ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตอบคำถามจากเมล "ผู้เข้าสมาธิ ได้ยินเสียง หรือไม่ได้ยินเสียง จัดการเสียงอย่างไร"  (อ่าน 3352 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปุจฉา
"ผู้เข้าสมาธิ ได้ยินเสียง หรือไม่ได้ยินเสียง จัดการเสียงอย่างไร"

วิสัชชนา

  ผู้เข้าสมาธิ หมายถึง 1.ผู้ที่ปฏิบัติภาวนาเพื่อสมาธิ และ   2. ผู้สำเร็จผลสมาธิ

  เสียง ผู้เข้าสมาธิ ได้ยิน มีผลเหมือนกาย สัมผัสอากาศ ได้ยินแต่ไม่ใส่ใจ เมื่อไม่ใส่ใจ ก็เหมือนได้ยินและไม่ได้ยิน ดังนั้นสำหรับ พวกที่ 1 นั้น ได้ยินเต็ม และ อาจจะใส่ใจ และ อาจจะไม่ใส่ใจภาวนาต่อไป ส่วนพวกที่ 2 ได้ยินอย่างเดียว แต่ไม่ใส่ใจ อารมณ์ยังอยู่ที่ สภาวะ 2 ประการอย่างใดอย่างหนึ่งคือ เอกัคคตา หรือ อุเบกขา

   ในพระอภิธรรรม เล่มที่ 37 หน้าที่ 859 กล่าวเรื่องนี้ไว้บ้าง คือ กล่าวเรื่อง ปฏิปักษ์ของสมาธิ กล่าวว่า เสียง เป็น ปฏิปักษ์ของสมาธิ ตั้งแต่ ขณิกสมาธิ ถึง ปฐมฌาน ดังนั้นท่านที่มีสมาธิถึงขึ้นอัปปนา ปฐมฌานรับรองว่าได้ยินเสียงแน่ ๆ แต่เมื่อกำลังใจดีขึ้น เป็น ฌาน 2 เสียงก็ยังได้ยิน แต่ ไม่ใส่ใจในเสียงต่อไป แต่ ไปติดอยู่ ปีติ ฟุ้งด้วยเรื่องปีติ อยู่ การติดอย่างนี้บางท่านคิดว่าใช้ระยะเวลานาน อันที่จริง เท่าที่พบพระที่ภาวนาเป็น ฌานจิต กันหลายรูป หลายองค์ ที่พบนั้นพอได้ ปฐมฌาน ไม่ถึง สองสามวัน ก็เป็นจตุตถฌาน แล้ว ส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้น แสดงให้เห็นว่า ปีติ สุข มีระยะเวลาสุกงอม ดังนั้นปัญหาของสมาธิที่ว่าติดสุข นั้นไม่ใช่ปัญหาจริง ๆ แต่ปัญหา อยู่ที่ติด อุเบกขา หรือ เอกัคคตา มากกว่า ในครั้งพุทธกาลมีบุคคลที่สำเร็จ จตุดถฌาน จำนวนมาก แม้ปัจจุบันก็มีเยอะอยู่ ที่เห็นเป็น ฆราวาสก็มีหลายท่าน เป็นพระคุณเจ้า ก็ต้องปิดเป็นความลับรู้กันเฉพาะ เพราะว่าผิดจรรยาบรรณ(วินัย) ของพระนะจีะ

    ดังนั้น เสียง ผู้เข้าสมาบัติได้ยินแน่นอน แต่ ผู้เข้าสมาบัติไม่ใส่ใจในเสียง เท่านั้น

    สำหรับวิธีการจัดการเสียง นั้น กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นใช้การเข้าสะกด สมัยที่พระอริยะราหุลมหาเถรเจ้าพุทธชิโนรส  ท่านได้อุปเท่ห์ ในการฝึกคือการใช้ ไม้เคาะ หรือไม้กระทบ ปัจจุบันการเข้าสะกดวิธีการนี้เปลี่ยนมาเป็นการใช้ลูกสะกด ตะกั่ว ปักลงในเทียน แล้วให้ผู้ฝึกภาวนาทบทวนกรรมฐาน ตามเสียงลูกสะกด ที่ตกกระทบกับบาตรโลหะ ด้วยวิธีการ เข้าวัดออกวัด ( อนุโลมปฏิโลม ) เข้าคืบ เข้าสับ เป็นต้น วิธีการฝึกอย่างนี้ จะมีการฝึกสะกด 3 ห้อง คือ พระธรรมปีติ พระยุคลธรรม และ พระสุขสมาธิ แต่บางครั้งจิตของผู้ฝึกก้าวหน้าได้ไว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้การเข้าสะกดเสมอไป

     ดังนั้นการเข้าสะกดจะใช้กับศิษย์ ที่มีอารมณ์ยังไม่แน่วแน่ และเป็นการทดสอบสภาวะอารมณ์กรรมฐาน ด้วย

  เจริญพร / เจริญธรรม


   ;)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 02, 2012, 10:06:05 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

namtip

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 54
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณ พระอาจารย์ที่ได้ตอบจดหมายคะ

 สาธุ สาธุ สาธุ

  :25:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุขอบพระคุณพระคุณเจ้าที่แสดงอย่างละเอียดเข้าใจง่ายครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

เสริมสุข

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 223
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นเรื่องที่มีประโยชน์กับผม ครับ และเป็นตำตอบที่เข้าใจง่ายครับ
ช่วงนี้ก็พยายามอ่านอยู่นะครับ แต่เห็นว่า มีเรื่องหนัก ๆ เกินความสามารถที่ผมจะเข้าใจอยู่หลายเรื่องนะครับช่วงนี้

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า
อยากได้รับความสุข จาก ธรรมะ อยากได้รับ ..... แหมก็อยากนี้จ๊ะ