ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - ธัมมะวังโส
หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34 35
1241  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อย่ามุ่งภาวนา ด้วยการวัดที่เวลา หรือการเห็นสภาวะ เมื่อ: มีนาคม 28, 2011, 07:56:44 am
ทุกครั้งเวลาภาวนา อย่ามุ่งไปที่การทำให้ได้ในเวลา หรือ การเห็นในสภาวะ

ถ้าหากการนั่งภาวนาเราเอาแต่เรื่องเวลา หรือ การเห็นในสภาวะ ก็จะทำให้จิตเราบอด

เพราะมีความพอใจ เรียกว่า นิกันติ ต้องการเพียงแค่นั้น

ดังนั้นผู้ฝึกภาวนา ควรภาวนาเพื่อภาวนา

ภาวนาเพื่อภาวนา คืออย่างไร

ต้องถามว่า เราภาวนา เพื่ออะไร?

  คำตอบ ก็คือ เพื่อความสงบแห่งจิต อันเป็นพื้นฐาน วิปัสสนาไปสู่ พระนิพพาน

 ดังนั้นเมื่อเราภาวนา ควร ภาวนาเพื่อความสงบระงับ แห่งจิต

ผลของการสงบระงับแห่งจิตนั้น คือจิตที่พร้อมเพื่อการทำวิปัสสนา คือ เห็นตามความเป็นจริง

 วิปัสสนา คือ เห็นพร้อมตามความเป็นจริง

พระนิพพาน จะเข้าถึงหรืออยู่ได้ ก็คือต้องตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริง เข้าใจตามความเป็นจริง
ละวางจากความเป็นจริง ไม่ยึดมั่นถือมั่นตามความเป็นจริง

ถ้าผู้ภาวนา ๆ ได้ตามนี้ก็จะถึงพร้อมด้วยการภาวนา อันนี้เรียกว่า ภาวนาเพื่อภาวนา

เจริญธรรม

 ;)
1242  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ผู้ปฏิบัติมักจะเข้าใจผิด ในเรื่องการฝึกกรรมฐาน เป็นแค่ฝึกการฝึกสมาธิ เมื่อ: มีนาคม 23, 2011, 01:42:41 pm
ได้รับเมลถาม เรื่องการฝึกสมาธิ เป็นการเจริญปัญญาหรือไม่  ทำให้ติดสุขใช่หรือไม่ ไม่ใช่เป็นหนทางการพ้นทุกข์ เป็นต้น คำถามประมาณนี้  ได้รับเป็น ร้อยฉบับ เห็นควรนำมาตอบในบอร์ด เพื่อลากลิงก์ตอบเมลได้ทัน
 
 จากหัวข้อที่ขึ้นไว้ ต้องการแสดงให้เห็นจริง และเข้าใจในการฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
 
 เราใช้คำว่าฝึกกรรมฐาน ไม่ใช้คำว่า ฝึกสมาธิ เพราะในกรรมฐานนั้น เป็นองค์ของผู้ประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ในตัวอยู่แล้ว
 
 
 การฝึกกรรมฐาน อันมีองค์สมาธิ ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นมีปัญญาเป็นเครื่องนำ มีสติเป็นเครื่องรู้
 มิใช่เป็นการฝึกอย่างไร้เหตุ ไร้ผล มีการฝึกเพื่อการเป็น พระอรหันต์ อันนี้ชัดเจนมาก
 
 ดังนั้นในองค์อริยะมรรคนั้น สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง ต้องมาก่อน จึงต้องการเป็นพระอรหันต์
 ในสัมมาสมาธิ เป็นองค์สุดท้ายที่จะสนับสนุน ให้ผู้ฝึกบรรลุธรรมได้
 
 ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่ใช่เป็นการฝึกสมาธิ ก่อน สติ แต่เป็นการฝึกสติ มาก่อนฝึก สมาธิ
 อันนี้ให้เข้าใจให้ถูกต้องก่อน
 
 เจริญธรรม
 
  ;) Aeva Debug: 0.0008 seconds.
1243  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / เกี่ยวกับเรื่อง บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน พ.ศ.2554 เมื่อ: มีนาคม 22, 2011, 06:14:19 pm
เนื่องด้วยปีนี้ อาตมา ไม่ได้กลับไปที่วัดตั้งใจไว้ 3 ปี ที่จะวิเวก ฝึกฝนตนเองอยู่

จึงไม่ทราบข้อมูลของเรื่องการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน

แต่ิคิดว่า น่าจะมีการจัดบรรพชาเป็นปกติ ก็น่าจะเริ่มในวันที่ 29 มี.ค.54 ถึง 15 เม.ย.54 เหมือนเช่นเคยที่

ผ่านมา แต่ที่ถามมาว่า จะกลับมาช่วยงานหรือไม่ ก็ขอตอบตอนนี้เลยว่า

ทางวัดได้นิมนต์ พระทำงาน ด้านนี้ต่างหากแล้ว

จึงไม่น่าจะเป็นห่วงเรื่องการอบรม ..... นะจ๊ะ

เจริญธรรม

 ;)
1244  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ความเหนี่อย ลำบาก ไม่เคยปราณีใคร เมื่อ: มีนาคม 20, 2011, 06:52:38 pm
เป็นนักภาวนา จะหาความสบายในการภาวนา นั้นเลย เป็นเรื่องเป็นได้ยาก

ดังนั้น ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง ผู้รู้กล่าว พระนิพพาน ว่าเป็นธรรมอันยิ่ง

  หากผู้ใด ภาวนาพบกับความลำบาก สิ่งที่พระอาจารย์ ต้องขอบอกว่า ต้องเหนื่อย

  ลูกศิษย์พระอาจารย์ ส่วนใหญ่จะให้ไปพิสูจน์ ตนเอง ที่เขาวงพระจันทร์ แม้พระอาจารย์เอง ก็ต้องไปพิสูจน์ธรรม หลายครั้ง ด้วยกัน

  วัดเขาวงพระจันทร์ นั้น มีบันได ทอดยาวทั้งหมด 3790 ขั้น เดินขึ้นเขาอีก 700 เมตร ผู้ไปพิสูจน์ตนจะเห็น
ธรรมของตนเอง ระหว่าง ที่ขึ้น ส่วนใหญ่ จะมีกำลังใจดี ที่ขั้นที่ 1 ยากขึ้น ดังนั้นก่อนขึ้นให้ผูกคำอธิษฐานว่า
จะขึ้นให้ได้ ผู้ทีขึ้นไป ส่วนมาก ก็จะท้อที่ ระยะ 420 ขั้นแรกเพราะศาลาหลังแรก จะอยู่ตรงนี้ และก็จะมองขึ้นไป ว่าอีกไกลมาก โดยเฉพาะ ระยะทางที่ใกล้จะถึง ประมาณ 1400 ขั้นนั้น จะชันมาก

  บางคนขึ้นได้ครึ่งทาง ก็ถอดใจ ลงเสีย บางคนพระอาจารย์ ต้องยอมเดินขึ้นไปด้วย จึงจะไปต่อ

  ดังนั้นถ้าเปรียบ มาที่การภาวนา จริง ๆ ของผู้ปฏิบัติ ไม่ว่าจะสายสติ หรือ สมาธิ สิ่งที่ต้องมีของผู้ปฏิบัติก็คือ
ความอดกลั้น อดทนต่อสภาวะ ที่จะเกิดขึ้น

  ก็ให้กำลังใจเท่านี้ ทุกข์ ใน วัฏฏะสงสาร นั้นทรมานเรามาด้วยความกดดัน มาหลายชาติแล้ว น้ำตาของเราอาจจะร้องไห้ไว้เป็นไห ๆ แล้ว

  อย่าท้อ เมื่อต้องเหนื่อย

  อย่าท้อ เมื่อต้องทนความกดดันของสภาวะ

  อย่าท้อ เมื่อน้ำตาของเธอต้องไหลริน

  อย่าท้อ แม้คนอื่นทั้งหลายจะไม่เข้าใจเธอ

  เจริญธรรม
  ;)

1245  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 5 ปีติกับลมหายใจเข้า และ ออก เมื่อ: มีนาคม 14, 2011, 08:36:18 am
[๔๐๘] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมศึกษาว่าจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
อย่างไร ฯ
        ปีติเป็นไฉน ? ( พระธรรมปีติเช่นเดียวกัน )
        เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถลมหายใจออกสั้นด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออกด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
       ปีติและปราโมทย์ คือ ความเบิกบาน ความบันเทิงความหรรษา ความรื่นเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ
       ปีตินี้ย่อมปรากฏเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาวสติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น
       ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น
       ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น
       ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก
       ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
       ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก
       ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า สติย่อมตั้งมั่น
       ปีติย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อคำนึงถึง
       ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ ...
       ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อเห็น
       ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อพิจารณา
       ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่ออธิษฐานจิต
       ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา
       ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อประคองความเพียรเมื่อเข้าไปตั้งสติไว้
       ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อจิตตั้งมั่น
       ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา
       ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
       ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
       ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อละธรรมที่ควรละ
       ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ
       ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
       ปีตินั้นย่อมปรากฏ เวทนา ด้วยสามารถ   ความเป็นผู้รู้แจ้งปีติหายใจออกหายใจเข้า อย่างนี้   นั้นปรากฏ   สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ
       สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วยบุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
       คำว่า พิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างนี้ ฯ
        ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความรู้แจ้งปีติระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งปีติหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ

1246  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 4 จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า หายใจออก เมื่อ: มีนาคม 08, 2011, 12:25:47 pm
[๔๐๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า อย่างไร ฯ
        กายสังขารเป็นไฉน ?
        ลมหายใจออกยาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร
        ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร
        บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ ลมหายใจออกสั้น ลมหายใจเข้าสั้น ลมที่บุคคลรู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร
        บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น ศึกษาอยู่ ความอ่อนไป ความน้อมไป ความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก ความโคลงแห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด
       บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออกศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ความไม่อ่อนไป ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลง แห่งกาย มีอยู่เพราะกายสังขารเห็นปานใด
       บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจเข้า ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า เมื่อเป็นอย่างนี้
       ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ
       ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ไม่ปรากฏ
       อานาปาณสติก็ไม่ปรากฏ
       อานาปาณสติสมาธิก็ไม่ปรากฏ
       และบัณฑิตทั้งหลายแม้จะเข้าแม้จะออกสมาบัตินั้นก็หามิได้ ได้ทราบมาดังนี้ว่า
       บุคคลศึกษาอยู่ว่าจักระงับกายสังขารหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้าเมื่อเป็นอย่างนี้
       ความได้ลมก็ปรากฏ
       ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ
       อานาปาณสติก็ปรากฏ
       อานาปาณสติสมาธิก็ปรากฏ
       และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและย่อมออกสมาบัตินั้น ข้อนั้นเหมือนอะไร เหมือนเมื่อบุคคลตีกังสดาลเสียงดังย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงดัง เมื่อเสียงดังค่อยลง ต่อมาเสียงค่อยก็เป็นไปภายหลังตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงค่อย และเมื่อเสียงค่อยดับลง ต่อมาจิตย่อมเป็นไปในภายหลัง แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์ ข้อนี้ก็เหมือนกันฉะนั้น
      ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ ย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย
      นึกทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ
      เมื่อลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบเบาลง ต่อมาลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียด ย่อมเป็นไปในภายหลังตามที่หมาย นึก
      ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียด และเมื่อลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียดเบาลงอีก ต่อมาจิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านในภายหลัง แม้เพราะความที่นิมิตแห่งลมหายใจออกลมหายใจเข้าที่ละเอียดเป็นอารมณ์ เมื่อเป็นอย่างนี้
      ความได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปานสติก็ปรากฏ อานาปานสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและออกสมาบัตินั้นๆ กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขารหายใจออกหายใจเข้าปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติสติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนาคือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ

1247  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 1 หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น เมื่อ: มีนาคม 06, 2011, 07:24:42 am

บุคคลเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ว่า หายใจเข้าสั้น อย่างไร ฯ

        ๑.บุคคลเมื่อหายใจออกสั้น ย่อมหายใจออกใน ขณะที่นับได้นิดหน่อย

        ๒.เมื่อหายใจเข้าสั้น ย่อมหายใจเข้าใน ขณะที่นับได้นิดหน่อย

        ๓.เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้น ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย ฉันทะย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้น หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย

       ๔.เมื่อหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย

       ๕.เมื่อหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย

       ๖.เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะนับได้นิดหน่อย ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้หายใจออกหายใจเข้าละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย

         ๗.เมื่อหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย

         ๘.เมื่อหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย

         ๙.เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้น ด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกบ้างหายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย ย่อมหลีกไปจากลมอัสสาสะปัสสาสะสั้น อุเบกขาย่อมตั้งอยู่ กาย คือ ลมหายใจออกหายใจเข้าสั้นด้วยอาการ ๙ เหล่านี้ปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาณ กายปรากฏ มิใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย บุคคลพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณากายในกาย ฯ

1248  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / อบรมการผลิตสื่อการสอนพระพุทธศาสนา แก่พระสอนในโรงเรียนฟรี! 12 -20 มี.ค.54 เมื่อ: มีนาคม 04, 2011, 06:19:46 pm
ทางสำนักสงฆ์สวนวาง อ.คุระบุรี  จ.พังงา 

จะจัดให้มีการอบรมการผลิตสื่อการสอนพระพุทธศาสนา

แก่พระสอนศีลธรรมใน โรงเรียนฟรี! รับจำกัดจำนวน 20 รูป
 ระหว่างวันที่ 12-20 มี.ค.2554 

สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.watsuanvang.com และท่านใดสนใจสื่อการสอนก็สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีครับ



1249  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ โดยส่วนสองเป็นเรื่องถูกต้อง เมื่อ: มีนาคม 03, 2011, 01:21:31 pm
การฝึกกรรมฐาน นั้นโดยทั่วไป สอนกันเพียงส่วนเดียว คือ จะเลือก สมถะ หรือ วิปัสสนา

ถ้าเลือก สมถะ ก็เจริญกรรมฐานให้เป็นอัปปนาก่อน

ถ้าเลือก วิปัสสนา ก็เจริญสติก่อน

ส่วนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนั้น สอนทั้งส่วนไปพร้อมกัน ไม่ได้มุ่งให้จิตเป็นอัปปนาก่อน

แต่มุ่งให้จิตเป็นอุปจาระก่อน และ สอนวิปัสสนาเบื้องต้น จนไปเบื้องปลาย

การสอนอย่างนี้ เป็นการทำให้ศิษย์ ไม่เสียในด้านใด ด้านหนึ่ง


เรียกว่า การสอนกรรมฐาน เป็นส่วนสอง ดักทั้งสองทาง

ดังนั้นผู้ฝึกที่ไม่แจ้งกรรมฐาน จึงไม่รู้ความล้ำลึกของพระกรรมฐาน ที่ต้องพอกพูนขึ้นไป

อาตมาสอนกรรมฐานมาเอง จึงรู้เพราะศิษย์กรรมฐาน ไม่แจ้งกรรมฐานกันเลย

ตามธรรมเนียม ก็จะไม่ได้เรียนต่อในพระกรรมฐาน ที่สูงขึ้นไป

ดังนั้น การแจ้งกรรมฐาน ศิษย์กรรมฐาน พึงปฏิบัติกันด้วย

เจริญธรรม

 ;)


1250  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / จงพอใจในความระงับอารมณ์ ในกรรมฐาน เมื่อ: มีนาคม 03, 2011, 01:14:57 pm
เนื่องด้วยการฝึก กรรมฐาน นั้นผลที่ควรจะได้เป็นเบื้องแรกนั้นต้องคำนึงการระงับอารมณ์ที่จิตได้ผลในเบื้องต้น

เป็นเรื่องสำคัญ แต่เำพราะผู้ฝึกส่วนใหญ่ มักตั้งจิตไว้ผิด คือมักปฏิบัติกรรมฐาน เพื่อความสามารถพิเศษอันเรียกว่า

ฤทธิ์ มากเกินไป หรือ เจาะจงเลย ดังนั้นผู้ฝึกแบบนี้ จึงไม่สำเร็จในองค์กรรมฐาน เพราะวางเป้าหมายสูงเกิน

เป้าหมายในธรรม นั้น ไม่เหมือนเป้าหมาย ในโลก

 เพราะเป้าหมาย ยิ่งประกอบด้วยความอยาก ก็ยิ่งเสื่อม ถ้าประกอบด้วยจิตที่สงบระงับ ก็ยิ่งเจริญ

 ดังนั้นการวางอารมณ์ เป็นเรื่องที่สอนเป็นเรื่องแรก ในองค์กรรมฐาน

 โดยเฉพาะในสาย กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ครูอาจารย์ จะพูดข้อระวังนี้ก่อนเป็นอันดับแรก


 เจริญธรรม

  ;)
1251  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / test ห้องดาวน์โหลด เมื่อ: มีนาคม 01, 2011, 09:07:38 am
ขอเชิญทุกท่านมาเพิ่มไฟล์ ที่มีประโยชน์ ที่เป็นลิงก์ ก็ได้นะจ๊ะ

1252  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามจากเมล "ท่านเป็นพระอรหันต์หรือ" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 10:03:00 am
คำถามแนวนี้มีหลายครั้งแล้ว ก็ขอตอบรวม ๆ สำหรับท่านที่จะถามมาอีก

ถาม "ท่านเป็นพระอรหันต์หรือ " ทำนองนี้นะ

ตอบ อาตมาเป็นเพียงพระรูปหนึ่งที่มีความตั้งใจ ไปสู่อีกฟากฝั่งคือพระนิพพาน มิได้เป็นพระอรหันต์แต่ประการใดและมิเคยไ้ด้พูด หรือ กล่าวว่าตนเองเป็นพระอรหันต์ นะจ๊ะ อย่ามาสนใจว่าพระอาจารย์จะเป็น หรือไม่ได้เป็นเลยนะจ๊ะ แ่ต่จงให้ความสำัคัญกับธรรมะ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแสดงไว้เถิด ให้ความสำคัญกับพระกรรมฐาน มาก ๆ เถิด อันนั้นจะทำให้เราไม่ผิดทาง ส่วนความเคารพต่ออาตมา ก็แสดงเพียงคารวะ ในความเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่งก็เพียงพอ แล้ว........


เจริญธรรม

 ;)
1253  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สะพานธรรม สะพานใจ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 09:56:46 am
สะพาน เป็น เครื่องมือที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการข้ามฟากฝั่งไปยังอีกฟากฝั่งหนึ่ง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ก่อสร้างสะพานอันแรกให้กับพวกเรา มีชื่อว่า อริยมรรคมีองค์ 8 ประการ

อริยะมรรค มีองค์ 8 ประการนั้นเป็นสะพานที่อำนวยให้เราไปถึงจุดหมายได้

ส่วนพระอริยะสงฆ์ ก็เปรียบเสมือนป้ายบอกสะพาน บอกลักษณะ เส้นทางไปสู่สะพาน

ดังนั้น สะพาน ที่สำคัญก็คือ สะพานธรรม

แต่สะพานธรรม มีลักษณะเฉพาะ คือเดินไปได้แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น มีใช่ระหว่างเดินจะอุ้มจะจูงใครไปด้วยได้ไม่ ผู้ที่ไปต้องมีความอดทน เพราะสะพานธรรมนั้นนอกจากจะมีลักษณะเดินได้เพียงผู้เดียวแล้ว เพราะเป็นสะพานที่มีราวจับเพียงไม่กี่เส้นกับที่วางกาย ไม่เท่าใด

สิ่งสำคัญเมื่อเราตัดสินใจไปบนสะพานแล้ว ต้องไม่หันกลับมามองผู้ที่อยู่เบื้องหลัง แต่ให้มองลงไปเบื้องล่างว่า
ใต้สะพาน มีัทั้งน้ำแข็ง มีทั้งลาวา มีทั้งสรรพสัตว์ที่โหดร้าย ( ความทุกข์ )ที่รอผู้พลัดตกลงไป เป็นเหยื่อเมื่ออันที่จริงจะกล่าวว่าเราข้ามสะพานมาหรือยัง สำหรับชาวพุทธ ก็เป็นผู้ยืนอยู่บนสะพานแล้ว มีศ๊ลเป็นราวเชือก
มีสมาธิ เป็นความแน่วแน่ มีปัญญา เป็นเครื่องอยู่รอด ก็นับว่าคุ้มแล้วนะที่มายืนบนสะพานอันนี้ เพราะเราพลัดตกจากสะพานกันหลายรอบแล้ว และเป็นเหยื่อ แก่ น้ำแข็ง ลาวา สรรพสัตว์ที่โหดร้ายนั้น หลายครั้ง หลายครา
และเราก็ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่อยู่อย่างนี้

 ถึงแม้จะมีสะพานนี้ แต่สะพานนี้ ก็ใกล้จะเสื่อมแล้ว ตามอายุของสะพานดังนั้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสอายุของสะพานไว้แล้ว จะมาก จะน้อยเพียงใดเราก็ควรรีบขวนขวาย ไปสู่อีกฟากฝั่งให้เร็วที่สุด

 มีหลักธรรมที่ต้องใช้บนสะพานไม่มาก ระหว่างที่เดินอยู่นั้น

   สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ธรรม 3 อย่างนี้เป็นธรรมสนับสนุนความอยู่รอดของท่านทั้งหลาย

เนื้อหาจาก หนังสือเรื่อง "สะพานธรรม" โดย ธัมมะวังโส

 ;)
1254  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามจากเมล "อานาปานสติมีลำดับการฝึกอย่างไร" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2011, 10:25:32 am
ถาม อานาปานสติมีลำดับการฝึกอย่างไร

ตอบ มีลำดับการฝึกดังนี้


ความฝึกตน ๑  ความสงบตน ๑ ความยังตนให้ปรินิพพาน ๑ ความรู้ยิ่ง ๑ ความกำหนดรู้ ๑ ความละ ๑ ความเจริญ ๑ ความทำให้แจ้ง ๑ ความตรัสรู้สัจจะ ๑ ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ ๑

จากหนังสืออานาปานสติปฏิสัมภิทามรรค หน้าที่ 33



 
1255  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามจากเมล "อานาปานสติเกี่ยวข้องกับกรรมฐาน มัชฌิมา อย่างไร" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2011, 10:10:46 am
ถาม อานาปานสติเกี่ยวข้องกับกรรมฐาน มัชฌิมา อย่างไร

ตอบ เฉพาะในส่วนภาวนเท่านั้น ในส่วนตำนานยังไม่ขอกล่าวนะ

ความเกี่ยวเนื่องกันมีดังนี้

[๓๘๖] ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้ว ตามลำดับ   ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว   ภิกษุนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวเหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น

ลมอัสสาสะชื่อว่าอานะ ไม่ใช่ลมปัสสาสะ
ลมปัสสาสะชื่ออปานะไม่ใช่ลมอัสสาสะ
สติเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถลมอัสสาสะ ปัสสาสะ
ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจออกและผู้หายใจเข้า ฯ

การเข้าถึงสภาวะในพระกรรมฐาน อานาปานสติ เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมฐานในห้องที่สี่ คือผู้ฝึกภาวนามาสำเร็จ
ในส่วนพระพุทธานุสสติ แนบแน่น มีพระสุขสมาธิ เป็นอารมณ์แล้ว หมายถึงมี กายแห่งพุทธะ เข้าอยู่ในใจตลอด
จึงทำให้พระสุขสมาธิ มีกำลังเป็นอุปจาระสมาธิ แต่ อุคคหนิมิต ไม่เพียงพอในอัปปนาจิต ในพระกรรมฐาน
นั้น พระอานาปานสติ เป็นกรรมฐานมีกำลัง ถึงอัปปนาจิต เป็นบาทฐาน แห่งวิปัสสนา และกรรมฐานอื่น ๆ ด้วย

ดังนั้นผู้ฝึกจึงต้องฝึกไปตามลำดับ  อบรมไปตามลำดับ เพราะหากฝึกข้ามขั้นตอนก็ทำให้เกิดความสับสนได้
เนื่องด้วยอานาปานสตินั้น เป็น มหาสติปัฏฐาน ด้วย

สิ่งสำคัญ ก็คือ ลมอัสสาสะชื่อว่าอานะ เข้าเป็นชีวิต  ลมปัสสาสะชื่ออปานะ ออกไม่เป็นชีวิต

มีชีวิต กับ ไม่มีชีวิต เป็นของคู่กัน เป็นธรรมคู่กัน เป็นธรรมที่ไม่ปราศจาก จากกัน

สติเข้าไปปรากฏ ตั้งมั่นอยู่ ทั้งมีชีวิต และ ไม่มีชีวิต ลมอัสสาสะปรากฏ ลมปัสสาสะปรากฏ ย่อมปรากฏด้วยชีวิต

เพราะถ้าไม่มีชีวิต ก็ไม่มีทั้งลมอัสสาสะ และ ลมปัสสาสะ

ในมหาสติปัฏฐาน จึงกล่าวเรื่อง อานาปานบรรพะ เป็นเรื่องแรกเลย เพราะเหตุนี้

ดังนั้นกล่าวได้ว่าผู้ฝึกอานาปานสติ ไม่หลงทำกาละ ไม่ทำอัตตวินิบาตกรรม เพราะเข้าถึงแก่นแห่งชีวิตคือลม
ตราบใดที่มีลมอัสสาสะ และ ลมปัสสาสะ ตราบนั้นยังมีโอกาสในการพ้นจากสังสารวัฏ

เจริญธรรม
 ;)





1256  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามจากเมล "อานาปานสติมีธรรมอะไรเป็นเครื่องรู้" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2011, 10:02:55 am
ถาม อานาปานสติมีธรรมอะไรเป็นเครื่องรู้

ตอบ ในเบื้องต้นมีเครื่องรู้ สามอย่าง
 
นิมิต ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ 
ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว         
เพราะไม่รู้ธรรม สาม ประการ จึงไม่ได้ภาวนา           
 นิมิต ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ                             
ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว           
เพราะ รู้ธรรม สาม ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล.


ข้อความจากหนังสือ อานาปานสติปฏิสัมภิทามรรค หน้า 28





 ธรรมสามประการ คือ

  1. นิมิต

  2. ลมอัสสาสะ

  3. ลมปัสสาสะ

   ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว

    ( เพราะมี 4 สภาวะ )

  เมื่อไม่รู้ธรรม สามประการ จึงชื่อว่าไม่ได้ภาวนา

  แต่ถ้ารู้ความไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว

    เพราะรู้สภาวะทั้ง 4 การรู้ สภาวะทั้ง 4 ก็คือ นิมิต

   อ่านเรื่อง สภาวะธรรมทั้ง 4 และ อินทรีย์ 2

ในลิงก์นี้

 
อธิบายลักษณะการภาวนา 4 อย่างในอานาปานสติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3186.0
1257  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อธิบายลักษณะการภาวนา 4 อย่างในอานาปานสติ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 10:34:49 am
ภาวนา ในคำว่า สุภาวิตา มี ๔ คือ ภาวนา

        ด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑         
        ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑

        ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน  และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑

        ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ( พึงจำภาวนา ๔ นี้ไว้ เพราะใช้ถึงที่สุด )

        อรรถแห่งภาวนา ๔ ประการนี้ เป็นอรรถอันภิกษุนั้นทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว ฯ


         ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสติ นั้นไม่ล่วงเกินกัน เพราะเกิดที่จังหวะต่างกัน 4 สภาวะ คือ
    1.สภาวะที่หายใจออก
    2.สภาวะที่หายใจเข้า
    3.สภาวะที่สติมีขณะหายใจออก
    4.สภาวะที่สติมีขณะหายใจเข้า

ทั้ง 4 สภาวะเป็นสภาวะใน การภาวนาจริง ๆ ไม่ล่วงเกินกันเพราะเป็นสภาวะธรรมที่แตกต่างกัน

    อันนี้กล่าวว่าเป็น ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน

    อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ทั้งหลายในสภาวะัธรรมทั้ง 4 นี้เป็นใหญ่แตกต่างกัน แต่มีกิจ 2 อย่างที่เหมือนกัน ในสภาวะทั้ง 4

    1.สภาวะทั้ง 4 นั้นเป็น ธรรมเพื่อการมีชีิวิต เพื่อการประกอบขันธ์ทั้ง 5 ให้เป็นอยู่ ภายใต้กฏพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา
    2.สภาวะทั้ง 4 นั้นเป็น ธรรมเพื่อการนำมาซึ่ง อรหัตตผล เป็นที่สุด
   
    อันนี้กล่าวว่า อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน

    สภาวะธรรมทั้ง 4 และ อินทรีย์ทั้ง 2 นั้นเป็นสภาวะ เหตุ ปัจจัย ในการภาวนาธรรม

    อันนี้จึงกล่าวว่า นำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรม

   
สภาะธรรมทั้ง 4 และอินทรีย์ทั้ง 2 ความเพียรอันประกอบด้วยสภาวะธรรม เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตเพราะชีวิต
  มีได้ก็อาศัย สภาวะธรรมทั้ง 4 และ อินทรีย์ทั้ง 2
   
    อันนี้จึงกล่าวว่า เป็นที่เสพ ๑

ข้อความจาก อานาปานสติปฏิสัมภิทามรรค หน้าที่ 30

1258  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามจากเมล "เป้าหมายการปฏิบัติอานาปานสติเพื่ออะไร" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 10:14:11 am
ถาม เป้าหมายการปฏิบัติอานาปานสติเพื่ออะไร

ตอบ อานาปานสติเพื่อ

     ความหมดจด แห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค
 
     ความพอกพูน อุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค

     ความร่าเริง เป็นที่สุด แห่งอรหัตตมรรค

    กล่าวคือ อานาปานสติ เป็นไปเพื่อ อรหัตตมรรค และ อรหัตตผล เป็นที่สุด

   จากหนังสือ อานาปานสติปฏิสัมภิทามรรค หน้า 27
1259  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามจากเมล "คุณสมบัติของผู้ประกอบด้วยสมถะมีอย่างไร" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 10:01:13 am
คำถามจากเมลที่คิดว่านำมาตอบในที่นี้ได้

ถาม คุณสมบัติของผู้ประกอบด้วยสมถะมีอย่างไร ?

ตอบ มีคุณสมบัติ 3 ประการ ดังนี้

     ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น

     ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลาง

     ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งฌาน ฯลฯ

     จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง
 
   ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ ... และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
 
  ( ความถึงพร้อมลักษณะ ๑๐ ประการ วิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา )

     ดังนั้นจะเห็นว่า อุเบกขา เป็นธรรมในท่ามกลาง เพราะอุเบกขาเป็นที่สุด แห่ง ปัญจมฌาน

     ปัญจมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา และ อุเบกขา เป็นที่สุด

  ข้อความจากหนังสือ อานาปานสติปฏิสัมภิทามรรค หน้าที่ 25 Aeva Debug: 0.0005 seconds.
1260  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามจากเมล "รู้ได้อย่างไรว่าจิตถึงพร้อมด้วยสมาธิเบื้องต้น" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 09:50:39 am
เป็นคำถามจากเมล ที่พอจะนำมาตอบในนี้ได้

ถาม รู้ได้อย่างไรว่าจิตถึงพร้อมด้วยสมาธิเบื้องต้น

ตอบ รู้ได้ดั่งนี้ว่า

  ๓๗๑] ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน ฯ

      ๑.ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน   

             จิตของผู้มีสมาธิเบื้องต้นมีการน้อมนำจิตในการสละ บริจาค และให้ทาน
             เชื่อมั่นในกุศลจิต เป็นไปตามความเพียรแห่งการภาวนา เรียกว่า ภาวนาปธาน
             คือหมั่นสร้างกุศล

      ๒.ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิต

             จิตย่อมปรากฏลักษณะแห่งจิต ที่เรียกว่าพระลักษณะ และ พระรัศมีในฐานจิตที่กำหนดนั้น ๆ
             โดยอาการแห่งปีติ และปราโมทย์ มีฉันทะเป็นฐาน ซึ่งเป็นไปตามกำลังของ ฉันทะอิทธิบาท
             คือ มีความพอใจในการเจริญภาวนาในนิมิตนั้น

      ๓.ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งลักษณะ   ความเสื่อม

             ปัญญา คือยถาภูตญาณย่อมเข้ามองเห็นความเป็นจริงแห่งสัจจะธรรม คือขันธ์ 5 เบื้องต้นมองเห็น
             ธรรมคือ อนิจจสัญญา ความกำหนดรู้ว่าไม่เที่ยงเป็นอารมณ์แต่ก็ยังไม่ชัดเจนเป็นระดับหนึ่งที่จัก
             มองเห็น นี้เรียกว่ากำลังก้าวเข้าสู่การรู้เห็นตามความเป็นจริงเบื้องต้น

      ๔.ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธ
           
             จิตย่อมเข้าถึงซึ่งความดับกิเลสเป็นครั้งคราวในเบื้องต้น และพอกพูน นิพพิทาจิต ต่อสังขารขันธ์
             มองเห็นสภาวะด้วยจิตเป็นสมาธิ คือ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในสมาธิ

      ๕.ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่ง การบริจาคทาน ของบุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะทั้งหลาย

            ความมั่นคงในธรรมอย่างเดียวสมบูรณ์นั้นคือปฏิปทา เพื่อพระนิพพานย่อมเป็นที่ตั้งในการสร้างกุศล
            ญาณทัสสนะวิสุทธิ ย่อมตั้งมั่นด้วยองค์ธรรมไม่คืนกลับ....

      ๖.ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิต ของบุคคลผู้หมั่นประกอบในอธิจิตทั้งหลาย

            เมื่อประกอบจิตในสมถนิมิต ย่อมเห็นจิตอันยิ่งยวด ว่ามีแต่จิต ที่เป็นทุกข์ เป็นสุข และเป็นกลาง ๆ
            เข้าใจสภาวะมีบ้างหายบ้าง   

      ๗.ความเป็นธรรม อย่างเดียวในความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม ของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย และ
            จิตถึงสังขารุเปกขาญาณเพราะ มองเห็นตามความเป็นจริงเป็นจิตที่พร้อมเพื่อการวิปัสสนา มีการ
            สัมปยุตธรรม สัมปยุตธาตุ เป็นต้น 
         
      ๘.ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธ ของพระอริยบุคคลทั้งหลาย

            เมื่อจิตเห็นตามความเป็นจริง ก็ละกิเลสได้ตามจริง ตามลำดับ ตามขั้น ตามญาณ เป็น นิโรธสัญญา
            คือการดับเชื้อไม่เกิดอีก สิ้นสุดกิเลสจริง ๆ

       จิตที่ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียวในฐานะ ๑ - ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาวิสุทธิผ่องใส เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และถึงความร่าเริงด้วยญาณ ฯ

          ดังนั้นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยสมาธิ จิตย่อมแล่่นไปตามลำดับ ด้วยปฏิปทาข้อ 1 ถึง ข้อที่ 4

          ส่วนข้อนอกนั้นเป็นจิตที่ถึงพร้อมแล้วอย่างยิ่งยวด


     ข้อความจากหนังสือ อานาปานสติปฏิสัมภิทามรรค หน้าที่ 23

1261  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามจากเมล "จิตหมดจดในสมาธิ ทำอย่างไร" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 09:34:19 am
เป็นคำถามจากเมล นะจ๊ะ พอเอามาตอบในนี้ได้

ถามว่า จิตผ่องใส ด้วย สมาธิทำอย่างไร?
        อย่างไรชื่อว่าจิตผ่องใส

ตอบ   ความไม่ผ่องใส มีเหตุที่จิตเป็นดังนี้

        ๑.จิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน พระโยคาวจรเว้นจิตนั้นเสีย ย่อมตั้งมั่นจิตนั้นไว้ในฐานหนึ่ง จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

  ทำจิตให้ผ่องใสด้วยการตั้งมั่นในฐานหนึ่ง เช่น พระธรรมปีติ พระยุคลหก พระสุข พระอานาปานัสสติ เป็นต้น
เพราะจิตไม่ปักหลัก ฐานใดฐานหนึ่งจึงให้ทำให้ฟุ้งซ่าน ไปในอดีต ปัคคาหะ เป็นสิ่งจำเป็น

        ๒.จิตจำนงหวังอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่ง พระโยคาวจรเว้นจิตนั้นเสีย น้อมจิตนั้นไปในฐานะนั้นแล จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

  อันนี้ก็หวังรูปร่างของอนาคต ส่งจิตไปข้างหน้าจึงทำให้กระสับกระส่าย อุเบกขานิมิต คือการวางเฉยต่อด้วยอาการเว้นจากอารมณ์ วางใจเป็นกลางเพื่อขจัดความฟุ้ง

        ๓.จิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายความเกียจคร้าน พระโยคาวจรประคองจิตนั้นไว้แล้ว ละความเกียจคร้าน จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

การประคองจิตนั้น ไม่มีวิธีการอื่นนอกจากบริกรรม การบริกรรมประกอบด้วยสติเป็นหลัก ดังนั้นคำบริกรรมถ้าขาดหายไปเมื่อใด จิตจักถึงความขี้เกียจเพราะไม่มีงานให้จิต จิตก็จะไปรับเรื่องอื่นๆ ติดตามเข้ามาเป็นชุด

        ๔.จิตถือจัด ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ พระโยคาวจรข่มจิตนั้นเสียแล้วละอุทธัจจะ จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการ อย่างนี้

เป็นเพราะความที่ผู้ปฏิบัติมีความคาดหวังในการปฏิบัติมากเกินไป จึงทำให้จิตเข้าสู่ อารัทธะ คือเพียรจัดและหวังความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง คนเรายิ่งอยากได้ก็ยิ่งจะไม่ได้ ดังนั้นการตั้งจิตด้วยการอธิษฐานจิต ปฏิบัติบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีความสำคัญ ตั้งจิตไว้ผิดก็ปฏิบัติไม่ได้ ตั้งจิตไว้ถูกก็ปฏิบัติอย่างง่าย


        ๕.จิตรู้เกินไปตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด พระโยคาวจรผู้รู้ทันจิตนั้น ละความกำหนัดเสีย จิต ย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

เพราะการเรียนกรรมฐาน เป็นพื้นฐานแห่งจิตผู้ปฏิบัติมักจะนึกอารมณ์ไปตามที่รู้เช่น ต้องเกิดปีติอย่างนี้ ต้องมีธรรมนี้เกิดเป็นต้น และวาดอารมณ์ดักใจไว้ไม่ได้วางไปในทิศทางของจิตที่ถูกต้องสิ่งสำคัญของกรรมฐานเรียนพอปฏิบัติ ไม่เอาสภาวะธรรมของผู้อื่น มาใส่ใจ หรือมาเป็นของตนเอง การแก้จิตตรงนี้ก็คือลำดับพระกรรมฐาน
ปฏิบัติตามลำดับพระกรรมฐาน

        ๖.จิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายความพยาบาท พระโยคาวจรเป็นผู้รู้ทันจิตนั้น ละความพยาบาทเสีย จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

เนื่องจากการเรียนกรรมฐานนั้นมีความสำคัญ แต่เรียนเฉพาะปฏิบัติ บางท่านไม่จดจำในส่วนที่ปฏิบัติ ลำดับพระกรรมฐานไม่สามารถจดจำได้จึงทำให้จิตตกอยู่ในสภาพจิตไม่รู้ ก็ถึงความขุ่นเคืองและเบี่ยงเบนกรรมฐาน เพราะไม่รู้จะภาวนาอะไรในกรรมฐาน ดังนั้นผู้เรียนกรรมฐานต้องจดจำพื้นฐานในการปฏิบัติให้ไำด้ ด้วยตนเองจึง
จะไม่ตกข้างฝ่ายจิตไม่รู้



 จิตบริสุทธิ์ด้วยฐานะ ๖ ประการนี้ ย่อมขาวผ่อง ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว ฯ

ข้อความในหนังสือ อานาปานสติปฏิสัมภิทามรรค หน้า 21



Aeva Debug: 0.0005 seconds.
1262  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พุทธภาษิตประจำวันนี้ "การหมั่นประกอบในการทำจิต ให้ยิ่ง" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 07:53:36 am
อธิจิตเต จะ อาโยโค
การหมั่นประกอบในการทำจิต ให้ยิ่ง


พุทธภาษิต จาก โอวาทปาฏิโมกข์
อรรถกถา โดย ธัมมะวังโส
ในการฝึกจิต ควรฝึกทุกสภาวะ ไม่ยกเว้น  แม้สภาวะที่สับสน การฝึกจิตอย่างนี้ ต้องมีสติ รู้ทันก่อน ถึงจะฝึกได้ ถ้าสติรู้ทันอยู่แล้วในขณะนั้น  ให้หมั่นประกอบทำจิตให้ยิ่งด้วยการ ปฎิบัติสมาธิก่อนสำหรับผู้ไม่มีสมาธิ   เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริง ปราศจาก สังขตธรรมในจิต
Aeva Debug: 0.0004 seconds.
1263  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำฝากพิจารณา ประจำวันนี้ 22/2/54 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2011, 08:13:44 am
ความสะอาด เกิดขึ้นได้จากการปัดกวาด ต้องเข้าใจว่าปัดกวาดทำไม
ความสว่าง เกิดขึ้นได้เพราะมีความมืด แสงสว่างต้องมีการกระทำ
ความสงบ เกิดขึ้นได้เพราะปล่อยวาง เพราะความสงบเป็นธรรม เดิมแท้

 กิเลสเกิดขึ้นทางตา ดับทางตาไม่ได้ ไม่ใช่แก้ด้วยการหลับตา ต้องดับที่ใจ นะจ๊ะ
 กิเลสเกิดขึ้นทางหู ดับทางหูไม่ได้ ไม่ใช่แก้ด้วยการปิดหู ต้องดับที่ใจ นะจ๊ะ
 กิเลสเกิดขึ้นทางจมูก ดับทางจมูกไม่ได้ ไม่ใช่แ้ก้ด้วยการปิดจมูก ต้องดับที่ใจ นะจ๊ะ
 กิเลสเกิดขึ้นทางลิ้น ดับทางลิ้นไม่ได้ ไม่ใช่แก้ด้วยการปิดปาก ต้องดับที่ใจ นะจ๊ะ
 กิเลสเกิดขึ้นทางกาย ดับทางกายไม่ได้ ไม่ใช่แก้ด้วยการบำบัดกาย ต้องดับที่ใจ นะจ๊ะ
 กิเลสเกิดขึ้นทางใจ ดับทางใจนั้นได้ ไม่ใช่แก้ด้วยการส่งดับส่วนอื่น ๆ ต้องดับที่ใจ นะจ๊ะ

 การรู้ดับ เบื้องต้น ต้องมีสติ เพื่อการปล่อยวาง
 การปล่อยวาง ต้องมีปัญญา เห็นตามความเป็นจริง
 การรู้ดับ อย่างสิ้นสุด ต้องมี สติ มีสมาธิ มีปัญญา รู้เห็นแจ้งตามความเป็นจริง อย่างยิ่งยวด

 เจริญธรรม
;)
1264  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พุทธภาษิตวันนี้ เร่งสำนึกความโชคดีของท่านเถิด เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2011, 10:03:36 am


กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท


ยาก ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์
ยาก ที่ชีวิตสัตว์อยู่สบาย
ยาก ที่จะได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
ยาก ที่พระสัมพุทธจะอุบัติมา


Hard is it to be born as a man,
Hard is the life of mortals,
Hard is it to hear the Truth Sublime,
Hard as well is the Buddha’s rise.
1265  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การพิจารณาธาตุทั้งสี่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ บังเกิด ปรากฏ เมื่อ: มกราคม 31, 2011, 03:19:25 pm
การพิจารณาธาตุทั้งสี่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ บังเกิด ปรากฏ
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ บังเกิด ปรากฏ แห่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาส วิญญาณ  นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์  แห่งโรค แห่งชรา มรณะ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดับไม่เหลือ สงบ ระงับ ดับสูญ แห่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ วิญญาณ  นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ สงบระงับแห่งโรค ดับสูญแห่ง ชรา มรณะ


ที่มาจาก หนังสือ คู่มือสมถะ วิปัสสนากรรมฐาน จากพระไตรปิฏก เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร วัดราชสิทธาราม กทม.
1266  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธาตุทั้งสี่ ไม่เที่ยง แปรปรวน เมื่อ: มกราคม 31, 2011, 03:18:33 pm
ธาตุทั้งสี่ ไม่เที่ยง แปรปรวน
          .  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโย ธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุไม่เที่ยง  มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่น เป็นธรรมดา 
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหว  ซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้  เรากล่าวผู้นี้ว่า  สัทธานุสารี  ก้าวล่วงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริภูมิ หรือ ปัตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้ง โสดาปัตติผล ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวว่า มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา  เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.


ที่มาจาก หนังสือ คู่มือสมถะ วิปัสสนากรรมฐาน จากพระไตรปิฏก เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร วัดราชสิทธาราม กทม.
1267  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พิจารณาธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ไช่ของเรา เมื่อ: มกราคม 31, 2011, 03:17:26 pm
พิจารณาธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ไช่ของเรา
        ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ      ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มี    พระภาคได้ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล ปฐวีธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็น      ภายนอกก็ดี ปฐวีธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าปฐวีธาตุเท่านั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วย             ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่         ตัวตนของเรา เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อม         เบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในปฐวีธาตุ ดูกรราหุล อาโปธาตุที่          เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อาโปธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าอาโปธาตุเท่านั้น พึง เห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา  นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของตน เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ          เป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ       ดูกรราหุล เตโชธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี เตโชธาตุนั้นก็เป็นแต่      สักว่าเตโชธาตุเท่านั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง     อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเห็น  ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ ย่อม     คลายกำหนัดในเตโชธาตุ ดูกร ราหุล วาโยธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี       วาโยธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าวาโยธาตุเท่านั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน   ของเรา เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่าย ในวาโยธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ ดูกรราหุล เพราะเหตุที่ภิกษุพิจารณา     เห็นว่ามิใช่ตัวตน ไม่เนื่องในตน ในธาตุ ๔ นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ แล้ว รื้อถอนสังโยชน์เสียได้ กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้วเพราะละมานะได้   โดยชอบ ฯ


ที่มาจาก หนังสือ คู่มือสมถะ วิปัสสนากรรมฐาน จากพระไตรปิฏก เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร วัดราชสิทธาราม กทม.
1268  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การพิจารณาธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกาย เมื่อ: มกราคม 31, 2011, 03:16:16 pm
การพิจารณาธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกาย
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้   แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้   ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดย  ความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า    พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ


ที่มาจาก หนังสือ คู่มือสมถะ วิปัสสนากรรมฐาน จากพระไตรปิฏก เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร วัดราชสิทธาราม กทม.
1269  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ประกาศเรื่องการตอบปัญหาธรรม ทั้งในกระทู้ และ เมล เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 05:31:12 pm
เนื่องด้วยในปัจจุบัน อาตมารับ ปัญหา และตอบปัญหา ทั้งทางเมล และ กระทู้

ซึ่งตอนนี้เริ่มมีจำนวนมากขึ้น ดังนั้นบางกระทู้อาจจะตอบสั้นไปบ้างก็ขอให้ทุกท่าน

ร่วมกันช่วยกันตอบด้วย นะจ๊ะ ส่วนเมลของผู้ใด ถามมาแล้วยังไม่ตอบ ก็ยังไม่ถึงคิวตอบนะ

เนื่องด้วยคำถามที่ท่านทั้งหลายถามกันมานั้น เป็นระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่สามารถแจ้งทาง

กระทู้เป็นสาธารณะได้ เพราะเป็นอารมณ์ส่วนบุคคล เวลาตอบอาตมาต้องพิมพ์มากกว่าคำถาม

อย่างน้อยก็ประมาณ 3 - 5 บรรทัด บางปัญหาตอบกันมากกว่า 10 บรรทัดซึ่งทั้งหมดนั้นก็ต้อง

ใช้เวลาในการพิมพ์ดังนั้น จึงเจริญพรแจ้งเรื่องความล่าช้าทางการตอบทั้งกระทู้ และ เมลด้วย

เจริญธรรม

 ;)
1270  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ตารางการปฏิบัติธรรมวันสำคัญ ปีพ.ศ. 2554 ที่สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต สระบุรี เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 09:59:54 pm


http://www.sangdhamsongchevit.com/carled.html

1271  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / เชิญร่วมปฏิบัติธรรมสร้างกุศลต้อนรับปีใหม่ 7-9 มกราคม 2554 เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 09:49:16 pm
เชิญร่วมปฏิบัติธรรมสร้างกุศลต้อนรับปีใหม่ 
  7-9  มกราคม  2554 
 
ณ  สวนนายต่อ
ห่างที่ว่าการอำเภอวังน้ำเขียว  3  กิโลเมตร
 
 
ตารางปฏิบัติธรรมประจำวัน 
 
04.30-05.00 น. ตื่นนอน 
05.00-07.00 น.อริยสัจ 4 มีฌาน 4 เป็นบาท 
07.00-09.00 น. ทานอาหารเช้า – อาบน้ำ 
09.00-12.00 น. จิตตกรีฑา ( ฌานสมาบัติ 8 กสิณ 8 ) 14 ขั้นตอน 
12.00-13.00 น. อาหารกลางวัน 
13.00-16.00 น. อนัตตลักขณสูตรมีฌาน 4 เป็นบาท 
16.00-18.00 น. อาหารเย็นและอาบน้ำ 
18.00-20.00 น. วิโมกข์ 3-8 , สมาบัติ 3 
20.00-23.00 น. สนทนาธรรม ถาม – ตอบปัญหาต่าง ๆ 
23.00-04.30 น. นอน 
 
กางเต๊นท์รับลมหนาว
 
 
รับจำนวนจำกัดเพียง 20 ท่านเท่านั้น 
 
ผู้สนใจติดต่อโทร. 089 – 766 – 2373. .
1272  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมเป็นรากเง่าของวิปัสสนา ศีลวิสุทธิ เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 09:22:54 pm
ธรรมเป็นรากเง่าของวิปัสสนา
ศีลวิสุทธิ พระโยคาวจรผู้พากเพียรพึงปฏิบัติพิจารณาซึ่งปริมณฑลแห่งศีลให้เห็นบริสุทธิทั้ง ๔ ประการ
                ๑.ปาฏิโมกขสังวรศีล ได้แก่ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ให้พระภิกษุ ต้องปฏิบัติศึกษาสำหรับ ท่านพระโยคาวจรที่เป็นพระภิกษุ ต้องรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ สามเณร รักษาศีล ๑๐ ฆราวาสรักษาศีล ๕ หรือจะรักษาศีลอุโบสถไปด้วยก็ได้
                ๒.อินทรียสังวรศีล ได้แก่ศีลคือความมีสติสำรวมระวังอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มิให้เกิดยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ได้ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส และรู้อารมณ์ทางใจ
                  ๓.อาชีวปาริสุทธิศีล ได้แก่ ศีลคือการเลี้ยงชีพโดยความบริสุทธิ สำหรับพระภิกษุสามเณรต้องเว้นจาก อเนสนา คือการแสวงหาปัจจัยสี่ที่ในทางไม่สมควร และไม่ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติ ส่วนฆราวาสต้องรักษาอาชีพให้บริสุทธิ
                 ๔.ปัจจยสันนิสสิตศีล ได้แก่ ศีลอาศัยปัจจัย ๔ หมายถึง ศีลในการบริโภคใช้สอยปัจจัย ด้วยความมีสติกำหนดพิจารณา โดยนิโสมนสิการ เช่น ในการบริโภคอาหาร ในการใช้ไตรจีวร สำหรับพระภิกษุ สามเณร และการใช้สอยเสื่อผ้าสำหรับฆราวาส ในการเข้าอยู่เสนาสนะที่อาศัย และการใช้เภสัชเยียวยาในการรักษาโรค
สิลวิสุทธิ เป็น ไฉน
ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย และทางวาจา นี้เรียกว่า สิลวิสุทธิ
สิลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลวิสุทธิ
(นิกเขปกัณฑ์ สุตตันติกทุกะ อภิธรรมปฏก ธรรมสังคณี)
สีลมยญาณ
ญาณเกิดจากความสำรวมในศีล
ศีลห้า คือ การละปานาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ การละเมิดกามฉันด้วยเนขัมมะ การละความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท การละถีนมิทธด้วยอาโลกสัญญา การละอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน การละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม การละอวิชชาด้วยญาณ การละอรติด้วยปราโมทย์ การละนิวรณืด้วยปฐมฌาน การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน การละปิติด้วยคติยฌาน การละทุกข์และสุขด้วยจตุถฌาน การละรูปสัญญา ปฏฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ การละอากาสานัญจายตนสัญญด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ การละวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญยายตนสมาบัติ การละอากิญจัญยายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ การละอนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา การละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสนา การละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา การละนันทิด้วยนิพพิทานุปัสนา การละราคาด้วยวิราคานุปัสนา การละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสนา การละทานะด้วยปฏนิสสัคคานุปัสนา การละฆนะสัญญาด้วยขยานุปัสนา การละอายุหนะด้วยยานุปัสนา การละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสนา การละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา การละอภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสนา การละสานาทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสนา การละสัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสนา การละอัปปฏิสังขารด้วยปฏิสังขารนุปัสนา การละสังโยคาหภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสนา การละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค การละกิเลสที่หยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค การละกิเลสละเอียดด้วยอนาคามิมรรค การละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค การละนั้นๆ เป็นศีล เวรมณี เป็นศีลเมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรที่ทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษา
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสำรวมไว้ เป็น สีลมยญาณ

1273  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ขึ้นห้องวิปัสสนา แบบ เจโตวิมุตติ เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 09:20:05 pm
ขึ้นห้องวิปัสสนา แบบ เจโตวิมุตติ

๑.ผู้ได้รูปฌาน ๔ ต้องเข้า ฌาน ๔เป็นก่อน ให้ภาวนาว่า โลกุตรัง ฌาณัง แล้วภาวนาองค์วิปัสสนา

๒.ผู้ได้รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ เรียกว่า สมาบัติ ๘ ต้องเข้า ฌานเป็นบาทแล้วเข้าวิปัสสนา

(ยกเว้น เนวสัญญาสัญญายตนะ ใช้ทำวิปัสสนาไม่ได้ ใช้ทำกิจไม่ได้ แต่เสวยผลได้)

1274  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สุญญต สมาบัติ วิหาร วิโมกข์ วิมุตติ อื่น ๆ เชิญอ่าน เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 04:40:37 pm
สุญญตวิหาร
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในพระนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้วซึ่งสังขารนิมิตด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า อนิมิตตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในพระนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้วซึ่งตัณหาด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตัวตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจากตน ถูกต้องแล้วซึ่งความถือมั่นตนด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปวิหารธรรมนั้น ชื่อว่า สุญญตวิหาร

สุญญตสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิตเพิกความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัตินี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัยมีจิตนอมไปในนิพพานอันว่างจากตน เพิกเฉยความเป็นไปแล้วคำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ ฯ


สุญญตวิหารสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิต โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิตถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไแแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัตินี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิติวาหรสมาบิต พิจาณาเห็นความถือมั่นว่าตน โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปนิพพานอันว่างจากตน ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับว่า ว่างจากตน แล้วเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ

สุญญตวิหาร
พระโยคาวจารพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีรูปนิมิต ถูกต้อแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า สุญญตะวิหาร ฯ


สุญญตสมาบัติ
พระโยควจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบิต นี้ชื่อว่า อนิมิตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพาานอันไม่มีที่ตั้งเพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นื้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่าเปล่า เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับว่า เปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ ฯ

สุญญตวิหารสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยควมเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับสนิทไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัยมีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ ฯ


สุญญตวิหาร
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณะนิมิต โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อนิมิตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชรามรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่ว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ยอมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ ชื่อว่า สุญญตวิหารฯ

สุญญตสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานนั้นไม่มีนิมิตเพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตสมาบัติ พิจารณษเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมาณะ โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่เป็นที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิสมาบัติ พิจาณาความถือมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ ฯ

สุญญตวิหารสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิตถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ พิจารณษเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้วคำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความยึดมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิวิหารเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อนิมิตตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อนิมิตตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง สุญญติวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง ฯ


สุญญตะ
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพานเพื่อลทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอภัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพล หิริพละ โอตตัปปะ กายปัสสิทธิ จิตตปัสสัทธิ จิตตปัสสธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุหุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ฯ

สภาธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

1275  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / โพชฌงค์ 7 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 04:36:38 pm
โพชฌงค์ ๗ คือ
๑.สติสัมโพชฌงค์
๒.ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์
๓.วิริยะสัมโพชฌงค์
๔.ปิติสัมโพชฌงค
๕.ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖.สมาธิสัมโพชฌงค์
๗.อุเบกขาสัมโพชฌงค์

สติสัมโพชฌงค์

สติในธรรมภายใน มีอยู่ สติในธรรมภายนอกมีอยู่ สติในธรรมแม้ใด สติในธรรมแม้นั้น ก็ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน สติในธรรมภายนอกแม้ใด สติในธรรมภายนอกแม้นั้น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

ความเลือกสรรในธรรมภายใน มีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายนอกมีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้ใด ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่าธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้ใดความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

วิริยะสัมโพชฌงค์

ความเพียรทางกายมีอยู่ ความเพียรทางใจมีอยู่ ความเพียรทางกายแม้ใด ความเพียรทางกายแม้ชื่อว่า วิริยะสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ความเพียรทางใจแม้ใด ความเพียรทางใจแม้นั้น ก็ชื่อว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ปิติสัมโพชฌงค์

ปิติที่มีวิตก วิจารมีอยู่ ปิติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารมีอยู่ ปิติที่มีวิตกวิจารแม้ใด ปิติที่มีวิตกมีวิจารแม้นั้น ชื่อว่า ปิติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ปิติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้ใด ปิติไม่มีวิตก ปิติที่ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่าปิติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

กายปัสสธิ มีอยู่ จิตปัสสัทธิมีอยู่ กายปัสสัทธิแม้ใด กายปัสสัทธิแม้นั้น ก็ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน จิตปัสสัทธิแม้ใด จิตปัสสธิแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปัสสธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

สมาธิสัมโพชฌงค์

สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร แม้ใด สมาธิที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้นชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

อุเบกขาสัมโพชฌค์

อุเบกขาในธรรมภายในมีอยู่ อุเบกขาในธรรมภายนอกมีอยู่ อุเบกขาแม้ในธรรมภายในแม้ใด อุเบกขาแม้ในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชือว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน อุเบกขาในธรรมภายนอกมแใด อุเบกขาแม้ในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
1276  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงปู่ไข่ อินฺทสโรภิกฺขุ เมื่อ: ธันวาคม 30, 2010, 08:26:33 pm

อินฺทสโรภิกฺขุ (ไข่)  หรือที่รู้จักกันดีในหมู่นักสะสมพระเครื่องว่า หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน  เป็นชาวแปดริ้ว บ้านเกิดอยู่บริเวณ ประตูน้ำท่าไข่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา  จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน หลวงปู่เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน  พ.ศ. 2402 ตรงกับขึ้น5 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรของนายกล่อม นางบัว  จันทร์สัมฤทธิ์ มีพี่น้องกี่คนไม่ปรากฏ
        ขณะที่ท่าน อายุ  6 ขวบ(ประมาณ พ.ศ. 2408) บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์หลวงพ่อปาน วัดโสธร  คือวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน เพื่อให้เรียนหนังสือ  ต่อมาจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อได้บรรพชาแล้วก็ได้หัดเทศน์มหาชาติและ เทศน์ประชัน
          กล่าวกันว่าหลวงพ่อปู่ไข่  มีความสามารถในการเทศน์มหาชาติกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรีได้ไพเราะกังวานจับใจ ผู้ฟังยิ่งนักแม้ภายหลังเมื่อชราแล้ว  ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิดก็มักจะได้ยินหลวงปู่ทบทวนการเทศน์มหาชาติ ทั้ง 2 กัณฑ์  ในตอนกลางคืนอยู่เสมอๆ
          ครั้นเมื่อหลวงพ่อปาน วัดโสธร มรณภาพแล้ว หลวงปู่ไข่  ได้ไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอพนัสนิคม  จังหวัดชลบุรี จนกระทั่งพระอาจารย์จวงมรณภาพ ขณะนั้นหลวงปู่ไข่ มีอายุได้  15 ปี (ประมาณ พ.ศ.2417)
          ตามประวัติกล่าวว่าหลวงปู่ไข่ ได้เดินทางมากรุงเทพฯ  ไปอยู่กับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ที่วัดหงส์รัตนาราม  อำเภอบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี เพื่อเรียนพระปริยัติธรรม อีก 3 ปีต่อมา  (ประมาณ พ.ศ.2420) หลวงปู่ไข่ ได้เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม  วัดลัดด่าน ซึ่งอยู่ที่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร  และได้เล่าเรียนปริยัติธรรมและพระวินัยจนอายุครบบวช (ประมาณ พ.ศ.2422)  จึงได้อุปสมบทที่วัดนี้ โดยมี
                  พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์
                  พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
                  พระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
อุปสมบทแล้วได้เดินทางไป เรียนพระกรรมฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ซึ่งอยู่ที่เชิงเขา  แขวงเมืองกาญจนบุรี เรียนอยู่ระยะหนึ่งจึ่งกลับมาอยู่วัดลัดด่านตามเดิม
          ต่อมาหลวงปู่ไข่ ได้ออกธุดงค์ไปตามสำนักพระอาจารย์ต่างๆ  ซึ่งอยู่ที่อำเภอโพธาราม เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี  จากนั้นได้กลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกระยะหนึ่ง  จึงได้ออกธุดงค์ไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์ในถ้ำที่เมืองกาญจนบุรี เป็นเวลาประมาณ 6 ปี (ราว พ.ศ. 2423 – 2429)
           ตามประวัติกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า "ท่านเล่าว่า ระหว่างอยู่ในถ้ำนั้น  ตกกลางคืนจะมีสิงห์สาราสัตย์ต่างๆ เข้ามานอนล้อมกอด  พอเช้ามืดต่างคนต่างออกไปหากิน ส่วนท่านก็จะออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตรประจำวัน  (ท่านฉันหนเดียว)
          เมื่อท่านศึกษาอยู่ในถ้ำนั้นเป็นเวลานานพอสมควร  เห็นว่าจะช่วยเหลือโลกได้บ้างแล้ว ท่านก็เดินธุดงค์ออกจากถ้ำไปในที่ต่าง ๆ  โดยไม่ยอมขึ้นรถลงเรือ และไม่มีจุดหมายปลายทาง  สุดแต่มืดที่ไหนก็กางกลดนอนที่นั่น เช้าก็ออกเดินธุดงค์ต่อไป
         ในระหว่างทางมีราษฎรมาขอความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด  เรื่องตกทุกข์ได้ยาก หรือเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเป็นบ้าเสียจริต  ท่านมีจิตเมตตาช่วยรักษาให้ตามที่อธิษฐานทุกคน" หลวงปู่ไข่  เดินธุดงค์อยู่ราว ๑๕ ปี (ประมาณ พ.ศ.๒๔๒๙ – พ.ศ.๒๔๔๔)  เกียรติคุณของหลวงปู่ไข่ ได้เลื่องลือเข้ามาถึงกรุงเทพฯ
         จึงมีผู้นิมนต์มาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ ฝั่งธนบุรี เป็นเวลา ๑ ปี  จากนั้นหลวงปู่ไข่ ก็ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรอีกหลายปี  ในที่สุดหลวงปู่ไข่ ก็เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง เข้าใจว่าคงราว ๆ  พ.ศ.๒๔๕๕ -พ.ศ.๒๔๖๑
         การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ครั้งนี้ หลวงปู่ไข่  ได้เลือกจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงเลน หรือวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร  ทั้งนี้เพราะที่วัดบพิตรพิมุขมีพระภิกษุน้อย และมีคณะกุฏิ  ซึ่งใช้เป็นที่เก็บศพ  และบางครั้งก็มีชาวบ้านเข้ามาใช้เป็นที่ถ่ายอุจจาระด้วย  ดังนั้นคณะกุฏินี้จึงเป็นสถานที่เงียบสงบ ไม่มีใครมารบกวนมากนัก  หลวงปู่ไข่จึงเข้ามาอยู่ที่คณะกุฏิในป่าช้าของวัดบพิตรพิมุข  สมัยนั้นพระภิกษุรูปใดจะเข้ามาอยู่วัดก็ได้โดยเสรี  ไม่ต้องมีบัตรและไม่มีใครตรวจตรา ไม่ต้องขออนุญาต  เพียงแต่ถึงคราวเข้าปุริมพรรษา ก็บอกกล่าวเจ้าอาวาสให้รับทราบ  เพื่อจะได้จำพรรษาที่วัดนั้น และเมื่อหลวงปู่ไข่  มาอยู่ที่วัดบพิตรพิมุขนั้น พระกวีวงศ์ (กระแจะ วสุตตโม ป.ธ.๔)  เป็นเจ้าอาวาส
          ในระหว่างที่หลวงปู่ไข่ จำพรรษาอยู่ ณ วัดบพิตรมุข หลวงปู่ไข่  ได้ปฏิบัติทางธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ ได้แก่  สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์  บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมการทำบุญ  เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น  สร้างพระไตรปิฎก โดยหลวงปู่ไข่ ลงมือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง  ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น  สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ  ถังรับน้ำฝน ขึ้นภายในบริเวณวัด  สร้างแท่นสำหรับนั่งพักภายในคณะกุฏิให้เป็นที่สะดวกแก่พระภิกษุสามเณรที่ อาศัยอยู่ในคณะนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่า เมื่อครั้งหลวงปู่ไข่  จำพรรษาอยู่ตามหัวเมือง ก็ได้สร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ มาแล้วหลายแห่ง
         หลวงปู่ไข่  เป็นผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในคูณพระรัตนตรัย  มีจิตสุขุมเยือกเย็นประกอบด้วยเมตตากรุณา มีจริยาวัตรอัธยาศัยเรียบร้อย  เคร่งครัดในทางสัมมาปฏิบัติ  เป็นที่เคารพนับถือแก่บรรดาศิษย์และผู้ที่รู้จักคุ้นเคยทั้งในกรุงเทพฯ  และต่างจังหวัดเป็นอันมาก หลวงปู่ไข่เป็นพระที่สมณะใฝ่สันโดษ  เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นนิตย์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร  บรรดาศิษย์ของหลวงปู่ไข่ได้ป่วยก็มาหา  หลวงปู่ไข่ก็จะแนะนำให้ไปซื้อยามาเสกให้กิน  เมื่อมีเวลาว่างหลวงปู่ไข่ก็จะสร้างพระ ตะกรุด ธง  และเหรียญออกแจกจ่ายแก่บรรดาศิษย์
         ราว พ.ศ. ๒๔๗๐  หลวงปู่ไข่ เตรียมบาตร กลด และย่ามเพื่อจะออกธุดงค์  แต่บรรดาศิษย์ทั้งที่เป็นข้าราชการ พ่อค้า ได้ปรึกษาหารือกันว่า หลวงปู่ไข่  ชราภาพมากแล้ว หากออกธุดงค์คราวนี้ไซร้คงจะไม่ได้กลับมาแน่  จึงได้นิมนต์ยับยั้งไว้ โดยขอให้หลวงปู่ไข่  อยู่วิปัสสนากรรมฐานแก่บรรดาศิษย์ต่อไป
         หลวงปู่ไข่  เริ่มอาพาธด้วยโรคชราตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ ครั้นวันที่ ๑๖  มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ เวลา ๑๓.๒๕ น. ก็ถึงแก่มรณภาพ ก่อนเวลาที่จะมรณภาพ  หลวงปู่ไข่ ได้ข่มความทุกข์เวทนาอยู่ในเวลานั้น ให้หายไปได้  ประดุจบุคคลที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ แล้วขอให้ศิษย์ที่พยาบาลอยู่  ประคองตัวให้ลุกขึ้นนั่ง และให้จุดธูปเทียนบูชาพระ  เมื่อกระทำนมัสการบูชาพระเสร็จแล้วก็เจริญสมาธิสงบระงับจิต  เงียบเป็นปกติอยู่ประมาณ ๑๕ นาที ก็หมดลมปราณ  ถึงวาระสุดท้ายศิษย์ผู้คอยเฝ้าพยาบาลอยู่ จึงประคองตัวหลวงปู่ไข่ ให้นอนลง  รวมอายุได้ ๗๔ ปี พรรษา ๕๔ พรรษา
          ตามปรกติที่วัดบพิตรพิมุข ไม่มีที่ประชุมเพลิงศพโดยเฉพาะ  ด้วยเหตุนี้คณะสงฆ์เห็นว่าหลวงปู่ไข่ เป็นพระเก่าแก่ของวัด  และมีผู้เคารพนับถือมาก  จึงขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษเพื่อทำการประชุมเพลิงศพหลวงปู่ไข่ ที่บริเวณกุฏิ  กำหนดประชุมเพลิงในวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. (คือประมาณ ๑๐๐  วันหลังจากมรณภาพ สมัยนั้น วันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ เมษายน)
          ในวันประชุมเพลิงศพ มีคนมาร่วมงานมากมาย ถึงกับล้นออกไปตามตรอกซอยและถนน  พอถึงเวลาเคลื่อนศพเพื่อนำไปขึ้นเชิงตะกอน ทันใดนั้นเอง  แผ่นดินบริเวณคณะได้เกิดไหวขึ้น คนตกใจถึงกับออกปากว่า  อภินิหารของหลวงปู่ไข่ มีมากเหลือเกิน เมื่อประชุมเพลิง แล้วสัปเหร่อได้จัดการแปรธาตุเก็บอัฐิ บรรดาศิษย์เข้าขออัฐิของหลวงปู่ไข่ ไปไว้บูชาเป็นจำนวนมาก

ขอบคุณเนื้อหา
http://krabentongnam2511.wordpress.com
Aeva Debug: 0.0008 seconds.
1277  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ประวัติวัดราชสิทธาราม เมื่อ: ธันวาคม 30, 2010, 08:22:12 pm
วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร                         
( วัดราชสิทธิ์) ตั้งอยู่ใกล้สะพานเจริญพาสน์ ถนนอิสรภาพ   ฝั่งธนบุรี เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ วัดพลับ สมัยรัชกาลที่  ๑ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดใหม่ขึ้นในที่ติดกันกับวัดพลับเดิมและรวมวัดทั้งสองเข้าด้วยกัน  แล้วเรียกว่าวัดพลับเช่นเดิม ถึง พ.ศ. ๒๓๕๑ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดพลับเดิมอีกครั้ง                          เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้อยู่หัวทรงผนวชเสด็จมาทรงจำพรรษาที่วัดนี้   เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้วได้โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหมด
   ภายในวัดราชสิทธารามมีสิ่งก่อสร้างสำคัญ   คือ พระตำหนักจันทร์  ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   รัชกาลที่ ๒ ทรงสร้างพระราชทานให้รัชกาลที่ ๓  ประทับเมื่อทรงผนวช   เป็นพระตำหนักเล็กขนาด ๒ ห้อง  ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนสร้างด้วยไม้จันทร์ทั้งหมด  ติดช่อฟ้า ใบระกา ประดับกระจกสวยงาม  ต่อมารัชกาลที่ ๓  ทรงย้ายไปปลูกเคียงพระตำหนักเก๋งจีนและเปลี่ยนเครื่องไม้ที่ชำรุดทรุดโทรม เป็นไม้เนื้อแข็งอื่นๆ   เช่น ไม้เต็งรัง ไม้สัก  ทำให้เหลือส่วนที่เป็นไม้จันทร์อยู่เพียงบางส่วนเท่านั้น
   พระอุโบสถสร้างใหม่ครั้งรัชกาลที่ ๓ ในคราวปฏิสังขรณ์ใหญ่ ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังรูปกระบวนพระยุหยาตราทางสถลมารคแต่ชำรุดลบเลือนไปมาก


สำหรับรายละเอียดและเนื้อหา ที่มากกว่านี้ ติดตามได้จากเว็บไซท์ของทางวัดโดยตรง

www.somdechsuk.org
1278  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ฌาน ๕ ยกปฐวีกสิณเป็นอารมณ์แห่งฌาน เมื่อ: ธันวาคม 29, 2010, 09:25:48 pm
ปัญจมฌานปฐวีกสิณ

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ

บรรลุปัญจมฌานมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละทุกข์ ละสุขได้ เพราะโสมนัส และ โทมนัสดับสนิทในกาลก่อน

มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ในสมัยใดฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้นนี้เรียกว่า ปัญจมฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
1279  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / วิโมกข์ 8 ประการ เมื่อ: ธันวาคม 29, 2010, 09:22:12 pm
วิโมกข์ ๘ ประการ
๑.พระโยคาวจรผู้ได้รูปฌาน โดยทำบริกรรมในรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย
    นี้จัด  เป็นวิโมกข์ที่ ๑
๒.พระโยวาคจรผู้ได้รูปฌานโดยทำรูปภายนอก ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภาย
     นอก นี้จัด เป็นวิโมกข์ที่ ๒
๓.พระโยวาคจรเป็นผู้น้อมไปว่างามแท้  นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๓
๔.พระโยวาคจรล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆะ
    สัญญาเพราะไม่มนสิการ นานัตสัญญา  จึงบรรลุอากาสานัญจายตน
    โดยประการทั้งปวง โดยบริกรรมว่าอากาสไม่มีที่สิ้นสุดดังนี้ นี้จัดเป็น
    วิโมกข์ที่ ๔
๕.เพราะก้าวล้วงอากาสานัญจายตนโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลบรรลุ
    วิญญานัญจายตน โดยบริกรรมว่าวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดดังนี้ นี้จัดเป็น
     วิโมกข์ที่ ๕
๖.เพราะก้าวล่วงวิญญานัญจายตนโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุ
    อากิญจัญญายตน โดยบริกรรมว่าน้อยหนึ่งก็ไม่มี นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๖
๗.เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนดดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุ
    เนวสัญญานาสัญญายตน นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๗
๘.เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึง
    บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๘

1280  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เมื่อ: ธันวาคม 29, 2010, 09:21:20 pm
อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ

ปฐมฌานสมาบัติ
ทุติยฌานสมาบัติ
ตติยฌานสมาบัติ
จตุถฌานสมาบัติ
อากาสันัญจายตนสมาบัติ
วิญญานัญจายตนสมาบัติ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
สัญญาเวทยตนิโรธสมาบัติ

หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34 35