ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสุตะ | สุตะ คือ สิ่งที่ได้ยิน ได้ฟังมา การศึกษาเล่าเรียน  (อ่าน 297 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ปญฺญา สุตวินิจฺฉินี - ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสุตะ | สุตะ คือ สิ่งที่ได้ยิน ได้ฟังมา การศึกษาเล่าเรียน

หน้าที่ของปัญญา ปัญญามีหน้าที่สำคัญคือ การวินิจฉัยเหตุการณ์ วินิจฉัยเรื่องราวให้รู้ความจริงว่า
     ผิด ถูก ดี ชั่ว อย่างไร
     อะไรจริง อะไรเท็จ
     อะไรเป็นสัจธรรม
     อะไรเป็นเพียงมายา

ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสุตะ (สุตะ คือ สิ่งที่ได้ยิน ได้ฟังมา การศึกษาเล่าเรียน ปญฺญา สุตวินิจฺฉินี) เลือกถือเอาเฉพาะสิ่งที่ถูกต้อง ละทิ้งสิ่งที่ไม่ถูกต้องเสีย ถ้าไม่มีปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยแล้ว คนก็จะไม่สามรถแยกสิ่งที่ถูกต้องออกจากสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้ คงจะต้องถือสับสนปนเปคละเคล้ากันไป ทำให้รุงรังโดยเปล่าประโยชน์

การที่บุคคลสามารถละทิ้ง สิ่งที่ไร้สาระถือเอาสิ่งที่มีสาระ หรือละทิ้งสิ่งที่มีสาระน้อย เพื่อสิ่งที่มีสาระมากได้
ก็เพราะมีปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัย และดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง มิฉะนั้นแล้วจะเหมือนควายตาบอด เที่ยวไปในป่า


@@@@@@@

สมดังคำของบัณฑิตที่ว่า
     โน เจ อสฺส สกา พุทฺธิ   วินโย วา สุสิกฺขิโต
     วเน อนฺธมหิโสว        จเรยฺย พหุโก ชโน
     ยสฺมา จ ปนิเธกจฺเจ    อาจารมฺหิ สุสิกฺขิตา
     วินีตวินยา ธีรา         จรนฺติ สุสมาหิตาติ


แปลว่า “ถ้าปัญญาประจำตน หรือวินัยที่สำเหนียกศึกษาดีแล้ว ไม่พึงมีไซร้ คนเป็นจำนวนมากในโลกนี้ ก็พึงดำเนินชีวิตไปอย่างมืดบอก เหมือนควายตาบอดท่องเที่ยวไปในป่าฉะนั้น แต่เพราะเหตุที่บุคคลบางพวกในโลกนี้ได้ศึกษาดีแล้ว ในสำนักของอาจารย์เป็นผู้มีวินัยดี จึงเป็นปราชญ์มีใจมั่นคงดี”

บัณฑิตผู้กล่าวคำนี้ คือ ท่านคันธารดาบส เป็นผู้ไดฌานและอภิญญา สหายของท่านผู้หนึ่งชื่อ เวเทหดาบส สะสมเกลือไว้บริโภค ท่านคันธารดาบสจึงตักเตือน ติเตียนว่า ทำสิ่งอันไม่สมควรแก่ดาบส ที่สู้อุตส่าห์สละทรัพย์สินสมบัติออกบวช แต่มาสะสมเกลือ เวเทหดาบสไม่อดทนต่อคำตักเตือน จึงโกรธคันธารดาบส จึงกล่าวถ้อยคำสั่งสอนดังกล่าวแล้ว

จะเห็นว่า ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยว่า สิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร อย่างไร เรื่องของท่านมโหสถบัณฑิต อันเป็นชาดกทางพุทธศาสนาเรื่องหนึ่ง เป็นการแสดงถึงปัญญาที่ท่านมโหสถ ใช้เป็นเครื่องวินิจฉัยเหตุการณ์ต่างๆทั้งสิ้น และวินิจฉัยได้อย่างน่าอัศจรรย์ ท่านที่ต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ควรอ่าน มโหสถชาดก






ขอขอบคุณ :-
บทความ : จากหนังสือ “กรรมฐานและภาวนา” โดย อ.วศิน อินทสระ เพจอาจารย์วศิน อินทสระ
web : dhamma.serichon.us/2021/06/18/หน้าที่ของปัญญา-ปัญญามี/
Posted date : 18 มิถุนายน 2021 , By admin.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 25, 2021, 10:06:54 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ