพหนุ่มจึงได้แต่งงานครองคู่กับลูกสาวผู้เป็นทายาทเพียงคนเดียวของจุลลกะเศรษฐีอย่างมีความสุขและได้ครอบครองสมบัติทั้งหมดของจุลลกะเศรษฐีสืบต่อไป
อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ    สมุฏฐาเปติ อตฺตานํ อณุ อคฺคีว สนฺธนํ
คนมีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนได้ด้วยทุนแม้น้อย
ดุจคนก่อไฟน้อยๆ ให้เป็นกองใหญ่ฉะนั้น

 
มานพในครั้งนั้น ต่อมาคือ พระจุลลปันถก
จุลลกเศรษฐีครั้งนั้น คือ พระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า

20  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / เวทัพพชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการไม่รู้จักกาลเทศะ เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2015, 03:55:20 pm

เวทัพพชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการไม่รู้จักกาลเทศะ

  พุทธกาลครั้งหนึ่งยังมีภิกษุชาวสาวัตถีรูปหนึ่ง มีความอวดดื้อถือดีจนเป็นที่เอือมระอาต่อภิกษุรูปอื่นๆ “ไม่อยากจะเสวนาด้วยจริงๆ เตือนอะไรก็ไม่ยอมฟัง ถ้าเป็นถึงขนาดนี้เราเอาความไปบอกแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดีกว่า เพื่อท่านจะว่ากล่าวตักเตือนได้บ้าง”
เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบท่านจึงทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณแล้วพบว่า ภิกษุรูปนี้เมื่อกาลก่อนก็เป็นผู้ว่ายากจนเป็นเหตุให้ตนเองและบุคคลเป็นพันๆ คน ต้องถึงแก่ความตาย แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำเวทัพพชาดกมาตรัสเล่า
 ณ พาราณสีมีพราหมณ์คนหนึ่งรู้และเชี่ยวชาญในการร่ายมนต์วิเศษที่ชื่อ เวทัพพะ มนต์วิเศษนี้จะสามารถร่ายได้ก็เมื่อถึงคราวฤกษ์ ดวงอาทิตย์  ดวงดาวและดวงจันทร์ ได้โครจรอยู่ในมุมที่เหมาะสมทั้งสามดวง
ซึ่งในปีหนึ่งจะมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น พราหมณ์จะร่ายมนต์เวทัพพะ ดลบันดาลให้เพชรนิลจินดาหลั่งไหลลงมาจากท้องฟ้าราวกับสายฝน อยู่มาวันหนึ่งพราหมณ์ผู้มีมนต์วิเศษและลูกศิษย์คู่ใจมีเหตุให้ต้องเดินทางไปแคว้น เจติ “ข้าว่าเราใช้เส้นทางอื่นกันเถอะ ข้าว่าทางนี้ชุกชุมด้วยโจรป่านะอาจารย์” “เฮ้ยกระจอกน่า ข้าพราหมณ์ผู้กล้าหาญไม่กลัวอะไรทั้งนั้น ข้าจะไปทางนี้แหละ”
“เฮ้ย..เรามีคนเดินมาทางนี้แล้วคล้องตัวมันไว้ ชิงทรัพย์สมบัติมันมาให้หมด” “กลัวๆ แล้วอย่าทำอะไรพวกเราเลย พวกเราไม่มีทรัพย์สินเงินทองให้ท่านหรอก ปล่อยพวกเราไปเถอะ” “อะไรว่ะนานๆ จะมีคนเดินผ่านมาให้พวกเราปล้นสักทีดันจนอีก”
“ไม่รู้แหละ ข้าจะจับตัวไอแก่นี้ไว้ ไอหนุ่มเจ้าจงไปหาเงินมาไถ่มันไป ข้าให้เวลา 3 วันนะโว๊ย ไม่งั้นไอแก่นี้ตาย” “ข้าบอกอาจารย์แล้วว่าอย่ามาทางนี้ ไงล่ะพราหมณ์ผู้กล้าหาญสั่นเป็นเจ้าเข้าเชียว ข้าจะรีบกลับมาหาเงินไถ่ตัวอาจารย์นะ แต่วันนี้เป็นวันฤกษ์ดีท่านอย่าได้ร่ายมนต์เป็นอันขาด มิฉะนั้นโจรมันอาจจะทำร้ายท่านได้นะ
เฮ้อ...อาจารย์จะถือดีไม่เชื่อฟังคำเราอีกรึเปล่า” “ฮือๆ ข้าไม่เชื่อเจ้าหรอกไอ้ศิษย์โง่ เดี๋ยวข้าจะร่ายให้เพชรนิลจินดาไหลลงมาพวกโจรเหล่านั้นได้สมบัติคงจะปล่อยเราไปเอง มัวแต่มารอเจ้ามาไถ่ตัว ข้าคงโดนพวกโจรพวกนี้ทรมานจนตายแน่ๆ”
“นี่ท่านโจรรูปหล่อ ข้ามีวิธีหาสมบัติให้ท่านได้นะสนใจรึเปล่า” “จริงรึ ไหนลองบอกมาสิ ถ้าโกหกล่ะ เจ้าตายแน่ ข้าสามารถร่ายเวทมนต์เวทัพพะได้ มนต์นี้จะทำให้สมบัติมากมายหลั่งลงมาจากบนฟ้าราวกับสายฝนทีเดียวเลยล่ะท่าน” หัวหน้าโจรได้ฟัง ก็สนใจแก้มัดให้พราหมณ์ได้ทำพิธีร่ายมนต์
“โอ๊ย! เงิน เงินมาลงจากท้องฟ้าจริงๆ ด้วย รวยกันแล้วพวกเรา ช่วยกันเก็บเร็วๆ มนต์เนี่ยเจ๋งจริงๆ ว่ะ” พวกโจรเมื่อได้เห็นเพชรนิลจินดามากมายแล้ว แทนที่จะปล่อยตัวพราหมณ์ไปแต่กลับจับตัวมามัดไว้เช่นเดิมและคุมตัวเดินทางไปด้วยตอนรุ่งเช้า
  เหมือนเคราะห์ซ้ำ กรรมซัด เมื่อกองโจรเดินมาได้สักพัก ก็เจอโจรอีกกลุ่มหนึ่งมาล้อมรอบ โจรกลุ่มแรกไว้ “เฮ้ย...ไอโจรห้าร้อย ข้าโจรหนึ่งพัน ฮ้า ๆ ข้าล้อมพวกเอ็งไว้หมดแล้ว ถ้าไม่อยากตายน่ะ ก็ทิ้งดาบแล้ววางหอบสมบัตินั้นเสีย” “อยากได้สมบัติรึ?
ได้ข้าได้มาจากการร่ายมนต์วิเศษของพราหมณ์คนนี้ ถ้าอยากได้ก็ให้พราหมณ์ร่ายมนต์ให้สิ” “จริงรึพราหมณ์” “จริง ดีล่ะถ้าอย่างนั้น เจ้าต้องร่ายมนต์ให้ข้าบ้าง แต่มนต์วิเศษข้าร่ายได้ปีละครั้งเท่านั้นนะ” “โมโห เจ้าหลอกข้าเหรอ ฟันซ่ะเลยกล้านัก”
ร่างของพราหมณ์โดนโจรป่าฟันขาด 2 ท่อน จากนั้นสมุนโจรก็สู้กันเพื่อแย่งสมบัติ และแล้วโจรกลุ่มแรกก็สู้ไม่ได้โดนฆ่าตายจนหมด เพชรนิลจินดาถูกเปลี่ยนมือมาอยู่ที่โจรกลุ่ม 2_พวกโจรเมื่อได้สมบัติแล้ว ก็รีบเดินทางมายังถิ่นของตนอย่างรีบเร่ง
“สมบัติตั้งเยอะแยะได้ครอบครองคนเดียวรวยแน่ สมบัติพวกนี้ต้องเป็นของข้าคนเดียวเท่านั้น คนอื่นไม่เกี่ยวข้าไม่แบ่ง” พวกโจรต่างคนต่างต้องการสมบัติเพียงคนเดียว จึงรุมฆ่าฟันกันเองตายไปตามๆ กัน
 สุดท้ายกลุ่มโจรนับร้อยนับพันคนก็เหลือผู้รอดชีวิตเพียง 2 คนเท่านั้น โจรทั้งสองช่วยกันขนทรัพย์สินเงินทองมาซ่อนไว้ใกล้หมู่บ้านกลุ่มหนึ่งให้โจรอีกคนหนึ่งซ่อนไว้ส่วนอีกคนก็เข้าไปหาอาหารในหมู่บ้าน
“มาแล้ว ๆได้อาหารมาแล้วโว๊ย หาอาหารมาได้แล้วแกก็หมดประโยชน์ ตายซะเถิด ในที่สุดสมบัติก็เป็นของเราคนเดียว กินข้าวก่อนดีกว่า หิว ๆ อาหารมีพิษ” เวลาล่วงไปได้ 2 วัน ศิษย์ของพราหมณ์ก็นำเงินค่าไถ่มาให้นายโจร แต่เค้าก็ไม่พบใครเลย
พบเห็นแต่เพชรนิลจินดาที่ตกเรี่ยราดและศพของอาจารย์ที่ถูกตัดขาดเป็น 2 ท่อน “ไม่น่าเลยอาจารย์เป็นเพราะความอวดดื้อถือดีของท่านแท้ๆ จึงทำให้ต้องมาตายในป่านี้ มิหนำซ้ำยังทำให้คนอีกเป็นพันต้องมาพลอยตายตามท่านไปอีก”
เมื่อจัดพิธีเผาศพของอาจารย์แล้วศิษย์หนุ่มก็ขนเพชรนิลจินดากลับไปบ้านของตน ทำบุญให้ทานจนหมดแล้วก็ทำทานรักษาศีลไปตลอดชีวิตครั้นสิ้นชีวิตแล้วก็บังเกิดในสวรรค์ตามกรรมดีที่ตนสร้างไว้


อนุปาเยนะ โย อัตถัง อิจฉะติ โส วิหัญญะติ จะตา หะนังสุ
เวทัพพัง สัพเพ เต พะยะสะนะมัชชะคัง
ผู้ปราถนาประโยชน์โดยอุบายไม่แยบคาย
ผู้นั้นย่อมเดือดร้อน เหมือนพวกโจรชาวเจติรัฐ
ฆ่าเวทัพพะพราหมณ์ แล้วพากันพินาจสิ้น
 
เวทัพพะพราหมณ์ ต่อมาเป็น ภิกษุดื้อรั้น
ศิษย์พราหมณ์ คือ อดีตชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า
21  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2015, 03:33:31 pm

อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

พุทธกาลสมัยหนึ่งครั้งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกทั้งหลายกลับจากกรุงราชคฤห์ แผ่นดินมคธมาสู่พระเชตวันมหาวิหาร ณ นครสาวัตถี ในโกศลรัฐนั้น สิ่งร้าวรานที่เกิดจาก เทวทัตเถระ กระทำย่ำยีต่อพระพุทธศาสนาในการแบ่งแยกหมู่สงฆ์และสะพิงบัญญัติใหม่แปลกไปจากพุทธวินัยในแคว้นมคธก็กลายเป็นข้อวิภาคเจ็บร้อนขึ้นในธรรมสภา
 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภถึงพระเทวทัตเถระในข้อ อกตัญญูกล่าวร้ายไม่ยอมนับถือพระคุณที่พระพุทธองค์ทรงอบรมสั่งสอนในฐานะครูบาอาจารย์ ณ ธรรมสภาเชตวันครั้งนั้นว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเทวทัตนี้ ครั้งหนึ่งก็เคยลบหลู่ไม่รู้พระคุณครูจนพินาศมาแล้ว
 หาใช่เคยแต่ประพฤติชาติภพนี้ไม่” พระพุทธศาสนาทรงดับทุกข์แห่งจิตอันหม่นหมองของภิกษุทั้งหลาย ณ เวลานั้น โดยบุพเพนิวาสานุสติญาณ ทรงตรัสอกตัญญูชาดกดังต่อไปนี้ พาราณสีมหานครอันอุดมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นที่ชุมนุมค้าขายของมหาชนชั้นวรรณะและด้วยเหตุเหยียดหยามชนชั้นกันนี้เอง
 วรรณะต่ำสุดจึงไม่ได้รับการยอมรับ สังคมในชมพูทวีปให้การยอมรับเฉพาะชนชั้น 4_วรรณะ นั่น ก็คือ พราหมณ์ ผู้เรียนพระเวทย์ถือเป็นผู้รู้ลำดับต้น “วิชาเรียกลมฝน ที่พี่สอนน้องวันนั้นน้องพอจะจำได้บ้างรึยังจ๊ะ” “ได้แล้วละจ๊ะพี่วิชานี้ดีจังเลยนะพี่ ฤดูไหนที่ฝนแล้งเราก็เรียกให้ฝนมาได้ ชาวไร่ชาวนาจะได้ไม่ลำบาก”
 วรรณะกษัตริย์ เป็นชนชั้นนักรบถือเป็นผู้ปกครองเป็นชนชั้นที่ยอมรับเป็นลำดับสองรองจากพราหมณ์ “ทหารทั้งหลายพวกเจ้าจงไปฝึกปรือฝีมือซ้อมรบไว้เถิด เมื่อไหร่ที่มีข้าศึกมาประชิดเราจะได้เตรียมรบไว้ทัน”
  วรรณะแพทย์ ชนชั้นคฤหบดีพ่อค้าวาณิชย์ผู้บริจาคทรัพย์เป็นที่ยอมรับในวรรณะที่สาม “อื้อหือ ค้าขายงวดนี้กำไรงามจริงๆ หากขายดีอย่างนี้อีกสักสองสามเที่ยวก็ดีสินะ จะได้หยุดขายมาทำบุญกับเขาบ้าง ไม่ได้ทำบุญมาตั้งนานแล้ว”
 วรรณะสูตร  ชนชั้นแรงงานการช่าง ผู้รับใช้ถือไว้ในลำดับที่สี่เป็นลำดับสุดท้าย “ทำตัวดีๆ หน่อยนะพ่อเดี๋ยวจะหาหญ้าหาของกินให้อย่างดีเลย” ชนชั้นสุดท้ายคือคนจัณฑาล ซึ่งเกิดจากการผสมพันธ์ชนชั้นข้ามวรรณะระหว่างพ่อและแม่ ต้องถูกตราจัณฑาลนี้แต่แรกเกิดติดตัวไปชั่วชีวิตไม่มีผู้ใดคบค้าสมาคมเป็นที่รังเกียจของคนทั่วไป
  ในพาราณสีครั้งนั้นได้มีหนุ่มจัณฑาล วรรณะต่ำผู้หนึ่งรู้เวทมนต์เร่งผลไม้ให้เกิดและโตจากต้นทันตาเห็น “โอมด้วยอำนาจแห่งมนต์นี้จงดลบันดาลให้ต้นมะม่วงออกผลด้วยเถิด” มานพคนจัณฑาลนี้มักเสกเอาผลไม้นอกฤดูกาลที่หายากออกจากต้นอยู่เสมอ
 ชุมชนคนชั้นล่างก็ได้อาศัยเป็นอาหารและใช้จำหน่ายแลกเปลี่ยนสิ่งจำเป็นต่อชีวิตอย่างไม่ขัดสนตลอดมา “มะม่วงลูกสวยอย่างนี้ คงแลกข้าวมาได้บ้างละน่า ลูกโตน่ากินอย่างนี้คงมีใครอยากกินกันเยอะ”
 นานครั้งหนุ่มจัณฑาลจึงจะนำผลไม้ที่ใช้เวทมนต์เร่งให้ออกผลออก ไปขายในเมืองหลวงและมีครั้งหนึ่งในฤดูแล้ง ซึ่งพาราณสีแทบจะไม่มีพืชผลบริโภค มะม่วงและส้มลูกโตของคนจัณฑาล นี้จึงได้กลายเป็นสิ่งยั่วตายวนใจแก่ผู้พบเห็นเป็นยิ่งนัก
  “แล้งๆ อย่างนี้ในเมืองหลวงคงไม่มีผลไม้ขายกันเป็นแน่คอยดูเถอะจะต้องมีแต่คนแห่กันออกมาซื้อผลไม้จากเราแน่ๆ” “ดูนั่นสิพี่มะม่วงลูกโตน่ากินมากเลย เห็นแล้วเปรี้ยวปากซื้อไปกินที่บ้านกันเถอะพี่”  “อุ้ย!! ไม่ได้หรอกมะม่วงพวกนี้เป็นของพวกจัณฑาล นะน้องรัก อย่ากินเลยไปซื้อที่อื่นกินดีกว่า...”
 “แล้งอย่างนี้ไม่มีผลไม้กินหรอกพี่ น้องดูแล้วไม่มีใครขายเลย ซื้อเถอะนะพี่นะ นะ...อยากกินซื้อเถอะ” “ก็ได้ ก็ได้..” ในขณะนั้นชาวเมืองโจษจัน ถึงผลไม้ที่ชาวจัณฑาลอยู่นั้น ก็มีพ่อค้าในพาราณสีคนหนึ่งรู้มาว่ามานพจัณฑาลผู้นี้ต้องมีมนต์ตราพิเศษเรียกผลไม้ได้
 “มนต์เทวานี้มีอยู่จริงเราต้องตามไปถึงที่พักของเขาและขอเรียนวิชชามาให้ได้คราวนี้แหละรวยแน่” เมื่อนาวาณิชย์ติดตามมาจนถึงที่อยู่ก็เข้าไปตีสนิทเยินยอและก็ขอร่ำเรียนวิชาอย่างนอบน้อม “ได้โปรดเถอะ ถ้าพ่อสอนมนต์ให้ข้าจะได้นำไปให้ประชาชนให้ได้มีผลไม้กินทุกฤดู  บุญบารมีก็ตกแก่ท่านไม่ไปไหน”
 “เอาเถอะข้าจะสอนให้ก็ได้แต่ขอคำมั่นสัญญาข้อหนึ่งได้หรือไม่”  “ได้อยู่แล้วจ้า จะกี่ข้อข้าก็ยอม” “ท่านต้องสัญญาว่าเมื่อมีใครถามครูผู้ให้วิชชาท่านจะต้องตอบความจริงกับเขาว่าท่านเรียนวิชชามาจากเรา” “โอ้ย!! เรื่องแค่นี้สบายมาก” “วิทยเวทย์นี้ ตกทอดมาแต่บรรพกาล ขอท่านจงตั้งใจเล่าเรียนคัดลอกเอาคาถาสำคัญไปใช้โดยสุจริตเถิด
 แต่หากท่านอกตัญญูต่อครูผู้ให้วิชาย่อมเกิดความเสื่อมในมนต์ไม่อาจใช้เรียกผลพืชใดๆ ได้อีกเลย” เมื่อถึงวาระเริ่มท่องตำรา มานพชั้นจัณฑาลก็สาธยายมนต์อบรมแนะนำเคล็ดวิชาให้นายวาณิชย์ผู้เป็นศิษย์โดยไม่ปิดบัง นายวาณิชย์ก็จดจำและบันทึกจารึกไว้เป็นตำราของตน “ต้องจำ ต้องจำ ต้องจำ เพื่อเงินทองของเรา รวย รวย รวยๆ”
 เมื่อเจนจบครบหลักวิชามหาเวทย์ และทดสอบได้ผลจนน่าพอใจศิษย์ของมานพจัณฑาลก็ลิงโลดเป็นล้นพ้น “โอ้โฮ!! นี่ขนาดเพิ่งปักกิ่งไปแท้ๆ พอท่องมนต์ไม่กี่อึดใจดูสิมะม่วงก็ออกผลจนกินได้ทันตาเห็น โอ้โฮ!! มหัศจรรย์จริงๆ” เมื่อได้วิชชาจนสมอารมณ์หมายแล้วศิษย์ก็อำลาครูกลับเข้าเมือง “ขอบใจมากที่สอนมนต์ให้ข้าไปละ ต่อไปนี้รวยแน่เรา..”
 “อย่าลืมสัญญาที่ท่านให้ไว้ละ” “ไม่ลืมไม่ลืม สัญญานั่นนะเหรอจะสำคัญอะไร ก็ตอนนี้เรารู้มนต์แล้วนี่นา” หลังจากนั้นเขาก็ใช้มนต์วิเศษสะพังผลไม้จนมีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะอัมพผล มะม่วงนั้นเสกเมื่อใดก็ออกผลจนได้กินได้ในอึดใจทุกครั้ง
 มหาชนต่างชื่นชมสรรเสริญว่าเป็นผู้วิเศษ ชื่อเสียงของนายวาณิชย์ก็กำจรกว้างไปทั้งนคร จนมีวาสนาได้เข้ารับราชกาลในกรมอุทยานหลวง “ในที่สุดก็เป็นอย่างที่เราคาดไว้ มีทั้งชื่อเสียงและเงินทองมนต์นี้วิเศษจริงๆ” “น่าอิจฉาจังเลยถ้าเรามีมนต์วิเศษแบบนี้ก็ดีสินะ”
 “สมองน้อยๆ ของพี่จะจำมนต์วิเศษอย่างนี้ได้เหรอน้องว่าพี่ทำงานแบกหามอย่างเดิมดีแล้วแหละ” งานราชกาลที่พ่อค้าผู้นี้ต้องรับผิดชอบนั่นก็คือสะพังผลมะม่วงสุกจากต้น มะม่วงที่ไม่เคยออกผลในอุทยานนั่นให้พระราชา และพระราชวงศ์ทุกพระองค์เสวย
 นายวาณิชย์ใช้เคล็ดวิชชาและสวดสาธยายมนต์ที่ร่ำเรียนมาจากครูหนุ่มจัณฑาลอย่างตั้งใจสูงสุด จากต้นมะม่วงที่มีแต่ใบบัดนี้ด้วยผลของเวทย์มนต์ก็ปรากฏเป็นลูกมะม่วงผลโตเต็มต้น บางลูกก็สุกเปล่งปลั่งน่ากิน เมื่อพ่อค้าวาณิชย์ร่ายเวทย์มนต์จนมะม่วงสุกจนน่ารับประทาน มหาอำมาตย์ก็คัดสรรขึ้นถวายเป็นผลงานสำคัญได้ภายในวันเดียว
 “มะม่วงนอกฤดูจากผู้ชำนาญวิชชาของราชอุทยานพระเจ้าค่ะ”  “ไม่น่าเชื่อเลยมะม่วงพวกนั่นไม่เคยออกผลเลยด้วยซ้ำ ดูสิน่ากินจังเลยลูกโต๊ โต เหลืองน่ากินเชียวละ" พระเจ้าพรหมทัตทรงยินดีในอำพผล  คือ มะม่วงวิเศษนี้เป็นอันมากตรัสเรียกหาคุรุทางเกษตรคือผู้ผลิตผลมะม่วงเข้าเฝ้าทันที
   “ใครกันนะเก่งเหลือเกินวิชชานี้จะนำประเทศของเราเป็นครัวโลกได้จริงก็คราวนี้แหละ” พระเจ้าพรหมทัตทรงตรัสชมเชยนายวาณิชย์อีกทั้งยังจัดรางวัล เสื้อผ้า อัญมณีตอบแทนให้จำนวนหนึ่ง นายวาณิชย์ดีใจได้ไม่เท่าไหร่ก็แทบเป็นลมเมื่อพระเจ้าพรหมทัต ทรงรับสั่งถามถึงผู้เป็นอาจารย์ “ใครเป็นผู้สอนวิชานี้ให้แก่ท่านรึ”
 “เออ... คือ จะทำอย่างไรดีนะ...ถ้าบอกความจริงอายเขาแย่  ชื่อเสียงที่สร้างมาป่นปี้หมด มีครูเป็นจัณฑาลใครจะเชื่อถือ” “อ้าวว่าอย่างไรละ เราถามท่านว่าใครเป็นคนสอนวิชานี้ให้แก่ท่าน” “พระเจ้าค่ะ คือ ข้าพระองค์เรียนจากพราหมณ์ผู้หนึ่งซึ่งอยู่ไกลมาก ข้าเป็นศิษย์พราหมณ์นั้นพระเจ้าค่ะ”
 ทันทีที่นายวาณิชย์ผู้โป้ปด อันเป็นการอกตัญญูต่อครูอาจารย์ความจำในวิชชาก็หายไปในหมดสิ้น จากนั้นศิษย์อกตัญญูคนนี้ก็ไม่สามารถเสกคาถาเรียกมะม่วงหรือผลไม้ใดๆได้อีก “ตายแน่ๆ ๆ ทำไมเราจำมนต์นั้นไม่ได้เลยนะเสกอยู่ทุกวันลืมได้ยังไงกันเนี่ย ตาย ตาย ตาย อำมาตย์อ้วนนั้นเอาตายแน่ ใกล้ถึงเวลาที่จะมาเก็บมะม่วงแล้วสิ”
 เมื่อไม่อาจเสกมะม่วงถวายพระราชาได้อีกนายวาณิชย์ก็ถูกขับไล่ออกจากพระราชอุทยาน  “ในเมื่อเจ้าทำงานได้ไม่เหมือนเดิมก็ออกจากวังไป หนอยแน่ะนึกว่าจะมาได้เสวยสุขได้ฟรีๆ รึไง” “ขอบคุณท่านที่ไว้ชีวิต ข้าจะกลับไปฝึกวิชชากลับมาแก้ตัวใหม่วันหน้านะจ๊ะ ทำไมเราถึงลืมได้นะ”
 นายวาณิชย์กลับมาอ้อนวอนขอให้มานพจัณฑาล ถ่ายทอดวิทยเวทย์สอนมนต์ตราให้ใหม่ “ท่านมิได้หลงลืมเองหรอกนายวาณิชย์ แต่ท่านพูดปดมดเท็จ อกตัญญูต่อเรามนต์วิเศษจึงเสื่อมคลาย” “ชิ รู้ได้ไงเนี่ย โธ่ท่านอาจารย์ข้าผิดไปแล้วยกโทษให้ข้าเถอะ”
  “ไปซะจงไปให้พ้นจากชุมชนคนชั้นต่ำที่ท่านเหยียดหยามอับอายในการคบค้ายกย่องนี้”  “โธ่นี่ท่านอาจารย์ไม่ยกโทษให้จริงๆหรือ เวรกรรม” “คนอกตัญญูอย่างท่านเราคงยกโทษให้ไม่ได้หรอกไปซะเถอะ”
  อึดใจต่อมานายวาณิชย์ศิษย์อกตัญญุตาก็ถูกขับไล่ต้องรีบหนีจากไปอย่างเร็วจนพ้นนิคมคนจัณฑาล “ไป ไป ไป ไอ้หมาบ้านี่ไปให้พ้น” การกระทำของนายวาณิชย์ศิษย์ผู้ลืมคุณครูผู้ให้วิชชาถูกนินทาว่าร้ายจนทั่วพาราณสี รวดเร็วจนเขาต้องซัดเซพเนจรหลบหน้าผู้คนอยู่หลายวัน
 มีคนพบเห็นเขาครั้งสุดท้ายบนขอบเหวสูงชันก่อนชายผู้อกตัญญูจะทิ้งตัวลงไปไม่พบใครตลอดกาล “ชีวิตเรามันช่างเศร้านักไปที่ไหนมีแต่คนรังเกียจแผ่นดินกว้างใหญ่แต่ไม่มีที่ไหนเลยเป็นที่สำหรับเรา อยู่ไปก็ไร้ค่า”

 
 
ในพุทธกาลสมัย
นายวาณิชย์อกตัญญู กำเนิดเป็น พระเทวทัต
มาณพจัณฑาล เสวยพระชาติเป็น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

22  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / เวฬุกะชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการเป็นผู้ว่ายากสอนยาก เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2015, 03:21:10 pm

เวฬุกะชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการเป็นผู้ว่ายากสอนยาก

  ครั้งอดีตกาล ณ พระเชตะวัน มหาวิหารอันสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนาได้เกิดเรื่องราวมิงามของภิกษุผู้ว่ายากอยู่ท่านหนึ่ง ไม่ว่าใครจะว่ากล่าวตักเตือนอย่างไรก็ตามท่านก็มิเคยฟัง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระกรุณาธิคุณให้ภิกษุรูปหนึ่งเข้าเฝ้า เพื่อปลดโทษให้
 “ท่านๆ องค์พระบรมศาสดาให้มานิมนต์ท่านไปเข้าเฝ้าแน่ะ” “จะโปรดอะไรเราอีกหล่ะ เฮ้อ..เอ่อๆๆ เดี๋ยวไป” “หึ อวดดีอย่างนี้ก็คงมีแต่องค์พระบรมศาสดาเท่านั้นแหละที่จะตักเตือนได้” “ใช่ๆ ข้าก็ว่าอย่างงั้นแหละ คราวนี้คงหายดื้อซะที”
  “อะไรๆๆ บ่นอะไรของท่านอยู่สองคน ข้าได้ยินน่ะ” “มาแล้วรึภิกษุ เธอผู้ว่ายากสอนยาก ใครเตือนก็ไม่เคยเชื่อฟัง แม้ในชาติปางก่อนก็เป็นเช่นนี้” “เรานี่ช่างเป็นคนเสมอต้นเสมอปลายโดยแท้” “ยัง ยังไม่สำนึกอีก มันน่าตำหนิจริงๆ” “ใช่ๆ ยังไม่สำนึกอีก น่าตำหนิจริงๆ”
 “เฮ้ยเมื่อไหร่ท่านจะเลิกพูดตามเราซะทีเนี่ย” “ใช่ๆ ข้าก็ไม่รู้เหมือนกัน” ในวาระนั้นพระพุทธองค์ก็ทรงระลึกชาติและตรัสเล่าเรื่องราวของเวฬุกะชาดกให้พระภิกษุทั้งหมดฟัง เพื่อให้ภิกษุผู้ว่ายากได้เห็นโทษของการดื้อรั้น จะได้เปลี่ยนแปลงนิสัยเสียที
  “ด้วยความดื้อดึงสอนยากของท่าน ทำให้ท่านถูกงูกัดถึงแก่ความตาย หากท่านไม่ละทิ้งนิสัยนี้ชาตินี้ท่านก็คงต้องพบจุดจบไม่ต่างอะไรกับชาติที่แล้ว ท่านจงฟังเถอะ เราจะเล่าเรื่องเมื่ออดีตชาติของท่านให้ฟัง เพื่อท่านจะได้บรรลุเห็นทางธรรมเสียที” ในแคว้นกาสีมีครอบครัวเศรษฐีผู้หนึ่ง ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวเกิดล้มป่วยลงยากที่จะรักษาได้ สมาชิกในครอบครัวต่างอยู่ในความเศร้าโศกเสียใจ
 “โอ้นายท่าน” “หือๆ ท่านพ่อท่านอย่าจากข้าไปนะ ท่านต้องไม่เป็นอะไรนะ หือๆ..ท่านพ่อ” เมื่อผู้เป็นพ่อได้เสียชีวิตลงบุตรชายเศรษฐีก็ได้จัดพิธีศพให้บิดาตามประเพณี “แม้บิดาของเราจะมีทรัพย์สมบัติมากเพียงใด แต่สุดท้ายก็มิสามารถนำติดตัวไปได้แม้แต่ชิ้นเดียว แล้วเราจะเก็บรักษาทรัพย์เหล่านี้ไว้เพื่อสิ่งใด” “ท่านพ่อ ในที่สุดท่านก็จากข้าไป หือๆๆๆ”
บัณฑิตบุตรเศรษฐีได้นำทรัพย์สมบัติทั้งหมดออกมาแจกเป็นทานให้กับผู้ยากไร้ เหลือไว้เฉพาะอาภรณ์ติดตัวกับเครื่องบริขารเพื่อไว้บำเพ็ญเพียรเท่านั้น “ท่านบัณฑิตชั่งมีน้ำใจแท้ๆ” “ขอให้เจริญๆ เถอะพ่อหนุ่ม” หลังจากนำทรัพย์สมบัติแจกจ่ายหมดแล้ว บุตรเศรษฐีก็นำบริวารมุ่งสู่ป่าใหญ่แดนหิมพานต์เพื่อประพฤติพรหมจรรย์
 “โอ้ย ปวดหลังจัง เราจะเดินไปไหนกันเนี่ย” “ท่านอย่าบ่นนักเลยน๊า ท่านน่าจะดีใจน่ะ ท่านจะได้ละความวุ่นวายเสียที” “จริงซินะตลอดชีวิตที่ผ่านมาพวกเราหมกหมุนอยู่แต่กับโลกีย์ เอ้อ..แต่ว่าโลกีย์นี่คืออะไรเหรอ” “หือ..ทิ้งไว้ในป่าดีไหมเนี่ย” บัณฑิตหนุ่มได้ถือเพศเป็นฤาษีเพียรภาวนาจนบรรลุธรรมอภิญญา จนมีผู้เลื่อมใส ถือบวชติดตามเป็นศิษย์มากมาย “ข้าพเจ้าขอถวายตัวเป็นศิษย์ท่านด้วยเถอะ
  โปรดชี้แนะให้ข้าพเจ้าบรรลุธรรมด้วยเถิด” “ข้าพเจ้าเองก็เอาด้วยคน ข้าพเจ้าก็อยากบรรลุธรรมบ้างเหมือนกัน” “อย่ามาเลียนแบบข้าได้ไหม๊ ข้าพูดก่อนนะ” บรรดาศิษย์ทั้งหลายได้ช่วยกันสร้างอาศรมเพื่อปฏิบัติธรรมกรรมฐานอยู่ในป่าหิมพานต์อย่างสงบ “โอ้ว..ช่างสงบเงียบจริงๆ ขอนั่งสมาธิ(Meditation)ปฏิบัติธรรมซะหน่อยเถอะ” “ข้าก็เอาด้วยคน ข้าอยากนั่งสมาธิด้วย” “เมื่อไหร่จะเลิกเลียนแบบข้าซะที เฮ้อ..เบื่อจริงๆ เลย”
 อยู่มาวันหนึ่งศิษย์ฤาษีวัยหนุ่มได้พบลูกงูพิษที่เลื้อยเข้ามาในบริเวณอาศรม ก็เกิดความรักเอ็นดูมันขึ้นมา “ลูกงู ช่างน่ารักเหลือเกิน ดูซิเลื้อยบิดไปบิดมาน่าเอ็นดู อุ๊ย..ชูคอได้ด้วย ฉลาดจริงๆเลย เก็บไปเลี้ยงไว้ดีกว่า ไปอยู่ด้วยกันนะเจ้างูน้อย ข้าจะเลี้ยงเจ้าอย่างดีเลย” “อย่าเชียวนะ งูพิษเลี้ยงไม่เชื่องหรอกอันตรายนะ เจ้าอย่าไปยุ่งกับมันเลย ปล่อยมันไปเถอะ” “เอ้านี้บ้านเจ้า เข้าไปอยู่ในกระบอกไม้ไผ่นี่นะ เอ้..ข้าตั้งชื่อให้เจ้าด้วยดีกว่า
ชื่ออะไรดี เจ้าอยู่ในไม้ไผ่ ไม้ไผ่ก็เวฬุกะ เอาเป็นชื่อเวฬุกะก็แล้วกันนะ เลื้อยเข้าไปดีๆ นะ อย่างนั้นๆ อุ๊ย..น่าเอ็นดู” “ข้าว่าปล่อยมันไปเถอะ อย่าเลี้ยงไว้เลย ระวังเถอะเลี้ยงงูพิษไว้สักวันมันจะทำร้ายเจ้า” “ใช่ๆ ข้าก็ว่าอย่างนั้นแหละ เจ้าอย่าเลี้ยงไว้เลยนะ” “เลียนแบบคำพูดข้าอีกแล้ว เมื่อไหร่เจ้าจะนึกบทเองได้ซะทีเนี่ย..เฮ้อ” “ท่านดูเจ้าเวฬุกะของเราซิน่ารักๆ ยิ่งโตก็ยิ่งหล่อเหมือนข้าใช่ไหม๊”
 “อึย..น่ากลัวจะตาย ไม่เห็นจะน่ารักเลย ท่านว่ามะ" "เอ้า ทีตอนจะให้พูดตามนะไม่พูด เฮ้อเสียอารมณ์จริงๆ” “เจ้าหนุ่มชื่อว่างูพิษย่อมไว้ใจไม่ได้ปล่อยมันไปเสียเถอะ เจ้าเชื่ออาจารย์เถอะนะ” “โธ่อาจารย์มันเชื่องจะตาย ข้าเลี้ยงมันอย่างดี มันก็ต้องรักข้าซิ ไม่เป็นไรหรอกอาจารย์อย่าคิดมากเลย” “เฮ้อ เจ้านี่ชั่งว่านอนสอนอยากซะจริงๆ อนิจจาไว้ใจงูพิษเช่นนี้ ก็ระวังให้ดีเถอะเจ้า”
  “โห๊ย..อาจารย์งูพิษที่ไหนกันเล่า ข้าเอามาเลี้ยงตั้งแต่เด็กพิษมันหายไปหมดแล้ว อาจารย์ดูซิ มันรักข้าจะตาย” แล้วศิษย์ผู้ดื้อรั้น ก็มิฟังคำตักเตือนจากใครยังเลี้ยงดูงูเวฬุกะต่อไป จนวันเวลาผ่านไปเมื่อฤดูแล้งเวียนมาถึง “เอ้า นี่อาหารของเจ้า กินให้อิ่มนะ ข้าจะต้องเข้าป่าไปหาอาหารมาเก็บไว้ เฮ้อไปตั้ง 3 วันแน่ะ
ข้าคงคิดถึงเจ้าแน่เลย ระหว่างที่ข้าไม่อยู่เจ้าอย่าดื้อน่า แล้วข้าจะหาของอร่อยๆ มาฝากเจ้านะ” “เอ้าๆๆ ล่ำลากันอยู่นั่นแหละสายมากแล้วตามมาเร็วๆ เข้า” “ท่านจะเอ็ดมันทำไม่ บอกมันดีๆ ก็ได้” “อย่าพูดอะไรที่ไม่เหมือนข้าได้ไหม๊” “ขัดใจจริงๆ เลย” “จะเอายังไงกันแน่เนี่ยพอคิดบทได้เองก็จะให้พูดตาม” “เวฬุกะข้าไปละนะอยู่ดีๆ นะจ๊ะงูน้อยของข้า”
ศิษย์หนุ่มตามขบวนศิษย์อื่นๆ ไปหาผลไม้ในป่าด้วยความจำใจ ในใจก็เฝ้าคิดถึงลูกงูเวฬุกะอยู่ตลอดเวลา ช่วงเวลา 3 วันที่เขาไม่อยู่เวฬุกะของเขาจะกินอยู่อย่างไร ยิ่งเดินทางไปได้ไกลเท่าไหร่ ความกังวลของเขาก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น สามวันผ่านไปพวกฤาษีและศิษย์หาของป่าได้มากพอจึงพากันกลับ
 “เย้ กลับอาศรมกันซะทีป่านนี้เวฬุกะคงรอข้าจะแย่แล้ว” “อย่ามัวแต่ดีใจซิ มาช่วยพวกข้าเก็บของด้วย” “ใช่อย่ามัวแต่ดีใจซิ มาช่วยเก็บของ” “ดีมาก พูดตามข้าอย่างนี้แหละ เออดีๆๆ” “สองคนนี้มันจะไม่พูดกับคนอื่นเลยหรือไงเนี่ย เล่นรับมุขกันอยู่สองคน ดูซิข้าไม่เด่นเลย” “เวฬุกะลูกรักข้าจะไปหาเจ้าแล้วนะ พวกท่านตามข้ามาเร็วๆ ซิะ”
  “ข้าไม่ได้หนุ่มไฟแรงเหมือนเจ้านี่ โอ๊ย..เมื่อยจังเลย พักก่อนดีไหม๊ท่าน” “ท่านอย่าถามข้าซิ ข้ามีหน้าที่ตามท่านอย่างเดียว” “นี่น้องเขียด นี่น้องกบ อ๊บๆ เจ้ากิ้งก่าอีกไปเป็นอาหารของเวฬุกะข้าซะดีๆ อ้วนๆ อย่างนี้ลูกข้าชอบ” “ข้าว่าอย่าเก็บไปเลย ป่านนี้เวฬุกะของเจ้าคงหนีหายไปแล้วหล่ะ” “ใช่ๆๆ คงหนีหายไปแล้วหล่ะ ฮ่ะๆๆๆ”
 “พวกท่านอย่ามาพูดให้ข้าใจเสียได้ไหม๊ ลูกข้าต้องอยู่รอข้ากลับมาแน่ๆ เวฬุกะจ๋า ข้ามาแล้วจ้า ข้าออกมาดูซี ข้ามีอาหารมาฝากเจ้าเยอะแยะเลย รีบออกมาเร้ว ไหนๆๆ ไม่เจอกันตั้ง 3_วันคิดถึงจังเลย ขอดูหน้าหน่อย” ธรรมชาติของงูพิษคือเลี้ยงไม่เชื้อง ยิ่งหิวยิ่งดุร้าย เวฬุกะถูกขังอยู่ในกระบอกไม้ไผ่ 3 วัน 3 คืน
 ทั้งหิว ทั้งโกรธไม่เหลือร่องรอยของงูเชื้องแสนน่ารักน่าเอ็นดูเลยสักนิด เมื่อไม้ไผ่ถูกเปิดออกมันก็พุ่งตัวออกมาอย่างรวดเร็ว ฉกเข้าที่ดวงตาของศิษย์หนุ่มผู้เป็นคนเลี้ยงมันมาอย่างโหดเหี้ยม “โอ๊ย เวฬุกะลูกรัก เจ้ากัดพ่อทำไม โอ๊ย...ข้าอุตส่าห์เอาเจ้ามาเลี้ยงหาอาหารให้เจ้ากินนะ ปล่อยๆ ปล่อยข้า โอ๊ยๆ”
  ด้วยความหิวเวฬุกะพุ่งตัวออกมาทำร้ายศิษย์หนุ่มที่เลี้ยงมันมาตั้งแต่เด็กด้วยความโกรธ อนิจจานี่แหละงูพิษ ย่อมไว้ใจไม่ได้ “ใครก็ได้ช่วยข้าด้วย โอ๊ยๆๆ...” จากงูน้อยแสนน่ารักกลายเป็นงูพิษที่ดุร้าย เวฬุกะฉกฝังเขี้ยวลงที่ดวงตาของผู้มีพระคุณ ปล่อยน้ำพิษจนศิษย์หนุ่มฤาษีสะท้านไปทั่วร่าง ล้มลงขาดใจตายอยู่ตรงนั้นทันที
  งูพิษก็คืองูพิษ อย่างไรเสียมันก็คงไม่ลืมสัญชาตญาณไปได้ นี่แหละโทษของการดื้อรั้นที่ว่ายากสอนยาก ไม่เชื่อฟังคำตักเตือนของใคร สุดท้ายก็ต้องพบจุดจบอย่างน่าอนาจ หากศิษย์หนุ่มผู้นี้เชื่องฟังคำของอาจารย์และเหล่าฤาษีคนอื่นสักนิดเขาก็คงไม่ต้องมาจบชีวิตด้วยอายุเพียงเท่านี้

 
 
โยอัตถะกามัส สะ หิตานุกัมปิโน โอวัชชะมาโน นะ กะโรติ
สาสะนัง เอวัง โส นิหะโต เสติ เวฬุกัสสะยะถา ปิตา
 
พุทธกาลวาระนั้น ศิษย์ผู้ดื้อรั้นเกิดมาเป็น ภิกษุที่ว่ายากสอนยาก
ฤาษีบริวาร เกิดมาเป็น พุทธบริษัททั้งหลาย
พระอาจารย์ เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
23  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ตักกบัณฑิตชาดก-ชาดกว่าด้วยการข้องแวะกับกิเลสคือบ่อเกิดแห่งทุกข์ เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2015, 06:11:23 pm
ตักกบัณฑิตชาดก-ชาดกว่าด้วยการข้องแวะกับกิเลสคือบ่อเกิดแห่งทุกข์

ตักกบัณฑิตชาดกบอกเล่าถึงเหตุแห่งความทุกข์อันเนี่ยงมาจากกิเลสลุ่มหลง ดังเรื่องราวในอดีตชาติ พระชาติหนึ่งของพระพุทธองค์บังเกิดขึ้นในที่พักสงฆ์ พระอารามเชตวัน กรุงสาวัตถี ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเมื่อออกบิณฑบาตได้พบกับสตรีผู้เลอโฉมเข้าในเช้าวันหนึ่ง
 เนื่องจากภิกษุรูปนี้ยังมีพรรษาในเพศบรรพชิตไม่มากนักทำให้ไม่สามารถละกิเลสได้โดยเกิดความต้องจิตพิศมัยในความงามของสตรีนางนั้นเข้า "โอ้!น้องหญิงเธอช่างอ่อนหวานรูปโฉมงดงามเหลือเกินใจหวั่นไหวไปหมดแล้ว" วันคืนผ่านไปความรักความลุ่มหลงยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น
 พระภิกษุหนุ่มเฝ้าแต่คิดถึงแม่นางผู้เลอโฉมจนมิอาจปฏิบัติกิจสงฆ์ได้ แม้พระวิหารอันร่มเย็นไม่อาจทำให้จิตใจท่านเป็นสุขได้เลย “เฮ้อ..ความรักช่างกัดกร่อนหัวใจเรายิ่งนัก ทำอย่างไรก็ไม่สามารถลืมภาพน้องนางคนนั้นได้เลย นี่แหละที่พระพุทธองค์ตรัสไว้มีรักที่ไหนย่อมมีทุกข์ที่นั้น ช่างบีบหัวใจจริงๆ เลย"   
  เมื่อกิเลสเข้าครอบครองจิตใจ ความต้องการหาแสวงหาสัจจธรรมก็ถูกทำลายลงไปด้วย” “รอยยิ้มของน้องหญิงนั้นช่างน่ารักสดใสไม่ว่าจะอยู่ในอริยบทใด ก็น่าชวนมองหลงใหลยิ่งนัก น้องหญิงเธอคือความต้องการอันแท้จริงมิใช่สิ่งอื่นใดอีกแล้ว ความงามของน้องทำให้ความสวยงดงามอื่นใดในโลกหมดค่าลงไป โอ๊ย..บีบหัวใจจริงๆ เลย”
 ความทุกข์นั้นเผาใจจนภิกษุนั้นล้มป่วย ไม่อาจปฏิบัติกิจใดๆ ได้ เอาแต่นอนโทรมอยู่หลายวันจนพระกัลยาณมิตรที่พบเห็นมิอาจทนนิ่งดูดายได้พากันมานิมนต์ไปยังกุฎฏิที่ประทับของพระองค์ “ปล่อยไว้อย่างนี้ไม่ดีแน่ เราไปเฝ้าพระศาสดาให้ทรงช่วยเถิด” “นั่นนะสิท่านอย่าได้มัวเมากับกิเลสอยู่เลยความงามเป็นแค่ของภายนอก”
 เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบก็ทรงตักเตือน “ดูก่อนภิกษุธรรมดาเมื่อหญิงนั้นเป็นเหตุแห่งความทุกข์เช่นนี้เหตุใดเธอยังปรารถนาอีกเล่าบัณฑิตในกาลก่อนก็เคยพบโทษจากหญิงไม่ดีมาแล้ว” แล้วพระองค์ก็ทรงตรัสชาดกครั้งเสวยพระชาติเป็นฤาษีนามว่า “ตักก” ให้เป็นอุทาหรณ์สอนใจดังนี้
 นางงามผู้หนึ่งเกิดในตระกูลเศรษฐีสมบูรณ์พร้อมทั้งทรัพย์สมบัติและรูปสมบัติต่อหน้าบิดาเธอนุ่มนวลดั่งเทพธิดาน่ารักน่าทะนุถนอม “ลูกสาวของเรานะสวยกว่าใครในพาราณสีแล้ว” แต่เมื่อลับสายตาผู้เป็นพ่อแล้วเธอกลับกลายเป็นอีกคนทั้งเจ้าอารมณ์ โกรธง่าย ซ้ำยังปากร้าย มือไวบ่าวไพร่ในบ้านล้วนถูกนางด่าว่าและทุบตีให้เจ็บปวดใจอายและอยู่เสมอ
 “นอกจากแก่แล้วยังโง่อีกเหรอ ข้าบอกว่าอย่าเอาของมาวางตรงนี้มันเกะกะเวลาข้าเดินออกมา บอกแล้วไม่จำเดี๋ยวก็ตบให้หายแก่เลย” “ผมกลัวแล้วล่ะครับคุณหนู อย่าๆ ตบตีข้าน้อยเลย” วันหนึ่งที่ธิดาเศรษฐีและบริวารพากันไปเล่นน้ำในแม่น้ำคงคาตั้งแต่บ่ายถึงจนกระทั่งเย็นจนขณะนั้นฝนได้ตั้งเค้าอย่างรวดเร็ว
 “คุณหนูรีบขึ้นมาเถอะค่าฝนตั้งเค้าแล้ว” “อย่ามาออกคำสั่งกับชั้นนะ ชั้นจะเล่นน้ำต่อใครจะทำไม”  “อย่าไปสนใจเลยพวกเรา ปล่อยให้เล่นคนเดียวเถอะ เรานะกลับดีกว่า” แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น อยู่ๆ ก็มีลมกระโชกแรงแม่น้ำคงคาบังเกิดเป็นคลื่นลูกใหญ่พัดมาตรงที่ที่ธิดาเศรษฐีเล่นน้ำอยู่
คลื่นกระแทกกับร่างนางอย่างแรง จนนางทรงกายไม่ไหวพัดจมลงไปกับสายน้ำ “ช่วยด้วย ๆ ช่วยเราด้วย ช่วยด้วย” เมื่อน้ำทะลักล้นมาอย่างแรงร่างของหนูแสนสวยก็ถูกกระชากลอยหายไป เมื่อพายุสงบลงธิดาเศรษฐีก็พบว่าได้พลัดมาถึงป่าเขาเสียแล้ว
  แม้ร่างกายจะอ่อนเพลียและเหน็ดเหนื่อยเพียงใดแต่นางก็สามารถพยุงกายชีวิตมาได้เป็นเวลาครึ่งคืน “โอ้! นั้นที่พักของใครกันหรือว่าเรารอดชีวิตแล้วเค้าจะมองเห็นเรามั๊ยนะ” ตลอดเวลาที่ลอยอยู่ในน้ำนางพยายามร้องให้คนช่วย แต่ไม่มีใครได้ยินเสียงนางเลย
จนกระทั่งนางลอยมาถึงหน้าศาลาวัดของฤาษีหนุ่มตนหนึ่ง ก็เกิดโชคดีที่ฤาษีได้ยินเสียงนาง จึงออกมาดูเมื่อเห็นหญิงลอยน้ำอยู่ด้วยอาการสิ้นเรี่ยวแรงจึงออกไปช่วย “แม่นางทำใจดี ๆไว้ชั้นจะลงไปช่วยเดี๋ยวนี้แหละ” ฤาษีหนุ่มดึงคุณหนูรูปงามขึ้นสู่ฝั่งให้ชีวิตใหม่แก่เธออีกครั้งในตอนนั้นธิดาเศรษฐีดูน่าสงสารนักเนื้อตัวเย็นเฉียบปากคอสั่นเพราะความหนาว
“ยื่นมือมาสิชั้นจะลงไปช่วยดึงเจ้าขึ้นมาเอง” “ข้าหนาวเหลือเกิน” “ เจ้านะนอนที่ศาลานี้แล้วกันชั้นนะไปนอนข้างนอก” “ขอบคุณมากท่านฤาษีท่านช่างมีน้ำใจกับข้ายิ่งนัก” ธิดาเศรษฐีแสนสวยฟื้นตัวแข็งแรงด้วยที่พักและอาหารของฤาษีตั้งแต่วันแรก แต่จนกระทั่งเข้าวันที่สามนางก็ไม่มีทีท่าที่จะจากไป
  ฤาษีตนนี้ทนได้อย่างไรนะเราอุตส่าห์พักอยู่ด้วยตั้งหลายวันยังทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้อยู่อีกเองก็ออกจะสวยดูซิจะทนไปได้สักกี่น้ำ บุตรีใช้เสน่ห์มายาเข้าก่อกวนจนสุดท้ายบารมีที่บำเพ็ญมาขาด ฤาษีหนุ่มต้องพ่ายแพ้หลงรักนางชนิดห้ามใจไม่ไหวและแล้วทั้งสองก็อยู่กินอย่างสามีภรรยา
 ต่อมาอีกไม่นานธิดาเศรษฐีทนชีวิตที่แสนเงียบเหงาในป่าไม่ไหวก็อ้อนฤาษีหนุ่มผู้เป็นสามีย้ายเข้าไปอยู่ในเขตเมือง ฤาษีหนุ่มกับเมียสาวก็พากันไปปลูกกระท่อมอยู่ที่ชายแดนแห่งหนึ่ง ฤาษีหนุ่มเปลี่ยนตัวเองจากนักบวชมาเป็นพ่อค้านมเปรี้ยว เมื่อว่างจากทำงานเข้าก็ยังเอื้อเฟื้อต่อชาวบ้าน ด้วยการอบรมสั่งสอนให้ทุกคนรู้ผิดชอบชั่วดี
 อะไรเป็นบุญอะไรเป็นบาปเป็นที่นับถือโดยทั่วไป ธิดาเศรษฐีกับฤาษีหนุ่มใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ต่อมาอีกไม่นานชะตาร้ายก็มาเยือนครานั้นมีโจรป่าบุกเข้าปล้นหมู่บ้านกวาดทรัพย์สมบัติของชาวบ้านไปมากมายรวมทั้งได้ฉุดธิดาของเศรษฐีไปด้วย
เมื่อมาอยู่รังโจรธิดาเศรษฐีได้รับการบำรุงบำเรอกับนายโจรอย่างดีจนติดใจไม่อยากกับไปเป็นเมียของบัณฑิตอีก ธิดาเศรษฐีได้วางแผนให้คนส่งข่าวแก่ตักกบัณฑิตว่านางจำใจอยู่กับนายโจรในป่านี้ทุกวันช่างเป็นไปด้วยความทุกข์ใจแสนสาหัสให้บัณฑิตรีบหาทางพานางหนีไปด้วย
 “ตาแก่ชั้นให้แกร้อยหนึ่งฝากไปบอกสามีชั้นให้หน่อยแต่อย่าปากโป้งไปบอกใครนะไม่งั้นชั้นแกตายแน่” เมื่อบัณฑิตได้ข่าวจากเมียสาวก็ลอบเข้าไปในรังโจรเพื่อพานางหนีในอุบายที่นางวางไว้ “ท่านพี่ๆ ซ่อนตัวอยู่ในนี้ก่อนนะพอค่ำๆ พอพวกโจรออกไปปล้นเราค่อยหนีไปพร้อมกัน”
คนนำทางพาเขาไปซ่อนตัวในยุ้งข้าวตามที่นัดไว้ ไม่ทันพลบค่ำหญิงนางสารพัดพิษก็ไปบอกแก่นายโจรสามีใหม่ว่ามีศัตรูมาซ่อนตัวในยุ้งข้าว “ท่านพี่รีบไปจัดการมันสิค่ะ ใครก็ไม่รู้น่ากลัวๆ” “อย่ากลัวเลยเดี๋ยวพี่เนี่ยจะไปจัดการมันให้ มันซ่อนตัวอยู่ในยุ้งข้าวใช่มั๊ย มันกล้ามาแหย่หนวดเสือเลยรึ”
 โจรป่าจับตัวตักกบัณฑิตไว้ เมื่อพบว่าไม่มีหอกดาบติดตัวจริงจับมัดไว้ แล้วพลัดกันเปลี่ยนพลัดกันเฆี่ยนตีก่อนจะฆ่าทิ้ง แม้บัณฑิตจะเฆี่ยนตีมากเท่าใดก็จะร้องออกมาแค่ 4_คำ จนน่าประหลาดใจ  โกรธง่าย อกตัญญู ส่อเสียด คิดร้าย ตักกบัณฑิตเล่าให้นายโจรฟังตั้งแต่แรกพบกับเมียสาวและแผนการร้ายของนางที่ทำให้เขาต้องมาถูกพวกโจรจับไว้และเฆี่ยนตี
 “นางคนนี้มันช่างเลวจริงๆ ตักกบัณฑิตทั้งช่วยชีวิต ทั้งเลี้ยงดูนาง นางยังคิดฆ่าได้ ต่อไปน่ะ นางคงหาทางฆ่าเราได้เหมือนกัน คนอย่างนี้อยู่ต่อไปก็หนักแผ่นดิน” นายโจรสามีใหม่ตัดสินใจกำจัดทิ้ง จึงวางแผนเสร้งไปพาเมียสาวมายังพรานทหาร “มาสิจ๊ะเมียรักข้าจับศัตรูที่เจ้าได้แล้วนะ เดี๋ยวข้าจะผ่าอกมันให้เห็นกับตาเลย ดีมั๊ยจ๊ะ?
  “ดีจ๊ะ ฆ่าให้ตายเลยนะ ไม่งั้นน่ะมันจะกลับมาทำร้ายเราได้นะค่ะท่านพี่” ธิดาเศรษฐีดึงไปจิกศีรษะดึงแขนตักกบัณฑิตให้แหงนคอรอคมดาบของนาโจรสามีใหม่อย่างเหี้ยมโหด “เร็วสิจ๊ะท่านพี่ข้าน่ะเตรียมท่าเหมาะไว้ให้ท่านพี่ลงดาบแล้ว เอาแค่ครั้งเดียวให้ตายเลยนะ
 “ทำไมเจ้าถึงทำกับเราได้ เจ้าลืมความรักของเราแล้วหรือ” “อย่าพูดมากนักเลยน่า รำคาญจริงๆ เลย” “เอายังจะลงดาบแล้วนะ เมียรักเจ้าเองก็ยืนนิ่ง ๆไว้นะ จับให้ดีๆล่ะ” วินาทีนั้นธิดาเศรษฐีผู้เลอโฉมก็เจ็บแปลบเข้าที่เนินอกถึงหัวใจแทนที่คมดาบจะผ่าร่างตักกบัณฑิตและลากคมลึกถึงก้อนหัวใจธิดาเศรษฐีผู้เลอโฉม
 “ทำไมๆท่านพี่ข้าน้องทำไม” “คนชั่วอย่างเจ้ามันต้องตอบแทนด้วยความตาย” “ท่านทำร้ายนางทำไม” “ท่านบัณฑิตข้าต้องขอขมาที่ข้าได้ล่วงเกินท่านไป” “ข้าให้อภัยท่าน” ตักกบัณฑิตสอนหลักธรรมสำหรับปุตุชนให้นายโจรฟังก่อนอำลาไปยังป่าใหญ่เพื่อบำเพ็ญเพียรเป็นฤาษีต่อจนสิ้นอายุขัย
 นายโจรนั้นเมื่อได้ฟังคำสั่งสอนตักกบัณฑิต จึงตามไปในป่าบวชเป็นฤาษี จนสำเร็จอภิญญา 5_สมาบัติ 8_เมื่อพระพุทธองค์ตรัสชาดกนี้จบแล้วก็ทรงตรัสกับภิกษุที่หลงใหลกับรูปโฉมของนางงามจนลืมกิจสงฆ์ว่า “คนไม่ดีมักโกรธง่าย อกตัญญู ส่อเสียด คอยแต่จะทำลาย ดูก่อนภิกษุเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิดจะไม่คลาดความสุขเป็นแน่

 
โกธนา อกตญญ จ  ปิสุณา จ เภทิกา
พรฺหมฺจริย จร ภิกขุ โส สุข น วิหาหิสิ
 
นายโจร กำเนิดเป็น พระอานนท์
ตักกบัณฑิต เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
24  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / อปัณณกธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันความผิดพลาด เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2015, 05:48:19 pm

อปัณณกธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันความผิดพลาด

อปัณณกธรรมชาดก เป็นนิทานชาดกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้กับอนาถบิณฑิกเศรษฐีและสาวกของอัญญเดียรถีย์ 500_คน ณ เชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี เนื่องด้วยอัญญเดียรถีย์เหล่านี้ล้วนเป็นคนกลับกลอก พอฟังธรรมก็เกิดศรัทธาประกาศตนเป็นพุทธมามกะ
แต่พอพระพุทธศาสดาเสด็จจากไป ก็หันกลับไปนับถือลัทธิเดิมกันทั้งหมดสิ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงระลึกชาติแต่หนหลังและพบว่า ในกาลก่อนนั้น มนุษย์ทั้งหลายนี้เคยถือเอาสิ่งที่มิใช่สรณะ มาเป็นสรณะโดยอาศัยการคาดคะเนถือเอาผิดๆ จึงถึงให้เกิดการพินาศใหญ่หลวงมาแล้ว และพระองค์ก็ทรงเล่าเรื่องราวในกาลนั้นให้ฟัง
 ณ กรุงพาราณสี มีพ่อค้ารายใหญ่อยู่สองคน ซึ่งทั้งสองต่างมีอุปนิสัยที่ต่างกันราวฟ้ากับดิน พ่อค้าคนที่ 1 มีนิสัยเจ้าอารมณ์ หูเบา เชื่อคนง่าย ขาดสติพิจารณา “เฮ้ย! นาย ผู้หญิงคนเนี่ยสุดยอด เก่งทั้งงานบ้าน งานเรือน นายเอาไปใช้สอยทำงานที่บ้านสิ คุ้มค่าคุ้มราคา นาย”
  “แหม... นายจ้างรูปหล่อ เท่ห์ สมาร์ทขนาดเนี้ยะ ดิฉันจะรับใช้อย่างเต็มที่เลยค่ะ” “ฮึๆๆๆ ข้าก็หล่ออย่างนี้มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วล่ะ เจ้าเนี่ยเข้าใจพูด เอาล่ะข้ารับไว้ทำงานก็แล้วกัน” “หึ! ไม่น่ารับมาทำงานเลย กลายเป็นนางนกต่อซะได้ พาโจรขึ้นบ้านแท้ๆ เลยเรา” “สาวใช้คนนั้นมันพาคนมาขโมยสมบัติของเจ้านายไปตั้งเยอะแน่ะ”
 “ข้าว่าและ ดูแผล๊บเดียวก็รู้ ผู้หญิงจริตอย่างนั้นน่ะ หึ! สวยซะเปล่า เป็นโจรไปซะได้ เซ็ง! อุตส่าห์จะขอเป็นแฟนซะหน่อย” ส่วนพ่อค้าอีกคนกลับชอบใฝ่หาความรู้ ช่างสังเกตและยึดถือ อปัณณกธรรม 3_ข้อ เป็นธรรมะประจำใจ
ข้อที่ 1 คือการป้องกันตน มิให้มัวเมา ในรูป รส กลิ่น เสียง อินทรีย์สังวรณ์ “นายวาณิช หันมามองข้าสักนิดซิคะ ข้าจะร่ายรำให้ท่านดู” “หันมาสนใจข้าดีกว่า สาวสวยกว่าตั้งเยอะ” “อย่ามายั่วยวนข้าซะให้ยากเลย ข้ารู้หรอกนะว่าพวกเจ้านะ จะล่อลวงเอาเงินจากข้า ฮึๆๆๆ”
อปัณณกธรรม ข้อ 2 คือการเตรียมป้องกันมิให้เกิดโทษจากการกิน ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเครื่องดื่ม โภชเนมัตตัญญุตา “แหวะ ไม่น่ากินเยอะเลยตู โอ้ย เหล้าอะไรเนี่ย แรงจริงๆ เลย” “เหอะๆ ฮ่าๆๆ เจ้านี้มันคออ่อนแล้วยังไม่รู้สภาพตัวเองอีก”
 อปัณณกธรรม ข้อ 3 คือเตรียมป้องกันมิให้เกียจคร้านละเลยหน้าที่ชาคริยานุโยค “โอ้ย...ง่วง นอนดีกว่า วันนี้หยุด ขี้เกียจ พรุ่งนี้ค่อยว่ากันใหม่” นอกจากตนจะตั้งอยู่ในอปัณณกธรรม 3_ประการนี้แล้ว พ่อค้าผู้นี้ยังอบรมบริวารให้ปฏิบัติตามและยึดธรรมนี้ไว้ในใจเช่นกัน
  “โอ้! ช่างเป็นหลักธรรมที่ดีจริงๆ มี 3 ข้อเอง สั้น กระชับ ฉับไว” “นายจ้างของเราช่างเป็นเจ้านายที่รอบรู้โดยแท้ มิเสียแรงที่เรามาทำงานด้วย” อยู่มาคราวหนึ่งพ่อค้าทั้งสองต่างคิดจะเดินทางข้ามทะเลทราย เพื่อไปค้าขายยังเมืองเดียวกัน แต่เส้นทางนี้แห้งแล้งมาก
 อาหาร น้ำและหญ้าระหว่างทางก็ขาดแคลนไม่พอเพียงสำหรับคนและโค พ่อค้าทั้งสองจึงไม่สามารถร่วมเดินทางไปพร้อมกันได้ “หึๆๆ...เราเดินทางกันไปก่อนดีกว่า หนทางยังราบเรียบไม่ถูกเหยียบย่ำให้แตกเป็นฝุ่น หญ้าเลี้ยงโคก็เต็มที่ ยังไม่มีใครแตะต้องพืชผักผลไม้ก็ยังบริบูรณ์อยู่ทั้งสองข้างทาง
น้ำตามทางยังใสสะอาดอยู่ น่าดื่มกิน ที่สำคัญสินค้าก็ยังสามารถตั้งราคาได้ตามใจชอบ เหอะๆ ไปก่อนรวยก่อนนะโว้ย ฮ่าๆๆๆ” “ฮิๆๆๆ คราวนี้ต้องได้เงินมาเพียบแน่ๆ” “ที่ได้เงินมาเพียบน่ะ ของนายจ้างเขาทั้งนั้นแหละ แกก็ได้ค่าแรงเท่าเดิม แกจะดีใจไปทำไมวะ”
 “เราไปทีหลังดีกว่า หนทางที่ขรุขระจะได้ราบเรียบสม่ำเสมอ เพราะคนชุดก่อนถากถางไว้แล้ว ส่วนหญ้าเลี้ยงโคก็จะงอกขึ้นมาใหม่อ่อนกำลังดี พืชผักชุดแรกที่คนตัดกินไปก็จะแตกยอดขึ้นมาใหม่ อ่อนกำลังน่ารับประทาน ในบริเวณที่ไม่มีน้ำ คนชุดแรกก็ต้องขุดบ่อน้ำเอาไว้แล้ว
  เรื่องราคาสินค้าก็ตั้งตามพ่อค้าชุดแรกเลยล่ะกัน คงไม่มีปัญหาอะไร” เมื่อถึงเวลาเดินทาง พ่อค้าผู้ขาดสติจึงจัดคนออกเดินทางพร้อมขบวนสินค้า และเสบียงและน้ำสำหรับระยะทางกันดารถึง 60_โยชน์ “เอ้า! พวกเราเร็วเข้า เดินทางกันได้แล้ว” เดินทางเข้าวันที่ 7 กองเดินทางของพ่อค้าคนที่ 1 ก็เข้าไปในเขตยักษ์กินคน
 “เฮ้ย! เจ้าพวกมนุษย์มากันแล้วเว้ย หิวท้องกิ่วมาหลายวัน คราวนี้จะกินเนื้อให้อิ่มแปล้เลย” “เหอะๆ ใจเย็นไว้ ปล่อยให้พวกมันชะล่าใจไปก่อน พวกนี้มันไม่ระมัดระวังตัวกันหรอก เสร็จเราแน่” ยักษ์เหล่านี้มีอยู่แค่ 20_ตน มันจึงไม่กล้าต่อกรกับคนถึง 500_คน
 พวกมันจึงวางแผนล่อลวงเพื่อหลอกกินเนื้อมนุษย์เหล่านี้ พวกยักษ์จำแลงกายเป็นคนนั่งรถเทียมด้วยโคขาว สวนทางมา บนล้อมีโคลนติดหนาเตอะเหมือนเพิ่งเดินทางฝ่าสายฝนที่ตกหนักมาใหม่ๆ แต่ละคนท่าทางแข็งกระด้าง กำแหงหาญเคี้ยวกินเง่าบัวอย่างเอร็ดอร่อย
ทำทีให้รู้ว่า สองข้างทางที่พวกเขาผ่านมานั้น มีห้วยหนองคลองบึงเต็มไปหมด “ท่านวาณิช ท่านจะทนขนน้ำไปให้หนักทำไม ข้างหน้ามีห้วยหนองคลองบึงตลอดทาง พวกข้ายังว่ายไปเก็บฝักบัวมากินกันเลย” “อ่า จริงหรือท่าน” พ่อค้าหูเบาได้ฟังดังนั้นก็หลงเชื่อสั่งลูกน้องให้เทน้ำทิ้ง
หวังสะดวกสบายไม่ต้องแบกของหนัก แต่เขาไม่สังเกตเลยสักนิดว่า บุคคลเหล่านี้มีท่าทางแข็งกร้าว ห้าวหาญ ในตาแดง แม้ยืนอยู่ท่ามกลางแสงแดดก็ไม่มีเงาปรากฏ ผิดมนุษย์ กลุ่มขบวนการพ่อค้าเดินทางไปตลอดวันจะหาน้ำสักหยดก็ไม่พบ ครั้นตกเย็นก็อ่อนเปลี้ยเพลียแรง หิวโหย อดทั้งข้าวและน้ำ ทั้งคนและโคก็สลบไสล
พ่อค้าผู้ขาดสติพาบริวารสู่หายนะเสียแล้ว “โอ่ย! หิวน้ำ เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว ข้าวปลาก็ไม่มีกิน” “ทรมานเหลือเกิน ข้าไม่มีเรี่ยวแรงเดินแล้ว” “ไม่มีแรงเดินแล้ว น้ำก็ไม่เหลือสักหยด โอ้ย!” ทั้งคนและโค เมื่อหมดเรี่ยวแรงก็กลายเป็นอาหารอันโอชะของยักษ์ในค่ำคืนนั่นเอง
 “ฮ่าๆๆๆ เจ้าพวกมนุษย์หน้าโง่ หลงกลแผนเราจนได้ ฮ่าๆๆๆ เอาเนื้อหวาน ๆ ของเจ้ามาให้ข้ากินซะดีๆ เสร็จเราแน่ หิวท้องกิ่วมาหลายวัน คราวนี้จะกินให้อิ่มแปล้เลย ให้ข้ากินซะดีๆ”  “ไอ้พวกมนุษย์หน้าโง่ ฮ่าๆๆๆ” จุดจบอันหายนะของเหล่าวาณิชผู้ขาดสติ ล้วนเกิดจากผู้นำขาดหลักธรรม อปัณณกธรรมโดยแท้
หลายวันต่อมานายวาณิชผู้ยึดหลักธรรม อปัณณกธรรม อยู่ในใจ ก็นำกองเกวียนออกเดินทางรอนแรมมาจนล่วงเข้าเขตทะเลทราย “เอ้า! พวกเราหยุดพักกันตรงนี้ก่อน ทางข้างหน้าเป็นทะเลทราย พวกเราต้องใช้ความระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ” นายวาณิชประชุมกับลูกน้องให้ทุกคนปฏิบัติ อปัณณกธรรม โดยเคร่งครัด
เมื่อกองคาราวานเคลื่อนเข้าสู่แดนอันตราย พวกยักษ์กินคนก็แสร้งทำเป็นคณะเดินทางผ่านมาเช่นเดิม ทำอุบายหลอกล่อเหมือนเช่นตอนหลอกพ่อค้าคนแรก “พวกท่านจะขนน้ำไปให้หนักทำไม ข้างหน้าฝนตกชุ่มฉ่ำ มีลำน้ำห้วยหนองมากมาย ไม่ต้องกลัวขาดน้ำหรอก” “ข้าไม่เชื่อหรอก คนพวกเนี่ย มีลักษณะรูปร่างแปลกๆ เหมือนไม่ใช่มนุษย์”
 คิดได้ดังนั้น นายวาณิชก็กล่าวเตือนกับลูกน้องไม่ให้หลงเชื่อ และให้เหตุผลประกอบ “หากทางข้างหน้าฝนตก ลมฝนต้องพัดเอาความชุ่มชื้นไปทั่วระยะ 3 โยชน์ ฟ้าก็ย่อมแล่บ เห็นแสงสว่างไกลเป็น 2_เท่า เมฆดำก็ต้องก่อตัวเหนือพื้นโลกบริเวณนั้น เสียงฟ้าร้องก็ต้องปรากฏให้ได้ยินบ้าง
 แต่ทุกท่านสังเกตเถิดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเลย ฉะนั้นสิ่งที่พวกนั้นพูด พวกเราไม่สามารถเชื่อได้เลย” นายวาณิชไม่หลงเชื่อกลอุบายนั้น ยังคงสั่งให้คณะเดินทางต่อไป พร้อมทั้งกำชับให้ประหยัดน้ำเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก ย่ำค่ำจนรุ่งสางทุกคืนก็ยังรักษาวินัยจัดเวรยามระมัดระวังอันตรายโดยไม่ประมาท
 “บัดซบที่สุด! คนพวกนี้มันระมัดระวังตัวกันจัง หิวโว้ยหิว แล้วจะกินเจ้าพวกนี้มันยังไงกันว่ะเนี่ย มันระวังตัวกันขนาดนี้”  “เซ็งเลยตู อดกินจนได้” และแล้วขบวนคาราวานของนายวาณิชก็พ้นผ่านเขตแดนยักษ์กินคนมาได้อย่างปลอดภัย และสามารถขายสินค้าได้ราคางามถึงสองเท่า
 นำกำไรเดินทางกลับไปยังพาราณสีโดยหลักธรรม อปัณณกธรรมคุ้มครองชีวิต นับแต่นั้นมาบริวารทั้ง 500_คน ก็นำเอา อปัณณกธรรม มาป้องกันความผิดพลาดในการดำเนินชีวิต ปฏิบัติตัวเป็นผู้มีสติมีเหตุผล รู้คุณ รู้โทษ ไม่ตัดสินสิ่งใดโดยคาดคะเนอีกต่อไป

 
 
คาถาประจำชาดก
อาปัณณะกะฐานะเมเก ทุติยัง อาหุ ตักกิกา
เอตะทัญญายะ เมธาวี ตัง คัณเห ยะทะปัณณะกัง
 
การตัดสินใจโดยการถือวิธีการคาดคะเนเดาเอา จัดว่าถือผิด
ควรถือตามเหตุผลเป็นจริง จึงจัดว่าถูก
สิ่งใดไม่ผิดผู้เป็นบัณฑิตย่อมถือสิ่งนั้น
25  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / วาตมิคชาดก-ชาดกว่าด้วยอำนาจรส เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 05:30:46 pm

วาตมิคชาดก-ชาดกว่าด้วยอำนาจรส

ครั้งเมื่อมคธรัฐปรากฎแสงธรรมะซึ่งพระสัมมาสัมพุทธได้ตรัสรู้เจ้าอริยสัจสี่ให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในความจริงแห่งสังสารวัฏจนครอบคลุมไปทั่วแคว้นใหญ่แห่งนี้นั้น กุลบุตรตระกูลต่างๆ ก็พากันสละเพศผู้ครองเรือนออกติดตามพระผู้ชนะมารไปยังกรุงสาวัตถีแคว้นโกศลอย่างมากมาย
 เพื่อออกบวชเป็นภิกษุสงฆ์ของพระสมณะโคดม แต่ในกระแสสาธุการแห่งกุศลกรรมของผู้สละเรือนออกบวชนี้ยังมีเสียงสะอื้นทุกข์ตรมอยู่ด้วยก็ไม่น้อย ผู้มีทุกข์ต่อการออกบวชของบุตรเวลานั้น มีเศรษฐีนีแห่งมคธรัฐอยู่ด้วยผู้หนึ่ง นางเฝ้าอ้อนวอนมหาเทพทุกวันเพื่อดลใจไม่ให้บุตรชายคนเดียวออกติดตามพระสมณะโคดมไปเช่นคนอื่นๆ
 “ได้โปรดเถิดเทพยดาฟ้าดิน ได้โปรดดลบันดาลให้ลูกชายคนเดียวของข้า พึงเห็นใจด้วยเถิดขออย่าได้คิดที่จะออกบวชอีกเลย ได้โปรดเถิด” แต่คำวิงวอนนั้นหาได้ผลไม่ เมื่อติสสะกุมารได้ซาบซึ้งในรสพระธรรม ยังมารบเร้าขออนุญาตมารดาเพื่อออกบวชจนได้ และทุกครั้งก็ไม่เคยสมปรารถนา มารดาไม่เคยอนุญาตให้ออกบวชเลยสักครั้งเดียว
“โธ่เมื่อไหร่แม่จะยอมใจอ่อนซะทีน่ะ อยากออกบวชจริงๆ แต่จะหนีแม่ไปเลยก็คงไม่ได้ เฮ้อ..เหลือทางเดียวเราต้องทรมานร่างกายตนเองเพื่อให้แม่ใจอ่อนยอมให้เราไปบวชซะที ติสสะกุมารต้องลงทุนอดอาหารเพื่อบีบบังคับให้มารดาอนุญาต แม้จะมีของกินคาวหวานที่โปรดปรานมายั่วให้หิวอยู่ทุกๆ มื้อ
 แต่ชายหนุ่มผู้ปรารถนาพุทธภูมิก็ไม่เคยย่อท้อ เขาอดอาหารจนย่างเข้าสู่วันที่เจ็ด “โอ๊ยหิวจนแสบท้องหมดแล้ว กลิ่นไก่ย่างหอมชื่นใจ อาหารเลิศรสทั้งนั้น อดทนไว้ๆๆๆ” นางเศรษฐีนีก็ยอมแพ้ด้วยความสงสารบุตร ในวันที่เจ็ดนั้น จึงได้เสาะหาผ้าไตรจีวรมามอบให้กับบุตร
  “แม่ยอมแพ้ความตั้งใจของเจ้าแล้ว ไปเถอะลูกไปบวชเป็นภิกษุตามปรารถนาเถิด พระโคดมเพิ่งนำหมู่สงฆ์และกุลบุตรชาวมคธไปสาวัตถีลูกแม่เร่งตามไปก็จะทันเข้าเฝ้าที่พระอารามเชตวันพอดีนะจ๊ะ” “ลูกจะตั้งใจปฏิบัติพระวินัยส่งอานิสงส์ให้แม่มิให้ขาดเลยขอรับ เมื่อลูกไม่อยู่แล้วแม่ดูแลตัวเองให้ดีนะขอรับ”
  ติสสะกุมารออกติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปทางบูรพาทิศโกศลรัฐ นับตั้งแต่บัดนั้น เมื่อวสันตฤดูมาถึงพระพุทธเจ้าและหมู่สงฆ์ก็จะจำพรรษายังพระเชตวันมิออกจาริกไปไหนอีก “เราต้องอุปสมบทให้ทันพรรษานี้ ไม่งั้นก็คงต้องรอไปอีกนาน เร่งฝีเท้าหน่อยคงตามทัน”
 และแล้วกุมารแห่งแคว้นมคธก็กลายเป็นพระติสสะผู้เคร่งวินัยและรักษาธุดงควัตรได้ทั้ง 13_ประการ ไม่บกพร่อง สิบปีผ่านไปพระติสสะก็ได้ชื่อว่าเป็นพระเถระผู้เคร่งธรรมปฏิบัติอย่างสูงอีกผู้หนึ่ง บัณฑิตทั้งหลายในแคว้นโกศลต่างพากันยกย่องว่า พระติสสะเถระเลิศในทางปฏิบัติเสมอกับพระกัสสปะ
 ที่พระพุทธเจ้าได้ยกย่องไว้เลยทีเดียว “ฮึม..นับว่าพระติสสะได้เจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนาได้ดีทีเดียว ใช้เวลาแค่ชั่วยามก็สามารถเข้าถึงญาณได้แล้ว” แต่ทางด้านแคว้นมคธมิได้เป็นเช่นนั้น พระมารดาของเถระติสสะยังคร่ำครวญคิดถึงท่านอยู่ไม่สร่างซา “ติสสะลูกแม่เมื่อไหร่หนอเจ้าจะลาสิกขากลับมาอยู่บ้านเราซะที
 โธ่ ลูกเอ้ย สิบปีแล้วนะลูก เจ้ารู้ไหม๊ แม่เฝ้าคิดถึงเจ้าทุกวัน นับวันที่เจ้าจะกลับมาอยู่กับแม่เหมือนเดิม” และแล้วแรงคิดถึงของแม่ก็ส่งผลขึ้นมาในวันหนึ่ง เพราะมีสาวใช้นางหนึ่งชื่อ วัณณทาสี นางลอบฟังคำพรรณนาและคิดแผนการที่จะทำให้พระติสสะลาสิกขาแล้วมาสมรสกับนาง
 “เห็นทีคนสวยๆ อย่างเราต้องออกโรงเองซะแล้ว คอยดูเถอะเราจะทำให้พระติสสะสึกแล้วกลับมาอยู่บ้านเราให้ได้” วัณณทาสีเข้าพบนายหญิงแล้วอาสาไปทำอุบายให้พระติสสะหันกลับมาทางโลกีในเวลานั้น “ขอบคุณคะ ข้าจะนำเงินนี้ใช้จ่ายตามแผนการ แต่เมื่อสำเร็จแล้วท่านต้องรับข้าเป็นสะใภ้นะคะ”
 “เอาเถอะขอให้เจ้าทำได้อย่างที่พูดเถอะนะ เจ้าจะขออะไรข้าก็ให้ได้” วัณณทาสีรู้ว่าสิ่งหนึ่งที่พระติสสะนิยมก็คือการได้ชิมรสอาหารอันปราณีต นางจดจำทุกรายการที่พระเคยชอบและนำอาหารเหล่านั้นไปถวายถึงพระวิหารเชตะวัน เมืองสาวัตถี เวลานั้นนางแต่งตัวให้ดูสวยงามสง่าเหมือนเป็นธิดาคณบดี
 “แต่งองค์ทรงเครื่องมาขนาดนี้ ไม่ชอบก็ให้รู้ไป” กริยามารยาทและสำเนียงเจรจาก็ปรุงแต่งเฉพาะที่ท่านติสสะชอบเพื่อโน้มน้าวให้จิตที่มั่นในสมาธิเริ่มรวนเร “แป้งสาลีเนยหอมชั้นเลิศจากมคธ หลวงพี่เคยโปรดทั้งนั้นเลยเจ้าคะ” พระติสสะเถระนั้นแม้จะบวชมานาน แต่ยังเผลอสติมิได้พิจารณาอาหาร
 เมื่อรับรู้รสชาติที่ถูกปากถูกใจมาก่อน ก็ติดในรสอาหารนั้น หลายๆ ครั้งจึงขาดวัตรปฏิบัติลงไปเพราะต้องอยู่กุฏิรอฉันของโปรดจากนางวัณณทาสี “อืม..รสดีเหมือนเคยจริงๆ มิเสียแรงที่รอภัตตาหารจากโยม รสชาติที่คุ้นเคย ฉันแล้วนึกถึงโยมแม่” เมื่อพระติสสะตกหลุมพราง ติดรสติดใจในสิ่งที่นำมาถวายแล้ว
สาวใช้รูปสวยก็เริ่มอุบายขั้นต่อไป “พระติสสะติดกับดักเธอแล้วหล่ะวัณณาเอ๋ย กลับไปเตรียมตัวให้งดงามเถอะ” “แน่นอนอยู่แล้วล่ะ มือชั้นนี้แล้วรับรองไม่มีพลาด” อุบายของนางวัณณทาสีคือหยุดนำภัตตาหารไปถวาย และไม่ปรุงอาหารใดๆ ใส่บาตรพระติสสะอีก จนผ่านไปหลายวัน
 วัณณทาสีก็ให้บริวารไปนิมนต์พระติสสะมายังที่พัก “เร็วเข้าเถอะนางเจ็บป่วยอยู่ข้างในโน้น นิมนต์พระคุณเจ้าเข้าเยี่ยมดูอาการเถอะขอรับ” “นางไม่สบายหรอกรึ ถึงว่าทำไมหายไปหลายวัน” ภายในห้องอันมิดชิดนั้น นางวัณณทาสีมิได้นอนป่วยแต่อย่างใด นางได้ปรุงแต่งเครื่องหอมและจัดการแต่งตัวของตนรอยั่วยวนพระเถระติสสะอย่างเต็มที่
 “เจออย่างนี้เป็นใครก็ต้องใจอ่อน ถึงจะเป็นพระติสสะก็เถอะ สวยอย่างนี้ใครจะอดใจไหว” เมื่อพระติสสะหลงกลเข้าไปในห้องส่วนตัวของหญิงสาวความเป็นภิกษุของพระพุทธเจ้าก็ต้องจบสิ้นลงทันที และนางวัณณทาสีก็ประสบความสำเร็จสึกพระไปครองเรือนได้ตั้งแต่บัดนั้น
 “ไปปฏิบัติหน้าที่สามีของน้องเถอะจ๊ะ อย่าอาลัยพระโคดมเลย ไปนะจ๊ะ เร็วสิจ๊ะ” การออกจากเพศบรรพชิตของพระติสสะเถระสร้างความตื่นตะลึงแก่พระสงฆ์ทั้งสาวัตถี “ไม่น่าเชื่อว่าพระเถระจะกลับไปหากิเลสอีก ไม่น่าเลยจริงๆ” “น่าเสียดายแทนจริงๆ เลย ธรรมะไม่ช่วยให้หลุดพ้นเลยรึ”
ยิ่งในพระเชตะวันมหาวิหารปรากฏการณ์พระนักปฏิบัติต้องมาติดรสอาหารครั้งนี้ ยิ่งถูกกล่าวขานกันอย่างมาก “ท่านคิดดูเถิดไม่น่าเชื่อว่ารสชาติอาหารจะทำให้สิ้นสติสมาธิได้” สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพระติสสะเถระไม่ได้ติดรสอาหารจนตกอยู่อำนาจสตรีเฉพาะชาตินี้เท่านั้น
  แม้ชาติก่อนก็เคยมีกรรมต่อกันมาแล้ว แล้วพระองค์ก็ทรงเล่า วาฏมิคชาดกไว้ดังนี้ นานมาแล้ว ณ อุทยานหลวงของพระเจ้าพรหมทัต ยังมีเนื้อสมันตัวหนึ่งหลงทางเข้ามาเล็มหญ้ากินถึงใจกลางอุทยาน คนเฝ้าอุทยานก็ไม่ได้ขับไล่ คงได้แต่เฝ้าดูเงียบๆ “มาอีกแล้วสมันตัวนี้ซักวันเถอะพ่อจะจับให้”
 “อืม..หญ้าแถวนี้มันอร่อยดีจริงๆ ไม่มีใครมาแย่งอีกต่างหากกินสบายใจเลยเรา” ต่อมาอีกหลายวันสมันตัวนี้ก็ยังเข้ามากินใบไม้ใบหญ้าในอุทยานอีก “นั่นแน่ะ มาอีกแล้วกินซะเพลินเลยนะพ่อ แต่เอ้..ทำไมเจ้าสมันตัวนี้ถึงกล้ามาอยู่ใกล้มนุษย์นะ นำเรื่องไปกราบทูลพระเจ้าพรมทัตดีกว่า” “มาแล้วครับ เจ้าเก่าเวลาเดิม
 ชักจะติดใจหญ้าแถวนี้แล้วซิ นี่ถ้าได้รสหวานอีกหน่อยก็ดีเลยนะเนี่ย” เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงทราบก็มีพระบัญชาให้จับมาไว้ใกล้พระตำหนัก “ขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ป่าจะยอมให้จับง่ายๆ รึพระเจ้าค่ะ” “เจ้าจงเอาน้ำผึ้งนี้ไปเทบนใบไม้ล่อให้สมันนั้นเข้ามาในตำหนักของเราเถิด เมื่อสมันลิ้มรสหอมหวานก็จะติดใจ
 จะต้องแวะเวียนมาเลียกินอยู่เสมอจนเคยชิน” เมื่อรับคำสั่งจากพระเจ้าพรหมทัตแล้ว คนเฝ้าอุทยานก็รีบปฏิบัติตามแผนการทันที “ฮึม..น้ำผึ้งของแท้ทั้งนั้น มาเลยพ่อ หวานหอมอร่อยนักละ ชิมดูสักนิดแล้วจะติดใจนะพ่อ” “วันนี้จะกินตรงไหนดีน่ะ” เมื่อนายอุทยานนำน้ำผึ้งราดทาบนใบไม้ให้สมันมาเลียกินบ่อยเข้า
จนแน่ใจว่ามันหลงติดรสชาติแน่แล้ว ก็จัดฉากค่ายกลจับสมันขึ้นทันที “หวานจริงๆ เลย วันนี้มีน้ำผึ้งซะด้วย อื้อหือ..รสชาติโดนใจ” นายอุทยานนำหนังสัตว์มากั้นทางเดินให้คดเคี้ยวไปยังพระตำหนักซึ่งมีกำแพงล้อมไม่สามารถหนีกลับออกมาได้อีก
 และสมันก็หลงกลเดินเลียน้ำผึ้งเพลินเข้าไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว “ตรงนี้ก็มีอีก วันนี้โชคดีจริงๆ เจอน้ำผึ้งตลอดทางเลยเรา สมน้ำหน้าสมันตัวอื่นจริงๆ ชวนมาก็ไม่มา อดกินน้ำผึ้งหวานๆ เลย” เนื้อสมันซึ่งหลงรสน้ำผึ้งมารู้ตัวอีกครั้งก็ถึงปลายทาง ที่นายอุทยานได้สร้างไว้
  ที่นั่นอยู่ในกำแพงรอบพระตำหนัก และมีนายอุทยานจับตัวอยู่ “เฮ้ย..นี่มันกับดักนี่น่า โอ้ยไม่น่าเลยเรา..โดนจับแน่ จะหนียังไงเนี่ย โอ๊ โอ้ย” อิสรภาพที่เคยหากินตามลำพังก็หมดสิ้น ไม่สามารถดิ้นหลุดไปได้อีก “โอ้ย..ช่วยด้วยๆๆ ใครก็ได้ช่วยเราที ไม่น่าหลงกินน้ำผึ้งเลยเรา”
พระเจ้าพรหมทัตพิจารณาเนื้อสมันแล้วตรัสว่า “สัตว์ป่าลึกเช่นเนื้อสมันนี้ มาอยู่ในที่นี้ได้ก็เป็นเพราะติดในรสน้ำผึ้งจนลืมตัวลืมตาย เฮ้อ..นี่แหละหน๊า หากมีสติพิจารณากันสักนิดชีวิตเจ้าก็คงไม่เป็นอย่างนี้” การติดถิ่นที่อยู่ก็ดี ติดในมิตรสหายก็ดี ไม่ร้ายเท่าการติดใจติดรสในสิ่งอันชื่นชอบเลย นายอุทยานจับเนื้อสมันได้ก็ด้วยเหตุนี้

 
 
ในพุทธกาลสมัยผู้ดูแลอุทยาน กำเนิดเป็น นางวัณณทาสี
เนื้อสมัน กำเนิดเป็น พระติสสเถระ
พระเจ้าพรหมทัตเสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
26  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / พระมหาสีลวะชาดก-ชาดกว่าด้วยการปรารภความเพียร เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 04:55:45 pm

พระมหาสีลวะชาดก-ชาดกว่าด้วยการปรารภความเพียร

กาลครั้งนั้นเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับยังพระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี พระองค์ได้หยั่งรู้ถึงความทุกข์กายทุกข์ใจของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรรูปหนึ่งที่ไม่อาจแสวงหาโลกธรรมได้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดให้ทุกข์นั้นบรรเทาลงด้วยตัวอย่างการมานะต่อสู้ในอดีตชาติของพระองค์เอง
 “ดูก่อนภิกษุ แม้แต่เราในอดีตชาติ ก็เจออุปสรรคขัดขวาง ขณะนั้นแม้จะสูญสิ้นราชสมบัติแล้ว แต่เรายังตั้งมั่นในมานะไม่ท้อถอย กระทั่งภายหลังสามารถกลับไปครองราชได้เพราะมานะนั้น” พาราณสีนครใหญ่ แข็งแกร่งและร่มเย็นดุจกันกับมหานทีที่โอบพระนครไว้ด้วยความรัก
ชาวเมืองทุกคนล้วนรักและศรัทธาในตัวมหาราชของเขายิ่งชีพ ทุกคนชาวเมืองสีลวราชด้วยความเคารพจากใจเสมอ “มหาราชของเราช่างสง่างามจริงๆ จิตก็เปี่ยมไปด้วยเมตตา” “ใช่ๆ พระองค์ทรงปฏิบัติธรรมและทรงบำเพ็ญทานบารมีมิได้ขาดเลยนะ” “ท่านแม่ถ้าข้าโตขึ้นนะ ข้าจะเป็นคนดีเหมือนองค์มหาราชของเรา”
“โอ้! ลูกข้าอายุแค่ 3 ขวบ แต่ฉลาดกว่าพ่อของเจ้าอีก” “เจ้าอย่ามาประชดข้าได้มั๊ย? เพราะตอนนี้เขาให้เถิดทูนมหาราชา ไม่ได้ให้ประชดผัว ไม่รู้เรื่องเลย” ด้วยจิตใจที่เปี่ยมเมตตาของพระราชาเป็นเหตุให้อำมาตย์คนหนึ่งในพระราชวังเหิมเกริม มิได้กลัวเกรงต่อกฏมนเทียรบาลต่างๆ
 ในพระราชวงศ์ถึงขั้นบุกรุกเข้าไปในพระราชวังชั้นในเสมอแม้จะถูกจับได้หลายครั้งก็ไม่กลัวเกรง “เฮ้ย...สาวๆ สวยๆ ทั้งนั้นเลย คนนั้นก็เอวบางร่างน้อย อุ๊ย…คนนั้นก็สวยคนนี้ก็ขาวใส น้ำลายจะไหลเลย อย่างกับนางฟ้านางสวรรค์” “ว้าย! ตาอำมาตย์ลามกนั้นน่ะ แอบเข้ามาอีกแล้ว
 ตายแล้ว องค์หญิงเพคะเสด็จเข้าไปข้างในก่อนเถอะเพคะตาแก่หัวงูนั้นน่ะ แอบเข้ามาอีกแล้ว” “พาองค์หญิงเข้าไปก่อน ทางนี้ข้าจะจัดการให้เอง หัวงูนักใช่มั๊ย? ต้องโดนฤทธิ์ของข้าบ้างแล้ว” “พระอาญามิพ้นเกล้า อำมาตย์ผู้นี้ทำผิดข้อหมิ่นพระบรมเดชานุภาพบ่อยครั้งความผิดถึงขั้นประหารชีวิตพะย่ะค่ะ”
“อย่าให้ถึงขั้นนั้นเลย แค่ยึดทรัพย์แล้วให้ออกไปอยู่ที่อื่นให้พ้นเมืองของเราก็พอแล้ว” อำมาตย์นั้นแทนที่จะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ละเว้นโทษประหาร กลับเคียดแค้นโกรธเคือง “ตะวันรุ่งพรุ่งนี้เจ้าต้องออกไปจากพระนคร ความผิดนี้ไม่ให้ยื่นอุทรด้วย”
  “โกรธ...ทำกับเราเช่นนี้ได้อย่างไร คอยดูเถอะข้าจะกลับมาแก้แค้นให้ได้ ต่อไปข้าจะไม่ได้ดูนางฟ้านางสวรรค์เหล่านั้นแล้วหรือ? เสียดายจัง ยิ่งคิดยิ่งโกรธ เดี๋ยวเอาหอกเสียบดีมั๊ยเนี่ย” “น่าหมั่นไส้จริงๆ เลยยัง ไม่สำนึกอีก” “ข้าจะไปอยู่แคว้นโกศลก็ได้ คอยดูข้าจะต้องเป็นใหญ่ให้ได้ แล้วเราจะได้เห็นดีกัน”
  “ท่านพี่อย่าอารมณ์เสียสิค่ะ เดี๋ยวน่ามืดเป็นลมไปอีกนะ น้องน่ะไม่อยากหามท่านพี่นะ น้องหนักนะค่ะ” อำมาตย์ผู้นี้พกความแค้นพาเมียสาวเดินทางข้ามน้ำข้ามภูเขาหลายวัน แล้วก็มาถึงนครโกศลซึ่งมีพรมแดนติดกัน ได้รับความช่วยเหลือจากสหายเก่า
ซึ่งเป็นเสนาบดีทหารจนสามารถได้เข้ารับราชการในแคว้นโกศลได้สำเร็จ อำมาตย์ชั่วเมื่อได้เข้าเฝ้าพระเจ้าโกศลหลายครั้งก็ทำการยุแย่จนพระองค์หลงเชื่อ อยากก่อสงครามยึดพาราณสีมาเป็นของตนทุกครั้งไป “เชื่อข้าพระองค์เถอะเจ้าพาราณสีน่ะอ่อนปวกเปียกจะตาย แค่มดตัวเดียวยังไม่กล้าฆ่า
  ถ้ารบทางฝ่ายเราต้องชนะแน่ๆ พระองค์พิจารณาดูเถิด เสียแรงเพียงน้อยนิด แต่ได้ราชสมบัติเต็มท้องพระคลัง ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก ฮ้าๆๆ”  “มันง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ โม้รึเปล่าท่านอำมาตย์ โลกนี้ยังมีคนดีอย่างนี้ด้วยหรอ เราน่ะไม่อยากจะเชื่อเลยมดตัวเดียวก็ไม่อยากจะฆ่าเนี่ยนะ เค้าเป็นมหาพระราชาหรือนักบวชกันแน่”
   “จริงๆ พะย่ะค่ะ ถ้าพระองค์ไม่เชื่อ ก็ลองทดสอบดูให้มันรู้แจ้งได้เลยพะย่ะค่ะ” “ฮืม..พวกเจ้าจงทำตามแผนข้าให้พวกเจ้าแกล้งปลอมเป็นโจร แล้วก็ไปปล้นพวกสดมพวกชาวพาราณสี พวกเจ้าจงยอมแพ้ให้กับทหารที่จับตัวพวกเจ้าไป แล้วก็ยอมรับผิดว่าเป็นเพราะความจนถึงต้องมาเป็นโจร
 ข้าน่ะอยากรู้ว่ามหาสีลวะจะทำอย่างไรกับพวกเจ้า” “ช่างเป็นแผนที่แยบยลสุดยอดพะย่ะค่ะ พระองค์อัจฉริยะจริงๆ” แล้วทุกอย่างก็เป็นไปตามแผนพระเจ้าโกศล โจรปลอมทั้งหมดถูกทหารพาราณสีจับคุมตัวไปพบมหาสีลวะได้ในวันหนึ่ง “ข้าน้อยผิดไปแล้ว เพราะความจนข้นแค้น อดมื้อกินมื้อ
ลูกๆ อีก10 ชีวิตไม่มีใครกินอิ่มได้สักวัน เศร้า! จน! เครียด! ถึงเป็นโจร” “ถ้าอย่างนั้นเราจะปล่อยตัวพวกเจ้าไปแต่พวกเจ้าต้องสัญญาก่อนว่าจะเลิกประพฤติชั่วปล้นเขากินโดยเด็ดขาด เราจะให้พระคลังมอบทุนการทำมาหากินให้ทุกคน” “โอ้น้ำใจดีงามแท้ๆ ข้าพเจ้าขอสัญญาว่า จะเลิกเป็นโจร จะเป็นพลเมืองดี ใช้ชีวิตพอเพียงต่อไป
 ขอให้เจริญรุ่งเรืองโดยสุจริตเถิด” พวกโจรกลับมาทูลให้พระเจ้าโกศลทรงทราบถึงน้ำพระทัยอันดีงามของมหาสีลวะ “มหาสีลวะอ่อนปวกเปียกจริงๆ พระเจ้าคะ ไม่กล้าหาญเข้มแข็งเหมือนพระองค์เลยสักนิด เทียบกันก็เหมือนฟ้ากับเหว” “ถ้าเช่นนั้นก็เหมาะเลย ฮ้าๆๆ  พาราณสีต้องตกอยู่ในกำมือเราแน่ๆ”
“เอ้า..ท่านแม่ทัพเตรียมออกรบได้” กองทัพแคว้นโกศลเข้าประชิดเมืองพาราณสีอย่างรวดเร็ว ด้วยหมายมั่นเอาราชสมบัติทุกอย่างของมหาสีลวะมาครอบครอง ทางด้านของมหาสีลวราชเมื่อทรงทราบถึงสงครามที่มาถึงเมือง ก็มิได้ทรงกลัวเกรงแต่อย่างใด ด้วยน้ำพระทัยอันดีงาม
 พระองค์ไม่ทรงอนุญาตให้ทหารออกไปรบร้างผลาญชีวิตกัน กลับเปิดประตูเมืองมอบบรรลังค์ให้โดยดุษฎี “อ่อนจริงๆ ยังไม่ทันได้ออกแรงเลยทำไมได้สมบัติมาง่ายขนาดนี้ ทหารจับทุกคนมัดแล้วไปฝังไว้ในป่าผีดิบ เป็นอาหารสุนัขจิ้งจอกซะ” “ช่างเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมจริงๆ พะย่ะคะ พระองค์ช่างกล้าหาญ แข็งแกร่งดุจหินผาจริงๆ”
กลางดึกคืนนั้นมีเสียงร้องด้วยความโลภของพระเจ้าโกศล และความซะใจของอำมาตย์ลามกที่สามารถแก้แค้นได้ แต่ในป่าช้าเหล่าทหารและมหาสีลวะถูกจับมาฝังไว้นั้นช่างหน้ากลัวยิ่งนัก เมื่อเห็นสุนัขรายล้อมเข้ามาเพื่อหวังกัดกินคนเหล่านี้เป็นอาหาร
“ทุกคนต้องตั้งสติไว้ให้มั่น พวกเราต้องช่วยกันตะโกนไล่หมาป่าพวกนี้ไป ไปๆ” “เฮ้ยๆ หมาป่ามันวิ่งหนีไปหมดแล้ว มันกลัวเราจริงๆ ด้วยพระเจ้าคะ” แต่เมื่อหมาป่ามันเจอแผนขับไล่นี้หลายครั้งเข้า ไอ้ตัวจ่าฝูงดูศีรษะไหนเป็นผู้นำ จึงตั้งใจเล่นงานคนนั้นก่อนตามวิธีของสัตว์ป่า
 “มาสิเจ้ามากัดที่คอเราเลย เรายืดคอไว้รอเจ้าแล้ว เข้ามาเลย ข้าไม่ยิงเจ้าหรอก” เจ้าสุนัขหัวหน้าฝูงสอดปากใต้พระหนุพริบตานั้นมหาสีลวราชก็ทรงกดพระหนุหนีบหัวสุนัขไว้ด้วยพลังทั้งหมด “นี่แหนะอยู่ล่ะไอ้หมาจ่าฝูง” เสียงร้องของหัวหน้าฝูงทำให้ฝูงสุนัขหนีเข้าป่าไปหมดในพริบตา
ตามด้วยไอ้ตัวหัวหน้า ทิ้งไว้แต่รอยตะกุยดินที่ฝังร่างมหาราชไว้ซึ่งกลายเป็นหลุมกว้างทรงขยับพระวรกายได้สำเร็จ “สงสารหมาตัวนั้นอยู่เหมือนกันนะเนี่ยโดนเราหนีบซะเต็มแรง ไม่รู้ยังเจ็บอยู่รึเปล่า” “โอ๊ย..พระองค์อย่าห่วงหมาตัวนั้นอยู่เลย ห่วงหม่อมฉันดีกว่าหม่อมฉันจะตายแล้ว”
   อีกด้านหนึ่งของป่าช้า มียักษ์ที่อาศัยอยู่ ยักษ์ได้แบ่งพื้นที่เขตอาหารกันไว้ชัดเจน แต่ในวันนี้มีผู้นำศพมาไว้ในเส้นแบ่งเขตจนเกิดปัญหาไม่สามารถตกลงกันได้ “เฮ้ยศพเนี่ยมันต้องเป็นของข้าเว้ย มันอยากให้ข้ากินมันมากกว่าเจ้า” “มันอยู่ในเขตข้าแสดงว่ามันเคารพข้ามากกว่า”
  “มันอยากให้ข้ากินมากกว่า” “อย่ามั่วดิว่ะ ปัญหานี่ยากเกินไปเราต้องไปถามบัณฑิตคนดีแล้วแหละ” “ใช่ๆ ยากสุดๆ ไปเลยว่ะ ตอนนี้มหาสีลวราชอยู่ในป่าช้าด้วย ท่านทรงคุณธรรมยิ่งนัก เราให้พระองค์ตัดสินใจให้ดีกว่า” “เอาเถอะปัญหาของพวกท่านเราจะตัดสินให้เอง แต่ว่าเจ้าตนหนึ่งต้องไปนำพระขรรค์ของเราจากที่บรรทมมาก่อน”
 ยักษ์ตนหนึ่งสัมแดงฤทธิ์ไปยังพระราชวัง อึดใจเดียวก็เหาะกลับมาพร้อมพระขรรค์คู่บรรลังค์ พระมหาสีลวราชผ่าศพเป็น 2_ส่วน ให้ยักษ์สองตัวอย่างเท่าเทียมกัน “ในที่สุดเราก็ได้กินแล้ว ข้าทั้งสองจะตอบแทนบุญคุณพระองค์ด้วยการพากลับกรุงพาราณสีเอง เจ้าทหารทั้งหลายขึ้นหลังข้าได้เลย”
  แล้วยักษ์ทั้งสองตนก็พาองค์มหาราชและขุนทหารทั้งหมดกลับกรุงพาราณสี ส่งองค์มหาราชกลับสู่ห้องบรรทมในราตรีนั้นเอง พระมหาสีลวราชทรงนำพระขรรค์วางบนวรกายของพระเจ้าโกศลเพื่อปลุกให้ตื่น ซึ่งเมื่อพระเจ้าโกศลทรงตื่นบรรทมก็ตกพระทัย
 “ห๊า! มหาสีลวะท่านเข้ามาได้อย่างไรกัน? ท่านรอดชีวิตมาได้อย่างไรกัน เฮ้ย..ข้า..งงไปหมดแล้ว” พระมหาสีลวราชตรัสเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้เจ้าเมืองพระเจ้าโกศลฟัง เมื่อทรงทราบเรื่องราวแล้วพระเจ้าโกศลก็ทรงเสียพระทัย ว่าตัวเองเป็นมนุษย์แต่กลับไม่รู้คุณความดีของพระองค์
  สู้ยักษ์ซึ่งกินซากศพเป็นอาหารก็มิได้ ช่างน่าละอายยิ่งนัก “ข้านะขอสรรเสริญพระเกียรติคุณพระมหาสีลวะและขอถวายราชสมบัติทั้งหมดคืน พร้อมให้สัตย์สาบานว่า จะไม่ประทุษร้ายและขออารักษ์ขาพระองค์แล้วก็พลเมืองของพาราณสีมิให้มีอันตรายใดๆ มาแผ้วพาล” เท่ห์จริงๆ เจ้าเหนือหัวของเรา ช่างมีน้ำใจนักกีฬาจริงๆ”
  พระมหาสีลวราชเมื่อทรงรับพระราชสมบัติปกครองพาราณสีกลับคืนมาก็ทรงรำพึงอนุภาพของความมานะต่อสู้ครั้งนี้ว่า “บุรุษผู้เป็นบัณฑิตย่อมมีความหวังไม่พึงเบื่อหน่ายผลแห่งความเพียรย่อมสำเร็จเป็นอัศจรรย์” เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเทศนาจบแล้ว ภิกษุผู้ท้อถอยความเพียรก็มีกำลังใจบังเกิดปิติเข้าถึงพระธรรม

 
 
ในพุทธกาล อำมาตย์ชั่วร้าย ต่อมาเป็นพระเทวทัต
ขุนทหารพาราณสี ต่อมาเป็นพุทธบริษัท
พระเจ้ามหาสีลวราช เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
27  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / หริตมาตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีอิสรภาพ เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 03:56:46 pm

หริตมาตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีอิสรภาพ

 ณ แคว้นโกศล พระเจ้ามหาโกศลได้พระราชทานพระธิดาผู้มีสิริโฉมงดงามให้กับพระเจ้าพิมพิสาร อีกทั้งยังได้ประทานหมู่บ้านกาสีเป็นข้าทรงสนานแก่พระราชธิดาด้วย ทั้งสองพระองค์ครองรักกันอย่างมีความสุข ต่อมาพระเทวีก็ให้กำเนิดบุตรชายน่ารัก น่าเอ็นดู
ราษฎรต่างปลื้มปีติกันทั่วหน้า ทารกน้อยผู้นี้เมื่อเติบใหญ่ก็เป็นที่รู้จักกันในนามพระเจ้าอชาตศัตรู และแล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูกระทำปิตุฆาตกรรมปลงพระชนม์พระบิดาของตนเอง ไม่นานนักพระเทวีก็สิ้นพระชนม์เพราะความสิเน่หาต่อพระเจ้าพิมพิสาร
พระเจ้าอชาตศัตรูเมื่อพระชนนีสิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ทรงครองบ้านเมืองนั้นอยู่ตามเดิม พระเจ้าโกศลบุตรของพระเจ้ามหาโกศล ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าของพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงโกรธแค้นพระเจ้าอชาตศัตรูมาก เป็นสาเหตุให้พระเจ้าโกศลและพระเจ้าอชาตศัตรูเปิดศึกสงครามแม้จะเป็นสายเลือดเดียวกัน
“เราจักไม่ให้หมู่บ้านอันเป็นของตระกูลเราแก่โจรผู้ฆ่าบิดาของตนเองเป็นอันขาด” สงครามระหว่างพระเจ้าโกศลและพระเจ้าอชาตศัตรูเนินนานนัก บางคราพระเจ้าน้าก็ชนะ บางคราพระเจ้าหลานก็ชนะ สับเปลี่ยนกันอยู่อย่างนี้ไม่รู้จักหมดสิ้น
คราวใดที่พระเจ้าอชาตศัตรูทรงชนะก็ทรงโสมนัสปักธงชัยบนรถเข้าสู่พระนครด้วยยศยิ่งใหญ่ แต่ถ้าคราวใดปราชัยก็ทรงโทมนัสเสด็จเข้าสู่พระนครโดยไม่ให้ใครๆ ทราบเลย เรื่องของพระเจ้าอชาตศัตรูได้กลายเป็นมาเป็นหัวข้อสนทนาของชาวบ้านชาวเมืองตลอดจนภิกษุสงฆ์
  “ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรูนะ ทรงชนะพระเจ้าน้าแล้วดีพระทัย ครั้นทรงปราชัยก็ทรงโทมนัส” “นั่นนะซิ เฮ้อ เป็นอย่างนี้เรื่อยไป ไม่รู้จักจบจักสิ้นกันซะที” ครั้งนั้นองค์พระศาสดาเมื่อได้ยินหัวข้อที่เหล่าภิกษุสนทนาก็ได้ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น
   แม้กาลก่อนพระเจ้าอชาตศัตรูนั้น ทรงชนะแล้วก็ดีพระทัย ทรงปราชัยก็ทรงโทมนัสเหมือนกัน แล้วพระองค์ก็ทรงตรัสเล่า หริตมาตชาดกดังนี้ ณ แม่น้ำท้ายป่าใหญ่แห่งหนึ่ง ครั้งเมื่อธรรมชาติยังอุดมสมบูรณ์ ทั้งสัตว์ป่าและชาวบ้านต่างใช้ชีวิตพึ่งพิงอยู่กับธรรมชาติ
  สมัยนั้นชาวบ้านจะดักลอบจับปลาในแม่น้ำใช้เป็นอาหารเพื่อประทังชีวิต “พี่จ๊ะ วันนี้เราวางลอบไว้กี่ที่ดีจ๊ะพี่” “พี่ว่าจะวางไว้สัก 2-3 ที่ก็พอจ๊ะ เอาไว้กินแค่เย็นนี้ก็พอ” “ดีจ๊ะ เดี๋ยวตอนเช้าเราก็กินน้ำพริกผักจิ้มเอาก็ได้ เวลาผ่านไปลอบที่ชาวบ้านมาวางไว้ก็มีปลามาติดอยู่เป็นจำนวนมาก
 งูตัวหนึ่งเลื้อยผ่านมาเห็นปลาติดลอบอยู่ ก็คิดแผนการร้ายหวังเข้าไปกินปลาในลอบนั้น “ลาภปากแล้วไหมละ อยู่ๆ ก็มีปลามาติดตั้งเยอะแยะ มา มะ มาเป็นอาหารของข้าซะดีๆ ฮ่ะๆ ฮะ ไม่ต้องเหนื่อยตามไล่อีกแล้ว ฮิ ฮิ”
  เหล่าฝูงปลาที่อยู่ในลอบเมื่อเห็นว่างูเลื้อยมาที่ลอบก็แตกตื่นหวาดกลัว “ว้ายพวกเราดูซิงูตัวนั้นนะ มันต้องตั้งใจมากินพวกเราแน่ๆ เลย มันเลื้อยเข้ามาใกล้แล้ว” “แล้วเราจะหนียังไงดี โธ่..ติดลอบแล้วยังซวยซ้ำมาเจองูอีก” “พวกเจ้าอย่าแตกตื่นไปเลย
พวกเรามีกันตั้งหลายตัว ทำไมต้องกลัวแค่งูตัวเดียวด้วย ถ้าพวกเราช่วยกัน งูตัวเดียวทำอะไรเราไม่ได้หรอก” เจ้างูหวังได้ลิ้มรสกับอาหารมื้อใหญ่ มันเลื้อยเข้าไปใกล้ลอบแล้วเอ่ยปากกับปลาที่ติด เจ้าปลาทั้งหลายไหนๆ เจ้าก็ต้องเป็นอาหารมนุษย์แล้ว
  ยังไงเสียก็เป็นอาหารของเราสักตัวสองตัวเถอะ เฮอๆ เฮ่อ” “เจ้างูเอ๋ย ทำไมพวกเราจะต้องยอมเป็นอาหารให้เจ้าด้วย พวกเราก็รักชีวิตของเราเหมือนกัน” ที่ริมฝั่งมีกบเขียวตัวหนึ่งนอนอยู่ มันเห็นเหตุการณ์นั้นโดยตลอด แต่ก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวแต่อย่างใด
   “โอ้ว..เจ้างูตัวนี้เนี่ยกิเลสหนาบังตา จนมองไม่เห็นหายนะของตัวเองแท้ๆ” ด้วยความหิวเจ้างูไม่ฟังเสียงพูดใดๆ ของพวกปลา แต่จะลิ้มรสปลาเหล่านั้นอยู่อย่างเดียว จึงเลื้อยเข้าไปในลอบ หวังกัดกินปลานั้นให้หายอยาก” “มามะ ปลาทั้งหลายอย่าพูดมากไปเลย มาเป็นอาหารของข้าซะดีๆ
หิวเต็มแก่แล้ว อูย..ปวดท้อง” มิทันที่เจ้างูจะได้ลิ้มรสปลาดั่งใจอยากเหล่าฝูงปลาที่อยู่ในลอบก็รุมกัดงูจนเป็นแผลเหวอะหวะไปหมด “พวกเราช่วยกันกัดเจ้างูตัวนี้เถอะ อย่าปล่อยให้มันมาทำร้ายพวกเราได้” “เป็นไงละเจ้างู อยากกินปลามากใช่มะ นี่..โดนปลากัดซะเลย”
  “หายอยากเลยไหม๊ละ ฮ้าๆ ฮ่า” “โอ๊ย..เจ็บ เจ็บ โอ๊ย..อย่ากัดข้าซิ ใครก็ได้ช่วยที ท่านกบเขียว ดูซิพวกปลาในลอบมันรุมกัดข้าใหญ่แล้ว โอ้ย ท่านช่วยข้าหน่อยเถอะ โอ้ย...” “ข้าเห็นแล้วแต่ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรนี่ ทำไมเราต้องช่วยท่านด้วยละ” “เฮอะๆๆ เป็นยังไงละ สมน้ำหน้าแม้แต่กบก็ไม่ช่วยเจ้า
 ข้าก็เตือนเจ้าแล้ว ใครจะยอมเป็นอาหารให้เจ้าง่ายๆ เอ้าพวกเราช่วยกันรุมกัดเจ้างูอีกที อย่าปล่อยให้มันหนีไปได้” “โอ๊ย..ท่านกบเขียวทำไม่ท่านพูดเช่นนั้นละ ท่านก็เห็นอยู่ว่าข้าเป็นฝ่ายที่ถูกรังแก ดูเจ้าพวกปลานั่นซิ มันตั้งหลายตัวรุมกัดข้าอยู่ตัวเดียวเลย
 เห็นอย่างนี้แล้วท่านยังไม่ช่วยข้าอีกเรอะ” เจ้างูได้รับความทุกข์ทรมานตะโกนขอความช่วยเหลือจากกบ กบเขียวยังคงวางเฉย กระโดดเข้ามาใกล้แล้วพูดเตือนสติเข้างู “ที่ข้าพูดว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร และช่วยอะไรเจ้าไม่ได้นะ เพราะถ้าเกิดมีปลาสักตัวหลงเข้าไปในถิ่นของเจ้า
  ปลาตัวนั้นก็คงถูกพวกเจ้ารุมกัดกินเหมือนกัน อย่างเนี่ยข้าถึงช่วยพวกเจ้าไม่ได้” “เจ้าพูดอย่างนั้นมันก็ถูก แต่จะปล่อยให้ข้าโดนเจ้าพวกปลารุมกัดอยู่อย่างนี้นะเรอะ โอ้ย เจ็บๆ เจ็บเหลือเกิน” “เป็นไงละเจ้างูสมน้ำหน้า ไม่มีใครช่วยเจ้าหรอก ถ้าพวกเราไม่รุมกัดเจ้า ก็คงโดนเจ้ากัดกินเป็นอาหารแน่ เป็นใครก็รักชีวิตของตัวเองเหมือนกัน”
กบเขียวมองดูเจ้างูที่โดนฝูงปลากัดเป็นแผลจนเหวอะหวะ มันถอนหายใจแล้วก็กระโดดไปที่อื่น ทิ้งให้งูอยู่แก้ปัญหาที่ก่อเอาไว้ “เฮ้อ เจ้างูเอ้ย เจ้าทำตัวของเจ้าเองแท้ๆ เราคงช่วยอะไรเจ้าไม่ได้หรอก” “เห็นไหมละเจ้างู เจ้าเป็นฝ่ายผิดจริงๆ ไม่ใช่พวกเรา” เมื่อกบเขียวจากไปแล้วฝูงปลาก็กรูเข้ามากัดกินงูที่จะเข้ามาทำร้ายพวกตนถึงในลอบ เจ้างูทนความเจ็บปวดไม่ไหวสิ้นใจตายในลอบนั่นเอง

 
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี่มาแสดงแล้ว แล้วทรงประชุมชาดกว่า
งูในครั้งนั้น กำเนิดเป็น พระเจ้าอชาตศัตรู
กบเขียว เสวยพระชาติเป็น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
28  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / อสาตมนต์ชาดก-ชาดกว่าด้วยมนต์มายาหญิง เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2015, 05:30:16 pm
อสาตมนต์ชาดก-ชาดกว่าด้วยมนต์มายาหญิง

ในวัฏสงสารที่เราเวียนว่ายเกิดดับตามกฎแห่งกรรมอันเป็นธรรมดานี้ มิมีผู้ใดที่สามารถหลุดพ้นปวงกรรมนี้ได้เลย พุทธกาลสมัยหนึ่งซึ่งธรรมะอุทกจากพระบรมศาสดายังไหลรินหล่อเลี้ยงเวไนยสัตว์ผู้ทุกข์อยาก ณ พระเชตะวันมหาวิหารกาลนั้น มีภิกษุสงฆ์ผู้ตกทุกข์ด้วยเหตุจากอิสตรีเข้ากวนกิเลสมิให้ดื่มด่ำธรรมรสได้ดุจเดิม กิเลสจากหญิงนั้นทำให้บุตรแห่งพระสมณโคดมรูปหนึ่ง
 มิเป็นอันบำเพ็ญภาวนา “เฮ้อ..เหตุใดใจมันถึงรุ่มร้อนเช่นนี้ หลับตาคราใดก็เฝ้าเห็นแต่ความงามของน้อง ทำยังไงนะ ใจเราถึงจะสงบลงได้ซะที..เฮ้อ” แม้ภิกษุรูปนี้จะเคยฟังเทศนาธรรมมิให้หลงไหลในกามอันประกอบขึ้นด้วย รูป รส กลิ่น เสียง มาหลายครั้งหลายหน แต่มาถึงบัดนี้กลับหลงลืมไปหมดสิ้น ความเวทนานี้ประจักษ์ขึ้นในข่ายพระญาณองค์จอมไตร
  ทรงปรารถนาให้พระภิกษุนั้นพ้นภัยจากวัฏสงสาร จึงกำหนดให้เข้าเฝ้า ณ พระคัณฑกุฏี “ดูก่อนภิกษุสีหน้าท่านชั่งเศร้าหมองยิ่งนัก เรารู้ถึงการเป็นทุกข์ของท่าน” “องค์ศาสดา โปรดช่วยกระผมให้เห็นทางสว่างด้วยเถอะครับ” “ชื่อว่าหญิง ย่อมก่อกวนพรหมจรรย์ของเพศสมณะผู้ตั้งใจบำเพ็ญเพียรเสมอในอดีตชาตินั้น บัณฑิตก็เคยแสดงให้รู้แจ้งถึงอันตรายจากกิเลสในใจหญิงมาก่อน”
  จากนั้นพระพุทธองค์ก็ทรงระลึกชาติขึ้นด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณ ชายแดนแคว้นกาสีครั้งโน้นมีบุตรชายในครอบครัวพราหมณ์ผู้หนึ่งเติบโตเป็นหนุ่มขึ้นท่ามกลางการดูแลอย่างหวงแหนจากผู้เป็นพ่อและแม่ “หนักไหม๊จ๊ะลูก ค่อยๆ เดินไปนะ ให้พ่อกับแม่ช่วยไหม๊” “ไม่เป็นไรจ๊ะ แม่เสียทรัพย์ซื้อให้ก็เป็นพระคุณมากแล้ว” “เออ..เดินดีๆ ลูก เดี๋ยวจะหกล้มบาดเจ็บเอาได้นะ” 
  บุตรพราหมณ์เป็นชายหนุ่มรูปงามฐานะดีและมีภูมิรู้ จึงเป็นที่หมายปองของสตรีทั่วไป และการที่เขายังอยู่ในวังวนของกิเลส จึงทำให้รู้สึกชื่นชอบในหญิงสาวที่เข้ามาหลงใหลในตัวเขาเช่นกัน ซึ่งนางพราหมณีผู้เป็นแม่ต้องคอยกำราบห้ามปรามอยู่มิเคยเว้น “แม่ผู้หญิงคนนี้มาอีกแล้ว เป็นผู้หญิงยิงเรือแท้ๆ ไม่รู้จักรักนวลสงวนตัว มาหาผู้ชายอยู่ได้ไม่เว้นวัน เข้าไปในบ้านเลยลูก อย่าไปเสวนากับแม่พวกนี้เลย”
 “ท่านนี้แต่น้องนางคนนี้ น่ารักดีนะ ลูกอยากคุยกับเธอ” “อะฮ้า..ดีจังวันนี้ไม่มีแม่มาคุม โปรยเสน่ห์ได้เต็มที่เลยเรา” “อุ๊ย มีผู้ชายหน้าตาดีมองมาทางเราด้วย นั่นแน่ะ หรือว่าเค้าแอบชอบเรานะ” “ผู้ชายอะไรก็ไม่รู้หล้อหล่อ สูงเท่บาดใจ” “คนนี้ก็สวย คนนั้นก็น่ารัก โอ๊ย..ไม่รู้จะเลือกใครดี เมื่อไหร่จะได้แต่งงานกับเขาเสียที  เฮ้อ..เกิดมาเป็นคนหน้าตาดีเนี่ย มันลำบากใจจริงๆ”
  แม้บุตรชายจะใคร่แต่งงานมีเหย้ามีเรือนเพียงใด แต่พราหมณ์บิดามารดา กลับไม่ให้การสนับสนุนเลย ท่านทั้งสองอยากให้บุตรชายครองเพศบรรชิตยิ่งกว่าสิ่งไหน “ลูกรัก พรหมโลกน่ะ เป็นที่หมายสูงสุดของมนุษย์ทุกคน ที่นั่นนะเป็นที่อยู่ของเทพยดาผู้บริสุทธิ์ เราน่ะ อยากให้ลูกบำเพ็ญบารมีเอาดีทางธรรมนะลูก” “พ่อเองก็เห็นด้วยกับแม่ 
 ธรรมะจะทำให้ลูกเห็นทางสว่างของชีวิตพ้นจากบ่วงกรรมได้” “เมื่อบวชแล้ว พอสิ้นอายุขัยจากโลกนี้ เจ้าก็จะได้ไปเกิดในพรหมโลกนะจ๊ะ เจ้าเชื่อแม่เถอะ เปลี่ยนความคิดที่จะแต่งงาน มาออกบวชเถอะนะ” “ฮึๆ เป็นนักบวชแบบนี้เหรอท่านแม่ ลูกยังหนุ่มยังแน่น ขอลูกเอาดีทางโลกก่อนเถอะจ๊ะ” “ฮึม..ดีเหมือนกัน หากเจ้าจะเอาดีทางโลก เพราะก่อนที่จะครองเรือนเจ้าต้องรอบรู้ศิลปศาสตร์ทางโลกก่อน
  เจ้าจึงจะเป็นสามีที่ดีได้” “เมื่อท่านพ่อเห็นว่าควรเป็นแบบนั้น ข้าก็จะไปเรียนที่สำนักอาจารย์ทิสาปาโมกข์ พ่อและแม่คิดเห็นเช่นไร” “พ่อกับแม่เห็นดีด้วย” “เจ้าไปเถอะ” เมื่อผู้เป็นพ่อกับแม่ไม่สามารถพูดให้บุตรชายเปลี่ยนความคิดที่จะแต่งงานได้ จึงออกอุบายให้บุตรชายไปศึกษาหาความรู้กับอาจารย์ โดยหวังว่าอาจารย์จะช่วยสอนให้ลูกเห็นทางธรรม
 “จงเลือกเรียนกับอาจารย์ที่ยังโสดนะลูก ท่านจะได้มีเวลาสอนได้มาก เจ้าจะได้จบโดยเร็วนะลูกนะ” “เฮ้อ..ต้องรีบเรียนรีบกลับ เราจะได้กลับมาแต่งงานกับน้องหญิงคนสวยเร็วๆ” บุตรพราหมณ์เดินทางทางสู่ทิสาปาโมกข์อยู่หลายวันก็พบกับอาจารย์คนโสดตามที่มารดาสั่งไว้ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์และเริ่มเรียนวิทยาการจากอาจารย์ตั้งแต่วันนั้น
  วันเวลาผ่านไป ชายหนุ่มรูปงามบุตรพราหมณ์ได้เรียนจนสำเร็จวิทยาการตามกำหนดจึงรีบล่ำลาอาจารย์กลับบ้าน “จำเริญรุ่งเรืองเถิดเมื่อเจ้าได้เป็นใหญ่เป็นโตแล้ว ก็อย่าลืมอาจารย์นะ โชคดี ไปดีมาดีนะ” “ศิษย์ขอกราบลา ศิษย์รำลึกพระคุณอาจารย์เสมอ” “อะไรเนี่ย มาทีหลังจบก่อนเราอีก เรียนมา 30 ปีแล้วยังไม่จบซักที ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยคงโดนรีไทน์ไปแล้วเรา”
  บุตรพราหมณ์ใช้เวลาเดินทางไม่กี่วันก็มาถึงบ้านเกิดเมืองนอน แต่เมื่อพรรณนาถึงวิชาทั้งหมดที่ร่ำเรียนมา ท่านทั้งสองกลับยังไม่พอใจ “เจ้าไปเรียนตั้ง 3-4 ปี มีแค่นี้หรอ” “โธ่..นี่ก็ตั้งมากมายแล้วนะท่านแม่ คิดว่าลูกเรียนมาหมดครบถ้วนแล้ว” “ครบถ้วนแล้วรึ เออ..แล้วอสาตมนต์ละ เจ้าเรียนแล้วรึยัง” “มีด้วยหรือท่านแม่ ข้าไม่เห็นอาจารย์สอนให้ข้าเลย” อสาตมนต์เนี่ยเป็นวิชาพิเศษที่น้อยคนนักจะได้เรียนรู้
 ลำพังศิลปะศาสตร์ทั่วไปใครๆ ก็ย่อมเรียนรู้ได้ แต่จะมีใครซักกี่คนละ ที่รู้อสาตมนต์บ้างเล่า แม้แต่ชื่อมนต์บทนี้บางคนก็ยังไม่เคยได้ยินด้วยซ้ำ” “ท่านแม่ลูกไม่ได้ยินบทนี้เลย” “อาจารย์เค้าคงเห็นว่าลูกนะ รีบร้อนอยากกลับมาประกอบการงานมีเหย้ามีเรือนกระมัง จึงได้สอนเฉพาะวิชาที่จำเป็นแก่การเลี้ยงชีพให้ แต่แม่ว่า ยังไม่พอหรอกเจ้า เพราะอสาตมนต์เป็นวิชาที่สำคัญมากควรอย่างยิ่งที่เจ้าจะต้องรู้”
 “โอ๊ย..นี่ลูกต้องกลับไปเรียนอสาตมนต์กับอาจารย์อีกแล้วหรือ โธ่เมื่อไหร่ลูกจะได้แต่งงานละท่านแม่” แต่ชายหนุ่มก็เดินทางไปหาอาจารย์ยังสำนักทิสาปาโมกข์เมืองตักศิลาอีกครั้ง แต่ปรากฏว่าอาจารย์ได้พาหญิงชราที่มีพระคุณ เคยเลี้ยงดูท่านเข้าไปอยู่ในป่าเสียแล้ว “โอ้ย..เจ้านะมาช้าไป อาจารย์เนี่ยได้พาหญิงหม้ายตาบอดไปอยู่ที่ชายป่าด้านโน้น ถ้าเจ้ายังจะไปหาอาจารย์ก็รีบเข้าไปเถิด มืดค่ำลงจะลำบาก”
“อะไรกันเนี่ย จะเจออุปสรรคอะไรมากมายขนาดนี้” ชายหนุ่มบุตรพราหมณ์เร่งเดินทางผ่านป่าใหญ่ เร่งฝีเท้าอย่างมิได้รอช้าจนเย็นย่ำสนธยาก็พบอาศรมหลังใหญ่ “โอ้..นั่น อาจารย์ของเรานี่น่า โธ่เอ้ย หลบมาอยู่เสียไกล อาจารย์ๆ ครับ” “อ้าว ศิษย์รักเป็นเจ้ารึนั้น เข้าป่ามาหาอาจารย์ถึงนี่มีอะไรรึ มาเถอะ เข้ามาคุยกันก่อน” ค่ำคืนนั้นอาจารย์จากทิศาปาโมกข์กับบุตรพราหมณ์ผู้เป็นศิษย์ก็สนทนาซักถามกันถึงวิชาอสาตมนต์ที่มารดาของศิษย์สั่งให้มาเรียน
 “ท่านแม่ของศิษย์บอกให้ศิษย์มาเรียนอสาตมนต์จากอาจารย์ก่อนแล้วถึงแต่งงานได้” “ฮึม อย่างนั้นหรอกรึ” เมื่ออาจารย์ได้ยินก็รู้ดีว่าวิชาอสาตมนต์นี่ไม่มีจริงเลย ดังนั้นมารดาของศิษย์คงคาดหวังให้ช่วยในทางอื่น บุตรพราหมณ์เอ๋ย..มารดาของเธอคงไม่อยากให้มีภรรยาเป็นแน่ “เฮ้อ..เอาล่ะอาจารย์จะสอนบทเรียนนี่ให้เธอเอง”
 “โอ้..อาจารย์รู้จักวิชานี้ด้วยหรือ ดีใจจังเลย ท่านจะสอนวิชานี้ให้ข้าใช่มั๊ย” “ใช่อาจารย์จะสอนวิชาอสาตมนต์ให้ก็ได้ แต่เธอต้องดูแลหญิงหม้ายแทนอาจารย์นะ” “ครับอาจารย์แล้วข้าต้องทำอย่างไรบ้างละ” “เจ้าต้องอาบน้ำ ถูนวดให้ท่านอย่าได้รังเกียจ ที่สำคัญขณะที่ปรนนิบัติเจ้าต้องพรรณนาความงามของท่านไปด้วยเสมอ”
 “เป็นการพูดปด ทำไมข้าจะต้องพรรณนาความงามของหญิงแก่ด้วย ไม่เห็นเธอจะมีความงามหลงเหลืออยู่เลยสักนิด” “เอาเถอะน่า มันเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะใช้ปรนนิบัติหญิงผู้มีพระคุณของอาจารย์ เจ้าทำไปเถอะ” “นี่ไงหญิงผู้มีพระคุณของอาจารย์ เจ้าต้องดูแลนางอย่างดี แล้วอย่าลืมพรรณนาชมโฉมให้นางฟังด้วยนะ” “เห็นอย่างนี้แล้ว ข้าพรรณนาไม่ออกหรอกอาจารย์” “เจ้าก็เยินยอไปสมัยอดีตที่ยังสาวของนางสิ ให้เกิดความหลงปลื้ม
 นางจะได้มีความสุข แล้วสังเกตด้วยว่านางมีกิริยาตอบมาว่าอย่างไร ต้องมาเล่าให้อาจารย์ฟังด้วยน่ะ ไหนเจ้าทดสอบให้อาจารย์ดูหน่อยซิ” “เอ่อๆ เอ่อ คุณแม่ขอรับเมื่อสมัยคุณแม่ยังสาวคงสวยไม่น้อย ขณะอายุมากแล้วเค้าความงามยังปรากฏ” “ดีมาก อย่างนี้แหละกล้าๆ ไว้” “เอ่อ..เสียงหนุ่มที่ไหนมาชมแม่เนี่ย เสียเจ้าช่างนุ่มนวลน่าฟังจริงๆ เข้ามาใกล้ๆ ชั้นหน่อยซิ” “ยิ่งดูใกล้ๆ ก็ยิ่งงาม หลังเอย แขนเอย ดูยังสวย ไม่น่าเชื่อว่าคุณแม่ยังสดใสขนาดนี้”
 ทุกวันนี้คราใดที่ปรนนิบัติหญิงแก่ไม่ว่าจะตอนอาบน้ำหรือนวดเฟ้น ชายหนุ่มก็จะพรรณนาความงามของเธอให้ฟังมิได้ขาด ในที่สุดกิเลสก็เข้ากุมจิตใจหญิงแก่ให้เผลอรักใคร่ชายหนุ่มเข้าจนได้ “เธอพูดจริงรึพ่อหนุ่ม ชั้นงามอย่างนั้นจริงๆ เรอะ ชั้นทนฟังความหวานของเธอไม่ไหวอีกต่อไปแล้ว” คุณแม่ใจเย็นๆ ก่อนนะครับ” “ชั้นสวยถูกใจเธอใช่มั๊ยละ เธอต้องการชั้นอย่างงั้นใช่ไหม๊ ถ้าอย่างนั้นนะ เรามาอยู่กินกันที่นี่เลยเถอะ” “โอ๊ย ไม่ได้หรอกครับคุณแม่ เดี๋ยวอาจารย์ต้องเอาตายแน่ๆ”
  “มันจะยากอะไรละพ่อหนุ่ม เราก็ฆ่าเขาให้ตายซะก็หมดเรื่อง แล้วเราก็อยู่กินกัน 2_คนอย่างมีความสุข หึๆ” “ผมทำไม่ได้หรอกครับคุณแม่ ท่านเป็นอาจารย์ของผม” “ถ้าเธอทำไม่ได้ งั้นชั้นจะเป็นคนฆ่าเขาเอง ที่ชั้นทำไปก็เพื่อเรา 2 คน เธอต้องร่วมมือกับชั้นนะ” หญิงแก่ตาบอดผู้ถูกกิเลสหลุ่มหลงครอบงำ คิดวางแผนฆ่าอาจารย์อย่างหน้ามืด โดยให้บุตรพราหมณ์ช่วยทำตามแผนของเธอ “พ่อหนุ่มทำตามที่ชั้นบอกแค่นั้นก็พอ ส่วนที่เหลือเดี๋ยวชั้นจะจัดการลงมือฆ่าเขาเอง”
  “เฮ้อ..หญิงแก่ชั่งโหดเหี้ยมยิ่งนัก เสียแรงที่อาจารย์เคารพดุจมารดา เฮ้อ..อนิจจา” ชายหนุ่มเมื่อผละออกมาจากหญิงแก่ก็รีบนำแผนร้ายของนางมาเล่าให้อาจารย์ฟังโดยมิได้ปิดบังอำพลาง “เฮ้อ..เป็นไปอย่างที่ข้าคาดไว้แท้ๆ เช่นนั้นเรามาทดลองอะไรกันซักอย่างดีกว่านะศิษย์รัก” จากวันนั้นทั้งอาจารย์และศิษย์ต่างช่วยกันวางแผนลวงหญิงหม้ายอย่างแนบเนียน “เราใช้ไม้มะเดื่อนี้วางบนเตียงอาจารย์แล้วเธอจงขึงเชือกนี้เป็นราวนำทางไปยังห้องของหญิงหม้ายนั้นเถอะ”
  บุตรพราหมณ์จัดการทุกอย่างตามอาจารย์สั่ง แล้วออกมาให้สัญญาณหญิงแก่ เพื่อให้เธอทำตามแผนที่เธอวางไว้แต่แรก “คุณแม่มาจัดการได้เลยขอรับ อาจารย์กำลังหลับสนิท” หญิงหม้ายเมื่อได้รับสัญญาณก็รีบเกาะราวเชือกด้วยแรงเดินที่เหลืออยู่น้อยนิด นางเดินเข้าไปในห้องอาจารย์คนที่นางเคยรักประหนึ่งบุตรพร้อมขวานอันคมกริบ “พ่อหนุ่มอีกอึดใจเดียว เราก็จะทำสำเร็จแล้ว เฮ้อ..โอย..เหนื่อย เฮอ” เมื่อเดินสุดราวเชือกตามแผนนางก็เงื้อขวานฟันลงที่เตียงอาจารย์สุดแรง โป๊ะ!
  “ว้าย..อะไรกันเนี่ย..ทำไมถึงกลายเป็นขอนไม้ไปได้หล่ะ โอ้ย..ๆ ดึงไม่ออก ฮึย..โอ้ย เหนื่อย” “เธอเห็นโทษของความลุ่มหลงแล้วรึยัง โดยเฉพาะสตรีเพศอันเป็นดุจไฟที่เผาไหม้ทุกสิ่ง” “น่ากลัวจัง! นี่ขนาดแก่แล้วนะเนี่ย” เมื่อรู้ตัวว่าถูกอุบายหญิงหม้ายก็ตกใจจนลมสว่านตีขึ้น หน้ามืดหงายหลังล้มลงทันที “โอ๊ย..ทั้งเจ็บทั้งอาย เออ..เป็นลมดีกว่า” หญิงหม้ายตาบอดล้มลงแล้วก็มิได้ลุกขึ้นมาอีกเพราะหมดอายุขัย บุตรพราหมณ์ได้ช่วยอาจารย์ปลงศพผู้มีพระคุณแล้วก็อำลากลับบ้าน
 “ไม่น่าเชื่อว่ากิเลสจะทำให้คนเป็นไปได้ถึงขนาดนี้ น่าเศร้าจริงๆ” “เฮ้อ..ไปดีเถอะท่านแม่ เธอจงรู้ไว้เถิดวิชาอสาตมนต์นี้ไม่มีจริงหรอกเป็นเพียงอุบายที่มารดาของเธออยากให้เห็นโทษของหญิงที่เป็นศัตรูของการบวชเท่านั้น” “เป็นอย่างนี้นี่เอง ขอบคุณอาจารย์ที่ช่วยชี้ให้ศิษย์ให้ทางธรรม” อีกไม่นานต่อมาบุตรพราหมณ์ก็ออกบวชเพื่อมุ่งสูงพรหมโลกตามความหวังของบิดามารดา บำเพ็ญภาวนามิข้องแวะกับสตรีใดอีกจนหมดอายุขัยในมนุษยโลก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสชาดกนี่จบแล้ว ก็ทรงประกาศอริยสัจสี่โดยเอนกปริยาย ภิกษุผู้หม่นหมองเพราะหลงรูปสตรีก็รู้แจ้งในธรรม สามารถบำเพ็ญเพียรต่อไปโดยหมดทุกข์เผาใจอีกต่อไป

 
 
พระคาถาประจำชาดก
อาสา โลกิตฺถิโย นาม    เวลา ตาสํ น วิชฺชติ
สารตฺตา จ ปคพฺภา จ    สิขี สพฺพมโส ยถา
 
ขึ้นชื่อว่าหญิงส่วนมากในโลกไม่รู้จักยั้ง    พวกนางไม่มีขอบเขต ทั้งกำหนัดหนัก
ทั้งคะนองเหมือนไฟกินได้ทุกอย่าง    ข้าพเจ้าจักหลีกละพวกนางไปบวชเพิ่มพูนวิเวกฯ
 
ในสมัยพุทธกาลหญิงชรา กำเนิดเป็น ภิกษุณี ภัททกาปิลานี
บิดาของชายหนุ่ม กำเนิดเป็น พระมหากัสสป
ลูกศิษย์ กำเนิดเป็น พระอานนท์
อาจารย์เสวยพระชาติเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
29  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ทุมเมธชาดก-ชาดกว่าด้วยการใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์ เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2015, 05:44:01 pm

ทุมเมธชาดก-ชาดกว่าด้วยการใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์

 วสันตฤดูครั้งนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับมาพักผ่อนพระวรกาย หลังจากตรากตรำเผยแผ่พระศาสนามาเนิ่นนาน โดยไม่ย่อท้อต่อความทุรกันดารและอุปสรรคใดๆ พระเกียรติคุณนี้เป็นที่สรรเสริญกันอย่างกว้างขวางในหมู่พุทธบริษัท พระพุทธองค์ทรงใช้วาระนั้นปรารภถึงการบำเพ็ญประโยชน์แก่โลกในครั้งอดีตชาติขึ้นเรื่องหนึ่ง
  เป็นชาดกแสดงการใช้อำนาจด้วยปัญญาอันนำมาซึ่งประโยชน์ต่อชาวโลกอย่างมหาศาล ณ กรุงพาราณสี ริมฝั่งคงคามหานทีแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ เหล่าประชาชีต่างใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ในวาระประสูติกาลของเจ้าชายพระองค์น้อยประชาชนทั้งเมืองได้ออกมาร่วมแซ่ซ้องถวายพระพร ทั้งเมืองเต็มไปด้วยความยินดีปลื้มปีติ
  “เอ้า! เดินเร็วๆ เข้าลูก เดินไปถวายพระพรให้เจ้าชายองค์น้อยกัน” “โอ้โห! ชาวบ้านมากันเยอะแยะเต็มวังเลย” โฮ้ย! เข้าไปข้างในกันสักทีซิวะ เป็นพนักงานต้อนรับกันรึไง? มายืนยิ้มอยู่หน้าทางเข้าน่ะ โฮ้ย” “โอ้ย! พวกแกเล่นดนตรีกันไปสองคนได้ไหม ข้าอยากไปร่วมถวายพระพรด้วยน่ะ” “ตีกลองไปเถอะน่า เสียงดนตรีจากพวกเรา ก็คือคำถวายพระพรเช่นกันแหละ”
 ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานนับหลายปี แต่ความปลื้มปีติของชาวพสกนิกรที่มีต่อเจ้าชายพระองค์น้อยของพวกเขาก็ยังคงอยู่ทุกวันเวลา มิเคยเลือนหาย เจ้าชายน้อย นาม พรหมทัต ทรงเป็นสิ่งล้ำค่าสูงสุดของกรุงพาราณสี “องค์ชายของเราน่ารักน่าเอ็นดู ข้าน่ะ ทั้งเคารพและรักเลยแหละ” “ฮ่าๆๆๆ แต่ข้าเคารพรักมากกว่าแกอีกโว้ย”
  “ฮิๆๆ ไอ้พวกขี้คุย ข้าเคารพรักมากกว่าพวกแกสองคนรวมกันอีก ฮิๆๆๆ” “เจ้าชายของเราเมื่อทรงเติบใหญ่แล้วจะต้องเป็นเจ้าชายที่เก่งที่สุดเป็นแน่” “ข้าก็ว่าอย่างนั้นแหละ นอกจากเก่งแล้วยังหล่อเหลาด้วยนะ ฮ่าๆๆๆๆ” “แม่... เมื่อไหร่พวกเราจะมีโอกาสได้เข้าเฝ้าเจ้าชายน้อยอีกล่ะคะ” “ใจเย็นๆ สิจ๊ะลูก เดี๋ยวท่านก็เสด็จมาเยี่ยมเยียนพวกเราอีกนั่นอีกแหละ”
  เจ้าชายน้อยทรงเพียบพร้อมในสรรพสิ่งตามสมควรแก่ขัตติยะราช มีชีวิตวัยเด็กด้วยความเกษมสำราญ “ท่านพี่ทอดพระเนตรโอรสของเราสิคะ ยิ่งเจริญวัย ยิ่งสง่างาม” “ฮ่าๆๆๆ ตอนพี่เด็กๆ ก็สง่างามเช่นนี้แหละ น้องหญิง พรหมทัตน่ะ ถอดแบบพี่ออกมาเลยแท้ๆ”
 จากวัยกุมารน้อยสู่วัยหนุ่ม เจ้าชายพรหมทัตทรงเจนจบกระบวนรบและศาสตราวุธดุจขุนทหารที่แข็งแกร่ง “โอ้! ทรงพระปรีชาสามารถแท้ๆ แม้จะมีชันษาได้เพียง 16 ปี แต่พระองค์ทรงสามารถเรียนจบศิลปศาสตร์ชั้นสูง ไตรเทพทั้ง 18 แขนงได้ ซึ่งไม่เคยมีใครผู้ใดทำได้มาก่อนเลยพะยะค่ะ” “ก็ได้ท่านช่วยฝึกปรือให้ข้าด้วยนั่นแหละ”
 ด้วยทรงพระปรีชาสามารถและความโอบอ้อมอารีของเจ้าชาย ทำให้ชาวพสกนิกรทวีความจงรักภักดี เชิดชูมากยิ่งขึ้น พรหมทัตกุมารมิได้ทรงหลงใหลในคำเยินยอสรรเสริญแต่ประการใด ยังคงเฝ้าดูและห่วงใยพสกนิกรด้วยความรักใคร่ “อืม พรหมทัต โอรสของเราเนี่ยะ ช่างอัจฉริยภาพทางการปกครองจริงๆ เห็นทีเราต้องพระราชทานพระยศให้เป็นมหาอุปราชแล้วล่ะ
 จะได้เรียนรู้การปกครองพาราณสีมากยิ่งขึ้น” เมื่อเจ้าชายพรหมทัตได้พระราชทานเป็นมหาอุปราชก็ทรงทำหน้าที่ได้อย่างดี ออกเสด็จเยี่ยมประชาชนอย่างใกล้ชิด “อืม ประชาชนส่วนใหญ่ในพาราณสียังยากจนอยู่รึเนี่ย? เราต้องทำอะไรสักอย่าง ให้พวกเขาเหล่านี้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบ้างแล้ว”
 “อุ้ย! เจ้าชายพรหมทัต มีม้าตั้ง 2 ตัว เราขอม้าพระองค์มากินสักตัวดีไหมตา?” “โอ้! เจ้าชายพรหมทัต เสด็จมาแล้ว อยากออกไปรับเสด็จใกล้ ๆ เหลือเกิน โอ้ย! แต่ไม่มีแรงเดิน โอ้! หิว” ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้น เจ้าชายพรหมทัตยังทรงพบว่าราษฎรส่วนใหญ่เกียจคร้านไม่ทำมาหากิน หวังพึ่งแต่ผีสางเทวดา เอาแต่เซ่นไหว้บูชายัญ
  “สาธุ! เจ้าพ่อต้นไทรโปรดช่วยดลบันดาลให้ลูกได้เจอแต่โชคลาภด้วยเถิด เฮ้อ! ไหว้เสร็จแล้วไปนอนดีกว่า เดี๋ยวโชคก็มาเอง ฮิๆๆๆ” “เจ้าพ่อต้นไทรเจ้าคะ ช่วยดลบันดาลให้มีอาเสี่ยมาเลี้ยงลูกสักคนด้วยเถิด ลูกช้างนะ ไม่เรื่องมากหรอกค่ะ เอาแบบรวยๆ หล่อๆ สูง ยาว เข่า ดี มีเชื้อเจ้า อืม...มีเค้าโง่หน่อยๆ ก็ดีนะเจ้าคะ”
 “สาธุ! เจ้าพ่อต้นไทร ลูกน่ะไม่ขออะไรมากหรอก ขอแค่เลขเด็ดๆ สัก 3 ตัว ติดต่อกันสักยี่สิบสามสิบงวดก็พอ ลูกเตรียมตัวนะขอรับ” นานวันเข้าสัตว์ที่ถูกฆ่าเพื่อนำมาเส้นไหว้บูชายัญก็มากขึ้น เสียงร้องโหยหวนเจ็บปวด ทนทุกข์ทรมานดังระงมไปทั่วเมือง เป็นที่น่าสังเวชใจยิ่งนัก
 “หึๆๆๆ งวดนี้น่ะได้มาเยอะ เอาของอร่อยๆ ไปเซ่นไหว้เจ้าพ่อต้นไทรสักหน่อย” เมื่อผู้คนเกียจคร้านไม่ทำมาหากิน หวังพึ่งแต่ผีสางเทวดา นานไปความจนความอดอยากก็เป็นเหตุให้มีโจรผู้ร้ายอยู่ทั่วเมือง “หึๆๆๆ เอาหัวหมูมาถวายได้ลาภจากเจ้าพ่อต้นไทรมาเพียบล่ะซิ อย่างนี้ต้องปล้นเอาหัวหมูมาแกล้มเหล้า
 เอ้ย! ไม่ใช่ต้องปล้นเงินให้เกลี้ยง หึๆๆๆ” เจ้าชายพรหมทัต แม้จะทรงรู้ว่าความเชื่อผิดๆ ของชาวบ้านเป็นสาเหตุของปัญหาก็มิได้ทรงใช้อำนาจทำลายโดยทันที กลับเสด็จไปบูชาเจ้าพ่อต้นไทรร่วมกับชาวบ้านแทน “โอ้! เจ้าชายพรหมทัต เสด็จมาบูชาเจ้าพ่อต้นไทรอีกแล้ว ช่างขยันขันแข็งจริงๆ น่านับถือๆ”
  “นี่แหละ เจ้าชายผู้เป็นมหาราชของพาราณสี ช่างน่าชื่นชมจริงๆ” ต่อมาราชาแห่งพาราณสีก็เสด็จสวรรคต องค์อุปราชพรหมทัตได้ขึ้นครองบัลลังก์แทน ทรงพระนาม “พระเจ้าพรหมทัต” เมื่อได้ครองราชย์พระเจ้าพรหมทัตก็ทรงปราบปรามเหล่าโจรผู้ร้าย และทำนุบำรุงปวงประชาเป็นอย่างดี
 “ปัญหาต่างๆ เราก็ขจัดจนหมดสิ้น เหลือเพียงอย่างเดียวต้องขจัดความลุ่มหลง มัวเมาของประชาชนให้หมดไป ท่านราชบุรุษ เราเคยบนบานเจ้าพ่อต้นไทรไว้ ว่าหากได้ครองบัลลังก์เมื่อใด เราจะจัดเครื่องเซ่นไหว้บูชาอย่างยิ่งใหญ่ ท่านช่วยหาเครื่องเซ่นไหว้และประกาศให้ชาวบ้านมาร่วมพิธีด้วยนะ”
 “จะให้หม่อมชั้นเตรียมเครื่องเซ่นไหว้เป็นอะไรรึพระเจ้าค่ะ?” “เอาเป็นชีวิตของคนบาปที่ทำผิดศีล 5_น่ะ โดยเฉพาะไอ้พวกที่ชอบฆ่าสัตว์ หามาเซ่นสังเวยสักพันชีวิตซิ” “หา! โอ่! ไม่น่าเชื่อ อะไรเนี่ย” เมื่อชาวบ้านทั่วกรุงพาราณสีได้ทราบข่าวการเซ่นไหว้ของพระเจ้าพรหมทัต ก็เกิดความกลัว สิ่งนี้นั่นเองที่ทำให้ชาวบ้านเกิดสติ คิดพิจารณาผิดชอบชั่วดี
   “เฮ้อ! เจ้าลาที่เราเอาหัวมันมาเซ่นไหว้นี้ มันก็คงรักชีวิตของมันเหมือนสินะ เราเนี่ย..ช่างทำเรื่องผิดศีลธรรมแท้ๆ เลย เอาหัวเจ้าคืนไปเถอะ ฉันผิดไปแล้ว ขอโทษด้วยนะ เจ้าลา” “อุ้ย! พระเจ้าพรหมทัตน่ะ ทรงขึ้นครองราชย์ได้เพราะพระปรีชาสามารถแท้ๆ ไม่ใช่เพราะเจ้าพ่อต้นไทรดลบันดาลซักหน่อย ทำไมต้องเอาชีวิตคนไปเซ่นไหว้ด้วยละ”
 “เฮ้อ พระราชาทรงทำให้พวกเราคิดได้แท้ๆ ที่ผ่านมาเรามีความเชื่อที่ผิดๆ มาตลอดหรือเนี่ย” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวบ้านกรุงพาราณสีก็ขยันทำมาหากิน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ชาวบ้านต่างดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข “ลูกรัก แม่มีข้าวมาให้เจ้ากินแล้วล่ะ วันหลังแม่จะไปทำงานบ้านเศรษฐีอีก ลูกจะไม่อดอยากอีกแล้วนะจ๊ะ”
 “เอ้า! มารับค่าแรงกันได้แล้ว วันนี้ท่านเศรษฐีใจดีเอาข้าวของมาแจกให้เรากินกันที่บ้านด้วย” “โอ่ย หลงพึ่งเจ้าพ่อต้นไทรมานานจนอดอยากปากแห้ง คราวนี้ทำงานเองมีข้าวกินแล้วเว้ย” จากนั้นกรุงพาราณสีของพระเจ้าพรหมทัตก็สงบสุขร่มเย็นเป็นแผ่นดินธรรมไปตลอดรัชสมัย

 
 
ทุมเมธานํ สหสฺเสน                           ยญโณ เม อุปยาจิโต
อิทานํ โขหํ ยชิสฺสามิ                          พหฺ อธมฺมิโก ชโน
 
เราเข้าไปบนไว้ว่า จะบูชายัญด้วยคนโง่ๆ พันคน
บัดนี้เราจะต้องกระทำ เพราะคนที่ประพฤติ “อธรรม” เช่นนี้มีมากแล้ว
30  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2015, 05:01:45 pm

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 ณ พระวิหารเชตวัน นครสาวัตถี เศรษฐีเจ้าสำอางผู้รักความสบาย เมื่อได้ฟังพระพุทธโอวาทก็เกิดความเลื่อมใสในสัจธรรม ปรารถนาจะมาบวชในพระพุทธศาสนา “เอ้า! พวกเจ้าเร่งสร้างกุฏิหลังใหญ่ให้ข้าเร็วเข้า แล้วอย่าลืมสร้างโรงไฟและโรงครัวด้วยหละ ข้าจะเอาไว้เก็บตุนอาหาร”
 เศรษฐีเจ้าสำอาง เมื่อบวชแล้วก็ยังไม่ละกิเลส มีข้าวของเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่มต่างๆ ไว้ใช้จนล้นกุฏิ “ท่านบวชแล้วไยจึงสรรหาความสบาย เหมือนเป็นฆราวาสเล่า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากับเราเถิด ท่านจะได้เข้าใจหนทางละทิ้งกิเลสเสียที” “เราไม่เห็นว่า ตัวเราจะทำผิดประการใด พวกท่านนั่นแหละที่คิดมากไปเอง”
 “ดูก่อนภิกษุในศาสนาของเรานี้ ล้วนสรรเสริญคุณของความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ รักสงบ เพียรผลาญกิเลสให้สิ้นไปมิใช่หรือ? แล้วทำไมท่านกลับถึงทำสิ่งไม่ควรเช่นนี้เล่า” พระภิกษุเจ้าสำรวย ได้ฟังคำพระพุทธเจ้าแล้ว แทนที่จะสำนึกผิดกลับบันดาลโทสะ ประชดประชัน ทำสิ่งมิควรอีก
 “ถ้าอย่างนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจะนุ่งแต่เพียงผ้าสบงผืนเดียวอย่างนี้เท่านั้น” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ฟังก็มิได้ทรงถือโทษ กลับทรงพระกรุณาระลึกชาติหนหลัง ด้วยบุพเพนิวาสานุสสติญาณแล้วตรัสเตือนสติพระภิกษุหนุ่มรูปนี้ “ดูก่อนภิกษุ เมื่อชาติปางก่อน ท่านเคยเกิดเป็นผีเสื้อน้ำ
ต้องทนลำบากยากแค้นถึง 12 ปี จึงค้นพบเทวธรรม แต่มาบัดนี้ท่านกลับทิ้งเทวธรรมนั้นอย่างน่าเสียดาย” แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงเล่าเรื่องการแสวงหาเทวธรรม ในอดีตชาติของพระภิกษุรูปนี้หรือเทวธรรมชาดกให้ภิกษุทุกรูปที่มาเฝ้าได้ฟังกัน
 ในอดีตกาล สมัยพระเจ้าพรหมทัตครองราชย์สมบัติ ณ กรุงพาราณสี พระอัครมเหสีทรงมีพระราชโอรสอยู่ 2_พระองค์ พระองค์แรกนาม มหิสสาสกุมาร พระองค์รองนาม จันทกุมาร ต่อมาพระนางก็ได้เสด็จสวรรคตตั้งแต่พระราชโอรสยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าพรหมทัต ทรงมีมเหสีใหม่ และทรงโปรดปรานมาก
  “ท่านพี่... ดูโอรสของเราสิคะ น่ารัก น่าเอ็นดู๊ น่าเอ็นดู” “ฮ่าๆ ใช่น่าเอ็นดูจริงๆ มเหสี หากเจ้าปรารถนาสิ่งใดแก่สุริยะกุมาร ก็ขอมาเถิด ข้าจะให้เจ้าตามประสงค์ทุกประการ” “ถ้าเช่นนั้น หม่อมฉันขอราชสมบัติ กรุงพาราณสี ให้สุริยะกุมารโอรสของเรา นะเพคะ”
พระเจ้าพรหมทัตถึงจะทรงโปรดปรานพระมเหสีเพียงใด แต่ก็มิได้ทรงหลงลืมความเที่ยงธรรม พระองค์ทรงเรียกพระโอรสมหิสสาสกุมาร และ จันทกุมาร เพื่อบอกแผนการที่วางไว้ “เจ้าสองคน จงเข้าป่าไปแสวงหาพระอาจารย์ แล้วศึกษาหาความรู้วิทยาอาคมให้เชี่ยวชาญเถิด
 เมื่อกลับมาแล้ว เจ้าจะได้มาทวงราชสมบัติคืน” พระเจ้าพรหมทัต ทรงรู้ดีว่า หากพระองค์อ้างความถูกต้องตามจารีตไม่ยอมทำตามคำขอของพระมเหสี โอรสทั้งสองก็จะเป็นอันตราย แผนที่พระองค์วางไว้ย่อมเป็นหนทางที่ดีที่สุดแล้ว สุริยะกุมาร เมื่อเห็นเสด็จพี่ทั้งสองพระองค์ ทรงเครื่องรัดกุมก็เข้าไปไต่ถาม
 “ท่านแม่ ทำเช่นนี้ไม่ถูกต้องเลย ข้าน่ะ ขอไปอยู่ป่ากับท่านพี่สองคนนะ ข้าไม่อยากทำผิดตามท่านแม่” แล้วพระโอรสทั้งสามพระองค์ ก็ออกเดินทางด้วยกัน “สุริยะกุมาร เจ้ายังเล็กนัก ไปหาน้ำมาดื่มเถอะ เดี๋ยวพวกพี่จะช่วยสร้างที่พักเอง” “ว้าว! เจอสระน้ำแล้ว ดีใจจัง เดินมาแป๊บเดียวก็เจอเลย อุ้ย! น้ำใส๊ ใส อ้า! เย็นชื่นใจจริง ๆ”
ด้วยความไร้เดียงสา สุริยะกุมารหารู้ไม่ว่า ในสระน้ำแห่งนี้มีผีเสื้อน้ำตนหนึ่ง ที่ดำรงชีวิตด้วยการกินเนื้อสัตว์และเนื้อคนอาศัยอยู่ ท้าวเวสสุวรรณ ทรงมีพระกรุณาให้ผีเสื้อน้ำตนนี้สำนึกบาป จึงมีเทวบัญชาบังคับ ผีเสื้อน้ำตนนี้ ไม่ให้ไปออกจับสัตว์และคนกินนอกบริเวณสระน้ำนี้เป็นอันขาด
 และหากคนที่ลงมาในสระนี้ ถ้าเป็นผู้รู้เทวธรรม ก็ห้ามทำอันตราย ให้ตั้งใจศึกษาเทวธรรมจากผู้นั้น แล้วจึงจะพ้นเวร “เจ้าเด็กน้อย เจ้ารู้หรือไม่ว่า เทวธรรมคืออะไร” “เทวธรรม ก็คือ พระจันทร์กับพระอาทิตย์ไง” “ฮ่า ๆ เจ้าเด็กน้อย อย่ามาโม้เลย ถึงข้าจะไม่รู้ว่า
เทวธรรม คืออะไร แต่คำตอบของเจ้า ข้าก็รู้ว่าผิดแน่ๆ ข้าจะขังเจ้าอยู่ในนี้ ไปเป็นอาหารของข้า ฮ่าๆๆๆๆ” “เจ้าอย่าทำอะไรเรานะ ปล่อยไป อึ้ย! ช่วยด้วยๆๆ” “ข้าช่วยเจ้าไม่ได้หรอก เจ้าเด็กน้อย เจ้าต้องเป็นอาหารของข้า ฮ่าๆๆๆ” “ปล่อยข้า ปล่อยเดี๋ยวนี้ ปล่อยเราไป โอ่ย!”
 “สุริยะกุมารเจ้าอยู่ไหนเนี่ย ท่านพี่มหิสสาสกุมารเรียกหาแล้วนะ อุ้ย! สระน้ำ ขอแวะดื่มน้ำก่อนล่ะกัน เดี๋ยวค่อยตามหาสุริยะกุมารต่อ” “หยุดก่อน เจ้าเด็กน้อย ตอบข้ามาสิว่า เทวธรรมคืออะไร” “เทวธรรมคืออะไรว้า? ไม่เห็นเคยได้ยินเลย ตอบๆ มันไปก่อนแล้วกัน” “เทวธรรม ก็คือ ทิศทั้ง 4 ไง เจ้าไม่รู้หรอกหรอ?”
 “ทิศทั้ง 4 หรอ เอ! แล้วท้าวเวสสุวรรณเนี่ย จะให้เราตามหาทิศทั้ง ทำไมวะ ต้องไม่ใช่แน่ๆ ข้าไม่เชื่อเจ้าหรอก ข้าจะจับเจ้าไว้เป็นอาหารอีกคน ฮ่าๆๆๆ อิ่มแน่ๆ มื้อนี้ ฮ่าๆๆๆ” “ไม่นะ ปล่อยเรา เจ้าผีเสื้อน้ำน่าเกลียดน่ากลัว ปล่อยเราเดี๋ยวนี้นะ” “ขัดขืนไปก็ไร้ประโยชน์ ยังไงเจ้าก็ไม่รอดหรอก ฮ่าๆๆๆ”
 “ช่วยด้วยๆๆๆ ใครก็ได้ช่วยข้าด้วย” “สุริยะกุมาร กับ จันทกุมารหายไปไหนกันเนี่ย เอ๊ะ! รอยเท้าเด็ก ต้องเป็นน้องทั้งสองของเราแน่ แต่ทำไมรอยเท้า จึงมีแค่รอยที่ลงไปในสระน้ำล่ะ สระน้ำนี้ต้องมีอันตรายแน่ๆ” “พ่อหนุ่ม เจ้าเดินทางมาไกล ไม่ไปดื่มน้ำ อาบน้ำในสระให้สบายก่อนเล่า”
  “เจ้าเป็นใคร เจ้าจับน้องทั้งสองของเราไปใช่ไหม?” “ใช่! ข้าจับน้องของเจ้าไปเอง ข้าเป็นผีเสื้อน้ำ จับคนกินได้ทุกคน เว้นเสียแต่คนผู้นั้นจะรู้ว่าเทวธรรมคืออะไร?” “ถ้าท่านอยากรู้ เทวธรรม เราจะอธิบายให้ฟัง แต่ต้องให้เราชำระร่างกายให้สะอาดซะก่อน จัดที่นั่งเราให้สูงกว่าพื้น แล้วเจ้าต้องพนมมือฟังด้วยความเคารพ”
  “ได้! ได้เลย โอ้ว! รอมานาน วันเนี้ย ข้าจะได้รู้ว่า เทวธรรม คืออะไร” “เทวธรรม คือ ผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันผ่องแผ้ว ประกอบด้วย หิริโอตตัปปะ หิริ คือ ความละอายต่อบาป ละลายในการคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว โดยตัวเองเป็นเหตุ โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อผลของบาป
 เช่น กลัวตกนรก กลัวโดนติฉินนินทา ซึ่งผู้อื่นเป็นเหตุ” “โอ้ว! ข้าเข้าใจแล้ว ข้าจะยึดหลักเทวธรรม เอาไปปฏิบัติ เอาล่ะข้าอนุญาตให้ท่านดื่ม และใช้น้ำในสระนี้ได้ตามใจชอบ แต่น้องชายของท่านน่ะ ข้าขอคืนให้คนเดียวเท่านั้น เพราะข้าทนหิวมานาน คราวนี้จะขอกินอิ่มๆ อีกสักมื้อ”
 “ถ้าเช่นนั้น ข้าขอสุริยะกุมารน้องคนเล็กของข้าคืนเถิด” “ฮ่าๆ ท่านบัณฑิต ท่านรู้จักเทวธรรม แต่ทำไมท่านไม่ปฏิบัติตามหลักเทวธรรม ท่านปล่อยให้น้องชายคนเล็ก แล้วน้องคนโตของท่าน ที่มีอายุมากกว่า ซึ่งถือว่ามีคุณธรรมสูงกว่า ท่านไม่ให้เกียรติต่อคุณธรรมนี้หรอกรึ?”
 “นี่แหละ คือเทวธรรม น้องคนเล็กไม่ได้เกิดร่วมมารดา เดียวกับเรา ถ้าเราไม่ได้ตัวเขากลับไป ย่อมมีคนครหา ว่าเราสองพี่น้อง รวมหัวกันฆ่าน้องคนเล็กเพื่อหวังในราชสมบัติ” “น่าสรรเสริญท่านจริง ๆ ท่านเป็นผู้รู้ และผู้ปฏิบัติเทวธรรมโดยแท้ เราจะคืนน้องให้ท่านทั้งสองคน”
  “ข้าขอบใจท่านมาก ที่ปล่อยน้องข้า แต่ดูก่อนเถิด ตัวท่านเกิดมากินเลือดกินเนื้อของผู้อื่น ก็เพราะบาปที่สร้างไว้แต่ชาติปางก่อน ชาตินี้ท่านจงเลิกทำบาปเสียเถิด” จากนั้นทั้งสามกุมารก็อาศัยอยู่ในป่ากับผีเสื้อน้ำตนนั้น จนวันหนึ่ง มหิสสาสกุมาร สังเกตเห็นดาวนักขัตฤกษ์มัวหมอง
 ก็ทราบว่าพระราชบิดาเสด็จสวรรคตแล้ว มหิสสาสกุมารพาน้องทั้งสองกลับเมือง พร้อมกับพาผีเสื้อน้ำไปด้วย “เจ้าผีเสื้อน้ำ เราไม่ควรจัดที่อยู่และหาอาหารให้เจ้ากินแล้ว จากนี้ไป เจ้าจงใช้ชีวิตเยี่ยงมนุษย์ และบำเพ็ญ ศีล ภาวนาเถิด เจ้าจะได้พ้นบาปกรรมสักที”
 เมื่อมหิสสาสกุมาร เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว ก็พระราชทานตำแหน่งมหาอุปราชให้แก่จันทกุมาร และทรงแต่ตั้งสุริยะกุมารเป็นเสนาบดี
             
ผีเสื้อน้ำในครั้งนั้น ต่อมาเป็น พระภิกษุเจ้าสำอาง
ส่วนสุริยะกุมาร ต่อมาเป็น พระอานนท์
จันทกุมาร ต่อมาเป็น พระสารีบุตร
มหิสสาสกุมาร คือ อดีตชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า
 
พระคาถาประจำชาดก
-------------------------
คนดีผู้อดกลั้นไว้ซึ่งความชั่ว ประกอบด้วย หิริและโอตตัปปะ
ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันผ่องแผ้ว ท่านเรียกว่า “ผู้มีธรรมของเทวดาในโลก”
31  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2015, 04:55:12 pm

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

ราชคฤห์ในแผ่นดินพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นบังเกิดมีสำนักพระพุทธศาสนาที่แปลกแยกออกไปโดยมีพระเทวทัตเป็นผู้นำศาสนสถานแห่งใหม่ตั้งอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะที่พระเจ้าอชาตศัตรูสร้างถวายและให้อยู่ในพระราชานุเคราะห์อย่างอุดมสมบูรณ์
ในพุทธกาลครั้งนั้นมีชาวเมืองราชคฤห์สองคนเป็นสหายรักกันมาแต่เด็ก ทั้งสองเลื่อมใสในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาจึงตัดสินใจจะบวชเป็นภิกษุเพื่อบรรลุในพระธรรมคำสอน “แล้วพวกเราจะไปบวชที่ไหนกันดีหล่ะ” “ข้าจะขอบวชในพระเวฬุวันมหาวิหารของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเจ้าละไปบวชกับข้าไหม”
  “ไม่ละ ข้าขอบวชในสำนักพระเทวทัตดีกว่า เห็นลือกันว่าที่นั้นนะสุขสบายนัก ฮะฮ่ะๆๆ ฮะ” เวลาผ่านไปแม้สหายทั้งสองต่างครองเพศบรรชิตแล้ว แต่ก็ยังไปมาหาสู่กันมิได้ขาด “เพื่อน ไปฉันอาหารที่วัดเราดีกว่า มีแต่อาหารรสดีทั้งนั้น” “เกรงใจจัง จะดีหรือท่าน มันไม่งามหรือเปล่า”
 ทุกเช้าภิกษุที่เป็นสาวกของพระเทวทัตจะมาชักชวนภิกษุสหายของเขาไปฉันภัตตาหารที่สำนักพระเทวทัตด้วยกันเสมอ” “สหายเอ๋ยจะมาบิณฑบาตให้เหนื่อยทำไม ไป๊..ไปฉันกับเราที่คยาสีสะดีกว่า” อย่าเลยฉันไข่ต้มกับน้ำพริกที่บิณฑบาตมานี่ก็ได้” “โอ้ย! จะไปอร่อยอะไร ปะ..ไปฉันกับเราอาหารเยอะแยะมากมาย
ทั้งต้ม ยำ นึ่ง ทอด ล้วนประณีตถูกปากแบบชาววังทุกวันเลย” “เออ..ท่านมาชวนซะขนาดนี้เราไม่ไปท่านก็จะเสียใจ เอาล่ะเราจะไปก็ได้” เมื่อแรกๆ ที่ได้รับคำเชิญชวนจากเพื่อนภิกษุนั้นก็บ่ายเบี่ยง แต่เมื่อถูกคะยั้นคะยอบ่อยๆ เข้าจึงรับปาก เมื่อไปร่วมฉันอาหารก็เกิดความเคยชินไปฉันเป็นประจำแต่นั้นมา
 “อือ..เราไปฉันอาหารที่สำนักของพระเทวทัตก็จริงน่า แต่พระเทวทัตไม่ได้เป็นคนให้เรา เราฉันอาหารของผู้มีจิตศรัทธานำมาถวายให้ต่างหากไม่เห็นจะผิดอะไร ก็เหมือนในเวฬุวันที่นี่แหละ ทานที่ไหนก็เหมือนกัน” “ที่ท่านคิดก็ถูกแล้ว พวกเราน่ะก็ไม่เห็นว่าท่านจะทำผิดอะไร” “แต่เราก็เกรงว่าภิกษุท่านอื่นในเวฬุวันจะไม่เข้าใจหาว่าเรารักความสบายนะซิ”
 “ถ้าสหายไม่สะดวกใจก็ขอลาพระสมณะโคดมมาอยู่กับฝ่ายเราเสียเลยดีไหม ข้าเดินไปชวนท่านทุกวันก็เริ่มเหนื่อยแล้วเหมือนกัน” นานวันเข้าความประพฤติของภิกษุหนุ่มรูปนี้ก็เป็นที่โจษขานกันในเวฬุวัน กระทั่งวันหนึ่งมีเหตุให้ต้องโต้วาทะกับเพื่อนพระภิกษุอื่นๆ “เจ้าผิดนักที่ไปฉันอาหารของพระเทวทัตเถระผู้ผิดธรรมวินัยนั่นนะ รู้มั๊ย”
 “เราไม่ผิด อาหารเหล่านั้นไม่ได้เป็นของพระเทวทัต แต่เป็นของถวายจากพระเจ้าอชาตศัตรูต่างหาก” “ท่านนี่หัวดื้อจริงๆ” “ผิดมากๆ ด้วย เช่นนี้ต้องนำเข้าเฝ้าพระศาสดาแล้ว” “เมื่อเราตักเตือนอะไรท่านไม่ได้ก็ให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตักเตือนท่านแล้วกัน” เพื่อนพระภิกษุพากันว่ากล่าวแล้วนำตัวไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงสอบถามความเป็นจริง
 “ดูก่อนภิกษุเธอมาบวชอยู่ในสำนักของเราซึ่งสอนให้ละกิเลสนำตนให้พ้นจากกองทุกข์ แล้วทำไมจึงไปฉันอาหารในสำนักของพระเทวทัตซึ่งเป็นคนทุศีลด้วยเล่า ถึงแม้เธอจะอ้างว่าได้รับอาหารจากคนที่เขามีศรัทธาถวายให้ก็หาใช่เหตุผลอันชอบธรรมไม่ เพราะอาหารนั้นได้มาด้วยการกระทำอันไม่ชอบของพระเทวทัตผู้ทุศีล
  คนเราเมื่อคบกันไปนานเข้าความคิดอ่านก็จะไปในทางเดียวกัน คบคนดีก็จะเป็นคนดี คบคนชั่วก็จะพลอยชั่วไปด้วยเหมือนเมื่อครั้งที่เธอเกิดเป็นช้างชื่อ มหิฬามุข เมื่อชาติก่อนโน้น” ในอดีตกาล ณ นครพาราณสีพระเจ้าพรหมทัตมีช้างพระที่นั่งเชือกหนึ่งชื่อ พลายมหิฬามุข เป็นช้างทรงลักษณะงดงาม สงบเสงี่ยมเรียบร้อยอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด
 เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าพรหมทัตยิ่งนัก “พลายมหิฬามุขของเรานี่ช่างสง่างามจริงๆ สมแล้วที่เป็นช้างคู่ใจคู่บัลลังก์พาราณสีของเรา หึๆ ฮ่าๆ ฮะ” ครั้นถึงเทศกาลฝึกช้างเพื่อใช้ในราชการ อำมาตย์ราชบัณฑิตจึงเปลี่ยนที่พักมาใกล้กำแพงชั้นนอกเพื่อความสะดวก แต่เพียงไม่กี่วันพลายมหิฬามุขที่เคยสุภาพเรียบร้อยก็เปลี่ยนไปเริ่มแสดงท่าทางเกะกะเกเรขึ้นเรื่อยๆ
 ใช้งวงหวดซ้ายป่ายขวา เห็นใครเดินเข้ามาก็จะเข้าไปทำร้าย “มาแล้วๆ หน่อไม้ของโปรด เฮ้ยๆ....เฮ้ย อย่าสิพ่อ เรามาดีเอาอาหารมาให้ เฮ้ย!ๆๆ ยะ..อย่าฟาดเรานะ” ยิ่งเวลาผ่านไปพลายมหิฬามุขก็ยิ่งกำเริบก้าวร้าวไล่แตะควานบ้าง แตะเข่งอาหารบ้าง ทั้งส่ายสะบัดหัวฟาดงวงไปมาจนควานกับพนักงานไม่กล้าเข้าใกล้ “แกไปป้อนอาหารซิ”
 “แกนั่นแหละเข้าไป เมื่อกี้ข้าเอาเข่งไปวางเฉยๆ ยังวิ่งออกมาเทียบไม่ทันเลย” “เข้าไปป้อนนะคงโดนแตะตายแน่เลย” วันหนึ่งพลายมหิฬามุขตกมันก็ยิ่งแสดงอาการเกะกะเกเรอย่างน่ากลัว พังโรงช้างจนพินาส แม้แต่ช้างด้วยกันก็โดนทำร้ายไม่ละเว้น ควาญทั้งพระราชวังพากันมาระงับเหตุก็ไม่อาจหยุดยั้งความร้ายกาจได้ต้องพลีชีวิตไปหลายคน
 “เอ้าๆๆ พวกเรามาทางนี้ มาช่วยกันหน่อยพลายมหิฬามุขตกมันใหญ่แล้ว” “เชือกเส้นแค่เนี่ยจะมัดมันได้หรือเนี่ย” “โอ้ย! ไม่น่าเข้าไปหน้ามันเลย โดนแตะซะน่วม” พระเจ้าพรหมทัตร้อนพระทัยกับเรื่องนี้มากยิ่งนัก เร่งให้อำมาตย์บัณฑิตไประงับเหตุร้ายและหาสาเหตุนั้นให้ได้ “ข้าพระพุทธเจ้าจะแก้ไขช้างพลายมหิฬามุขให้กลับมาดีได้เหมือนเดิมพระเจ้าค่ะ”
 “ดี เจ้ารีบไปดูเหตุการณ์เถอะแล้วรีบกลับมารายงานเราด้วย เราจะสังเกตการณ์รออยู่ที่นี่” อำมาตย์บัณฑิตจัดควาญฝีมือดีพร้อมช้างในกองทัพพาราณสีเข้าประกบตัวและใช้กำลังเข้าดันให้จนมุม ในที่สุดก็สามารถเข้าจับตัวคล้องพลายมหิฬามุขไว้ได้ “ฮึบ!..เฮ้ย..ๆ ช่วยกันจับไว้พวกเรา” “อ้าวเว้ย!..จับผิดเส้นรึเนี่ย ก็ว่าทำไมจับมาทางนี้คนเดียว”
 “ใครก็ได้เอามันไปเหอะ เกะกะเหลือเกิน” เมื่อพลายมหิฬามุขถูกจับได้ น่าแปลกใจยิ่งนักที่มันไม่ต่อสู้ขัดขืนเลย กลับยืนฟังคำพิพากษาเหมือนมหาโจรที่หมดอิสรภาพ “ทำไมพลายมหิฬามุขถึงเป็นอย่างนี้รึ เกิดเหตุใดขึ้นยังมีสิ่งใดที่เราไม่รู้ควานจงเล่ามาให้หมดอย่าปิดปัง” “แต่เดิมพ่อพลายมหิฬามุขก็ประพฤติตัวดีมีวินัยจนย้ายมาอยู่โรงช้างนี่แหละ
 อยู่ได้ไม่นานก็เริ่มดุร้ายขึ้นทุกวัน” “ท่านบัณฑิต ข้าว่าต้องเป็นเพราะโจรที่มันมาปลูกเพิงพักอาศัยอยู่แถวๆ โรงช้างแน่ๆ เลย” “อึม..อาจจะเป็นไปได้เจ้าเล่ามาอีกซิ ว่าพวกโจรนั้นมันเป็นไง ทำอะไรกันบ้าง” “แต่ละคืนพวกมันก็วางแผนแต่เรื่องเลวร้าย พฤติกรรมแต่ละอย่างก็โหดร้ายทารุณ พ่อพลายมหิฬามุขได้ยินเรื่องนี้ทุกวัน ก็คงนึกว่าเค้าสอนให้ทำเรื่องนี้กระมัง”
 “ฮะ ฮ่า ฮาๆ คืนนี้พวกเราไปปล้นบ้านเศรษฐีกันดีกว่า” “ได้เลย ฮิๆๆ จะขนให้เกลี้ยงเลย ใครมาขวางก็จะแทงด้วยหอกนี้เลย” “ดีๆ แกแทงเสร็จข้าจะเตะอีกให้น่วมไปเลย ฮ่าๆๆ” “คืนนี้ไอ้บ้านเศรษฐีนั้นเสร็จข้าแน่เลย หึ! ใครขวางทางข้าจะฆ่ามันให้หมด ดูซิจะมีใครกล้าเข้ามาสู้มหาโจรอย่างข้า หิๆๆ ฮ่าๆ” “ลองเข้ามาใกล้ข้าดูซิจะเอามีดมาแทงควักไส้ออกมาให้หมดเลย”
“ส่วนข้าเองจะใช้ลูกถีบมหาบันลัยสู้กับมันเอง ลองเข้ามาใกล้ข้าดูซี..ข้าจะถีบให้กระจายหมดเลยทุกอย่าง เพราะเราคือเสือถีบ ถีบซ้าย..ถีบขวา..ถีบหน้า....ถีบหลัง ใครกล้าลองดีกับข้าโดนถีบแน่!...เท้าข้าเหม็นด้วย เหอะๆ” “งึย!..คืนนี้ข้าจะกวาดของมาให้หมด ใครมาขวางนะ ข้าจะฟาดด้วยกระบองนี่ให้และไปเลย สะใจโว้ย ฮ่าๆๆ ฮา ข้ามันให้ตายอย่าให้เหลือ!”
 เมื่ออำมาตย์รู้เรื่องราวทุกอย่างแล้วก็นำขึ้นกราบทูลพระเจ้าพรหมทัต “ขอเดชะอันพลายมหิฬามุขดุร้ายผิดวิสัยเดิม ก็เพราะใกล้ชิดคนชั่วโจรโหดร้ายพวกนั้นพะยะค่ะ” “อืม..ถ้าเช่นนั้นนะเราควรแก้ไขอย่างไรดีท่านอำมาตย์” “เห็นควรให้ทรงโปรดจับพวกโจรพวกนั้นขังไว้แล้วให้นักบวชมาพักอยู่ใกล้โรงช้างแทน เมื่อนักบวชได้สนทนาธรรม พลายมหิฬามุขจะได้ฟังและซึมซับไป
 วิธีการนี้คงจะเปลี่ยนพฤติกรรมโหดร้ายของพลายมหิฬามุขได้พะยะค่ะ” จากวันนั้นมา ที่พักของโจรก็ถูกรื้อทิ้งไปกลายเป็นธรรมศาลาของเหล่านักบวชแทนที่ พลายมหิฬามุขเมื่อได้ฟังเรื่องดีๆ สำเนียงสุภาพทุกวันจากพฤติกรรมเจ้าอารมณ์โหดร้ายก็เปลี่ยนเป็นอ่อนโยนประพฤติตัวดีมีวินัยเช่นเดิม “วันนี้เราจะสนทนาธรรมเรื่องอะไรกันดี” “อือ..เอาเรื่องนี้ซิ คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล ดีกว่า” “อืม..ดี”
 
    เมื่อพลายมหิฬามุขกลับมาประพฤติตัวดีเหมือนเดิม อำมาตย์บัณฑิตก็ได้รับคำสรรเสริญพร้อมรางวัลพระราชทานจากพระเจ้าพรหมทัต “เอ้า..พลายมหิฬามุขทานอ้อยนี่ซิ หวานนะ เออดี เดี่ยวนี้เรียบร้อยขึ้นนะเรา น่ารักเชียว อ้าวกินไป ควาญช้างดูแลพ่อพลายมหิฬามุขดีๆ นะ อย่าให้ใกล้สิ่งที่ชั่วร้ายอีก” “ขอรับข้าน้อยจะดูช้างอย่างดีเลย” “การอยู่ใกล้คนชั่วนี้ช่างเป็นภัยแก่ตัวจริงๆ ขอข้าพเจ้าอย่าพึงได้เห็น ได้ยินคนพาล อย่าพึงอยู่ร่วมกับคนพาล อย่าพึงทำ อย่าพึงใจ ปราศรัยกับคนพาลเป็นอันขาด”

 
ในพุทธกาลสมัย พลายมหิฬามุข กำเนิดเป็น ภิกษุผู้หลงผิด
พระเจ้าพรหมทัต กำเนิดเป็น พระอานนท์
อำมาตย์บัณฑิต เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
32  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / กโปตกชาดก-ชาดกว่าด้วยความเป็นผู้มีใจโลเล เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2015, 04:01:58 pm

กโปตกชาดก-ชาดกว่าด้วยความเป็นผู้มีใจโลเล

อันพระพุทธวัจนทั้งหมดทั้งสิ้นที่ผ่านความยาวนานของกาลเวลามากกว่า 2500 ปีนั้น มีพระธรรมคำสอนเพียงไม่กี่ข้อที่ผู้คนในโลกจำกันขึ้นใจ บุคคลพึงสำเร็จได้ด้วยความเพียรก็เป็นพระพุทธธรรมข้อหนึ่งที่เราจดจำนำไปปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง การปฏิบัติกิจใดโดยความเพียรก็ย่อมมีข้อขันติอดทน ไม่มีใจโลเลเป็นสิ่งนำสู่ความสำเร็จด้วยดังเห็นการนำไปสู่การตรัส กโปตกชาดกในพระเชตะวันมหาวิหาร ณ พุทธกาลครั้งหนึ่ง
 กาลครั้งนั้นยังมีภิกษุรูปหนึ่งมีนิสัยโลเลบางครั้งก็ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด แต่บางครั้งก็เบื่อหน่ายเลิกล้มความพากเพียรลง “นั่งสมาธิ(Meditation)อยู่นานแล้ว ใยจิตใจของเรายังไม่สงบนะ เฮ้อ..มันชั่งยากจริงๆ” บางครั้งภิกษุท่านนี้ถึงขนาดท้อแท้ขาดกำลังใจไม่อาจกระทำความเพียรไปได้อย่างสม่ำเสมอ
 “โธ่เอ้ย..เวรกรรมอะไรของเรานะ” เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดด้วยพระกรุณาธิคุณแก่ภิกษุผู้มีจิตใจโลเลนั้นด้วยเรื่องราวในอดีตชาติที่พระองค์เคยเกื้อกูลสั่งสอนกันมาก่อน ทรงระลึกชาติครั้งนั้นด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณผ่านเวลาย้อนไปในชาติภพหนึ่งในพาราณสี ณ กาลนั้นมีพ่อครัวจิตใจดีคนหนึ่ง มีหน้าที่ซื้ออาหารมาปรุงรสเลี้ยงดูทุกคนในตระกูลของนายจ้าง
 พ่อครัวคนนี้ซื่อตรงมีวินัยและจิตใจดี “อือ...วันนี้ตลาดมีของสดเยอะแยะเลย อะไรๆ ก็น่าซื้อน่ากินไปซะหมด ของดีๆ สดๆ ทั้งนั้นเลย” ทุกครั้งเมื่อซื้อผักพืชผลใดๆ มาได้ ก็แบ่งคัดเพื่อปรุงให้กับเศรษฐีนายจ้างและเหล่าบริวารเหมาะสมตลอดมา “อันนั้นนะ ส่วนของท่านเศรษฐีน่ะ เอ้า..อันนี้นะ ส่วนของเจ้า ไปปรุงกินกับสามีเจ้าเถิด”
 “ขอบคุณมาก เดี๋ยวข้าทำเสร็จแล้วจะตักแบ่งมาให้ท่านด้วยนะ” “เฮอะๆๆ ไม่เป็นไรหรอกพวกเจ้าทานกันให้อิ่มเถอะ สามีเจ้าทำงานหนักมาทั้งวัน คงจะหิวแล้วหล่ะ ไม่รู้แค่นี้จะพอหรือเปล่าน่ะ” “ฮ้าๆๆ” “เออๆๆ รีบไปทำเข้าเถอะ ไม่ต้องมาประชดข้าหรอก” ที่ชายคาโรงครัวนั้นพ่อครัวใจบุญได้นำตะกร้ารองด้วยใบหญ้าเป็นรังให้นกพิราบตัวหนึ่งได้พักอาศัย
นกพิราบออกไปกินอาหารในละแวกเมืองพาราณสีแต่เช้า ใกล้อาทิตย์ตกก็กลับมานอนรังของตน มิเคยรบกวนให้พ่อครัวร้อนใจ “รังนี้อุ่นจัง พ่อครัวใจดีแท้อุตส่าห์ทำรังให้เราอยู่” จนกระทั่งมีอีกาตัวหนึ่งเข้ามาตีสนิทคบหากัน อีกาตัวนั้นแวะเวียนมามิได้ห่าง “กา กา วันนี้เราไปหากินทางตะวันตกบ้างนะไกลหน่อย แต่ของอร่อยเยอะมาก ขอบอก”
 “ได้สิจ๊ะแม่กา มารับแต่เช้าทุกวันเลยนะ ไปกันเถอะ พูดแล้วข้าก็ชักหิว” ตอนเช้ากาจะมารอใกล้ๆ รังนกพิราบแล้วบินออกไปด้วยกัน พอเย็นก็แวะลงมาส่งจนเป็นปกติที่มิตรสหายปฏิบัติต่อกัน “โอ้..ช่วงนี้อากาสหนาว เจ้านะรีบเข้ารังซะตั้งแต่วันเถอะ เราไปก่อนหล่ะ” “จ้า แล้วพรุ่งนี้เช้าเจอกันเหมือนเดิมนะ เจ้าก็บินกลับรังดีๆ ละ”
 นานวันเข้าอีกาก็ยิ่งทำตัวสนิทเข้าใกล้ชิดจนถึงรังที่อยู่อาศัยของนกพิราบอย่างเปิดเผย “ยังไม่ตื่นอีกหรือนกพิราบ กา กา กา เพื่อนที่แสนดีมารับแล้วจ้า กา กา” “ตายจริง..นี่เจ้ามารับเราถึงรังเลยเหรอ” “ก็ข้าไม่เห็นเจ้าออกมาสักที ก็เลยมาหานะซิ ว่าแต่รังเจ้านี่น่าอยู่จังนะ”  “ใช่ซิจ๊ะ พ่อครัวเค้าทำไว้ให้นะ อุ่นมากเลยนะ”
 อีกานั้นช่างพูดช่างเจรจาอีกทั้งคบหากันมาหลายวันก็ไม่ได้ทำผิดคิดร้ายอะไร นกพิราบก็เริ่มใช้ชีวิตอย่างปกติสุขคลายความทุกข์จากการระแวงอีกาลงไป  “มีแม่กาเป็นเพื่อนนี่ก็ดีเหมือนกันหายเหงาได้เลยเรา” พ่อครัวรู้เห็นการคบค้าสมาคมของนกพิราบกับอีกาอยู่ตลอดเวลาจึงสงเคราะห์ด้วยการแขวนรังใหม่ขึ้นอีกรังหนึ่งให้อีกา “เอ้าๆๆๆ มาอยู่ใกล้ๆ กันซะ จะได้มีเพื่อน อือ..”
 “กา กา กา กา กา พ่อครัวใจดีที่สุดเลยตอนนี้เราได้อยู่ด้วยกันแล้วนะ กา กา กา” “อย่าเอ็ดไป..จะรบกวนพ่อครัวกับคนในครัวเค้า” “แหม่..ก็ข้าดีใจนะ กา กา กา อุ๊ยตาย รังอุ๊น อุ่น น่านอนจริงๆ” เมื่อได้สิทธิเสมอกัน อีกาจึงเริ่มตีตนออกห่าง ไม่บินไปหากินพร้อมกันดังเคยปฏิบัติ “กา กา กา เจ้าไม่ควรเถลไถลหากินจนมืดค่ำเกินเวลาอย่างนี้เลย ไม่ดีน่า”
  “วันนี้เราออกไปกินไกลหน่อยนะ แล้วทำไมแม่กาไม่ไปด้วยกันหล่ะ” “โอ้ย..ข้าไม่อยากไปไกลหรอก กินใกล้ๆ นี่แหละจะได้กลับมานอนในรังอุ่นๆ เร็วๆ” ที่ประหลาดมากกว่านั้นบางวันอีกาทำท่าเหมือนไม่อยากออกไปหากิน ซึ่งผิดจากธรรมชาติของกาทั่วไป “อุ๊ย..น่ากินจัง ปลาทะเลนึ่งซีอิ๋ว ปลานึ่งบ๊วยก็มี ปลาต้มเค็ม ปลาสามรสอีก อูยยย....เห็นแล้วน้ำลายสอเลยเรา”
 ในโรงครัวมักมีอาหารคาวที่อีกาโปรดปรานมายั่วน้ำลายมันอยู่เสมอๆ สิ่งนี้จึงทำให้อีกาเกิดความอยาก ไม่ต้องการไปหาอาหารที่อื่น อยากลิ้มรสอาหารในโรงครัวแทน “วันนี้มีแต่ปลาตัวโตๆ สดๆ ทั้งนั้นเลย ท่านเศรษฐีต้องชอบใจแน่ๆ เลย” “งั้นเดี๋ยวข้าคัดตัวเล็กๆ หน่อยไปตากไว้ทำเป็นแดดเดียวบ้าง ดีไหมพ่อครัว”
   “เออ..ดีๆๆ แขวนระวังๆ ล่ะ อย่าให้มดหรือแมลงวันมาตอมแล้วกัน” บางครั้งพ่อครัว แม่ครัวก็เอาปลาบ้างเนื้อบางมาแขวนผึ่งลมไว้ใกล้หน้าต่าง อีกาทนกลืนน้ำลายอยู่ไม่ไหว เกิดอยากขโมยกินตามสันดานของกา “อึมม....ปลาน่ากินจัง โอ้ย...หอมเหลือเกิน ของโปรดเราทั้งนั้น หนอนตัวโตแค่ไหนรสชาติก็สู้เนื้อปลาไม่ได้ อู๊ยย...น่ากินเหลือเกิน”
วันหนึ่งอีกาแสร้งทำเป็นปวดท้องบินไม่ไหวขอหยุดนอนในรังหนึ่งวัน แต่นกพิราบนั้นรู้ทันเล่ห์เหลี่ยมจึงเตือนด้วยเห็นว่าเป็นมิตรสหาย “อู๊ย...วันนี้เราปวดท้องเหลือเกินสงสัยจะออกไปหากินกับเจ้าไม่ได้แล้วหล่ะ อูยปวดท้อง อู้ย...กา กา กา อูย สงสัยท้องเสียแน่เลย” “เจ้ากาเอ๋ยสัญชาติกานั่นนะ ไม่มีโรคปวดท้องมารบกวนหรอก
 เรารู้ดีนะว่าธรรมชาติของกานั่นนะย่อมหิวไม่เคยอิ่ม เรารู้ว่าเจ้ามีแผนอะไรในใจ ไม่ควรนะเจ้า” “เจ้าอย่ามาทำเป็นรู้ดีหน่อยเลยน่ะ เรานะไม่อยากจะกินหนอนอะไรอีกแล้ว ดูซิในครัวมีแต่ปลาตัวโตๆ ทั้งน้าน..เจ้านะไปเถอะเราจะกินของในครัวนี่แหละ” “อาหารนั้นนะ พ่อครัวเก็บไว้สำหรับมนุษย์พวกเค้า เราควรออกไปหากินประสาเราเถอะ
อย่าเห็นแก่ปาก อย่าอยากตามท้องเลยเจ้ากาเอ้ย” “เจ้าไม่ต้องมาสั่งสอนข้าเลย สัญชาติกาก็ต้องกินปลา มันเป็นของคู่กัน มื้อนี้หวานปากแน่ๆ” “เฮ้อเจ้ากา เราเตือนเจ้าแล้วนะ” เมื่อกาไม่ยอมทำตามนกพิราบก็จำต้องออกจากรังไปหากินตามลำพัง “เจ้ากาเอ้ย ถ้าเจ้าเห็นแก่ความอยากเช่นนี้ เจ้าต้องได้รับกรรมสนองแน่”
  เมื่อนกพิราบออกไปจากรัง อีกาก็รอจนในโรงครัวเงียบเสียงลง ก็กระโดดเข้าไปบนโต๊ะเตรียมอาหาร “ว๊าว..ปลากะพง อุ๊ย..เนื้อตุ๋น ไม่มีใครอยู่เฝ้าด้วย มื้อนี้ขอละกัน ลาภปากจริงๆ อุ๊ย..หวานๆๆ” แต่แล้วอีกาก็คิดผิดและตกใจจนแทบสิ้นสติ เพราะพ่อครัวเข้ามาพบเข้าอย่างจัง “กา กา กา ตายแล้ว พ่อครัวปิดประตูหน้าต่างขังเราแล้ว กา กา กา คราวนี้ตายแน่ๆ”
 หลังจากไล่ต้อนอยู่ไม่นานอีกาก็โดนพ่อครัวจับตัวไว้จนได้ “เสร็จข้าละ เจ้ากาเนรคุณให้พักอาศัยดีๆ ยังไม่สำนึกอีก อยากจะกินเนื้ออบรึ! ดี ข้าจะเอาเจ้ามาหมักดูบ้าง” “กา กา กา ข้าผิดไปแล้วปล่อยข้าไปเถอะ ฮือๆๆ กา กา กา” กรรมสนองกรรมของอีกาครั้งนี้ นกพิราบได้มาพบเห็นก็เย็นมากแล้วจึงได้แต่เวทนามัน “โธ่เอ้ย..ถูกถอนขนชะโลมน้ำเกลือและเนยเปรี้ยวขนาดนี้นะเห็นทีเจ้าต้องตายแน่” “กา กา กา โอ๊ย..เหม็น แสบไปทั้งตัว ฮือๆๆ”
 “อันความทุกข์ใหญ่หลวงของเจ้าเนี่ย เกิดเพราะนิสัยโลเลทำดีไม่ตลอดและโลภมากนั่นเอง” ไม่ทันสิ้นแสงตะวันอีกาใจโลเลก็สิ้นลมหายใจตาย ซ้ำยังทิ้งความเดือดร้อนไว้เบื้องหลังเป็นบาปติดตัวไปยังนรก “เฮ้อ กาตัวเนี่ยทำให้พ่อครัวไม่ไว้ใจเสียแล้ว ขืนอยู่ต่อไปก็คงมีอันตรายเข้าสักวัน นับว่าเราไว้ใจคบคนชั่วเป็นมิตรแท้ๆ เฮ้อ”
  รุ่งอรุณจับขอบฟ้าวันต่อมานกพิราบก็กล่าวขอบคุณพ่อครัวที่อนุเคราะห์ที่พักอาศัยมานาน อย่างสำนึกในพระคุณแล้วออกเดินทางไปหารังใหม่อาศัยต่อไป จนสิ้นอายุขัย พระพุทธองค์ตรัส กโปตกชาดกจบแล้วทรงแสดงอริยสัจ 4_โดยเอนกปริยาย ภิกษุผู้ละความเพียรเพราะใจโลเลก็รู้เหตุและน้อมนำพระธรรมเทศนาเป็นกำลังใจปฏิบัติดีได้ในบัดนั้น ผู้ใดบุคคลกล่าวสอนอยู่ ไม่ทำตามคำสอนของผู้ปรารถนาดีผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ผู้นั้นย่อมถึงความหายนะเศร้าโศกอยู่เหมือนกาไม่เชื่อฟังคำของนกพิราบต้องตกอยู่ในกิเลสฉันนั้น

 
ในพุทธกาลสมัย อีกากำเนิดเป็น ภิกษุผู้จิตใจโลเล
นกพิราบเสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
 
โย อัตถะกามัสสะ หิตานุกัมปิโน
โอวัชชะมาโน นะ กะโรติ สาสะนัง กโปตะกัสสะ
วะจะนัง อะกัตวา อมิตตะหัตถัตโตวะ เสติ
33  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / รุกขธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยต้นไม้โดดเดี่ยวย่อมแพ้ลม เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2015, 03:19:37 pm

รุกขธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยต้นไม้โดดเดี่ยวย่อมแพ้ลม

ในพุทธกาลครั้งหนึ่งได้เกิดเหตุร้าวฉานแตกสามัคคีถึงขั้นกลียุคขึ้นระหว่างเมืองพระญาติของพระพุทธเจ้า เหตุปัจจัยนั้นคือการแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณีที่พระอานนท์ตักถวายในห้วงเวลาก่อนเสด็จปรินิพพาน แม่น้ำสำคัญสายนี้เป็นพรมแดนกั้นกลางระหว่างนครกบิลพัสดุ์และเทวทหะ
 ฤดูแล้งครานั้นบันดาลให้สายน้ำเหือดแห้งจนทำการเกษตรไม่ได้ การยื้อแย่งกักกันเอาน้ำเป็นของตนก็เลยเกิดขึ้นตามกมลสันดานของปุถุชน “น้ำในแม่น้ำนี้ต้องเป็นของพวกเราเฝ้าไว้อย่าให้คนฟากโน้นมาตักน้ำไปเชียวนะ” ความแตกแยกในครั้งนี้ต่อมาก็บานปลายกลายเป็นการยกทัพเข้ามาประจัญหน้ากัน
 ของนครฝ่ายพระพุทธบิดาและนครฝ่ายพระพุทธมารดา “เตือนกันดีๆ ไม่ได้ผลก็คงมีแต่สงครามเท่านั้นแหละที่จะใช้ตัดสินได้ว่าใครจะได้เป็นเจ้าของน้ำในแม่น้ำโรหิณี” ความร้อนแรงแห่งอากาศธาตุยามนั้น มิอาจแล้งและร้อนเท่าจิตใจมนุษย์ผู้มากด้วยทิฐิมุ่งแต่จะเอาชนะกัน
 “หากฝ่ายโน้นกล้ายกทัพมาทางฝ่ายเราก็พร้อมจะยกทัพไปเหมือนกัน ดูซิว่าใครจะชนะ เฮ่อๆๆๆ ลองดูๆ เออ” จากนั้นสัญญาณนัดหมายการฆ่าฟันก็พลันปะทุขึ้นโดยมิได้มีใครเห็นแก่ความสุขของชาวประชาและสมณะชีพราหมณ์ “ทหารทุกคนจงฟังเรา! สู้ยิบตา!..อย่าให้แพ้อย่างเด็ดขาด ยังไงซะ ฝั่งของเราก็ต้องชนะ เฮอะๆ ฮ่าๆๆ”
 พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าขณะนั้นประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหารทางตะวันตกเฉียงใต้ของสมรภูมิความขัดแย้งนั้น ทรงทราบถึงความพินาส อันใกล้จะเกิดขึ้นจากข่ายพระญาณ ด้วยความเมตตาทรงห่วงใยพระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ประทับบนเมฆบัลลังค์เปล่งรัศมีสีคาให้พระญาติทั้งหลายสลดใจ
 แล้วเสด็จลงประทับยังพื้นดินฝั่งแม่น้ำ ตรัสแก่กองทัพทั้งสอง “มหาบพิธทั้งหลาย ได้ชื่อว่าเป็นญาติควรสมัครสมานร่วมใจกัน เพราะเมื่อเราทั้งหลายยิ่งสามัคคีกันมากเพียงไรหมู่ปัจจามิตรย่อมไม่อาจทำลายพวกเราได้ แม้กาลก่อนต้นไม้ทั้งหลายยังเคยพ้นวาตภัยรุกรานด้วยการเกี่ยวพันอยู่ใกล้กันจนลมไม่อาจโค่นได้มาแล้ว”
 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสอบรมเหล่าพระญาติด้วยอรรถารุกขธรรมชาดกดังนี้ ย้อนเวลากลับไปนานหลายกัป ณ ห้วงหาวดาวดึงส์อันมีชาวเทพสถิตอยู่นั้น ครั้งที่ท้าวเวสสุวรรณที่ทรงอุบัติขึ้นพระองค์แรกต้องไปจุติ อสุรเทพที่ท้าวสักกะเทวราชทรงมีพระบัญชาตั้งให้เป็นท้าวเวสสุวรรณองค์ใหม่ก็อุบัติขึ้นทดแทน
“จงสำเร็จกิจทุกประการเถิดอสูรเทพเวสสุวรรณจะสงเคราะห์มวลมนุษย์ข้างล่างด้วยสิ่งใดก็จงสำเร็จ” “ข้าพระองค์อยากเห็นมนุษย์โลกร่มเย็นมีพรรณพฤกษายืนต้นเต็มป่าพระเจ้าคะ” “เช่นนั้นก็ขอให้ท่านได้ดั่งประสงค์เถิด” เมื่อรับพรจากมหาเทพสักราชแล้ว วันหนึ่งท้าวเวสสุวรรณก็ชุมนุมเหล่าเทพบุตรที่ถึงคราวไปจุติ
 “เบื้องบนเห็นชอบกับเราแล้วให้คุ้มครองไม้ใหญ่ในโลกมนุษย์ นับเป็นโอกาสดีของท่านแล้ว พวกท่านจงพากันลงไปจับจองต้นไม้สิงสถิตอยู่และคุ้มครองดูแลเป็นวิมารของท่านเถิด พาราณสีกว้างใหญ่มีป่าไม้กว้างขวางนัก” เมื่อเหล่าเทพบุตรทั้งหลายมองลงไปจากริมวิมานก็เกิดเหตุแยกความคิดตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งขึ้น
 “ทางอันปลอดภัยก็คือเราต้องอยู่กันในป่านอกเมือง นอกจากจะสงบวิเวกดีแล้วยังสถิตอยู่ใกล้ชิดกันอีกด้วย” “นั่นซินะ อยู่ด้วยกันใกล้ๆ กันเกิดเหตุอะไรจะได้ช่วยเหลือกันได้นะ” “แต่เราไม่คิดอย่างนั้นนะ ทางอันสะดวกสบายคือที่พวกเราควรจะไปอยู่ เราต้องสถิตอยู่ใกล้กับมนุษย์ มีงานบุญเช่นบวงสรวงเราจะได้กินเครื่องเซ่นบ่อยๆ
  ใครอยากสบายอิ่มตลอดปีตลอดชาติก็ไปอยู่กับเรา” นั่นซิน่ะเราจะไปอยู่กันในป่าทำไม มีแต่ต้นไม้ใบหญ้าเต็มไปหมดแล้วมนุษย์ที่ไหนจะนำของมาเซ่นไหว้ไปให้ เล่า” “เอาเถิดๆ แล้วแต่ความชอบแล้วกันใครอยากจะป็นรุกขเทวดาสิงอยู่ในต้นไม้รักษาป่าก็ไปทางโน้น บอกไว้ก่อนเลยนะต้นไม้ในเมืองน่ะ มันมีน้อย
  เกิดเปลี่ยนใจที่หลังอาจจะไม่มีที่อยู่ได้นะ เฮอะๆๆ ฮ้าๆๆ” เมื่อประตูสวรรค์เปิดเหล่าเทพบุตรที่ถึงวาระจุติใหม่ก็ลอยเลื่อนลงลงมาจากวิมานอย่างมากมายสู่หิมวันตภูมิ เพื่อเป็นรุกขเทวดาคอยพิทักษ์รักษาป่าไม้เป็นป่าใหญ่อันเต็มไปด้วยไม้ยืนต้นเป็นกลุ่มชิดติดกันเหมือนพี่น้องหรือญาติสนิทร่วมครอบครัว
  แตกใบให้ความชุ่มชื่นแก่โลกอย่างสมบูรณ์ ป่าหิมวันต์อันอยู่นอกเขตคามแห่งพาราณสีแห่งนี้ มีเทพารักษ์ผู้ทรงธรรมดูแลอยู่ หลักธรรมข้อหนึ่งที่ท่านรักษาไว้เสมอคือ การสมานฉันของญาติมิตร “พี่น้องเอ๋ย พวกเรานะอย่าได้ทะนงตนว่ามีบ้านหลังใหญ่อันแข็งแรงอุดมสมบูรณ์เฉพาะโดยไม่หวังพึ่งน้องและพี่คนอื่นอีก
 แล้วมิได้รักษาน้ำใจกันอันเป็นเหตุให้ห่างเหินมิได้เป็นหนึ่งเดียว อันความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียงต้องรู้กลืนกล้ำ รู้ผิดรู้ให้อภัยและสมานฉันให้ได้เหมือนกิ่งไม้มัดนี้ จะมีใครมาหักทำลายหาได้ไม่ เพราะเกาะกันแน่นเป็นก้อนใหญ่ แต่หากแตกแยกกันเช่นนี้ไซร้ ยามมีปัญหาก็มิอาจช่วยตัวเองได้ ย่อมพ่ายแพ้ต่อภัยง่ายดาย”
รุกขเทวดาทั้งหลายต่างมีจิตเป็นกุศลล้วนสมานฉันสามัคคีอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ บำเพ็ญตบะสร้างสมบารมีกันอย่างมีความสุขตั้งแต่นั้น “ฮึมเราอยู่ด้วยกันมากมายอันตรายใดๆ นี่ ก็คงจะกล้ำกลายได้อยากอย่างนี้ก็ยิ่งมีความสุข หันไปทางไหนก็มีแต่พี่ๆ น้องกันทั้งนั้น”
 ส่วนเทวบุตรผู้เลือกทางสบายก็พากันข้ามป่าหิมพานต์เข้าสู่พาราณสีเขตเมืองซึ่งมีต้นไม้อยู่ห่างๆ กัน “เลือกเข้าอาศัยสถิตได้เลยพี่น้อง แต่ละต้นนะ ทิ้งระยะกันดีๆ ล่ะ จะได้ไม่ต้องแย่งเครื่องเซ่นกัน” เทวบุตรผู้รักความสบายและยังติดยึดต่อลาภสักการะก็พากันสถิตในต้นไม้บ้าง พุ่มไม้บ้าง ก่อไผ่บ้าง ตามใจชอบ
 และอยู่กันอย่างอุดมสมบูรณ์ด้วยเครื่องเซ่นกราบไหว้จากชาวบ้าน ต่อมาไม่นานอากาศเริ่มผิดปกติ สัตว์ป่าพากันหลบหลี้หนีหาย ใบไม้หดหู่ลู่ใบชี้ลงพื้นดิน เทพารักรุกขเทวดาในป่าใหญ่มิได้นิ่งนอนใจกับสัญญาณนั้น “อย่าได้ประมาทพี่น้องเอ๋ย จงแกว่งกิ่งเกาะเกี่ยวกันให้แน่นหนา
 รอสู้ภัยอันจะมาถึงเถิด” ไม่นานต่อมาภาวะวิปริตก็กลายเป็นมหันตภัย มีพายุหนักเกิดขึ้นทั่วไปทั้งป่าใหญ่และในมหานคร ต้นไม้ใหญ่น้อยในมหานครซึ่งมักขึ้นอยู่โดดเดียวไม่เกาะเกี่ยวพึ่งพากันก็ถอนรากล้มลงพินาศสิ้น รุกขเทวดากลุ่มสบายก็พากันอพยพหนีตายเข้าป่า รีบหาญาติพี่น้องที่ตนแยกทางมาอีกครั้ง
  “โอ๊ะ โอ้ย...พี่ใหญ่ช่วยน้องๆ ด้วย ต่อไปนี้น้องๆ ไม่คิดจะแยกไปไหนอีกแล้ว โอ้ย...พายุนี้รุนแรงเหลือเกิน น้องไร้ซึ่งที่อยู่กันแล้ว พี่เอ๋ย..ช่วยน้องด้วยเถิด โธ่..ไม่มีที่จะอยู่แล้ว” “มาเถอะน้องรัก เรามาอยู่ด้วยกัน เมื่อเจ้าเดือดร้อน พี่ย่อมช่วยเจ้าเสมอที่ผ่านมาก็ให้ถือเป็นบทเรียน ต้นไม้แม้ต้นใหญ่เพียงใดแต่หากยืนอยู่เพียงต้นเดียวไร้ญาติมิตรข้างเคียงก็ไม่ต่างอะไรกับเศษไม้พังเพียงท่อนเดียวหรอก
  เจ้ามาอยู่นี่ให้สบายเถิด ที่นี่น่ะยังมีต้นไม้ให้พี่น้องอยู่อาศัยบำเพ็ญความดีอีกมากมายนัก อันหมู่ญาตินั้นนะ นับแต่ 4_คน นับว่ามาก แม้ยิ่งกว่านั้นนับร้อยพันชื่อว่ามากมูล ศัตรูหมู่อมิตรจะกำจัดมิได้เลย” นับแต่กาลในกัปนั้นแม้เวลาผ่านพ้นนานเท่าใดต้นไม้ใหญ่ก็ยังมีรุกขเทวดาสถิตอยู่เสมอ ผู้ตัดไม้ทำลายป่าย่อมเสมือนทำลายที่สถิตอาศัยของเทวดาย่อมหาความเจริญไม่ได้

 
พุทธกาลสมัยนั้นปวงเทพบุตร กำเนิดเป็น พุทธบริษัท
หัวหน้ารุกขเทวดา เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
34  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / กัฏฐหาริชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษแห่งการแบ่งชนชั้น เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2015, 02:58:14 pm

กัฏฐหาริชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษแห่งการแบ่งชนชั้น

 นับแต่โบราณนานมา ณ ถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนานั้นยังมีการถือชนชั้นกีดกันวรรณะกันอย่างรุนแรงแม้แต่ในหมู่พระประยูรญาติขององค์พระพุทธศาสดาเองก็ตาม อุษาสางวาระหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอดส่องพระญาณก็ทรงพบว่า ความทุกข์เวทจากวรรณะได้เกิดกับพระญาติแห่งศากยวงศ์ขึ้นแล้ว
พระองค์ทรงมีทิพยญาณเห็นพระราชธิดาของพระเจ้ามหานามแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ได้ถูกขับจากพระบรมมหาราชวังแคว้นโกศลอีกทั้งยังถูกถอดพระยศอัครมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล แม้พระโอรสวทูฑภ­­ก็ถูกถอดจากการเป็นรัชทายาทไม่ละเว้นทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำความผิดใดๆ
 ความเป็นมาทั้งหมดเกิดจากพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเลื่อมใสในองค์พุทธศาสดาอย่างสูงสุดหวังเกี่ยวดองเป็นพระยุรยาทจึงได้ขอพระราชธิดาของพระเจ้ามหานามซึ่งร่วมราชวงศ์เดียวกับพระพุทธองค์มาอภิเษก “โอ้โฮ วันนี้มีแขกต่างวังมากันตั้งเยอะแยะแน่ะ เค้ามาทำอะไรกันนะ”
 “อึม ราชวงศ์ของเราก็ราชสกุลเก่าแก่ ธิดาของเราก็น่าจะได้อภิเษกเจ้าเมืองที่คู่ควรกว่าแคว้นโกศล ครั้นจะไม่ยอมก็เกรงว่าจะมีภัยสงครามตามมาเป็นแน่ เห้อ..จะทำยังไงดีน่ะ อ้อ..นึกออกแล้วเช่นนี้ เราส่งวาสภขัตติยาไปอภิเษกกับพระเจ้าปเสนทิโกศลดีกว่า ใครจะไปรู้ว่ามารดาของนางเป็นเพียงนางทาสีวรรณะจัณฑาลต่ำต้อย เรานี่ช่างฉลาดจริงๆ”
ตั้งแต่นั้นมาพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้อภิเษกกับพระธิดาวาสภอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขโดยไม่มีใครรู้เรื่องวรรณะต่ำต้อยของพระนางเลย “น้องหญิงช่างงดงามเพียบพร้อมสมเป็นราชสกุลศากยวงศ์จริงๆ พี่ดีใจจริงๆ นะที่ได้น้องหญิงมาครองคู่” “น้องมีความสุขเพคะ..ที่ได้อยู่ใต้ร่มฉัตรแคว้นโกศล”
  ล่วงมาอีก 1 ปี พระธิดาวาสภก็มีพระประสูติกาลพระโอรส พระเจ้าแคว้นโกศลดีพระทัยดุจได้แก้วจากสรวงสวรรค์ “เหอะๆๆๆ ลูกพ่อนี่แหละคือโซ่ทองระหว่างแคว้นโกศลกับศากยวงศ์ของพระพุทธองค์” ข่าวนี้สะพัดไปทั่วชมพูทวีป ท้าวพระยาต่างแดนก็พากันมาชื่นชมพระบารมียังสาวัตถีเมืองหลวงแห่งแคว้นโกศลมิได้ขาด
  “ลูก..ให้เสด็จพ่ออุ้มนานๆ เสด็จพ่อจะเหนื่อยนะจ๊ะ” แต่แล้วความลับเรื่องชาติตระกูลทางมารดาของพระมเหสีวาสภขัตติยาก็ถูกเปิดเผยขึ้นในวันหนึ่ง “ฮึ...ใยสวรรค์แกล้งข้าให้ต้องร่วมชีวิตกับจัณฑาลต่ำต้อยเช่นนี้ ไม่น่าเลย ทำไมน้องหญิงต้องปิดปังเราด้วย แล้วนี่เราจะสู่หน้ากับราษฏรของเราได้เช่นไร”
 ถึงจะอาลัยรักสักปานใดพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ต้องตัดพระทัยขับไสไปตามราชประเพณี ราชธิดาผู้พลัดบ้านเมืองก็ต้องอุ้มโอรสชันษาเพียงขวบปีมาเลี้ยงดูยังตำหนักเล็กๆ ท้ายพระราชวัง “ฮือๆๆ ทรงประทับอยู่ตำหนักนี้เถอะ หม่อมฉันจะช่วยดูแลพระโอรสเองเพคะ โธ่...น่าสงสารโอรสน้อยทำไมต้องมาลำบากอย่างนี้ด้วย”
“ฮือๆๆ ขอบใจเจ้ามาก ขอบใจที่ไม่ทิ้งเราไปอีกคน ฮือๆๆ” เหตุอันเป็นทุกข์นี้เกิดจากการถือตนแบ่งชั้นโดยแท้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งในพระญาณโดยตลอด พระองค์มีพระทัยเปี่ยมล้นด้วยเมตตาทรงปรารถนาอนุเคราะห์พระนางกับโอรสผู้ปราศจากความผิดและปรารถนาจะขจัดความหลงตนถือชั้นวรรณะในแผ่นดินให้หมดสิ้นไป
 รุ่งอรุณวันหนึ่งพระองค์นำพระภิกษุสงฆ์ออกจากพระเชตวันมหาวิหารสู่พระบรมมหาราชวังนครสาวัตถี “พระบรมศาสดาจะเสด็จพระมหาราชวังทำไมนี่” “ไปโปรดพระเจ้าปเสนทิโกศลสิท่าน เรารีบตามเสด็จเถอะ” องค์ศาสดาทรงเสด็จไปประทับบนพระพุทธอาสน์ในท้องพระโรง
 เมื่อฉันภัตตาหารเสร็จสิ้นก็ทรงตรัสถามหาพระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล “มหาบพิทบัดนี้มเหสีของท่านบัดนี้อยู่ที่ไหน” “เอ่อๆ ๆ อยู่ที่ตำหนักเล็กท้ายวังโน่นพระเจ้าคะ” เมื่อพระเจ้าโกศลเล่าความจริงถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสถามด้วยเมตตา “ดูก่อนมหาบพิทพระนางวาสภนี้เป็นธิดาพระราชาแห่งศากย
 นางมายังเมืองนี้ด้วยใครขอให้มา” “ข้าพระพุทธเจ้าไปสู่ขอนางมาเป็นมเหสีเองพระเจ้าข้า” “ดูก่อนเถอะ มหาบพิท นางเป็นธิดาพระราชามาสู่พระราชา ได้โอรสก็โดยอาศัยพระราชา ไฉนพระโอรสนั้นจึงไม่มีสิทธิ์ในบัลลังค์ของพระชนกเล่า” “เอ่อ..อือ..เอ่อ....” “มหาบพิทเมื่อครั้งอดีตก็เคยมีพระราชาเคยมีพระโอรสกับหญิงเก็บฟืนมาแล้ว
 เมื่ออยู่กันเพียงไม่นานพระองค์ยังทรงยอมมอบราชสมบัติแด่รัชทายาทนั้นได้ “โธ่น่าสงสารมเหสียิ่งนัก ฮือๆๆ” “เมื่อไหร่เจ้าจะเลิกร้องไห้เนี่ย มเหสีนะไปอยู่ตำหนักเล็กเป็นเดือนแล้วนะ นี่ยังร้องอยู่อีก” พระเจ้าปเสนทิโกศลแม้จะเคารพเชื่อฟังพระบรมศาสดาแต่ก็ยังไม่สบายพระทัยนักกับการยอมรับ จึงกราบอาราธนาให้ทรงเล่าเรื่องในอดีตชาติครั้งนั้น
 พระบรมศาสดาจึงทรงตรัสกัฏฐหาริชาดกขึ้นแสดงโปรดไว้ดังนี้ ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตยังเป็นกษัตริย์หนุ่มได้เสด็จประพาสป่าเพื่อการบันเทิงพระหฤทัยเป็นเนืองนิตย์ กระทั่งครั้งหนึ่งที่เสด็จประพาสอุทยานใกล้กำแพงเมือง “พวกเราอย่าประมาท ต้องอารักขาไว้ให้ดีน่ะ” “ฮึย..เจ้าแมลงวันบังอาจมาบินใกล้องค์เหนือหัวของเรา
 นี่จิ้มซะเลย ฮิๆๆๆ” “พวกเจ้าเสียงเบาๆ หน่อยเถอะ หนวกหูจริงๆ” ธรรมชาติรื่นรมย์ครานั้นครอบงำจิตใจกษัตริย์หนุ่มให้ตกอยู่ในอารมณ์รักไว้อย่างละมุนละไม "ลันลาลันล้าๆ" “เอะ!..เสียงผู้ใดไพเราะน่าฟังยิ่งนัก” พระเจ้าพรหมทัตรับสั่งให้ผู้ติดตามเดินทางล่วงหน้าไปก่อนด้วยปรารถนาจะพบเจ้าของเสียง
   ที่สดใสดุจนกน้อยนั้น ลันลาลันล้า ลันลาลันลา “เธอเป็นใครกันนะ ทำไมถึงขับร้องได้จับใจเช่นนี้ โอ้..นางไม้หรืออัปสรสวรรค์แปลงกายมาครองหัวใจเราแน่ๆ” พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรนางงามร่ายรำขับร้องอย่างร่าเริงอยู่ครู่หนึ่งจึงแสดงองค์ออกไป “น้องหญิง” “อุ๊ย..ใครน่ะ เข้ามาตั้งแต่ตอนไหนเนี่ย”
 “ขออภัยน้องหญิง ที่ข้าทำให้เจ้าตกใจ ข้าได้ยินเสียงน้องหญิงร้องเพลงช่างไพเราะน่าฟังยิ่งนัก จึงเดินตามเสียงมา” เมื่อนางงามนั้นคลายความตกใจ พระเจ้าพรหมทัตก็ปลอบโยนด้วยมธุรสวาจา ทรงเผยความในใจข้อที่โดนกามเทพยิงศรรักปักทรวงตั้งแต่แรกเห็น “แหม่ ท่านช่างปากหวานจริงๆ"
  จุดเริ่มต้นดังกล่าวนั้นนำความผูกพันรักใคร่ จนล่วงล้ำเกินเลยตามธรรม ชาติฉันชายหญิง เวลาล่วงมาเกือบร้อยราตรีหญิงชาวป่าสัมผัสว่าเริ่มตั้งครรภ์ และมีนิมิตเห็นแสงในครรภ์สว่างพร่างพราย “ท่านพี่ น้องตั้งครรภ์เพคะ และน้องมีนิมิตแปลกๆ เห็นแสงในครรภ์ส่องสว่างออกมา นิมิตอย่างนี้แปลว่าอย่างไรก็ไม่รู้นะเพคะ”
 “โอ้..น้องหญิงนิมิตของเจ้า เป็นนิมิตดีนะจ๊ะ” องค์พรหมทัตโสมนัสยินดีนัก ทรงถอดพระธรรมรงค์โกเมนประทานให้วงหนึ่ง “น้องหญิงเอย ถ้าทารกเป็นหญิงเธอจงนำแหวนนี้ขายไว้เลี้ยงชีวิตเถิด แต่หากทารกเป็นชาย เจ้าจงนำเขาเข้าไปหาพี่ในพระนคร” แล้วพระเจ้าพรหมทัตก็เสด็จจากไป “ดูแลรักษาตัวให้ดีนะน้องหญิงพี่ต้องกลับไปทำภาระกิจซะที
 สาวชาวป่าเฝ้าถนอมครรภ์จนครบกำหนดเวลา ก็คลอดเป็นกุมารน้อยงดงามน่ารัก นางเลี้ยงดูต่อมาจนวัยดรุณนั้นย่างเข้า 5 ขวบปี “แม่จ๋า..พ่อหนูละ พ่ออยู่ไหนทำไมพ่อไม่อยู่กับเราละจ๊ะแม่” “ไว้ถึงเวลาแล้วแม่จะเล่าเรื่องพ่อของลูกให้ฟังนะจ๊ะ” “จ๊ะๆ แม่จ๋า” วันหนึ่งซึ่งความสงสารบุตรมากล้นจนเก็บเป็นความลับไว้ไม่ไหว
“แม่จ๋า แม่ พ่อหนูละจ๊ะ พ่ออยู่ไหน ทำไมแม่ไม่เล่าเรื่องพ่อให้หนูฟัง คนในหมู่บ้านเค้าเรียกหนูว่าลูกไม่มีพ่อ ไม่จริงใช่ไหม๊จ๊ะแม่ หนูมีพ่อใช่ไหม แล้วพ่อหนูอยู่ไหนละจ๊ะแม่ ฮือๆ” “โธ่...ลูกรักของแม่ช่างน่าสงสารจริงๆ” นางให้กุมารนั่งลงประนมกรแสดงความเคารพดุจนั่งอยู่เบื้องพระภักตร์ของบิดาก่อนเผยพระนาม
 “พ่อของลูกก็คือพระเจ้าพรหมทัต เป็นพระราชาของเราชาวพาราณสีทั้งมวล” “เหรอจ๊ะแม่ ลูกอยากกราบพระบาทพ่อสักครั้ง” “ก็ได้จ๊ะ พรุ่งนี้แม่จะพาเจ้าไป” รุ่งอรุณวันต่อมาสองแม่ลูกก็เดินทางมาถึงยังกำแพงมหาราชวัง “แม่จ๋าเดินเร็วๆ ซิจ๊ะแม่ ลูกอยากพบเสด็จพ่อ” “จ๊ะๆๆ โอ้ย..ทำไมช่างกล้าอย่างนี้น่ะ ช้าๆ จ๊ะลูก ทหารเค้าจ้องเราใหญ่แล้ว”
 ลักษณะพระโพธิสัตว์องอาจผึ่งผายทำให้ทหารรักษาประตูวังมีจิตเมตตา ครั้นรู้เรื่องราวประกอบกับเห็นพระธรรมรงค์โกเมนก็เข้าช่วยเหลือให้เข้าเฝ้ายังตำหนักหลวงได้ง่ายดาย “หึๆๆ...น่ารักน่าชังจริงๆ” เมื่อสองแม่ลูกเข้ามาถึงพระราชวังก็ได้พบกับพระเจ้าพรหมทัต แต่เรื่องก็ไม่ง่ายอย่างที่พวกเขาคิด “โอ้ย..ตายๆๆ..แย่แล้วเรา
โธ่ๆๆ..นึกไม่ถึงเลยว่าจะจู่โจมเร็วแบบนี้” พระเจ้าพรหมทัตตกพระทัยและไม่กล้ารับว่าเคยมีสัมพันธ์กับหญิงชาวบ้าน “นี่ยังไงละเพคะ..พระธรรมรงค์โกเมน ที่เสด็จพี่เคยประทานให้น้องไว้” “มันยืนยันอะไรไม่ได้หรอก แหวนนั้นนะ ข้าทำหายไปตอนเที่ยวป่าตั้งนานแล้ว เจ้าคงเก็บได้นะซิ” “เสด็จพ่อใจร้ายจัง ทำไมพูดกับแม่อย่างนี้”
  “เมื่อพระองค์ไม่ทรงเชื่อ หม่อนฉันก็มีแต่สัจจะและบุญกุศลที่หม่อมฉันทำมา หากกุมารนี้เป็นโอรสพระองค์ เมื่อถูกโยนขึ้นเบื้องสูง ก็ขอให้ร่างลอยอยู่อย่างไม่ตกลงมา แต่หากไม่ใช่ก็จงตกลงมาตายซะ” “ข้าแต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยแม่ของหนูด้วยนะจ๊ะ แม่โยนลูกขึ้นเถอะจ๊ะ หนูเชื่อแม่” หญิงชาวป่าเหวี่ยงร่างกุมารขึ้นบนอากาศสุดแรง “ฮ้า” กุมารนั้นลอยตัวนิ่งอยู่ได้เป็นอัศจรรย์ ด้วยแรงอธิษฐาน เธอประนมกรถวายบังคมพระราชบิดา
 “ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งหมู่ชนโปรดชุบเลี้ยงข้าพระบาทผู้เป็นโอรสไว้เฉกเช่นเลี้ยงดูคนเหล่านั้นเถิด” ด้วยเดชะพระบารมีแห่งพระโพธิสัตว์เจ้า พระเจ้าพรหมทัตก็ทรงตรัสเรียกกุมารลงมาซบพระอุระ ณ บัดนั้น “ลูกเอ้ย..พ่อจะเลี้ยงเจ้าเอง” หลังจากนั้นพระเจ้าพรหมทัตก็ประกาศให้จัดงานเฉลิมฉลอง ประกาศนามพระราชโอรสว่า กัฏฐวหนะ และพระราชทานให้เป็นมหาอุปราช “ดีใจจัง แม่จ๋า ลูกน่ะมีพ่อแล้ว เสด็จพ่อยอมรับในตัวลูกแล้ว หญิงชาวป่ากับโอรสน้อยใช้ชีวิตอยู่ในวังอย่างมีความสุขจวบจนกระทั่งพระราชบิดาเสด็จสวรรคต กุมารน้อยราชโอรสก็ครองราชย์สมบัติสืบมาทรงพระนามว่า พระเจ้ากัฏฐวาหน ครองทศพิธราธรรมจนครบอายุขัย เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสชาดกจบลง พระเจ้าปเสนทิโกศลก็สบายพระทัยคืนตำแหน่งให้พระธิดาแห่งศากยวงศ์และพระราชโอรสดังเดิม

 
 
ในสมัยพุทธกาล สาวชาวป่ากำเนิดเป็น พระนางสิริมหามายา
พระกุมารน้อย เสวยพระชาติเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
35  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / วานรินทชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2015, 02:26:56 pm

วานรินทชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู

พุทธกาลสมัยในขณะที่พระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขจรขจายไปทั่วแว่นแคว้นดินแดนชมพูทวีป ยังความร่มเย็นเป็นสุขด้วยรสแห่งธรรมที่องค์พระศาสดาตรัสรู้นั้น แผ่นดินมคธกลับผลัดเปลี่ยนอำนาจจากพระเจ้าพิมพิสารอันเป็นองค์ศาสนูปถัมภกมาเป็นโอรสนามพระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าอชาตศัตรูองค์นี้กระทำปิตุฆาตสังหารพระเจ้าพิมพิสารพระราชบิดาเพราะเชื่อคำยุยงของพระเทวทัตเถระผู้มีทิฐิมานะ
 “เฮอะๆ ๆ ฮ่ะๆ ฮ่า ในที่สุดแผ่นดินมคธอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ก็ตกเป็นของข้าแต่เพียงผู้เดียว เฮอะๆ ๆ ฮ่ะๆ ฮ่า ทั้งหมดก็เป็นเพราะว่าข้าเชื่อฟังพระอาจารย์เทวทัตเป็นแน่แท้ หาไม่แล้วคงต้องรอไปอีกนาน เฮอะๆ ๆ ฮ่ะๆ ฮ่า” พระเทวทัตนั้นคิดร้ายกระทำพุทธประหารองค์พระศาสดา จึงว่าจ้างนายขมังธนูลอบปลงพระชนม์ แต่กาลนั้นกลับล้มเหลวลง “เฮ้ย อะไรกันเนี่ย แค่นี้ก็ทำไม่สำเร็จ เห็นทีเราต้องลงมือด้วยตัวเองซะแล้ว”
  วันหนึ่งพระศาสดาเสด็จประทับ ณ เชิงเขาคิชกูฏ พระเทวทัตเห็นสบโอกาสจึงลอบขึ้นไปบนเขาแล้วกลิ้งหินหินก้อนใหญ่ลงมาหมายจะทับพระพุทธองค์ แต่ในระหว่างที่หินกลิ้งลงมานั้นเกิดกระทบกันแตกเป็นหินเล็กหินน้อย สะเก็ดหินก้อนหนึ่งกระเด็นปลิวมากระทบพระบาทของพระองค์จนพระโลหิตห้อ “ฮึย!..พลาดไปอีกจนได้ คราวหน้าต้องทำให้สำเร็จจนได้คอยดู ต้องมีสักวันที่เป็นวันของเราบ้าง”
 และแล้วโอกาสที่พระเทวทัตรอคอยก็มาถึง พระเทวทัตวางแผนการร้ายยุยงให้พระเจ้าอชาตศัตรูปล่อยโขลงช้างตกมันไล่เหยียบพระพุทธองค์ขณะที่เสด็จออกบิณฑบาตร “หึๆๆ คราวนี้แหละสำเร็จแน่ๆ เจอช้างตกมันเข้าไป ดูซิจะรอดมาได้ก็ให้มันรู้กันไป เฮอะๆ ๆ ฮ่ะๆ” ฝูงช้างตกมันอันเกรี้ยวกราดดุร้าย เมื่อมาถึงหน้าพระพักตร์พระพุทธองค์ก็ไม่กล้าทำอันตรายใดๆ “เฮ้ย!!..อะไรกันเนี่ย ทำไมถึงเป็นแบบนี้ไปได้ เฮ้ย..ไม่เข้าใจเลย” เมื่อแผนกาลลอบปลงพระชนม์ไม่เป็นผล
 แทนที่พระเทวทัตจะสำนึกลดมานะทิฐิลง กลับแบ่งแยกหมู่สงฆ์ออกไปตั้งนิกายใหม่สร้างพุทธวินัยใหม่และคอยหาโอกาสปลงพระชนม์พระพุทธองค์ตลอดเวลาเพราะมีบูรพกรรมต่อกันมาหลายภพหลายชาตินั่นเอง “เฮอะๆ ๆ ต่อไปนี้แหละพระโคดมเอ๋ย นิกายที่ข้าสถาปนาขึ้นมาใหม่จะต้องยิ่งใหญกว่า เฮอะๆ ๆ ฮะๆๆ ที่นี้ไม่ว่าใครในแผ่นดินก็จะต้องยกย่องนับถือเราเพียงองค์เดียวเท่านั้น เฮอะๆ ๆ”
 พระเทวทัตนั้นแยกอกไปตั้งนิกายใหม่และตั้งตนเป็นพระศาสดา เกิดเหตุแตกแยกในหมู่สงฆ์และชาวเมืองไปทั่วด้วยไม่รู้แยกแยะผิดชอบชั่วดี สร้างความวุ่นวายไปทั่วนครสาวัตถี “เฮ้ยพวกเราหันไปอยู่กับนิกายพระเทวทัตดีกว่า สบายกว่ากันเยอะเลย” “ใช่ๆ เราขอตามไปอยู่กับพระเทวทัตด้วยคนนะท่าน เบื่อแล้วที่นี่นะไม่อยากจะอยู่แล้ว”
“เฮ้อ ผู้คนต่างแบ่งแยกเป็นสองฝ่ายกระผมละกลุ่มใจมองไปทางไหนเห็นแต่ผู้คนทะเลาะกัน ไม่สามัคคีกันดังแต่ก่อนเลย” “เหตุนี้เป็นเพราะพระเทวทัตตั้งตนเป็นศาสดาองค์ใหม่ ตั้งแต่เกิดนิกายขึ้นมาใหม่คนก็สับสนพากันไปเคารพนับถือพระเทวทัตมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่พระเจ้าอชาตศัตรูก็ยังทรงโปรดปรานให้ความเคารพ” “มิหน่ำซ้ำพระเทวทัตยังไม่ทรงลดมานะทิฐิคิดแต่จะปองร้ายพระศาสดา
 แล้วอย่างนี้พวกเราจะทำอย่างไรกันดีละท่าน ขืนปล่อยไว้อย่างนี้แล้วพระพุทธศาสนาที่แท้มิมีแต่จะต้องสูญไปรึท่าน” พระเชตวันอารามหลวงในยามนั้นคุกรุ่นด้วยความทุกข์ร้อนและกลิ่นอายแห่งโทสะอันเป็นศัตรูร้ายของการปฏิบัติธรรม สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าพระทัยในความจงรักภักดีของสงฆ์สาวกทั้งหลาย พระองค์จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณตรัสให้บรรดาเหล่าสาวกคลายความวิตกกังวลลง
 พระองค์ตรัสปลอบโยนบรรดาสาวกทั้งหลายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าเรา แม้ในกาลก่อนก็เคยตะเกียกตะกายมาแล้วเหมือนกัน แต่ก็มิอาจกระทำเหตุเพียงความสะดุ้งกลัวแก่เราได้เลย” พระพุทธองค์ทรงรำลึกถึงอดีตชาติด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณตรัสเล่าชาดกเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพญาวานรอยู่ในป่าใหญ่ดังนี้ ในอดีตกาล ณ ป่าใหญ่อันอุดมสมบูรณ์มีพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญาวานร
 มีรูปร่างใหญ่โตเปี่ยมด้วยพละกำลังและมากด้วยสติปัญญาเฉลียวฉลาดออกหากินอยู่เพียงลำพังริมฝั่งใกล้แม่น้ำ กลางแม่น้ำนั้นมีเกาะซึ่งเต็มไปด้วยผลไม้นานาชนิด “ฝั่งโน้นเต็มไปด้วยผลไม้มากมาย เอ้..แต่เราจะข้ามไปยังไงดีนะ ใช้หมองๆ” พญาวานรสอดส่ายสายตาคิดหาหนทางข้ามไปยังเกาะกลางแม่น้ำ ทันใดนั้นเองก็เหลือบไปเห็นโขดหินโผล่พ้นน้ำ
 “โฮ้ โขดหิน มันมีแผ่นหินที่โผล่อยู่กลางน้ำ เราสามารถกระโดดไปพักได้นี่น่า แล้วค่อยกระโดดข้ามไปเกาะกลางแม่น้ำได้ โอ้โห๊ย ฉลาดจริงๆ เลยเรา ข้าขอเหยียบแผ่นหลังเจ้าไปก่อนนะเจ้าแผ่นหิน ฮิๆ คราวนี้แหละเจ้าผลไม้เอ๋ย เดี๋ยวข้าจะกินให้พุงกางไปเลย” แต่นั้นเป็นต้นมาพญาวานร ก็อาศัยแผ่นหินกลางแม่น้ำเป็นที่พักเท้า และกระโดดไปยังเกาะกลางแม่น้ำเพื่อเก็บผลไม้กินเป็นอาหารอย่างปลอดภัยทุกวัน
 “ขอข้าข้ามไปหน่อยนะเจ้าแผ่นหิน เอ้า..1..2..กระโดด หื้อ..มันชั่งง่ายดายอะไรเช่นนี้ ฮืม..อร่อยๆๆ ทั้งกล้วย ฝรั่ง เงาะ ลางสาด นี่ก็ลูกตะขบ โห้..มันช่างมากมายอะไรเช่นนี้” แม่น้ำอันกว้างใหญ่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากเกาะกลางแม่น้ำ ยังมีจระเข้ใหญ่สองผัวเมียคอยจับเหล่าสัตว์เคราะห์ร้ายกินเป็นอาหารอยู่เสมอ ในระหว่างนั้นนางจระเข้กำลังตั้งท้อง และเกิดอาการแพ้ท้องอยากกินอาหารไปสารพัด วันหนึ่งในขณะที่นางกำลังจับปลากินอยู่นั้น
  สายตาก็เหลือบไปเห็นพญาวานรกำลังกระโจนไปยังเกาะกลางแม่น้ำเข้าพอดี  “ห๊า!!..นั่นมันพญาวานรนี่น่า..เปรี้ยวปาก” ด้วยบุพกรรมในชาติปางก่อนได้ชักนำให้นางจระเข้เกิดอยากกินหัวใจของพญาวานรขึ้นมาในทันที “พี่จ๋า..น้องแพ้ท้องมาก อยากกินหัวใจของพญาวานรตัวนั้นเหลือเกิน พี่ไปจับมาให้น้องกินหน่อยนะจ๊ะ” “โอ้ย..น้องหญิงจ๋า..พญาวานรตัวนี้นะปราดเปรียวว่องไวเหลือเกิน
 คงจะจับยากน่าดูเลยนะน้อง พี่ว่าน้องหันไปกินอย่างอื่นแทนดีไหม๊จ๊ะ” “ไม่เอา..น้องอยากกินหัวใจพญาวานรตัวนั้นน่ะ...นะๆๆๆ พี่จับมาให้กินหน่อยนะ จะได้เอามาบำรุงลูกๆ ในท้องไง” “จ๊ะๆๆ จ๊ะ ถ้าน้องอยากกินหัวใจของมันแล้วละก็ เดี๋ยวพี่จะไปเอามาให้น้องเอง เพื่อลูกเพื่อเมียพี่ทำได้ทุกอย่าง อย่าร้องนะจ๊ะ เดี๋ยวกระทบกระเทือนถึงลูกในท้องของเรา อู๊ย..อย่าร้องนะจ๊ะน้องหญิง”
จระเข้ตัวผู้สงสารเมียรับปากจับพญาวานรมาให้ได้ “เฮ้ย..จะทำยังไงดีน๊า..ถึงจะจับตัวพญาวานรตัวนั้นมาให้น้องหญิงของเรากินได้ เฮ้อ...โอ้..คิดออกแล้ว..เฮอะๆ ๆ ฮ่ะๆ ฮ่า เจ้าจ๋อเอ๋ย เสร็จเราแน่ๆ เฮอะๆ ๆ ฮ่ะๆ ฮ่า” วิธีฉลาดของจระเข้ก็คือแอบไปนอนแล้วเอาหัวเกยทับแผ่นหินกลางแม่น้ำแล้วนิ่งให้พญาวานรหลงกลกระโดดข้ามมาหา   
 แต่มันก็หารู้ไม่ว่ามันก็ไม่ได้รอดพ้นสายตาเจ้าสังเกตของพญาวานรหนุ่มไปได้ “เอ้..ทำไมวันนี้แผ่นหินกลางน้ำดูแปลกๆไปแฮะ ชะรอยจะเป็นเจ้าจระเข้ปลอมตัวมาเป็นหินหรือเปล่าน๊า”  เมื่อคิดได้ดังนั้นพญาวานรก็แสร้งวางอุบายทักทายแผ่นหินนั้นเหมือนอย่างเคย “แผ่นหินเอ้ย เจ้าแผ่นหินเอ๋ย บอกข้าหน่อยซิ วันนี้เจ้าเป็นอย่างไรบ้าง”
จระเข้หนุ่มได้ยินดังนั้นก็เกิดความสงสัยแต่ก็ยังนิ่งเฉยอดทน จนในที่สุดก็หลงกลพญาวานรเข้าจนได้ “เจ้าแผ่นหินเอ้ย ทำไมเจ้าไม่ขานรับข้าเหมือนทุกครั้งล่ะ ข้าจะได้กระโดดไปหาเจ้าซะที” “จ้า..พ่อพญาวานร มีอะไรเหรอจ๊ะ วันนี้พ่อมาซะเย็นเลยน่ะ จะกลับฝั่งหรือยังละ พ่อกระโดดลงมาบนแผ่นหลังของข้าได้เลยนะ แผ่นหินอย่างข้าพร้อมรองรับเจ้ามานานแล้ว”
 “อะๆ...อ่ะ..ที่แท้ก็เป็นเจ้าจระเข้หน้าโง่นี่เอง นึกแล้วไม่มีผิด หึๆๆ ไงล่ะในที่สุดก็เสียทีข้าจนได้” “ฮึย..เสียที่มันจนได้ เออข้าไม้แสร้งเป็นแผ่นหินแล้วก็ได้ แต่ยังไงซะ เจ้าก็ไม่มีทางที่จะกลับไปฝั่งโน้นได้อย่างแน่นอน ฮึๆ ฮ่าๆ วันนี้ข้าจะต้องเอาหัวใจเจ้าไปให้เมียข้ากินให้ได้ ฮึๆ ฮ่าๆ” เจ้าจระเข้หนุ่มไม่ลดละความพยายามยังคงลอยตัวเฝ้าดูพญาวานรอย่างไม่คลาดสายตา
 พญาวานรคิดว่าคงไม่สามารถข้ามกลับไปได้อย่างแน่นอนจึงใช้สติปัญญาคิดวางกลอุบายเพื่อเอาตัวรอดอีกครั้งหนึ่ง “ปล่อยไว้อย่างนี้เห็นทีเราคงข้ามกลับไปไม่ได้แน่ๆ ทำยังไงดีน่า...อ้อ..คิดออกแล้ว..ฮ่ะๆๆ ท่านจระเข้ไหนๆ ข้าคงไม่รอดคมเขี้ยวของเจ้าไปได้แล้วยังไงซะ ให้ท่านนะช่วยสงเคราะห์อะไรข้าสักอย่างได้ไหม๊ นึกว่าช่วยข้าก่อนตายนะท่าน” “ฮึๆๆ ฮ่าๆๆ ก็ได้ ว่าแต่เจ้าขออะไรก็รีบว่ามาเมียข้าหิวแล้ว”
  “ท่านจระเข้ตอนที่ท่านจะกัดข้านะ อย่าให้ข้าต้องทรมานเลยนะ ข้ากลัวเจ็บน่ะ ท่านช่วยอ้าปากกว้างๆ รอไว้เถอะเดี๋ยวเราจะกระโดดลงไปเอง ท่านจะได้สบายไม่ต้องออกแรงกัดให้เมื่อยกร้ามนะท่านนะ” “แค่นี้เองหรอกรึ ได้เลยๆ เดี๋ยวข้าจัดให้ ว่าแต่เจ้าต้องกระ โดดลงมาจริงๆ นะ อย่ามาเบี้ยวข้าแล้วกัน” “ข้าเนี่ยเป็นถึงพญาวานรต้องรัก ษาสัจจะอยู่แล้ว ท่านไม่ต้องห่วง”
  “งั้นพอข้าอ้าปากเจ้ากระโดดลงมาได้เลย” พญาวานรนั้น รู้ว่าขณะที่จระเข้อ้าปากตาของมันจะปิดลงโดยธรรมชาติ ตนจึงรวบรวมกำลังตั้งท่ารอ พอได้จังหวะที่จระเข้อ้าปากก็กระโจรเหยียบหัวจระเข้ตอนที่มันยังหลับตาอยู่แล้วใช้ความว่องไวกระโจนไปยังฝั่งตรงข้ามได้อย่างรวดเร็ว “ฮับ!!...เอ้า เฮ้ย งับลมเฉยเลยเรา โห้ย..พลาดจนได้ ไม่น่าหลงกลมันเลย โอ้ยเสียทีอีกแล้ว”
 จระเข้หนุ่มเห็นเหตุอันวานรได้กระทำเป็นที่อัศจรรย์ใจยิ่งนักเพราะพญาวานรเปี่ยมไปด้วยธรรม 4 ประการ อันได้แก่ สัจจะ คือการพูดแล้วกระทำจริง จาคะ คือมีความกล้าเสี่ยง ธิติ คือความเพียรและประการสุดท้ายคือ ตั้งมั่นในธรรม สามารถวิเคราะห์รู้ถึงผลการกระทำได้ไม่ผิดพลาด ธรรมทั้ง 4_ประการนี้พึงมีแก่บุคคลใด บุคคลนั้นย่อมครอบงำศัตรูก้าวล่วงพ้นภัยไปได้
 จระเข้สรรเสริญพระโพธิสัตว์ดังนี้แล้วก็ไปที่อยู่ของตน จระเข้หนุ่มนั้นมิได้เคืองโกรธ กลับจากไปด้วยความยกย่อง “ฮะฮ่า ข้าไม่ได้โกหกเจ้านะ ข้ากระโดดลงมาแล้ว แต่เจ้างับไม่ทันเอง ช่วยไม่ได้” “เจ้านี่ชั่งฉลาดเป็นกรดจริงๆ ถึงเจ้าจะเป็นแค่วานรตัวกระจ้อยแต่ก็มีความกล้าหาญเพียรพญายามรักษาสัจจะที่ให้ไว้กับเราอย่างไม่กลัวตาย เอาเถิดเราจะไม่กินเจ้าแล้วก็ได้” จระเข้กล่าวสรรเสริญพญาวานรพระโพธิสัตว์แล้วก็กลับไปหานางจระเข้เมียรักยังที่อยู่ของตน ตั้งแต่นั้นมาทั้งสองฝ่ายก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกันอีก
ต่างฝ่ายต่างใช้ชีวิตอยู่ตามวิสัยจนสิ้นอายุขัย “อื้อหือ..ผลไม้สุกๆ เต็มไปหมดเลย อร่อยจริงๆ มีความสุข” “เมียจ๋า....ไม่ได้กินหัวใจของพญาวานรก็ไม่เป็นไรนะจ๊ะ เดี๋ยวพี่หาอย่างอื่นให้กินแทนนะจ๊ะ อย่าโกรธเลยน่ะ” “จ๊ะ ตอนนี้น้องไม่อยากกินอะไรพิสดารแล้วหล่ะ เราไปหาของกินกันตามประสาเราเถอะจ๊ะพี่” “จ้า เมียรักของพี่”

 
ในพุทธกาลต่อมา
พญาจระเข้กำเนิดเป็น พระเทวทัต
นางจระเข้ กำเนิดเป็น นางจิญจมาณวิกา
พญาวานร เสวยพระชาติ เป็น พระพุทธเจ้า

พระคาถาประจำชาดก
ยสฺเสเต จตุโร ธมมา วานรินฺท ยถา ตว
สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค ฑิฏฺฐํ โส อติวตฺตติ
พานรินธรรม 4 ประการเหล่านี้ สัจจะ ทมะ ธิติ และจาคะ
มีแก่บุคคลใด เหมือนมีแก่ท่าน
บุคคลนั้นย่อมพ้นศัตรูไปได้
36  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / จันทกินรีชาดก-ชาดกว่าด้วยความผูกพันจงรักภักดี เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2015, 06:33:53 pm

จันทกินรีชาดก-ชาดกว่าด้วยความผูกพันจงรักภักดี

 ครั้งเมื่อพระพุทธศาสดาเสด็จสู่แคว้นสักกะแห่งศากยวงศ์ พร้อมพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องซ้ายและขวาและสังฆสาวกทั้งมวล พุทธกาลครั้งนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์นครหลวงของแคว้นสักกะ เพื่อแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดา
 เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงพระเจ้าสุทโธทนะและพระประยูรญาติทูลนิมนต์เสด็จเข้าประทับยังพระราชนิเวศน์ตามประเพณี “ศากยวงศ์ของเราเตรียมพระพุทธอาสน์ไว้เป็นอันดีแล้วยังพระราชฐานชั้นในพระพุทธเจ้าคะ” “ขออาราธนาพระพุทธองค์เสด็จโปรดยังเขตระโหฐานชั้นในด้วยเถิดพระเจ้าคะ”
 การทูลนิมนต์ให้เสด็จโปรดราชนิกูลเขตระโหฐานชั้นในครั้งนั้นเพราะพระประยูรญาติต้องการดับทุกข์โศกแห่งพระนางยโสธราพิมพาผู้เคยเป็นมเหสีในพระสิทธัตถะนั่นเอง “อันยโสธราพิมพานั้นมีจิตใจภักดีมั่นคงเหลือเกิน ขณะที่พระศาสดาเจ้าออกผนวชนั้น ก็มิได้มีความสุขสำราญได้สักวันเดียว
เธอเก็บพระองค์เงียบอยู่แต่ในพระราชฐานที่ประทับ ทุกทิวาราตรีก็ไม่มีเสียงเพลงพิณขับกล่อมดังที่เคยเป็น แม้ความงดงามและจริยาวัตรเป็นที่เลื่องลือมานานปี แต่พระนางก็หาได้ใยดีไม่ และไม่เคยแม้สักครั้งที่พระองค์จะยินดีต่อเจ้าชายเมืองใด” “ทำไม?..พระนางยโสธราพิมพาช่างไม่สนใจใยดีเราแม้สักนิด”
 “เฮ้ย เราก็ดูสง่างามภูมิฐานขนาดนี้ พระนางก็ยังไม่เหลียวแล” “พระนางซื่อสัตย์และมั่นคงน่ายกย่องยิ่งนัก เฮ้อ..เราคงหมดหวังแล้วสิเนี่ย” เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จถึงพระตำหนักชั้นใน พระนางยโสธราพิมพาก็ทรุดองค์ลงกราบแทบพระบาท กรรแสงร่ำไห้ต่อหน้าพระพักตร์ตามวิสัยสตรี
 “หม่อมชั้นดีพระทัยที่พระองค์เสด็จมาเพคะ” เพื่อบรรเทาความเสียใจ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงความดีของพระนางขึ้นเป็นข้อสังเกต แล้วตรัสถึงอดีตชาติหนึ่งที่เคยใช้ชีวิตคู่กันยังภูเขาคันธมาส ซึ่งพระนางพิมพาขณะนั้นก็จงรักภัคดีต่อพระองค์มิได้ด้อยกว่ากาลเวลานี้เลย
 หลายภพหลายชาติผ่านมาเธอเคยร่วมทุกข์สุขแม้กระทั่งเสียสละชีวิตให้กันก็เคยมาสิ้นแล้ว ตรัสดังนั้นพระเจ้าสุทโธทนะพระประยูรญาติฝ่ายศากยวงศ์และพระนางยโสธราพิมพาจึงใคร่ทราบเรื่องราวในอดีตนั้นยิ่งนัก “ขออาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมนี้เพื่อประโยชน์แห่งปัญญาของปวงข้าด้วยเถิด”
 “ชาดกนั้นเป็นเช่นไรเพคะ” สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณตรัสจันทกินรีชาดกขึ้น ไกลจากคงคามหานทีไปทางเหนือ ยังมีป่าใหญ่ไพรกว้างอันอุดมสมบูรณ์อยู่นอกพระนครไปจรดภูผาสูง เจ้าเมืองผู้ครองนครยังหนุ่มฉกรรจ์ และโปรดปรานการล่าสัตว์เป็นชีวิตจิตใจ ฆ่าสัตว์ได้ก็ทำอาหารกินในป่า
 “วันนี้อากาศสดชื่นท้องฟ้าสดใส ล่านกมาย่างดีกว่า ฮะฮ่าฮาฮ้า...มีความสุขจริงๆ” ครั้งหนึ่งเจ้าเมืองผู้โหดร้ายออกล่าสัตว์ไปยังป่าเชิงเขาคันธมาส ที่นี่มีสัตว์ป่าชุกชุมเพราะชาวป่าที่อยู่บนภูเขาไม่นิยมฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การมาของนักฆ่าผู้นี้จึงเป็นเรื่องเลวร้ายอันปรากฏขึ้นที่นี่ “อือ..อร่อยจริงๆ ตัวก็ใหญ่ เนื้อก็หวาน”
  บนภูเขาสูงที่ชื่อว่าคันธมาสนั้นอบอวลด้วยกลิ่นสมุนไพรหอมเป็นที่อยู่ของคนภูเขาซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเผ่าพันธุ์กินรี ทุกครอบครัวอยู่กินกันอย่างมีความสุข ในฤดูฝนจะพากันเก็บตัวอยู่บนนั้น เข้าสู่ฤดูหนาวถึงจะพากันทยอยกันลงมาหาอาหารยังผืนป่าเบื้องล่าง กินรีเหล่านี้ยังมีสามีภรรยาคู่หนึ่งวิวาห์อยู่กินกันมาไม่นานนัก
ฤดูหนาวครั้งนี้ทั้งสองเพิ่งลงมาพักผ่อนหย่อนใจด้วยกันเป็นครั้งแรก ต่างคลอเคลียเจรจาภาษารักไพเราะป่านนกป่าขับเพลงแห่งพงไพร “แม่คุณของพี่ ขอพี่สัมผัสแก้มหอมๆ อีกหน่อยนะจ๊ะ พี่อยากรู้ว่าดอกไม้ช่อนี้ยังจะสู้กลิ่นแก้มของน้องได้ไหม๊” “อุ๊ย!..ไม่ได้หรอก พี่นะต้องไปหาดอกไม้มาให้เยอะกว่านี้ก่อนจ๊ะ น้องถึงจะยอม
 พี่จ๊ะสวมพวงมาลัยนี้ซิ น้องทำให้พี่ถือว่าเป็นพวงมาลัยสัญญาระหว่างเรา ว่าเราจะมีความสุขด้วยกันอย่างนี้ตลอดไป ทุกฤดูเราจะดูแลกันและกันอย่างนี้นะจ๊ะ” “ได้ซิจ๊ะ พี่สัญญาต่อเจ้าป่าเจ้าเขาเทพดาผู้รักษาป่าไว้แล้วจ๊ะ ว่าจะเป็นกินนรกินรีที่คู่กันจนตายจาก” “พี่อย่าพูดเป็นลางอย่างนี้ซิจ๊ะ ที่นี่ร่มรื่นดีจังเลยนะพี่ นกร้องขับขาน ฟังแล้วมีความสุข พี่ว่าไหม๊จ๊ะ”
  “ที่ไหนที่ที่มีน้องอยู่ด้วย พี่ก็มีความสุขทั้งนั้นแหละจ้า” สาวหนุ่มยามหัวใจเบิกบานด้วยความรัก ป่าเขาลำเนาไพรก็กลายเป็นสวรรค์ ทั้งสองขับเพลงแห่งความสุขมาประสานกันเสียงระงมไพร สาวขับร้อง หนุ่มตีเกราะเคาะไม้เป็นดนตรีโดยไม่มีใครสัมผัสกับภัยร้ายที่พานมาพบเข้าเลยสักน้อย มหาภัยผู้นี้ก็คือเจ้าเมืองนักล่าสัตว์ที่เคราะห์กรรมชักนำมานี่เอง
 “โอ้โฮ้..นางฟ้านางสวรรค์ตกมาอยู่ในป่าหรืออย่างไร ช่างสวยงามจับใจข้ายิ่งนัก เฮ้ย..นางมีเจ้าของแล้วรึเนี่ย ขวางหูขวางตาข้าซะเหลือเกิน อย่างนี้ต้องกำจัดทิ้ง นางงามคนนี้จะได้เป็นของข้า ฮ้า ฮา ฮ่า ๆๆๆๆ” “โอ๊ะ!!” จากความคิดวูบเดียว เจ้าเมืองก็ทำลายชีวิตชายหนุ่มลงเพียงเพื่อจะแย่งภรรยาเขา “ว๊าย!..ใคร..ใครทำร้ายพี่” “เจ้าหนีไปเร็วๆ เข้า” “ไม่!...ข้าไม่ไป ข้าจะอยู่กับพี่”
 ความสุขทั้งหมดพลันสลายลง เมื่อหนุ่มชาวภูเขาล้มลงนอนในอ้อมกอดสาวคนรัก ตัวสั่นระริกอย่างเจ็บปวด “ฮือๆๆ พี่ต้องไม่เป็นไรนะ แล้วน้องจะช่วยพี่ยังไงดี ฮือๆๆๆ” นางงามกรีดร้องปานถูกกรีดดวงใจในบัดนั้น “ฮือๆๆ มันผู้ใดช่างใจร้ายนัก ข้าและสามีไม่เคยทำชั่วใยต้องรับกรรมเช่นนี้ ฮือๆๆ” “เจ้าจะคร่ำครวญไปใยเล่าน้องคนสวย”
 “เจ้าคนใจชั่ว เราไปทำอะไรให้เจ้า ทำไมต้องเอาชีวิตกันด้วย” “ตัดใจเถิดคนงามเอ๋ย ทิ้งเจ้านั้นเสียแล้วไปเป็นท่านผู้หญิงของข้าซะเถอะ ข้าจะดูแลเจ้าอย่างดี” “ไปตามทางของเจ้าไป คนใจบาปหยาบช้า สิ้นชายผู้นี้ไปเราก็ไม่ปรารถนาสิ่งใดอีกแล้ว” “เจ้าไม่สนใจแน่นะทั้งเสื้อผ้าแพรพันอย่างดีเลิศ เพชรนิลจินดาข้าทาสบริวารอีกมากมายในเวียงวังของข้านะ ฮ้า!...”
  “ปล่อยเราไว้ในป่านี้เถอะ นอกจากเขาแล้วเราไม่ขอแลกสิ่งใดอีกเลย” “ฮึ!..เล่นตัวจริงๆ เช่นนั้นก็ตามใจเจ้า จะอยู่เป็นเมียลิงค่างกลางป่าต่อไปก็ตามใจ นางในรั้วในวังสวยกว่าเจ้ามีตั้งเยอะตั้งแยะ ข้าไม่ง้อก็ได้” เจ้าเมืองผู้หยาบช้าหันหลังกลับไปทิ้งให้สาวกินรีโศกเศร้าคร่ำครวญและรำพรรณถึงชายผู้เป็นที่รักจนน้ำตาเหือดแห้งอยู่อย่างนั้น
  “ฮือๆ ดอกไม้ทั้งป่า น้ำตกลำธารใสดูไร้ค่าไปสิ้นแล้ว เสียงนกขับร้องกับเรไรที่เคยกล่อมเราสอง บัดนี้มิได้ไพเราะน่าฟังอีกแล้วเช่นกัน ฮือๆๆ เทวดาอารักเจ้าขา ข้าน้อยขอวิงวอน ขอเทพผู้ทรงฤทธิ์นำชีวิตคนรักแห่งข้ากลับมาด้วยเถิด เรามิควรต้องมาจากกันในวัยหนุ่มสาวเช่นนี้ ฮือๆๆ” ทุกข์เวทนานั้นสะท้อนสะท้านไปทุกอณูของพงไพร
 และความรักรักบริสุทธิ์นี้ก็เป็นที่เห็นใจยิ่งของเทพเจ้าองค์หนึ่ง อมรินทร์เทพหรือพระอินทร์ได้รับรู้ความทรมารแห่งดวงใจนั้น จึงได้นิรมิตรกายปรากฏเป็นเทพพิทักษ์ป่าขึ้นเบื้องหน้า “ในที่สุด คำภาวนาของข้าน้อยก็ได้รับเมตตา ท่านเจ้าขาช่วยสัตว์ผู้ยากให้พ้นทุกข์ด้วย” องค์อินทร์ให้สาวงามตั้งจิตเป็นกุศล อธิษฐานขอทำความดีไปตลอดชีวิต
  แล้วทรงรินน้ำอมฤตหลั่งลงประพรมร่างของกินนรหนุ่ม ด้วยอานภาพแห่งเทพก็บังเกิดรุ้งรัศมีเรืองรองขึ้นอย่างสวยงาม ครอบคลุมร่างไร้ชีวิตนั้น และเมื่ออมรินทร์เทพโอมอ่านพระเวทย์อีกครั้งร่างอันแน่นิ่งแข็งเป็นศพของหนุ่มเคราะห์ร้ายก็นุ่มนิ่มมีสีสันแห่งชีวิตขึ้นทันที “เราคืนชีวิตให้แล้ว จงมีความสุขสวัสดีและอย่าได้ประมาทใช้สติพิจารณาทุกสิ่งให้ดีเถิด”
  “เกิดอะไรขึ้นเนี่ย แผลจากการโดนยิงหายไปแล้ว โอ้..ข้าเหมือนเกิดใหม่” “มหัศจรรย์เทวะ ท่านคืนชีวิตที่รักข้าคืนมาแล้ว” “นี่เพราะอานุภาพแห่งรักและภักดีของผู้เป็นคู่บุพเพสันนิวาสกัน เราจึงใช้น้ำทิพย์ของสวรรค์ช่วยเหลือให้ ขอให้ท่านทั้งสองครองรักกันจนหมดอายุขัยในชาติภพนี้เถิด จงกลับไปอยู่บนภูเขาคันธมาสที่อยู่ของเจ้า แล้วอย่าได้ลงมาข้างล่างนี้อีกเลย
 ความอุดมสมบรูณ์ข้างล่างนี้ มีผู้คนใจบาปยื้อแย่งแข่งกันมากมายนัก” กาลครั้งนั้น จึงเป็นครั้งเดียวที่สองสามีภรรยาลงจากภูเขามาหาพืชพันธ์สมุนไพรยังแผ่นดินเบื้องล่าง เพราะชีวิตที่เหลืออยู่ต่อไปของคู่รักนี้ คือความสุขที่รออยู่บนภูเขาสูงที่ได้จากมานั่นเอง “พักก่อนไหมจ๊ะ เจ้าคงจะเหนื่อยแล้ว” “ไม่หรอกจ้า เรารีบกลับกันดีกว่าพี่คงเหนื่อยมากแล้วเดี๋ยวน้องนวดให้นะจ๊ะ”
ทั้งสองครองชีวิตอยู่คู่ในศีลธรรมจนหมดอายุขัยจากชาติภพนั้นไปในเวลาใกล้เคียงกัน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสชาดกจันทกินรีจบแล้วทรงแสดงอริยสัจสี่ พระนางยโสธราพิมพาเข้าถึงในพระธรรมนั้นโดยถ่องแท้ได้สำเร็จโสดาบัน

 
 
ในสมัยพุทธกาลนี้ เจ้าเมืองผู้โหดร้าย กำเนิดเป็น พระเทวทัต
พระอินทร์จอมเทพ กำเนิดเป็น พระอนุรุท
นางกินรีชาวป่า กำเนิดเป็น พระนางยโสธราพิมพา
กินนรหนุ่ม เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
37  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / นันทชาดก-ชาดกว่าด้วยความมานะถือตัว เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2015, 06:08:06 pm

นันทชาดก-ชาดกว่าด้วยความมานะถือตัว

 เมื่อฤดูฝนอย่างกรายมาถึงพระภิกษุทั้งหลายก็อยู่จำพรรษาตามพุทธบัญญัติ มิได้ออกเที่ยวจาริกที่ใดๆๆได้ตามปกติเป็นเวลานาน 3_เดือน ครั้นวสันตฤดูผ่านพ้นภิกษุในพระเชตะวันมหาวิหารก็พร้อมที่จะเดินทางออกไปเผยแผ่พุทธธรรมดังที่เคยกระทำต่อเนื่องกันมาอีกครั้ง พระสารีบุตรเถระอัครสาวกของพระพุทธศาสดาก็เช่นกัน
 ปรารถนาแรกเมื่อผ่านพรรษานี้ก็คือการจาริกออกไปยังทักขิณาคีรีทิศใต้ของนครสาวัตถี เพื่อนำพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ไปโปรดนิคมห่างไกลให้พ้นทุกข์ การเดินทางครั้งนั้นพระสารีบุตรมีสิทธิ์ติดตามไปด้วย ซึ่งเป็นภิกษุผู้ประพฤติเรียบร้อย ชาวชนบททักขิณาคีรีซึ่งก็คือจุดหมายในการออกจาริกในครั้งนี้นี่เอง
 “จากตรงนี้แล้ว เราจะไปทักขิณาคีรีทางใดกัน” “ศิษย์รู้จักเส้นทางแถวนี้ดี จะนำทางพระอาจารย์ไปเองนะขอรับ” ศิษย์ผู้นี้ปรนนิบัติดูแลพระสารีบุตรอย่างเคารพนอบน้อมมาตลอดทาง ดังที่เคยปฏิบัติมาในพระอารามเชตะวัน “เส้นทางนี้ขรุขระเดินลำบากยิ่งนัก ให้ศิษย์ถือของให้เถอะขอรับพระอาจารย์” จนจาริกล่วงมาจนถึงชนบทชายแดนแคว้นโกศลอย่างตั้งใจ
 กริยาอาการการของภิกษุผู้ติดตามพระอัครสาวกก็เปลี่ยนไป “ท่านนะรีบๆ เดินเข้าเถิด จะได้ถึงที่หมายเร็วๆ ผมนะเหนื่อยเต็มทนแล้วน่ะ” (ศิษย์ชาวนิคมนี้ไม่สำรวมแล้วเพราะเหตุใดกันนะ) “เหตุใดเล่าท่านจึงมุ่งหน้าเข้าพงเข้ารกอีก เขตนิวาสบ้านชาวนิคมนะอยู่ทางโน้น....เฮ้อ” “อ้อ....เป็นทางนี่หรอกรึ” “ก็ใช่นะสิ นี่ทางเข้าก็เห็นๆ กันอยู่ นี่ไงละท่าน
 มาเถอะ ผมจะพาท่านไปยังธรรมศาลา จะได้แสดงธรรมให้เสร็จๆ ซะที ไม่รู้ทางแล้วยังจะเดินนำอีก” พระสารีบุตรแสดงธรรมโปรดชาวชนบทชายขอบแคว้นโกศลที่แห่งนั้น จนได้เวลาสมควรแล้วก็เดินทางกลับ “โอ้ย..ต้องเดินทางกลับอีกแล้ว เมื่อยล้าเต็มทนแล้วนี่” แต่เมื่อพ้นชนบทเขตบ้านเก่าออกมา ภิกษุผู้เป็นศิษย์ก็กลับมาสู่พระอาการเป็นปกติ
 ด้วยกริยาที่นอบน้อมดังเดิม “เดินระวังๆ นะขอรับพระอาจารย์ ทางลาดชันมาก” (ศิษย์ผู้นี่กลับมานอบน้อมดังเคยแล้ว น่าแปลกจริงๆ) อีกหลายวันต่อมาศิษย์ที่เคยก้าวร้าว ก็ยังเรียบร้อยเป็นปกติ มิได้เย้อหยิ่งถือดีเหมือนที่เคยกระทำในชนบทพิสัยนั้นแม้แต่น้อย “ธรรมข้อนี้ ศิษย์พิจารณาแล้วยังไม่รู้แจ้งซะที พระอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยเถอะขอรับ”
 (ล่วงมาบัดนี้ก็ผ่านมาตั้งหลายวัน ศิษย์ผู้นี้ก็ยังนิสัยนอบน้อมอย่างเคย เอ้....แล้วตอนจาริกเผยแผ่พระธรรม ไฉนจึงประพฤติแปลกไปเช่นนั้นละ) ความเป็นไปดังนี้คือข้อสงสัยภายในจิตใจของพระสารีบุตรเถระอยู่ตลอดเวลา “อือ...เพราะเหตุใดกันนะ อะไรที่ทำให้ศิษย์ผู้นี้ประพฤติผิดแผกไป” จนได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์คราวหนึ่ง
  พระอัครสาวกได้นำข้อสงสัยนี้ขึ้นทูลถวายเพื่อให้ทรงไขปริศนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสดับแล้ว จึงโปรดพระสารีบุตรและหมู่สงฆ์ในพระวิหารว่า “ชนหมู่ใดเมื่อระลึกรู้ถึงความสำคัญที่ตนมีต่อผู้อุปการะดูแลตน เมื่อถึงวาระใช้ความสำคัญนั้นแล้ว มิได้ยำเกรงดังเคยผู้นั้นไร้ธรรม ดังนันทะทาสในอดีตชาติหนึ่งเย้อหยิ่ง วาระที่ผู้เป็นนายจำเป็นต้องพามาก่อน”
 เมื่อได้ฟังดังนั้นพระสารีบุตรจึงอาราธนาขอให้พระพุทธองค์ทรงโปรดเล่าชาดก นันทะทาสอันกระทำดังเดียวกับผู้เป็นศิษย์กระทำไว้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงระลึกชาตินั้นด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณ แล้วตรัสเล่านันทชาดก ดังนี้ ในพาราณสี นครใหญ่แห่งแคว้นกาสี ยังมีเศรษฐีชราผู้หนึ่ง เพิ่งมีบุตรกับภรรยารุ่นสาว
 ยิ่งบุตรโตขึ้นเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งทุกข์ใจด้วยความเป็นห่วงบุตรมากเท่านั้น “อีกหน่อยพอเราตาย ภรรยาก็คงหาสามีใหม่ มาผลาญทรัพย์สินจนหมดแน่ๆ เฮ้อ..” “ท่านพ่อๆ มาเล่นกันๆ” “โธ่ลูกชายของพ่อ พ่อต้องหาทางเก็บทรัพย์สมบัติไว้ให้เจ้าโดยปลอดภัยซะแล้ว” เศรษฐีผู้คิดการณ์ไกลเรียกหา นันทะ ทาสบุตรชายคนเก่าแก่ของตระกูลมาเก็บเงินทองใส่หีบไว้ได้เป็นจำนวนมาก
 “นันทะ เจ้าจงเอาหีบสมบัติเหล่านี้ไปฝังไว้เถิด เมื่อบุตรของเราเติบโตขึ้นเจ้าค่อยมอบมันให้เขาเพื่อเป็นทุนค้าขาย” “ได้ขอรับ ท่านเศรษฐีข้าจะเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีเลย” “ดีมาก แล้วเจ้าอย่าบอกเรื่องนี้กับใครละ จนกว่าบุตรชายเราเติบโตเป็นหนุ่ม” “ขอรับ ข้าจะเก็บเป็นความลับ ขอรับท่านเศรษฐี” “เจ้าต้องช่วยดูแลให้เขาเติบโตเป็นคนดี มีศีลธรรมและขยันหมั่นเพียร
  เพื่อรักษาทรัพย์ไว้ เราจะได้ตายตาหลับ” “ท่านเศรษฐีอย่าห่วงเลย ข้าน้อยจะดูแลนายน้อยเป็นอย่างดี ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม แผลแม้แต่น้อยนิดก็จะไม่ให้มี แม้แต่ไฝเม็ดเดียวก็จะไม่ให้ขึ้น” “ไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอก” ต่อมาไม่นานเศรษฐีชราก็ตายจากไป ทิ้งภรรยาสาวให้เลี้ยงดูบุตรต่อไป “โธ่ลูกแม่ พ่อเจ้าจากเราไปเสียแล้ว”
 “ท่านแม่อย่าเสียใจไปเลย ลูกจะดูแลท่านแม่แทนท่านพ่อเอง” นันทะทาสรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับท่านเศรษฐี คอยดูแลรับใช้นายน้อยจนเติบใหญ่ขึ้นตามวัย “แม่จ๋าลูกโตพอที่จะรับเอาทรัพย์ของพ่อมาดูแลหรือยังจ๊ะ” “ยังหรอกจ๊ะ เอาไว้เจ้าโตเป็นหนุ่มก่อนเถิด” วันคืนผ่านไปนายน้อยของนันทะทาสก็เจริญวัยเป็นหนุ่มฉกรรจ์
  ได้ร่ำเรียนศิลปะศาสตร์การพาณิชย์จนเป็นที่พอใจของมารดา และแล้ววันสำคัญแห่งตระกูลก็มาถึง “ลูกเอ๋ย เจ้าให้คนเรียกลุงนันทะมาเถิด ถึงเวลาแล้วที่ต้องขุดสมบัติของพ่อเจ้าขึ้นมาใช้” “ห๊า..ขุดสมบัติหรือท่านแม่ ทำไม ไม่เห็นลูกรู้ความลับเรื่องนี้เลย” “พ่อเจ้าสั่งลุงนันทะเอาไว้ ว่ารอให้ลูกโตก่อนถึงจะบอกนะจ๊ะ ไปเถอะ เจ้าไปเรียกลุงนันทะมาเถิด”
  “นายหญิงเรียกข้าน้อยมา มีอะไรหรือขอรับ” “เราจะให้เจ้าพาลูกชายของเราไปยังที่ฝังทรัพย์ ขุดสมบัติเหล่านั้นให้เขามาดูแลเองซะที” “ได้ ขอรับ” “ต้องรบกวนลุงนันทะด้วยนะ” “ยินดี ขอรับนายน้อย ข้าน้อยจะดูแลอย่างดี” “ลุงนันทะ เรานะเริ่มเดินทางพรุ่งนี้เช้าเลยแล้วกัน ท่านเตรียมตัวให้พร้อมนะ” “ได้เลย ขอรับนายน้อย ข้าน้อยเฝ้าดูแลทรัพย์สมบัติเหล่านั้นนานแล้ว
    รอคอยวันที่นายน้อยจะเติบโตเป็นหนุ่ม ยินดีจริงๆ ในที่สุดก็ได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับท่านเศรษฐีจนสำเร็จ” “เมื่อเราขุดสมบัติขึ้นมาแล้ว วานลุงนันทะ จัดคนไปขนมาเก็บด้วยเถอะนะ” “ได้ขอรับ นายน้อย” เมื่อได้เวลา นันทะทาสก็นำจอบ เสียม เครื่องมือขุดกับเสบียงเล็กน้อยมารับทายาทเศรษฐีไปสู่หมู่บ้านที่เคยนำสมบัติไปฝังไว้ด้วยกริยาสุภาพเป็นปกติ
 ถึงชายป่าตรงโน้น ข้าน้อยจะจัดอาหารให้ขอรับนายน้อย” (นันทะทาสคนนี้ช่างดีจริงๆ ดูแลปรนนิบัติเราอย่างดี ต่อไปเราจะต้องเลี้ยงดูเขาให้มีความสุข บริวารเช่นนี้หายากยิ่งนัก) “เตรียมเดินทางต่อเถอะขอรับ นิคมที่ฝังสมบัติท่านเศรษฐีไว้ยังอีกไกล” จนแดดยามบ่ายคล้อยลง ทั้งสองนายบ่าวก็เดินเข้าสู่เขตหมู่บ้าน “ถึงหมู่บ้านที่ฝังสมบัติแล้วขอรับ”
  “ท่านพ่อกับลุงนันทะ มาฝังซะไกลเลยนะครับ” ทันที่เดินผ่านหลักเขตศิลา นันทะทาสก็มีอาการเปลี่ยนไป “โอ้ย..เหนื่อย เอา เจ้าเอาไปแบกไปคอนซะมั่งซิ จะได้รู้รสชาติการทำงานหนักบ้าง เร็วๆ รับไปเร็วๆ อย่าให้มีน้ำโหนะ” (เอะ..นี่ลุงนันทะเป็นอะไรไปนี่) นันทะทาสเมื่อแสดงอาการหยาบกระด้างแล้ว ก็ไม่ยอมเลิกรา กลับลำเลิกบุญคุณและพูดจาตะคอกขู่เข็ญอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
  “เฮอะๆๆ อยากได้สมบัติก็ขุดเอาเองเลย ข้าจำไม่ได้แล้วละว่า มันฝังเอาไว้ตรงไหน ฮ้า ฮ่าๆๆ อยากได้ก็หาเองแล้วกัน” “เฮ้อ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็หยุดค้นหาเถอะ” หนุ่มทายาทเศรษฐีประหลาดใจในกริยาของนันทะทาสเป็นอย่างมาก เพราะทันทีที่สั่งการขุดหาทรัพย์ ความอวดดีหยาบกระด้างก็หยุดลงด้วย” “ได้ขอรับ นายน้อย เก็บของกลับเลยนะครับ นายน้อยหิวหรือยัง ข้าน้อยจะได้หาอาหารมาให้”
 เมื่อเดินทางพ้นหมู่บ้านนิคมนั้น นันทะทาสก็นอบน้อมพูดจาไพเราะเหมือนเดิม กลับมาสู่บ้านก็ปรนนิบัติดูแลเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น “นายน้อย น้ำ ขอรับ ข้าน้อยผสมกับน้ำผึ้งไว้ หอมหวานชื่นใจขอรับ” “มาแย่งงานเราดูแลนายน้อยตลอดเลย มันน่านัก” “อย่าบ่นน่า เจ้าก็มีเหมือนกัน ข้าเก็บไว้ให้ในครัวแล้ว” (ผ่านมาหลายวันแล้ว ลุงนันทะคงหายเครียดแล้วละมั่ง ลองชวนไปขุดสมบัติอีกดีกว่า)
 “ลุงนันทะ พรุ่งนี้เราไปขุดสมบัติของท่านพ่อกันเถอะ” “ได้ขอรับนายน้อย ข้าน้อยจะเตรียมของให้เรียบร้อย” และแล้วทุกสิ่งก็เป็นเช่นเดิม คือเมื่อเดินทางไปถึงบริเวณซึ่งฝังสมบัติไว้ นันทะทาสก็ทำตัวเหมือนเป็นศัตรู มิได้ให้เกียรติยำเกรงดังเคย “เดินเร็วหน่อยซิ ชักช้าอยู่ได้ หาเองแล้วกันสมบัตินะ อยากได้ก็หาเอง”
 หนุ่มน้อยจนปัญญาที่นำทรัพย์สินของบิดามาประกอบอาชีพได้ เพราะไม่รู้เหตุแห่งการก้าวร้าวของนันทะทาส (เอ้..ลุงนันทะเนี่ย ประพฤติแปลกไปอีกแล้วนะ นี่เราจะทำยังไงดีเนี่ย..อ้อ..ไปปรึกษาบัณฑิตดีกว่า) พลันเมื่อนึกถึงพราหมณ์บัณฑิตท่านหนึ่ง ทุกสิ่งก็ถูกไขปริศนาโดยง่ายดาย “มานพเอ๋ย เหตุดังนี้เป็นเพราะนันทะทาสถือว่าตนเป็นผู้เดียวที่รู้จุดฝังซ่อนสมบัติของนาย
 เมื่อตนไปถึงที่นั้น เกิดลำพองกล้าข่มขู่นายด้วยลืมตัว” “อือ..ถ้าเป็นเช่นนั้น เราควรจะทำอย่างไรดีล่ะ” “เธอจงชักชวนเขาไปขุดทรัพย์นั้นอีกครั้ง หากนันทะทาสยืนอวดดี กล่าวข่มขู่อยู่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละมีทรัพย์ฝังอยู่” “ดีจัง อย่างงี้เราก็คงได้ทรัพย์สมบัติของท่านพ่อมาทำทุนค้าขายเสียที” ชายหนุ่มกราบขอบคุณบัณฑิตผู้ทรงปัญญา
 แล้วรีบนำนันทะทาสกลับไปนิคมที่ฝังทรัพย์ไว้ “รีบเข้าเถอะลุงนันทะ วันนี้เราต้องขุดสมบัติมาให้ได้นะ” “ขอรับนายน้อย” เมื่อผ่านเขตนิคมชนบทนั้นเข้าไปสักพัก ทันที่ที่นันทะทาสทำกริยาลำพอง หนุ่มผู้เป็นนายก็ทำตามคำสอนของบัณฑิต “อ้อนวอนก่อนซิ แล้วข้าถึงจะบอกว่าสมบัติอยู่ตรงไหน เฮอะ ฮ่าๆๆ” (เริ่มอวดดีอีกแหละ แสดงว่าต้องอยู่ตรงนั้นแน่ๆ)
 “เอาล่ะเจ้าขุดสมบัติขึ้นมาสิ” “อูย...รู้ได้ยังไงละเนี่ย” เมื่อขุดทรัพย์นำกลับบ้านมาหมดแล้ว ทุกอย่างก็คืนสู่สภาพเดิม นันทะทาสไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือนายอีก ก็กลับมาสุภาพเรียบร้อยเหมือนที่เคยเป็นมา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อตรัสชาดกจบแล้วทรงมีอนุสติเป็นคาถาประจำชาตินี้ว่า

 
มัญเญ โสมัณณโย ราสิ โสวัณณมาลา จนันทโก
ยัตถ ทาโส อามชาโต ฐิโต ถูลาติ ตัชชติ
ทาสชื่อนันทะเป็นบุตรนางทาสี  ยืนกล่าวคำหยาบในที่ใด
เรารู้ว่ากองแห่งรัตนทั้งหลาย  และดอกไม้ทองมีอยู่ในที่นั้น
 
ในพุทธกาลสมัย นันทะทาส กำเนิดเป็น ภิกษุศิษย์พระสารีบุตร
บุตรเศรษฐี กำเนิดเป็น พระสารีบุตร
พราหมณ์บัณฑิต เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
38  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / มุทุลักขณชาดก-ชาดกว่าด้วยกามกิเลสคือต้นเหตุแห่งความเศร้าหมอง เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2015, 05:12:42 pm

มุทุลักขณชาดก-ชาดกว่าด้วยกามกิเลสคือต้นเหตุแห่งความเศร้าหมอง

 สมัยพุทธกาลผ่านมาพระเชตะวันมหาวิหารของพระบรมศาสดาร่มเย็นเป็นที่พึ่งพาของเวไนยสัตว์อย่างทั่วถึง ดุจแสงจันทร์วันเพ็ญอันสว่างนวลทั่วปริมณฑล แต่จันทร์กระจ่างฟ้าก็หาทำความรื่นรมย์ได้ทั่วทุกคนไม่ ยังมีภิกษุหนุ่มชาวสาวัตถีรูปหนึ่งกำลังกลัดกลุ้มอยู่กับความทุกข์ภายใต้แสงจันทร์นวลทุกราตรี
 “โอ้นวลน้อง ความรักของพี่ที่มีต่อเจ้า ช่างทำให้พี่ทุกข์ใจยิ่งนัก กินไม่ได้นอนไม่หลับ นั่งสมาธิ(Meditation)ก็วุ่นวายใจ เฮ้อ” สมณะกิจใดๆ ภิกษุหนุ่มก็ไม่ได้ปฏิบัติ จนเพื่อนภิกษุทั้งหลายสุดจะทนเวทนาอยู่ได้ จึงนำสมณะสงฆ์รูปนี้มาเฝ้าพระบรมศาสดา “ไปเฝ้าพระพุทธองค์เถอะท่านจะได้ปลดเปลื้องจากทุกข์นี้ซะที” “เป็นเธอนี่แล้วผู้กระวนกระวายรุ่มร้อนใจ ด้วยอำนาจความงามของหญิง
 สิ่งนี้ไม่ได้แปลกอันใด เพราะเธอยังไม่มีคุณวิเศษป้องกัน ในอดีตกาลก่อน เราได้อภิญญา 5_สมาบัติ 8_สามารถข่มกิเลสได้ด้วยญาณ ทั้งเหาะเหินบนฟ้าได้ก็ยังเคยพลาดพลั้งยังเผลอหลงใหลหญิงงาม จนญาณสมาบัติเสื่อมสูญได้รับทุกข์ร้อนมาแล้ว กิเลสนั้นก็มีกำลังมากนัก ดุจลมพายุถอนขุนเขา โค่นไม้ใหญ่
  ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ทรงภูมิรู้ยังเพรี้ยงพร้ำแก่กิเลส ความผิดของเธอครั้งนี้จึงเป็นสิ่งธรรมดา ลำดับนั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัส มุทุลักขณชาดกขึ้น โปรดภิกษุทั้งหลายในพระเชตะวันดังนี้ มานพหนุ่มผู้หนึ่งเกิดในตระกูลดี มีสติปัญญาเลอเลิศ แต่ก็ค้นพบว่าสรรพวิชาที่เล่าเรียนมามิอาจช่วยผู้คนพ้นความทุกข์ได้
 เขาจึงออกหาสัจธรรมไปยังที่ต่างๆ ทั่วชมพูทวีป ท้ายที่สุดท่านได้ถือเพศพรหมจรรย์เป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ริมป่าหิมพานต์จนได้สมาบัติแก่กล้า สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ และมักเหาะลงมาบิณฑบาตโปรดชาวนครพาราณสีอยู่เนืองๆ ครั้งหนึ่งพระดาบสตนนี้ได้เหาะจากหิมพานต์เข้ามายังมหานครดังปกติ “เอ้..วันนี้มีเหตุอันใดหนอจิตใจถึงร้อนรุ่มนัก “
  ครั้งนั้นยังมิทันบิณฑบาตก็ต้องรับนิมนต์จากราชบุรุษให้เข้าไปโปรดพระเจ้าพรหมทัตยังพระราชฐาน “เชิญท่านฤาษีทางนี้เถอะ พระเจ้าพรหมทัตทรงประทับรออยู่” “โอ้ดีจัง วันนี้เราจะได้ฟังธรรมกัน” “ฟังธรรมรึ? ดีจัง ยังไม่เคยฟังมาก่อนเลย” “เจริญพร มหาบพิท” “ข้าพระองค์เลื่อมใสในศีลและประพฤติพรหมจรรย์ของท่าน ปรารถนาในรสธรรมโอวาทยิ่งนัก”
   “หากท่านปรารถนาจะฟังธรรมเราก็ยินดี” พระเจ้าพรหมทัตถวายอาหารอันประณีต แล้วจึงอาราธนาให้พระดาบสพำนักอยู่ในที่พระราชวังต่อไปอีกนานปี “เพื่อเหล่าพระราชวงศ์หญิงชายและปวงอำมาตย์จะได้รับโอวาทอย่างใกล้ชิด บัดนี้ข้าพระองค์ได้จัดอาศรมใหม่ไว้ในพระอุทยานแล้ว ขออาราธนาเป็นพระอาจารย์แก่ราชวงศ์สืบไปแต่วันนี้เถิด”
 “ถ้ามหาบพิทต้องการอย่างนั้น เราก็คงขัดไม่ได้” เมื่อพระฤาษีมาพำนักอยู่ในวัง ก็เป็นที่เคารพนับถือของเหล่าราชนิกูลและข้าราชบริพาร ด้วยท่านมีความรอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมยากที่จะหาใครทัดเทียมได้ในยุคนั้น “อือ..อุทยานนี่ช่างสงบเงียบดีจริงเหมาะแก่การนั่งสมาธิ ให้โอวาทแล้วค่อยกลับมานั่งสมาธิดีกว่า”
  “ความเพียรของหมู่ชนผู้พร้อมเพรียงกันทำให้เกิดสุข ขณะที่สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสือโคร่งได้เพราะใจรวมเป็นอันเดียว ท่านพึงศึกษาความสามัคคีไว้เถิด ความสามัคคีนั้นท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ผู้ยินดีในสามัคคีตั้งอยู่ในธรรมย่อมไม่พลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ” “ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องปกครองคนในพาราณสีให้สามัคคีกันเอาไว้”
  “ต่อจากนี้ไปเราจะยึดหลักความสามัคคีไว้ในใจ” อย่างเข้าฤดูแล้งคราวหนึ่งเมืองพาราณสีก็เกิดสงคราม พระเจ้าพรหมทัตก็มากราบขอพรเพื่อยกทัพไปสงครามชายแดน “มหาบพิทจงเผด็จศึกโดยดีเถิด จงเมตตาแก่ผู้แพ้ตามสมควรเถิดจะเกิดกุศลยิ่ง” “ข้าพระองค์จะยึดหลักศีลธรรมตามที่ท่านฤาษีอบรม” พระเจ้าพรหมทัตได้รับสั่งให้พระนางมุทุลักขณาพระมเหสี
 คอยดูแลเอาใจใส่พระฤาษีมิให้บกพร่องใดๆ แล้วก็ยกทัพออกจากนครไป “เสด็จพี่อย่าทรงห่วงเลยเพคะ หม่อมฉันจะดูแลพระฤาษีเป็นอย่างดีมิให้ขาดตกบกพร่อง” ทุกวันพระนางมุทุลักขณาจัดเตรียมอาหารถวายพระดาบสอย่างดีมิได้ขาด แต่แล้วก็เกิดเหตุใหญ่ขึ้นครั้งหนึ่ง ในวันนั้นพระดาบสเข้าญาณจนลืมเวลานิมนต์ “ทำไม่พระฤาษีถึงยังไม่ออกมาฉันอาหารนะ”
 “คงนั่งสมาธิอยู่กระมังคะ” “ถ้าอย่างนั้นเราไปพักผ่อนก่อนนะ พวกเจ้าอยู่คอยรับใช้ก่อนแล้วกัน” “เพคะ” พระนางมุทุลักขณารอพระฤาษีอยู่นานก็ยังไม่มา พระนางจึงทอดพระวรกายพักผ่อนอิริยาบถอยู่บนยี่พู่ ณ ท้องพระโรงอยู่บริเวณเดียวกัน “เฮ้อง่วงจัง..นอนซักพักดีกว่า” แอ๊ส.ส..ส “เอะ...เสียงอะไรนะ” “เหมือนมีใครเข้ามาทางพระบัญชรนะเพคะ”
 เสียงนั้นคือพระฤาษีซึ่งเหาะเข้ามาทางพระบัญชรอย่างเร่งรีบ พระมเหสีตกพระทัยจึงผุดลุกโดยเร็วภูษาแพรที่ห่มพระอุระก็หลุดลุ่ยลงอวดโฉมแก่สายตาพระฤาษี “โอ๊ะ.ว๊ายผ้าหลุด” “ว๊าย..ตาเถน หลุดๆๆๆ” ความงามแห่งอิสตรีนั้นก่อกวนญาณอันบริสุทธิ์ให้ดับวูบลง กามราคะอันไม่เคยมีของผู้ทรงศีล กลับคุโชนขึ้นมาแทนที่อย่างรวดเร็ว
  “โอ้..ช่างงดงามเหลือเกิน” เมื่อรำลึกรู้ตัวพระดาบสก็หันกลับไปยังอาศรมอุทยานด้วยสองเท้า มิสามารถใช้ญาณเหาะเหินได้ดังเดิม “แย่แล้วเราจะเป็นบาปหรือเปล่าก็ไม่รู้” “ฮู...ท่านฤาษีหน้าซีดไปเลย” จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พระฤาษีไม่อาจลืมความงามของสตรีเพศได้เลย ภาพนั้นมีฤทธิ์รุนแรงต่อจิตใจ จนพระฤาษีมิอาจรวบรวมสมาธิต่อต้านได้
 “น้องหญิงช่างสวยเหลือเกินภาพน้องช่างติดตาตรึงใจพี่ จนพี่ไม่อาจลืมเลือนได้แล้ว โอ้..นี่เราเป็นอะไรไปเนี่ย” ยิ่งนานวันฤทธิ์พิศวาสก็รุมเร้าให้เฝ้าแต่เก็บตนเงียบในอาศรม ร่างกายทรุดโทรม จิตใจระทมทุกข์จนหมดสง่าราศี “ไฉนกามเทพบันดาลทุกข์แก่เราได้มหันต์ปานนี้ น้องหญิงเราจะได้ครองเธอเมื่อใดหนอ เมื่อใด” เวลาล่วงไป 7 วัน
พระเจ้าพรหมทัตเสด็จกลับจากชายแดน เมื่อเสร็จราชกิจจากท้องพระโรงก็เร่งเสด็จมากราบพระฤาษี “โอ้..เกิดอะไรขึ้นทำไม่พระฤาษีถึงได้ซูบผอมอย่างนี้” “มหาบพิทกลับมาแล้วรึ เรามีทุกข์หนักอันเรียกว่าความรักเกิดขึ้นในใจจึงเป็นดั่งนี้ มหาบพิท” เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงสอบถามสาเหตุที่กระทำต่อผู้ทรงศีล ก็ได้รับคำตอบอันสะเทือนใจยิ่ง
  “เรื่องทั้งหมดเป็นความจริงเรามิสามารถพูดเท็จได้” “ที่แท้ความความเจ็บปวดของพระอาจารย์เนี่ยเกิดเพราะหลงรักพระนางมุทุลักขณานี่เอง” “เป็นเช่นนั้น มหาบพิทจะลงโทษเช่นไรก็ได้ อาจารย์ก็ยอมสิ้น” “หามีโทสะอนุโทษใดสำหรับท่านไม่” (โธ่เอ้ย พระฤาษีผู้ทรงคุณวิเศษ บัดนี้ร่ำหาสตรีเสียแล้ว เราต้องช่วยท่านให้ได้)
  พระเจ้าพรหมทัตนำเรื่องทุกข์ใจของท่านฤาษีมาปรึกษากับพระนางมุทุลักขณาพระมเหสี “รู้ไหมพระฤาษีกำลังทุกข์ใจกับความรักที่มีต่อเธอ จนมิอาจรวบรวมสมาธิได้ดังเคย พี่นะคิดอุบายที่จะทำให้ท่านกลับมาดังเดิมได้แล้ว แต่อยู่ที่น้องหญิงจะช่วยหรือเปล่า” “เพราะน้องแท้ๆ ที่ไม่ระวังตนให้ดีทำให้ตบะท่านเสื่อมไป เสด็จพี่บอกมาเถอะว่าจะให้น้องช่วยอย่างไร
 น้องยินดีทำถวายทุกอย่างเพคะ” วันต่อมาสองพระองค์ก็ทำตามแผนที่วางไว้ คือนิมนต์พระฤาษีมาเพื่อรับตัวพระมเหสีไปอยู่ด้วยกัน “ฟังพี่นะ มุทุลักขณาน้องนะ ต้องทำตามแผนการให้ดี เพื่อคืนสติให้ท่านอาจารย์ ไปเถอะท่านมารออยู่แล้ว” (ในที่สุดความรักของเราก็สมหวัง น้องหญิงของพี่) พระเจ้าพรหมทัตถวายพระมเหสีแก่พระดาบสเป็นการลับเฉพาะ
 ทั้งยังถวายบ้านเล็กๆ ให้ที่ริมกำแพงวัง “ไปกันเถิดน้องหญิง น้องนางที่รักของข้า ไปครองเรือนกันพี่จะทำให้เจ้ามีความสุขที่สุด” (สงสารจังแต่เราต้องทำให้พระฤาษีกลับมาเหมือนเดิมให้ได้) “โอ๊ย..นี่บ้านหรือรังหนูนี่ สกปรกอย่างนี้น้องอยู่ไม่ได้หรอกนะคะ” “ได้เลยจ๊ะ เดี๋ยวพี่จะทำความสะอาดให้เอี่ยมเลยจ้า” “งั้นก็เร็วๆ ซิจ๊ะ น้องนะอยากพักผ่อน เหนียวตัวไปหมดแล้วเนี่ย อยากล้างตัวด้วย”
“จ้าๆๆๆ พี่จะยกน้ำไปให้เดี๋ยวนี้แหละจ้า” เมื่อทำความสะอาดเรือนเสร็จพระฤาษีก็ถูกใช้ให้ไปขนเครื่องเรือนมาจากพระราชวังอีก “โอ้ย..ขนมาตั้ง 3 รอบแล้วไม่หมดซะที เฮ้อ..เหนื่อย แต่เพื่อความรักของเรา ทำได้” “พระฤาษีทำอะไรเนี่ย อันเนี่ยนะเหรอที่เค้าเรียกว่าปฏิบัติธรรม ช่างน่าขันยิ่งนัก” “เห็นแล้วหดหู่ใจ พระฤาษีคนเดิมหายไปไหนกันเนี่ย”
 “เฮ้อ..เจ้าพวกนี้จะวิจารณ์เราไปถึงไหนเนี่ย เฮ้อ..รีบขนดีกว่า ขี้เกียจจะได้ยิน” พระฤาษีทำงานรับใช้พระนางมุทุลักขณาตั้งแต่เช้าจนตะวันใกล้อัสดง “โอ้หลังจะหัก เตียงนอนน้องหญิงนี่หนักจริงๆ โอ้ย ทั้งหนักทั้งเหนื่อย แต่ไม่เป็นไรเราต้องทนไว้ ใกล้มืดแล้วเดี๋ยวก็ถึงเวลาแห่งความสุขของเราแล้ว” เมื่อตะวันตกดินพระดาบสก็ถูกไล่ไปอาบน้ำชำระกายให้สะอาดเหมือนมารดาบังคับบุตรน้อย
 ซึ่งท่านก็ทำตามโดยง่าย “น้องหญิงพี่อาบน้ำเสร็จแล้ว ถึงเวลาของเรารึยัง มามะ” “ถึงตอนนี้แล้วท่านยังไม่รู้อีกรึ ขอให้พระคุณเจ้าดูตัวเองใหม่ให้ชัดซิว่า ยังเป็นนักบวชอยู่หรือไม่” เมื่อพระนางมุทุลักขณาเตือนให้รู้ฐานะพระฤาษก็มีสติพิจารณาก้มลงมองร่างกายของตัวเอง บัดนี้มิเหลือคุณสมบัติของนักบวชอยู่เลย แต่เป็นร่างกายที่ตรากตรำทำงานมาทั้งวันและจิตใจที่เต็มไปด้วยราคะ
   “โอ้..เราหนอสู้เพียรภาวนามานานปี กลับพ่ายแพ้ต่อกามราคะ ยอมทำทุกอย่างดังเสียสติ ไม่กลัวราชอาญา ไม่อายต่อคำครหา ไม่หวั่นเกรงนรกอเวจีเลย” เมื่อพระฤาษีรู้สึกดีชอบ จึงรีบขออภัยต่อพระนางมุทุลักขณา จากนั้นก็รีบเข้าเฝ้าและถวายพระมเหสีคืนต่อพระเจ้าพรหมทัต พระโพธิสัตว์เจ้ากำหนดสติวางจิตเป็นสมาธิญาณ
 อภิญญาก็กลับคืนมาดังเดิม เมื่อแสดงธรรมถวายเป็นเอนกปริยายแล้วพระฤาษีก็เหาะกลับยังป่าหิมพานต์ เจริญภาวนาไปจนสิ้นอายุขัยในโลกมนุษย์ แล้วจุติยังพรหมโลกด้วยกุศลธรรม เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาด้วยชาดกนี้จบลง ภิกษุหนุ่มผู้หลงใหลในกามกิเลสก็บรรลุธรรมหลุดพ้นความทุกข์ ณ ที่นั้น

 
 
ในพุทธกาลสมัย พระเจ้าพรหมทัต กำเนิดเป็น พระอานนท์
พระนางมุทุลักขณา กำเนิดเป็น พระอุบลวรรณาเถรี
พระฤาษี เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
39  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / กุกกุรชาดก-ชาดกว่าด้วยการสงเคราะห์ญาติ เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2015, 05:02:21 pm
กุกกุรชาดก-ชาดกว่าด้วยการสงเคราะห์ญาติ

ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาลพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายนั่งสนทนากันอยู่ ณ เชตะวันมหาวิหาร ถึงเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงช่วยให้พระประยูรญาติจำนวนมากได้บรรลุธรรมถึงความพ้นทุกข์ และในจำนวนนั้นมีพระประยูรญาติหลายพระองค์ได้มาเป็นกำลังใจในการเผยแพร่แผ่พระพุทธศาสนา มีพระอานนท์เป็นต้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบถึงข้อสนทนานั้น จึงตรัสว่า “ดูก่อนว่าหมู่ภิกษุทั้งหลายมิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่ตถาคตได้นำประโยชน์มาสู่หมู่ญาติ แม้ในกาลก่อนตถาคตก็เคยนำประโยชน์มาสู่หมู่ญาติแล้วเช่นกัน” แล้วพระองค์ได้ทรงนำกุกกุรชาดกมาตรัสเล่าดังนี้ ในอดีตกาลสมัยพระเจ้าพรหมทัตปกครองกรุงพาราณสี
พระองค์ทรงโปรดการเสด็จประพาสอุทยานมาก วันหนึ่งพระองค์เสด็จประพาสพระอุทยานจนเวลาเย็นมากแล้วจึงเสด็จกลับ “ทหารพระเจ้าพรหมทัตทรงเสด็จกลับมาแล้ว ถวายการต้อนรับเร็วเข้า” “โอย..เหนื่อยจัง เข้าป่าตั้งแต่เช้าจนถึงเย็นเลยเนี่ย” ในเย็นวันนั้นราชบุรุษไม่สามารถลากราชรถได้ จึงจอดทิ้งไว้นอนโรงรถ
 เสด็จขึ้นตำหนักเถิดพระเจ้าข้า ฝนใกล้จะตกแล้ว” “ฮึย!. ฝนใกล้จะตกแล้วจอดทึ้งไว้ข้างนอกก่อนก็แล้วกันลากเก็บไม่ทันแล้ว” คืนนั้นฝนตกทั่วพระนคร ราชรถของพระเจ้าพรหมทัตที่จอดไว้นอกโรงเก็บก็ชุ่มไปด้วยน้ำฝน หนังหุ้มเบาะของราชรถเมื่อถูกฝนก็อ่อนตัวลงและส่งกลิ่นเหม็นตุๆ กลิ่นแบบนี้เป็นของโปรดสำหรับเหล่าสุนัข
 ซึ่งสุนัขในวังฝูงหนึ่งได้กลิ่น “หือ..หอม กลิ่นอะไรเนี่ยช่างหอมเหลือเกิน” “หอมเตะจมูกจริงๆ ทนไม่ไหวแล้ว พวกเรา...ลุย” “เดินตามกลิ่นไป หอมๆๆๆ” ฝูงสุนัขที่เหล่าราชบุรุษเลี้ยงไว้พากันวิ่งตามกลิ่นอันยั่วยวนใจนั้น จนถึงโรงเก็บ “ฮ้าๆ พวกเราเจอแล้ว โอ้..นี่มันเป็นกลิ่นเบาะหนังบนรถพระราชานี่เอง นี่แหละที่เราต้องการ ฮะ ฮาฮ่า”
 “ตามหามานานในที่สุดก็พบ” “จะช้าทำไมเล่า ลุยเลยพวกเรา” และแล้วเบาะหนังชุ่มน้ำก็กลายเป็นอาหารกินเล่นของเหล่าสุนัขในวัง “หือ อร่อย อร่อยอย่างแรงเลย” “มันจริงๆ ทั้งเค็มทั้งมันอร่อยถูกใจ” “โอ๊ยพี่ แบ่งกันบ้างซิ ตรงนี่มันแทะอยากนะ” “กินมั่งๆ ขึ้นไม่ได้อ่ะ ลากข้าขึ้นไปหน่อยซิ” “อะไรเนี่ย ไม่เรียกเลยแอบกินกับอยู่ 4 ตัว
 หลีกๆ ให้ข้ากินมั่ง” รุ่งเช้าราชบุรุษมาเห็นหนังหุ้มเบาะราชรถอยู่ในสภาพขาดวิ่นไปทั้งคันเช่นนั้นก็ตกใจ “เฮ้ย สุนัขที่ไหนมันกล้ามาทำอย่างนี้เนี่ย อ้อ ต้องเป็นสุนัขนอกวังมันแอบเล็ดลอดเข้ามาทางท่อน้ำแน่ๆ สุนัขไม่ได้รับการสั่งสอน ก็อย่างนี้แหละชั้นต่ำที่สุด สู้สุนัขที่เราเลี้ยงมาในวังก็ไม่ได้ น่ารัก น่าเอ็นดูซื่อสัตย์มีสกุล”
 “ใช่แล้วขอรับ สุนัขที่เราเลี้ยงแต่ละตัวต่างได้รับการอบรมอย่างดี มันไม่ทำเรื่องอย่างนี้แน่” เมื่อราชบุรุษคิดได้เช่นนั้น จึงให้กรมวังนำเรื่องกราบบังคมทูลให้พระเจ้าพรหมทัตทรงทราบ “หม่อมฉันมีเรื่องกราบทูลพะยะค่ะ มีสุนัขจรจัดมันแอบเข้ามาในวัง แล้วมันก็เข้ามากัดเบาะหนังราชรถพังเสียหายเลยพระเจ้าค่ะ” “บังอาจมาก เจ้าจงสั่งทหารให้ไปฆ่าสุนัขทุกตัวที่พบ
 เว้นไว้แต่สุนัขที่เลี้ยงไว้ในวังเท่านั้น” “พวกเรามีงานด่วน ต้องฆ่าสุนัขจรจัดในวังให้หมด” “ฮิๆๆ สมน้ำหน้ามัน บังอาจมาแทะเบาะหนังราชรถซะขนาดนั้น” “ชิ ตัวเองไม้รู้จักเก็บราชรถให้ดี แล้วยังมาโทษสุนัขอีก” “ได้ยินเสียงใครนินทาแว่วๆ” “นี่แน่ะต้องฆ่าให้หมดตามคำสั่ง ฮ่ะ ฮ้าๆ” ในครั้งนั้นพวกสุนัขภายนอกราชวังถูกฆ่าตายมากมายราวใบไม้ร่วง
  ตัวไหนที่ยังไม่ตายก็ต้องคอยหลบซ่อนอย่างทรมาน “เฮ้ยพวกเราหนีเร็ว เร้ว วิ่งหนีเร็ว” ใน 7 ราตรีนั้นนอกกำแพงกรุงพาราณสีดูจะไร้ร่างสุนัขใดที่มีชีวิตเหลืออยู่เลย “เหอะๆ ๆ ฮ้าๆ เรานี่เก่งจริงๆ คนเดียวฆ่าสุนัขได้ตั้งหลายตัว ต้องรีบฆ่าให้ตายให้หมดเมืองดีกว่า แต้มจะได้เพิ่ม เหอะๆ ๆ ฮ้าๆ” “เอ้าอย่ามัวแต่คุยกันยังเหลือหมู่บ้านข้างหน้าอีก”
สุนัขทั้งหลายต้องอดอยากยากแค้นแสนสาหัส มันทั้งหลายจึงคิดจะไปขอความช่วยเหลือจากพญาสุนัขที่ป่าช้านอกเมือง โดยหลบออกไปทางอุโมงค์ใต้ดิน “ปล่อยไว้อย่างนี้ไม่ได้แล้วพวกเรา ไปขอพึ่งบารมีพญาสุนัขกันเถอะ” “ใช่อยู่อย่างนี้ มีแต่ตายกะตาย เราต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว” “ไป เดินเข้าเร็ว อดทนอีกหน่อยพวกเรา”
 เมื่อพญาสุนัขได้ฟังเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น จึงปลอบโยนบริวารทั้งหลายให้หายวิตกและรับปากว่าจะช่วยสุนัขทุกตัวให้รอดชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยอย่างที่เคยเป็น “ท่านพญาสุนัขช่วยพวกเราให้รอดตายด้วยเราไม่อยากโดนตามฆ่าอย่างไม่มีความผิดเช่นนี้” “ใช่ ทำไม่พวกทหารต้องมาฆ่าเราด้วยก็ไม่รู้ พี่น้องหมาของเราต้องสังเวยชีวิตอย่างไม่มีเหตุผลไปเยอะแล้ว”
  “เฮ้ย น่ากลัวเหลือเกิน” “เอาเถิด พวกเธอใจเย็นๆ ก่อน เราจะรับภาระนี้ช่วยพวกเธอเอง” แล้วพญาสุนัขก็ระลึกถึงบุญบารมีที่ตนได้สร้างสมมา ตั้งสัตยาธิษฐาน “ด้วยบุญบารมีที่ข้าพเจ้าสร้างสมมาด้วยดีหนึ่งและจิตอันมีเมตตาเปี่ยมในสรรพสัตว์ทั้งหลายของข้าพเจ้าหนึ่ง ขอคุณงามความดีทั้งสองประการนี้ จงช่วยคุ้มครองข้าพเจ้าขณะเดินทางไปเฝ้าพระราชาด้วย
  อย่าให้มีใครทำร้ายหรือคิดร้ายต่อข้าพเจ้าเลย” เมื่ออธิษฐานจิตแล้วพญาสุนัขจึงออกเดินทางไปยังพระราชวังทันที ตลอดการเดินทางอันเร่งรีบนั้นมิได้รับอันตรายใดๆ เลย เมื่อเล็ดลอดเข้าไปในพระราชวังได้แล้ว ก็ตรงไปยังท้องพระโรง “เฮ้อ..มาถึงซะทีนะเรา” ด้วยแรงอธิษฐานทำให้พระเจ้าพรหมทัตทรงมีเมตตามิให้ผู้ใดทำร้าย
 “ปล่อยให้เข้ามาเถอะ” “ขอเดชะ พระอาญาไม่พ้นเกล้า พระองค์ทรงให้ฆ่าสุนัขทุกตัวที่พบโดยมิได้ยกเว้นเลยหรือพระเจ้าคะ” “เปล่า..สุนัขที่เราเลี้ยงไว้มิได้ถูกสั่งฆ่า” “ขอเดชะ เมื่อครั้งแรกตรัสว่าให้ฆ่าสุนัขทุกตัว แล้วเหตุใดจึงยกเว้นสุนัขในวังเล่าพระเจ้าคะ เช่นนี้พวกมิใช่ผู้ร้าย กลับได้มรณะภัย” “สุนัขที่เราเลี้ยงไว้ทุกตัวล้วนได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างดี
 ย่อมจะไม่กัดหนังหุ้มราชรถของเราเอง เราจึงให้เว้นไว้ เจ้าบังอาจกล่าวว่าเราสั่งฆ่าสุนัขผู้บริสุทธิ์ รู้หรือไม่ว่าใครเป็นตัวการ” “ข้าพระองค์รู้ว่าเป็นสุนัขในวังที่เป็นตัวการและสามารถพิสูจน์ได้พระเจ้าคะ” เมื่อพระราชาให้พญาสุนัขทำการพิสูจน์ พญาสุนัขจึงขอให้ราชบุรุษนำหญ้ามาขยำกับน้ำมันเปรียงแล้วคั้นเอาแต่น้ำ
  แล้วนำไปให้สุนัขในวังทุกตัวกิน “หือ..เหม็นจัง กินแล้วต้องได้คลื่นไส้กันมั่งหละ มาลูกๆ มากินกันเร็ว ทีนี้ก็จะได้รู้ละว่าใครเป็นตัวการ” “แหวะ..เหม็นจัง เอาอะไรมาให้เรากินเนี่ย แค่ได้กลิ่นก็จะอ๊วกแล้ว ใครจะไปกินลง อี๊ไม่เอา..ไม่กินๆ” “เหม็นๆๆ ไม่กินๆ” ราชบุรุษช่วยกันจับสุนัขทุกตัวในวังมากรอกยาใส่ปาก
 สุนัขเหล่านั้นเมื่อได้กลืนยาเข้าไป ก็สำรอกเอาชิ้นส่วนหนังหุ้มราชรถออกมามาจนหมด “แหวะ..เอาอะไรมาให้กินก็ไม่รู้ เหม็นฮะ อ๊วก....ออกมาเป็นแผ่นเลย” “เฮ้ย..นี่มันเบาะรถนี่น่า” พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรเห็นดังนั้นแล้ว ก็เข้าพระทัยทุกอย่างได้อย่างแจ่มแจ้ง พระองค์ทรงไว้วางพระทัยราชบุรุษมากเกินไป
  ทรงมีความลำเอียงเพราะรักและเมตตาสุนัขที่พระองค์เลี้ยงไว้ จนทำให้ต้องสร้างบาปกรรมมากมาย “เราขอเนรเทศสุนัขในวังออกไปให้หมด ยกเลิกการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทั้งปวงตั้งแต่บัดนี้” “พะยะคะ” “น่าสงสารสุนัขที่พวกเราฆ่ามันไปนะ” “ยกโทษให้เราด้วยนะ...เราผิดไปแล้ว” “สำหรับพญาสุนัขแม้จะเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่ก็มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีความอาจหาญยิ่งนัก
  กล้าเอาชีวิตของตนเองเสี่ยงกับความตายเพื่อความยุติธรรม เพื่อความสงบสุขของหมู่ญาติทั้งปวง จงมีความสุขจากการเลี้ยงดูของเราเถิด” พระเจ้าพรหมทัตโปรดให้บำรุงเลี้ยงสุนัขทั้งหลายด้วยอาหารอย่างดีตลอดไป และทรงห้ามมิให้ฆ่าสัตว์ทั้งหลายในกรุงพาราณสีด้วย พญาสุนัขจึงแสดงทศพิธราชธรรมถวายและขอร้องให้พระองค์ตั้งมั่นอยู่ในศีล 5
ให้บำรุงพระชนกชนนี ดำรงอยู่ในความไม่ประมาทตลอดไป “อร่อยจัง เพิ่งรู้ว่าอาหารในวัง อร่อยอย่างนี้นี่เอง มิเสียแรงที่อุตส่าห์เอาชีวิตรอดมาได้ อร่อยๆ” “โห้..กินจนจุกไปหมดแล้ว อิ่มสุดๆ” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระเจ้าพรหมทัตและข้าราชบริพารต่างประพฤติธรรมตามโอวาทของพญาสุนัข ครั้นละโลกไปแล้วต่างได้ไปบังเกิดในสรวงสวรรค์กันทั้งสิ้น

 
 
ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพรหมทัต ได้มาเป็น พระอานนท์
สุนัขที่เหลือ ได้มาเป็น พุทธบริษัททั้งหลาย
พญาสุนัข เสวยพระชาติเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
พระคาถาประจำชาดก
เยกุกกุรา ราชกุลสฺมิ วฑฺฒา
โกเลยฺยกา วณฺณพลูปปนฺนา
เตเม น วชฺฌา มยมสฺม วชฺฌา
นายํ สมจฺจา ทุพฺพลมาติกายํ
 
สุนัขเหล่าใดอันบุคคลเลี้ยงไว้ในราชตระกูล
เป็นสัตว์มีเจ้าของสมบูรณ์ด้วยสีสันและกำลัง
สุนัขเหล่านั้นไม่ถูกฆ่า พวกเรากลับถูกฆ่า
เมื่อเป็นเช่นนี้จะว่าเที่ยงตรงคือฆ่าไม่เลือกหน้าได้อย่างไร
กลับเป็นการฆ่าไม่ปราณีเฉพาะสุนัขที่ไม่มีเจ้าของต่างหาก
40  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ตินทุกชาดก-ชาดกว่าด้วยเรื่องอุบายหนีตาย เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2015, 03:58:32 pm
ตินทุกชาดก-ชาดกว่าด้วยเรื่องอุบายหนีตาย

 ในสมัยพุทธกาลองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหารเผยแผ่ธรรมะคำสอนให้แก่เหล่าพุทธสาวกได้ซึมซับในพระธรรมคำสอน ด้วยพระปัญญาบารมีของพระองค์ได้ทำให้เหล่าภิกษุในพระเชตวันต่างรู้สึกเลื่อมใสและเคารพนับถือเป็นยิ่งนัก ด้วยพระปัญญาบารมีของพระองค์นี่เองที่ทำให้เหล่าภิกษุรู้สึกเลื่อมใส
 และนำมาเป็นหัวข้อในการสนทนากันในธรรมสภา “พวกท่านเห็นด้วยกับเราไหมว่าพระศาสดานั้นชั่งเป็นผู้ที่มีพระปัญญาเฉียบแหลมน่าเลื่อมใสจริงๆ” “ใช่ๆๆ” “ไม่เพียงแต่เท่านั้นนะ นอกจากจะมีพระปัญญาที่เฉียบแหลมแล้วพระศาสดายังมีคำสอนที่สั่งสอนผู้คนมากมายมานักต่อนัก จนแม้แต่โจรอย่างองคุลีมานยังต้องกลับใจเลย คิดดูแล้วกัน”
  “เราเองก็ได้ยินเรื่องที่ท่านสอนสั่งพราหมณ์กูฏทันตะพราหมณ์หรือแม้แต่เหล่ายักษ์ พวกอาสวักยักษ์รวมไปถึงท้าวสักวเทวราช ก็ล้วนแต่เคยถูกพระศาสดาอบรมสั่งสอนมาแล้วทั้งสิ้น” “นั่นไงล่ะ พระศาสดาท่านทรงมีปัญญาเฉียบแหลมจริงๆ” พระศาสดาเมื่อเห็นเหล่าภิกษุจับกลุ่มสนทนากันอยู่ในธรรมสภา จึงตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า
  “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพวกเธอกำลังสนทนากันถึงเรื่องอะไรรึ” “อ้อ..พวกกระผมกำลังสนทนากันถึงเรื่ององค์พระศาสดาน่ะ...ขอรับ” “ใช่ขอรับ..พวกเรารู้สึกเลื่อมใสและก็ทึ่งในพระปัญญาของพระองค์ยิ่งนัก” “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในการนี้เท่านั้นหรอกนะ..ที่เรามีปัญญาเฉียบแหลมแม้ในอดีตกาลสมัยครั้งเมื่อญาณของเรายังไม่แก่กล้า
    เราก็เป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมเหมือนกัน” เมื่อทราบดังนั้นเหล่าภิกษุได้กราบทูลวิงวรให้ทรงประกาศบูรพกิริยาได้ทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณนำชาดกเรื่องตินทุกชาดกมาตรัสเล่าดังนี้ “กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ ป่าแห่งหนึ่งอันอุดมสมบูรณ์ในหิมวันตประเทศ พระโพธิสัตว์ได้กำเนิดอุบัติเป็นพญาวานร มีบริวารเป็นฝูงวานรมากมายถึง 8 หมื่นตัว
 ใกล้หิมวันตประเทศนั้นเอง มีหมู่บ้านชายแดนอยู่หมู่บ้านหนึ่ง หมู่บ้านนี้บางครั้งก็มีคนอาศัยอยู่ บางครั้งก็ไม่มี โดยในลานกลางหมู่บ้านนั้น มีต้นมะพลับอยู่ต้นหนึ่ง มีกิ่งก้านสมบูรณ์มีผลอร่อย เหล่าฝูงลิงมักจะมากินผลมะพลับนั้นในยามที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน “เจี๊ยกๆๆๆ มะพลับเนี่ย มันช่างอร่อยจนหยุดกินไม่ได้เลยจริงๆ แหมๆๆๆ ฮัมๆๆ
 โอกาสทองตอนที่พวกมนุษย์ไม่อยู่แบบนี้ พวกเราต้องหม่ำให้พุงกางไปเลย” “รีบๆ กินกันเถอะเดี๋ยวพวกมนุษย์มา เราจะซวยกันซะก่อน” ครั้นต่อมาเมื่อถึงคราวที่ต้นมะพลับออกผล หมู่บ้านนั้นก็กลับมีมนุษย์มาอาศัยอยู่อีก พวกมนุษย์ได้ทำการสร้างบ้านเรือนและปลูกต้นอ้อขึ้นเป็นจำนวนมาก เหล่าฝูงลิงนั้นหลังจากไม่ได้กินผลมะพลับมาพักใหญ่
 ก็บังเกิดความอยากขึ้น แต่ก็ไม่แน่ใจว่าหมู่บ้านนั้นมีมนุษย์กลับเข้ามาพักอาศัยอยู่หรือยัง “เอ้..แต่จะว่าไปนี่มันก็คงเป็นช่วงที่มะพลับออกผลดกแล้วน่ะ หือ..พูดแล้วก็ชักเปรี้ยวปาก อยากจะกลับเข้าไปในหมู่บ้านเด็ดกินซะจริงๆ” “ซี้ซัวน่ะ กลับเข้าไป เดี๋ยวก็ไปเจอกับพวกมนุษย์ เรามีหวังซวยแน่ๆ เอางี้ดีกว่า ข้าว่าเราส่งสายสืบเข้าไปดูก่อนดีกว่า
 ว่าตอนนี้ในหมู่บ้านนั้นนะมีคนมาอาศัยอยู่หรือเปล่า” “อืม....ดีเหมือนกัน เดี๋ยวข้าเข้าไปดูเอง ในฝูงเรานะ ข้าวิ่งเร็วที่สุด เอาตัวรอดได้อยู่แล้ว พวกเราเฝ้าอยู่ที่นี่แล้วกัน” “งั้นฝากเจ้าด้วยแล้วกัน” เมื่อลิงตัวนั้นมาถึงหมูบ้านก็พบว่าผลมะพลับออกผลเต็มต้นเต็มต้นจริงดังที่พวกตนคาดการณ์ไว้ แต่ปัญหาก็คือหมู่บ้านร้างที่พวกตนเคยมาเด็ดกินอย่างสุขใจนั้น
  บัดนี้กลับมีมนุษย์มาอาศัยอยู่เต็มไปหมด “โธ่เอ๋ย!...บ้าที่สุด พวกมนุษย์มันดันกลับมาอาศัยกันตอนนี้ซะได้ ฮึย!..เดี๋ยวเผาไล่ที่ซะเลย” เมื่อเจ้าลิงสายสืบกลับมาถึงฝูง ก็รีบรายงานให้พรรคพวกวานรทราบโดยทันที เหล่าฝูงวานรได้ฟังดังนั้นก็เกิดความเสียดายที่ไม่ได้เข้าไปเด็ดกินผลลูกมะพลับได้ ทั้งๆ ทีลูกมะพลับกำลังออกผลเต็มต้น
  “ปัดโธ่เว้ย..เซ็งเป็ดจริงๆ อย่างงี้เราจะทำยังไงกันดีละเนี่ย ถ้าปล่อยให้ลูกมะพลับเน่าคาต้นโดยไม่ทำอะไรไม่ได้หรือไง ไม่สนละ ตายเป็นตาย ข้าว่าพวกเราแอบไปกินกันดีกว่า” “เฮ้ย..เจ้าอย่าหงุนหันซี เอางี้ดีกว่าเราไปปรึกษาท่านพญาวานรกันดีกว่าไหม๊.ว่าควรจะทำอย่างไรกันดี” พญาวานรนั้นเปี่ยมด้วยสติปัญญา
  เมื่อได้ฟังดังนั้น จึงค่อยๆ คิดพินิจก่อนจะถามลิงสายสืบว่า “ตอนที่เจ้าไปดูนั้น ที่หมู่บ้านนั้นมีคนอยู่หรือไม่” “มีจ๊ะ ท่านพญาวานร” “อย่างงั้นรึ เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ข้าว่าพวกเราอย่าเพิ่งไปกันเลย พวกมนุษย์นั้นนะ เจ้าเล่ห์เป็นอย่างมาก ขืนไปอย่างนี้จะเป็นอันตรายต่อพวกเราได้” “เอาอย่างนี้ไหม๊ ท่านพญาวานร เราแอบไปกินตอนที่พวกมนุษย์หลับจะดีไหม๊”
  “ข้าก็เห็นเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน คืนนี้ยามที่พวกมนุษย์หลับกันหมดแล้ว พวกเราค่อยถือโอกาสเข้าไปในหมู่บ้านกินลูกมะพลับกันก็แล้วกัน” เหล่าฝูงลิงตกลงทำตามที่พญาวานรแนะนำ พวกมันต่างพากันลงจากป่าหิมพานต์ มาดักคอยอยู่บนแท่นหินใหญ่ไม่ไกลจากหมู่บ้านเท่าใดนัก เพื่อเฝ้ารอคอยเวลาที่พวกมนุษย์จะหลับ
 “พวกเรารออยู่ตรงนี้แหละ รอให้พวกมนุษย์หลับแล้วค่อยย่องลงไปเด็ดลูกมะพลับกินกัน “โอ๊ย...หิวจนไส้จะขาดอยู่แล้ว เมื่อไหร่จะนอนๆ กันซักทีเนี่ย พวกมนุษย์เนี่ยนอนดึกกันจริงๆ ไม่กลัวตาโหลกันหรือไงเนี่ย” หลักจากคอยจนตะวันลับขอบฟ้า เมื่อมั่นใจว่าพวกมนุษย์ต่างพากันเข้านอนหมดแล้ว พญาวานรจึงอนุญาตให้ฝูงลิงกรูกันไปเด็ดลูกมะพลับกินได้
 ฝูงลิงพากันกินผลมะพลับอย่างอะเร็ดอร่อยเพื่อให้สมกับที่รอคอยมาทั้งวันรอคอยมาทั้งวัน “อร่อยจริงๆ อร่อยอย่างนี้ต้องห่อกลับไปกินที่ป่าซะหน่อย ฮัมๆๆๆ” “ไอ้เจ้านี่มันลิงหรือหมูเนี่ย..ตระกละตะกรามเหลือเกิน” แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ขณะที่พวกฝูงลิงกำลังเด็ดกินลูกมะพลับกันอย่างอะเร็ดอร่อยนั้น
 ก็ได้มีมนุษย์คนหนึ่งออกจากบ้านมาหามุมเหมาะเพื่อจะถ่ายอุจจาระ โดยที่พวกฝูงลิงมิทันได้รู้เลยว่ามีมนุษย์คนหนึ่งเดินออกจากบ้านมาแล้ว เพราะมัวแต่กินลูกมะพลับจนไม่สนใจอะไร “อูย..มาปวดอะไรกลางดึกแบบนี้ วันเนี่ยยิ่งกลัวๆ ผีอยู่ โอ้ย..เอาว่ะ เอามันมุมนี้แหละ มุมสบายๆ ถ่ายสะดวก” ทันใดนั้นเองชาวบ้านผู้นั้นก็เห็นฝูงลิงจำนวนมากกำลังเด็ดกินลูกมะพลับเต็มต้นไปหมด
 “เฮ้ย..นี่มันลิงนี่หว่า..โห้..ลิงเป็นหมื่นๆ ตัวเลย นี่มันมาแอบปีนต้นมะพลับกินกันหรือเนี่ย หนอยแน่ะบังอาจมาก..พวกเราๆๆ ตื่นเร็ว มีลิงแอบมาขโมยกินลูกมะพลับเราแล้ว ตื่นเร็วๆ” “ซวยละซิ มีคนมาเห็นแล้ว แย่แน่ๆ เลยพวกเรา” “ทำยังไงดีละทีนี้ พวกเราไม่รอดแน่ๆ เลย” “ฮัมๆๆ อร่อยจริงๆ เลย” “สุดยอดจริงๆ เลยนะเจ้า กำลังจะตายอยู่แล้ว ยังกินได้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เฮ้อ..”
  จากนั้นไม่นานพวกชาวบ้านที่ได้ยินเสียงก็รีบตื่นขึ้น ต่างหยิบฉวยอาวุธติดมือมาทั้ง ธนู ลูกศร ไม้และก้อนหินต่างๆ แล้วแต่ใครหยิบฉวยอะไรได้ แล้วพากันยืนล้อมรอบอยู่รอบๆ ต้นมะพลับหมายมั่นจะเล่นงานฝูงลิงที่บังอาจมาแอบกินลูกมะพลับยามดึก “หนอย..มากันยกฝูงเลยนะ ลงมาเดี๋ยวนี้นะเจ้าลิง พ่อจะจับเฉือนเรียงตัวเลยเชียว..ฮึ”
 “จะเฉือนได้ยังไง..เจ้าถือก้อนหินมานะ ไม่ได้ถือมีด แล้วมันจะเฉือนได้ยังไง” “ข้าแค่พูดเปรียบเปรยเฉยๆ เข้าใจมั๊ยพูดเปรียบเปรย เซ็งเป็ดจริงๆ เลย” เหล่าฝูงลิงกว่า 8 หมื่นตัวในตอนนี้ต่างก็อกสั่นขวัญแขวนด้วยความกลัวตายจนลนลานทำอะไรไม่ถูก “แย่แล้วๆๆ ทำไงดีเนี่ยเรา เราต้องตายกันแน่ๆ เลย” “นั้นนะสิ โถ..ไม่เลยพวกเรา ไม่น่ากินกันเพลินเลย โถๆๆ”
 พญาวานรเมื่อเห็นฝูงลิงอกสั่นขวัญแขวนเช่นนั้น ก็หาคิดวิธีปลอบประโลมฝูงลิง มิให้ตกอยู่ในอาการตกอกตกใจมากเกินไป ด้วยความกลัวว่าฝูงลิงจะหัวใจวายตายกันหมดเสียก่อน “อย่าเพิ่งกลัวไปเลยพวกเรา พวกมนุษย์นั้นนะ มีอะไรให้ทำอีกเยอะแยะ ปล่อยให้เขายืนรอพวกเราอย่างงั้นไปเรื่อยๆ ถ้าเราไม่ลงไปซะอย่าง
 พวกเขาก็ขึ้นมาไม่ได้หรอก ตอนนี้เก็บผลไม้กินกันต่อไปเถอะ รอไปสักพักเดี๋ยวพวกมนุษย์ก็ไปทำอย่างอื่นเองนั้นแหละ” เมื่อเห็นว่าสภาพจิตใจของเหล่าฝูงลิงดีขึ้น พญาวานรก็สั่งให้เหล่าฝูงลิง นับจำนวนลิงในฝูง ว่ายังอยู่กันครบถ้วนดีหรือไม่ แต่เมื่อนันไปนับมา ปารกฎว่ามีลิงตัวหนึ่งหายไปจากฝูง “แอะ..นี่พวกเราหายไปตัวหนึงนี่น่า เจ้าเสนกะ ไง มันหายไปไหนเนี่ย?”
 “ห๊า เจ้าเสนกะ หลานของท่านพญาวานรนะหรือหายไปไหนเนี่ย?” “หรือว่า หรือ หรือ เสนกะจะเผลอถูกพวกมนุษย์จับตัวไป ฮัมๆๆๆ อร่อยจริงๆ” “ห่วงไปกินไป ข้าละซึ้งจริงๆ” แต่พญาวานรนั้นทราบดีว่าการที่เสนกะหายไปนั้นมิได้เกิดจากการที่เสนกะถูกจับตัวไป พญาวานรเชื่อว่าอีกไม่นานเสนกะจะต้องหาวิธีมาช่วยพวกตนจนได้
 “พวกเจ้าไม้ต้องกลัวไปหรอก การที่เสนกะไม่อยู่ ข้าเชื่อว่าไม่ได้หมายความว่าเขาจะถูกจับไป พวกเรารอกันสักพัก ข้าว่าเสนกะต้องหาทางช่วยพวกเราได้แน่ๆ” “จริงหรือท่านพญาวานร ข้ากลัวจนทำอะไรไม่ถูกแล้วเนี่ย ฮัมๆๆ พูดไป อร่อยไป” “นี่กลัวแล้วรึเนี่ย กินจนลูกมะพลับจะหมดต้นอยู่แล้วเจ้าน่ะ” เสนกะ หลานของพญาวานรนั้นหาได้เดินทางมากับฝูงลิงเหล่านี้ด้วยไม่
 แท้จริงแล้วเสนกะกำลังหลับอยู่ในขณะที่ฝูงลิงเดินทางมายังหมู่บ้าน เสนกะตื่นขึ้นมาก็ต้องแปลกใจเมื่อไม่พบลิงตัวอื่นๆ ในป่าเลย “อ้าว..นี่ลิงตัวอื่นไปไหนกันหมดเนี่ย ทำไมป่าหิมพานต์วันนี้มันเงียบอย่างนี้ นี้มันเกิดอะไรขึ้นเนี่ย..” เสนกะพยายามมองหาเบาะแสเพื่อนลิงว่าหายไปไหน จนในที่สุดก็พบเห็นรอยเท้าฝูงลิงจำนวนมาก
ทิ้งรอยเท้ามุ่งหน้าไปยังหมู่บ้านร้าง เสนกะทราบโดยทันทีว่า ฝูงลิงต้องมุ่งหน้าไปกินลูกมะพลับกินเป็นแน่ “ดูจากรอยเท้าแล้ว สงสัยพวกเราจะไปกินมะพลับที่ต้นมะพลับในหมู่บ้าน รีบตามไปแจมดีกว่า มัวแต่นอนเพลินป่านนี้หมดต้นหรือยังก็ไม่รู้” เสนกะเดินตามรอยเท้ามาเรื่อยๆ จนถึงหมู่บ้าน เมื่อเห็นชาวบ้านจำนวนมากถืออาวุธยืนเรียงรายล้อมรอบต้นมะพลับ
 ก็รู้ได้ทันทีว่าต้องเกิดเหตุร้ายขึ้นกับฝูงลิงพวกของตนเป็นแน่ “ไม่ได้การละ ขืนปล่อยไว้อย่างนี้ พวกเราต้องเสร็จพวกมนุษย์แน่ๆ อย่างนี้ต้องหาวิธีเบี่ยงเบนความสนใจพวกมนุษย์ เพื่อให้พวกเราบนต้นมะพลับหนีลงมาได้ เอางี้ดีกว่า” เสนกะคว้าชุดเด็กแถวนั้นเอามาสวมใส่แล้วปลอมเป็นเด็กชาวบ้านเดินเข้าไปในเรือนหลังหนึ่งซึ่งมีหญิงแก่กำลังนั่งกรอด้ายอยู่
 “ยายครับ ข้างนอกมืดเป็นบ้าเลย ผมอยากไปเข้าสวมนะครับ ผมขอยืมคบไฟของยายหน่อยได้ไหมครับ?” “เอาสิไอ้หนู โน่นแนะหยิบไปได้เลย แล้วค่อยมาคืนยายตอนหลังก็ได้” เมื่อได้คบไฟมาแล้ว เสนกะก็รีบวิ่งไปที่บ้านที่อยู่ต้นลม แล้วก็นำคบไฟสุมบนหลังคาเผาบ้านหลังนั้น แรงลมพัดกระพือส่งให้ไฟลุกโชนจนเผาบ้านลุกโชติช่วงอย่างรวดเร็ว
   ชาวบ้านที่ยืนล้อมอยู่รอบๆ ต้นมะพลับเห็นดังนั้น ก็รีบผละจากฝูงลิง รีบวิ่งมาช่วยดับไฟโดยทันที “เฮ้ย..เร็วพวกเรา รีบๆ มาช่วยกันดับไฟเร็วประเดี๋ยวมันจะลามเผาไหม้กันทั้งหมู่บ้านกันซะก่อน ชั่งพวกลิงมันก่อน มา มา มะ มาช่วยกันดับไฟเร็ว” เมื่อพวกมนุษย์วิ่งไปดับไฟกันหมด ฝูงลิงจึงรีบฉวยโอกาสนี้หนีลงมาจากต้นมะพลับแต่ทุกตัวก็ไม่ลืมที่จะหยิบลูกมะพลับติดตัวมาตัวละ 1 ลูก
 เพื่อมาฝากให้กับเสนกะที่มาช่วยเหลือพวกตนด้วย “เร็วๆ เข้าพวกเรารีบหนีกันเร็ว ก่อนที่พวกมนุษย์จะดับไปเสร็จ” “งานนี้ต้องขอบใจเสนกะ จริงๆ อย่างนี้ต้องหยิบลูกมะพลับติดไม้ติดมือไปฝากซะหน่อย” “นี่ๆๆ กินให้หมดกันก่อนก็ได้แล้วค่อยพูด จริงๆ เลยเจ้านี่ กินจนพุงกางแล้วยังไม่หยุดกินอีก เฮ้อ..” พระศาสดาหลังจากนำพระธรรมเทศนาเรื่องนี้มาชี้แจงแล้วก็ทรงประชุมชาดกว่า

 
เสนกะหลานพญาวานรในครั้งนั้น ได้เป็น มหานามสากยะในครั้งนี้
ฝูงลิงได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนพญาวานร คือเราตถาคตในชาตินี้แล
หน้า: [1] 2 3 ... 7