ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทความผิดของตัวไว้เสมอ อย่าไปยุ่งกับคนอื่น  (อ่าน 25706 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทความผิดของตัวไว้เสมอ อย่าไปยุ่งกับคนอื่น

อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทความผิดของตัวไว้เสมอ อย่าไปยุ่งกับคนอื่น คตินี้นักปฏิบัติทุกคนเขาจะประณามตัวเองเข้าไว้เสมอ อารมณ์ ยุ่งอยู่กับกามราคะนิดหนึ่งเขาจะประณามว่าเลวทันที ของอะไรก็ดี ถ้าชมว่าสวย ชมว่างาม เมื่อรู้สึกขึ้นมาก็รู้สึกว่าใจของเรามันเลวเสียแล้วรึนี่ แค่นี้เขาตำหนิตัวเขาแล้ว แล้วยิ่งไปเพ่งโทษของบุคคล อื่นไปแสดงอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเร่าร้อน

นั่นแสดงว่ากิเลสมันไหลออกมาทางกายและทางวาจา มันล้นออกมาจากใจมันเลวเกินที่จะเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ นี่เราต้องประณามอย่างนี้ แล้วทางที่ไปจะไปไหน เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเป็นไม่ได้ ต้องไปขึ้นต้นมาจากนรก มันไม่เหมาะสำหรับเรา นี่เราต้องประณามตัวไว้เป็นปกติอย่าเที่ยวประณามคนอื่นเขา

จงอย่าคิดว่าคนอื่นจะต้องมาลงโทษเรา ก่อนที่คนอื่นจะลงโทษ กรรมที่เราทำความชั่วมันก็ทำความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่เรา ใครเขาพูดความชั่วคราวใดเราก็สะดุ้งเพราะเรามันเลว พระ พุทธเจ้าตรัสว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนไว้เสมอ และจงโจทตน กล่าวโทษตนไว้เป็นปกติ หาความชั่วของตัว อย่าไปหาความชั่วของบุคคลอื่น ถ้าเลวมากเมื่อไหร่ เราก็เพ่งเล็งความเลวของบุคคลอื่นมากเท่านั้น ถ้าเราดีมากเท่าไหร่เราก็ไม่มองเห็นความเลวของบุคคลอื่น


เพราะยอมรับนับถือกฎของกรรม ที่เรายังไปหาความเลวของบุคคลอื่น เสียดสีเขาบ้าง พูดกระทบกระเทียบเขาบ้าง ทำลายความสุขใจเขาบ้างนั่นแสดงว่า เรามันเลวที่สุดของความเลว คือความเลวมันไม่ได้ ขังอยู่ เฉพาะในใจ มันไหลออกมาทางกายไหลออกมาทางวาจา เพราะมันล้น เลวจนล้น นี่ขอทุกท่านจงจำไว้ อย่าไปมองดูความเลวของคนอื่น มองดูความเลวของตน ไม่ต้องไปปรับปรุงบุคคลอื่น ปรับปรุงเราเองให้มันดีที่สุด

สำหรับคนที่เขามาสร้างความชั่วให้สะเทือนใจเรานั่นเขาเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ไม่มีทางที่จะคืนตัวได้ เราจงคิดว่าคนประเภทนี้เขาไม่ใช่คน เขาคือสัตว์นรกในอบายภูมินั่นเอง เรา คิดว่า ถ้าเราจะไปต่อล้อต่อเถียงจะกระทำตอบ เราก็จะเลวตามเขาเวลานี้จิตใจของเขาจมลงไปในนรก ถ้าเราทำตามแบบเขาบ้าง เราก็จะจมนรกเหมือนกันมันไม่มีประโยชน์จิตเราก็ระงับความโกรธด้วยอำนาจ ขันติ หรือ อุเบกขา เฉย เขาเลวก็ปล่อยให้เขาเลวไปแต่ผู้เดียว เราไม่ยอมเลวด้วย

อย่าทำอารมณ์ให้วุ่นวาย อย่าใจน้อย อย่าคิดมาก จงคิดไว้เสมอว่า เราต้องตาย อย่าห่วงคนอื่นมากเกินกว่ากฎของกรรม จงนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก อย่าทะเยอทะยานเรื่องยศศักดิ์ ถึงเวลามันได้ ถึงเวลามันมี ทำใจสบาย จะมีความสุข เรื่องลูกก็ขอให้ตั้งอารมณ์ไว้ ในฐานะพ่อแม่ที่ดี แต่อย่าดิ้นรนเกินพอดี จะเป็นทางตัดนิพพานให้ไกลออกไป



ดีหรือชั่วมันอยู่ที่การควบคุมกำลังใจ ถ้าใจของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องเสียอย่างเดียว ใครจะว่าดีหรือชั่ว ไม่มีความสำคัญ เขาจะประณามว่าเลวมันก็เลวไม่ได้ มันก็ต้องดีอยู่ตลอดเวลา ถ้า จิตของเราชั่วเขาจะสรรเสริญว่าดี มันก็ดีไม่ได้เหมือนกัน นี่เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงให้รักษากำลังใจ เป็นสำคัญว่าควบคุมกำลังใจให้ดีไว้แล้วมันดีเอง ไม่ต้องไปฟังคำชาวบ้านเขา การที่เราดี เพราะรอให้ชาวบ้านสรรเสริญนั่นมันเป็นอารมณ์ของความชั่ว

คนที่เขามาสร้างความชั่วให้สะเทือนใจเรา นั่นเขาเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมนี่ ไม่มีทางจะคืนตัวได้ ความ เป็นอยู่ของเขาในสมัยปัจจุบันในชาติที่เป็นมนุษย์ เขาก็มีแต่ความเร่าร้อน มีแต่ความเศร้าหมอง เพราะกิเลสมันทำจิตใจให้เศร้าหมอง ตัณหาสร้างจิตใจให้เร่าร้อน อุปทานมีอาการเกาะความชั่วเป็นปกติ อกุศลกรรมทำความชั่วตลอดเวลา คนที่เป็นทาสของกิเลสตายแล้ว ไม่มีโอกาสจะเกิดเป็นคนแม้จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเกิดไม่ได้ ต้องไปเกิดในอบายภูมิ

นี่ถ้าบุคคลผู้ใดทำใจของ เราให้เร่าร้อนด้วยกายกรรม ทำด้วยกายก็ดี ด้วยวจีกรรม ทำด้วยวาจาก็ดี เราจงคิดว่าคนประเภทนี้เขาไม่ใช่คน เขาคือสัตว์นรกในอบายภูมินั่นเอง เรา ก็คิดว่าถ้าเราจะไปต่อล้อต่อเถียง จะกระทำตอบ เราก็จะเลวตามเขา เวลานี้จิตใจของเขาจมลงไปแล้วในนรก ถ้าเราทำตามแบบเขาบ้าง เราก็จะจมลงนรกเหมือนกัน มันไม่มีประโยชน์ จิต เราก็ระงับความโกรธด้วยอำนาจ ขันติ หรือ อุเบกขา นี่ อุเบกขา เราใช้กันตรงนี้เลย เฉย เขาเลวก็ปล่อยให้เขาเลวไปแต่ผู้เดียว เราไม่ยอมเลวด้วย


หลวงพ่อวัดท่าซุงถ้า เราทุกคนปรับปรุงใจตนดีแล้ว มันก็ไม่มีเรื่องยุ่งกับคนอื่น ไม่สร้างคนอื่นให้มีความเร่าร้อนในการที่จะเพ่งโทษคนอื่น ต้องรู้ตัวว่าเราเลวเกินไป นี่จงรู้สึกตัวไว้เสมอ รู้สึกตัวว่าเรามันเลว เลวมากจนกระทั่งขังไว้ในใจไม่ได้ มันจึงอุตส่าห์ไหลออกมาทางวาจา ไหลออกมาทางกาย นี่แสดงว่าความเลวมันล้นออกมาจากจิต ในข้อนี้ต้องคิดไว้เป็นประจำ อย่าทะนงตนว่าเป็นคนดี ถ้าดีแล้ว ปากไม่เสีย กายไม่เสีย ถ้าปากเสีย กายเสีย ความเลวมันล้น มีความดีไม่ได้

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นโลกธรรม ถ้าเราติด เราก็มีความทุกข์ ลาภที่เรา มีมาได้แล้ว มันก็หมดเสื่อมไปได้ ถ้าเรายินดีในการได้ลาภ ไม่ช้ากำลังใจก็ต้องเสีย สลดใจ เมื่อลาภหมดไป คำสรรเสริญก็เช่นเดียวกัน คำสรรเสริญไม่ใช่ของดี ถ้าเราติดในคำสรรเสริญ เราก็จะมีแต่ความทุกข์ เพราะว่าไม่มีใครเขามานั่งตั้งตา นั่งสรรเสริญเราตลอดวัน คนที่เขาสรรเสริญเราได้ เขาก็ติเราได้ ฉะนั้นจงจำไว้ ว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า นินทา ปสังสา เป็นธรรมดาของชาวโลก ชาวโลกทั้งหมดเกิดมาต้องพบนินทาและสรรเสริญ นี่ท่านมาติดลาภ ติดสรรเสริญก็ถือเป็นอุปกิเลสอย่างหนัก

เราต้องการความเมตตาปรานีจากคนอื่นฉันใด บุคคลทั้งหลายก็ต้องการความเมตตาปรานี จากเราเหมือนกัน ฉะนั้น อารมณ์ใจของเราก็คิดไว้เสมอว่าเราจะรักคนและสัตว์ นอกจากตัวเราเหมือนกับเรารักตัวเรา เราจะสงสารเขาเหมือนกับที่เราต้องการให้คนอื่นสงสารเรา เราจะรักเขาเหมือนกับเราต้องการให้เขารักเรา เราจะไม่อิจฉาริษยาใคร เมื่อบุคคลอื่นใดได้ดี



ทุกท่านที่ปฏิบัติพระกรรมฐานด้วยความ จริงใจ ตั้งใจจริง มีศีลบริสุทธิ์ ตั้งใจทรงสมาธิให้ตั้งมั่น ตั้งใจรักษาปัญญาให้แจ่มใส รู้เท่าทันความเป็นจริง แต่ว่ายังไม่ถึง พระโสดาปัตติมรรค ก็ ควรจะภูมิใจว่า เข้าอยู่ในเขตของความดี คือ ความอยู่ในเขตของคนดี แต่ว่าเราจะดีมาก จะดีน้อยนั่นประมาทไม่ได้ ถ้ารู้ตัวว่าดีเมื่อไรก็แสดงว่าเราเลวเมื่อนั้น จงจำพระพุทธภาษิต ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทความผิดของตนไว้เสมอ

เป็นธรรมะจากหนังสือโอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง คำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโรมหาเถระ) นำมาฝากชาวห้องศาสนากันครับ
_____________________

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตกล่าว่า ถึง เขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเอง ให้ขุ่นมัวไปด้วยความเดือดร้อน วุ่นวายใจที่คิดแต่ตำหนิผู้อื่น จนใจอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิด และบาปกรรมไม่ดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนา ทรมานอย่างไม่คาดฝัน

การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรองเป็นการสั่งสมโทษ และบาปใส่ตน ให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยต่อตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง

   คนติ ก็น้อมเอาพระธรรมไปปฏิบัติ พึงพิจารณาธรรมในตนก่อน
   พึงตั้งธรรมไว้ในตนก่อน แล้วค่อยไปโจทผู้อื่น

   คนที่ถูกติ ถูกชม พึงพิจารณาว่านินทาและสรรเสริญเป็นของธรรมดาของโลก
   และสำรวมระวังความประพฤติ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ

   สามัคคีธรรม และความสันติสุขร่มเย็น ก็จะเกิดมีแก่ทั้งผู้โจทเอง ผู้ที่ถูกโจท
   และทั้งท่านอื่นๆทั้งหลาย ให้อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความร่มเย็นเป็นสุขได้ครับ



ที่มา : www.bloggang.com/viewblog.php?id=library&date=23-08-2008&group=1&gblog=33
ขอขอบคุณ
https://palungjit.org/threads/อัตตนา-โจทยัตตานัง-จงกล่าวโทษโจทความผิดของตัวไว้เสมอ-อย่าไปยุ่งกับคนอื่น.215710/ 
ขอบคุณภาพจาก http://www.palungjit.com/,http://gotoknow.org/,http://www.watpanamjone.org/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 23, 2018, 07:04:44 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พุทธภาษิต
อัตตวรรค  คือ  หมวดตน

๑.  อตฺตา  หเว  ชิตํ  เสยฺโย.
ชนะตนนั่นแหละ  เป็นดี.

๒.  อตฺตา  หิ  กิร  ทุทฺทโม.
ได้ยินว่าตนแล  ฝึกได้ยาก.

๓.  อตฺตา  สุทฺนฺโต  ปุริสสฺส  โชติ.
ตนที่ฝึกดีแล้ว  เป็นแสงสว่างของบุรุษ.

๔.  อตฺตา  หิ  อตฺตโน  นาโถ.
ตนแล  เป็นที่พึ่งของตน.


๕.  อตฺตา  หิ  อตฺตโน  คติ.
ตนเทียว  เป็นคติของตน.

๖.  อตฺตา  หิ  ปรมํ  ปิโย.
ตนแล  เป็นที่รักยิ่ง.

๗.  นตฺถิ  อตฺตสมํ  เปมํ.
ความรัก (อื่น) เสมอด้วยตนไม่มี.

๘.  อตฺตนา  ว  กตํ  ปาปํ    อตฺตนา  สงฺกิลิสฺสติ.
ตนทำบาปเอง  ย่อมเศร้าหมองเอง.


๙.  อตฺตนา  อกตํ  ปาปํ    อตฺตนา  ว  วิสุชฺฌติ.
ตนไม่ทำบาปเอง  ย่อมหมดจดเอง.

๑๐. อตฺตตฺถปญฺฐา  อสุจี  มนุสฺสา.
มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน  เป็นคนไม่สะอาด.
 
๑๑. อตฺตานํ  ทมยนฺติ  ปณฺฑิตา.
บัณฑิต  ย่อมฝึกตน.
 
๑๒.  อตฺตานํ  ทมยนตฺติ  สุพฺพตา.
ผู้ประพฤติดี  ย่อมฝึกตน.


๑๓. อตฺตนา  หิ  สุทนฺเตน    นาถํ  ลภติ  ทุลฺลภํ.
ผู้มีตนฝึกดีแล้ว  ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก.

๑๔. โย  รกฺขติ  อตฺตานํ    รกฺขิโต  ตสฺส  พาหิโร.
ผู้ใดรักษาตนได้  ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันรักษาด้วย.

๑๕. อตฺตานญฺเจ  ปิยํ  ชญฺฐา    รกฺเขยฺย  นํ  สุรกฺขิตํ.
ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก  ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี.

๑๖. ปริโยทเปยฺย  อตฺตานํ    จิตฺตเกฺลเสหิ  ปณฺฑิโต.
บัณฑิตพึงทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิต.


๑๗. อตฺตานญฺเจ  ตถา  กยิรา    ยถญฺฐมนุสาสติ.
ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด  ก็ควรทำตนฉันนั้น.

๑๘. อตฺตนา  โจทยตฺตานํ.
จงเตือนตนด้วยตนเอง.


๑๙. ปฏิมํเสตมตฺตนา.
จงพิจารณาตนด้วยตนเอง.

๒๐. ทุคฺคา  อุทฺธรถตฺตานํ    ปงฺเก  สนฺโนว  กุญฺชโร.
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม  เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.

๒๑. อตฺตานุรกฺขี  ภว  มา  อฑยฺหิ.
จงเป็นผู้ตามรักษาตน  อย่าได้เดือดร้อน.

๒๒. อตฺตานญฺจ  น  ฆาเตสิ.
อย่าฆ่าตนเสียเลย.

๒๓. อตฺตานํ  น  ทเท  โปโส.
บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน.

๒๔. อตฺตานํ  น  ปริจฺจเช.
บุรุษไม่พึงสละเสียซึ่งตน.


๒๕. อตฺตานํ  นาติวตฺเตยฺย.
บุคคลไม่ควรลืมตน.

๒๖. อตฺตทตฺถํ  ปรตฺเถน    พหุนาปิ  น  หาปเย.
ไม่ควรพร่าประโยชน์ตน  เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก.

๒๗. อตฺตานญฺเจ  ปิยํ  ชญฺฐา    น  นํ  ปาเปน  สํยุเช.
ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก  ก็ไม่ควรประกอบตนนั้นด้วยความชั่ว.

๒๘.  ยทตฺตครหึ  ตทกุพฺพมาโน.
ติตนเองเพราะเหตุใด  ไม่ควรทำเหตุนั้น.

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก
เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕

             [๓๕]    ความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดี ความสำรวมด้วยหูเป็นความดี
                        ความสำรวมด้วยจมูกเป็นความดี ความสำรวมด้วยลิ้นเป็นความดี
                        ความสำรวมด้วยกายเป็นความดี ความสำรวมด้วยวาจาเป็นความดี
                        ความสำรวมด้วยใจเป็นความดี
                        ความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี
                        ภิกษุผู้สำรวมแล้วในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

                        .......ฯลฯ...............ฯลฯ...........
                       
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเปลื้องราคะและโทสะเสีย เหมือนมะลิปล่อยดอกที่เหี่ยวแห้งแล้ว
         ฉะนั้น ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบมีใจตั้งมั่นดี มีอามิสในโลกอันคายแล้ว
         เรากล่าวว่า เป็นผู้สงบระงับ จงเตือนตนด้วยตนเอง จงสงวนตนด้วยตนเอง

                         
         ดูกรภิกษุ เธอนั้นผู้มีตนอันคุ้มครองแล้ว มีสติ จักอยู่เป็นสุข
         ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ตนแลเป็นคติของตน
         เพราะเหตุนั้น ท่านจงสำรวมตน เหมือนพ่อค้าระวังม้าดีไว้

                         

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๑๒๔๔ - ๑๓๐๐.  หน้าที่  ๕๓ - ๕๕
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1244&Z=1300&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=35
ขอบคุณภาพจาก http://image.ohozaa.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



 ans1

"จงเตือนตนด้วยตนเอง" พุทธพจน์นี้หากกล่าวโดยปรมัตถ์แล้ว เมื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์(พ้นทุกข์)จะไม่มีตนเหลืออยู่ จะไม่มีตนให้เตือน แต่ถ้าสร้างบารมีมาเพื่อเป็นครูอาจารย์ คงต้องทำหน้าที่ตักเตือนสั่งสอนผู้อื่นต่อไป

 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

man123

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 2
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 03, 2017, 12:01:09 pm โดย man123 »
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ