สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 20, 2010, 09:25:34 pm



หัวข้อ: ว่าด้วย“จำพรรษา”และ“กฐิน”
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 20, 2010, 09:25:34 pm
ว่าด้วย“จำพรรษา”และ“กฐิน”

(http://i26.photobucket.com/albums/c149/dextor-th/35853600363636099.jpg)

พรรษากาล ฤดูฝน (พจนานุกรมเขียน พรรษากาล)
พรรษา ฤดูฝน, ปี, ปีของระยะเวลาที่บวช
พรรษาธิษฐาน อธิษฐานพรรษา, กำหนดใจว่าจะจำพรรษา ดู จำพรรษา

จำพรรษา อยู่ประจำวัด ๓ เดือนในฤดูฝน คือ
ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (อย่างนี้เรียกปุริมพรรษา แปลว่า พรรษาต้น)
หรือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ (อย่างนี้เรียก ปัจฉิมพรรษา แปลว่า พรรษาหลัง)

; วันเข้าพรรษาต้น คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ เรียกว่า ปุริมิกา วัสสูปนายิกา,
วันเข้าพรรษาหลัง คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ เรียกว่า ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา

; คำอธิษฐานพรรษา ว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ ; ทุติยมฺปี อิมสฺมึ....; ตติยมฺปิ อิมสฺมึ....แปลว่า

ข้าพเจ้าเข้าอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในวัดนี้ (วิหาเร จะเปลี่ยนเป็น อาวาเส ก็ได้) ;

อานิสงส์การจำพรรษามี ๕ อย่าง คือ
๑.เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา
๒.จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ
๓.ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้
๔.เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา
๕.จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ

อานิสงส์ทั้ง ๕ นี้ได้ชั่วเวลาเดือนหนึ่ง นับแต่ออกพรรษาแล้ว คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒
นอกจากนั้นยังได้สิทธิที่จะกรานกฐิน และได้รับอานิสงส์ ๕ นั้น ต่อออกไปอีก ๔ เดือน (ภิกษุผู้เข้าพรรษาแล้วหลัง ไม่ได้อานิสงส์หรือสิทธิพิเศษเหล่านี้)

 
(http://www.dhammathai.org/articles/pic/kathin001.gif)

ผ้ากฐิน ผ้าผืนหนึ่งที่ใช้เป็นองค์กฐินสำหรับกราน แต่บางทีพูดคลุมๆ หมายถึงผ้าทั้งหมดที่ถวายพระในพิธีทอดกฐิน, เพื่อกันความสับสน จึงเรียกแยกเป็นองค์กฐิน หรือผ้าองค์กฐิน อย่างหนึ่ง กับผ้าบริวารหรือผ้าบริวารกฐิน อืกอย่างหนึ่ง ดู กฐิน

ผ้าจำนำพรรษา ผ้าทีทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล; เรียกเป็นคำศัพท์ ผ้าวัสสาวาสิกา วัสสาวาสิกสาฏก หรือ วัสสาวาสิกสาฏิกา; ดู อัจเจกจีวร
 
ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบนำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน ซึ่งพระภิกษุจะแสวงหาได้ในระยะเวลา ๑ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ และให้ทำนุ่งได้ในเวลากึ่งเดือน ตั้งแต่ขึ้น ๑ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
 
ปัจจุบันมีประเพณีทายกทายิกาทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝนตามวัดต่างๆ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘; เรียกเป็นคำศัพท์ว่า วัสสิกสาฏิกา หรือ วัสสิกสาฏก

; คำถวายผ้าอาบน้ำฝนเหมือนคำถวายผ้าป่า เปลี่ยนแต่ ปํสุกูลจีวรานิ เป็น วสฺสิกสาฏิกานิ และผ้าบังสุกุลจีวร เป็นผ้าอาบน้ำฝน

กฐิน ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร; ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต แก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน
 
โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ)

 
(http://www.tigertemple.org/content/img/bin/pro_30146.jpg)

ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔)

; ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ); สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป

; ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

ภิกษุผู้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ (เหมือนอานิสงส์การจำพรรษา ดู จำพรรษา) ยืดออกไปอีก ๔ เดือน (ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) และได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลออกไปตลอด ๔ เดือนนั้น

คำถวายผ้ากฐิน
แบบสั้นว่า:
อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม. (ว่า ๓ จบ)
แปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์
 
แบบยาวว่า:
อิมํ, ภนฺเต, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ สปริวารํ, กฐินทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน, กฐินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย

แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ

กฐินทาน การทอดกฐิน, การถวายผ้ากฐิน คือการที่คฤหัสถ์ผู้ศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเณร นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้ากฐิน เรียกสามัญว่า ทอด กฐิน (นอกจากผ้ากฐินแล้วปัจจุบันนิยมมีของถวายอื่นๆ อีกด้วยจำนวนมาก เรียกว่า บริวารกฐิน)
กฐินัตถารกรรม การกรานกฐิน

 
(http://i26.photobucket.com/albums/c149/dextor-th/358536003636360911.jpg)

กรานกฐิน ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่อ อนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน

พิธีทำในบัดนี้คือ ภิกษุซึ่งจำพรรษาครบ ๓ เดือนในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป) ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ภิกษุรูปนั้นทำกิจตั้งแต่ ซัก กะตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จในวันนั้น
 
ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้ เพื่ออนุโมทนา และภิกษุสงฆ์นั้นได้อนุโมทนาแล้ว เรียกว่า กรานกฐิน

ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บย้อม ก็ไม่มี

(กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า ขึง คือทำให้ตึง กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้สะดึง กรานกฐินก็คือขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง) เขียน กราลกฐิน บ้างก็มี


(http://www.kalyanamitra.org/events/year45/prarajkratina/pickrathina.jpg)

อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)


หัวข้อ: พระพุทธรูป "ปางที่เนื่องด้วยการจำพรรษา"
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 20, 2010, 09:34:18 pm

พระพุทธรูปปางประทานพร(ยืน)

(http://www.dhammathai.org/imagebuddha/56.gif)

   พระพุทธรูปปางประทานพร ( ยืน) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ ( อก ) แบฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า พระหัตถ์ซ้ายห้อยลง แบฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า บางแบบยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้น ห้อยพระหัตถ์ขวา

ความเป็นมาของปางประทานพร(ยืน)
      มหาอุบาสิกา วิสาขา บุตรีของธนัญชัยเศรษฐี เป็นหญิงที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเบญจกัลยาณี ได้แก่ มีผมงาม เนื้องาม ฟันงาม ผิวงาม วัยงาม นางมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และเป็นพระโสดาบันบุคคลตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ

    ในช่วงฤดูฝนในพรรษาหนึ่ง นางวิสาขาไให้นางทาสีของนางมานิมนต์พระภิกษุ พอดีฝนตก พระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร นางทาสีเข้าใจว่าเป็นนักบวชลัทธิชีเปลือย จึงกลับไปบอกนางวิสาขา หลังจากถวายภัตตาหารและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว นางวิสาขาจึงกราบทูลขอประทานพรจากพระพุทธองค์เพื่อถวายสิ่งของต่าง ๆ แก่ภิกษุ ภิกษุณี ได้แก่

( ๑ ) ผ้าอาบน้ำฝน
( ๒ ) อาหารสำหรับภิกษุอาคันตุกะ
( ๓ ) อาหารสำหรับภิกษุผู้เตรียมจะไป
( ๔ ) อาหารสำหรับภิกษุป่วยไข้
( ๕ ) อาหารสำหรับภิกษุผู้พยาบาลภิกษุ
( ๖ ) ยาสำหรับภิกษุผู้ป่วยไข้
( ๗ ) ขอให้ได้ถวายข้าวยาคู
( ๘ ) ผ้าอาบน้ำสำหรับภิกษุณี พระพุทธองค์ทรงประทานพรทั้ง ๘ ข้อแก่นางวิสาขา




ปางสรงน้ำฝน

(http://www.dhammathai.org/imagebuddha/47.gif)
   
   พระพุทธรูปปางสรงน้ำฝน วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ทรงห่มผ้าวัสสิกสาฎก ( ผ้าอาบน้ำฝน ) เฉลียงพระอังสา ( บ่า ) พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นลูบที่พระอุระ ( อก ) เป็นกิริยาสรงน้ำฝน

ความเป็นมาของปางสรงน้ำฝน
   สมัยหนึ่งนครสา วัตถีเกิดความแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชผลได้รับความเสียหาย ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค มหาชนทั้งหลายต่างพร้อมใจกันมากราบทูลอาราธนาให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ ออกสรงน้ำฝน ณ กลางแจ้งด้วยเชื่อในพุทธปาฏิหาริย์และพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ พระพุทธองค์มีพระประสงค์จะอนุเคราะห์มหาชน

จึงทรงผ้าวัสสิกสาฎก ( ผ้าอาบน้ำฝน ) แล้วเสด็จออไปยืน ณ กลางแจ้ง แล้วทรงทอดพระเนตรแลดูทิศทั้งหลาย ด้วยพุทธานุภาพ ทันใดนั้นมหาเมฆก็บังเกิดขึ้นเป็นอัศจรรย์ เกิดเสียงฟ้าร้องคำรามสายฟ้าแลบแปลบปลาบ พลันฝนก็ตกลงมาอย่างมากมาย ยังผลให้พระพุทธองค์สรงน้ำฝนกลางแจ้งได้สมพระประสงค์ มหาชนทั้งหลายได้อาบและดื่มกินอย่างสุขสำราญทั่วกัน



ปางคันธารราฐหรือปางขอฝน(นั่ง)
    
(http://www.dhammathai.org/imagebuddha/48.gif)

    พระพุทธรูปปางคันธาร ราฐหรือปางขอฝน ( นั่ง ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ ผ้าวัสสิกสาฎก ( ผ้าอาบน้ำฝน ) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเป็นกิริยากวัก แบพระหัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระชานุ ( เข่า ) บางแบบวางอยู่บนพระเพลา ( ตัก )

ความเป็นมาของปางคันธารราฐหรือปางขอฝน(นั่ง)
    หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ประมาณ ๕๐๐ ปี กษัตริย์เมืองคันธาระ พระนามว่า พระเจ้ามิลินท์ ได้โต้ตอบปัญหาธรรมะกับพระนาคเสนพุทธสาวกผู้เป็นพระอรหันต์ ทรงเลื่อมใสที่พระนาคเสนตอบข้อสงสัยในพระพุทธศาสนาของพระองค์ได้ทุกแง่ทุก มุม พระเจ้ามิลินท์จึงทรงได้ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่นับถือสูงสุดในชีวิต และรับสั่งให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นบูชาในเมืองคันธาระ


ปางคันธารราฐหรือปางขอฝน(ยืน)
   
(http://www.dhammathai.org/imagebuddha/49.gif)

    พระพุทธรูปปางคันธารราฐหรือปางขอฝน ( ยืน ) วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ทรงผ้าวัสสิกสาฎก ( ผ้าอาบน้ำฝน ) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเป็นกิริยากวัก แสดงอาการขอฝน พระหัตถ์ซ้ายหงายรองรับน้ำฝน

ความเป็นมาของปางคันธารราฐหรือปางขอฝน(ยืน)
    สมัยหนึ่งนครสาวัตถี แคว้นโกศล เกิดความแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชผลได้รับความเสียหาย ประชาชนขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค สระโบกขรณี ( สระบัว ) ภายในพระเชตวันมหาวิหารก็แห้งขอดติดก้นสระ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระประสงค์จะอนุเคราะห์แก่มหาชน

พระพุทธองค์ทรงผ้าวัสสิกสาฎก ( ผ้าอาบน้ำฝน ) แล้วเสด็จไปประทับ ณ บันไดสระ ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นกวักเรียกฝน พระหัตถ์ซ้ายรองรับน้ำฝน ทันใดนั้นบังเกิดมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นพร้อมกัน ในทุกทิศานุทิศ ด้วยพุทธานุภาพและพระมหากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ฝนได้ตกลงมาเป็นอัศจรรย์


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก  http://www.dhammathai.org/pang/pang10.php?#47 (http://www.dhammathai.org/pang/pang10.php?#47)


หัวข้อ: อานิสงส์กฐินทาน
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 11, 2011, 09:17:19 am

(http://gotoknow.org/file/chuanpis/File0013.jpg)

อานิสงส์กฐินทาน

......ในครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มาอุบัติในโลก มีบุรุษเข็ญใจไร้ญาติพี่น้องทั้งทรัพย์สินเงินทองก็ขาดแคลนอาศัยเลี้ยงชีพอยู่ในเมืองพาราณสี ไปหาสิริธรรมมหาเศรษฐีมีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ แล้ววิงวอนขออยู่เป็นลูกจ้าง ท่านเศรษฐีมีความสงสารจึงถามว่ามีความรู้อะไรบ้าง บุรุษเข็ญใจบอกว่า ข้าพเจ้าไม่มีความรู้อะไรเลย มีแต่กำลังกายเท่านั้นท่านเศรษฐีกล่าวว่าถ้าเช่นนั้นเจ้าจงไปรักษาหญ้าเราจะให้ข้าววันละหม้อ

     ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา บุรุษก็รักษาหญ้าจนมีชื่อว่า ติณณปาละ อยู่มาวันหนึ่ง ติณณปาละมาคิดว่าตัวเรานี้ ในชาติปางก่อนคงจะไม่ได้ทำบุญกุศลอันใดไว้เลย มาถึงชาติ นี้เราจึงได้ลำบากยากแค้น แม้แต่อาหารจะรับประทานไปวันหนึ่งๆ ก็ทั้งยาก แต่นี้ต่อไปเราจะต้องขวนขวายให้ทานทุก ๆ วัน

     เมื่อมีความตั้งใจอย่างนี้แล้ว ก็แบ่งอาหารออกเป็น ๒ ส่วน ๆ หนึ่ง ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ อีกส่วนหนึ่งไว้บริโภคเองทำอย่างนี้มาตลอดทุก ๆ วันมิได้ขาดด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ติณณปาละทำนั้น ก็ทราบไปถึงสิริธรรมเศรษฐีผู้เป็นนายจ้างจึงสั่งให้เพิ่มอาหารขึ้นอีกเป็น ๓ ส่วน ติณณปาละก็แบ่งออกไปอีกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งถวายภิกษุสามเณรอีกส่วนหนึ่งให้แก่ยาจก อีกส่วนตนเก็บไว้บริโภค ทำอยู่อย่างนี้เป็นลำดับมา

     จนถึงฤดูออกพรรษาประชาชนและท่านสิริธรรมเศรษฐีได้พากันทำกฐินทานเพื่อจะถวายแก่ภิกษุสงส์ ผู้อยู่จำพรรษาด้านไตรมาส สามเดือน ติณณปาละได้ทราบ ข่าวดังนี้แล้วก็เข้าไปหาสิริธรรมเศรษฐีถามถึงอานิสงส์ผลของกฐินทานว่าการถวายทานอย่างนี้ คงจะมี ผลเป็นอันมาก เพราะประชาชนไม่นิ่งนอนใจ ช่วยกันหลายคนเศรษฐีบอกถึงคุณานุภาพ ของกฐินทานโดยละเอียดจนติณณปาละเกิดศรัทธาแก่กล้า ก็ถามว่าอีกเมื่อไรจะถึงกำหนดถวาย เศรษฐีบอกว่าอีก ๗ วัน

    ติณณปาละก็กลับไปสู่ที่อยู่ของตนก็คิดว่าจะนำของไปเห็นวัตถุทานก็ไม่มี เห็นอยู่แต่ผ้านุ่งผืนเดียวเท่านั้นที่จะนำเข้าเป็นส่วนกฐินทานได้ เมื่อจะเปลื้องผ้าออกทาน ตัวกิเลสคือความตระหนี่เหนียวแน่นก็มากั้นไว้ถ้าสละผ้าผืนนั้นแล้วเราจะไหนนุ่ง มีอยู่ผืนเดียวเท่านี้

    ผลที่สุดก็ตัดสินใจเด็ดขาดว่าเราจะต้องถวายแน่ ก็เปลื้องผ้ามาทำการซักฟอกและย้อมด้วยน้ำฝาดตนเองก็เอาใบไม้มานุ่ง ป้องกันความอายเท่านั้น แล้วรีบนำผ้าไปหาเศรษฐีมอบอนุโมทนาผ้านั้นเข้าเป็นส่วนบริวารของกฐินนั้น เศรษฐีก็รับอนุโมทนานำผืนของติณณปาละเข้าเป็นส่วนผ้าบริวาร ซึ่งยังขาดอยู่ผืนหนึ่งแล้วนำไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์

    เสียงโกลาหลก็บังเกิดขึ้นในขณะนั้นด้วยเสียงสาธุการของเทวดาทั่วทั้งอากาศและปฐพี พระมหากษัตริย์ได้ทรงสดับเสียงนั้นแล้ว ก็ตกพระทัยกลัวว่าจะมีมรณภัยมาถึงพระองค์รับสั่งให้หาปุโรหิตแล้วตรัสถามถึงเหตุโกลาหลอื้ออึงนั้น


(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G6015058/G6015058-2.jpg)

    ในครั้งนั้นมีเทวดาองค์หนึ่งที่รักษาอยู่เศวตฉัตรจึงกล่าวว่า ดูกรมหาบพิตรเสียงโกลาหลอื้ออึ้งนั้น มิใช่ว่าจะมีภัยมาถึงพระองค์นั้นเป็นเสียงของเทวดาทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุได้สาธุการส่วนบุญของติณณปาละเป็นคนเข็ญใจ รักษาไร่หญ้าของเศรษฐี ได้เปลื้องผ้านุ่งของตนออกมาเข้าส่วนกฐินทาน พระองค์อย่าตกพระทัยไปเลย

    พระราชาทรงทราบเช่นนั้นก็ทรงปีติยินดี รับสั่งให้หาติณณปาละพร้อมทั้งส่งผ้าสาฏกคูหนึ่ง ราคาผืนละหนึ่งแสนกหาปณะไปพระราชทาน นายติณณปาละก็นุ่งสาฎกเข้าเฝ้าพระราชา ครั้นพระราชาทรงขอซื้อส่วนกุศลด้วยทรัพย์มีประมาณพันหนึ่งจนทวีขึ้นเป็นลำดับจนถึงแสนกหาปณะ ติณณปาละ ก็ไม่ขายให้ตามพระประสงค์ได้จึงกราบทูล จะทรงซื้อด้วยทรัพย์นั้นไม่ได้พระเจ้าข้า

    ถ้าหากพระองค์จะอนุโมทนาส่วนบุญนี้ได้อยู่พระเจ้าข้า พระราชามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งให้คนดีฆ้องร้องประกาศตลอดทั้งพระนคร  แล้วพระราชทาน ช้าง ม้า โค กระบือ ข้าทาส ชายหญิงอย่างละหนึ่งร้อย บูชาแก่ติณณปาละเป็นอันมาก แล้วตั้งไว้ในตำแหน่งเศรษฐี  

    ส่วนพ่อค้าคฤหบดีเศรษฐี ก็พากันสละทรัพย์เป็นจำนวนมากออกบูชาคุณติณณปาละเป็นสมบัติมากมาย ที่ติณณปาละได้แล้วก็ด้วยบุญกุศลเจตนาอันแรงกล้า จึงเป็นผลสำเร็จให้ผลทันตาเห็นในปัจจุบันชาติ ครั้นติณณปาละทำกิริยาตายแล้ว ก็ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์

    ครั้นถึงพระศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัส ติณณปาละเทวบุตร ก็จะจุติลงมาอุบัติเป็นราชโอรส แห่งนครมัณฑาลวดี ครั้นต่อมาเสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดา อยู่ ๔ หมื่นปีแล้วออกบวชเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา สำเร็จพระอรหันต์องค์หนึ่งของพระศรีอริยเมตไตรย์ มีนามว่าติณณปาละเถระ ดังนี้เป็นต้น

   ตสฺมา สาธโว เมื่อสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายที่ทราบรู้เหตุรู้ผลของการถวายผ้ากฐินทานว่ามีอานิสงส์อย่างไรแล้วก็ขออย่าให้ท่านทั้งหลายจงอย่าเป็นผู้ประมาท ในเมื่อถึงคราวกาลสมัยที่จะถวายก็ควรจะถวายก็ควรทำจะเป็น ของมากน้อยอย่างไรไม่สำคัญ

   สำคัญอยู่ว่าให้ทำและทำด้วยศรัทธาอย่างจริงจัง แล้วตั้งความปรารถนาของตนไว้ด้วยดี มิใช่ว่าทำเห็นแต่หน้าหาความศรัทธามิได้ ทรัพย์ที่เราสละไปก็จะไม่ได้ผลเต็มที่ ถ้าเราทำด้วยความเต็มใจแล้วถึงแม้จะน้อยก็ย่อมมีอานิสงส์มากดังเรื่องติณณปาละ


(http://www.watthasung.com/kitti/KhaoKhiao/October/070.JPG)

ที่มา http://www.84000.org/anisong/12.html (http://www.84000.org/anisong/12.html)
ขอบคุณภาพจาก http://gotoknow.org (http://gotoknow.org),http://www.pantip.com,www.watthasung.com


หัวข้อ: Re: ว่าด้วย“จำพรรษา”และ“กฐิน”
เริ่มหัวข้อโดย: paitong ที่ ตุลาคม 11, 2011, 07:35:03 pm
หลังจากพรุ่งนี้ ก็เข้าสู่ เทศกาล การถวายผ้ากฐิน แล้วนะครับ
สำหรับพิธียิ่งใหญ่ น่าจะเป็น ที่วัดอรุณ ฯ พิธีทางชลมาตร ก็น่าชมนะครับ

 :25:


หัวข้อ: Re: ว่าด้วย“จำพรรษา”และ“กฐิน”
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 02, 2012, 09:52:14 am

(http://www.mahamodo.com/modo/dhama_bud/bud_history/images/pic_page/70.jpg)

อานิสงส์ถวายผ้าอาบน้ำฝน

....การถวายผ้าอาบน้ำฝนมีผลานิสงส์อย่างไร เป็นใจความว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ณ กรุงสาวัตถีในวันนั้นเป็นวัน ๘ ค่ำ นางวิสาขาได้ถือเครื่องสักการะ พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมากไปสู่สำนักพระพุทธเจ้าถวายเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย

    แล้วบังเอิญฝนตก พระภิกษุทั้งหลายได้เปลือยกายอาบน้ำฝนกันมากมาย นางวิสาขาเห็นเช่นนั้นแล้วก็เกิดความละอาย และคิดในใจว่าพระภิกษุไม่มีผ้าสำหรับอาบน้ำฝน ก็บังเกิดมีจิตศรัทธา คิดจะสร้างผ้าอาบน้ำฝนถวายเป็นทาน แล้วก็กลับไปสู่กรุงสาวัตถี จัดแจงหาผ้าได้พอสมควรแล้วพอตอนเย็นก็พาบริวารและผ้านั้นมาสู่สำนักพระพุทธองค์แล้วถวายผ้าอาบน้ำฝนนั้น แก่องค์พระศาสดาพร้อมทั้งภิกษุทั้งหลายแล้วกราบทูลถามว่า

     "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การถวายผ้าอาบน้ำฝนนี้มีผลานิสงส์เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า"

     พระองค์ได้ตรัสเทศนาว่า
     ดูกรนางวิสาขา ถ้าบุคคลใดมีจิตศรัทธานำผ้าอาบน้ำฝนมาถวายแก่พระภิกษุในพุทธศาสดาจะมีผลานิสงส์เป็นอเนกประการ แล้วพระองค์ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงต่อไปว่า

     ในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีหญิงเข็ญใจคนหนึ่ง มีนามว่า อมัยทาสีอยู่มาวันหนึ่งนางได้เห็นคนทั้งหลาย นำผ้ากาสาวพัตรไปสู่สำนักภิกษุสงฆ์ให้เป็นทาน โดยกระทำให้เป็นผู้อาบน้ำฝนนางอมัยทาสีก็มีศรัทธาอยากจะทำบุญกับเขาบ้าง นางก็คิดว่าจะทำอย่างไรดีหนอ ที่เราจะได้ทำบุญในคราวนี้บ้าง พิจารณาผ้าที่จะให้ทานก็ไม่มี รีบไปหามารดา แล้วบอกความจำนงของตนให้มารดา

     มารดาก็ตอบว่า เราจะเอามาแต่ที่ไหน เราก็เป็นทาสเขาอยู่ นางอมัยทาสี เมื่อได้ยินดังนี้น้ำตาก็ไหลด้วยความเสียใจ มารดาของนางก็มีจิตสงสาร จึงแนะนำให้นางอมัยทาสีไปขึ้นค่าตัวกับนายนางได้รับคำแนะนำเช่นนั้นแล้วก็มีความยินดี จึงรีบไปหานายของนาง


(http://www.spt3.ac.th/image/P1020392.JPG)

    ฝ่ายเศรษฐีผู้เป็นนายก็ปฏิเสธไม่ยอมให้นางอมัยทาสีขึ้นค่าตัว นางไม่มีความสบายใจนางมาคิดว่า เมื่อชาติก่อนนี้เราไม่ทำบุญให้ทาน มาชาตินี้เราจึงได้ตกระกำลำบาก ถึงเวลาจะทำบุญกับเขาบ้างก็จะไม่ทำกับเขาคราวนี้จะเป็นตายอย่างไรจะต้องขอทำบุญให้ได้ในครั้งนี้

     ด้วยจิตศรัทธาแรงกล้านางอมัยทาสีทนความอับอาบขายหน้า ได้สละผ้าห่มแล้วนำใบไม้มาเย็บกลัดพอปกปิด บรรเทาความอายแล้วเอาผ้าซักฟอกให้หมดความสกปรกแล้วนำดอกไม้ธูปเทียนพร้อมด้วยผ้าไปสู่ธรรมศาลาถวายผ้าอาบน้ำฝนนั้นในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ ก่อนเข้าพรรษาพร้อมกับมหาชนทั้งหลาย

     แล้วตั้งความปรารถนาว่า ด้วยอานิสงส์ที่ตนได้กระทำบุญในคราวครั้งนี้
     ขึ้นชื่อว่าความยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์อย่าได้มีในชาติต่อ ๆ ไป จนถึงพระนิพพาน
     และขอให้พบพระศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย์
     เมื่อคำปรารถนาของนางจบลงแล้ว เทวดาทั้งหลายก็ซ้องสาธุการสนั่นหวั่นไหว


     ด้วยอานิสงส์ของนางอมัยทาสีทำบุญในคราวครั้งนั้น อยู่มาได้ ๗ วัน
    พระเจ้าพันธุมหาราช ได้เสด็จไปพบนางกำลังหาบฟืนมาในระหว่างทาง ก็เกิดความปฏิพัทธ์รักใคร่ในตัวนางมาก
    จึงตรัสปราศรัยไต่ถามความตลอดแล้วจึงยกนางขึ้นราชรถนำเข้าไปสู่พระนคร อภิเษกนางให้อยู่ในตำแหน่งอัครมเหสี

     ครั้นทำลายขันธ์แล้วนางได้ไปเกิดบนสวรรค์มีวิมานทองสูง ๑๕ โยชน์ มีนางฟ้าเป็นบริวาร ๓ พัน
     ครั้นเสวยทิพย์สมบัติแล้วจนในชาติสุดท้ายนางจะได้เกิดในศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย์ได้บรรลุธรรมพิเศษ
ดังนี้แล พระองค์ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว ชนทั้งหลายก็ได้ดวงตาเห็นธรรมส่วนนางวิสาขาก็ตั้งอยู่ในพระรัตนตรัย



ที่มา http://84000.org/anisong/13.html (http://84000.org/anisong/13.html)
ขอบคุณภาพจาก http://www.mahamodo.com/,http://www.spt3.ac.th/ (http://www.mahamodo.com/,http://www.spt3.ac.th/)


หัวข้อ: Re: ว่าด้วย“จำพรรษา”และ“กฐิน”
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 02, 2012, 10:04:23 am

(http://www.watnawaminusa.org/NMR_292.jpg)

อานิสงส์ถวายผ้าจำนำพรรษา

    ....เมื่อสมัยครั้งพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี มีอุบาสกคนหนึ่งเป็นผู้มีศรัทธาต่อพระรัตนตรัย ชื่อว่าติสสะ ได้พร้อมใจกับภรรยาของตนเย็บและย้อม ซึ่งจีวรสบงสังฆาฏิ ได้ถวายเสร็จแล้วก็ทูลลากลับไปสู่เคหาของตน

     ... ในกาลครั้งนั้นพระโมคคัลลานะ ผู้ประกอบ ด้วยฤทธานุภาพสามารถนำข่าวสารสวรรค์มาบอกมนุษย์นำข่าวมนุษย์ไปบอกสวรรค์ และนรกเป็นต้น ครั้งแล้วพระโมคคัลลานะก็ขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้เห็นปราสาทมีความงามรุ่งเรืองกว่าปราสาทหลังอื่น ๆ และมีนางเทพกัญญา พันหนึ่งแวดล้อมปราสาทนั้น แต่ไม่มีเทพบุตรอยู่ในปราสาทหลังนั้น พระเถระเจ้าได้ไต่ถามกับนางเทพอัปสรนั้น ได้ทราบโดยตลอด

      จึงลงจากเทวโลกเข้าไปสู่สำนักพระบรมศาสดากำลังมีพุทธบริษัททั้ง ๔ แวดล้อมอยู่ พระเถระเข้าไปถวายอภิวาท แล้วก็ทูลถามถึงอานิสงส์ถวายผ้าจำนำพรรษายังมีชีวิตอยู่ในเมืองมนุษย์ ว่าปราสาททิพย์ได้รอคอยอยู่ในเทวโลก เพราะเกิดจากผลทานของการถวายผ้าจำนำพรรษา จะมีบ้างไหมพระพุทธเจ้าข้า

      พระองค์ทรงตรัสว่า
      ดูกรโมคคัลลานะ ผ้าจำนำพรรษาที่ติสสะอุบาสกได้กระทำไว้นั้น ก็ได้ปรากฏแก่เธอเองแล้วมิใช่หรือ
      พระโมคคัลลานะ ทูลตอบว่า จริงแล้วพระเจ้าข้า

      สมเด็จภวันต์ตรัสต่อไปว่า
      โมคคัลลานะ บุคคลผู้ใดมี ศรัทธา ได้ถวายผ้าจำนำพรรษาแก่ภิกษุสงฆ์มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น   
      บุคคลผู้นั้นเบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์ ไปย่อมมีสุคติเป็นที่ไป  

      “ทานสคฺคโสปาณํ” ผลทานเป็นบันไดนำไปสู่สวรรค์ปิดกันเสีย ซึ่งอบายภูมิ
      บุคคลผู้มีมืออันชุ่มไปด้วยการให้ทาน หมู่ทวยเทพทั้งหลายย่อมมีความยินดีสรรเสริญ
      รอคอยบุคคลผู้ให้ทานนั้นอยู่เสมอ ดุจนางอัปสรเทพกัญญารอคอยติสสะอุบาสก ฉะนั้น

      เมื่อจบพระสัทธรรมเทศนาลง บริษัททั้ง ๔ มีความรื่นเริง ยินดีในพุทธพจน์นัก กลับเป็นผู้ตั้งอยู่ในกุศลสัมมาปฏิบัติเป็นจำนวนมาก ฝ่ายติสสะอุบาสกครั้นทำลายขันธ์ลงก็นำตนไปอุบัติขึ้นในสัตตรัตนปราสาท เสวยสมบัติอันเป็นทิพย์ มีนางอัปสรแวดล้อมเป็นยศบริวาร



ที่มา http://84000.org/anisong/14.html (http://84000.org/anisong/14.html)
ขอบคุณภาพจาก http://www.watnawaminusa.org/ (http://www.watnawaminusa.org/)