ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: QA "ขึ้นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ แต่ก็ยังไปขึ้นกรรมฐาน อื่น ๆ อีก ได้หรือไม่ ?"  (อ่าน 4235 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
QA  ใครช่วยตอบได้ ก็ช่วยตอบกัน ด้วยนะ จะนำคำถามมาลงก่อน ก็แล้วกันนะ ส่วนคำตอบจะทะยอยตอบ

ปุจฉา
QA "ขึ้นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ แต่ก็ยังไปขึ้นกรรมฐาน อื่น ๆ อีก ได้หรือไม่ ?"

วิสัชชนา

 ;)



บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

wayu

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 162
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขึ้นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็ดีแล้วนะครับ
แต่ไปขึ้นกรรมฐาน อื่น ๆ อีก ก็สันนิษฐาน คือ

   1.ปฏิบัติในกรรมฐาน มัชฌิมา ยังไม่ได้ผล
   2.ครูอาจารย์สั่งให้ไปขึ้นกรรมฐาน เพิ่มเติมในด้านวิปัสสนา
   3.ครูอาจารย์ที่สอน มรณภาพ ไม่สามารถสอนกรรมฐานได้อีกต่อไป ต้องเปลี่ยนแนว
   4.เกิดเลือมใสในแนวกรรมฐาน ใหม่
   5.นึกสนุกตามเพื่อนไปแล้ว ก็ขึนเพิ่มเรียนเพิ่ม
   6.คึิดว่าศึกษามาก มีอาจารย์มาก รู้มากจะได้เปรียบในแนวทางการปฏิบัติ
   7.คิดจะเลิกฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ แล้ว

  เอา 7 ข้อนี้ นะครับ เลือกมาสักข้อ หรือ สอง ข้อ หรือ สามข้อ ตามแต่ใจ นะครับ

   ถ้าเลือก 1
         ควรปรึกษาครูอาจารย์ เพื่อแจ้งกรรมฐาน ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร ถึงปฏิบัติไม่ได้ เท่าที่รู้คือ ไม่ได้ปฏิบัติ

   ถ้าเลือก 2
         ควรปฏิบัติตาม อาจจะเป็นเพราะครูอาจารย์ เห้นว่าในแนวนั้นเรายังขาดสมดุลย์อยู่จึงต้องไปเรียนเพิ่ม บางคนขาดวิปัสสนา พื้นฐาน ก็ต้องส่งไปฟังธรรม เรียนธรรมเป็นต้น อันนี้ดี ครับ

   ถ้าเลือก 3
         ก็สมควรตามเหตุผล

   ถ้าเลือก 4
         ก็อนุโมทนา ครับ ถ้าในแนวนั้น ทำให้เราถึง พระนิพพานได้จิรง นะครับ

   ถ้าเลือก 5
         อันนี้อาจจะเข้าข่ายปรามาส กรรมฐาน นะครับ

   ถ้าเลือก 6
        อันนี้เป็น อุปสรรค กรรมฐาน นะครับ

   ถ้าเลือก 7
        ก็ตัดใจแน่วแน่ คืน ถาดกรรมฐาน บอกลา เพราะว่า ได้สำเร็จธรรม ในสายอื่น อันนี้อาจจมีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่ที่พบ คือ เลิกฝึกเพราะยังติดในการคุณ คือ โลก ธรรม อยู่

    :08: :49:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ที่จริง กรรมฐาน อื่นๆ ก็คือกรรมฐาน มัชฌิมา เพราะกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็มีทุกกรรมฐานอยู่ด้วยทั้งหมด
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อันที่จริง เราอาจจะตีความ ความหมายของคำว่า ขึ้นกรรมฐาน ในภาษาเกินจินตนาการเกินไป หรือไม่ ?
 

   การขึ้นกรรมฐาน นั้น เท่ากับการไปลงทะเบียนการศึกษา ถ้าพูดอย่างนี้จะเข้าใจง่ายกว่าหรือไม่ ? ดังนั้นท่านจะไปลงทะเบียนเรียน ที่ไหนก็ต้องดูคุณสมบัติของท่าน ความชอบใจของท่าน บางท่านชอบเรียนกฏหมาย ธุรกิจ พาณิชย์ การศึกษา อะไรเหล่านี้เป็นต้น ถ้าให้คำจำกัดความอย่างนี้ท่านก็จะเข้าใจได้ง่าย

    ดังนั้นการขึ้นกรรมฐาน ก็หมายถึง การไปลงทะเบียน สมัครเรียน หรือขอเข้าศึกษาใน โรงเรียน สำนักนั้น ๆ

    เมื่อท่านจะขึ้นกรรมฐาน ก็ต้องดู สถานะเดิมก่อนสมัครด้วย ใช่หรือไม่ ? ถ้าจะเรียน ม. ต้น ก็ต้องจบ ป6 ถ้าจะเรียน อนุบาลก็ต้องมีอายุ ครบ 7 ขวบขึ้นไปใช่หรือไม่ ?

    ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อเราจะไปขึ้นกรรมฐาน ก็ต้องตรวจสอบสถานะของเราด้วย คือความพร้อมที่จะเรียนหรือไม่่ ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับดูความพร้อม คือ คุณสมบัติพื้นฐาน ศีล ทาน ภาวนา อันนี้พื้นฐาน ท่านมีบ้างหรือไม่ ?

    เมื่อไปศีกษาเล่าเรียน ก็ต้องมี คลาส มี ครูอาจารย์ มี สถานะ เป็นนักเรียน หรือ ศิษย์

    ดังนั้นเมื่อเราขอขึ้นกรรมฐาน ก็จะได้เรียนกรรมฐาน สำหรับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สอนตั้งแต่พื้นฐาน ปรับพื้นฐาน คือตั้งแต่ระดับอนุบาล ถ้าผู้ใดผ่านขั้นประถม มัธยม มาแล้ว ก็จะผ่านคลาสที่ต่ำโดยไว แต่ถ้าไม่ผ่านก็หมายความว่า ที่ผ่านมานั้นใช้ไม่ได้ จิตยังเป็น สมาธิ


    ผลสำเร็จในกรรมฐาน มี อุปจาระฌานพุทธ เป็นขั้นต่ำ ต้องเน้นว่า พุทธ เพราะใช้พุทธานนุสสติ เป็นกรรมฐานแรก เพื่อปรับปรุง ศรัทธา 4 ประการให้สมบูรณ์ กล่าวว่า พุทธานุสสติ นั้นเหมาะกับจริตที่เป็นศรัทธาจริต แต่แท้ที่จริง ทุกจริตก็ต้องมี พุทธ ศรัทธาจริต คือ ต้องเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า หากไม่เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็ไม่ชื่อว่า พุทธบริษัท นะจีะ

 
เจริญพร / เจริญธรรม


  ;)

   
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ท่านที่ยังไม่ได้ขึ้นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ปรารถนาจะขึ้นแล้ว ก็ขอเชิญ

 วันที่ 23 - 24 มิ.ย.55 มาปฏิบัติร่วมกัน ที่ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม นะครับ

 
 สนใจก็รายละเอียดจากลิงก์ นี้เลยครับ

 
เชิญเข้าปฏิบัติธรรม วันเสาร์-วันอาทิตย์ ๒๓-๒๔ มิ.ย. ๕๕ ที่คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7837.0


 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ขึ้นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ แล้ว ไปขึ้นกรรมฐาน อื่น ๆ อีกได้หรือไม่ ?
 
 ถ้าตอบตามตรง ก็คือ ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ทำแบบนั้นกัน เพราะว่าการเล่าเรียนกับหลายครูอาจารย์ในขณะที่ยังไม่สำเร็จวิชาจากครูอาจารย์เลย จัดเป็นการไม่เหมาะสม

  นอกเสียจากท่านมีความต้องการ และเรียนกรรมฐาน คู่กันไปหลากหลาย สรรพวิชา เรียกว่า ชอบเรียนมาก แต่วิชากรรมฐาน ยิ่งเรียนหลายแขนง ยิ่งมีผลเสียมากขึ้นตามไปด้วย เพราะว่า เวลาภาวนา จะทำให้เกิดความฟุ้งซ่านสูง หากจิตไม่แน่วแน่มาก่อน กรรมฐาน ตีกันอยู่อย่างนั้น คือ เข้าสลับกันไปกันมา เดี๋ยวเป็นกสิณ เดี่ยวเป็น สติ เดี่ยวเป็น อสุภ เดี๋ยวเป็น กายคตาสติ เป็นต้น ตีกันไป ตีกันมาอยุ่อย่างนั้น สรุปแล้วก็ต้องตัดใจเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ปฏิบัติให้ถึง อุปจาระฌาน อย่างเป็นขั้นต่ำ ก่อนขึ้นวิปัสสนา แม้วิปัสสนาเองก็เหมือนกัน หาก ไม่มีสัมมาทิฏฐิ ก็จะไปสับสนด้วยวิธีการอีกเช่นกัน นะจีะ

  ดังนั้นเรียนกรรมฐาน หลายแขนงไม่ดี แต่ปฏิบัติแต่ละแขนงสำเร็จแล้ว เรียนต่ออันนี้ดี

  เจริญพร / เจริญธรรม

   ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ