ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รุกขธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยต้นไม้โดดเดี่ยวย่อมแพ้ลม  (อ่าน 2550 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์

รุกขธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยต้นไม้โดดเดี่ยวย่อมแพ้ลม

ในพุทธกาลครั้งหนึ่งได้เกิดเหตุร้าวฉานแตกสามัคคีถึงขั้นกลียุคขึ้นระหว่างเมืองพระญาติของพระพุทธเจ้า เหตุปัจจัยนั้นคือการแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณีที่พระอานนท์ตักถวายในห้วงเวลาก่อนเสด็จปรินิพพาน แม่น้ำสำคัญสายนี้เป็นพรมแดนกั้นกลางระหว่างนครกบิลพัสดุ์และเทวทหะ
 ฤดูแล้งครานั้นบันดาลให้สายน้ำเหือดแห้งจนทำการเกษตรไม่ได้ การยื้อแย่งกักกันเอาน้ำเป็นของตนก็เลยเกิดขึ้นตามกมลสันดานของปุถุชน “น้ำในแม่น้ำนี้ต้องเป็นของพวกเราเฝ้าไว้อย่าให้คนฟากโน้นมาตักน้ำไปเชียวนะ” ความแตกแยกในครั้งนี้ต่อมาก็บานปลายกลายเป็นการยกทัพเข้ามาประจัญหน้ากัน
 ของนครฝ่ายพระพุทธบิดาและนครฝ่ายพระพุทธมารดา “เตือนกันดีๆ ไม่ได้ผลก็คงมีแต่สงครามเท่านั้นแหละที่จะใช้ตัดสินได้ว่าใครจะได้เป็นเจ้าของน้ำในแม่น้ำโรหิณี” ความร้อนแรงแห่งอากาศธาตุยามนั้น มิอาจแล้งและร้อนเท่าจิตใจมนุษย์ผู้มากด้วยทิฐิมุ่งแต่จะเอาชนะกัน
 “หากฝ่ายโน้นกล้ายกทัพมาทางฝ่ายเราก็พร้อมจะยกทัพไปเหมือนกัน ดูซิว่าใครจะชนะ เฮ่อๆๆๆ ลองดูๆ เออ” จากนั้นสัญญาณนัดหมายการฆ่าฟันก็พลันปะทุขึ้นโดยมิได้มีใครเห็นแก่ความสุขของชาวประชาและสมณะชีพราหมณ์ “ทหารทุกคนจงฟังเรา! สู้ยิบตา!..อย่าให้แพ้อย่างเด็ดขาด ยังไงซะ ฝั่งของเราก็ต้องชนะ เฮอะๆ ฮ่าๆๆ”
 พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าขณะนั้นประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหารทางตะวันตกเฉียงใต้ของสมรภูมิความขัดแย้งนั้น ทรงทราบถึงความพินาส อันใกล้จะเกิดขึ้นจากข่ายพระญาณ ด้วยความเมตตาทรงห่วงใยพระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ประทับบนเมฆบัลลังค์เปล่งรัศมีสีคาให้พระญาติทั้งหลายสลดใจ
 แล้วเสด็จลงประทับยังพื้นดินฝั่งแม่น้ำ ตรัสแก่กองทัพทั้งสอง “มหาบพิธทั้งหลาย ได้ชื่อว่าเป็นญาติควรสมัครสมานร่วมใจกัน เพราะเมื่อเราทั้งหลายยิ่งสามัคคีกันมากเพียงไรหมู่ปัจจามิตรย่อมไม่อาจทำลายพวกเราได้ แม้กาลก่อนต้นไม้ทั้งหลายยังเคยพ้นวาตภัยรุกรานด้วยการเกี่ยวพันอยู่ใกล้กันจนลมไม่อาจโค่นได้มาแล้ว”
 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสอบรมเหล่าพระญาติด้วยอรรถารุกขธรรมชาดกดังนี้ ย้อนเวลากลับไปนานหลายกัป ณ ห้วงหาวดาวดึงส์อันมีชาวเทพสถิตอยู่นั้น ครั้งที่ท้าวเวสสุวรรณที่ทรงอุบัติขึ้นพระองค์แรกต้องไปจุติ อสุรเทพที่ท้าวสักกะเทวราชทรงมีพระบัญชาตั้งให้เป็นท้าวเวสสุวรรณองค์ใหม่ก็อุบัติขึ้นทดแทน
“จงสำเร็จกิจทุกประการเถิดอสูรเทพเวสสุวรรณจะสงเคราะห์มวลมนุษย์ข้างล่างด้วยสิ่งใดก็จงสำเร็จ” “ข้าพระองค์อยากเห็นมนุษย์โลกร่มเย็นมีพรรณพฤกษายืนต้นเต็มป่าพระเจ้าคะ” “เช่นนั้นก็ขอให้ท่านได้ดั่งประสงค์เถิด” เมื่อรับพรจากมหาเทพสักราชแล้ว วันหนึ่งท้าวเวสสุวรรณก็ชุมนุมเหล่าเทพบุตรที่ถึงคราวไปจุติ
 “เบื้องบนเห็นชอบกับเราแล้วให้คุ้มครองไม้ใหญ่ในโลกมนุษย์ นับเป็นโอกาสดีของท่านแล้ว พวกท่านจงพากันลงไปจับจองต้นไม้สิงสถิตอยู่และคุ้มครองดูแลเป็นวิมารของท่านเถิด พาราณสีกว้างใหญ่มีป่าไม้กว้างขวางนัก” เมื่อเหล่าเทพบุตรทั้งหลายมองลงไปจากริมวิมานก็เกิดเหตุแยกความคิดตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งขึ้น
 “ทางอันปลอดภัยก็คือเราต้องอยู่กันในป่านอกเมือง นอกจากจะสงบวิเวกดีแล้วยังสถิตอยู่ใกล้ชิดกันอีกด้วย” “นั่นซินะ อยู่ด้วยกันใกล้ๆ กันเกิดเหตุอะไรจะได้ช่วยเหลือกันได้นะ” “แต่เราไม่คิดอย่างนั้นนะ ทางอันสะดวกสบายคือที่พวกเราควรจะไปอยู่ เราต้องสถิตอยู่ใกล้กับมนุษย์ มีงานบุญเช่นบวงสรวงเราจะได้กินเครื่องเซ่นบ่อยๆ
  ใครอยากสบายอิ่มตลอดปีตลอดชาติก็ไปอยู่กับเรา” นั่นซิน่ะเราจะไปอยู่กันในป่าทำไม มีแต่ต้นไม้ใบหญ้าเต็มไปหมดแล้วมนุษย์ที่ไหนจะนำของมาเซ่นไหว้ไปให้ เล่า” “เอาเถิดๆ แล้วแต่ความชอบแล้วกันใครอยากจะป็นรุกขเทวดาสิงอยู่ในต้นไม้รักษาป่าก็ไปทางโน้น บอกไว้ก่อนเลยนะต้นไม้ในเมืองน่ะ มันมีน้อย
  เกิดเปลี่ยนใจที่หลังอาจจะไม่มีที่อยู่ได้นะ เฮอะๆๆ ฮ้าๆๆ” เมื่อประตูสวรรค์เปิดเหล่าเทพบุตรที่ถึงวาระจุติใหม่ก็ลอยเลื่อนลงลงมาจากวิมานอย่างมากมายสู่หิมวันตภูมิ เพื่อเป็นรุกขเทวดาคอยพิทักษ์รักษาป่าไม้เป็นป่าใหญ่อันเต็มไปด้วยไม้ยืนต้นเป็นกลุ่มชิดติดกันเหมือนพี่น้องหรือญาติสนิทร่วมครอบครัว
  แตกใบให้ความชุ่มชื่นแก่โลกอย่างสมบูรณ์ ป่าหิมวันต์อันอยู่นอกเขตคามแห่งพาราณสีแห่งนี้ มีเทพารักษ์ผู้ทรงธรรมดูแลอยู่ หลักธรรมข้อหนึ่งที่ท่านรักษาไว้เสมอคือ การสมานฉันของญาติมิตร “พี่น้องเอ๋ย พวกเรานะอย่าได้ทะนงตนว่ามีบ้านหลังใหญ่อันแข็งแรงอุดมสมบูรณ์เฉพาะโดยไม่หวังพึ่งน้องและพี่คนอื่นอีก
 แล้วมิได้รักษาน้ำใจกันอันเป็นเหตุให้ห่างเหินมิได้เป็นหนึ่งเดียว อันความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียงต้องรู้กลืนกล้ำ รู้ผิดรู้ให้อภัยและสมานฉันให้ได้เหมือนกิ่งไม้มัดนี้ จะมีใครมาหักทำลายหาได้ไม่ เพราะเกาะกันแน่นเป็นก้อนใหญ่ แต่หากแตกแยกกันเช่นนี้ไซร้ ยามมีปัญหาก็มิอาจช่วยตัวเองได้ ย่อมพ่ายแพ้ต่อภัยง่ายดาย”
รุกขเทวดาทั้งหลายต่างมีจิตเป็นกุศลล้วนสมานฉันสามัคคีอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ บำเพ็ญตบะสร้างสมบารมีกันอย่างมีความสุขตั้งแต่นั้น “ฮึมเราอยู่ด้วยกันมากมายอันตรายใดๆ นี่ ก็คงจะกล้ำกลายได้อยากอย่างนี้ก็ยิ่งมีความสุข หันไปทางไหนก็มีแต่พี่ๆ น้องกันทั้งนั้น”
 ส่วนเทวบุตรผู้เลือกทางสบายก็พากันข้ามป่าหิมพานต์เข้าสู่พาราณสีเขตเมืองซึ่งมีต้นไม้อยู่ห่างๆ กัน “เลือกเข้าอาศัยสถิตได้เลยพี่น้อง แต่ละต้นนะ ทิ้งระยะกันดีๆ ล่ะ จะได้ไม่ต้องแย่งเครื่องเซ่นกัน” เทวบุตรผู้รักความสบายและยังติดยึดต่อลาภสักการะก็พากันสถิตในต้นไม้บ้าง พุ่มไม้บ้าง ก่อไผ่บ้าง ตามใจชอบ
 และอยู่กันอย่างอุดมสมบูรณ์ด้วยเครื่องเซ่นกราบไหว้จากชาวบ้าน ต่อมาไม่นานอากาศเริ่มผิดปกติ สัตว์ป่าพากันหลบหลี้หนีหาย ใบไม้หดหู่ลู่ใบชี้ลงพื้นดิน เทพารักรุกขเทวดาในป่าใหญ่มิได้นิ่งนอนใจกับสัญญาณนั้น “อย่าได้ประมาทพี่น้องเอ๋ย จงแกว่งกิ่งเกาะเกี่ยวกันให้แน่นหนา
 รอสู้ภัยอันจะมาถึงเถิด” ไม่นานต่อมาภาวะวิปริตก็กลายเป็นมหันตภัย มีพายุหนักเกิดขึ้นทั่วไปทั้งป่าใหญ่และในมหานคร ต้นไม้ใหญ่น้อยในมหานครซึ่งมักขึ้นอยู่โดดเดียวไม่เกาะเกี่ยวพึ่งพากันก็ถอนรากล้มลงพินาศสิ้น รุกขเทวดากลุ่มสบายก็พากันอพยพหนีตายเข้าป่า รีบหาญาติพี่น้องที่ตนแยกทางมาอีกครั้ง
  “โอ๊ะ โอ้ย...พี่ใหญ่ช่วยน้องๆ ด้วย ต่อไปนี้น้องๆ ไม่คิดจะแยกไปไหนอีกแล้ว โอ้ย...พายุนี้รุนแรงเหลือเกิน น้องไร้ซึ่งที่อยู่กันแล้ว พี่เอ๋ย..ช่วยน้องด้วยเถิด โธ่..ไม่มีที่จะอยู่แล้ว” “มาเถอะน้องรัก เรามาอยู่ด้วยกัน เมื่อเจ้าเดือดร้อน พี่ย่อมช่วยเจ้าเสมอที่ผ่านมาก็ให้ถือเป็นบทเรียน ต้นไม้แม้ต้นใหญ่เพียงใดแต่หากยืนอยู่เพียงต้นเดียวไร้ญาติมิตรข้างเคียงก็ไม่ต่างอะไรกับเศษไม้พังเพียงท่อนเดียวหรอก
  เจ้ามาอยู่นี่ให้สบายเถิด ที่นี่น่ะยังมีต้นไม้ให้พี่น้องอยู่อาศัยบำเพ็ญความดีอีกมากมายนัก อันหมู่ญาตินั้นนะ นับแต่ 4_คน นับว่ามาก แม้ยิ่งกว่านั้นนับร้อยพันชื่อว่ามากมูล ศัตรูหมู่อมิตรจะกำจัดมิได้เลย” นับแต่กาลในกัปนั้นแม้เวลาผ่านพ้นนานเท่าใดต้นไม้ใหญ่ก็ยังมีรุกขเทวดาสถิตอยู่เสมอ ผู้ตัดไม้ทำลายป่าย่อมเสมือนทำลายที่สถิตอาศัยของเทวดาย่อมหาความเจริญไม่ได้

 
พุทธกาลสมัยนั้นปวงเทพบุตร กำเนิดเป็น พุทธบริษัท
หัวหน้ารุกขเทวดา เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
Re: รุกขธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยต้นไม้โดดเดี่ยวย่อมแพ้ลม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2015, 04:39:38 pm »
 gd1 gd1
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ