ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หริตมาตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีอิสรภาพ  (อ่าน 2465 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
หริตมาตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีอิสรภาพ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 03:56:46 pm »

หริตมาตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีอิสรภาพ

 ณ แคว้นโกศล พระเจ้ามหาโกศลได้พระราชทานพระธิดาผู้มีสิริโฉมงดงามให้กับพระเจ้าพิมพิสาร อีกทั้งยังได้ประทานหมู่บ้านกาสีเป็นข้าทรงสนานแก่พระราชธิดาด้วย ทั้งสองพระองค์ครองรักกันอย่างมีความสุข ต่อมาพระเทวีก็ให้กำเนิดบุตรชายน่ารัก น่าเอ็นดู
ราษฎรต่างปลื้มปีติกันทั่วหน้า ทารกน้อยผู้นี้เมื่อเติบใหญ่ก็เป็นที่รู้จักกันในนามพระเจ้าอชาตศัตรู และแล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูกระทำปิตุฆาตกรรมปลงพระชนม์พระบิดาของตนเอง ไม่นานนักพระเทวีก็สิ้นพระชนม์เพราะความสิเน่หาต่อพระเจ้าพิมพิสาร
พระเจ้าอชาตศัตรูเมื่อพระชนนีสิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ทรงครองบ้านเมืองนั้นอยู่ตามเดิม พระเจ้าโกศลบุตรของพระเจ้ามหาโกศล ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าของพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงโกรธแค้นพระเจ้าอชาตศัตรูมาก เป็นสาเหตุให้พระเจ้าโกศลและพระเจ้าอชาตศัตรูเปิดศึกสงครามแม้จะเป็นสายเลือดเดียวกัน
“เราจักไม่ให้หมู่บ้านอันเป็นของตระกูลเราแก่โจรผู้ฆ่าบิดาของตนเองเป็นอันขาด” สงครามระหว่างพระเจ้าโกศลและพระเจ้าอชาตศัตรูเนินนานนัก บางคราพระเจ้าน้าก็ชนะ บางคราพระเจ้าหลานก็ชนะ สับเปลี่ยนกันอยู่อย่างนี้ไม่รู้จักหมดสิ้น
คราวใดที่พระเจ้าอชาตศัตรูทรงชนะก็ทรงโสมนัสปักธงชัยบนรถเข้าสู่พระนครด้วยยศยิ่งใหญ่ แต่ถ้าคราวใดปราชัยก็ทรงโทมนัสเสด็จเข้าสู่พระนครโดยไม่ให้ใครๆ ทราบเลย เรื่องของพระเจ้าอชาตศัตรูได้กลายเป็นมาเป็นหัวข้อสนทนาของชาวบ้านชาวเมืองตลอดจนภิกษุสงฆ์
  “ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรูนะ ทรงชนะพระเจ้าน้าแล้วดีพระทัย ครั้นทรงปราชัยก็ทรงโทมนัส” “นั่นนะซิ เฮ้อ เป็นอย่างนี้เรื่อยไป ไม่รู้จักจบจักสิ้นกันซะที” ครั้งนั้นองค์พระศาสดาเมื่อได้ยินหัวข้อที่เหล่าภิกษุสนทนาก็ได้ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น
   แม้กาลก่อนพระเจ้าอชาตศัตรูนั้น ทรงชนะแล้วก็ดีพระทัย ทรงปราชัยก็ทรงโทมนัสเหมือนกัน แล้วพระองค์ก็ทรงตรัสเล่า หริตมาตชาดกดังนี้ ณ แม่น้ำท้ายป่าใหญ่แห่งหนึ่ง ครั้งเมื่อธรรมชาติยังอุดมสมบูรณ์ ทั้งสัตว์ป่าและชาวบ้านต่างใช้ชีวิตพึ่งพิงอยู่กับธรรมชาติ
  สมัยนั้นชาวบ้านจะดักลอบจับปลาในแม่น้ำใช้เป็นอาหารเพื่อประทังชีวิต “พี่จ๊ะ วันนี้เราวางลอบไว้กี่ที่ดีจ๊ะพี่” “พี่ว่าจะวางไว้สัก 2-3 ที่ก็พอจ๊ะ เอาไว้กินแค่เย็นนี้ก็พอ” “ดีจ๊ะ เดี๋ยวตอนเช้าเราก็กินน้ำพริกผักจิ้มเอาก็ได้ เวลาผ่านไปลอบที่ชาวบ้านมาวางไว้ก็มีปลามาติดอยู่เป็นจำนวนมาก
 งูตัวหนึ่งเลื้อยผ่านมาเห็นปลาติดลอบอยู่ ก็คิดแผนการร้ายหวังเข้าไปกินปลาในลอบนั้น “ลาภปากแล้วไหมละ อยู่ๆ ก็มีปลามาติดตั้งเยอะแยะ มา มะ มาเป็นอาหารของข้าซะดีๆ ฮ่ะๆ ฮะ ไม่ต้องเหนื่อยตามไล่อีกแล้ว ฮิ ฮิ”
  เหล่าฝูงปลาที่อยู่ในลอบเมื่อเห็นว่างูเลื้อยมาที่ลอบก็แตกตื่นหวาดกลัว “ว้ายพวกเราดูซิงูตัวนั้นนะ มันต้องตั้งใจมากินพวกเราแน่ๆ เลย มันเลื้อยเข้ามาใกล้แล้ว” “แล้วเราจะหนียังไงดี โธ่..ติดลอบแล้วยังซวยซ้ำมาเจองูอีก” “พวกเจ้าอย่าแตกตื่นไปเลย
พวกเรามีกันตั้งหลายตัว ทำไมต้องกลัวแค่งูตัวเดียวด้วย ถ้าพวกเราช่วยกัน งูตัวเดียวทำอะไรเราไม่ได้หรอก” เจ้างูหวังได้ลิ้มรสกับอาหารมื้อใหญ่ มันเลื้อยเข้าไปใกล้ลอบแล้วเอ่ยปากกับปลาที่ติด เจ้าปลาทั้งหลายไหนๆ เจ้าก็ต้องเป็นอาหารมนุษย์แล้ว
  ยังไงเสียก็เป็นอาหารของเราสักตัวสองตัวเถอะ เฮอๆ เฮ่อ” “เจ้างูเอ๋ย ทำไมพวกเราจะต้องยอมเป็นอาหารให้เจ้าด้วย พวกเราก็รักชีวิตของเราเหมือนกัน” ที่ริมฝั่งมีกบเขียวตัวหนึ่งนอนอยู่ มันเห็นเหตุการณ์นั้นโดยตลอด แต่ก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวแต่อย่างใด
   “โอ้ว..เจ้างูตัวนี้เนี่ยกิเลสหนาบังตา จนมองไม่เห็นหายนะของตัวเองแท้ๆ” ด้วยความหิวเจ้างูไม่ฟังเสียงพูดใดๆ ของพวกปลา แต่จะลิ้มรสปลาเหล่านั้นอยู่อย่างเดียว จึงเลื้อยเข้าไปในลอบ หวังกัดกินปลานั้นให้หายอยาก” “มามะ ปลาทั้งหลายอย่าพูดมากไปเลย มาเป็นอาหารของข้าซะดีๆ
หิวเต็มแก่แล้ว อูย..ปวดท้อง” มิทันที่เจ้างูจะได้ลิ้มรสปลาดั่งใจอยากเหล่าฝูงปลาที่อยู่ในลอบก็รุมกัดงูจนเป็นแผลเหวอะหวะไปหมด “พวกเราช่วยกันกัดเจ้างูตัวนี้เถอะ อย่าปล่อยให้มันมาทำร้ายพวกเราได้” “เป็นไงละเจ้างู อยากกินปลามากใช่มะ นี่..โดนปลากัดซะเลย”
  “หายอยากเลยไหม๊ละ ฮ้าๆ ฮ่า” “โอ๊ย..เจ็บ เจ็บ โอ๊ย..อย่ากัดข้าซิ ใครก็ได้ช่วยที ท่านกบเขียว ดูซิพวกปลาในลอบมันรุมกัดข้าใหญ่แล้ว โอ้ย ท่านช่วยข้าหน่อยเถอะ โอ้ย...” “ข้าเห็นแล้วแต่ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรนี่ ทำไมเราต้องช่วยท่านด้วยละ” “เฮอะๆๆ เป็นยังไงละ สมน้ำหน้าแม้แต่กบก็ไม่ช่วยเจ้า
 ข้าก็เตือนเจ้าแล้ว ใครจะยอมเป็นอาหารให้เจ้าง่ายๆ เอ้าพวกเราช่วยกันรุมกัดเจ้างูอีกที อย่าปล่อยให้มันหนีไปได้” “โอ๊ย..ท่านกบเขียวทำไม่ท่านพูดเช่นนั้นละ ท่านก็เห็นอยู่ว่าข้าเป็นฝ่ายที่ถูกรังแก ดูเจ้าพวกปลานั่นซิ มันตั้งหลายตัวรุมกัดข้าอยู่ตัวเดียวเลย
 เห็นอย่างนี้แล้วท่านยังไม่ช่วยข้าอีกเรอะ” เจ้างูได้รับความทุกข์ทรมานตะโกนขอความช่วยเหลือจากกบ กบเขียวยังคงวางเฉย กระโดดเข้ามาใกล้แล้วพูดเตือนสติเข้างู “ที่ข้าพูดว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร และช่วยอะไรเจ้าไม่ได้นะ เพราะถ้าเกิดมีปลาสักตัวหลงเข้าไปในถิ่นของเจ้า
  ปลาตัวนั้นก็คงถูกพวกเจ้ารุมกัดกินเหมือนกัน อย่างเนี่ยข้าถึงช่วยพวกเจ้าไม่ได้” “เจ้าพูดอย่างนั้นมันก็ถูก แต่จะปล่อยให้ข้าโดนเจ้าพวกปลารุมกัดอยู่อย่างนี้นะเรอะ โอ้ย เจ็บๆ เจ็บเหลือเกิน” “เป็นไงละเจ้างูสมน้ำหน้า ไม่มีใครช่วยเจ้าหรอก ถ้าพวกเราไม่รุมกัดเจ้า ก็คงโดนเจ้ากัดกินเป็นอาหารแน่ เป็นใครก็รักชีวิตของตัวเองเหมือนกัน”
กบเขียวมองดูเจ้างูที่โดนฝูงปลากัดเป็นแผลจนเหวอะหวะ มันถอนหายใจแล้วก็กระโดดไปที่อื่น ทิ้งให้งูอยู่แก้ปัญหาที่ก่อเอาไว้ “เฮ้อ เจ้างูเอ้ย เจ้าทำตัวของเจ้าเองแท้ๆ เราคงช่วยอะไรเจ้าไม่ได้หรอก” “เห็นไหมละเจ้างู เจ้าเป็นฝ่ายผิดจริงๆ ไม่ใช่พวกเรา” เมื่อกบเขียวจากไปแล้วฝูงปลาก็กรูเข้ามากัดกินงูที่จะเข้ามาทำร้ายพวกตนถึงในลอบ เจ้างูทนความเจ็บปวดไม่ไหวสิ้นใจตายในลอบนั่นเอง

 
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี่มาแสดงแล้ว แล้วทรงประชุมชาดกว่า
งูในครั้งนั้น กำเนิดเป็น พระเจ้าอชาตศัตรู
กบเขียว เสวยพระชาติเป็น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
Re: หริตมาตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีอิสรภาพ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2015, 04:15:57 pm »
 st12 st12 thk56 thk56
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ