ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:55:03 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



สัลเลขสูตร

ว่าด้วย : ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
เหตุการณ์ : พระมหาจุนทะถามพระพุทธองค์ถึงอุบายการละทิฏฐิต่าง ๆ พระพุทธองค์ทรงให้อุบายการละทิฏฐิแล้ว ทรงแสดงธรรมเรื่องธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ธรรมสำหรับหลีกเลี่ยงคนชั่ว และอุบายการบรรลุนิพพาน




 :25:

อุบายในการละทิฏฐิ

ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นในอารมณ์ใด นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ใด และท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์ใด ให้พิจารณาเห็นอารมณ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นมิใช่ของเรา เรามิใช่นั่น นั่นมิใช่ตัวตนของเรา

พระผู้มีพระภาคไม่ทรงกล่าวว่า การเข้าฌาน ๑ - ฌาน ๘ เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ 


ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลากิเลสในข้อเหล่านี้ คือ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า

ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการลักทรัพย์
ชนเหล่าอื่นจักเสพเมถุนธรรม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักประพฤติพรหมจรรย์

ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวเท็จ
ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวส่อเสียด
ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ
ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำเพ้อเจ้อ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวเพ้อเจ้อ

ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น
ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีจิตพยาบาท
ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเห็นชอบ
ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความดำริชอบ

ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวาจาชอบ
ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีการงานชอบ
ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีอาชีพชอบ
ชนเหล่าอื่นจักมีความเพียรผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเพียรชอบ

ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสติชอบ
ชนเหล่าอื่นจักมีสมาธิผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสมาธิชอบ
ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีญาณชอบ
ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวิมุติชอบ

ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักปราศจากถีนมิทธะ
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักข้ามพ้นจากวิจิกิจฉา
ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความโกรธ

ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ผูกโกรธไว้
ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน
ชนเหล่าอื่นจักยกตนเทียมท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ยกตนเทียมท่าน
ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา

ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่
ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด
ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีมารยา
ชนเหล่าอื่นจักดื้อด้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดื้อด้าน

ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่ดูหมิ่นท่าน
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ว่าง่าย
ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีกัลยาณมิตร
ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนประมาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนไม่ประมาท

ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนไม่มีศรัทธา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนมีศรัทธา
ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีหิริในใจ
ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีโอตตัปปะ
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสุตะมาก

ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนเกียจคร้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปรารภความเพียร
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสติดำรงมั่น
ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนมีปัญญาทราม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนถึงพร้อมด้วยปัญญา

@@@@@@@

ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย

เราย่อมกล่าวแม้จิตตุปบาทว่า มีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็จะต้องกล่าวไปไยในการจัดทำให้สำเร็จ ด้วยกาย ด้วยวาจาเล่า

เพราะเหตุนั้นแหละ จุนทะในข้อนี้ เธอทั้งหลายพึงให้จิตเกิดขึ้นว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย


@@@@@@@

การปฏิบัติเพื่อการขัดเกลากิเลส เป็นธรรมเพื่อหลีกเลี่ยงคนชั่ว

    ผู้ที่ตนเองจมอยู่ในเปือกตมอันลึกแล้ว จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้
    ผู้ที่ตนเองไม่จมอยู่ในเปือกตมอันลึก จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปลือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
    ผู้ที่ไม่ฝึกตน ไม่แนะนำตน ไม่ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้
    ผู้ที่ฝึกตน แนะนำตน ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
    การปฏิบัติเพื่อการขัดเกลากิเลส เป็นเหตุแห่งความเป็นเบื้องบน เหตุแห่งความดับสนิท

แล้วทรงตรัสต่อไปว่า

    เหตุแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งจิตตุปบาท เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับสนิท เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้  กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เอ็นดูอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึงทำ กิจนั้นเราทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว

    นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจเถิด อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย





ขอขอบคุณ :-
อ้างอิง : สัลเลขสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๑๐๐-๑๐๙
URL : https://uttayarndham.org/node/1316

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:40:45 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan

 :25:

อ่านเพิ่มเติม :-

    • “ขอม” คือใคร? ศรีศักร วัลลิโภดม วิจารณ์ จิตร ภูมิศักดิ์
    • ขอมอยู่ไหน? ไทยอยู่นั่น ขอมกับไทย ไม่พรากจากกัน
    • เมืองสิงห์ และปราสาทเมืองสิงห์ที่แควน้อย ไม่ใช่ “ขอม” (เขมร) ?!?




กิติกรรมประกาศ : ขอขอบคุณ
- ดร. โสมสุดา ลียะวณิช รองอธิบดีกรมศิลปากร
- อาจารย์รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- คุณไมเคิล ไรท (เมฆ มณีวาจา) ที่ปรึกษาศิลปวัฒนธรรม

ขอขอบคุณ :-
ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกันยายน 2549
ผู้เขียน : ดร. ปรีดา โกมลกิติ
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 25 เมษายน พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 28 มิถุนายน 2560
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_10334

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:16:51 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



HR ต้องรู้! พนักงานลาบวชได้กี่วัน? ตามกฎหมายแรงงาน

HR หลายคนยังคงมีคำถามว่า จริงๆ แล้วตามกฎหมายแรงงาน พนักงานลาบวชได้กี่วัน? และได้รับเงินเดือนตามปกติหรือไม่? มาหาคำตอบในบทความนี้



 :25:

พนักงานลาบวชได้กี่วัน.? ตามกฎหมายแรงงาน

ในส่วนของงานราชการนั้น ถูกระบุไว้ชัดเจนว่า สามารถลาบวชได้ 120 วัน ต้องยื่นขอลาล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน โดยจะต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน แต่ตามกฎหมายแรงงานยังไม่มีกำหนดเรื่องสิทธิกาลาบวชสำหรับองค์กรเอกชนไว้ใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน ดังนั้นองค์กรเอกชนแต่ละองค์กรจึงสามารถกำหนดสิทธิวันลาบวชได้เอง โดย HR สามารถจัดให้เป็นสวัสดิการบริษัทเพิ่มเติมจากที่กฎหมายแรงงานกำหนดได้เลย

ตัวอย่างหลักเกณฑ์สิทธิการลาบวชที่องค์กรเอกชนส่วนมากกำหนดไว้ดังนี้

    1. มีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป
    2. ลาบวชได้ 15 วัน โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ
    3. ลาบวชได้ไม่เกิน 60 วัน โดยได้รับอนุมัติจากหัวหน้างาน
    4. ใช้สิทธิลาบวชได้ 1 ครั้ง ตลอดอายุการทำงาน

หากไม่ได้กำหนดไว้ ก็สามารถแนะนำให้พนักงานใช้สิทธิลากิจ ลาพักร้อน หรือใช้สิทธิวันลากิจตามที่ พรบ.คุ้มครองแรงงาน ระบุไว้ว่าการลาไปปฎิบัติธรรมทางศาสนาตามธรรมเนียมปฏิบัติ อย่าง งานบวช เป็น วันลากิจประเภทหนึ่ง ซึ่งสามารถลาแบบได้รับค่าจ้าง 3 วันต่อปี




แล้วเมื่อพนักงานเอกชนลาบวช จะได้รับเงินตามปกติหรือไม่.?

คำตอบคือ เมื่อพนักงานเอกชนลาบวช จะได้รับเงินเดือนตามปกติหรือไม่ เป็นเวลากี่วัน ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละองค์กรกำหนดเลย เพราะทางกฎหมายแรงงานก็ไม่ได้มีกำหนดในเรื่องนี้ไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยส่วนมากองค์กรเอกชนทั่วไปมักจะกำหนดสิทธิการลาบวช 15 วัน โดยได้รับค่าจ้าง หรือแล้วแต่การตกลงเป็น Case by case ไปอีกที

สรุปสิทธิการลาบวชตามกฎหมายแรงงานในองค์กรเอกชน

เมื่อกฎหมายแรงงานไม่ได้กำหนดสิทธิการลาบวชไว้ HR จึงสามารถกำหนดสิทธิการลาในองค์กรของตนเองตามความเหมาะสม หรือตามหลักเกณฑ์ที่แนะนำไว้ดังกล่างได้เลย โดยกำหนดไว้ในกฎระเบียบบริษัท เพื่อความเป็นระเบียบและชัดเจนในการทำงานร่วมกัน





ขอบคุณที่มา : https://www.humansoft.co.th/th/blog/ordination-leave?utm_source=Taboola&utm_medium=hms_tab_blog_cpc&utm_campaign=ordination-leave_1&tblci=GiAS-TOUCWbnNlLjdwtnnulcBgB8ML0IJ3ZBMLnbiatvsSDkyGQoj6ry9bzc4IQB#tblciGiAS-TOUCWbnNlLjdwtnnulcBgB8ML0IJ3ZBMLnbiatvsSDkyGQoj6ry9bzc4IQB
14/11/2023 | HR Knowledge

 4 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:44:15 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี


การเสื่อมสลายของ "ปราสาทขอม" ในดินแดนไทย มาจากสาเหตุและปัจจัยใดบ้าง.?

ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงจากการยึดถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู ผสมผสานกับพุทธมหายานของขอม มาเป็นพุทธเถรวาทลังกา เมื่อราวต้นพุทธศักราช 1800 ในดินแดนลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก ตลอดจนบริเวณที่ราบสูงอีสาน เราจะพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงช่วงแรกเริ่มของการเปลี่ยนแปลงว่ายังคงยึดถือรูปแบบสถาปัตยกรรมขอมดั่งเดิม นั่นคือ ปรางค์ประธาน ซึ่งเดิมใช้สำหรับประดิษฐานรูปเคารพของพราหมณ์ เปลี่ยนมาเป็นรูปเคารพทางพุทธศาสนาเข้าแทนที่ ส่วนอื่นๆ ของ ปราสาทขอม เช่น มณฑป หรืออาคารด้านหน้าของปรางค์นั้น สามารถดัดแปลงมาเป็นพื้นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาได้

ถึงแม้ว่าจะไม่สอดคล้องกับความต้องการพื้นที่ใช้สอยได้โดยตรง แต่ก็ถือได้ว่าเป็นทางออกที่ดีสำหรับช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ



สภาพปูนฉาบผิวนอกของปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี ที่สึกกร่อนลงตามกาลเวลา เผยให้เห็นถึงโครงสร้างอิฐก่อชิดย่อมุม อันเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของสถาปัตยกรรมปราสาทขอมในยุคแรกเริ่ม

ปราสาทขอมที่ได้รับการดัดแปลงเพื่อประโยชน์ของพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งพบว่ามีจำนวนไม่มากนัก ได้มีการใช้สอยอาคารอย่างต่อเนื่องมาได้ระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะปล่อยทิ้งร้างไปในที่สุด และเป็นที่น่าสังเกตว่าปราสาทขอมที่ได้รับการดัดแปลงประโยชน์ใช้สอยดังกล่าวนี้ จะอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ในรูปโครงสร้าง ความทรุดโทรมจะถูกจำกัดเพียงแค่เปลือกนอกเท่านั้น ส่วนปราสาทขอมที่สำคัญอื่นๆ ในบริเวณที่ราบสูงอีสานนั้น กลับไม่พบการใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง แต่เป็นการหยุดใช้งานลงโดยฉับพลันในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงศาสนาและการปกครอง จากพราหมณ์ฮินดูมาเป็นพุทธเถรวาทลังกาแทบทั้งสิ้น

ปราสาทขอมที่มิได้รับการดัดแปลงให้ใช้งานต่อเนื่องในบริเวณดังกล่าว จะถูกทิ้งร้างหรือทำลายลงด้วยสาเหตุต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งแยกโดยทั่วไปได้ ดังนี้

1. อาคารถูกทิ้งร้างให้เสื่อมโทรมลงตามสภาพธรรมชาติ
2. อาคารถูกทำลายลงโดยแรงกระทำของธรรม ชาติ เช่น แผ่นดินไหว พายุ น้ำหลาก ฟ้าผ่า
3. อาคารถูกทำลายลงโดยอัคคีภัย
4. อาคารถูกทำลายลงโดยการเสื่อมสภาพของโครงสร้าง
5. อาคารถูกทำลายลงด้วยน้ำมือมนุษย์

ในการพิจารณาการเสื่อมสลายของ ปราสาทขอม ในดินแดนไทยนั้น จำต้องศึกษาโดยละเอียดในแต่ละอาคารถึงสภาพที่เป็นอยู่ในช่วงก่อนได้รับการบูรณะว่ามีสภาพเป็นอย่างไร จากนั้นจึงเปรียบเทียบหลักฐานจากรายละเอียดของชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมที่ขุดหรือค้นพบจากบริเวณโดยรอบอาคาร เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับชิ้นส่วนที่ยังคงสภาพอยู่กับตัวอาคาร เราจะพบความแตกต่างที่บ่งบอกถึงระยะเวลาของการถูกทำลายลงและทิ้งร้างได้ว่ายาวนานไปเพียงไร เนื่องจากชิ้นส่วนของลวดลายต่างๆ มักแกะสลักจากหินทราย ซึ่งเมื่อถูกฝังกลบในชั้นดินแล้วจะคงสภาพเดิมตลอดไป ซึ่งแตกต่างกับลวดลายเหล่านั้นที่ยังคงอยู่บนตัวอาคาร ย่อมสลายตัวลงตามสภาวะการกัดกร่อนของธรรมชาติ

องค์ประกอบอีก 2 ประการ ที่มีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับการเสื่อมสลายของตัวอาคาร ได้แก่
    - รูปแบบหรือเทคนิคการก่อสร้าง และ
    - วัสดุที่นำมาใช้ว่ามีความคงทนต่อสภาพดินฟ้า หรือแรงกระทำอื่นๆ อย่างไร



ปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี


1. อาคารถูกทิ้งร้างให้เสื่อมโทรมลงตามสภาพธรรมชาติ

สภาพดินฟ้าอากาศถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการกัดกร่อนผิววัสดุอาคารปราสาทขอม ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยวัสดุหลัก 4 ประเภท ได้แก่ อิฐเปลือย อิฐฉาบปูน ศิลาแลง และหินทราย ความชื้นและความร้อนถือเป็นตัวการที่สำคัญในการทำลายวัสดุเหล่านี้ให้เสื่อมสภาพ ทุกครั้งที่อาคารเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน และถูกแผดเผาด้วยความร้อนระอุของแสงแดดในเวลาต่อมา ส่วนหนึ่งของอณูที่ยึดประกอบเป็นพื้นผิวของวัสดุจะแตกสลายลง ผิวอาคารประเภทก่ออิฐฉาบปูนจะเริ่มแตกร้าวและสลายตัวลงก่อนในชั่วอายุคน ส่วนผนังที่ก่ออิฐเผาเรียบจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าถึงหลายชั่วอายุคน

ปราสาทขอมที่ก่อสร้างด้วยวัสดุประเภทหินทรายขาว เช่น ปรางค์ประธานปราสาทพิมายนั้น จะมีอายุการใช้งานที่สูงมากนับพันปีขึ้นไปโดยไม่เสื่อมสลาย ถ้าสังเกตให้ดีจะพบลวดลายแกะสลักหินทรายบริเวณเรือนธาตุของปรางค์ประธาน ยังคงสภาพความสมบูรณ์สูงมาก แสดงถึงความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศของวัสดุที่สถา ปนิกหรือวิศวกรผู้สร้างสรรค์เลือกนำมาใช้เป็นอย่างดี

2. อาคารถูกทำลายลงโดยแรงกระทำของธรรมชาติ

นอกจากการถูกกัดกร่อนโดยสภาพดินฟ้าอากาศตามธรรมชาติแล้ว แรงกระทำโดยตรงจากธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำหลาก ฟ้าผ่า ลมพายุ หรือแม้ แต่การฝังรากลงในตัวอาคารของต้นไม้ใหญ่ ยังเป็นสาเหตุสำคัญในการพังทลายลงของอาคารโดยทั่วไป

สำหรับปราสาทขอมในไทย เราไม่พบการพังทลายโดยน้ำท่วมหรือน้ำหลาก อาจเป็นไปได้ว่าสถาปนิกจะเลือกชัยภูมิที่สูงจึงรอดพ้นสภาวะอันตรายนี้ได้ ส่วนกรณีลมพายุนั้นไม่มีผลต่ออาคารที่มีลักษณะการก่อสร้างมั่นคงด้วยอิฐและหินล้วนได้ สำหรับฟ้าผ่านั้นอาจก่อให้เกิดความร้อนต่อส่วนยอดสุดของปรางค์หรือกลศ มีตรีศูลเป็นโลหะ ทำหน้าที่เสมือนสายล่อฟ้า เป็นเหตุให้กลศอาจแตกสลายลงได้ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้อาคารพังทลายลงทั้งหลัง

สาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อโครงสร้างอาคารปราสาทขอมได้ก็คือแผ่นดินไหว ในขณะที่ผิวโลกเคลื่อนที่ไปมาในแนวราบ ร่วมกับการเคลื่อนไหวในแนวดิ่งเป็นการออสซิเลต (oscil-late) ยังผลให้เกิดความเครียดอย่างมหาศาลในวัสดุที่รองรับมวลน้ำหนักของโครงสร้างทั้งหมดที่อยู่เหนือขึ้นไป ผลก็คือวัสดุประเภทอิฐและหินที่มีความยืดหยุ่นตัวได้น้อย จะแตกร้าวไม่สามารถรับน้ำหนักได้อีกต่อไป และส่วนของอาคารที่อยู่เหนือขึ้นไปจะพังทลายลงมากองกับพื้น โดยทั่วไปแล้วตำแหน่งของจุดเครียดของวัสดุจะอยู่ที่ระดับความสูง 2 ใน 5 ของอาคาร

จากการสำรวจโดยทั่วไปแล้ว ไม่พบข้อบ่งชี้การพังทลายของปราสาทขอมในที่ราบสูงอีสานว่าเกิดจากแผ่นดินไหว ด้วยเหตุว่าหากแผ่นดินไหวเป็นสาเหตุจริง เราจะพบรอยแตกแยกของวัสดุในตำแหน่งดังกล่าวปรากฏอย่างชัดเจน และไม่เพียงแต่ปรางค์ประธานเท่านั้นที่ถูกทำลายลง แต่ปรางค์ข้างเคียงรวมทั้งอาคารส่วนประกอบอื่นๆ และกำแพงแก้วจะพังทลายลงในลักษณะเดียวกันและพร้อมกันอีกด้วย



(ซ้าย) ปรางค์ด้านทิศเหนือของวัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย, (ขวา) ปรางค์ประธานปราสาทนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร


3. อาคารถูกทำลายลงโดยอัคคีภัย

ไฟไหม้จะเป็นด้วยอุบัติเหตุหรือจงใจก็ตาม สามารถทำลายอาคารทั้งหลังลงได้ แต่คงไม่ใช่ในกรณีปราสาทขอมในไทย ด้วยเหตุว่ามีชิ้นส่วนของโครง สร้างไม้ที่เป็นวัสดุติดไฟประกอบอยู่น้อยมากจะมีก็เพียงฝ้าเพดานขนาดเล็กในห้องโถงภายในของปรางค์หรือมณฑป และโครงสร้างหลังคาส่วนประกอบอื่นของปราสาท ที่มิใช่เป็นส่วนโครงสร้างหลัก ดังนั้นประเด็นอาคารพังทลายลงอันเนื่องมาจากอัคคีภัยจึงมิใช่ประเด็นของปราสาทขอมในไทย

@@@@@@@

4. อาคารถูกทำลายลงโดยการเสื่อมสภาพของโครงสร้าง

การเสื่อมสภาพของโครงสร้าง มักเป็นสาเหตุสำคัญของการพังทลายลงในอาคารต่างๆ ที่เห็นได้ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสื่อมสภาพของฐานราก หรือฐานรากทรุดตัวนั่นเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในอาคารยุคสมัยเกี่ยวกับปราสาทขอมในไทยคือ บุโรพุทโธ ของอินโดนีเซีย ที่พื้นฐานดาดฟ้าชั้นบนของอาคารทรุดตัวลงอันเนื่องมาจากฐานที่บดอัดไว้ทรุดตัว เป็นเหตุให้สิ่งก่อสร้างทั้งหมดในชั้นบนของอาคารพังทลายลงโดยสิ้นเชิง

แต่จากการตรวจสอบสภาพฐานรากอาคารปราสาทขอมในไทยโดยทั่วไป ส่วนใหญ่ไม่พบสาเหตุดังกล่าว วิศวกรปราสาทขอมคงตระหนักถึงปัญหาข้อนี้ และก่อฐานอาคารโดยเฉพาะปรางค์ประธานที่จะสูงใหญ่เป็นพิเศษให้มีความคงทนตลอดไปได้เป็นอย่างดี สาเหตุหลักอีกประการที่พบเห็นเกิดจากการใช้หินทรายแดงเป็นวัสดุโครงสร้าง เนื่องจากหินทรายแดงมีคุณสมบัติที่สามารถกะเทาะร่อนได้ง่าย ดังนั้นการผุกร่อนของวัสดุชนิดนี้ อาจทำให้อาคารทรุดตัวและพังทลายลงได้

@@@@@@@

5. อาคารถูกทำลายลงด้วยน้ำมือมนุษย์

เมื่อธรรมชาติมิใช่สาเหตุการพังทลายของปราสาทขอมในไทยแล้ว สาเหตุสุดท้ายซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุหลักเพียงประการเดียวคือฝีมือของมนุษย์นั่นเอง การรื้อทำลายอาคารประเภทศาสนสถานโดยทั่วไปของมนุษย์ มักเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งดังนี้
    1. ขุดค้นหาสมบัติ
    2. ลักขโมยส่วนประกอบสถาปัตยกรรมของอาคาร
    3. ศึกสงคราม
    4. ความขัดแย้งทางศาสนา

เนื่องจากอาคารปราสาทขอมในไทยมีความแตกต่างจากพุทธสถานในสมัยอยุธยาที่มักจะบรรจุสิ่งสักการะหรือซุกซ่อนของมีค่าไว้ในเจดีย์ ปราสาทขอมจะไม่นิยมซุกซ่อนของมีค่าไว้ นอกจากมงคลวัตถุเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ดังนั้นการขุดค้นหาสมบัติจึงมิใช่ประเด็นสาเหตุการพังทลาย

การลักลอบขโมยชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม เช่น ทับหลัง หรือกลีบขนุน หรือส่วนประดับอื่นๆ นั้นมีพบเห็นทั่วไป เป็นเหตุให้อาคารมีลักษณะเว้าแหว่งเช่นที่ปรากฏ แต่ก็ไม่ถึงกับทำให้อาคารทั้งหลังพังทลายลง

การศึกสงครามดูเป็นเรื่องร้ายแรงมากสำหรับอาคารพุทธสถานในสุโขทัย กำแพงเพชร หรืออยุธยา รวมทั้งเมืองต่างๆ ที่ไม่อาจรอดพ้นจากการทำลายล้างของศึกสงครามได้ แต่ดูเหมือนว่าศึกสงครามของกรุงสุโขทัยและของกรุงศรีอยุธยานั้น มิใช่สาเหตุที่เกิดกับปราสาทขอมในที่ราบสูงอีสาน เนื่องจากปราสาทขอมเหล่านั้นได้หมดความสำคัญลงก่อนหน้านั้นนานแล้ว และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปรื้อทำลาย อาจเป็นด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ที่ปรางค์ขอมทั้งสามที่สุโขทัย 1 แห่ง และลพบุรีอีก 2 แห่งนั้นสามารถรอดพ้นการทำลายมาได้ ในขณะที่อาคารพุทธสถานแทบทั้งหมดถูกทำลายลง

ความขัดแย้งทางศาสนาดูจะเป็นสาเหตุหลักที่ผลักดันคนกลุ่มหนึ่งที่นับถือศาสนาหนึ่ง เมื่อความขัดแย้งหรือโกรธแค้นต่อคนอีกกลุ่มหนึ่งที่นับถืออีกศาสนาหนึ่งเข้ามาถึงจุดแตกหัก ก็จะยกพวกพากันเข้าไปรื้อถอนทุบทำลายศาสนสถานของอีกฝ่ายหนึ่ง เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในทุกศาสนา ทุกมุมโลกมาช้านาน ตั้งแต่ก่อนพุทธกาลมาจนจบปัจจุบัน และเมื่อความขัดแย้งนี้ขยายตัวเป็นวงกว้างและทวีความรุนแรงขึ้น ก็กลายเป็นสงครามศาสนา ดังนั้นทฤษฎีของความขัดแย้งหรือการเปลี่ยนแปลงศาสนาจากพราหมณ์ฮินดูผสมผสานกับพุทธมหายาน มาเป็นพุทธเถรวาทลังกาที่เคร่งครัดในยุคปลดแอกอิทธิพลขอมนั้น ดูจะเป็นประเด็นหลักที่มีน้ำหนักมากและยากที่จะปฏิเสธได้

ข้อยืนยันจากหลักฐานโบราณวัตถุ ได้แก่ การพังทลายลงของปราสาทขอมในไทยนั้นเป็นอย่างมีระบบ นั่นคือปรางค์ประธาน ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์สูงสุดของศาสนาพราหมณ์หรือวัฒนธรรมขอมจะถูกรื้อทำลาย จากนั้นส่วนยอดของปรางค์บริวารและบางส่วนของโคปุระจะถูกทำลาย ที่เหลือคือส่วนประดับต่างๆ จะถูกทำลาย เช่น หลังคาระเบียงคด สะพานนาคราช และเสานางเรียง เป็นต้น

@@@@@@@

เป็นที่น่าสังเกตว่าการพังทลายของปราสาทขอมแทบทั้งหมดในเขตอีสานสูง เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ยกเว้นอาคารประเภทอโรคยศาล หรือธรรมศาลาต่างๆ ที่สร้างไว้ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ด้อยความสำคัญในแง่สัญลักษณ์ของศาสนา ยังคงสภาพโครงสร้างที่ชัดเจนและสมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่มิได้ถูกรื้อทำลาย

ข้อสังเกตที่ชี้ชัดถึงการพังทลายของปราสาทขอมในไทยอีกประการหนึ่งว่าเป็นผลจากการกระทำของธรรมชาติหรือมนุษย์ อยู่ที่ลักษณะของเศษหรือชิ้นส่วนของโครงสร้างที่กองทับซ้อนอยู่กับที่ หรือกระจัด กระจายไปคนละทิศละทาง ในกรณีของการพังทลายโดยธรรมชาติ ไม่ว่าจะด้วยการเสื่อมสภาพของโครงสร้างหรือแรงกระทำอื่นๆ จากธรรมชาติ ชิ้นส่วนต่างๆ ของอาคารซึ่งประกอบด้วยหินก็ดี อิฐก็ดี จะแยกตัวออกจากกันเมื่อแรงยึดเหนี่ยวของวัสดุหมดไป วัสดุเหล่านั้นจะตกลงมากองที่พื้นโดยแรงโน้มถ่วงของโลก วัสดุจะแตกหักอันเป็นผลมาจากการอัดกระแทกของชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ตกตามกันลงมา การกระจัดกระจายจะอยู่ในวงจำกัด และค่อนข้างจะมีระเบียบในทิศทางของการพังทลาย

ในทางตรงกันข้าม หากการพังทลายนั้นเกิดจากการกระทำของมนุษย์แล้ว วิธีที่ง่ายและได้ผลที่สุดในยุคที่เครื่องจักรหรือระเบิดยังไม่ได้นำมาใช้ คือการใช้เชือกขนาดใหญ่คล้องส่วนต่างๆ ของยอดปรางค์ เช่น กลศ หรือกลีบขนุน และฉุดลากลงมาด้วยแรงมนุษย์หรือช้างงาน จากนั้นชิ้นส่วนที่เหลือจะเริ่มแยกตัวออกจากกันง่ายต่อการฉุดลากลงมา

ผลที่ปรากฏคือ เศษชิ้นส่วนจะกระจัดกระจายไร้ทิศทาง ไร้ระเบียบ ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมของยอดปรางค์ที่ถูกชักรอกลงมาในลำดับต้นๆ นั้น อาจตกลงดินห่างจากอาคารพอสมควรและอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ในช่วงแรกของการบูรณะอาคารปราสาทหิน กรมศิลปากรได้ขุดค้นพบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมจำนวนมากที่อยู่ในสภาพดีและสามารถนำมาตกแต่งเข้าที่เดิมได้ ซึ่งหากการพังทลายเกิดจากแรงกระทำของธรรมชาติแล้ว โอกาสที่ชิ้นส่วนเหล่านั้นจะอยู่รอดคงสภาพตามที่ปรากฏเห็นนั้นย่อมมีความเป็นไปได้น้อยมาก

@@@@@@@

ผลวิเคราะห์การเสื่อมสลายของ ปราสาทขอม ในไทย

การเสื่อมสภาพและพังทลายลงของปราสาทขอมในไทย แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะที่ชัดเจนคือ เกิดจากการทิ้งร้างและเกิดจากการทำลายโดยมนุษย์ จากการสำรวจพบว่ามีปราสาทขอมจำนวนน้อยที่รอดพ้นจากการทำลายของมนุษย์ ส่วนที่เหลือนั้นเป็นฝีมือมนุษย์แทบทั้งสิ้น

1. ในส่วนแรกที่เกิดจากการทิ้งร้างให้ผุกร่อนลงตามธรรมชาติ ได้แก่ ปราสาทขอมทั้ง 2 องค์ ในจังหวัดลพบุรี คือพระปรางค์สามยอดซึ่งสร้างด้วยศิลาแลงฉาบด้วยปูนและหินทรายแกะลวดลายในส่วนประกอบสถาปัตยกรรม นักวิชาการเชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จากนั้นก็ได้รับการปฏิสังขรณ์และสร้างต่อเติมในสมัยพระนารายณ์มหาราชยุคกรุงศรีอยุธยา ส่วนอาคารอีกหลังหนึ่งคือปราสาทปรางค์แขก สร้างด้วยอิฐเผาขัดเรียบวางซ้อนกัน ผิวนอกฉาบปูน เชื่อว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 15 และได้รับการบูรณะต่อเติมภายหลังในสมัยอยุธยา

เป็นที่น่าสังเกตว่า ปราสาทขอมทั้ง 2 องค์นี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เป็นดินทับถมของผิวโลกมีความอ่อนตัวพอสมควร กับทั้งยังก่อสร้างด้วยวัสดุที่มีความคงทนไม่มากนัก คืออิฐและศิลาแลง ฉาบด้วยปูน แต่สภาพอาคารทั้งสองยังอยู่ในลักษณะสมบูรณ์ทางโครงสร้าง จากฐานถึงยอดอาคาร สภาพผิวของอาคาร ปราสาทปรางค์แขก ซึ่งมีอายุมากกว่าปรางค์สามยอด ไม่ต่ำกว่า 200 ปี จะอยู่ในสภาพที่สึกกร่อนมากกว่าตามธรรมชาติของวัสดุที่นำมาใช้ สิ่งที่น่าสนใจคือปราสาททั้งสองนี้ รอด พ้นจากการทำลายของมนุษย์ทั้งๆ ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ของศึกสงครามตลอดระยะเวลา 400 ปีเต็ม ย่อมเป็นหลักฐานยืนยันได้ชัดเจนว่าอาคารปราสาทขอม ได้เลือกใช้เทคนิคและวัสดุการก่อสร้างที่สามารถยืนหยัดต้านภาวะการทำลายของธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

อาคารปราสาทขอมอีก 2 องค์ที่รอดพ้นจากการทำลาย และคงสภาพโครงสร้างดั่งเดิมจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ปรางค์ด้านทิศเหนือของวัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย และปรางค์ประธาน ปราสาทนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร ซึ่งอาคารทั้งสองได้มีการใช้งานต่อเนื่องที่ยาวนาน สำหรับปราสาทนารายณ์เจงเวงเป็นศิลปะแบบบาปวน สร้างด้วยศิลาแลงเป็นฐาน จากเรือนธาตุขึ้นไปจนจบส่วนยอดเป็นหินทราย โครง สร้างหลักจากส่วนฐานอาคารจนถึงส่วนยอดยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ส่วนบนของมุมด้านหน้าพังทลายลง สำหรับปราสาทขอมด้านทิศเหนือของวัดพระพายหลวงนั้น ยังคงสภาพโครงสร้างที่ดี เชื่อว่ามีการใช้งานต่อเนื่องระยะหนึ่ง

ส่วนปรางค์ประธานองค์กลางนั้น ได้รับการดัดแปลงเป็นส่วนหนึ่งของอาคารใหม่ที่สร้างต่อเติมเชื่อมเข้าหาจากด้านตะวันออก และสร้างพระพุทธรูปอิงอยู่บนผนังนั้น อาคารทั้งหลังรวมทั้งปรางค์ประธานถูกทำลายลงจากการศึกสงคราม ซึ่งปัจจุบันยังคงเหลือซากอาคารให้เห็นเป็นหลักฐานชัดเจน ส่วนปรางค์ด้านทิศใต้ได้ถูกรื้อถอนทำลายลงก่อนหน้านั้นนานแล้ว ทั้ง 2 อาคารปราสาทขอมเป็นตัวอย่างที่ดีถึงความคงทนถาวรต่อสภาพดินฟ้าอากาศของการก่อสร้าง

2. ส่วนที่ 2 ของปราสาทขอมในไทย เป็นลักษณะของการเสื่อมสลายอันเนื่องมาจากการทำลายของมนุษย์ อาจเรียกได้ว่าอาคารปราสาทขอมแทบทุกอาคารในเขตอีสานสูง อันได้แก่ โคราช บุรีรัมย์ ศรีสะ เกษ สุรินทร์ พังทลายลงโดยฝีมือคน ยกเว้นอาคารประเภทธรรมศาลา หรืออโรคยศาล ซึ่งจำนวนหนึ่งยังคงสภาพโครงสร้างที่ดีและเสื่อมสลายลงตามสภาพธรรมชาติในส่วนที่เป็นรายละเอียดของผิวนอกอาคาร



(ซ้าย) ปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ก่อนการบูรณะ, (ขวา) ปรางค์พรหมทัต ปราสาทพิมาย


การพังทลายของปราสาทพิมาย

อาคารปราสาทขอมที่เป็นตัวอย่างชัดเจนของการพังทลายโดยฝีมือมนุษย์ ได้แก่ ปราสาทพิมาย อาคารที่โดดเด่นที่สุดของสถาปัตยกรรมขอมในไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมานั่นเอง

ภาพถ่ายของสิ่งก่อสร้างก่อนการบูรณะโดยกรมศิลปากร จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งมีศาสตรา จารย์ หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ผู้อำนวยการบูรณะ และนายแบว์นาร์ด ฟิลลิปป์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสร่วมอยู่ด้วย ในช่วงปี พ.ศ. 2507-12 เป็นหลักฐานที่ดี ภาพถ่ายได้แสดงถึงอาคารหลักที่สำคัญทั้งสาม ได้แก่ ปรางค์ประธาน ปรางค์หินแดง ปรางค์พรหมทัต ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าปรางค์ประธานนั้น ส่วนยอดจะขาดหายไป คงเหลือแต่เฉพาะชั้นล่างสุดของวิมานที่ยังปรากฏครบสมบูรณ์ทั้งนาคปักและบันแถลง รวมถึงรายละเอียดสถาปัตยกรรมอื่นๆ ส่วนปรางค์หินแดงนั้น โครงสร้าง พังทลายลงมาเป็นแนวตั้งส่วนหนึ่ง สำหรับปรางค์พรหมทัตยังสมบูรณ์ทางโครงสร้างหากรายละเอียดสถาปัตย กรรมนั้นไม่ปรากฏให้เห็น



ปรางค์หินแดง ปราสาทพิมาย

ในลักษณะโครงสร้างของอาคารทั้งสาม เป็นการก่อด้วยหินสกัดผิวเรียบวางซ้อนกันจากฐานถึงส่วนยอดของโครงสร้างในลักษณะเดียวกันหมด ส่วนวัสดุที่นำมาใช้นั้นแตกต่างกันออกไป ปรางค์ประธานใช้หินทรายขาว ปรางค์พรหมทัตใช้ศิลาแลง ส่วนปรางค์หินแดงใช้หินทรายแดง

ในแง่วัสดุนั้นอาจกล่าวได้ว่ามีความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศและกาลเวลาที่แตกต่างกันออกไป หิน ทรายขาวจะมีความคงทนสูงสุดต่อดินฟ้าอากาศและอายุใช้งานยาวนานหลายพันปีไม่เสื่อมสภาพ ส่วนหินทรายแดงจะมีจุดอ่อนตรงที่สามารถแตกล่อนได้เมื่อกระทบความชื้นและแสงแดดสลับกันไป และศิลาแลงนั้น ถึงแม้จะมีความแกร่งน้อยกว่าหินทรายแดง แต่ก็ไม่แตกล่อนได้ง่าย

ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบภาพถ่ายดั่งเดิมก่อนการบูรณะกับคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาใช้แล้ว ภาพของปรางค์หินแดงและปรางค์พรหมทัตดูจะสอดคล้องกันดี เนื่องจากการแตกตัวของหินทรายแดงจะทำให้บางส่วนของโครงสร้างอ่อนตัวไม่สามารถรับน้ำหนักตัวเองได้ และพังทลายลงตามแรงโน้มถ่วงของโลกในแนวตั้ง ส่วนปรางค์พรหมทัตยังคงยืนหยัดต่อไปจากฐานถึงส่วนยอดอาคารอีกได้นานนับพันปี

ในส่วนของภาพถ่ายที่ไม่สอดคล้องกับความจริงของคุณสมบัติของวัตถุ และค้านกับกรรมวิธีการก่อสร้าง นั่นคือ ปรางค์ประธานที่สร้างด้วยหินทรายขาวซึ่งในความเป็นจริงแล้วปรางค์ประธานควรจะมีสภาพที่สมบูรณ์แบบดังภาพถ่ายปัจจุบันหลังการบูรณะ มิใช่ภาพที่เห็นก่อนการบูรณะ เนื่องจากความแข็งแกร่งทนทานอันเป็นคุณสมบัติเด่นของหินทรายขาว จากการพิจารณาภาพถ่ายก่อนการบูรณะ เราจะพบเส้นแนวฐานอาคารที่ตรงไม่ทรุดเอียง แสดงว่าไม่มีปัญหาของฐานรากทรุดตัว

ในบริเวณโครงสร้างหลักที่รับน้ำหนักจากส่วนยอดอาคารหรือเรือนธาตุนั้น ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ราวกับเพิ่งสร้างเสร็จได้ไม่นาน จากการสำรวจด้วยตาเปล่า ไม่พบรอยแตกอันเกิดจากแรงเค้นของแผ่นดินไหว แสดงให้เห็นว่าแรงกระทำของธรรมชาติมิใช่ปัญหา ดังนั้นคำตอบเดียวที่ยังคงเหลือก็คือฝีมือมนุษย์ ซึ่งหากไม่มีการกระทำของมนุษย์แล้วปรางค์ประธานจะอยู่ในสภาพโครงสร้างที่สมบูรณ์ ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน



ปรางค์สีดา จังหวัดนครราชสีมา

อาคารปราสาทพิมาย เป็นหนึ่งในจำนวน 37 อาคารสิ่งก่อสร้างแบบปราสาทขอมที่ขึ้นทะเบียนไว้กับทำเนียบโบราณสถานขอม ในเขตจังหวัดนครราชสีมา และเมื่อศึกษาดูจะพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นการทำลายโดยฝีมือมนุษย์ ซึ่งในจำนวนนี้อาจมีแรงกระทำของธรรมชาติร่วมอยู่ด้วย เช่น ปรางค์บ้านสีดา ที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เราจะพบรอยร้าวเริ่มจากฐานขึ้นไปและแยกตัวเพิ่มขึ้นจนถึงส่วนบนของโครงสร้างที่ยังคงเหลืออยู่ อันเป็นหลักฐานของการทรุดตัวของฐานราก และเป็นสาเหตุหลักของการพังทลาย ปัญหาการทรุดตัวของฐานรากยังพบที่ปราสาทหินโนนกู่ และปราสาทหินเมืองเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา แต่โดยภาพรวมแล้วปัญหาการพังทลายยังคงมาจากมนุษย์เป็นสาเหตุหลัก

นอกจากปราสาทขอมที่จังหวัดนครราชสีมาจำนวน 37 แห่งแล้ว ยังมีที่บุรีรัมย์อีก 50 แห่ง ซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้คือปราสาทพนมรุ้งที่รู้จักกันดี ส่วนที่สุรินทร์มีอยู่จำนวน 31 แห่ง จังหวัดชัยภูมิ 6 แห่ง จังหวัดร้อยเอ็ด 14 แห่ง จังหวัดศรีสะเกษ 11 แห่ง และจังหวัดอุบลราชธานีอีก 6 แห่ง รวมเป็นปราสาทขอมในอีสานสูงทั้งสิ้น 155 แห่ง ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับทำเนียบโบราณสถานขอมในไทย ของกรมศิลปากร และยังคงทิ้งหลักฐานของการพังทลายให้ศึกษาต่อไปในอนาคต



ปราสาทพิมายระหว่างการบูรณะ


สรุปข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเสื่อมสลายของ ปราสาทขอม ในไทย

เป็นที่น่าสังเกตว่าอาคารปราสาทขอมที่สำคัญทั้งสองในลพบุรีและปรางค์วัดพระพายหลวงในสุโขทัยนั้นยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์รอดพ้นจากการถูกทำลาย แต่ส่วนที่ได้รับการต่อเติมของปรางค์ทั้งสามในสมัยอยุธยาเพื่อพิธีกรรมทางพุทธศาสนากลับถูกทำลายลงโดยสิ้นเชิงจากศึกสงคราม

แต่ในทางกลับกันอาคารปราสาทขอมอีกจำนวนมากมายในบริเวณที่ราบสูงอีสานเกือบจะเรียกได้ว่าทั้งหมดของจำนวน 155 แห่งถูกทำลายลง ยกเว้น อโรคยศาลและธรรมศาลา จำนวนเพียง 3-4 แห่งที่รอดพ้นจากการถูกทำลาย และเป็นที่น่าสังเกตว่า ในกลุ่มปราสาทตาเมือนทั้งสาม ได้แก่ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊จ และปราสาทตาเมือน ที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์นั้น ปรางค์ประธานของปราสาทตาเมือนธม อันเป็นศาสนสถานของพราหมณ์ฮินดูที่มีความสำคัญมาก และเป็นที่ประดิษฐานของสวยัมภูลึงค์ หรือองค์ศิวลึงค์จากแท่งหินธรรมชาติ



ปราสาทพิมายหลังการบูรณะ

สำหรับปรางค์ประธานและอาคารสิ่งก่อสร้างโดยรอบซึ่งสร้างขึ้นจากหินทราย เป็นวัสดุหลักได้ถูกรื้อทำลายลง ในขณะที่ปราสาทตาเมือนโต๊จและปราสาทตาเมือนซึ่งเป็นอโรคยศาลและธรรมศาลาที่สร้างขึ้นในยุคสมัยเดียวกันและตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ด้วยศิลาแลงอันเป็นวัสดุที่ด้อยคุณภาพและมีความคงทนน้อยกว่าหินทรายมาก เรากลับพบปรางค์ประธานปราสาทตาเมือนโต๊จยังคงสภาพเดิม ส่วนปราสาทตาเมือนนั้น เราพบด้านหน้าของอาคารพังทลายลงบางส่วนในแนวตั้ง เผยให้เห็นลักษณะโครงสร้างอาคารอย่างชัดเจนจากภาพถ่ายระหว่างการบูรณะ

ข้อสรุปพอจะกล่าวได้ว่า อาคาร ปราสาทขอม ในบริเวณที่ราบสูงอีสานโดยรวมมิได้เสื่อมสลายลงตามธรรมชาติหรือถูกทำลายลงด้วยพลังธรรมชาติอันได้แก่ พายุ น้ำท่วม เพลิงไหม้ หรือแผ่นดินไหว ส่วนการเสื่อมสลายของโครงสร้าง หรือการทรุดตัวของฐานอาคารก็มิใช่สาเหตุหลัก ซึ่งผลของการศึกษานี้กลับชี้ให้เห็นว่า การพังทลายของปราสาทขอมในบริเวณที่ราบสูงอีสาน เป็นการกระทำของมนุษย์นั่นเอง และหลักฐานจากตัวอย่างที่พบเห็นนั้นชัดเจนมาก แทบจะกล่าวได้ว่าไม่มีปรางค์ประธานของปราสาทขอมองค์ใดบริเวณที่ราบสูงอีสานที่รอดพ้นจากการทำลาย



ปรางค์ประธานปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์

ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า อาคารสถาปัตยกรรมหลักของปราสาทขอมที่มีความสำคัญมากในบริเวณที่ราบสูง อีสาน อันได้แก่ ปราสาทพิมาย ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงเขาพระวิหาร ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษนั้น ปรางค์ประธานซึ่งเปรียบเหมือนหัวใจของปราสาทขอมจะถูกทำลายมากที่สุด จากนั้นส่วนที่มีความสำคัญรองลงมา เช่น ปรางค์บริวาร โคปุระ กำแพงแก้ว หรือบรรณาลัยจะถูกทำลายบางส่วนตามลำดับเหมือนกันหมด

ส่วนอาคารปราสาทขอมอื่นๆ ที่ด้อยความสำคัญลงมา ถูกทำลายด้วยความรุนแรงที่ไม่ด้อยลง ผลคืออาคารส่วนใหญ่ถูกทำลายลงจนแทบไม่เหลือสภาพเดิมให้เห็น

หลักฐานของการทำลายล้างทั้งหมดคล้ายกับจะบอกคนรุ่นหลังถึงเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งที่มาเยือนดินแดนแห่งนี้ เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดถอนรากถอนโคน โดยไม่อาจหวนกลับมาใหม่ของวัฒน ธรรมขอมในดินแดนไทย

คงเป็นเรื่องที่นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ต้องขบคิดและขุดค้นหาหลักฐานเรื่องราวอีกมากว่าเกิดอะไรขึ้นในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนจากการนับถือพราหมณ์ฮินดู และพุทธมหายาน มาเป็นพุทธเถรวาทลังกา พร้อมกับการเปลี่ยนจากอารยธรรมขอมมาเป็นสยาม



ธรรมศาลาปราสาทตาเมือน ระหว่างการบูรณะ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแบบรุนแรงและฉับพลันในบริเวณอีสานสูงนั้นมีความเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใดกับสงครามปลดแอกของพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวที่สุโขทัย และเหตุการณ์ที่มิอาจ มองข้ามไปได้คงเป็นเรื่องราวจากบันทึกจดหมายเหตุโจวต้ากวาน เลขาท่านทูตจีนผู้ไปเยือนกัมพูชาในปี พ.ศ. 1839 ที่กล่าวถึงกองทัพเสียมที่เข้าปิดล้อมพระนครหลวง มีการรบพุ่งกันจนหมู่บ้านกลายเป็นที่โล่ง และส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงศาสนาและการปกครองในกัมพูชา ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของอิทธิพลอารย ธรรมขอมและพราหมณ์ฮินดู มาเป็นระบบกษัตริย์ ตามพุทธคติและการนับถือพุทธศาสนาในแบบฉบับของเถรวาทลังกาเป็นหลัก

ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่บริเวณอีสานสูงอย่างไร คำถามต่างๆ คงไม่สิ้นสุดลงจนกว่าจะได้คำตอบว่าอะไรเป็นเหตุแห่งแรงบันดาลใจให้มีการปฏิบัติการครั้งสำคัญนี้ และใครเป็นแกนนำของขบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คำถามอาจเลยเถิดไปถึงว่าแกนนำที่สำคัญเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับแกนนำที่ไปปลดแอกสุโขทัย และกองทัพเสียมที่ไปปิดล้อมพระนครหลวงกัมพูชาตามคำบอกเล่าของ โจวต้ากวานอย่างไร เนื่องจากช่วงเวลาของเหตุการณ์สำคัญทั้งสุโขทัยก็ดี ที่ราบสูงอีสานก็ดี และที่พระนครหลวงก็ดี ต่างมีความคาบเกี่ยวกันในระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ที่ตามมาจากการทำลายล้างอิทธิพลขอมในบริเวณที่ราบสูงอีสานได้ปิดฉากวัฒนธรรมขอมที่ฝังรากลึกไม่น้อยกว่า 400 ปีในดินแดนแห่งนี้ลงโดยสิ้นเชิง และเปิดศักราชใหม่ให้แก่วัฒนธรรมที่มีพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทจากลังกาเป็นแบบฉบับและเจริญงอกงามมาจนปัจจุบัน

 5 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:20:00 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



“สมเด็จพระมหาวีรวงศ์” ย้ำวัดต้องสร้างศรัทธา-ทำประโยชน์ต่อสังคม

"สมเด็จพระมหาวีรวงศ์" ประธานกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมกล่าวให้โอวาทต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ประจำปี 2567

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณูปการของ มส. ประธานกรรมการอำนวยการ ขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ประจำปี 2567 เพื่อขับเคลื่อนโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ที่วัดเขียนเขต จ.ปทุมธานี พร้อมทั้งกล่าวให้โอวาทเปิดการประชุม ว่า

โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เป็นหนึ่งในกิจการพระพุทธศาสนา มุ่งพัฒนาวัดและชุมชนให้สะอาด เรียบร้อย รื่นรมย์ เป็นศูนย์การเรียนรู้และการพัฒนาจิตใจของประชาชน รวมทั้งไปถึงการจัดการมรดกวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน มีการลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ 15 หน่วยงาน หัวใจของโครงการนี้ คือ การสร้างสายสัมพันธ์ความร่วมแรงร่วมใจของวัด ชุมชน และภาคเครือข่ายในท้องถิ่นด้วยอุดมการณ์ร่วมกัน คือ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และให้วัดเป็นสถานสัปปายะ สำหรับผู้เข้ามาพึ่งพาบำบัดทุกข์และเสริมสร้างความสุขทั้งแก่กายและใจ




สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กล่าวต่อไปว่า เราอยากให้ทุกคนมองวัดด้วยความเชื่อ ความศรัทธา เลื่อมใส ให้สำนึกว่าวัดเป็นสมบัติของทุกคน จะได้เกิดการมีส่วนร่วมในการเข้ามาพัฒนาวัดทั้งด้านกายภาพและจิตใจ ในการบ่มเพาะคุณธรรม เกิดสุขภาพจิตที่ดี โครงการนี้เราพยายามจะทำให้ชาวบ้านมาร่วมเป็นเจ้าของวัด ช่วยดูแลวัด และต้องทำให้คนรุ่นใหม่เห็นว่า วัดทำประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างไร เป็นผู้นำทางศีลธรรม จริยธรรม ได้อย่างไร

ขณะเดียวกัน เราต้องทำให้พระสงฆ์เป็นผู้นำทางคุณธรรม จริยธรม ประพฤติดี ปฏิบัติชอบด้วย อย่าให้มัวหมองแก่พระศาสนา ยิ่งในปัจจุบันเด็กเกิดน้อยลง ซึ่งกระทบถึงคณะสงฆ์ด้วย เพราะจะทำให้คนเข้ามาบวชน้อยลงไปอีก ซึ่งในประมาณ 10 ปีข้างหน้า จะเกิดปัญหามากขึ้นแน่นอน จึงอยากให้ช่วยกันคิดด้วยว่าในเรื่องบุคลากรของคณะสงฆ์จะดำเนินการอย่างไร




พระธรรมรัตนาภรณ์ ประธานกรรมการบริหารกลางขับเคลื่อนโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข กล่าวว่า สำหรับพันธกิจของโครงการที่กำหนดไว้ คือ

   1. พัฒนาพื้นที่ทางกายภาพของวัดและชุมชนให้สะอาด ร่มรื่น สวยงาม เป็นสถานที่สัปปายะ
   2. พัฒนาพื้นที่ทางสังคมและการเรียนรู้ของวัด ชุมชน ด้วยวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ
   3. การพัฒนาพื้นที่จิตใจและปัญญาของวัดและชุมชนตามแนวพระพุทธศาสนา โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้าง “วัดสวยด้วยความสุข” และ “การสร้างวัดในใจคน”

นอกจากนี้ ยังเสนอแนวทางยกระดับการพัฒนาโครงการฯ ในส่วนของการพัฒนาพื้นที่ทางสังคมและจิตใจ การเสริมกิจกรรม Big Cleaning day และเจริญพระพุทธมนต์ ในวันสำคัญต่าง ๆ รวมถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ลงในแผนปฏิบัติการประจำปีของโครงการด้วย





Thank to : https://www.dailynews.co.th/news/3374178/
25 เมษายน 2567 ,13:55 น. | การศึกษา-ศาสนา

 6 
 เมื่อ: เมษายน 25, 2024, 01:54:19 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 7 
 เมื่อ: เมษายน 25, 2024, 12:56:17 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 8 
 เมื่อ: เมษายน 25, 2024, 09:53:11 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 9 
 เมื่อ: เมษายน 25, 2024, 09:44:01 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

พระไพศาล วิสาโล

พระไพศาล วิสาโล แนะหลักธรรมก้าวพ้น ‘ขัดแย้ง’ ยก ‘โลกธรรม 8’ เป็นแนวทางนักการเมือง



 :25:

แนะหลักธรรมก้าวพ้น ‘ขัดแย้ง’ ยก ‘โลกธรรม 8’ เป็นแนวทางนักการเมือง

ในทำเนียบพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบยุคนี้ ชื่อของพระไพศาล วิสาโล วัย 67 ปี เจ้าอาวสวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ ก็อยู่ในนั้นด้วย ท่านบวชมา 41 พรรษา นอกจากเป็นพระนักเผยแผ่ด้วยการเทศน์และการเขียนหนังสือหลายเล่มแล้ว ท่านยังเป็นพระอนุรักษ์ป่าที่ทำให้ผืนป่าใน จ.ชัยภูมิกลับมาเขียวขจี มีโอกาสไปกราบนมัสการท่านที่วัดป่ามหาวัน จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นอีกวัดที่ท่านดูแลอยู่ เลยได้สนทนากับท่านในหลากหลายหัวข้อ

พระไพศาลเล่าว่า ที่ผ่านมาเขียนหนังสือหลายแนว ตั้งแต่เรื่องสิ่งแวดล้อม สันติวิธี เหตุแห่งความขัดแย้ง เรื่องปฏิรูปพระพุทธศาสนา เรื่องการรักษาป่า และเรื่องธรรมะ เรื่องของการฝึกจิตฝึกใจในการแก้ปัญหาชีวิต แก้ปัญหาความทุกข์ ในแต่ละเล่มเนื้อหาแตกต่างกันไป

ใจความสำคัญคือให้คนได้เกิดความตระหนักในเรื่องส่วนรวม และช่วยกันทำให้สังคมดีขึ้น ขณะเดียวกันก็ได้รู้จักการแก้ปัญหาส่วนตัว ทั้งในระดับครอบครัว จนถึงระดับจิตใจ

ซึ่งอาตมาเน้นในการเปลี่ยนแปลงสังคม แก้ปัญหาสังคมกับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง แก้ปัญหาตัวเอง ซึ่งก็เรื่องเดียวกันแหละ โดยอาศัยธรรมะ อาศัยมุมมองต่อชีวิตและสังคมที่มีจุดร่วมเดียวกันคือว่า ความเมตตา ความมีสติ ความรู้สึกตัว และการเข้าใจความจริงของชีวิตและโลก ซึ่งเป็นแกนกลางที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม และเปลี่ยนแปลงตัวเองได้


@@@@@@@

พระพุทธศาสนาแกนกลางอยู่ที่ธรรมะ ธรรมะก็มีอยู่ 2 ความหมาย
    ที่หนึ่ง คือ ความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงและโลก ในความจริงของชีวิตและโลก ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเท่าไร ถ้าพูดง่ายๆ หลักการใหญ่ๆ อันนี้เรียกว่าสัจธรรม
    อีกอันหนึ่งคือ ข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ในการเกี่ยวข้องกับผู้อื่น ที่เรียกว่าจริยธรรม
    โดยหลักการแล้ว สัจธรรมและจริยธรรมก็ยังใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย

กับคำถามที่ว่า เวลานี้ในสังคมไทยมีความแตกแยกกันเยอะ ควรใช้หลักธรรมคำสอนอย่างไรที่จะทำให้สังคมลดความแตกแยกลงได้

เจ้าอาวสวัดป่าสุคะโตอธิบายว่า ต้องเปิดใจฟังให้มากขึ้น และอย่าด่วนตัดสิน เพราะว่าสิ่งที่ได้ฟังมาผ่านสื่อ อาจไม่ใช่ความจริง หรืออาจเป็นแค่ความจริงเพียงส่วนเดียว และคนทุกวันนี้รับรู้ความเป็นจริงผ่านสื่อ ซึ่งมีการตีความ มีการกลั่นกรอง รวมทั้งอาจมีอคติเข้ามาแทรก จึงไม่ควรด่วนสรุปในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังทางสื่อ

ควรเปิดใจรับฟังข้อมูลจากสื่อต่างๆ ที่หลากหลาย เพราะสื่อยุคนี้มักเลือกข้าง เพราะถ้าเลือกข้างจะอยู่ได้ ถ้าไม่เลือกข้างเลยอยู่ยาก ฉะนั้น ในยุคปัจจุบันผู้คนไม่สามารถที่จะพึ่งพาสื่ออันใดอันหนึ่งได้ แต่ต้องรับรู้ผ่านสื่อที่หลากหลาย และมาใคร่ครวญ กลั่นกรองและหาข้อสรุป

ต้องมีสิ่งหนึ่งที่ทางพุทธเรียกว่า สัจจานุรักษ์ คือ หลักธรรมที่ว่าอย่าเพิ่งด่วนสรุปความคิดของตัวเองเท่านั้นที่ถูก ต้องเปิดใจกว้าง ไม่ด่วนสรุป หรือปักใจเชื่อว่าความคิดความเห็น ข้อมูลข่าวสารของเราเท่านั้นที่ถูก ตรงนี้สำคัญมาก บางคนเรียกว่ามีขันติธรรม คือ ใจกว้าง ไม่คับแคบ ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน คือการมีสติ และต้องมีปัญญาในการใคร่ครวญ เพื่อแยกแยะว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร

@@@@@@@

อย่างไรก็ตาม ปัญญาจะใช้การได้ต้องมีหลักธรรมข้อหนึ่ง ที่เรียกว่า กาลามสูตร จะมี 10 ข้อ เป็นข้อทักท้วงหรือตักเตือน อาทิ อย่าเชื่อเพียงเพราะได้ยินเสียงเล่าลือ และอย่าเชื่อเพราะเป็นครูของเรา ฯลฯ

เมื่อให้ท่านแนะนำหลักธรรมคำสอนที่อยากให้นักการเมือง หรือผู้บริหารในประเทศปฏิบัติเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และเพื่อให้บ้านเมืองเจริญ-สงบสุข

    “อยากให้ตระหนักถึงหลักธรรม เรื่องโลกธรรม 8 ก็มีอยู่ 2 ส่วน คือ โลกธรรมฝ่ายบวก และฝ่ายลบ ซึ่งแยกจากกันไม่ออก ได้ลาภกับเสื่อมลาภเป็นของคู่กัน ได้ยศกับเสื่อมยศเป็นของคู่กัน สรรเสริญกับนินทาว่าร้ายเป็นของคู่กัน สุขและทุกข์ ตอนนี้นักการเมืองจำนวนมาก เขาหลงใหลเรื่องของยศ ทรัพย์ อำนาจกันมาก และคิดว่าถ้ามียศ มีทรัพย์ มีอำนาจ สามารถจะทำอะไรได้ทุกอย่าง และจะได้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดในชีวิตของเขา มีความสุข”

    “แต่อันนี้เป็นความหลง เพราะถ้านำมาเป็นสรณะแล้ว จะนำไปสู่การคอร์รัปชั่น ไปสู่การแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว แต่คนที่เข้าใจเรื่องโลกธรรม 8 เขาก็จะใช้หน้าที่และอำนาจเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวม ซึ่งจะทำให้เขามีความสุขอย่างแท้จริง”

    “และทำให้ชีวิตของเขามีคุณค่าและมีความหมาย”



พระไพศาล วิสาโล

ในชีวิตการบวช 41 พรรษา พระไพศาลเล่าถึงคำสอนของครูบาอาจารย์ที่นำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องว่า มีหลายท่าน ตอนเป็นวัยรุ่นก็มีพระอาจารย์พุทธทาส และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ต่อมาก็มีหลวงพ่อเทียน จิตตะสุโภ หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ และครูบาอาจารย์ที่อาตมาได้เรียนรู้ผ่านหนังสือ อย่างหลวงพ่อชา สุภัทโท หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นต้น ท่านเหล่านี้คือครูบาอาจารย์ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตการบวชของอาตมา ทำให้อาตมาบวชได้นานถึงทุกวันนี้

สิ่งที่ได้สำคัญๆ ทำให้เข้าใจว่าพระพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรม ไม่ใช่เรื่องของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปาฏิหาริย์ เป็นเรื่องของสัจธรรมความจริงที่เป็นสากล และที่สำคัญอีกอย่างคือ ได้ค้นพบวิธีในการฝึกจิตฝึกใจ ให้มีความทุกข์น้อยลงคือ มีธรรมะมากขึ้น

    “คำสอนของหลวงปู่ชาก็ได้หลายอย่าง อย่างเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่า เรื่องการฝึกจิต เรื่องเจริญภาวนา รวมทั้งการให้ความสำคัญกับสังฆะ เรื่องธรรมวินัย ส่วนคำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาสที่ว่าไว้ ชีวิตที่ดีที่สุดคือชีวิตที่สงบและเป็นประโยชน์ นี่คือหลักการสำคัญเลยที่ช่วยประคับประคอง หล่อหลอมชีวิตการบวชของอาตมาให้มาถึงจุดนี้ ถ้าเกิดเราสามารถเข้าถึงภาวะที่สงบเย็น และใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ได้ ก็ไม่มีคำถามแล้วว่าเกิดมาทำไม อยู่ไปทำไม”

ถามว่า มองอย่างไรตอนนี้ชาวต่างชาติเข้ามาบวชเรียนพระพุทธศาสนาในบ้านเรามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะสายวัดป่า สายวิปัสสนา

พระไพศาลกล่าวว่า อาตมามองว่าเป็นภาพสะท้อนว่าความสะดวกสบาย ความมั่งคั่ง หรือว่าความสำเร็จในทางโลก ไม่ใช่คำตอบที่แท้ของชีวิต อาจจะช่วยทำให้เข้าถึงคำตอบของชีวิตได้ แต่ไม่ใช่ตัวคำตอบที่แท้ ชาวต่างชาติที่ได้ประสบภาวะที่พรั่งพร้อมทางวัตถุ แม้ว่าจะเป็นสังคมที่ให้หลักประกันทางด้านสันติภาพ และสิทธิหลายอย่างที่น่าจะทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น แต่สิ่งเหล่านั้นยังไม่พอ

@@@@@@@

สิ่งที่ขาดหายไปคือความหมายในทางจิตใจ หรือถ้าพูดง่ายๆ เป็นรูปธรรมคือ ความสงบทางจิตใจ ความพรั่งพร้อมทางวัตถุ ความสะดวกสบายที่เทคโนโลยีไม่สามารถทำให้เกิดความสงบอย่างแท้จริงในจิตใจ คนเราถ้าขาดความสงบในจิตใจ ก็ไม่มีทางที่จะพบความสุขที่แท้ได้ และท่านเหล่านั้นพบว่าพระพุทธศาสนาให้คำตอบในเรื่องนี้ได้ ทำให้พบความสงบในจิตใจ

การที่มีชาวต่างชาติมาศึกษาพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะลงมาปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ยังมีคนที่เห็นคุณค่า และสามารถจะนำมาใช้ในการแก้ทุกข์ของตัวเองได้อย่างแท้จริง ธรรมะในพระพุทธศาสนาจึงไม่ใช่เรื่องล้าสมัย ยังทันยุคทันสมัย ไม่ว่าโลกจะพัฒนาไปในทางใด สุดท้ายคนก็ยังหนีความทุกข์ไม่พ้น ท่านเหล่านั้นก็เป็นหลักฐานว่า หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีอีกอย่างหนึ่งคือสมสมัย รวมทั้งยังเหมาะกับคนในยุคปัจจุบัน และยุคต่อๆ ไปด้วย

ประเด็นที่ว่าเวลาผู้คนในบ้านเราดูเหมือนจะมุ่งไปสายมูมากกว่าปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในทางพุทธศาสนา หลายวัดเน้นสร้างวัตถุกันมาก

พระไพศาลพูดถึงเรื่องนี้ว่า “อาตมาไม่ค่อยแน่ใจว่าคนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา นับถือศาสนาบริโภคนิยมมากกว่า จุดมุ่งหมายส่วนใหญ่ คือ รวย รวย รวย จริงๆ แล้วโดยแก่นแท้เขานับถือศาสนาบริโภคนิยม ศาสนาวัตถุนิยม ซึ่งอาจถูกห่อคลุมด้วยลัทธิธรรมเนียมทางพระพุทธศาสนา รูปแบบเป็นพระพุทธศาสนา แต่เนื้อในเป็นบริโภคนิยม และเพราะเหตุนี้วัดหรือพระ จึงตอบสนองความต้องการในเชิงบริโภคนิยมของญาติโยม ด้วยการสร้างวัดวาอารามแบบนั้น หรือการขายวัตถุมงคล หรือที่เรียกว่า พุทธพาณิชย์


@@@@@@@

และนี่คือเหตุว่าทำไมความเชื่อที่เรียกว่าสายมูจึงแพร่ระบาด เพราะเขาเชื่อว่าสิ่งที่เขาศรัทธานับถือจะนำมาซึ่งโชคลาภ ความสำเร็จทางโลก ทำให้มั่งมี ทำให้ร่ำรวย ในเมื่อมีความเชื่อแบบนี้ การที่จะหวังพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อดลบันดาลให้สมปรารถนาจึงเป็นเรื่องที่แพร่ระบาด

อย่างญาติโยมที่มาวัดอาตมาบางคนก็คอยเฝ้าดูว่าอาตมาจะให้เลขอะไรหรือเปล่า หรือไม่ก็มาวัดมาทำบุญ เพราะคิดว่าจะช่วยให้มีโชคมีลาภ มาถวายสังฆทาน เพราะคิดว่าบุญจะแปรเป็นโชคเป็นลาภได้ ถึงวันพระก็ใส่บาตรกันเยอะมาก เพราะคิดว่าถ้าใส่บาตรแล้วจะได้บุญ บุญจะทำให้ถูกล็อตเตอรี่ ยิ่งวันที่ 16 หรือ 1 ของเดือน คนจะใส่บาตรกันเยอะกว่าปกติ

ท่านเองเขียนหนังสือเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย อยากให้ผู้คนตระหนักเรื่องนี้อย่างไร

“อาตมาเน้นเรื่องชีวิตก่อนความตาย โดยเฉพาะในระยะสุดท้าย จะเผชิญกับความตายอย่างไรด้วยใจสงบ คิดว่าคนไทยยอมรับความตายได้มากขึ้น ตามโรงพยาบาลก็ตอบรับในเรื่องนี้ การยื้อชีวิตเพื่อหนีความตายเริ่มลดลงแล้ว เริ่มยอมรับกระบวนการทางการแพทย์ที่ไม่ได้ยื้อชีวิต แต่เป็นไปเพื่อให้เผชิญความตายได้ดีที่สุดคือ การดูแลแบบประคับประคอง”






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 19 - 25 เมษายน 2567
คอลัมน์ : รายงานพิเศษ โดย ภาวิณีย์ เจริญยิ่ง
เผยแพร่ : วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_762625

 10 
 เมื่อ: เมษายน 25, 2024, 09:30:41 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

หน้า: [1] 2 3 ... 10