ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม แล้ววิชา มัชฌิมา แบบลำดับ ใช่ มูลกรรมฐาน หรือ ไม่  (อ่าน 712 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม แล้ววิชา มัชฌิมา แบบลำดับ ใช่ มูลกรรมฐาน หรือ ไม่
ตอบ ใช่ เป็นส่วนหนึ่ง ในหมวดที่ 8 ทางวัดราชสิทธาราม นำโดย สมเด็จพระญาณสังวร ( หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ) เป็นผู้นำทางสืบทอด วิชาเปรียญ ตรี โท เอก มาจาก อโยธยา ท่านได้ไปศึกษาอยู่ที่วัด โรงช้าง จนมีความสามารถถึง เปรียญโท แต่ ไม่ได้เข้าสอบเปรียญเอก เป็นเพราะท่านชอบการศึกษากรรมฐาน และเรียนรู้วิชากรรมฐาน ใน ชั้นเปรียญเอก ออกธุดงค์ฝึกฝนประกอบกับเป็นช่วง กรุงศรีอโยธยา แตก สิ้นสุดรัชสมัย เข้าสู่ยุคการกอบกู้บ้านเมือง โดยพระเจ้าตาก
ในครั้งนั้น พระยามหากษัตริย์ศึก ได้ศรัทธาเคารพท่าน คราเยือนวัดท่าข่อย อยุธยา เมื่อท่านปราบดาภิเษก เป็นปฐมกษัตริย์ กรุงรัตนโกสินทร์ ก็ได้นิมนต์ พระอธิการสุก เข้ามาอยู่ปกครองวัดสระแก ในขณะกำลังสั่งพระบรมราชวัง ที่สนามหลวง แต่หลวงปู่สุก ท่านเคยพำนัก อยู่วัดพลับ ฝั่งธนบุรี คราหนีข้าศึกพม่า มาก่อน ท่านจึงขอไปปกครองวัดพลับแทน
รัชกาลที่ 1 และ รัชกาลที่ 2 ได้ส่งเสริมท่านด้วยความเลื่อมใส ในยุคสมัย ร2 ท่านจึงได้รับเป็นพระสังฆราชองค์ที่ 4 และทำการสังคายนา หลักสูตรเปรียญออกเป็น 2 ด้าน แยกออกมาเป็น โยชนา กัจจายนะ และ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ  ดังนั้นวัดราชสิทธาราม จึงทรงการสอนกรรมฐาน แบบเดิมไว้จนถึงปัจจุบัน คงเหลือแค่ การสอนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อยู่ที่ คณะ 5 แต่ไม่ใช่ทุกส่วนของ มูลกรรมฐาน
มูลกรรมฐาน กัจจายนะ มีโครงสร้าง 8 หมวด ตามหลักอริยะมรรค มีองค์ 8
ปัจจุบัน ผู้รู้สืบทอด ในโครงสร้างทั้ง 8 ตามหลักสูตรมูลกรรมฐาน หาได้น้อยมาก หรือ ขั้นแทบจะไม่มี เพราะปัจจุบัน วิชากรรมฐานในหลักสูตรเปรียญ ไปใช้ในแนวทางของพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้เรียบเรียง วิสุทธิมรรค
จึงทำให้การเรียน มูลกรรมฐาน กัจจายนะ เริ่มหายสาปสูญ ประกอบกับ สำนักที่ ใช้แต่ภูมิปัญญาไม่เข้าใจในหลักการของสมาธิออกมาพูด และคนในปัจจุบัน หนักไปทางกามราคะ จึงไม่ค่อยสนใจในการทำสมาธิ เพราะสนใจแต่สติ
แต่ความเป็นจริงโครงสร้างของมูลกรรมฐาน สอนกรรมฐานตามหมวดอยู่แล้ว เพียงแต่หลายคนไปเข้าใจว่าสอนแต่เรื่องสมาธิ เท่านั้นจึงไม่ได้เข้าใจภาพรวม ประกอบกับพระไตรปิฏก มีความเข้าถึงง่ายคนส่วนใหญ่ จึงใช้ข้อมูลทางพระไตรปิฏกกัน จึงทำให้ผู้สืบทอด ไม่ต้องการสอบเทียบข้อความกับ พระไตรปิฏกต่อไป
ส่วนตัวทำงานเผยแผ่ วิชามูลกรรมฐาน กัจจายนะตอนนี้นับว่าหนักพอสมควร เพราะต้องคอยสอบเทียบแม่บท กับ พระไตรปิฏกให้กับคนรุ่นใหม่ จึงทำให้ทำงานซ้ำซ้อนมากๆ เป็นที่เหนื่อย เพราะถ้าแปลข้อความแล้ว ก็ต้องไปค้น พระไตรปิฏก ก่อนนั่นเอง
เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ