ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - NP2706
หน้า: [1]
1  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / มาฆบูชา 14 ก.พ.57 วัดเขาวงพระจันทร์ ลพบุรี เมื่อ: มีนาคม 07, 2014, 04:47:31 pm
แม้จะล่วงเลยเวลาของวันมาฆบูชา ซึ่งปีนี้ตรงกับวันวาเลนไทม์ ชาวพุทธถือว่าเป็นวันสำคัญทางศาสนาวันหนึ่ง
จึงขอนำภาพประทับใจของชาวศาสนิกชนที่ได้ขึ้นเขาวงพระจันทร์ เพือ่ไปกราบบูชารอยพระพุทธบาทตั้งแต่เช้าจนข้ามคืนของวัน ทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน แม้แต่ผู้สูงอายุ  มีจำนวนมาก และจากการสอบถามผู้ที่อยู่แถวนั้น ในปีนี้มีคนมากมายกว่าทุก ๆ ปี ที่ผ่านมามาก ร้านค้าขายของได้กำไรมากกว่า 30,000 บาทในวันนั้น ดูแล้วทำให้  เกิดปิติสุขมากๆๆ .....ในกระแสศรัทธาแห่งบุญ เพราะแค่การขึ้นเขาแล้ว รับรองว่าต้องใช้ความวิริยะบารมี ขันติ บารมีสูงเท่าๆ กับความสูงของเขาวงพระจันทร์ทีเดียว โดยเฉพาะถ้าเป็นในเวลากลางวันต้องพบกับความร้อนซึ่ง  ในวันนั้นแดดแรงมาก และอากาศก็ร้อนทีเดียว
         อย่างนี้.....เป็นปรากฏการณ์ที่ดี ที่จะบ่งบอกว่า ศาสนาพุทธ ย่อมยังอยู่ตราบเท่าที่ศรัทธาของศาสนิก ชน ยังไม่เสื่อมคลาย



























2  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ปฏิบัติธรรมอย่างไร ? ถึงเรียกว่าเข้าใจในหลักธรรม เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2012, 02:31:40 pm
 จากกระทู้ธรรมที่ร่วมแสดงปรากฏ อันเกี่ยวข้องกับกามราคะ
 
สมรส..หาง่าย - สมรัก..หายาก
 
พุทธวจน (BuddhaWord) สะสมภาพ >> สะสมบุญ

 
 
ทำให้นึกถึงคำสอนพระอาจารย์ที่ท่านได้กล่าวสอนในข้อปฏิบัติที่น่าสนใจ
ถึงการเจริญธรรมที่ควรปฏิบัติ
1.การละจากกามคุณทั้งหลาย
2.การละทิ้งซึ่งความกังวล วิตก ที่จะเป็นเหมือห่วงหรือบ่วง คือ บิดา มารดา สามี ภรรยา และบุตร
3.การพึงปฏิบัติและนึกถึงแต่... พระนิพพาน
 
ผู้แสวงหา หรือเข้าถึงในหลักธรรมในข้อดังกล่าว.....ย่อมเป็นผู้ที่เจริญแล้ว
 
ร่วมแสดงความคิดเห็นในข้อปฏิบัติ
 
 
 
3  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จะไปทำบุญและปฏิบัติธรรมที่ไหนกันดี....ในวันสงกรานต์ เมื่อ: เมษายน 12, 2012, 05:07:40 pm

 
 สิ่งใดอื่นใด...ก่อนที่จะไปปฏิบัติธรรม หรือทำบุญที่ไหน ?......
 
               อย่าลืมพระในบ้าน....ไปกราบเท้า ล้างเท้า เพื่อขอขมาท่านที่เคยล่วงเกินท่าน ทั้งที่ได้ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ดี  เพื่อเป็นสิริมงคลสำหรับวันสงกรานต์ปีใหม่ของไทย


                           :03: :03: :03:
4  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / การทำให้จิตใจบริสุทธิ์ในวันปีใหม่ของไทย เมื่อ: เมษายน 12, 2012, 04:50:45 pm

การพัฒนาจิต พัฒนาวิญญาณหรือวิญญาณบริสุทธิ์ และวิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่วิญญาณบริสุทธิ์ โดยตามแนวธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ใน สัพพาสวสังวรสูตร สูตรที่ว่าด้วยการละกิเลสละอาสวะด้วยวิธีต่างๆ

1. การละอาสวะวิธีที่ 1 คือ ละด้วยการเห็น ในที่นี้ท่านหมายถึงเห็นด้วยโยนิโสมนิการ คือ ความคิด ที่แยบคาย ละอโยนิโสมนสิการ

2. สังวร หมายถึง การสำรวมระวัง ในที่นี้หมายถึง สำรวมระวังจิต ระวังอินทรีย์ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกายและธรรมารมณ์ สิ่งที่คิดด้วยใจ ครอบงำได้ ดำรงตนเป็นอิสระ จากการครอบงำของ รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น เรียกว่า สังวร คือ สำรวมอินทรีย์ 6

3. ละอาสวะด้วยการเสพ หมายถึง การพิจารณาปัจจัย 4 แล้วจึงเสพ หรือบริโภคใช้สอย ไม่บริโภคใช้สอยเพื่อเล่นเพื่อเมา แต่บริโภคใช้สอยปัจจัย 4 ตรงตามจุดมุ่งหมาย คือ ใช้อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ใช้อาหาร บริโภคเพื่อร่างกายพออยู่ได้ ใช้เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เพื่อปกปิดร่างกายให้ดูเรียบร้อย ป้องกันหนาวร้อน บริโภคอาหารเพียงพอไม่ให้อึดอัด ไม่ให้ เวทนาใหม่เกิดขึ้น คืออึดอัดและบรรเทาเวทนาเก่าคือหิว พิจารณาเห็นโทษของอาหารที่มากเกินไปอยู่เสมอ
   ใช้เสนาสนะที่อยู่อาศัย เพื่อป้องกันลมแดดเหลือบยุงสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ
   กินยาเพื่อบำบัดโรค ไม่ใช่เพื่อร่างกายสวยงาม เรียกว่า เสพปัจจัย 4 ด้วยเหตุผลบริสุทธิ์จริงๆ เพื่อความต้องการขั้นพื้นฐาน หรือขั้นปฐมภูมิเป็น primary need ไม่ใช่เพื่อความต้องการที่เกินจำเป็น ที่เป็น artifi-cial หรือ secondary need
   อันนี้เป็นกายภาวนา ในภาวนา 4 คือ การอบรมกายให้ดี

4. ความอดทน ละอาสวะด้วยความอดทน เรียก อธิวาสนะ 3 อย่าง
   1) อดทนต่อความหิวกระหาย อดทนหนาวร้อน เรียกธีติขันติ อดทนต่อถ้อยคำต่างๆ ของผู้อื่น 
   2) อดทนต่อสิ่งยั่วยวนต่างๆ เรียกว่า ตีติกขา ขันติ
   3) อดทนต่อทุกขเวทนากล้าแข็ง ความเจ็บป่วย แม้จะเบาหรือหนักเพียงไร ก็มีความอดทน

5. ปริวัชชนะ ละอาสวะด้วยการเว้น คือเว้นสถานที่ที่ไม่ควรไป เรียกว่า อโคจร และเว้นบุคคลที่ไม่ควรคบ

6. ละอาสวะด้วยการบรรเทา ได้แก่ บรรเทากามวิตก ตรึกเรื่องกาม พยาบาทวิตก ความตรึกในเรื่องพยาบาท วิหิงสาวิตก ความตรึกในเรื่องการเบียดเบียน

7. ภาวนา ละอาสวะด้วยภาวนา คือ การอบรม อบรมโพชฌงค์ 7 คือ สติ ธรรมวิจัย การวิจัยธรรม วิริยะ ความเพียร ปีติ ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ ความสงบกาย สงบใจ สมาธิ การที่มีจิตใจมั่นคง ตั้งมั่น อุเบกขา ความเฉยในสุขและทุกข์

   เมื่อมีวิธีการทั้ง 7 วิธีนี้อยู่ก็จะละอาสวะได้ด้วยวิธีนั้นๆ ตามสมควร จนสามารถจะละอาสวะได้ จนหมดสิ้น จนเป็นผู้สิ้นอาสวะ เรียกว่า ขีณาสโว หรือพระขีณาสพ
 
   เพราะฉะนั้น เราก็ควรจะตั้งจุดมุ่งหมายของชีวิตไว้ว่า เพื่อความบริสุทธิ์ของจิตหรือวิญญาณ จะเร็วจะช้ากว่ากันบ้างก็ตามเหตุปัจจัย และก็แล้วแต่อุปนิสัยหรือบารมีของแต่ละคน แต่ในที่สุดก็ต้องขึ้น ให้ถึงความบริสุทธิ์ให้ได้ ซึ่งเป็นความต้องการสูงสุด เกี่ยวกับเรื่องนี้ พวกเราชาวพุทธต้องระลึกถึงพุทธคุณเอาไว้ให้มาก เพราะว่าท่ามกลางความมืดคืออวิชชา ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายเพราะตัณหาอุปาทานต่างๆ พระพุทธเจ้าได้ทรงเป็นพระศาสดาองค์แรกที่ได้นำจิตหรือวิญญาณมนุษย์ไปสู่แสงสว่าง
 
   พระพุทธเจ้าตรัสว่าคนทำชั่วหาความสุขได้ยาก พระพุทธพจน์มีว่า น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา แปลว่า ความสุขอันบุคคลผู้ทำชั่วหาได้โดยง่ายมิได้เลย นี่แปลโดยพยัญชนะ ความดีส่งคนให้ลอย ความชั่วกดคนให้จมลง ท่านลองนึกดูก็ได้ ถ้าในสถานการณ์เดียวกัน ประสบปัญหาอย่างเดียวกัน ถ้าคนไหนที่ประกอบกรรมดีอยู่เสมอ เขาจะมีกำลังใจดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำความดี หรือคนที่ทำความชั่ว มีความมั่นใจอยู่เสมอว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เขาจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เขาไม่กลัวความเปลี่ยนแปลง เพราะเขาเชื่อผลของกรรมดีว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีแน่นอน

   ส่วนคนที่ไม่แน่ใจในการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วนั้นอาจเป็นเพราะว่าเขาทำดีน้อยเกินไป หรือทำดีนิดหน่อยแล้วก็หวังผลมากเกินไป หรือว่าเขาไม่ได้ละชั่วเสียก่อน แล้วก็ทำดี จึงทำดีไม่ค่อยขึ้น หรือบางคน ก็ทำดีไปด้วย ทำชั่วไปด้วย ความดีความชั่วจึงหักกลบลบกันไปหมด เหลือเป็นศูนย์ บางทีก็ติดลบเสียอีก เพราะความชั่วเห็นง่ายกว่าความดี

   ถ้าจะทำความดีให้ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย จงละความชั่วเสียก่อน ถ้ายังละความชั่วไม่ได้ ก็หวังความดีให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยได้ยาก ต้องเตรียมตัวรับ ความผิดหวังไว้บ้าง เช่น ถ้าเราให้ของเด็กแต่ละครั้ง เราก็ด่าเขาให้เจ็บใจเสียก่อนทุกครั้งไป อย่างนี้ก็ได้ผลบ้างแต่ก็มีผลลบติดมาด้วย บางคนมีความรู้ดี แต่ก็มี ความประพฤติร้าย ความรู้นั้นก็ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร ในหนังสือหิโตปเทศ กล่าวไว้ว่า สิริของคนผู้ดื้อด้าน มีแต่จะตกอับ สิรินี่คือมิ่งขวัญหรือบุญ หรือความดี มีแต่จะตกอับ ไมตรีของผู้กลับกลอก มีแต่จะวิบัติ ผลแห่งความรู้ของผู้ประพฤติร้ายมีแต่จะร่วงหล่น

ฉะนั้น ถ้าเราทำดีให้เป็น มีความรู้แล้วใช้ให้ เป็นก็จะได้รับผล คุ้มเหนื่อย

   มีพระพุทธภาษิตว่า ความรู้เกิดแก่คนพาล เพื่อความพินาศของคนพาลอย่างเดียว ความรู้นั้นจะฆ่าส่วนดีของคนพาลเสีย ทำปัญญาของเขาให้ตกไป

   แต่ถ้าความรู้เกิดแก่คนดี ก็จะเป็นประโยชน์แก่คนดี ฉะนั้น โบราณท่านให้คนเรียนความดีก่อนแล้วค่อยเรียนความรู้ทีหลัง หรืออย่างน้อยก็ควบคู่กันไป แต่ว่าสมัยต่อมาดูเหมือนว่าเราจะไปเร่งเอาความรู้ให้มาก กอบโกยเอาความรู้ให้มาก แต่ละเลยระบบของความดีมากมาย ละเลยมากไป ความรู้เกิดขึ้นกับคนชั่ว มันก็พาไปสู่ความชั่วต่างๆ


   นึกถึงคนที่เคยบวชเรียนมานานๆ ควรจะเป็นคนฉลาดในการทำความดี เพราะในคำสอนของพระพุทธเจ้ามีหลักในการทำความดีเยอะ แต่บางคนไม่ได้เป็นอย่างนั้น ไม่ฉลาดในการทำความดี แต่ไปฉลาดในการทำชั่วก็มี เพราะว่าเขาไม่ได้ตระหนักให้เห็นความสำคัญของระบบที่จะทำความดี ไม่ขัดเกลา มีความเห็นแก่ตัวมาก ไม่เอาส่วนที่ดีมาใช้ ที่จริงส่วน ที่ไม่ดี ท่านก็ไม่ได้สอน ทำเอาเอง

   การพัฒนาจิตหรือวิญญาณให้ดียิ่งขึ้น คือเรา ต้องไม่วิตกต่อการเปลี่ยนแปลงในหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตอยู่เสมอว่า ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลง เราจะต้องเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่เลวลง

   เรื่องนี้ทำให้เราสบายใจต่อการเปลี่ยนแปลง ได้ทุกๆ กรณี บางเรื่องบางทีสิ่งที่เราได้รับ ดูเหมือนจะเป็นข่าวร้ายสำหรับเรา แต่ว่าพอมองให้ดีจะต้องมีผลดี แอบแฝงในเหตุการณ์เหล่านั้นบ้างไม่มากก็น้อย อย่างน้อย ที่สุดเราก็มีกำไรสุทธิ คือการได้บทเรียนและได้ความรู้จากเหตุการณ์นั้นเอง แม้จะเป็นความผิดพลาดบกพร่องของเรา ก็เป็นประโยชน์และผลกำไรสำหรับใช้วิเคราะห์เหตุการณ์ ให้เรารักษากำลังใจเอาไว้ให้ดี และหมั่น ประกอบกรรมดีเอาไว้เสมอ

    ศึกภายนอกเขาสู้กันด้วยกำลังอาวุธ เสบียง กำลังพล แต่ศึกภายในเราต้องสู้กันด้วยกำลังใจ ศึกชีวิต สงครามชีวิต ต้องสู้ด้วยกำลังใจ ถ้ามีกำลังใจอยู่ก็มีหวังชนะ เราจะแพ้ก็เมื่อหมดกำลังใจ บางทีสิ่งที่ดูเหมือนร้ายในเบื้องต้น จะดีในเบื้องปลายก็ได้

    ขออย่าได้กลัวความเปลี่ยนแปลงของชีวิต จะต้องนึกมั่นใจอยู่เสมอว่า เราจะต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ใจของเราจะไม่เดือดร้อน เป็นการรักษาจิตอย่างดีที่สุด

    อีกประการหนึ่ง ขอให้เราฝึกความคิดความสำนึก หรือฝึกจิตของเราให้คุ้นกับสิ่งที่เรียกว่า พหุลา-นุสาสนี คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนอยู่ เสมอว่า

"ทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทนไม่ได้ และทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนที่จะยึดถือได้ บังคับบัญชาไม่ได้"

    นี่ก็เป็นเรื่องเหนือจริยธรรมเหนือจริยศาสตร์ ก็มีหลักฐานจากคัมภีร์บางแห่งว่า น หิ สีลวตํ เหตุ อุปฺปชฺชนฺติ ตถาคตา อฏฺฐกฺขรา ตีณิ ปทา สมฺพุทฺเธน ปกาสิตา แปลว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ไม่ได้อุบัติขึ้นเพื่อทรงสอนศีลธรรมเท่านั้น แต่ทรงอุบัติขึ้นเพื่อทรงประกาศ 3 บท 8 อักษร 3 บท ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง 8 อักษร ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ว่ามันออกเสียง อะ เมื่ออนิจจังก็ 3 แล้ว ทุกขังก็ 2 อนัตตา ก็ 3 เป็น 8 อักษร

      การอบรมไตรลักษณ์ ทำให้จิตใจสบายอยู่เสมอ และเพิ่มพูนปัญญาในทางธรรมอย่างมาก นอกจากนี้ เราก็ควรจะสนใจศึกษาให้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท คือ กลุ่มธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ทุกอย่างอยู่ในปฏิจจสมุปบาท มันเป็น cosmic law ครอบจักรวาล ทุกอย่างมันอาศัยกันเกิดขึ้น ไม่เป็นอิสระแก่ตัว ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ที่ว่ามันจะเป็นได้เองโดยไม่มีเหตุปัจจัยให้มันเกิดขึ้น มันต้องมีเหตุปัจจัยให้เกิด

      แต่ในระดับสูง ท่านให้พิจารณาให้เห็นเป็นความว่างหรือสุญญตา เป็นเพียงกลุ่มธรรมล้วนๆ เป็นไปอยู่ อย่างสุภาษิตที่ท่านกล่าวไว้ อันนี้หมายถึงระดับสูงนะ ไม่ใช่ระดับจริยธรรม ถ้าระดับจริยธรรม ท่านต้องพูดอีกแบบหนึ่ง เช่นว่า กลฺยาณการี กลฺยาณํ ผู้ทำดีย่อมได้รับผลดี ปาปการี จ ปาปกํ ผู้ทำชั่วย่อม ได้รับผลชั่ว

      แต่ว่าเหนือจริยธรรมขึ้นไป ในระดับของ สุญญตา ในระดับของปฏิจจสมุปบาท ท่านจะพูดใหม่ว่า ผู้กระทำกรรมไม่มี ผู้เสวยผลของกรรมไม่มี ธรรมล้วนๆ เป็นไปอยู่ นี่คือความเห็นที่ถูกต้อง เอเวตํ สมฺมทสฺสนํ นี่คือทัศนะที่ถูกต้อง

      นี่ก็ในระดับปรมัตถธรรม หมายถึงว่า ธรรมที่ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเอามาดับทุกข์ได้ คำว่า สุทธธัมมา หรือธรรมล้วนๆ หมายถึง กลุ่มปฏิจจสมุปบาท เป็น dependent origination หรือ The Law of causa-tion บางทีเรียกว่า The Law of dependent origina-tion อาศัยกันเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน คำสอนที่ว่ากรรมไม่มี ผู้เสวยผลของกรรมไม่มี เป็นต้น ก็เล็งถึงธรรมระดับสูงที่เป็นโลกุตตรธรรม เหนือบุญเหนือบาป ไม่ได้มุ่งให้ปฏิเสธเรื่องกฎแห่งกรรม หรือการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั่นเป็นหลักจริยธรรมพื้นฐาน พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์ที่จะทรงยกระดับพุทธสาวก ที่ทำจริยธรรมขั้นพื้นฐานสมบูรณ์แล้วให้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่งซึ่งอยู่เหนือระดับศีลธรรม จึงทรงแสดงเรื่องกลุ่มธรรมหรือปฏิจจสมุปบาท ผู้ที่เข้าใจเรื่องอย่างนี้ดีก็จะสามารถถอนตัณหานุสัยหรือตัณหาอุปาทานได้ง่าย เป็นไป เพื่อความบริสุทธิ์ของจิตหรือวิญญาณ

อ้างถึง "วิธีทำจิตให้บริสุทธิ์ : อ.วศิน อินทสระ " http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%AD-%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0-219055.html



 
5  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 04:03:59 pm


 :67:              มงคลที่ ๓๕   มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม      :13:
             

                           ๏ ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่
                        ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก
                        เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก
                        มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ.

 
         คำว่าโลกธรรม มีความหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำบนโลกนี้ ซึ่งเราไม่ควรมีจิดหวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ท่านว่าลักษณะของโลกธรรมมี  ๔  ประการคือ

       ๑.การได้ลาภ เมื่อมีลาภผลก็ย่อมมีความเสื่อมเป็นธรรมดา มีแล้วก็ย่อมหมดไปได้ เป็นแค่ความสุขชั่วคราวเท่านั้น
 
๒.การได้ยศ ยศฐาบรรดาศักดิ์ล้วนเป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาทั้งนั้น เป็นสิ่งที่คนยอมรับกันว่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ พอหมดยศก็หมดบารมี
 
๓.การได้รับการสรรเสริญ ที่ใดมีคนนิยมชมชอบ ที่นั่นก็ย่อมต้องมีคนเกลียดชังเป็นเรื่องธรรมดา การถูกนินทาจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
 
๔.การได้รับความสุข ที่ใดมีสุขที่นั่นก็จะมีทุกข์ด้วย มีความสุขแล้วก็อย่าหลงระเริงไปจนลืมนึกถึงความทุกข์ที่แฝงมาด้วย การทำให้จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม มีวิธีดังนี้คือ   ๑.ใช้ปัญญาพิจารณา โดยตั้งอยู่ในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา พิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงหลักธรรมต่างๆ
 
๒.เจริญสมาธิภาวนา ใช้กรรมฐานพิจารณาถึงความเป็นไปในความไม่เที่ยงในสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก และสังขาร

 

 
http://www.dhammathai.org/treatment/poem/poem35.php


[/]
6  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / การสนทนาธรรมตามกาล เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 03:39:32 pm
                             ๏ ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย
                         เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
                         เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล
                         ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร. 

   :25:
     
         การได้สนทนากันเรื่องธรรม ทำให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และได้รู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง หรือเป็นการเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่นได้ทราบด้วย
 
         ก่อนที่เราจะสนทนาธรรม ควรต้องพิจารณาและคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ
         ๑.ต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี
         ๒.ต้องพูดเรื่องจริง มีประโยชน์
         ๓.ต้องเป็นคำพูดที่ไพเราะ
         ๔.ต้องพูดด้วยความเมตตา
         ๕.ต้องไม่พูดจา่โอ้อวด หรือยกตนข่มท่าน
 
       ข้อปฏิบัติเมื่อมีการสนทนาธรรม
     ๑.มีศีลธรรม คือการเป็นผู้ที่รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ เป็นนิจศีลอยู่แล้ว การเป็นผู้ปฏิบัติถือเป็นหน้าที่ขั้นต้นในการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
     ๒.มีสมาธิดี คือการมีจิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่สนทนา ไม่ว่อกแวก พร้อมทั้งเป็นผู้ที่หมั่นเจริญสมาธิภาวนาด้วย
     ๓.แต่งการสุภาพ คือการแต่งตัวให้เหมาะสมกับยุคสมัย อยู่ในกรอบประเพณีของสังคมแวดล้อม ณ ที่นั้นๆ ถูกกาลเทศะ
     ๔.มีกิริยาสุภาพ คือมีความสุภาพในท่วงท่าไม่ว่าจะเดิน นั่ง ยืน หรือการกระทำใดๆ การที่มีกิริยางดงาม สุภาพย่อมโน้มน้าวจิดใจผู้พบเห็นให้เกิดความประทับใจที่ดี
     ๕.ใช้วาจาสุภาพ คือการใช้ถ้อยคำที่สุภาพในการสนทนา ไม่ใช้คำหยาบคาย หรือก้าวร้าว
     ๖.ไม่กล่าวค้านพระพุทธพจน์ คือการไม่นำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นข้อสงสัย หรือกล่าวค้าน เพราะสิ่งที่กล่าวไว้ในพระพุทธพจน์ย่อมเป็นความจริงตลอดกาล
     ๗.ไม่ออกนอกประเด็นที่ตั้งไว้ คือการพูดให้อยู่ในหัวข้อที่ตั้งไว้ ไม่พูดแบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
     ๘.ไม่พูดนานจนน่าเบื่อ คือการเลือกเวลาที่เหมาะสมตามสถานการณ์ เนื่องจากเรื่องบางเรื่องอาจไม่จำเป็นต้องขยายความมากเกินไป

http://www.dhammathai.org/treatment/poem/poem30.php
7  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ธรรมะสำหรับวันวาเลนไทน์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 03:21:25 pm
        :88: นิยามจริง ๆ ของความรักนั้นคือ ความเป็นห่วงเป็นใย ไม่อยากให้คนที่เราผูกพันนั้นต้องลำบาก โดยเราไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ อยากให้เขามีความสุขแค่นี้ก็เป็นสุขใจ

        อันนี้ถือว่าเป็นความรักที่ถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดผลร้ายแก่ตัวผู้รักและถูกรัก แต่ปัจจุบันนี้คนหลายคนเข้าใจเกี่ยวกับความรักไปในทางที่ผิดเช่น รักเพราะอยากได้เขาเป็นของเรา รักเพราะเขาเพราะความเหงาไม่อยากอยู่คนเดียว รักเพราะไม่อยากสูญเสียเขาไป เป็นต้น

       ความรักที่ว่านี้จัดเป็นความรักที่เป็นโทษเพราะก่อความทุกข์ใจให้ทั้งสองฝ่าย ทำให้เกิดความหึงหวง ไม่เป็นส่วน บางทีอาจจะกลายเป็นไฟตัณหาซะด้วยซ้ำ ทำให้เกิดการหมางใจระหว่างคู่รักก็มี จนต้องเลิกรากันไปเพราะไม่เข้าใจกัน

       เมื่อเข้าใจพื้นฐานของความรักแล้วทุกคนควรร่วมปฏิบัติตัวให้มีความรักแบบที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้รักษาน้ำใจคนที่รัก ให้สามารถรักกันนานได้ แม้ความตายมาพรากก็ไม่อาจจะพรากใจคู่รักให้แยกกันไปได้ ทุกคนจึงควรปลูกฝังคุณธรรมแห่งความรักไว้ในใจดังนี้

1.เมตตา ให้รักเขาด้วยเมตตาไม่อยากให้เขาได้รับทุกข์

2.กรุณา ให้รักเขาด้วยความเมตตา แม้เขาทุกข์อะไรเราก็พร้อมจะช่วยเหลือเขาให้เขาหายจากความเศร้าโศก หากเขาทำอะไรผิดก็พร้อมจะชี้ทางให้เขากลับเข้ามาในทางที่ถูกที่ควรเสมอ

3.มุฑิตา แม้ว่าเขาจะไปทำอะไรที่ไหน หากเป็นสิ่งที่ดีที่ควรแล้วก็ควรปล่อยเขาไปทำ ควรยินดีกับเขาเมื่อเขาได้พบสิ่งที่ดี ไม่หึงหวงเพราะอยากให้เขาอยู่กับเรานาน ๆ

4.อุเบกขา แม้เกิดอุปสรรคใดขึ้นกับความรักก็พร้อมจะวางเฉยไม่ทำความเดือดเนื้อร้อนใจให้เพิ่มขึ้นแก่ทั้งสองฝ่าย เพราะไฟตัณหาจากความรักนั้นร้อนแรงร้ายกาจยิ่งกว่าสิ่งใด หากไม่ควบคุมให้ดีย่อมจะกลับมาเผาใจตัวเองให้มอดไหม้ไปได้

5.ปิยะวาจา ควรพูดด้วยวาจาที่มีเสน่ห์คือ พูดเพราะ พูดแต่ความจริง พูดแต่สิ่งที่มีประโยชน์ให้แก่กัน เพื่อรักษาน้ำใจให้ครองรักกันได้นาน

6.ทาน แบ่งปันสิ่งที่ดีให้แก่กันคือ อาจจะหยิบยื่นสิ่งที่จำเป็นให้แก่คนรัก ไม่จำเป็นจะต้องเป็นวัตถุแต่อาจจะเป็นอยากอื่นก็ได้เช่น แบ่งปันความอบอุ่นใจให้แก่เขา ไม่ทำให้เขาว้าเหว่ เป็นต้น

7.สมานัตตา ทำตัวเสมอต้นเสมอปลายรักเขายังไงก็รักอย่างนั้น ไม่ลดน้อยลงเพราะจะเกิดความเบื่อหน่ายจนต้องเลิกรักกันไป

8.อัตถจริยา หมั่นทำตัวเองให้ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนรักเช่น ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่ทำตัวเหลวไหลเที่ยวไปในที่ไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น เพื่อจะได้ไม่เกิดความระหองระแหงใจแก่กัน

ธรรมทั้ง 8 ข้อนี้มาจาก พรหมวิหาร 4 และสังคหวัตถุ 4 ซึ่งเป็นธรรมที่จะยึดเหนี่ยวจิตใจคนให้รักกันไปตลอดกาล แม้เกิดข้ามภพข้ามชาติไปใหม่ก็ยังจะคงกลับมารักกันเป็นบุเพสันนิวาส ไม่มีวันจะเลิกรากันง่าย ๆ ซึ่งเป็นความรักที่ไม่มีโทษภัย __________________
ทาสปัจเจกพุทธเจ้า (ข้าพเจ้าขอเป็นข้ารับใช้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ )     :58: http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%8C-4874.html
8  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / วิธีดับทุกข์ เพราะ...เพื่อน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 02:06:02 pm
                  วิธีดับทุกข์ เพราะ...เพื่อน
                                       
 
                                                    สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาวศักยะ ในแคว้นสักกะ ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ ได้เข้าเฝ้าแล้วกราบทูลพระพุทธองค์ว่า
         
          " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี และมีเพื่อนที่ดีนั้น นับว่าเป็นครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์ทีเดียวนะ พระเจ้าข้า"

          พระพุทธองค์ ได้ตรัสค้านขึ้นว่า
          "อานนท์ ! เธออย่าได้พูดอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น ก้ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี และมีเพื่อนดีนั้น นับว่าเป็นพรหมจรรย์หมดทั้งสิ้นที่เดียว

           อานนท์ ! อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี และมีเพื่อนที่ดีก็เป็นอันหวังได้แน่นอนว่า จะได้เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จะกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘"

          ได้ยกเอาพระสูตรสำคัญที่สุด ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสคัดค้านพระอานนท์ ที่กราบทูลว่า การมีเพื่อนที่ดี เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์เท่านั้น แต่พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นทั้งหมดทีเดียว
 
          ข้อนี้เป็นที่รับรองของท่านผู้รู้ อย่างชนิดใต้องสงสัยเลยเพราะมีสุภาษิตรับรองอยู่ทั่วไป เช่น คบคนใด ย่อมเป็นคนเช่นคนนั้น คบคนเลวก็ย่อมเลวตาม และคบคนดีย่อมดีขึ้นในทันที เป็นต้นอานนท์ ! อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี และมีเพื่อนที่ดีก็เป็นอันหวังได้แน่นอนว่า จะได้เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จะกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘"
 
         ในมงคล ๓๘ ท่านจึงได้วางหรือจัดเรื่องการไม่คบคนพาลไว้เป็นข้อแรก และจัดเรื่องการคบกับบัณฑิตไว้เป็นข้อที่ ๒ ทั้งนี้ก็เพราะ การคบเพื่อนเหมือนกับการเริ่มต้น ของการเดินทาง การคบเพื่อนที่ไม่ดีก็เหมือนการเดินทางผิด ยิ่งเดินก็ยิ่งผิด ทางที่ถูกก็คือ ต้องตั้งต้น เดินใหม่ นั่นคือการเลือกคบแต่คนดี

          ปัญหามีต่อไปว่า เราจะไม่ได้อย่างไรว่า เพื่อนคนไหนดีหรือไม่ดี ? การคบกันใหม่ ๆ ย่อมจะดูยาก ไม่เหมือนการดูสัตว์บางประเภท เช่น เสือมันก็ยังมีลายหรือสีที่ขนพอให้แยกได ว่าเป็นเสือหรือประเภทอะไร เป็นต้น

         การดูคนดีหรือชั่ว เรามีจุดที่จะดูอยู่ ๓ จุดคือ ที่กายวาจา และที่ใจของเขา โดยมีศีลธรรมเป็นมาตรวัดดังนี้
          ทางกาย ๔ คือ ไม่พูดปด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียดและ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
          ทางใจ ๓ คือ ไม่โลภ อยากได้ในทางที่ผิด มีจิตเมตตาไม่ปองร้ายหรือพยาบาท และ มีความเห็นชอบและถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

          มีข้อที่ดูยากก็คือ ทางใจ แต่ก็พอจะดูได้ เพราะเมื่อใจคิดแล้วมันก็ต้องพูดหรือทำ ไม่ช้าก็เร็วออกมาจนได้ การคบกันนาน ๆ จึงจะรู้ธาตุแท้หรือสันดานของคนได้แม้จริง

          ในอกิตติชาดก (๒๗/๓๓๗) ท่านแนะให้ดูคนพาล หรือคนชั่วที่ ๕ จุดนับว่าเข้าทีและเป็นไปได้ คือ
          - คนพาลชอบชักและนำในทางที่ผิด
          - คนพาลมักชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระหน้าที่ของตน
          - คนพาลมักจะเห็นผิดเป็นชอบ
          - คนพาลแม้หรือใคร ๆ พูดดี ๆ ก็โกรธ
          - คนพาลไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัยหรือกฎหมาย

           เป็นอันว่า เราได้ทั้งหลัก และแนวทางของการดูคน ว่าดีหรือชั่วแล้ว ที่นี้ก็อยู่ที่ว่า เราจะเลือกคบกับคนดี หรือคนชั่ว ถ้าเราเลือกคบคนดี และนึกรังเกียจคนชั่ว ก็แสดงว่าพื้นจิตของเรามีสัมมาทิฐิ
         
           แต่ถ้าจิตของเราเกิด เห็นกงจักรเป็นดอกบัว คือเห็นผิดเป็นชอบ รังเกียจคนดี แส่เที่ยวหาคบแต่คนชั่ว ก็แสดงว่าพื้นจิตของเราเป็นมิจฉาทิฐิ นับว่าเป็นอันตรายมาก ควรรีบแก้ไขเสียโดยด่วน ถ้าขืนปล่อยไปตามนั้นอนาคตที่มองเห็นก็คือ ไม่ตายตอนแก่แน่ ๆ ขนาดเบาก็มีคุกเป็นบ้านถาวร
 
          คนเราเป็นสัตว์สังคม จึงจำเป็นต้องคบหาเพื่อนฝูง ไม่มีเพื่อนมากก็ต้องมีน้อย เพราะไม่มีใครจะอยู่คนเดียวในโลกได้

          การคบเพื่อนที่ดี ย่อมจะนำแต่ความสุข และความเจริญมาให้ในทางตรงข้า ถ้าคบเพื่อนชั่วหรือพาล ย่อมจะนำความทุกข์เดือดร้อนและความเสื่อมนานาประการมาให้
 
          ดังนั้นใครมีเพื่อนที่ดีอยู่แล้ว ก็ควรจะถนอมน้ำใจด้วยการปฏิบัติตาม "สังคหวัตถุ ๔" อย่างสม่ำเสมอ ก็ย่อมจะผูกน้ำใจเพื่อนที่ดีไว้ได้ ตลอดกาล
 
          ถ้ามีเพื่อนเป็นคนชั่ว ก็ควรเร่งถอนตัว ตีจากเสียให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันทุกข์ภัย ที่จะมีในปัจจุบัน และในอนาคตคนเดียวในโลกได้

         
                                                                                                                                                                                                               ทางแก้       
 
         ๑. พิจารณาให้เห็นโทษ ของการคบกับคนชั่ว และคุณของการคบกับคนดี อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน และต้องตัดใจเลิกคบกับคนชั่วให้ได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น
          ก. เลิกคบกันทันทีทันใด ถ้าคิดว่าทำแล้วจะไม่เกิดมีทุกข์หรือภัยตามมาภายหลัง
          ข. ค่อย ๆ แยกหรือปลีกตัวออกมา โดยที่ไม่ให้เขารู้ตัว
          ค. ตัดสายสัมพันธ์ ที่เป็นสื่อเชื่อมโยงออกให้หมด

          ๒. ถ้าอยู่โรงเรียนเดียวกัน หรือทำงานร่วมกันก็อาจขอย้ายห้องย้ายโรงเรียน หรือเปลี่ยนงานใหม่ ก็แล้วแต่กรณี
          ๓. ย้ายบ้าน อย่าอยู่ใกล้ชิดกันอีกต่อไป
          ๔. เลือกคบหาคนดีไว้ทดแทน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมไม่อาจจะอยูโดดเดี่ยวได้
 
          เป็นธรรมดาอยู่เอง เมื่อเราคบกับคนชั่ว คนดีก็ย่อมรังเกียจไม่คบหาด้วย และเมื่อเราเลิกคบกับคนชั่ว คนดีก็ย่อมคบหาด้วย อย่ากลัวเลยว่า จะหาคนดีคบไม่ได้ ขอแต่ว่าให้เราเป็นคนดีจริง ๆ เถอะ อย่าเป็นคนประเภท "ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ" ก็แล้วกัน
          ทุกวันนี้ โลกเราหนาแน่นไปด้วยคนมีความรู้ มีดีกรีสูงแต่ขาดแคลนคนดีหรือบัณฑิต (ผู้มีปัญญา) ยิ่งนัก


 
 
ที่มา : หนังสือคู่มือดับทุกข์

http://www.dhammathai.org/book/dubtuk02.php
 
9  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เกี่ยวกับการฝึก สติปัฏฐาน สันโดด เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 08:08:20 pm
คำที่กลั้นหายใจ 37 ลูกประคำ ที่พระอาจารย์ขึ้นแจ้งไว้ มีธาตุน้ำ 12 ธาตุดิน 21 รวมเป็น 33 ยังขาด 4 คำ ไม่ทราบว่าเป็นคำอะไรค่ะ โยมแอ๊วฝากกราบเรียนถามพระอาจารย์ช่วยตอบให้หน่อยนะเจ้าคะ  :'( :'(
10  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / เวลาไม่คอยใคร เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 05:43:47 pm
 :33: 
ถ้าอยากรู้ว่าเวลา 1 ปี........ มีค่าเพียงใด.......ให้ถามนักเรียนที่สอบไล่ตก  :signspamani:
ถ้าอยากรู้ว่าเวลา 1 เดือน.....มีค่าเพียงใด.......ให้ถามมารดาที่ต้องคลอดบุตรก่อนกำหนด
ถ้าอยากรู้ว่าเวลา 1 สัปดาห์...มีค่าเพียงใด.......ให้ถามบรรณาธิการหนังสือรายสัปดาห์
ถ้าอยากรู้ว่าเวลา 1 ชั่วโมง....มีค่าเพียงใด.......ให้ถามคู่รักที่ต้องรอเวลาจะพบกัน :bedtime2:
ถ้าอยากรู้ว่าเวลา  1 นาที.... มีค่าเพียงใด.......ให้ถามคนที่พลาดรถไป รถประจำทางหรือเครื่องบิน
ถ้าอยากรู้ว่าเวลา 1 วินาที.... มีค่าเพียงใด.......ให้ถามคนที่รอดจากอุบัติเหตุอย่างหวุดหวิด
ถ้าอยากรู้ว่าเวลาในเสี้ยววินาที.... มีค่าเพียงใด.......ให้ถามนักกีฬาโอลิมปิคที่ได้เหรีญเงิน

   :P เวลาไม่เคยรอใคร   :s_hi:

    เราควรใช้ทุกขณะอันมีค่ายิ่งให้ดีที่สุด
    เราสามารถแบ่งปันสิ่งที่ดี ๆ ให้กับใครบางคน
    โปรดอย่าเก็บมันไว้.......คนเดียว

        :91:  :s_laugh:
11  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ข้อคิดดีๆ ที่ไม่ควรทำ เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 01:19:42 pm
คำสอนของท่าน ว.วชิรเมธี
12  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / บทสวดมนต์ มนต์พิธี เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2009, 11:12:19 am
นำบทสวด พร้อมเสียง เพื่อจะได้ปฏิบัติไปเลย  :-* ::)

หน้า: [1]