ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อัตตา ตัวตนอันนี้ มีความหมายอย่างไรคะ  (อ่าน 12100 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sanwhan

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อัตตา ตัวตนอันนี้ มีความหมายอย่างไรคะ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2010, 01:18:53 pm »
0
อัตตา แปลว่าตัวเรา ของเรา ตัวตน ของเรา ใช่หรือป่าวคะ

คนที่มีอัตตา ตัวตน นี่มักเป็นคนอย่างไรคะ

ถ้าจะให้ละตัวตน กับ สักกายทิฏฐิ นี่ใกล้เคียงกันหรือป่าวคะ
บันทึกการเข้า

saithong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อัตตา ตัวตนอันนี้ มีความหมายอย่างไรคะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2010, 10:07:00 am »
0
egolism....... หรืิอ ว่าความเห็น ว่านั่นก็ของเรา นี่ก็ของเรา นั่นก็เป็นตัว เป็นตนของเรา อันนี้เป็นสิ่งที่ติดกับวิสัย
ของปุถุชชน อยู่แล้วคะ

ถ้าจะให้คลาย ต้องพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ พระพุทธานุสสติ จึงจะละจากสักกายทิฏฐิ คะ

บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อัตตา ตัวตนอันนี้ มีความหมายอย่างไรคะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2010, 01:03:39 pm »
0

อัตตา  ตัวตน, อาตมัน; ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่าอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง; เทียบ อนัตตา

อนัตตา ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน ดู อนัตตลักษณะ

อนัตตลักษณะ  ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่
 
๑) เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ

๒) เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง

๓) ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ

๔) เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ


๕) โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา

ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์(ป.อ.ปยุตโต)
--------------------------------------------------------------------------


ถ้า “อัตตาตัวตน” ไม่มีจริงๆแล้ว คำบัญญัติสมมุติ “อัตตาตัวตน” จะมีขึ้นได้อย่างไร?

ความหมายของ อัตตา และ อนัตตา

คำว่า อัตตา และ อนัตตา เป็นคำบัญญัติสมมุติในหลักทวินิยมเช่นกัน
กล่าวคือ
อัตตา แปลว่า ตัวตน
อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน

แต่ในปัจจุบัน มักแปล อนัตตา ว่า ไม่มีตัวตน
ซึ่งมีความหมายผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงอย่างมาก

ดังได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า
คำบัญญัติสมมุติตั้งขึ้น เพื่อเรียกขานสิ่งที่มีอยู่ในโลกตามปกติ
ถ้าไม่มีสิ่งนั้นๆในโลก ก็ย่อมจะไม่มีการบัญญัติสมมุติขึ้นมา

ถ้าไม่มีตัวตนจริงๆแล้ว
ก็ย่อมจะบัญญัติสมมุติคำว่า “อัตตา (ตัวตน)” ขึ้นมาเพื่อประโยชน์อันใดมิได้.

การเข้าใจความหมายของ “อนัตตา” ผิดเพี้ยนไป ว่า“ไม่มีตัวตน”
ย่อมทำให้ผู้ศึกษาธรรมะไม่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงจากพระพุทธศาสนา.

ไม่ใช่ตัวตน คนละความหมายกับ ไม่มีตัวตน

คำว่า ไม่ใช่ตัวตน
หมายความว่า ตัวตนที่แท้จริงมีอยู่
แต่กลับหลงไปยึดเอาขันธ์ ๕ ซึ่งไม่ใช่ตัวตน
เข้ามาเป็นตัวตนด้วยความเข้าใจผิด เพราะไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริง.

ส่วนคำว่า ไม่มีตัวตน นั้น
หมายความว่า “ไม่มีสิ่งใดเลย”ที่มีชีวิตจิตใจ นอกจากก้อนดิน ก้อนอิฐ ก้อนกรวด
ต้นไม้ ภูเขา ฯลฯ ซึ่งเป็นวัตถุตามธรรมชาติเท่านั้น
ซึ่งเป็นผลให ้เข้าใจผิดว่าไม่มีผู้กระทำกรรม และ ไม่มีผู้รับผลของกรรมนั้นๆด้วย
ดังที่มักจะได้ยินกันว่า
บรรดาธรรมทั้งหลายนั้น มีแต่การกระทำอย่างเดียวเท่านั้น ผู้กระทำหามีไม่ เป็นต้น
จัดเป็น นัตถิกทิฐิ ในพระพุทธศาสนานี้
ซึ่งไม่ได้มีความหมายเกี่ยวข้องกับคำว่าอนัตตาแต่ประการใดเลย.

เงื่อนไขในการบัญญัติคำว่า อัตตา และ อนัตตา ในพระพุทธศาสนา

มีพุทธพจน์ตรัสไว้ในอนัตตลักขณสูตรดังนี้
รูปญฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส นยิทํ รูปํ อาพาธาย สงฺวตฺเตยฺย
แปลว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ก็ไม่เป็นไปเพื่อความเจ็บไข้ได้ป่วย

พุทธพจน์ข้อนี้ได้แสดงไว้อย่างชัดเจนรวม ๒ นัย คือ
สิ่งใดที่เป็นไปเพื่อความเจ็บไข้ได้ป่วย ทรงจัดว่าเป็นอนัตตา
อันได้แก่ รูป ( ทั้งนี้ทรงสอนรวมทั้ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ด้วย )
นัยหนึ่ง.

และสิ่งใดที่ไม่เป็นไปเพื่อความเจ็บไข้ได้ป่วย ทรงจัดว่าเป็นอัตตา
อันได้แก่ จิตผู้รู้ชั้นพุทโธ ซึ่งไม่พลอยหวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่เข้ามากระทบ
อีกนัยหนึ่ง.

ผู้ที่ศึกษาธรรมะยังไม่เข้าใจสภาพของจิตผู้รู้,ชั้นพุทโธ ซึ่งตั้งมั่นไม่หวั่นไหวนี้
จึงเหมาเอาเองว่าพระพุทธองค์ไม่ได้ทรงสอนเรื่องอัตตา.

ตัวอย่างเรื่องอนัตตาที่สอนกันอย่างผิดๆในปัจจุบัน

ตามธรรมดาแล้ว
ธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศสั่งสอนพุทธบริษัท ๔ แล้วนั้น
ย่อมเป็นสัจธรรมที่มีเหตุมีผลสอดคล้องกับความเป็นจริงทั้งหลาย
ไม่มีขัดแย้งซึ่งกันและกันเลย

ดังนั้น ธรรมะข้อใดที่สอนถ่ายทอดต่อๆกันมาโดยไม่สอบเทียบกับหลักของเหตุผล
ธรรมะข้อนั้นย่อมสะดุดความรู้สึกของผู้ที่รับถ่ายทอด ว่าขาดเหตุผลทันที
ถึงแม้จะไม่รู้ในขณะนั้น ก็จะต้องมีผู้พบเห็นในภายหลัง
และจะต้องถูกปฏิเสธทันทีเช่นเดียวกัน.

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่สอนเรื่องอนัตตาผิดๆว่าไม่มีตัวตนนั้น
จึงกระทำไป เพราะไม่รู้จักตัวตน
แต่กล่าวออกมาเช่นนี้ เพราะเรียนท่องจำมาอย่างแน่นสนิท
ซึ่งจะต้องได้รับการปฏิเสธจากอนุชนในภายหลังอย่างไม่มีปัญหา.

โปรดดูตัวอย่าง การสอนเรื่องไม่มีตัวตน:-
ในที่สุดแห่งการบรรยายธรรมเรื่องอนัตตานี้
พอสรุปได้ว่า การทำความเห็นว่าไม่มีตัวตนนั้น,เป็นสิ่งที่ดี
เราจะได้รับผลอันน่าพึงพอใจ ตนนั่นแหละจะมีความสุขทุกทิพาราตรีกาล
อาตมาจึงขอยุติการบรรยายเรื่องไม่มีตัวตนไว้แต่เพียงเท่านี้
เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

การบรรยายธรรมะเช่นนี้ ย่อมฟังยากฟังเย็นเสียเหลือเกิน
พูดวกวนเป็นน้ำในอ่าง เหมือนลวงคนเล่นต่อหน้าต่อตา
เพราะพูดว่าตัวตนเราเขาไม่มีไปแล้ว
ก็กลับพูดวนมาหาตน,หาเรา,หาอาตมา ให้มีความสุขเข้าอีกจนได้
จนกลายเป็นเรื่องขัดแย้งกันเองขึ้นมา
เพราะหยอดท้ายคำบรรยายว่าอาตมาขอยุติการบรรยายเรื่องไม่มีตัวตนไว้เพียงเท่านี้ ?

ทั้งนี้ย่อมแสดงว่าได้บรรยายธรรมะสืบต่อกันมาโดยไม่ถูกต้อง
จนบางทีถึงกับอบรมให้เกลียดตัวเกลียดตนกัน
เพราะไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงซึ่งมีอยู่จริงๆก็มี
พอทักท้วงเข้าก็แก้ตัวอุตลุดไม่ยอมรับว่ามีตัวตน
แต่กลับยิ่งกล่าวบิดเบือนเถลไถลว่า

อัตตา(ตัวตน) เป็นแต่เพียงคำสมมุติบัญญัติ ซึ่งความจริงแล้วไม่มีอะไร
ถ้าไม่มีอะไรจริงๆอย่างว่าแล้ว ก็ย่อมสมมุติบัญญัติคำว่า อัตตา ออกมาไม่ได้เลย.

กล่าวตามข้อเท็จจริง
พระพุทธองค์มิได้ทรงสอนให้ถอนคำบัญญัติทิ้งเสีย
หรือทรงสอนให้ทำลายสิ่งที่รองรับคำบัญญัติ ให้ละลายหายสูญไปด้วย
แต่ประการใดเลย

เนื่องจากทุกข์โทษทั้งหลาย มิได้เกิดจากการใช้คำบัญญัติ
แต่เกิดจากการเข้าไปยึดถือสิ่งรองรับคำบัญญัติ
ด้วยความเข้าใจผิด ว่ามีแก่นสารสาระเป็นอัตตา(ตัวตน)ต่างหาก.

พระองค์ทรงสอนให้ ถอนความยึดถือ สิ่งรองรับคำบัญญัติ ด้วยความเข้าใจผิดนั้นเสีย
เมื่อถอนความยึดถือสิ่งที่รองรับคำบัญญัติเสียแล้ว
ก็ย่อมหลุดพ้นจากวัตถุหรืออารมณ์ที่รองรับคำบัญญัติทั้งหลายได้อย่างสิ้นเชิง
จิตก็ย่อมผ่องแผ้วบริสุทธิ์ไม่หลงไปพลอยเกิดพลอยตายกับสิ่งที่รองรับคำบัญญัติด้วย.


คัดลอกจากหนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=nulek&date=02-08-2008&group=10&gblog=2

-------------------------------------------------------------------------------------------------

กระทู้ของ คุณ beyondKM

งานลดอัตตาตัวตน เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ทำให้กันไม่ได้ !!
แค่เราเปลี่ยนตัวเองได้ ประโยชน์ก็ยิ่งใหญ่เหลือคณาแล้วล่ะครับ


        เวลาที่ผมทำสัมมนากลุ่ม แล้วประเด็นพาไปสู่การพูดคุยเรื่องการพัฒนาสติ พัฒนาปัญญา และการลดอัตตาตัวตน คนมักชอบถามว่า . . . “จะมีวิธีลดอัตตาของหัวหน้า (ผู้บริหาร) หรือ ผู้ร่วมงานอย่างไร?” คำถามนี้เป็นคำถามที่ผมชอบ เพราะตอบได้ง่ายมากครับ คือตอบกลับไปว่า . . . “ไม่น่าจะทำได้”

         ทั้งนี้เพราะอัตตาตัวตนเป็นเรื่องของคนแต่ละคน เป็นเรื่อง “เฉพาะตน” ที่เราไม่สามารถจะไปเปลี่ยนใครได้ เป็นเรื่องภายในที่คนแต่ละคนจะต้อง “เห็นตนเอง” คือเห็นว่าอัตตาตัวตน หรือ ego นี้ เป็นสิ่งที่เรา “สร้างขึ้นมา” มันไม่ใช่สิ่งที่มีมาแต่ดั่งเดิม แต่เป็น “สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมา”

        การจะ “เห็น” สิ่งนี้ได้ สติคงต้องว่องไวพอประมาณ งานลดอัตตาตัวตนจึงเป็นเรื่องของคนที่สนใจ “ฝึกสติ” ให้ว่องไว . . . ไม่มีใครไปลดอัตตาตัวตนให้คนอื่นได้ แค่เราเปลี่ยนตัวเองได้ ประโยชน์ก็ยิ่งใหญ่เหลือคณาแล้วล่ะครับ

 
ความเห็น 1. small man
   เปลี่ยนที่ตัวเอง  ทำตัวเองให้เป็นตัวอย่าง (ลดอัตตา)

   อาจจะส่งผลไปเปลี่ยนแปลงคนอื่นได้บ้างละมั้งครับ
             
ความเห็น 2. อัญชลี อุชชิน
    * มาสนับสนุนประโยคที่อาจารย์เขียนว่า
    * ไม่มีใครไปลดอัตตาตัวตนให้คนอื่นได้ แค่เราเปลี่ยนตัวเองได้ ประโยชน์ก็ยิ่งใหญ่เหลือคณาแล้วล่ะครับ ....
    * ทุก วันนี้เรามักจะส่งจิตออกนอก เที่ยวจะไปแก้ไขคนโน้น คนนี้ แต่คนที่เราควรจะรู้จักให้ดีที่สุด และทำการปรับปรุงแก้ไขที่สุดคือตัวเอง กลับถูกละเลย
    * จาก ประสบการณ์ส่วนตัว เมื่อดิฉันลงมือเปลี่ยนแปลงตัวเองวันละเล็กวันละน้อย พบว่า โลกรอบตัวเราเปลี่ยนไปอย่างน่ามหัศจรรย์ค่ะ  โดยที่เราไม่ต้องไปเปลี่ยนคนอื่นเลย

ความเห็น 3. beyondKM
เห็นด้วยกับคุณ small man-natadee ว่า . . . บางทีการเปลี่ยนแปลงของเราอาจ "เหนี่ยวนำ" ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคนอื่นได้ (บ้าง) แต่เดี๋ยวนี้พยายามไม่หวังมากไปครับ

ความเห็น 4. beyondKM
ยืนยันประสบการณ์เช่นเดียวกับอาจารย์อัญชลีที่ว่า . . . " เมื่อลงมือเปลี่ยนแปลงตัวเองวันละเล็กวันละน้อย พบว่า โลกรอบตัวเราเปลี่ยนไปอย่างน่ามหัศจรรย์โดยที่เราไม่ต้องไปเปลี่ยนคนอื่นเลย " . . . เป็นอย่างนั้นจริงๆ ครับ

ความเห็น 5.Handy
    * เรื่องการลดอัตตา ตัวตนนั้นเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลจริงๆครับ
    * การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเพราะการหยั่งรู้ของเขา และการกระทำของเขา
    * สิ่งที่เราน่าจะช่วยกันทำคือการเปลี่ยนแปลงตัวเองในเส้นทางนั้น
    * บอกกล่าวกันได้บ้าง  แต่อะไรก็ไม่สู้การทำให้ดู ให้เห็นเป็นแบบอย่างครับ
    * และก็อย่าเผลอไปหวังผล .. เพราะการเปลี่ยนเป็นเรื่องของเขาเท่านั้น

ความเห็น 6. ยายธี
การฝึกปฏิบัติ อานาปานสติ เป็นหนทางนำไปสู่ การละตัวตน (อนัตตา)การฝึกการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์..เป็นการฝึกให้เกิดความนอบน้อม ถ่อมตนและสิ่งสำคัญคือการฝึกสติ...การกราบบ่อยๆจะช่วยขจัดความเย่อหยิ่งทน งตนออกไปได้ (หลวงพ่อชา..อานาปนสติ..วิถีแห่งความสุข..ท่านคาเวสโก)

ความเห็น 7.  beyondKM
ขอบคุณยายธื (ยายธี?) และอาจารย์ Handy สำหรับการ "ต่อยอด" ครับ

ความเห็น 8. สายน้ำแห่งความคิด
    * ขอบคุณและเห็นด้วยกับอาจารย์เรื่อง "สติ" ครับ
    * แต่จง... อย่าเสียเวลาย้ายขุนเขา (อัตตา) น่าจะมาผสมผสานอัตตา อย่างท่าน อ.ไร้กรอบ ว่าไว้ใน ลดอัตตาเป็นเรื่องยาก ผสมผสานอัตตา น่าจะดีกว่า



ให้เครดิตคุณ beyondKM
ที่มา  http://gotoknow.org/blog/beyondkm/217922

--------------------------------------------------------------------------------- 
สักกายทิฏฐิ   ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)

สังโยชน์ ๑๐  กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล
 
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น
๒. วิจิกิจฉา ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร 
๔. กามราคะ ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง
๖. รูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ
๗. อรูปราคะ ความติใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ
๘. มานะ ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง, ความหลง

ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ (ป.อ.ปยุตโต)
----------------------------------------------------------

คุณแสนหวานครับ  ผมนำความหมาย บทความ ความเห็นต่างๆ มาแสดงให้แล้วนะครับ
หวังว่าคงถูกใจไม่มากก็น้อย

คำถามที่ว่า “คนที่มีอัตตา ตัวตน นี่มักเป็นคนอย่างไรคะ”
ขอตอบง่ายๆว่า  “เป็นคนที่เห็นว่า ขันธ์ ๕ มีอยู่จริง”

ส่วนคำถามที่ว่า “ถ้าจะให้ละตัวตน กับ สักกายทิฏฐิ นี่ใกล้เคียงกันหรือป่าวคะ”
ขอตอบว่า “เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน”


การละตัวตน ความหมายโดยย่อ คือ การละอุปทานขันธ์ ๕(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ความหมายของขันธ์ ๕ โดยย่อคือ รูป กับ นาม  หรือกล่าวโดยอนุโลมก็คือ กาย กับ ใจ นั่นเอง
ดังนั้นการละตัวตน ต้องละขันธ์ ๕ ทั้งหมด อธิบายง่ายๆก็คือ ไม่มีความถือมั่นในกายและใจ นั้นเอง

ส่วนการละสักกายทิฏฐิ เป็นเพียงการละในขั้นของ ความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น  แต่ยังถือมั่น ยึดมั่นอยู่

เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ขอเปรียบเทียบการละสังโยชน์ของอริยบุคคลขั้นต่างๆ มาให้ทราบดังนี้

พระโสดาบัน     ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อแรก (ละความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนได้ แต่ยังยึดมั่นถือมั่นในกายกับใจอยู่)
พระสกิทาคา    ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อแรก (ละความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนได้ แต่ยังยึดมั่นถือมั่นในกายกับใจอยู่)
              ส่วนสังโยชน์ที่เหลือเบาบางกว่าพระโสดาบัน

พระอนาคามี   ละสังโยชน์ได้ ๕ ข้อแรก (ละความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนได้ ละการยึดมั่นถือมั่นในกายได้ แต่ยังยึดมั่นถือมั่นในใจอยู่)
พระอรหันต์   ละสังโยชน์ได้ทั้งหมด (ไม่มีอะไรให้ถือมั่นยึดมั่นอีกต่อไป)

ถึงตรงนี้คุณแสนหวาน คงพอเข้าใจนะครับ สงสัยอะไรก็ถามได้

ขอทิ้งท้ายให้คิดสักนิดว่า  “การคิดการทำต่างๆของปุถุชน (ไม่ใช่อริยะ) เบื้องหลังก็คือ เพื่อตัวเอง ทั้งสิ้น”
แม้แต่การตั้งการตอบกระทู้ ก็เพื่อตัวเอง

ขอให้ธรรมคุ้มครอง
ปุ้ม  ฌฐพลสรรค์

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

nimit

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
  • เรามาเพื่อจรรโลงพระกรรมฐาน
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: อัตตา ตัวตนอันนี้ มีความหมายอย่างไรคะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2010, 01:45:02 pm »
0
สำหรับผม ก็ง่าย ๆ แบบลูกทุ่ง

อัตตา ก็คือความถือตัวถือตนมีมานะ ยึดมั่น ถือมั่น ใน กาม อัตตวาทะ ทิฏฐิ และ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
 
อปจายนะ ความอ่อนน้อมก็จะทำลายความถือตัวถือตน เบื้องต้น มีความหมายแรกคือคำว่า "ยอม"
ภาวนา ความหมั่นอบรมจิต จะทำลายความถือตัวถือตน เบื้องกลาง มีความหมายที่สองคือคำว่า "อยู่"
ยถาภูตญาณ การเห็นตามเป็นจริง จะทำลายความถือตัวถือตน เบื้องสูง มีความหมายที่สามคือคำว่า "เย็น"

================
พิมพ์มากเดี๋ยวหลงวาทะตนเอง เฮ้อ :85:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 23, 2010, 02:14:43 pm โดย nimit »
บันทึกการเข้า
ธรรมจักรสถิตอยู่ ณ ที่ใด ที่นั้นมีแต่ความร่มเย็น

ISSARAPAP

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 129
  • โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย สัจจะธรรมแท้ ไม่มีสูตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อัตตา ตัวตนอันนี้ มีความหมายอย่างไรคะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 25, 2010, 10:25:31 pm »
0
 :c017:

คำตอบกระจ่าง
อาจจะเป็นเพราะว่ายังอ่านกระทู้ไม่หมด เข้ามาอ่านไม่ค่อยทัน มีทุกวันเลยครับเว็บนี้

 :25:
บันทึกการเข้า
ความสันโดษ เป็นบรมสุข