สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 29, 2022, 07:39:56 am



หัวข้อ: นั่งดู มหาชนก บทประพันธ์ของในหลวง เทียบกับ พระสูตรชาดก วิเคราะห์
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 29, 2022, 07:39:56 am
นั่งดู มหาชนก บทประพันธ์ของในหลวง เทียบกับ พระสูตรชาดก วิเคราะห์
======================================
ตอนที่ 1 น้อง และ พี่ ต่างอุดมการณ์ความคิด แต่ ก็ทำเพื่อบ้านเมือง คนหนึ่งแข็ง คนหนึ่งอ่อน
ตอนที่ 2 ความแตกแยกของสองพี่น้อง มาจากคนยุแยง ตะแคงรั่ว คือ อำมาตย์ เพ็ดทูลให้ พี่น้องบาดหมางกัน
ตอนที่ 3 น้อง ฆ่า พี่ เพราะความเข้าใจผิด พี่ หยุดสงคราม เพราะเข้าใจถูก แต่อย่างไร ความเข้าใจผิด ก็ยังมีสืบเนื่องต่อไป
( เรื่องนี้ มีข้อพิจารณาอะไร บางอย่างที่แอบแฝงไว้ )
ตอนที่ 4 หลาน (มหาชนก ) และ เทวี พลัดพรากจากไกล หนีตายเอาตัวรอดไปอยู่แดนไกล ตรงนี้มีเรื่องสักกะเทวราช ช่วยย่นระยะทางให้กับ เทวี
ตอนที่ 5 ไม่เป็นพี่น้องร่วมอุทร แต่เป็นพี่น้องเพราะความนับถือ พรามห์ รับ เทวี เป็นน้องสาว และเลี้ยงดู มหาชนก
ตอนที่ 6 รู้ความจริง สุมความแค้น ต้องการแย่งชิงของบิดาคืน  16 ปีผ่านไป มหาชนก ออกเดินทางเพื่อหาทุนชิงเมืองคืน และ ต้องผจญเคราะห์กรรม กลางทะเล ว่ายน้ำ 7 วัน จนนางเมขลามาช่วย
ตอนที่ 7 ปัญญาความรู้ทำให้สิ้นสุดปัญหา สุดท้ายก็ได้กลับมาครองเมือง มิถิลา เช่นเดิม
ตอนที่ 8 ประชาชนไร้ความคิด ทำลายต้นมะม่วง ที่มีผล เพื่อ กินผลมะม่วง
ตอนที่ 9 ฟื้นฟูต้นมะม่วงที่ตาย เพราะประชาชน ไม่เข้าใจในการกินผลมะม่วงแบบผิด
ตอนที่ 10 สร้างโพธิมหาวิชชาลัย เผยแผ่คุณธรรมความรู้ป้องกัน ความไร้ธรรม
จบ การดู มหาชนก บทประพันธ์ ของ ร 9 นับว่าเป็นการนั่งดูครั้งที่ 2 แต่ดูรอบนี้มีการพิจารณาแง่มุมต่าง ๆ ของนายหลวงทีต้องการสื่อในบทประพันธ์ ซึ่ง พิจารณาเห็นแง่มุม บางอย่าง และหลายอย่างที่นายหลวง ร 9 ต้องการให้เข้าใจอะไรบางอย่าง ในบทประพันธ์ส่วนนี้
บทประพันธ์ส่วนนี้ ไม่คล้ายคลึงกับ ชาดกนักแต่ก็มีส่วนที่ตรงกับชาดกหลายส่วนแต่อย่างไร เพราะเป็นบทประพันธ์ เอาชาดกไปประพันธ์ให้เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ ใส่องค์ความรู้แง่คิดหลายมุม ที่นายหลวงต้องการใส่ไว้ โดยเฉพาะตอนที่ 1 - 3 นั้นในชาดกไม่ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนขนาดนั้น
อยางไรก็ถือว่า เป็น มหาชาติ ชาดกของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ใน ชาติใหญ่ เกี่ยวกับเรื่อง วิริยะบารมี
มีเรื่องน่าสนใจในภาคธรรมส่วนบุคคลให้แง่มุม ในการบำเพ็ญความดีต้องมีความอดทนอุตสาหะ ใครจะเห็นหรือไม่เห็น  ไม่สำคัญ สำคัญที่ต้องทำตามอุดมการณ์ความคิดให้ปรากฏต่อไป
เจริญธรรม / เจริญพร