เรื่องทั่วไป > ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน)

พรหม ที่ปรากฏใน พระไตรปิฏก มีกี่พรหม คะ

(1/2) > >>

sunee:
อยากทราบ พรหม ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก มีกี่พรหม และ กี่ประเภท คะ
พรหม เหล่านี้ได้บรรลุ เป็นพระอริยะบุคคลด้วยหรือไม่ คะ

  :c017: :25: :88: :58:

raponsan:
 
(รูปาวจรภูมิ) 
        ในพรหมโลก ผู้ที่เกิดเป็นพรหม มีอยู่ ๒ ประเภท คือ
         มีรูปร่างกาย (ขันธ์ ๕) อย่างมนุษย์หรือเทวดา เรียกว่า “รูปพรหม” กับ
         พรหมที่ไม่มีรูปมีแต่จิตวิญญาณ (นามขันธ์ ๔) เรียกว่า “อรูปพรหม”
         
          ผู้ที่จะไปเกิดเป็นพรหมจะต้องได้ ฌาน ซึ่งถือว่าเป็นบุญ ที่มีกำลังแรงมาก ถ้าฌานไม่เสื่อม ชาติหน้าจะต้องไปเกิด เป็นพรหมแน่นอน ถือเป็น “ครุกรรม” คือกรรมหนักที่เป็นฝ่ายดี พรหมที่มีรูป หรือ รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น ดังนี้
           
           
          ได้แก่ ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐานจนบรรลุปฐมฌาน โดยมีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา  โดยแบ่งลักษณะการได้ฌานออกเป็น ๓ ระดับ คือ
     ปฐมฌานอย่างอ่อน
     ปฐมฌานอย่างกลาง และ
     ปฐมฌานอย่างแก่กล้า
 
          ดังนั้น ผู้ที่ได้ปฐมฌานจึงไปเกิดได้ ๓ ภูมิ ด้วยกันตามกำลังของฌานที่ได้ คือ
 
๑. พรหมปาริสัชชาภูมิ 
          พรหมที่เกิดในภูมินี้ เกิดด้วยอำนาจของปฐมฌาน ที่มีกำลังอ่อน เป็นพรหมที่ไม่มีอำนาจพิเศษอะไร จัดอยู่ในประเภทพรหมที่ เป็นบริวาร คอยรับใช้พรหมที่เป็นหัวหน้า คือ ท้าวมหาพรหม มีอายุ ๑ ใน ๓ มหากัป
๒. พรหมปุโรหิตาภูมิ 
          พรหมที่เกิดในภูมินี้เกิดด้วยอำนาจของฌาน ที่มีกำลังปานกลาง เป็นพรหมที่ปรึกษา ในกิจการงานของพรหมที่เป็นหัวหน้า คือ ท้าวมหาพรหม มีอายุ ๑ ใน ๒ ของมหากัป
๓. มหาพรหมาภูมิ
          พรหมที่เกิดในภูมินี้เกิดด้วยอำนาจของฌานที่มีกำลังแก่กล้า เป็นพรหมที่เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ปกครองพรหมในชั้นปฐมฌานภูมิทั้งหมด มีอายุ ๑ มหากัป
           
ที่ตั้งของปฐมฌานภูมิ ๓
          พรหมทั้ง ๓ ชั้นนี้ ตั้งอยู่กลางอากาศในระดับเดียวกัน ห่างจากเทวดาชั้นสูงสุด คือ ปรนิมมิตวสวัตดี ประมาณ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ มีวิมาน สวนดอกไม้ และสระโบกขรณี อันล้วนด้วย รัตนะทั้ง ๗ มีรัศมีแวววาวสวยงามยิ่ง ถึงอย่างไรก็ดี เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ น้ำ หรือลม ปฐมฌานภูมินี้ ย่อมถูกทำลายไปด้วยทุกครั้ง
           
           
          ได้แก่ ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐาน จนบรรลุทุติยฌาน หรือตติยฌาน ซึ่งมีจิตที่ละเอียดกว่าปฐมฌาน
   สำหรับทุติยฌาน องค์ฌานจะลดลงเหลือเพียง ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา
   ผู้ที่ได้ตติยฌาน องค์ฌานลดลงเหลือ ๓ คือ ปีติ สุข และ เอกัคคตา
   พรหมในทุติยฌานภูมินี้ เป็นพรหมที่มีรัศมีประจำกาย แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ เช่นเดียวกับปฐมฌานภูมิ คือ มีกำลังอ่อน ปานกลาง และแก่กล้า

      ดังนั้น ผู้ที่ได้ทุติยฌาน และตติยฌาน จะไปเกิดในทุติยฌานภูมิ ๓ เช่นเดียวกัน เพราะอำนาจของวิตกและวิจารนั้นใกล้เคียงกันมาก ในทุติยฌานภูมินี้ แบ่งออกเป็น ๓ ภูมิ คือ
           
๑. ปริตตาภาภูมิ
          พรหมที่เกิดในภูมินี้จะมี รัศมีไม่สว่างรุ่งโรจน์นัก เกิดด้วยอำนาจ ของทุติยฌานที่มีกำลังอ่อน เป็นพรหมที่เป็นบริวาร คอยรับใช้ พรหมที่เป็นหัวหน้า คือ อาภัสสรพรหม มีอายุ ๒ มหากัป
๒. อัปปมาณาภาภูมิ
          พรหมที่เกิดในภูมินี้จะ มีรัศมีรุ่งโรจน์หาประมาณมิได้ เกิดด้วยอำนาจของทุติยฌานที่มีกำลังปานกลาง มีหน้าที่ให้คำปรึกษา ในกิจการงานของอาภัสสรพรหม มีอายุ ๔ มหากัป 
๓. อาภัสสราภูมิ 
          พรหมที่เกิดในภูมินี้จะ มีรัศมีแผ่ซ่านออกจากร่างกาย เกิดด้วยอำนาจ ของทุติยฌานที่มีกำลังแก่กล้า เป็นพรหมที่เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า อยู่ในชั้นทุติยฌานภูมิ ๓ มีอายุ ๘ มหากัป
           
ที่ตั้งของทุติยฌานภูมิ ๓
          ทุติยฌานภูมิ ๓ นี้ ตั้งอยู่กลางอากาศ สูงจากปฐมฌานภูมิขึ้นมาประมาณ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ มีวิมาน ดอกไม้ และสระโบกขรณี ที่สวยงามประณีตยิ่งกว่าปฐมฌานภูมิ ๓
           
           
        ได้แก่ ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐานจนบรรลุจตุตถฌาน เป็นฌานที่ประณีตกว่าทุติยฌาน และตติยฌาน องค์ฌานจะลดลงเหลือ ๒ คือ สุข และ เอกัคคตา เป็นพรหมที่มีรัศมีกายสวยงาม แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ กำลังอ่อน ปานกลาง และแก่กล้า แบ่งออกเป็น ๓ ภูมิ คือ
           
๑. ปริตตสุภาภูมิ
          พรหมที่เกิดในภูมินี้จะ มีรัศมีสวยงามไม่มากนัก เกิดขึ้นด้วยอำนาจของจตุตถฌานที่มีกำลังอ่อน เป็นพรหมที่เป็นบริวารคอยรับใช้ พรหมที่เป็นหัวหน้า คือ สุภกิณหาพรหม มีอายุ ๑๖ มหากัป
๒. อัปปมาณสุภาภูมิ 
          พรหมที่เกิดในภูมินี้จะ มีรัศมีสวยงามหาประมาณมิได้ เกิดขึ้นด้วยอำนาจของจตุตถฌานที่มีกำลังปานกลาง เป็นพรหมที่ให้คำปรึกษา ในกิจการงานของพรหมที่เป็นหัวหน้า คือ สุภกิณหาพรหม มีอายุ ๓๒ มหากัป
๓. สุภกิณหาภูมิ
          พรหมที่เกิดในภูมินี้จะ มีรัศมีสวยงามทั่วร่างกาย เกิดขึ้นด้วยอำนาจของจตุตถฌาน ที่มีกำลังแก่กล้า เป็นพรหมที่เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ปกครองพรหมในชั้นตติยฌานภูมิ ๓ ทั้งหมด มีอายุ ๖๔ มหากัป
           
ที่ตั้งของตติยฌานภูมิ ๓
          ตติยฌานภูมิ ๓ นี้ ตั้งอยู่กลางอากาศห่างจากทุติยฌานภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ในระดับเดียวกันทั้ง ๓ ภูมิ ประกอบด้วยรัตนะทั้ง ๗ พรั่งพร้อมด้วยวิมาน สวน สระโบกขรณี และต้นกัลปพฤกษ์
 
ที่มา http://www.buddhism-online.org/Section06B_10.htm

raponsan:


          ได้แก่ ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐาน จนบรรลุปัญจมฌาน เป็นฌานที่ประณีตกว่าจตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา และ เอกัคคตา แบ่งออกเป็น ๗ ภูมิ ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคล ๕ ภูมิ เรียกว่า สุทธาวาสภูมิ ๕ อีก ๒ ภูมิ เป็นที่เกิดของอริยบุคคล และผู้ที่ยังไม่ได้เป็นอริยบุคคลได้ตามสมควร คือ
         
๑. เวหัปผลาภูมิ
          เป็นภูมิที่มีผลอันไพบูลย์ พ้นจากอันตรายใด ๆ คือ เมื่อ โลกถูกทำลาย ด้วยไฟ ปฐมฌานภูมิ ๓ จะถูกทำลายหมด เมื่อคราว โลกถูกทำลายด้วยน้ำ ปฐมฌานภูมิ ๓ และทุติยฌานภูมิ๓ จะถูกทำลายหมด เมื่อ โลกถูกทำลายด้วยลม ปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ ๓ และตติยฌานภูมิ ๓ จะถูกทำลายหมด ซึ่ง เวหัปผลาภูมินี้จะพ้นจากอันตรายทั้ง ๓ ขณะที่โลกถูกทำลาย พรหมในภูมินี้ มีอายุ ๕๐๐ มหากัป

๒. อสัญญสัตตาภูมิ
          พรหมที่เกิดในภูมินี้จะมีแต่ รูปขันธ์อย่างเดียว ไม่มีนามขันธ์ เรียกว่า พรหมลูกฟัก มีลักษณะเหมือนหุ่น หรือพระพุทธรูป จะมีอริยาบถท่าทางต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่ที่ว่าตอนตาย จะอยู่ในลักษณะท่าทางอย่างไร ถ้าตายในลักษณะนั่งหรือยืน เมื่อไปเกิดในพรหมชั้นนี้ จะต้องนั่งหรือยืนอยู่อย่างนั้น ๕๐๐ มหากัป เท่าอายุ แล้วนามขันธ์ก็จะเกิดขึ้น เพื่อนำไปเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ต่อไป
         
ที่ตั้งของเวหัปผลาภูมิ และอสัญญสัตตาภูมิ
          เวหัปผลาภูมิ และอสัญญสัตตาภูมิ ทั้ง ๒ นี้ ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ ในระดับเดียวกัน ห่างจากตติยฌานภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ มีสวนดอกไม้ สระโบกขรณี และต้นกัลปพฤกษ์
         

          สุทธาวาสภูมิ เป็นภูมิของพระอริยบุคคล คือ พระอนาคามี และ พระอรหันต์ ที่บริสุทธิ์จากกามราคะ นอกจากนั้น ยังจะต้องเป็นผู้ที่ได้ปัญจมฌานด้วย มี ๕ ภูมิ คือ อวิหาภูมิ อตัปปาภูมิ สุทัสสาภูมิ สุทัสสีภูมิ และอกนิฏฐาภูมิ

          ผู้ที่เกิดในสุทธาวาสภูมิแล้ว จะไม่เกิดซ้ำภูมิอีก จะเกิดสูงขึ้นไปตามลำดับ แต่ละภูมิตั้งอยู่ในอากาศ แต่ละชั้นไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกันเหมือนอย่างปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ หรือ ตติยฌานภูมิ ซึ่งแต่ละภูมิในสุทธาวาสนี้ มีระดับสูงห่างจากกันระหว่างภูมิ ชั้นละ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์
         
๑. อวิหาภูมิ
          พรหมที่เกิดในภูมินี้ จะต้องเป็นผู้มีสัทธินทรีย์แก่กล้า กว่าอินทรีย์อย่างอื่น ในอินทรีย์ ๕ (สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์) จะยึดมั่นในสถานที่ และทรัพย์สมบัติของตน อย่างไม่เสื่อมคลาย คือ เป็นภูมิที่ไม่ละทิ้งสถานที่ของตนแม้เวลาเพียงเล็กน้อย จนกว่าจะหมดอายุขัย คือ ๑,๐๐๐ มหากัป
          ผู้ที่เกิดในอวิหาภูมินี้ จะต้องเกิดด้วยกำลังของศรัทธาเป็นตัวนำ นับว่าเป็นผู้มีคุณวิเศษ ในบวรพุทธศาสนา เมื่อดับขันธ์สิ้นแล้ว จะอุบัติเกิดขึ้นในสุทธาวาสชั้นที่สูงขึ้น หรือถ้าบำเพ็ญเพียรสำเร็จ เป็นพระอรหันต์ก็จะดับขันธ์ เข้าสู่พระปรินิพพานในภูมินี้

๒. อตัปปาภูมิ
          เป็นที่สถิตย์ของพระอนาคามีบุคคล ผู้ไม่มีความเดือดร้อน เป็น ภูมิ ที่สูงขึ้นไปต่อจากอวิหาภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ ผู้ที่เกิดในภูมินี้ ย่อมจะเข้าฌาน สมาบัติหรือผลสมาบัติอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้จิตเร่าร้อนจากนิวรณธรรม เพราะเป็นผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร เป็นผู้ที่มีวิริยะ (วิริยินทรีย์) หรือความเพียรแก่กล้า กว่าอินทรีย์อื่น ๆ ในอินทรีย์ ๕ เมื่อสิ้นอายุขัย ๒,๐๐๐ มหากัป แล้วจะอุบัติเกิดขึ้นในสุทธาวาสชั้นที่สูงขึ้น หรือถ้าบำเพ็ญเพียรสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็จะดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานในภูมินี้

๓. สุทัสสาภูมิ
           เป็นที่สถิตย์ของพระอนาคามีบุคคล ผู้ที่มีการเห็นชัดเจนแจ่มใส บริบูรณ์ด้วยประสาทจักขุ ทิพพจักขุ ธัมมจักขุ และปัญญาจักขุ เป็นผู้ที่เห็น ภัยในวัฏฏสงสาร อุตสาหะในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ที่มีสติ (สตินทรีย์) แก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น เมื่อสิ้นอายุขัย ๔,๐๐๐ มหากัปแล้ว ก็จะอุบัติเกิดขึ้นในสุทธาวาสชั้นที่สูงขึ้น หรือถ้าบำเพ็ญเพียรสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็จะดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานในภูมินี้

๔. สุทัสสีภูมิ
          เป็นที่สถิตย์ของพระอนาคามีบุคคล ผู้ที่มีการเห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง กว่าสุทัสสาภูมิ ในประสาทจักขุ ทิพพจักขุ และปัญญาจักขุ ส่วนธัมมจักขุ นั้น มีกำลังเสมอกันกับสุทัสสาภูมิ เมื่อเห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็จะมีวิริยะในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่มีสมาธิ (สมาธินทรีย์) แก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น เมื่อดับขันธ์สิ้นอายุขัย ๘,๐๐๐ มหากัป แล้วจะอุบัติเกิดขึ้นในสุทธาวาสชั้นที่สูงขึ้น หรือถ้าบำเพ็ญเพียรสำเร็จ เป็นพระอรหันต์จะดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานในภูมินี้

5. อกนิฏฐาภูมิ
          เป็นสุทธาวาสชั้นสูงสุดเป็นยอดภูมิของพระอริยบุคคล ซึ่งพระอริยบุคคลทั้งหลาย ที่อยู่ในพรหมโลกจะต้องสำเร็จ เป็นพระอรหันต์แน่นอนในภูมิ นี้ พระอนาคามีที่จะต้องใช้ความเพียร เพื่อให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จะเป็นผู้ที่มีปัญญา (ปัญญินทรีย์) แก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่น ทุกพระองค์จะเสวยอริยผล จนกว่าจะสิ้นอายุขัย ๑๖,๐๐๐ มหากัป เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วจะเข้าสู่พระนิพพาน ณ ที่นี้
 
ทุสสะเจดีย์         
          ในอกนิฏฐาภูมินี้ มีพระเจดีย์องค์หนึ่ง ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นพรหมโลก แสดงให้เห็นถึงการเคารพนับถือ ในบวรพระพุทธศาสนา เจดีย์ที่ประดิษฐานอยู่นี้มีชื่อว่า ทุสสะเจดีย์ หรือพระเจดีย์ผ้าขาว เป็นที่บรรจุเครื่องแต่งกาย ของพระโพธิสัตว์เจ้า สมัยที่ทรงออกผนวชแสวงหาวิโมกขธรรม

          โดยอกนิฏฐพรหม ได้นำเครื่องไตรจีวรมาถวายแทน แล้วเอาผ้าขาวที่พระองค์ทรงครองอยู่นั้น ออกจากพระวรกายแล้วมอบให้แก่พรหม พรหมก็ได้รับผ้าขาวนั้น ค่อยประคองพามา จนถึงอกนิฏฐสุทธาวาสพรหม เป็นเจดีย์ที่อกนิฏฐพรหมได้เนรมิตขึ้น เป็นพระเจดีย์แก้วที่มีรัศมีงามสุกใสยิ่งนัก สูง ๙๖,๐๐๐ วา ซึ่งเป็นที่บรรจุผ้าขาวทรงแห่งองค์พระโพธิสัตว์เจ้า เป็นที่สักการะบูชาของพรหมในภูมินี้

          วันหนึ่ง ๆ จะมีพรหมมาบูชาสักการะไม่ขาดสาย นับเป็นเทวสถานที่สำคัญ ทางพระพุทธศาสนา ของพรหมโลกในการที่จะน้อมระลึกถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
         
          พรหมโลกตั้งแต่ชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๑๖ ดังกล่าวมาแล้วเป็นรูปพรหม หรือพรหมที่มีรูปเป็นทิพย์ มนุษย์ธรรมดาสามัญไม่สามารถจะมองเห็นได้ จะเห็นได้ก็โดยทิพย์วิสัยเท่านั้น

ที่มา http://www.buddhism-online.org/Section06B_11.htm

raponsan:


          อรูปภูมิ เป็นภูมิที่อยู่ของพรหมที่ไม่มีรูปร่าง เพราะเห็นโทษของการมีรูปร่าง อัตภาพร่างกายว่า เป็นไปด้วยทุกข์โทษนานาประการ จากการถูกทำร้าย ถูกประหาร มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน เป็นต้น จึงขวนขวายในการเจริญสมถภาวนา เพื่อปรารถนาที่จะไม่มีรูปร่างกาย
          เมื่อบรรลุถึงอรูปฌานสิ้นชีพแล้ว จึงได้มาบังเกิดในอรูปภูมิ เป็นภูมิที่สูงสุด มีแต่นามคือจิตวิญญาณอย่างเดียว ไม่มีรูปร่างกาย ผู้ที่จะมาเกิดในภูมินี้ เป็นผู้ที่ได้เจริญในรูปฌานมาก่อน ในอรูปภูมิซึ่งเป็นแดนจิตวิญญาณนี้ มี ๔ ภูมิ คือ
         
๑. อากาสานัญจายตนภูมิ
           ผู้ที่เกิดในภูมินี้จะต้องเจริญสมถกรรมฐานจนได้ปัญจม ฌาน มาก่อนแล้ว มาเจริญอรูปฌานที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตน ฌาน กำหนดเอาอากาศที่อยู่ในปฏิภาคนิมิตมาเป็นอารมณ์ โดย ภาวนาว่า “อากาศมีไม่สิ้นสุด” จนสำเร็จอรูปฌานที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนฌาน เมื่อสิ้นชีวิตลงก็จะมาเกิดในอากาสานัญจายตนภูมิ นี้ ซึ่ง มีแต่นาม ไม่มีรูป มีอายุเสวยในพรหมสมบัติ ๒๐,๐๐๐ มหากัป
         
๒. วิญญานัญจายนตนภูมิ
          เป็นภูมิที่อยู่ของพรหม คือ วิญญาณัญจายตนพรหมผู้ ซึ่งได้อรูปฌานที่ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยการพิจารณา จิตวิญญาณที่เข้าไปรู้ อากาศไม่มีที่สิ้นสุดในอากาสานัญจายตนฌาน ภูมินี้อยู่ห่างไกลจากอากาสานัญจายตนภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นภูมิที่มีความสุขประณีตละเอียดกว่า อากาสานัญจายตนภูมิ เสวยในพรหมสมบัติ ๔๐,๐๐๐ มหากัป
         
๓. อากิญจัญญายตนภูมิ
          เป็นภูมิที่อยู่ของพรหม คือ อากิญจัญญายตนพรหม ผู้ซึ่งได้อรูปฌานที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนฌาน ด้วยการพิจารณา ความไม่มีอะไร คือ ไม่มีทั้งอากาสและวิญญาณ ซึ่งเป็นอารมณ์ของอรูปฌานที่ ๑ และอรูปฌานที่ ๒ ภูมินี้อยู่ห่างไกลจากวิญญาณัญจายตนภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นภูมิที่มีความสุขประณีตละเอียดกว่า วิญญาณัญจายตนภูมิ เสวยในพรหมสมบัติ ๖๐,๐๐๐ มหากัป

           ผู้ที่ไปเกิดอยู่ในภูมินี้ ได้แก่ อาฬารดาบสกาลามโคตร ผู้ซึ่งเป็นครูที่สอนการทำฌานสมาบัติ ให้แก่พระโพธิสัตว์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ก็คิดที่จะไปโปรดอาจารย์ผู้นี้ แต่เมื่อส่องทิพพจักขุญาณแล้ว ก็ทรงประจักษ์ว่า ท่านอาฬารดาบสผู้นี้ ได้ดับขันธ์ไปแล้วเมื่อ ๗ วัน ก่อนที่พระองค์ จะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ เข้าสู่ความเป็นอรูปพรหม คือ อากิญจัญญายตนภูมิ นี้

๔. เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
          เป็นภูมิที่อยู่ของพรหม คือ เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ผู้ซึ่งได้อรูปฌานที่ ๓ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ด้วยการพิจารณาสัญญาที่เข้าไปรู้ ในบัญญัติอารมณ์ว่า มีก็ใช่ ไม่มีก็ใช่ อุปมาเสมือนกับ น้ำมันที่ทาบาตร จะว่าบาตรนั้น มีน้ำมันอยู่ก็ไม่ใช่ หรือไม่มีน้ำมันอยู่ก็ไม่ใช่ เพราะเทออกมาไม่ได้ ซึ่งเป็นฌานที่สูงสุด ภูมินี้จะอยู่ห่างไกลจากอากิญจัญญายตนภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นภูมิที่มีความสุขประณีตละเอียดกว่ าอากิญจัญญายตนภูมิ เสวยในพรหมสมบัติ ๘๔,๐๐๐ มหากัป

          ผู้ที่ไป เกิดอยู่ในภูมินี้ได้แก่ อุทกดาบสรามบุตร ซึ่งเป็นครูสอนฌานสมาบัติ ให้แก่พระพุทธองค์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นเดียวกับ อาฬารดาบส เมื่อพระองค์คิดจะไปแสดงธรรม ก็ได้ทราบโดยทิพพจักขุว่า อุทกดาบส ได้สิ้นชีพไปแล้ว เมื่อภพค่ำนี้เอง อุบัติเป็นอรูปพรหม ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ นี้
         
          ทั้งหมดคือเรื่องราวของสังสารวัฏ ที่เราจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไปใน ๓๑ ภูมิ จนกว่าจะ ประหานกิเลสโดยสิ้นเชิง บรรลุพระอรหันต์ จึงจะจบชีวิตปิดสังสารวัฏได้ และ คงจะเป็นคำตอบได้ดี สำหรับคนที่เข้าใจว่า “สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ” และคงจะมีคนอีกจำนวนไม่น้อยทีเดียว ที่เข้าใจอย่างนี้ ถ้าจะช่วยกันชี้แจงความจริง ให้ทราบก็จะเป็นบุญกุศลไม่น้อยทีเดียว

(ภาพสมมุติ)   ๑.ยุคันธร   ๒.อีสินธร   ๓.กรวิก   ๔.สุทัสสนะ   ๕.เนมินทร   
๖.วินัตตถะ   ๗.อัสสกรรณ   ซึ่งเป็นภูเขาทิพย์
ที่มา http://www.buddhism-online.org/Section06B_12.htm

raponsan:

เรื่อง พรหม มีอยู่ใน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=0&Z=237
และในอรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=1&p=3#%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1

เรื่อง สุทธาวาส มีอยู่ใน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=11&A=5599&w=%CA%D8%B7%B8%D2%C7%D2%CA
และอรรถกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=6#%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%BA%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%8D%E0%B8%BA%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%BA%E0%B8%93%E0%B8%99%E0%B8%B2


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป