ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - ธัมมะวังโส
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 35
161  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓ เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2020, 05:04:03 am
วันที่ 1 6 ก.ค. 63

สำหรับ พรรษานี้ ถึงแม้ พอจ จะมีอาการอาพาธ แต่ก็จะพยายาม หาทาง หาเวลาเข้ากรรมฐาน ให้ได้ต่อเนื่อง สัก 5 วัน สักครั้ง ก็จะพยายามดู ในช่วงเข้าพรรษา

ขอให้ทุกท่านที่ฝึกกรรมฐาน ก็จงทบทวนตัวกรรมฐาน ให้คล่องแคล่ว ที่ไม่ได้พูด ก็เพราะว่าป่วยด้วย แต่ส่วนหนึ่ง ก็อยากให้ท่านทั้งหลาย ได้ศึกษาวิชาที่ข้ามไปกันให้เข้าใจ

ดังนั้นตัวกรรมฐาน ถ้าข้ามไป มันก็จะขาดอารมณ์ธรรม ไม่ได้อารมณ์แห่งสมาธิ ยิ่งข้ามก็ยิ่งช้า ท่านจึงบอกว่า อยากไวให้ซ้ำพื้นฐานให้มากที่สุด ผู้ฝึกวิชาส่วนใหญ่ ก็จะต้องฝึกซ้ำในขั้นต้นให้คล่องแคล่ว

เวลาฝึกก็พยายาม อย่าบีบคั้นตัวเองมากไป แต่ให้ทำอารมณ์ประหนึ่งได้ปล่อยวางโลกลง แล้วมีเวลาเข้าไปดูตัวเอง ถ้าทำอย่างนี้ มันจะได้ผลเร็วกว่าสร้างความอยากสำเร็จ เพราะถ้าสร้างความอยากสำเร็จ มันก็จะไม่ค่อยสำเร็จ

กรรมฐานที่พระพุทธเจ้า ล้วนแล้วมีหลักการ คือการปล่อยวาง ยิ่งปล่อยวางอารมณ์จากกามคุณทั้ง 5 ได้มากเท่าไหร่ กรรมฐานก็จะยิ่งชัดเจนมากขึ้น และถึงความสำเร็จได้ไว

ดังนั้นในพรรษานี้อาจจะไม่ค่อยโพสต์อะไร เพื่อฝึนกายภาพเข้ากรรมฐาน ขอให้ทุกท่าน จงขยันฝึกฝนกรรมฐานให้ชำนาญเพิ่มขึ้น ไปถึงแก่นของกรรมฐาน โดยไว พลัน เทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร
162  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม หลวงพ่อ ผี มีจริงไหม ? เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 09:11:35 am
ถาม หลวงพ่อ ผี มีจริงไหม ?

ตอบ ผี คนตายนั้นมีจริง เรื่องแรกตอบอย่างทั่วไปเลย นะ

แต่ ผี ที่เป็น วิญญาณ ของคนตายนั้นมีจริงไหม ก็ตอบว่ามีจริง วิญญาณที่ตาย ถ้ายังไม่จุติใหม่ พระพุทธเจ้า พระองค์จัดไว้ว่า เป็น โอปปาติกะ คือ ตายแล้วไม่จุติ ยังล่องลอยไปตามบุญกรรมของตน เทวดา เปตร สัตว์นรก พรหม ก็เป็นโอปปาติกะ ด้วยเช่นกัน สิ่งใดเป็นทิพย์ ไม่มีกายประกอบด้วย ธาตุทั้ง 4 เป็นแต่นามธรรม ตามประสงค์ของสภาวะ ที่จะใช้ ธาตุ หรือ ไม่ใช้ธาตุก็ได้ ไม่มีอาหารที่เป็นธาตุ มีแต่อาหาร ที่เป็นสภาวะ บริสุทธิ์ และ ไม่บริสุทธิ์

อย่างเทวดา มีอาหาร คือ ปีติ เป็นภักษา
สัตว์นรก มีอาหาร คือ บุญ บาป เป็นภักษา เป็นต้น

ดังนั้นเรื่องของดวงจิต ที่เป็นวิญญาณ มีแน่นอน เพราะวัฏฏะสงสารนี้เป็นอย่างนี้

เจริญธรรม / เจริญพร
163  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม คนทำสมาธิใหม่ ๆ นั้น จำเป็นต้องเข้าสะกด ทุกคนใช่หรือไม่ครับ เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 09:11:08 am
ถาม คนทำสมาธิใหม่ ๆ นั้น จำเป็นต้องเข้าสะกด ทุกคนใช่หรือไม่ครับ

ตอบ คนทำสมาธิ ได้ใหม่ ๆ นั้น เนื่องเพราะว่าจิตเริ่มมีความสงบ จึงกระทบกับความเป็นทิพย์ จะมีสัมผัสเพิ่ม 2 อย่าง ๆ ชัดเจน

สัมผัสทางหู เริ่มต้นจากการได้ยิน เสียงที่เบา และเบามาก ๆ เมื่อจิตเป็นสมาธิ เสียงที่เบาต่าง ๆ จะเริ่มเข้าสู่ โสตประสาทของผู้ฝึกสมาธิ ดังนั้น เสียงเหล่านั้น พอได้ยินมาก ๆ ก็จะทำให้เกิดความรำคาญหงุดหงิดได้ เพราะมันมีอาการเหมือน เสียงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้กับผู้ที่กำลังได้ สมาธิใหม่ ๆ
สัมผัสทางใจที่เป็นทิพย์ คือการได้เห็นสิ่งที่เรียกว่า ภาพ ในจิต ภาษากรรมฐานเรียกว่า ภาพอุปาทาน ซึ่งมันเป็นทั้งภาพที่เป็นจริง และก็ไม่เป็นจริง เรียกว่า ญาณซับซ้อนที่ยังไม่ตรง ยังเป็นกึ่งจักษุทิพย์ บางท่านอาจเห็นภาพนั้น ภาพนี้ ภาพเทวดา ภาพอดีต ภาพอนาคต เป็นต้นบ้าง ยิ่งเห็นมาก แทนที่จะได้ปลง กับเป็นความหลงผิด ยึดติดและชอบในภาพเหล่านั้น เรียกว่า โมหะริกัง

ดังนั้นสัมผัสสองอย่างนี้ ทางกรรมฐานเรียกว่า ความเป็นทิพย์สองส่วน คือ โสตทิพย์ และ จักขุทิพย์

ผู้ฝึกสมาธิใหม่ ๆ เมื่อกำลังจะได้นิมิต ที่เรียกว่า อุคคหนิมิต มักจะติดและหลงไปใน ความสามารถเริ่มต้นนี้ได้จึงทำให้พลาดจากการมีสมาธิ เป็นการยึดติด สิ่งที่รู้ สิ่งทีเห็น โดยอุปาทาน ที่เกิดจากการที่กำลังจะได้ อำนาจสมาธิ

ดังนั้น ครูอา่จารย์จึงได้สอนให้ผู้ฝึกกรรมฐาน เยี่ยงนี้ได้มีการเข้าสะกดเพื่อทำให้ อารมณ์สงบระงับ รู้เห็นตามความเป็นจริงเบื้องต้น ว่าไม่ควรยึดถือในสิ่งที่รู้เห็นเบื้องต้นนี้ ดังนั้นจึงสอนการเข้าสะกดอารมณ์ ให้เป็น ธรรมสมาธิ (แบบพุทธ ) ให้มากยิ่งขึ้น และควบคุมระวังความเพี้ยนแห่งจิตที่ เป็นกุศล รักษากุศลสมาธิไว้ เพื่อความสำเร็จใน มรรคสมาธิ นั่นเอง

เจริญธรรม / เจริญพร
164  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม หลวงพ่อ ครับ ตอนนี้คนยุ่งกับเรือ่งทำมาหากิน มากกว่า เรื่องของกรรมฐาน เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 09:09:35 am
ถาม หลวงพ่อ ครับ ตอนนี้คนยุ่งกับเรือ่งทำมาหากิน มากกว่า เรื่องของกรรมฐาน ถ้าจะยุ่งกับพระ ก็แค่ทำบุญ เท่านั้นครับ ผมคิดว่า เรื่องกรรมฐาน ควรเป็นเรื่องหลัง ๆ ที่ควรรู้ ใช่หรือไม่ครับ

ตอบ เรื่อง กิน กาม เกรียติ เป็นเรื่อง จำเป็นของชาวโลกอยู่แล้ว ไม่ว่าวันไหน ๆ ก็เป็นเรื่องที่ต้องมาก่อน

ส่วนเรื่องกรรมฐาน เป็นเรื่องเยียวยาจิตใจหรือ ทำให้จิตใจแน่วแน่เข้มแข็ง ก็เป็นเรื่องที่คนจะคิดได้ทีหลัง เสมอ ๆ

ทุกครั้งก็เป็นอย่างนี้

แต่สำหรับ ธัมมะวังโส แล้ว เรื่องอะไรสำคัญ ก็เป็นเรื่องของพวกท่านกัน ส่วนตัวตอนนี้ เรื่องกรรมฐาน เป็นเรื่องรีบด่วน และรีบด่วนมาก่อนทีจะละสังขาร เพราะถ้าตายไป ไม่สำเร็จกรรมฐาน ก็ต้องเวียนกลับมาทุกข์อีก ดังนั้นขณะที่สังขาร พอจะทำกรรมฐานได้ ธัมมะวังโส ก็จะให้ความสำคัญในเรื่องกรรมฐาน ก่อน เรื่อง กิน กาม เกียรติ เพราะถ้าถึงตัวกรรมฐานแล้ว กิน กาม เกียรติ ก็จะไร้ความหมายไปเอง

เจริญธรรม / เจริญพร

ปล. ช่วงนี้ไม่ค่อยโพสต์ เห็นว่าหลายท่าน วิตกในเรื่อง โควิด-19 ประกอบกับ ธัมมะวังโส อาพาธมากขึ้น จึงไม่ค่อยได้โพสต์ ขอให้พวกท่าน อ่านเรือ่งเก่า ๆ ทบทวนกันเสียหน่อย นะจ๊ะ
165  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม ตอนนั่งกรรมฐาน รู้สึกปวดขา ควรทำอย่างไร ครับ หลวงพ่อถึงจะหายปวดขา เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 09:08:11 am
ถาม ตอนนั่งกรรมฐาน รู้สึกปวดขา ควรทำอย่างไร ครับ หลวงพ่อถึงจะหายปวดขา

ตอบ มี 3 อย่าง
1. เลิกทำกรรมฐาน เหยียดขาซะ
2. ทำกรรมฐานต่อ แล้วค่อยเหยียดขา พร้อมกำหนดบริกรรมไว้ ในกรรมฐาน นั้นการเคลื่อนไหว ไม่ได้เป็นอุปสรรค เพียงแต่ถ้าเคลื่อนไหวมาก ๆ มันจะทำให้จิตแกว่ง
3. ไม่ต้องทำอะไร ก็ต้องนั่งอดทน บริกรรมต่อไป ปล่อยให้เจ็บเป็นตัวเกิดขึ้นแบบรู้อย่างเดียวแต่จิตไม่เข้าไปร่วมด้วย หมายถึง อุเบกขา ( วางเฉย ) ต่อเวทนา ( ทุกข์ )ที่เกิดขึ้น ระลึกไว้ว่า การนั่งขาชาเป็นเรื่องธรรมดา เรานั่งขาชาสัก สองสามชม ไม่ทำให้พิการใดๆ ทั้งสิ้น

เจริญธรรม / เจริญพร
166  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม ถ้าจะต้องนั่งอดทน แล้วทำอย่างไร จะไม่ให้จิตคิดถึงเรื่องที่ปวดชาอยู่ เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 09:07:46 am
ถาม ถ้าจะต้องนั่งอดทน แล้วทำอย่างไร จะไม่ให้จิตคิดถึงเรื่องที่ปวดชาอยู่

ตอบ ใหม่ ๆ จะทำได้ยากอยู่ แต่ต้องค่อยฝึกฝน จากเบาไปหาหนัก เริ่มจาก ดังนี้

1. ถ้าเริ่มปวดชา ก็อดทนนั่งต่อไป 10 นาที เมื่อได้ 10 นาที ถ้ายังทนได้อยู่ ก็ลองนั่งทนต่อไป เพื่อดูเวลาที่ทน

ที่นี้การกำหนดเวลานั้น มันจะทำได้ยาก เพราะเราอยู่ในกรรมฐาน ดังนั้น ถ้าจะต้องดูเวลา ก็ต้องลืมตา บางคนลืมตาแล้วสมาธิ แตก ดังนั้นไม่ควรลืมตาเพื่อดูนาฬิกา แล้วทำอย่างไร ดี

ครูอาจารย์ท่านกล่าวว่า ให้กำหนดนับ เป็นชุด คือ 1 - 100 พร้อมคำบริกรรม เช่น พุทโธ 1 พุทโธ 2 พุทโธ 3 พุทโธ 4 อย่างนี้เป็นต้น

ให้นับเป็นชุด ดังนั้นการกำหนดนับ ท่านต้องไปลองกำหนดนับ แล้วจับเวลามาก่อน ทำกรรมฐาน ลองกำหนดนับดูว่า 100 ครั้งของท่านเท่ากับกี่นาที ถ้าท่านกำหนดได้ อย่างแน่นอนแล้ว ก็จะสามารถกำหนดเวลาเดินหน้า เวลาขาชาปวดได้

2.ถ้าสามารถกำหนดได้ 10 นาทีแล้ว ท่านให้เพิ่มอีก 10 นาที ดังนั้น ก็ต้องกำหนดนับไปอีก 10 นาที ครบแล้ว ก็ลองดูว่าทนได้อีกไหม ถ้าทนได้ ก็ให้นับต่อไป ถ้าทนไม่ได้ ก็ให้ออกกรรมฐาน

3.ถ้ากำหนดนับได้ 20 นาทีแล้ว ท่านให้เพิ่ม อีก 20 นาที

4.ถ้ากำหนดนับได้ 40 นาทีแล้วท่านให้เพิ่ม อีก 20 นาที

5.ถ้ากำหนดนับได้ 60 นาทีแล้วท่านให้เพิ่ม 30 นาที

6.ถ้ากำหนดนับได้ 90 นาทีแล้วท่านให้เพิ่ม 30 นาที

7 ถ้ากำหนดนับได้ 120 นาทีแล้วท่านให้เพิ่ม 60 นาที

8 ถ้ากำหนดนับได้ 180 นาที่แล้วท่านให้เพิ่ม 60 นาที

มาถึงตรงนี้ก็สามารถนั่งกรรมฐานต่อเนื่องได้ 240 นาที ( 4 ชม )

พื้นฐานต้องทำ ค่อย ๆ ไป เราต้องค่อย ๆ คืบไปตามเวลา แต่เวลานั้น ในการนับแต่ละคนไม่เท่ากัน ถ้ามีสตินับไวมันก็จำนวนมาก ถ้ามีสตินับช้า มันก็จำนวนน้อย น้อย หรือ มาก ไม่ได้สำคัญ สำคัญที่จำนวนบอกว่าเวลา ดังนั้นบางคนอาจจะนับ 100 ครั้ง เท่ากับ 60 นาที อย่าง พอจ 100 ครั้ง เทากับ 60 นาที เป็นต้น เรื่องการนับนั้นจึงแล้วแต่บุคคล ดังนั้นต้องไปกำหนดของใคร ของมันให้ตรงกับเวลา ต้องพยายามกำหนดนับให้ได้ อย่างน้อย 10 ครั้ง เพราะบางครั้ง ก็เผลอนับเร็วนับช้า ดังนั้น ให้ดูผลของการนับ 10 ครั้งแล้วจึงอนุมาน เวลาลงไป จึงจะถูกต้อง

เจริญธรรม / เจริญพร
167  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม ถ้าจะทำกรรมฐาน แต่ปวดชา แล้วต้องการเหยียดในแบบที่ 2 ต้องทำอย่างไร ครับ เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 09:07:17 am
ถาม ถ้าจะทำกรรมฐาน แต่ปวดชา แล้วต้องการเหยียดในแบบที่ 2 ต้องทำอย่างไร ครับ

ตอบ ในแบบที่ 2 นั้น ต้องผ่านการฝึกเดินจงกรม ให้มากหน่อย โดยเฉพาะการเดินจงกรมธาตุ เมื่อจะเหยียดขา ท่านให้เว้นบริกรรมหลัก แล้วค่อยทำการเหยียดพร้อมกับ เจริญธาตุกรรมฐานแทน ในระหว่างที่เหยียด โดนการเหยียดต้องทำให้ช้าที่สุดในการเหยียด

เมื่อเหยียดขาเสร็จ เวทนา คือความเจ็บปวดชาก็จะมีมากจิตก็จะหลุดบริกรรมได้ ดังนั้นท่านจึงให้กำหนดเป็นธาตุ ปฐวี ในระหว่างที่เวทนา เล่นงานสูงสุดในขณะนั้น

เมื่ออาการเจ็บปวดคลายแล้ว ก็ให้เหยียดกลับท่าเดิมแล้วทำบริกรรมหลักต่อไป การทำอย่างนี้ ชื่อว่า ยังทำกรรมฐานอยู่ เพราะจิตยังอยู่ในสมาธิ

เจริญธรรม / เจริญพร
168  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม วิสาขบูชา คือ วันอะไร ? เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 09:06:19 am
ถาม วิสาขบูชา คือ วันอะไร ?

ตอบ วันที่เป็นทางการก็คือ วันตรัสรู้

แต่ในทางเทคนิค วันเพ็ญเดือนหก นั้นตรงกับวันที่ พระพุทธเจ้าประสูติ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน ด้วย

ดังนั้น วันวิสาขบูชา หมายถึง วันเพ็ญเดือนหก

ซึ่งวันเพ็ญเดือนหก เป็นวันอัศจรรย์ที่เกี่ยวกับ พระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ ประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน

ธรรมที่ควรเจริญวันนี้ คือ

ประสูติ มีธรรมที่ควรเจริญ ก็คือ บารมี 10 และ บารมี 30 ในการเป็นโพธิสัตว์ ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอด 9 แสนอสงไขยชาต ที่ิพระโพธิสัตว์บำเพ็ญ บารมี 30 เพื่อการเป็นพระพุทธเจ้า

ตรัสรู้ มีธรรมที่ควรเจริญ ก็คือ ญาณแห่งการตรัสรู้

1.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณระลึกชาติของพระพุทธเจ้า

2.มุญญติกัมมยตาญาณ ญาณรู้ชาติของทุกชีวิต

3.อาสวักขยญาณ ญาณที่ดับกิเลส

ปรินิพพาน มีธรรมที่ควรเจริญ คือ ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้า

สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด

ดังนั้นวันวิสาขบูชา คนไทยชาวพุทธก็คงจะขาดไม่ได้ ในการทำบุญตักบาตร และ เวียนเทียน ทำทักษิณาเป็นที่ระลึกถึง พุทธคุณ กันในวันนี้

เจริญธรรม / เจริญพร
169  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม การศึกษากรรมฐาน จำเป็นต้องศึกษากรรมฐาน ทั้ง 40 กองหรือไม่คะ เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 09:04:55 am
ถาม การศึกษากรรมฐาน จำเป็นต้องศึกษากรรมฐาน ทั้ง 40 กองหรือไม่คะ

ตอบ ไม่จำเป็น ในมูลกรรมฐาน กัจจายนะ มีเพียง 2 กรรมฐาน ที่ลูกศิษย์ต้องศึกษาและปฏิบัติ และสอบ

1. พุทธานุสสติ มี 2 ชุด
2. อาปานสติ มี 2 ชุด

มีเพียง 2 กรรมฐาน ในสาย กัจจายนะ จัดว่าเป็นกรรมฐาน พื้นฐาน ที่ศิษย์จะต้องปฏิบัติภาวนา

เจริญธรรม / เจริญพร
170  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม จะเริ่มต้นศึกษา ใน พุทธานุสสติ กัจจายนะ ทำอย่างไร ครับ เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 09:04:30 am
ถาม จะเริ่มต้นศึกษา ใน พุทธานุสสติ กัจจายนะ ทำอย่างไร ครับ

ตอบ
ไปอ่านศึกษาข้อมูลต่อได้ที่นี่
http://www.madchima.org/forum/index.php?board=6.0

หรือสามารถรับฟังเสียงธรรมที่หน้าเว็บ

madchima.org

เจริญธรรม / เจริญพร
171  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม พอจ มีหน้งสือ แจก ให้อ่านศึกษาได้บ้างไหม เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 09:03:38 am
ถาม พอจ มีหน้งสือ แจก ให้อ่านศึกษาได้บ้างไหม

ตอบ หนังสือ มีอยู่แต่เป็นอานาปานสติ ซึ่งยังไม่เหมาะกับผู้เริ่มต้นนัก จึงสงวนไว้ยังไม่ได้แจก ข้อความก็ตามพระไตรปิฏก สามารถไปอ่านศึกษาได้ ใน ปฏิสัมภิทามรรค

ส่วนหนังสืออื่น ๆ ก็มี วิโมกข์ วิภังค์แต่ไม่แจกแก่ผู้ไม่ได้เป็นศิษย์ขึ้นกรรมฐาน ต้องขึ้นกรรมฐาน จึงจะมอบให้ไว้ศึกษา

ส่วนหนังสืออื่น ๆ นั้นส่วนใหญ่ ก็เสียหายไปกับ ฮาร์ดดิสก์ และ ถูกแฮกเกอร์เข้ารหัสไว้ ไม่สามารถเปิดอ่านได้ เท่ากับไม่มี

สิบกว่าปีมานี้ มีหน้งสื่อที่ได้จัดทำไว้ 4 - 5 เล่ม แต่ยังไม่ได้พิมพ์ล้วนแล้วสูญหายไปเยี่ยงนั้น ทำให้ ธัมมะวังโส รู้สึกถึง แก่นของหนังสือจริง ๆ แล้ว มี เหมือน ไม่มี ไม่มี ก็คือ ไม่มี จนถึงภาวะที่ว่า เดิมโลกไม่มีเรื่องคนโง่หามาเอง

แท้ที่จริง หนังสือมันก็แค่ สิ่งที่ถูกถ่ายทอดเป็นตัวแทนคำพูด ความสำคัญจริง คือ คำแนะนำของผู้ทำหนังสือ มากกว่า ที่ยังไม่สูญหาย เพราะยังไม่ตาย

สรุปหนังสือ ไม่มีแจกตอนนี้

เจริญธรรม / เจริญพร
172  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม จะปฏิบัติ ภาวนา แต่ไม่ค่อยอยากทำสมาธิ จะใช้สมาธิเล็กน้อย ได้หรือไม่ครับ เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 09:01:13 am
ถาม จะปฏิบัติ ภาวนา แต่ไม่ค่อยอยากทำสมาธิ จะใช้สมาธิเล็กน้อย ได้หรือไม่ครับ ถ้าทำได้ ต้องทำอย่างไร ครับ

ตอบ การภาวนา เบื้องต้น ใช้ ขณิกะสมาธิ ได้

ผลของ ขณิกะสมาธิ คือ ความเพลิดเพลิน
ความเพลิดเพลิน เป็นคุณชาตของสุขอิงอามิส ดังนั้นมันจึงมีจุดที่ไม่ก้าวข้ามเขตปรมัตถ์ เพราะมันอิงอามิสเครื่องล่อ แต่ก็สามารถใช้เป็น วิปัสสนาเบื้องต้น สำหรับบุคคลที่เริ่มภาวนาได้ แต่ไม่สามารถไปถึง โสดาบันได้ เพียงแต่อยู่ในเขตของ โยคาวจร ผู้เป็นโสดาปัตติมรรคได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณธรรมสูงขึ้น ก็จะเลื่อนระดับสมาธิขึ้นไปเอง ดังนั้น การใช้ ขณิกะสมาธิ ก็สามารถใช้งานได้ในการภาวนาเบื้องต้น

ขณิกะสมาธิ มีอยู่ในอะไร
ธรรมสภาวะใดมีเครื่องล่อ ทั้งธรรมดำ และ ธรรมขาว สภาวะนั้นทำให้เกิดความเพลิดเพลินเพราะตัณหา(ความอยาก) เช่น ได้ มี ไม่ได้ไม่มี เป็นต้น ธรรมสภาวะนั้นทำให้ใจสงบอยู่กับเครื่องล่อนั้น ชื่อว่า ขณิกะสมาธิ เป็นสมาธิชั่วขณะหนึ่ง ( ซึ่งขณะหนึ่งนั้น อาจจะเป็นวัน ๆ หรือ หลายวัน แล้วแต่เครื่องล่อนั้น ) ทำให้ลืมหิว ลืมกิน ลืมป่วย ลืมเจ็บเพลิดเพลินอยู่ในสภาวะนั้น ๆ

ยกตัวอย่าง คนเล่นไพ่ นั่่งเล่นไพ่ ได้ 2 วัน 3 คืน ไม่กินข้าวอาหารหรือน้ำเลยก็มี อันนี้เป็นสภาวะธรรมดำ
หรือคนนั่งถักโคเช่ นั่งถักจนมีนิมิตติดตา เป็นวันๆ อันนี้เป็นสภาวะธรรมขาว
หรือบางคนนอนอ่าน นั่งอ่าน นวนิยายกันไปเป็นเล่ม ๆ ลืมวันลืมคืน อันนี้เป็นสภาวะทั้งธรรมดำและธรรมขาวเป็นต้น

แต่จะเห็นว่ารูปแบบของสมาธิ นั้นไม่มี ที่มี มีแต่ความอยากเป็นเหตุทั้งนั้น ดังนั้นผลสภาวะของสมาธิประเภทนี้ จึงไม่สามารถใช้ในวิปัสสนาได้จริง ๆ เลย

ถ้านำมาใช้ในวิปัสสนา ส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบของการสาธยาย ธรรม เช่นการสวดมนต์ การเจริญพุทธมนต์ การอ่านสาธยายธรรม เหล่านี้ล้วนแล้วเป็นการใช้ สมาธิขณิกะ ทางอ้อม ๆ ทั้งนั้น

ในทางตรง ครูอาจารย์มักจะประสิทธิ์ธรรมลงในบาทคาถา แล้วให้ลูกศิษย์ เจริญสวดจนเป็นสมาธิ ตั้งแต่ ขณิกะสมาธิ จนขยับเป็นสมาธิขึนสูง

ในสายกรรมฐาน กัจจายนะ หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ท่านก็มักจะสอนให้ลูกศิษย์ ว่าคาถาเป็นสมาธิ นั่นคือคาถา พญาไก่แก้ว หรือ คนทั่วไปเรียกว่า คาถาพระยาไ่กเถื่อน นั่นเอง

จัดเป็นการภาวนา ทางตรง ที่อาศัย ขณิกะสมาธิ

เจริญธรรม / เจริญพร
173  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม ผมเป็นคนไม่เชื่อเรื่องชาติหน้า ชาติหลัง แต่เชื่อเพียงชาตินี้ เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 09:00:37 am
ถาม ผมเป็นคนไม่เชื่อเรื่องชาติหน้า ชาติหลัง แต่เชื่อเพียงชาตินี้ และพยายามทำความสุข ให้มีมากขึ้นในชาตินี้ โดยสิ่งที่ทำลงไปทุกอย่างก็เพื่อความสุขในชาตินี้ ถ้าผมจะทำทานก็ต้องมีสุขในชาตินี้ คือ ผมมีความสุข ไม่ใช่ไปรอชาติหน้า เหมือนการภาวนา ผมก็ต้องการความสุขในชาตินี้ ไม่ใช่ทำไปเพื่อสะสมให้มีผลในชาติหน้า ดังนั้นทุกอย่างที่ผมทำนี้ ก็เพื่อสุขในชาตินี้ทั้งหมด เพราะผมไม่เชื่อเรื่องชาติที่แล้ว และ ชาติหน้าผมเชื่อว่าตายแล้วก็จบกันครับ ไม่ทราบความคิดอย่างนี้เป็นความคิดถูกต้องตามหลักการ พุทธศาสนา หรือไม่ครับ ?

ตอบ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล จะเชือชาตินี้ หรือ ไม่เชื่อชาติก่อน หรือ ชาติหน้า ทั้งหมดเป็นความเชื่อที่เป็นส่วนบุคคล เชื่อ หรือ ไม่เชื่อก็ไม่ได้มีผลกระทบกับหลักการของพุทธศาสนา

สิ่งที่่สาวกในพุทธศาสนา ควรจะต้องเชื่อ ถ้าเป็นนะ

1. เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

2. เชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้เป็นมรรค

3. เชื่อในคุณธรรมของพระสาวก

ความเชื่อ 3 ประการนี้เป็น คุณสมบัติ ของโสดาบัน ส่วนหนึ่ง

จะพูดส่วนที่ควรจะต้องเชื่อก่อน

1. เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า นั้นมี 3 ช่วง ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า 3 ยาม

ในคืนตรัสรู้ ในยามที่ 1

พระพุทธเจ้าล่วงรู้อดีตชาตของพระองค์เอง 9 แสนอสงไขยชาต

( ในยามที่ 1 พระพุทธเจ้ายืนยันเลยว่า ชาติที่แล้ว มีจริง ของพระองค์ มีจริง ถึง 9 แสนอสงไขยชาติ นี่พระพุทธเจ้ายืนยัน ใน ปฐมยาม ในคืนตรัสรู้

ในยามที่ 2 พระพุทธเจ้าระลึกถึงชาตของผู้อื่นทั่วทั้งที่อยู่ใกล้กับพระองค์แต่ในนี้ท่านอธิบายว่า( รู้ของปวงสัตว์ทุกคน ) นี่เป็นยามที่ 2 ที่พระพุทธเจ้ายืนยัน ไม่ใช่แต่ว่า พระองค์ ตายเกิด ๆ เท่านั้น แต่สรรพสัตว์ทุกชีวิตในโลกในจักรวาล ล้วนแล้วก็ตายเกิด ๆ เช่นกัน

ในยามที่ 3 พระพุทธเจ้าตรัสรู้ หมดกิเลส สำเร็จธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ดังนั้นคนที่เป็นสาวก พระสาวก ควรที่จะต้องเชือ่ในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่เชือ มรรค ผล นิพพาน ก็จะไม่มี

ดังนั้นการที่ท่านจะเชื่อ หรือ ไม่เชื่อ ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลของทาน การที่ท่านไม่เชื่อก็ไม่ได้มีผลกับ ธัมมะวังโส

เจริญธรรม / เจริญพร
174  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม ถ้าผมตั้งเป้าหมาย จะทำพระนิพพาน ในชาตินี้ อย่างนี้มีความผิดไหมครับ เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 08:59:48 am
ถาม ถ้าผมตั้งเป้าหมาย จะทำพระนิพพาน ในชาตินี้ อย่างนี้มีความผิดไหมครับ แล้วอย่างนี้ผมควรทำอย่างไร

ตอบ การตั้งจิตกระทำพระนิพพานในปัจจุบันชาติ นี้ไม่มีความผิดอะไร แต่จะเป็นการดี เพราะเป็นการวางเป้าหมายสูงสุด

แต่ที่นี้ควรทำอย่างไร อันนี้สำคัญ
มิฉะนั้น มันก็จะเป็นแค่เพียงความคิด ว่าจะทำ แต่ไม่ได้ ทำ หรือได้แต่คิดเฉย ๆ เหมือนฝันไปอย่างนั้น ดังนั้น เมื่อคิดตั้งใจอย่างนี้ก็ควรกระทำเหตุให้สมเหตุสมผล ดังนี้

1. เริ่มต้นละความชั่ว ที่กำลังกระทำอยู่เสียก่อน
2. เมื่อละความชั่วได้แล้ว ก็ให้เริ่มทำความดีเข้ามาทดแทน
3. กระทำคุณธรรมพื้นฐาน 3 อย่าง คือ การให้ทาน แบ่งปัน การรักษาศีล สมาทานศีล การภาวนา เล็กๆ น้อย
4. ควรกระทำกรรมฐาน แนะนำ 2 กรรมฐาน คือ พุทธานุสสติ และ อานาปานสติ
5. รักษากิจทั้ง 4 ข้อด้านบนให้มีได้ทุกวัน จนกว่าจะตาย

ทำแค่นี้แหละสำหรับบุคคลที่ต้องการละชาติภพ ในชาติปัจจุบัน

เจริญธรรม / เจริญพร
175  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม กรรมฐานง่าย ๆ และ ง่ายที่สุด ขอท่านแนะนำหน่อย เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 08:57:34 am
ถาม กรรมฐานง่าย ๆ และ ง่ายที่สุด ขอท่านแนะนำหน่อย

ตอบ กรรมฐานที่ง่าย ๆ แต่จำเป็นที่สุดในการภาวนา ก็คือ ตจปัญจกะกรรมฐาน

ตจปัญจกะกรรมฐาน หมายถึงอุบายในการทำจิตให้สงบมองเห็นตามความเป็นจริงด้วยสิ่งที่เป็นภายนอกของกาย มี 5 อย่าง คือ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ หรือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

เหตุที่สำคัญเพราะเป็น กายคตาสติ หมวดที่ 1 เพื่อทำลายราคะ โดยตรง หากผู้ภาวนาเป็น บรรพชิต ด้วยแล้วยิ่งสำคัญมาก เพราะข้าศึกแห่งพรหมจรรย์ ก็คือ เพศตรงข้าม การระงับจิตไม่ให้ไหลไปตาม ราคะ ย่อมต้องพิจารณา ตามความเป็นจริง

ท่านกล่าวว่า การยก สิ่งที่ 5 ขึ้นมานั้น ให้ยกไปตามลำดับ

1. ยกไปตามที่ตั้ง คือ ที่อยู่ของสิ่งทั้ง 5

2. ยกไปลักษณะ คือ ที่เกิดที่อยู่

3. ยกออกเป็นส่วน

4. ยกเป็นสิ่งปฏิกูล

5. ยกด้วยความเป็นของมีโรค

6. ยกด้วยความเป็นของน่าเกลียด

7. ยกด้วยความเป็นธาตุ

8. ยกด้วยความไม่ยึดถือ

9. ยกด้วยความจางคลาย

10. ยกด้วยการมองตามความเป็นจริง

ดังนั้นกรรมฐาน ง่าย ๆ แต่ก็ไม่ได้ทำง่าย ๆ ก็คือ กรรมฐานนี้ และกรรมฐานนี้ ถือว่าเป็นกรรมฐานทางการของบรรพชิต ผู้บวชทุกรูปทุกองค์ ต้องสมาทาน ต้องเรียนกรรมฐานนี้จากอุปัชฌาย์ เป็นกรรมฐานแรก

เจริญธรรม / เจริญพร
176  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม วิปัสสนา กับ สมถะ ควรทำอะไรมาก อะไรน้อย ครับ เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 08:56:52 am
ถาม วิปัสสนา กับ สมถะ ควรทำอะไรมาก อะไรน้อย ครับ

ตอบ สมถะ ทำให้จิตอยู่เรื่องเดียว เป็นเรื่องเดียว ทำให้นิวรณ์ สงบลงเพื่อให้จิตเตรียมพร้อม รู้เห็นตามความเป็นจริง

วิปัสสนา การพิจารณาธรรมไปตามลำดับ ตั้งแต่ อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ความว่างจากความมีตัวตน

ทั้งสองอย่างนี้ในวันหนึ่ง ๆ นั้น วิปัสสนามีมากที่สุด เพราะจิตของมนุษย์ มีการปรุงแต่ง (สังขาร) ตลอดเวลา ดังนั้นเวลาที่จิตมีการปรุงแต่งท่านเปรียบเหมือนน้ำที่ขุ่น เวลาพิจารณาย่อมมองเห็นตามความเป็นจริงได้ยาก หรือไม่เห็นเลย ถึงแม้จะทำ ธัมมะวิจยะ บ่อย ๆ ในวันหนึ่ง แต่ก็ไม่สามารถทะลุทะลวงเห็นตามความเป็นจริงได้ง่าย ๆ

ดังนั้นสมถะ จะช่วยทำให้จิตนั้นมีเรื่องปรุงแต่ง เพียงเรื่องเดียว การฝึกสมถะจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการภาวนาจริง ๆ ดังนั้นองค์แห่ง มรรค จึงมีการทำสมถะ ( สมาธิ ) ในหัวข้อสุดท้าย

ความเห็นถูก ความคิดถูก พูดจาถูก ทำกายถูก การงานสุจริต พากเพียรถูก สติดีถูก ก็ต้องบรรจุธรรม ชื่อว่า สมาธิลงไปให้สมบูรณ์ เพื่อจะได้มองเห็นตามความเป็นจริงของธรรมทั้งปวง ว่า สาระ และ อสาระ คือสิ่งใด การเกิด การเจ็บ การตาย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะเข้าใจได้เป็นอย่างดีขึ้นเพราะจิตมีการปรุงแต่งน้อยลง ด้วย สมาธิ นั่นเอง

ดังนั้นตัวสมาธิ ท่านกล่าวว่า วันหนึ่ง ควรทำอย่างน้อย 4 ขณะ
ขณะตื่นขึ้นมา ขณะสาย ขณะเย็น ขณะก่อนนอน นี่คือทำทั้ง 4 ขณะแต่ผู้ภาวนาส่วนใหญ่ ก็ทำ 1 - 2 ขณะ เป็นส่วนใหญ่ซึ่งมันอาจจะไม่เพียงพอ และตัวสมาธิ มีกำลังไม่พอในการทำวิปัสสนา

ผู้ทำวิปัสสนา หากขาดการทำสมาธิ จิตก็มักจะไหลไปกับการปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ ทั้งวันดังนั้นควรจะต้องทำสมาธิบ้าง เพื่อเป็นกำลังในการทำวิปัสสนา นั่นเอง

เจริญธรรม / เจริญพร
177  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมปฏิสันถาร จาก ธัมมะวังโส เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 08:56:14 am
โลกคือ หมู่สัตว์ ที่กำหนดกฏเกณฑ์ อันไม่สามารถข้ามพ้น พันธนาการของจิต ผู้ที่เดินตาม พระสุคต ในปัจจุบัน มีน้อยนัก ส่วนผู้ที่ อาศัย พระสุคต อยู่กิน นั้นมีมาก กว่าผู้เดินตาม

ยุคสมัยนี้ เป็นยุคแห่งพระอนาคามี สมดังที่พระชินสีห์ ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว

ผู้ที่จะก้าวข้ามฝั่งมา ไปตามพรหมจรรย์ ในยุคนี้ จึงมีน้อยนักไม่ได้มีมากเลย

ยิ่งเรียนธรรมปฏิธรรมไปยิ่งลึก ก็ยิ่งเหงา เดียวดาย เพราะยิ่งสูงไปตามลำดับชั้น ก็จะขาด เพื่อนในระดับนั้นๆ ไป ในปัจจุบัน

ดังนั้นผู้ปฏิบัติไปสู่พรหมจรรย์ จริง ๆ นั้น มีน้อยมาก จริง ๆ

เจริญธรรม / เจริญพร
178  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม ไม่ค่อยเห็น พอจ โพสต์ข้อความธรรมให้ได้อ่านเลยครับ เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 08:55:29 am
ถาม ไม่ค่อยเห็น พอจ โพสต์ข้อความธรรมให้ได้อ่านเลยครับ

ตอบ ช่วงนี้อาพาธไม่ค่อยได้ตาม ข่าวอะไรทั้งนั้นร่างกายไม่สมประกอบ ซึกซ้ายไม่ค่อยทำงาน เป็นเส้นเลือดตีบในสมอง ( หมอบอกอย่างนั้น ) อาการมือชาจับของไม่อยู่ หลุดร่วงบ่อย ส่วนขาบางครั้งก็มีแรงยก บางครั้งก็ไม่มี บางครั้งก็ทรุดล้มไปทางซ้าย อาการยังอยู่ในระหว่างรักษา การเดินเหินไม่มีความสะดวกนัก

จริงๆ แล้ว อาพาธยังมีหลายตัว ช่วงนี้ร่างกายหนักไปทางนอน ก็ไม่ได้อยากนอน แต่มันก็ต้องนอน เพราะถ้าไม่นอน ฝืนนั่งก็จะปวดตัวมาก เป็นไปตามโรค โดยเฉพาะโรค 2 อย่างไม่ได้ทำการรักษาเลย คือ โรคนิ่วในถุงน้ำดี และเนื้องอกในไต ที่ไปหาหมอ 2 - 3 เดือนต่อครั้งตอนนี้เป็นการรักษาของหมอในโรค เบาหวาน ความดัน หัวใจ ซึ่งเป็นโรคประจำตัวคนชรา

ร่างกายมันก็มีความเจ็บเป็นธรรมดา สักวัน พอจ ก็ต้องจากไป ถ้าต้องการอ่านพระธรรม ก็สามารถทบทวนอ่านที่โพสต์ไปแล้วเก่า ๆ ก็ได้ เพราะพระธรรมไม่มีล้าสมัย อ่านได้ตลอด

ข้อความแนะนำทางกรรมฐาน ก็สอนจนหมด พระสุขสมาธิแล้ว ยังเหลืออานาปานสติ ซึ่งรอลูกศิษย์สอบกรรมฐานผ่านแล้วมาศึกษาต่อก็จะได้สอนส่วนนี้

ขอบคุณในความคิดถึงกัน ที่ถามข่าวคราวกันมา และสอบถามข้อความพระธรรม แต่อย่างไรสุขภาพของ พระอาจารย์นั้น ก็ทรง ๆ ทรุด เอาแน่ไม่ค่อยได้

เจริญธรรม / เจริญพร
179  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม วิสาขบูชา คือ วันอะไร ? เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2020, 10:02:36 am
ถาม วิสาขบูชา คือ วันอะไร ?

ตอบ วันที่เป็นทางการก็คือ วันตรัสรู้

แต่ในทางเทคนิค วันเพ็ญเดือนหก นั้นตรงกับวันที่ พระพุทธเจ้าประสูติ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน ด้วย

ดังนั้น วันวิสาขบูชา หมายถึง วันเพ็ญเดือนหก

ซึ่งวันเพ็ญเดือนหก เป็นวันอัศจรรย์ที่เกี่ยวกับ พระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ ประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน

ธรรมที่ควรเจริญวันนี้ คือ

ประสูติ มีธรรมที่ควรเจริญ ก็คือ บารมี 10 และ บารมี 30 ในการเป็นโพธิสัตว์ ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอด 9 แสนอสงไขยชาต ที่ิพระโพธิสัตว์บำเพ็ญ บารมี 30 เพื่อการเป็นพระพุทธเจ้า

ตรัสรู้ มีธรรมที่ควรเจริญ ก็คือ ญาณแห่งการตรัสรู้

1.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณระลึกชาติของพระพุทธเจ้า

2.มุญญติกัมมยตาญาณ ญาณรู้ชาติของทุกชีวิต

3.อาสวักขยญาณ ญาณที่ดับกิเลส

ปรินิพพาน มีธรรมที่ควรเจริญ คือ ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้า

สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด

ดังนั้นวันวิสาขบูชา คนไทยชาวพุทธก็คงจะขาดไม่ได้ ในการทำบุญตักบาตร และ เวียนเทียน ทำทักษิณาเป็นที่ระลึกถึง พุทธคุณ กันในวันนี้

เจริญธรรม / เจริญพร
180  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม การภาวนา มีแค่ พุทโธ เท่านั้นหรือคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2020, 06:15:02 pm
ถาม การภาวนา มีแค่ พุทโธ เท่านั้นหรือคะ

ตอบ การภาวนา สำหรับมูลกรรมฐาน กัจจายนะ มีเพียง 2 อย่าง คือ พุทธานุสสติ และ อานาปานสติ

พุทธานุสสติ มีการภาวนาเป็นบริกรรม ว่า พุทโธ อยู่ 3 ห้อง
อานาปานสติ ไม่มีการภาวนาพุทโธ แต่การภาวนา ยึดนิมิต หรือ ลมแทน

ดังนั้นการภาวนาเป็นการเตรียมตัวไปสู่ อานาปานสติ

พุทธานุสสติ ให้ผลเป็น โสดาบัน ถึง สกทาคามี
อานาปานสติ ให้ผลเป็น อนาคามี ถึง อรหันต์

ดังนั้นให้เข้าใจว่า ถึงแม้จะภาวนาพุทโธ แต่ก็เป็นเบื้องต้นในการภาวนา เท่านั้น แก่นแท้จริงคือการได้นิมิต จาก พุทโธ ภาวนา มากกว่า

เจริญธรรม / เจริญพร
181  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / 4 คำประจำปี พ.ศ. 2563 เมื่อ: มกราคม 08, 2020, 08:16:05 pm

4 คำประจำปี พ.ศ. 2563
ปลุก รุก จุด กุด

เจริญธรรม / เจริญพร

ปลุก  สติ ตื่นตัวรู้ ให้เสมอ
รุก เข้าถึง องค์ธรรม กรรมฐาน
จุด ปัญญา มองเห็นธรรม วิจารญาณ
กุด ตัวมาร นิวรณ์ห้า อวิชชา เอย
182  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ส.ค.ส. พุทธศักราช 2563 เมื่อ: ธันวาคม 29, 2019, 08:17:54 pm


183  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม พอจ หายจาก อาพาธ แล้วหรือยัง เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2019, 01:23:52 pm
ถาม พอจ หายจาก อาพาธ แล้วหรือยัง

ตอบ ให้หายคงไม่หาย เพราะ อาพาธ นี้เกิดตามวัย และ เป็นโรคสะสมแล้ว ดังนั้นต้องบอกว่า อาพาธ จะมีอยู่จนตาย เพียงแต่ว่า ไม่ถึงกับหนักหนาสาหัส อะไรในขณะนี้

ตอนนี้ พอลุกนั่ง เดินได้ พอทำภาวนาได้แล้ว และพอจะได้สนทนากับพวกท่านทาง สื่อได้บ้างแล้ว แต่ที่ยังไม่ได้ทำเพราะว่า มีอาการเวียนหัว และตาพร่ามัวลง มองไม่ค่อยเห็น

ก็ไม่ต้องห่วงอะไรกัน เพียงเล่าไปตามที่เป็นเท่านั้น

อย่างไร สำหรับ พอจ ก็มองเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องที่ต้องเป็นไปตามวัย ตามอายุ

ส่วนเรื่องการไปรักษาตอนนี้ คงต้องไปทำบัตรประชาชนพระก่อน เพราะว่า รพ. ไม่รับใบสุทธิ ในขณะนี้ คงต้องกลับไปวัด เพื่อไปเรียนแจ้งเจ้าอาวาส ว่าจะไปทำบัตรประชาชน

เจริญธรรม / เจริญพร
184  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม ก่อนการทำสมาธิ ควรทำอย่างไร เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2019, 01:23:03 pm
ถาม ก่อนการทำสมาธิ ควรทำอย่างไร

ตอบ กำหนดความรู้ตัวทั่วพร้อม

คำว่า รู้ตัว หมายถึง รู้ในสภาวะ รอบตัว รู้ใน กิริยาอาการ รู้ในความปรารถนา ของ กิริยาอาการ

คำว่า ทั่วพร้อม หมายถึง การได้กำหนด รู้ ในอายตนะ 12 การรู้ในอายตนะ 12 เมื่อกระทบกัน ( ผัสสะ ) ก็เกิดตัวรู้ ในระหว่างที่กระทบท่านหมายถึง อารมณ์ที่รู้การกระทบ

อารมณ์ที่รู้การกระทบ มีผลอยู่ 6 อย่าง มีเหตุ 2
6 อย่างนั้น มี สุข ทุกข์ อทุกขมสุข โสมนัส โทมนัส อุเบกขา

มีเหตุ 2 อย่าง คือ กุศล และ อกุศล

ดังนั้น ผู้ภาวนาจึงควรกำหนด ความรู้ตัว ทั่วพร้อม อย่างนี้ก่อนเริ่มทำสมาธิ

เจริญธรรม / เจริญพร
185  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม จะต่ออายุ ทำอย่างไร คะ หลวงพ่อ เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2019, 01:22:36 pm
ถาม จะต่ออายุ ทำอย่างไร คะ หลวงพ่อ

ตอบ 1.ปล่อยสัตว์มีชีวิต ที่กำลังจะถูกฆ่า คืนสู่ถิ่น
2.หรือช่วยเหลือคนตกยาก มีทุกข์เจียนตาย
3.หรือ กระทำทานแก่พระอริยะ

3 อย่างนี้ ถ้าใครได้ทำชื่อว่าต่ออายุ

เจริญธรรม / เจริญพร
186  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม หนูทำสมาธิ ไม่ได้คะ ต้องทำอย่างไร คะ หลวงพ่อช่วยชี้แนะหน่อยคะ เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2019, 01:22:12 pm
ถาม หนูทำสมาธิ ไม่ได้คะ ต้องทำอย่างไร คะ หลวงพ่อช่วยชี้แนะหน่อยคะ

ตอบ การทำสมาธิ ต้องผ่านการทำสติ ถ้าสติยังไม่ดี การทำสมาธิก็มีผลยาก ดังนั้น ขอให้ไปทบทวนเรื่องสติก่อน สำหรับคนที่ไม่เคยทำสติ และมาทำสมาธิ มันก็จะทำไม่ได้

วิธีการ ฝึกสติ ก่อนทำสมาธิ
เริ่มต้น ดังนี้
1. ฝึกดูลมหายใจเข้า ฝึกดูลมหายใจออก การทำอย่างนี้ไม่ใช่สมาธิ เพียงแค่ดูรู้ นั้นมีสติ ประสงค์ ที่่สัมปชัญญะ คือ รู้ลม ถ้า รู้ลม ชื่อว่า ได้สติเต็มกำลัง

2. หัดกำหนดสติ ดูเวลาเคลื่อนไหว ทั้ง 4 อิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ให้กำหนดรู้ว่า ยืน เดิน นั่ง นอน การกำหนดรู้อย่างนี้เป็นการกำหนดรู้ รูป

3. ต่อไปเมื่อเวลาทำอะไร ก็ตามรู้ เวลา จะกิน ก็รู้ จะพูด ก็รู้ เป็นต้น การทำอย่างนี้ เป็นการกำหนดรู้ นาม

ทำ 3 ขั้นตอนนี้ ก็พร้อมที่จะทำสมาธิ ไปสู่กระบวนการทำสมาธิ

เจริญธรรม / เจริญพร
187  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / วงเวียนชีวิต เป็นไปอย่างนี้ ทุกวันทุกคืน เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2019, 01:21:48 pm
ชีวิตมันก็เหมือนเดิม ทุกวัน มันก็ทำแบบเดิม ตื่น ทำ นอน ตื่น ทำ นอน ตื่น ทำ นอน มีทั้งทำดี ทำชั่ว มีทั้งสุข และ ทุกข์กันไปของชาวโลก

พระพุทธเจ้า ท่านสอนให้เราปฏิวัติ การกระทำเดิม ๆ ตามโลก ให้สวนกับกระแสโลก เป็นไปเพื่อความสันโดษ เป็นไปเพื่อความสงบ

คนส่วนใหญ่ มุ่งแต่หาความสุข แต่พระพุทธเจ้า พระองค์สอน สอนให้มุ่งไปหาความสงบ

คนส่วนใหญ่ เพลิดเพลินในธรรมชาต ของโลก ในความสวยงามของโลก
แต่พระพุทธเจ้าท่านสอน ให้ ดูจิต ให้ระวังจิต และทำจิตให้สวย ไ่ม่ข้องเกี่ยวกับโลก

ดังนั้นความเป็นผู้ที่มองเห็นทุกข์ ได้จริง ๆ นั้น มันอยู่ที่พวกท่าน ตั้งอารมณ์ พิจารณา ความเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ทั้งหลายเหล่านั้น ดีหรือยัง

ทุกข์ และ สาเหตุ แห่งทุกข์ มาจากอุปาทาน
อุปาทาน (ยึดมั่น ถือมั่น ) ว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา เป็นสิ่งที่ปลูกฝังมาหลายภพ หลายชาติ ด้วยความรู้สึกผิด เพราะมองไม่เห็นตามความเป็นจริง

การภาวนา จะทำให้มองเห็นตามความเป็นจริง ไปทีละนิด จนเห็นในที่สุด

ฉะนั้นจะภาวนา เล็กน้อย ไม่ภาวนากลาง ๆ หรือ ภาวนาใหญ่ ๆ ก็เป็นไปเพื่อการรู้เห็นตามความเป็นจริง

เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริง จิตก็จะรู้จักจากการละสละ สิ่งที่เห็นผิด ไปเรือ่ย ๆ จนในที่สุด ก็สลัดคืนสิ่งที่ยึดถือไว้ทั้งหมด นั่นเอง

ผู้มีปัญญาไม่พึงประมาท ต่อลมหายใจเข้า และออก จงพิจารณาธรรม ตามความเป็นจริง เห็นตามความเป็นจริง และ ก็สลัดคืนเถิด

เจริญธรรม / เจริญพร
188  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม กรรมฐาน ขั้นไหน ยากที่สุด คะ พอจ เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2019, 01:21:17 pm
ถาม กรรมฐาน ขั้นไหน ยากที่สุด คะ พอจ

ตอบ ขั้นแรก ยากที่สุด บางท่านอาจจะต้องใช้เวลา หลายชาติ และ อาจจะทั้งชีวิต เพื่อฟันฝ่า ขั้นที่ 1

เมื่อผ่านขั้นที่ 1 แล้ว ส่วนใหญ่ ก็จะไปกันไว

ดังนั้นกรรมฐาน ยากในขั้นแรก เท่านั้น

เจริญธรรม / เจริญพร
189  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อานาปานสติ ตอนไหนเป็นการภาวนา แบบสมถะ ตอนไหน ภาวนาแบบเป็น วิปัสสนา เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2019, 11:38:45 am
ถาม อยากทราบว่า อานาปานสติ
ตอนไหนเป็นการภาวนา แบบสมถะ ตอนไหน ภาวนาแบบเป็น วิปัสสนา ครับ

และเราจะรู้ได้อย่างไรในการภาวนา แบบ สมถะ หรือ วิปัสสนา ครับ

ตอบ อานาปานสติ มี 4 ห้อง

ห้องที่ 1 คู่ที่ 1 - 4 เป็นห้อง สติ ผลคือ สัมปชัญญะ และ อุปจาระสมาธิ
ห้องที่ 2 คู่ที่ 5 - 8 เป็นห้อง สมถะ ผลคือ อุปจาระสมาธิ
ห้องที่ 3 คู่ที่ 9 - 12 เป็นห้อง อัปปนา ผลคือ อัปปนาสมาธิ และ สมาธินิมิต
ห้องที่ 4 คู่ที่ 13 - 16 เป็นห้อง วิปัสสนา

ห้องที่ 1 - 3 จัดเป็น สมถะ
ห้องที่ 4 จัดเป็น วิปัสสนา

อย่างไรก็ตาม การฝึกอานาปานสติ มี 2 สาย
สายที่ 1 เป็นปัญญาวิมุตติ ใช้ลมหายใจเข้า ใช้ลมหายใจออก ตั้งแต่ต้นจนจบ
สายที่ 2 เป็นเจโตวิมุตติ ใช้ สมาธินิมิต แทนลมหายใจเข้า และลมหายใจออก

สายที่ 1 และ 2 ฝึกเสมอกันในห้องที่ 1 สำหรับ อานาปานสติสันโดด
แต่ถ้าฝึก พุทธานุสสติ มาก่อน สายเจโต จะเริ่ม ห้องที่ 3 - 4 ใช้อุคคหนิมิต จาก พุทธานุสสติ ต่อเป็นปฏิภาคนิมิต ในห้องที่ 3

เจริญธรรม / เจริญพร
190  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม อะไร เป็นอุปสรรค ในการภาวนา เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2019, 11:38:11 am
ถาม อะไร เป็นอุปสรรค ในการภาวนา

ตอบ ความเพลิดเพลิน ในโลก และการไม่น้อมนำธรรม เข้าสู่ ใจ เป็นอุปสรรค ที่ใหญ่ มากในการภาวนา

เพราะบุคคลผู้เพลิดเพลินในโลก และไม่น้อมนำธรรม เข้าสู่ใจ ย่อมถึงสภาวะ หยุดการภาวนา ที่เรียกว่า ขี้เกียจ

ทำไมขี้เกียจ เพราะว่า มีความสุข ในปัจจุบันอยู่ และกลัวความสุขนั้นหายไป จึงขี้เกียจ

ความเกียจคร้านในการภาวนา ก็เป็นอุปสรรคอันใหญ่ ในการบรรลุธรรม ด้วยเช่นกัน

เจริญธรรม / เจริญพร
191  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การมองตามความเป็นจริง ตามอริยสัจจะ จะทำให้เห็นตามความเป็นจริง เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2019, 11:37:49 am
การมองตามความเป็นจริง ตามอริยสัจจะ จะทำให้เห็นตามความเป็นจริง ของความเป็นจริง มากขึ้น

เมื่อเห็นตามความเป็นจริง แบบการใคร่ครวญมากขึ้น ก็จะเริ่มเห็นตามความเป็นจริง แบบสติสัมปชัญญะ มากขึ้น

เมื่อเห็นตามความเป็นจริง มากขึ้น ก็จะขยายไปสู่กระบวนการที่เห็นตามความเป้นจริง แบบสมาธิ

เมื่อเห็นตามความเป็นจริง แบบสมาธิ มากขึ้น ก็จะเห็นตามความเป็นจริง แบบปรมัตถ์มากขึ้น

เมื่อเห็นตามความเป็นจริง แบบปรมัตถ์มากขึ้น ก็จะละวาง ความยึดมั่นถือมั่น และ ตัณหา อภิชฌาวิสมะโลภะ ได้เอง

เจริญธรรม / เจริญพร
192  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สิ่งเกียจคร้านที่ทำให้ไม่ปรารภความเพียรภาวนา ๘ ประการ เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2019, 11:37:20 am
สิ่งเกียจคร้านที่ทำให้ไม่ปรารภความเพียรภาวนา ๘ ประการ
(กุสีตวัตถุ ๘ ประการ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ต้องทำงานเธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราต้องทำงาน เมื่อเราทำการงานอยู่ กายจักลำบาก มิฉะนั้นเราจะนอนเสีย เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๑
อีกประการหนึ่งภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราแลทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำงานอยู่ กายลำบากแล้ว มิฉะนั้นเราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่แจ้ง นี่เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๒
อีกประการหนึ่งภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ กายจักลำบาก มิฉะนั้นเราจะนอนเสีย เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๓
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางแล้ว ก็เราเดินทางอยู่กายก็จะลำบาก มิฉะนั้นเราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๔
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคมไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาติตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ กายของเรานั้นลำบากแล้ว ไม่ควรแก่การงาน มิฉะนั้นเราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๕
อีกประการหนี่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก เหมือนถั่วชุ่มด้วยน้ำ มิฉะนั้นเราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๖
อีกประการหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยเกิดแก่เราแล้ว มีข้ออ้างเพื่อจะนอน มิฉะนั้นเราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๗
อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน กายของเรายังอ่อนเพลีย ไม่ควรแก่การงาน มิฉะนั้นเราจะนอนเสียก่อน ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงการงานที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุการงานที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งการงานที่ยังไม่แจ้ง นี่เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๘
193  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม พอจ มีความเห็นในการสอนของสำนักต่าง ๆ ในปัจจุบัน อย่างไร ครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2019, 11:36:52 am
ถาม พอจ มีความเห็นในการสอนของสำนักต่าง ๆ ในปัจจุบัน อย่างไร ครับ

ตอบ สำนักการสอนในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ มุ่งสอนในเรื่องที่ง่าย ๆ คือเรื่อง สติ แต่ เพราะความสำคัญของสติ เป็นการดำรงอยู่ของมนุษย์ทั่วไปในโลก ครั้นจะสอนเรื่อง สมาธิ ตรง ๆ ก็มีคนจำนวนน้อย มากที่จะฝึกเรือ่ง สมาธิ เพราะที่สำนักไหนก็มุ่งสอนเรื่อง สติ และ ก็วิปัสสนา สำนักที่สอนอย่างนี้เป็นที่นิยม มีจำนวนคนไปเรียนมาก เพราะมันเป็นความใกล้เคียงในพื้นฐานการดำรงอยู่

ส่วนสำนักที่สอน สมาธิ และ วิปัสสนา จะไม่ค่อยมีคนมุ่งเรียนเพราะการสอนเรือ่ง สมาธิ นั้นเป็นเรื่องเหนือโลก และใช้ชีวิตขัดแย้งกับโลก คนที่เรียนเรื่อง สมาธิ ตรง จึงมีจำนวนน้อย

ถุามว่า มูลกรรมฐาน กัจจายนะ นั้นมุ่งสอนแบบไหน ก็ตอบว่า สอนทั้งสองอย่าง แต่ส่วนใหญ่ จะุมุ่งเรือ่ง สมาธิ เป็น วิปัสสนา จึงมีคนศึกษาจำนวนน้อย

ครูอาจารย์ท่านกล่าวว่า คนเรียนเยอะก็ไม่ต้องทำส่วนนั้น ให้ทำส่วนที่ทำได้ยาก นั่นก็คือการสอน สมาธิ เป็น วิปัสสนา นั่นเอง

เจริญธรรม / เจริญพร
194  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถาม สติ กับ สมาธิ เหมือนกันหรือต่างกัน ครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2019, 11:36:27 am
ถาม สติ กับ สมาธิ เหมือนกันหรือต่างกัน ครับ

ตอบ สติ หมายถึงความระลึกได้
ส่วน สมาธิ หมายถึงความตั้งมั่นแห่งจิตที่ไม่หวั่นไหว

ผล ทั้งสองอย่างคือคล้ายกัน สติ และ สมาธิ นั้นเป็นเรื่องที่มีโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ในระดับหนึ่ง

สติ ในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่หลงลืม นี้เป็นพื้นฐานของการใช้ชีวิต

สมาธิ ที่ใช้ในการมุ่งมั่นตั้งใจในงานต่าง นี่ก็เป็นพื้นฐานของการใช้ชีวิต

โดยรวมแล้ว ทั้งสองอย่างใกล้เคียงกัน
สติ นั้นเป็นสิ่งที่เกิดง่ายกว่า ไม่มีรูปแบบอะไรมาก เพียงระลึกได้ก็เรียกว่า มีสติ

สมาธิ นั้นเป็นสิ่งที่เกิดยากกว่า เพราะมันต้องมีสติก่อน มีสัมปชัญญะ ก่อน มันถึงจะมีสมาธิได้

สมาธิ ที่ชื่อว่า ขณิกะ ( ชั่วขณะหนึ่ง ) เป็นพื้นฐานของชีวิตมนุษย์อยู่แล้ว

สมาธิ ชื่อว่า อุปจาระ เป็นสมาธิ ที่ตั้งใจให้เกิด แต่ถึงจะตั้งใจให้เกิดก็ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ ต้องมีการฝึกฝน

สมาธิ ชื่อว่า อัปปนา เป็นสมาธิ ที่ต่อจากอุปจาระ ยิ่งเป็นสิ่งที่เกิดได้ยาก เพราะต้องสำรวมจิต ตั้งมั่นอย่างสูง

ดังนั้น สติ กับ สมาธิ จึงเป็นสิ่งที่ต่างกัน ถึงแม้ว่าจะคล้ายกันในเบื้องต้น และเป็นความต่อเนื่อง

สติ นั้นฝึกได้ง่ายกว่า แค่รู้จักกำหนด ก็ชื่อว่า มีสติ
สมาธิ ฝึกได้ยากกว่า เพราะมีกระบวนทางจิตที่ต้องสงบ ของ สติ มาอย่างดีแล้วนั่นเอง

เจริญธรรม / เจริญพร
195  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ผู้ที่ฝึกจิตดีแล้ว ย่อมมีความสุข เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2019, 11:35:57 am
ผู้ที่ฝึกจิตดีแล้ว ย่อมมีความสุข
จิตที่ฝึกฝนต้องผ่านการควบด้วยสติ
จิตจะเบิกบาน ผ่องใส มีความสุขยิ่ง ก็เพราะฝึกฝนสมาธิ
ผู้ที่มีจิตแจ่มใส ย่อมไปไหน มีความสุข
นั่งก็มีความสุข นอนก็มีความสุข เดินก็มีความสุข
ยืนก็มีความสุข ทำงานก็มีความสุข
สุข เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริง
เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริง จิตจึงไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกนี้
เพราะจิตไม่ยึดถืออะไรมาก จึงมีความสุข ที่ไม่หายไป

เจริญธรรม / เจริญพร
196  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ชีวิต ไม่อาจหนี ความแก่ ความเจ็บ และ ความตายไปได้ เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2019, 11:35:35 am
ชีวิต ไม่อาจหนี ความแก่ ความเจ็บ และ ความตายไปได้

แต่วิญญาณ สามารถ หนีจาก ความเกิด และ ความตาย ที่มีอยู่นี้ได้

ผู้อบรมจิตดีแล้ว พิจารณาโลกตามความเป็นจริง สลัดคืน ซึ่งความรักและความชัง ทำจิตเป็นอุเบกขา ในความเป็นอนัตตา ย่อมถึงที่สุดแห่งความสุขได้

เจริญธรรม / เจริญพร
197  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / จิตของมนุษย์ ปุถุชน ย่อมถูกครอบงำ ด้วยตัณหา เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2019, 11:35:10 am
จิตของมนุษย์ ปุถุชน ย่อมถูกครอบงำ ด้วยตัณหา ราคะ อภิชฌา วิสมะโลภะ สม่ำเสมอ จึงไม่อาจเห็นความว่าง จากตัณหาเหล่านั้น

เมื่อจิตฝึกฝนจนถึงความสงบ ในภายใน ก็จะเริ่มเห็นความเป็นอนิจจัง ของการถูกครอบงำ เมื่อจิตเห็นดังนั้น ปัญญาก็จะเริ่มเกิด เพื่อตัด และ ละ จากความครอบงำทั้งหลายเหล่านั้น

เมื่อความครอบงำทั้งหลายเหล่านั้น ถูกละทิ้งแล้วไม่หวนกลับมา วิญญาณของเขา ย่อมได้ผลตอบแทน ในสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุด

เจริญธรรม / เจริญพร
198  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ฝึกตนให้เป็นคนสร้าง ทานบารมี ก่อนเป็นลำดับแรก เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2019, 11:34:40 am
ทำบุญใส่บาตร ให้ได้ทุกวัน รักษาทานบารมีไว้ สำหรับ ท่านที่จะหัดภาวนา สิ่งที่ควรทำเป็นงานแรก ก็คือ รู้จักใส่บาตร

พอจ จะฝึกลูกศิษย์ให้ใส่บาตร ให้ได้ทุกวัน สละวันละ 20 - 50 บาท ให้เป็นนิสัย นี่คือที่ พอจ ฝึกศิษย์มาหลายปี

ทำไม่ต้องมาก แต่ทำได้ตลอด ทำได้ทุกวัน เป็นบารมีแรกที่ควรกระทำ

นึกถึงว่า ครูอาจารย์ อุ้มบาตรไปยืนอยู่หน้าบ้าน แต่ไม่มีภัตรใส่ซักวัน มันเป็นศิษย์ครูอาจารย์กันไมไ่ด้

ดังนั้นต้องฝึกให้เป็นนิสสัย

ครูต้องพึ่งศิษย์
ศิษย์ต้องพึงครู

เจริญธรรม / เจริญพร
199  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เชิญทุกท่าน ทบทวน กรรมฐาน ตามอัธยาศัย เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2019, 11:34:04 am
เชิญทุกท่าน ทบทวน กรรมฐาน ตามอัธยาศัย วันหนึ่งสำหรับศิษย์ที่จะพ้นจากการเกิดในชาตินี้ไม่ควรขาดการภาวนา วันละ 2 ครั้ง สำหรับคนที่ยังไม่ปรารถนาในนิพพาน ก็วันเว้นวัน หรือ นานหน่อยนั้นก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ทุกท่าน อย่าได้ขาดการภาวนา เข้าธรรมสมาธิ บ้างนะ

คนขยันก็อย่าไปดูคนขี้เกียจแล้วประมาท
คนขี้เกียจก็อย่าไปดูคนขี้เกียจแล้วประมาทเช่นกัน
เพราะทางมรรค ทางผล ทางนิพพาน เป็นเรื่องส่วนตัว

เจริญธรรม / เจริญพร
200  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / จะสูง หรือ ต่ำ ไม่ได้เกิดจากชาติตระกูล เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2019, 11:33:03 am
ใจ มันงาม กายไม่งาม เรียกว่า จิตดี
ใจ ก็งาม กายก็งาม เรียกว่า จิตดีเลิศ
ใจ ก็ทราม กายไม่งาม เรียกว่า จิตเลว
ใจ ก็ทราม กายก็งาม เรียกว่า จิตชั่ว

คนจะดี ใช่ว่า หน้าตาม ผิดพรรณ หรือ ร่ำรวย ตำแหน่งสูง
แต่คนจะดี ก็ดี เพราะ ทาน เพราะศีล เพราะ ภาวนา

ผู้หนีหลักธรรม ไม่มีหลักธรรม ไม่เกือในธรรม ไม่ภาวนา ชือว่า ทราม

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
มืดมา มืดไป ( ธรรมดา )
มืดมา สว่างไป ( นี่สิดีมาก )
สว่างมา มืดไป ( อันนี้เลวมาก )
สว่างมา สว่างไป ( อันนี้เสมอตัว )

เจริญธรรม / เจริญพร
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 35