ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญจาวุธกุมาร-ชาดกว่าด้วยการทำความเพียร  (อ่าน 2351 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์

ปัญจาวุธกุมาร-ชาดกว่าด้วยการทำความเพียร

 ขณะเมื่อพระพุทธศาสดาประทับในมหาวิหารทรงแจ้งในพระญาณว่า ยังมีภิกษุเกียจคร้านอาศัยครองเพศสมณะไปวันๆ ทรงตักเตือนด้วยพุทธโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุ แม้ในกาลก่อนบัณฑิตทั้งหลายกระทำความเพียร ในที่ที่ควรประกอบความเพียร ก็ยังบรรลุถึงราชสมบัติได้” ทรงระลึกชาติของพระองค์ด้วยชาดกเรื่องหนึ่งส่งเสริมพุทธโอวาทเกี่ยวกับความเพียรนั้น
 อดีตกาลนานมาในแผ่นดินพระเจ้าพรหมทัตนั้น กรุงพาราณสีร่มเย็นเป็นสุขด้วยราชธรรม ชาวเมืองใกล้ไกลเดินทางค้าขายไปมาหาสู่กันอย่างปลอดภัยเป็นอันดี ทุกคนอาศัยเส้นทางที่ตัดผ่านทุ่งโล่ง ผ่านหมู่บ้านมากมายไปยังพรหมแดนเมืองพาราณสี ไม่มีใครที่กล้าเสี่ยงเดินออกนอกเส้นทางผ่านป่าดงดิบที่ถึงแม้จะเป็นเส้นทางลัดเลยสักคน
  เจ้าชายเมืองพาราณสี นาม “ปัญจาวุธกุมาร” พระราชโอรสองค์เดียวของพระเจ้าพรหมทัต หลังจากได้สำเร็จการเรียนศิลปะวิทยาการจากสำนักทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลาแคว้นคันธาระแล้ว ก็ได้เดินทางกลับพระนครเพียงลำพังพร้อมอาวุธประจำกาย ด้วยความปรารถนาให้ถึงกรุงพาราณสีโดยเร็ว
 เพื่อจะได้เข้าเฝ้าพระราชบิดาก่อนตะวันตกดิน เจ้าชายจึงทรงเลือกใช้เส้นทางลัดผ่านป่าดงดิบเข้าไปยังกล้าหาญมิเกรงกลัวอันตรายใดๆ “อืม..ใช้เส้นทางลัดดีกว่า จะได้ไปเข้าเฝ้าพระบิดาได้โดยเร็ว” เจ้าชายปัญจาวุธกุมาร ทรงมีความวิริยะและสติปัญญาเป็นเลิศ มีศิลปะวิทยาการชั้นสูงทางอาวุธทั้งที่อยู่ในวัยหนุ่มเพียง 18_ปี เท่านั้นเมื่อครั้งประสูติโหรหลวงได้ถวายคำทำนายว่า
 "พระโอรสจะเป็นบุรุษที่เลิศทางปัญญา และเชี่ยวชาญศาสตราวุธอย่างไร้ผู้เทียมทาน “ข้าพเจ้าขอถวายคำทำนายว่า พระโอรสจะเป็นบุรุษที่เปี่ยมล้นไปด้วยปัญญา และความสามารถทางศาสตราวุธอย่างหาผู้เทียมทานได้ยาก พระเจ้าค่ะ” ความสามารถด้านศาสตราวุธของเจ้าชายคือ ทรงยิงธนูได้ราวห่าฝน พุ่งหอกซัดได้ไม่พลาดเป้า
  ตีกระบองได้หนักดุจทะลายขุนเขา และใช้พระขันธ์ได้ดีเท่ายอดขุนศึกผู้นำทัพ ด้วยความสามารถเหล่านี้จึงไม่ได้ทรงหวั่นเกรงต่ออันตรายใดๆ ในป่าดงดิบที่จะผ่านเข้าไป แม้จะทรงทราบมาก่อนแล้วว่า ไม่เคยมีผู้ใดที่เข้าไปในป่าดงดิบนี้แล้วรอดชีวิตออกมาได้ ระหว่างทางพระองค์ทรงพบกับพ่อค้าวาณิชที่ต่างห้ามปรามด้วยความห่วงใย
 “อย่าเข้าไปเลยเชื่อเราเถอะ ยอมเดินอ้อมภูเขาลูกนี้สัก_3-4_วันจะปลอดภัยกว่า” “มันคือป่ามรณะ ท่านไม่รู้หรือ เราไม่เคยเห็นใครผ่านออกไปได้เลยนะ” “ใช่ ท่านเปลี่ยนใจเสียเถอะ” “ขอบคุณนะ ทั้งสองที่ห่วงใยน่ะ ข้าสัญญาว่าจะไม่ประมาทต่อสิ่งที่อยู่ภายในป่าข้างหน้านั่น อย่าได้ห่วงเลย”
 เมื่อห้ามปรามไม่ได้ กองพ่อค้าวาณิชจึงต้องจำยอมและเดินทางจากไป  “ข้าเป็นศิษย์สำนักทิศาปาโมกข์ มีวิชาของครูบาอาจารย์คุ้มครอง ข้าไม่ขอยอมแพ้ต่ออุปสรรคใด ๆ” เจ้าชายแห่งพาราณสีเร่งเดินทางลงจากทุ่งหญ้ามายังประตูป่า ทรงพบว่ามันเป็นป่าทึบที่เงียบเชียบผิดไปจากป่าทั่วไป
 พระองค์จึงผ่านประตูป่าเข้าไปด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท การเดินทางผ่านป่าแห่งความตายเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องใช้พระขันธ์ตัดกิ่งหนามบ้าง เถาวัลย์บ้าง หลายครั้งทรงถูกกิ่งไม้และหนามทิ่มตำจึงเกิดบาดแผล แต่เจ้าชายก็ไม่ได้ทรงย่อท้อจนกระทั่งถึงป่าโปร่งสิ่งที่ได้เห็นทำให้เจ้าชายตกใจเป็นอย่างมาก
 “ฮ่า! บ้านต้นไม้  ใครกันที่มีพละกำลังมากขนาดนี้ ผืนดินก็ราบเรียบเหมือนโดนสิ่งที่มีน้ำหนักกดทับบ่อย ๆ เฮ้ย! ไม่น่าเชื่อเจอเท้ายักษ์ที่แท้ตัวอันตรายในป่านี้ก็คือยักษ์นั่นเองเหรอ” เมื่อพระโอรสปัญจาวุธกุมารรู้ว่าในป่านี้มียักษ์ จึงตั้งสติมั่นคงไว้ รีบมองสำรวจไปรอบๆ ด้าน
  ภาพที่เห็นคือกระดูกเศษเนื้อสัตว์และมนุษย์ ถูกแทะกินทิ้งไว้มากมาย มีทั้งของเก่าเป็นซากค้างปีและซากใหม่ที่ยังสดๆ เหม็นกลิ่นคาวคละคลุ้ง “คุณพระช่วย! นั่น! นั่น! นั่นมันยักษ์กินคนนี่”  “ฮ่าๆๆๆ ไอ้มนุษย์น้อย ฮ่าๆๆๆ ผ่านเข้ามาให้ข้ากินอีกคนแล้ว เหอะ ฮ่า ๆๆๆ”
 “ฝันไปเหอะ เจ้าไม่มีทางได้กินเราหรอก”  “จะสู้เหรอ เหอะ ฮ่าๆๆๆ ข้าคือสิเลสโลม มีขนเป็นเกราะกายสิทธิ์ เจ้าจะทำอะไรข้าได้ เหอะ ฮ่าๆๆๆ ไม่มีอาวุธใด ทำอันตรายข้าได้” “งั้นก็ลองชิมศรเหล็กอาบยาพิษของทิศาปาโมกข์หน่อยละกัน” “ห๊า!” ลูกธนูของเจ้าชายไม่สามารถทำอะไรเจ้ายักษ์ได้
   “ถ้าอย่างนั้นก็ดูธนูวิเศษของเจ้า กระจอกจริงๆ ฮ่าๆๆๆ” แม้ลูกธนูจะทำอะไรยักษ์ไม่ได้ แต่เจ้าชายก็ไม่ได้หวาดกลัวหรือท้อถอยแต่อย่างใด ยังคงงัดความสามารถที่มีอยู่ต่อสู้กับเจ้ายักษ์ต่อไป “ธนูสายฝนแห่งตักศิลา” “ห๊า เป็นไปได้ไงเนี่ย? ”
   “ฮ่าๆๆๆ จั๊กกะจี้ว่ะ นี่เหรอ ธนูสายฝนของเจ้า ข้านึกว่านุ่นซะอีก ฮ่าๆๆๆๆ เฮ้ย!..ข้าขี้เกียจเล่นกับเจ้าแล้ว มาให้ข้าหม่ำซะดี ๆ เจ้ามนุษย์น้อย มามะๆๆ ฮ่า ๆๆๆๆ” “ไม่มีทางหรอกเจ้ายักษ์ตะกละ ลิ้มรสพระขันธ์ของเราแทนล่ะกัน นี่!” “ฤทธิ์มากเหลือเกิน” เจ้าชายปัญจาวุธ ทรงใช้เพลงอาวุธที่ร่ำเรียนมาโถมเข้าใส่ยักษ์อย่างไม่เกรงกลัว
 แม้ว่าอาวุธของพระองค์จะไม่สามารถทำอะไรเจ้ายักษ์ได้ แต่พระองค์ก็ยังทรงมีมานะบุกเข้าไปต่อสู้จนได้โอกาสฟาดพระขันธ์ได้อย่างจัง การต่อสู้อย่างไม่ลดละของเจ้าชาย ทำให้เจ้ายักษ์รู้สึกรำคาญมันจึงใช้มือตบเจ้าชาย จนกระเด็นไปกระทบกับโขดหิน
 เจ้ายักษ์ใช้ขนกายสิทธิ์ของมัน ดูดพระขันธ์ของเจ้าชายไว้ โชคดีที่เจ้าชายมีหอกเป็นอาวุธอีกอย่างหนึ่ง เจ้าชายปัญจาวุธทรงตัดความเจ็บปวดทิ้งไป ฝืนทรงร่างกายหยิบหอกซัดปลายด้ามกระบอกขึ้น เตรียมสู้ต่อไปอีก “นี่เจ้ายังไม่เข็ดอีกหรอ?” “ไม่ เราไม่ยอมแพ้หรอก”
  “ได้เลย เข้ามาสิเจ้ามนุษย์น้อย เจ้าจะทำอะไรข้าได้ ฮ่าๆๆๆ ตายซะไอ้หนุ่มน้อย” “แกนั่นแหละที่ต้องตาย” เจ้าชายปัญจาวุธใช้หอกต่อสู้กับเจ้ายักษ์อีกครั้ง แต่แล้วก็โดนขนกายสิทธิ์ดูดใบหอกไปอีก เหลือแต่เพียงด้ามหอกเท่านั้น เจ้าชายรีบถอยมาตั้งหลักและหาช่องทางจัดการกับยักษ์
 ด้วยด้ามหอก ที่บัดนี้กลายเป็นกระบองอาวุธอีกชนิดหนึ่งที่พระองค์ทรงใช้ได้อย่างเชี่ยวชาญ “โอ่ย! กินยากกินเย็นเหลือเกิน หงุดหงิดแล้วนะโว้ย” ด้วยความโกรธเจ้ายักษ์จึงเนรมิตร่างให้ใหญ่ขึ้นอีก แล้วลงมือไล่จับเจ้าชายปัญจาวุธกินทันที แต่เจ้าชายก็ไม่ยอมแพ้ใช้ไม้กระบองตีเข้าที่มือเจ้ายักษ์อย่างไม่ลดละ
  ร่างเล็กๆ ของพระองค์ไฉนเลยจะต่อสู้กับร่างอันใหญ่โตของเจ้ายักษ์ได้ เจ้ายักษ์ใช้มืออันกำยำคว้าร่างของเจ้าชายไว้ “เก่งนักใช่ไหม๊? ทีนี้เสร็จแน่ บีบอาวุธของเจ้าซะ เดี๋ยวมันจะติดฟันข้า ฮ่าๆๆๆๆ” “เขี่ยทิ้งหรอ? ได้เลย นี่แน่” เจ้าชายปากระบองไปโดนตาของเจ้ายักษ์อย่างเต็มแรง
  “โว่ย จะตายแล้วยังฤทธิ์มากอีกหรอ? ตาข้าเกือบบอดเพราะกระบองเก่าๆ ของเจ้า เฮ่ย! ทนไม่ไหวแล้วนะโว้ย” ยักษ์สิเลสโลมโกรธเจ้าชายมากที่ทำมันบาดเจ็บ จึงตัดสินใจจะกินโอรสปัญจาวุธกุมารซะเดี๋ยวนั้น แต่เจ้าชายก็ไม่ได้หวาดกลัวแต่อย่างใด ทำให้เจ้ายักษ์เกิดความสงสัย
  “เจ้าไม่กลัวตายรึไง? ทำไมถึงไม่กลัวข้าแม้แต่นิด?” “ฮ่าๆ ไอ้ยักษ์โง่ นี่คงไม่เคยได้ยินชื่อของเราปัญจาวุธกุมารสินะ ดีล่ะ วันนี้ร่างของเจ้าแหลกเป็นผงแน่ ฮ่าๆๆๆ” ด้วยกิริยาห้าวหาญแม้กำลังจะถูกกิน ทำให้เจ้ายักษ์ร้ายประหม่า เริ่มระวังตัวเอง “หึๆๆๆ ปัญจาวุธกุมารหรอ เจ้ามีดีอะไร?
 ข้าจะต้องกลัวบอกมาซะซิ ข้าจะสละเวลาฟังเจ้าพล่ามสักนาทีสองนาที เฮอะ ฮ่าๆๆๆ” เจ้ายักษ์หารู้ไม่ว่าอาวุธอีกอย่างที่เจ้าชายมีนั้นก็คือปัญญาที่หลักแหลมของพระองค์นั่นเอง เมื่อยักษ์ร้ายหลงกลอยากรู้ ปัญจาวุธกุมารก็โผซ้ำตามแผนที่คิดไว้ “ฮึๆๆๆ เจ้ายักษ์เอ๋ย ทำไมเราต้องกลัวเจ้า
 ทุกคนเกิดมาก็ต้องตายด้วยกันทั้งนั้น จะตายช้าตายเร็วก็ต้องตายเหมือนกัน แต่เจ้ารู้หรือไม่ว่าในท้องของเราอ่ะ มีวชิราวุธ เฮ้อ ฮ่าๆๆๆๆ” วชิราวุธที่เจ้าชายพูดถึง เป็นอาวุธวิเศษของมหาเทพ ใครโดนอาวุธนี้ทำร้ายจะต้องตายเป็นผงธุลีดั่งสายฟ้าฟาดทุกราย
 “ถ้าเจ้ากินเราเจ้าก็ต้องตายเหมือนกัน เพราะวชิราวุธในกายเราจะบาดไส้พุงของเจ้าเป็นชิ้นๆ ฮ่าๆๆๆๆ เจ้ายักษ์เอ๋ย เราไม่ยอมตายคนเดียวหรอก เจ้าต้องตายไปพร้อมกับเราด้วย มาเลยเจ้ายักษ์รีบกินเราซิ จะได้ตายด้วยกัน เหอะ ฮ่าๆๆๆๆ” เจ้ายักษ์ได้ฟังดังนั้นก็รู้สึกกลัวขึ้นมา
 ร่ายเวทมนต์ย่อร่างตัวเองให้เล็กลงจนขนาดเท่าๆ กับช้าง แล้วปล่อยพระโอรสปัญจากุมารเป็นอิสระ แล้วเดินทางผ่านไปยังกรุงพาราณสีได้ “จะว่าไป ข้าก็ไม่ได้อยากกินเจ้าเท่าไหร่หรอก ตัวเล็กกะจิ๋วหลิว กินไปก็ไม่อิ่ม ครั้งนี้ข้าจะปล่อยเจ้าไปล่ะกัน” ปัญจาวุธกุมารขอบใจยักษ์ แต่ก็ยังไม่จากไปทันที
 เพราะใจที่มีเมตตาจึงอยากปลดปล่อยให้ยักษ์ร้ายพ้นบ่วงกรรม “สิเลสโลม หยุดก่อน เจ้ารู้หรือไม่ว่า เพราะเหตุใดชาตินี้ เจ้าจึงเกิดมาเป็นยักษ์และมีชีวิตอยู่ได้ด้วยเลือดเนื้อของผู้อื่น ต้องทำให้ผู้อื่นล้มตาย เฮ้อ! นับว่าเจ้าเกิดมาเพื่อสร้างกรรมแท้ๆ รู้หรือไม่ว่าเมื่อเจ้าสิ้นชีวิตละโลกนี้ไป
เจ้าต้องไปเกิดในอบายภูมิ ซึ่งก็คือนรก เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรต อสุรกาย แล้วเจ้าก็ต้องเกิดมาเป็นยักษ์อีกแน่ แม้ว่าหมดเวรกรรมจากอบายภูมิ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์อายุของเจ้าก็จะสั้น เหตุเพราะได้ทำลายชีวิตของผู้อื่นไว้มาก” ยักษ์สิเลสโลมนิ่งฟังปัญจาวุธกุมารพูดอย่างสงบ เพราะนี่เป็นการฟังพระธรรมครั้งแรกในชีวิตมัน
“รับปากได้รึไม่ว่า เจ้าจะไม่ฆ่าใครอีกและจะประพฤติธรรมรักษาศีล ศีล 5 มีเพียง 5_ข้อ เท่านั้น เจ้าต้องรักษาไว้ให้มั่นอย่าประมาท จำไว้นะเจ้ายักษ์” “ข้ารับปาก” เมื่อเจ้ายักษ์สิเลสโลมสัญญาว่าจะไม่ทำร้ายใครอีก ปัญจาวุธกุมารก็เก็บอาวุธประจำกายแล้วเร่งเดินทางออกไปจากป่า
นับแต่นั้นมาป่าชายแดนพาราณสีก็ไม่ได้เป็นดินแดนแห่งความตายอีกต่อไป ชาวบ้านช่วยกันผลัดเปลี่ยนเดินทางนำอาหารเข้าไปในป่า ครั้งละมากๆ เพื่อนำไปให้ยักษ์สิเลสโลมที่กลับใจมาบำเพ็ญเพียรได้กินแทนชีวิตคน ชาวบ้านเลิกหวาดกลัวยักษ์ กลายเป็นเพื่อนกันตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา “ขอบใจพวกเจ้าทุกคน อร่อยมาก ฮ่า ๆๆๆๆ”

 
“โย อลีเนน จิตฺเตน    อลีนมนโส นโร
ภาเวติ กุสลํ ธมฺมํ    โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา
ปาปุเณ อนุปุพฺเพน    สพฺพสโยชนกฺขยํ”
 
“คนเราถ้าไม่ย้อท้อ ไม่รวนเร ไม่หดหู่
ก็จะเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคงสามารถฝึกสติให้ดีได้
สมาธิ(Meditation)ก็จะก้าวหน้า บรรลุธรรมขั้นสูงๆ ขึ้นไปตามลำดับ”
 
ยักษ์ในครั้งนั้น ต่อมาคือ องคุลีมาล
ปัญจาวุธกุมาร คือ พระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปัญจาวุธกุมาร-ชาดกว่าด้วยการทำความเพียร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2015, 03:37:18 pm »
 :25: :25: like1 like1
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
Re: ปัญจาวุธกุมาร-ชาดกว่าด้วยการทำความเพียร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2015, 06:16:33 pm »

    ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
Re: ปัญจาวุธกุมาร-ชาดกว่าด้วยการทำความเพียร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2015, 03:34:18 pm »
 st12 st12 st12 st12 st11
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ