ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สวดคฤหัสถ์ หรือ คฤหัสถ์สวด.?  (อ่าน 1166 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
สวดคฤหัสถ์ หรือ คฤหัสถ์สวด.?
« เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2014, 09:19:10 am »
0



สวดคฤหัสถ์ หรือ คฤหัสถ์สวด.?

คำ 2 คำนี้หากผู้ที่ไม่มีประสบการณ์หรือมีข้อมูลมาก่อนคงจะตีความหมายไปต่างๆนานา คำว่า"สวดคฤหัสถ์" คงจะเข้าใจว่า เป็นการว่ากล่าวตำหนิคฤหัสถ์หรือฆราวาสทั่วๆไป ส่วนคำว่า "คฤหัสถ์สวด" คงจะมีความหมายว่า คฤหัสถ์ทำหน้าที่สวดเหมือนกับพระ และคงจะมีการตำหนิว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นการแย่งหน้าที่พระเป็นต้น

อย่างไรก็ตามเมื่อศึกษาข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีพร้อมกับรูปภาพประกอบจะรู้ว่า ความเข้าใจเช่นนั้นผิดหมด และเมื่อค้นหาคำว่า "คฤหัสถ์สวด" จะไม่มีการกล่าวถึงคำนี้เลย ทั้งนี้ "วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีสวดคฤหัสถ์" ได้ให้ความหมายและอธิบายความไว้เฉพาะคำว่า "สวดคฤหัสถ์" ไว่ว่า

 :96: :96: :96:

สวดคฤหัสถ์ หรือ สวดกะหัด คือ การสวดชนิดหนึ่ง เป็นการเล่นที่นิยมเล่นในงานศพ เป็นการเล่นเลียนแบบการสวดพระอภิธรรมของพระสงฆ์ และเล่นในตอนดึกหลังจากพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมเสร็จแล้ว

การแสดงจะมีบทสวด "พื้น" อยู่ 4 อย่าง คือ พื้นพระอภิธรรม (สวดบทพระอภิธรรม) พื้นโพชฌงค์มอญหรือหับเผย พื้นพระมาลัย (สวดเรื่องพระมาลัย) และพื้นมหาชัย 1 แต่ที่นิยมใช้สวดกันอย่างแพร่หลาย คือพื้นพระอภิธรรม แต่เดิมเป็นการละเล่นของพระสงฆ์ซึ่งสวดมนต์แล้วออกลำนำเป็นภาษาต่างๆ มีปรากฏในกฎหมายตราสามดวง ห้ามไม่ให้พระสงฆ์สวดออกลำนำแบบนี้ จากนั้นจึงแพร่หลายมาในหมู่ชาวบ้าน และเริ่มมีการแต่งตัวตามภาษาที่ใช้สวด


 ans1 ans1 ans1

การเล่น

สถานที่เล่นอาจเล่นตามวัด หรือเล่นที่บ้าน จะเล่นกันแต่ตอนค่ำ บ้างก็เลิกจนรุ่งสว่าง ผู้เล่นสวดคฤหัสถ์มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาส เรียกผู้สวดว่า “นักสวด” และเรียกผู้สวดคณะหนึ่งๆ ว่า “สำรับ” โดยแบ่งนักสวดเป็น 2 ประเภทคือ นักสวดอาชีพ และนักสวดสมัครเล่น นักสวดอาชีพมีทั้งสำรับพระสงฆ์ และสำรับฆราวาส สำรับหนึ่งมี 4 คน ที่นั่งสำหรับสวดเรียกว่า "ร้าน" ผู้ที่สวดทุกคนถือตาลปัตร ตั้งตู้พระธรรมข้างหน้า ตำแหน่งนักสวดทั้ง 4 คนนั่งเรียงจากซ้ายไปขวาของผู้ชมดังนี้

ตัวตุ๊ย คือตัวตลก มีหน้าที่ทำความขบขันให้แก่ผู้ชม แต่จะต้องอยู่ในแบบไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางไป 
แม่คู่ (หรือคอหนึ่ง) มีหน้าที่ขึ้นต้นบท และนำทางที่จะแยกการแสดงออกไปเล่นในชุดใด ยังเป็นตัวซักไซ้ให้เกิดความขบขันจากตัวตลกด้วย 
คอสอง มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยแม่คู่ คอยซักสอดเพิ่มเติม
ตัวภาษา เป็นตัวภาษาต่างๆ และตัวนาง ผู้ทำหน้าที่นี้จะต้องร้องเพลงได้ดี พูดเลียนสำเนียงภาษาต่างๆได้ชัดเจน


 :49: :49: :49:

เมื่อเริ่มสวดคฤหัสถ์นักสวดทั้งหมดจะใช้ตาลปัตรบังหน้าเหมือนพระสวดพระอภิธรรม หากเป็นบทสวด คฤหัสถ์ของ “สำรับพระ” จะขึ้นต้นบทสวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยพร้อมกัน 3 จบ แล้วจึงขึ้นบทสวดพระอภิธรรมสังคณี ตัวตุ๊ยก็จะขยับมือข้างหนึ่งออกท่ารำขณะที่ยังถือตาลปัตรอยู่ แม่คู่คนที่อยู่ใกล้จึงยึดมือไว้สักอึดใจหนึ่ง แต่ตัวตุ๊ยยังขยับมือรำอีกแต่จะเป็น 2 มือ หลังจากนั้นจึงมีการเจรจาระหว่างตัวตุ๊ยและแม่คู่

การเริ่มลองเสียงจะร้องว่า "เออเฮอะ เออๆๆๆ" หลายๆครั้ง ต่อจากนี้จึงขึ้นบท "เอ๋ย กุ...สลา ฯลฯ" แล้วจึงสวดแยกออกร้องเพลง ตัวตุ๊ยกับตัวภาษาก็ขึ้นรำแสดงท่าทาง มีการตี และตบกันด้วยตาลปัตรบ้างตามสมควร แล้วจึงหันเข้าบทพระธรรม ตัวภาษาตีกลองเข้าจังหวะเพลง ตัวตุ๊ยเข้าแทรกประกอบ แล้วจึงร้องลำจีนกำกับท้ายกราวต่อจากนี้จึงแยกออกชุดจีน และชุดอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งการแสดงชุดต่าง ๆ ยังมีอีกมากแล้วแต่ทางคณะเช่น ชุดภาษาญวน มอญ แขก ลาว พม่า เขมร ฝรั่ง เพลงฉ่อย และละคร เป็นต้น ไม่มีการวางลำดับตายตัว


ans1 ans1 ans1

การเล่นพื้นพระอภิธรรม

ในการเล่นพื้นพระอภิธรรม ทั้งสี่คนจะสวดบทพระสังคิณี เริ่มจากบทสวดภาษาบาลีก่อน แล้วจึงเจือลำนำทีละน้อยจนเป็นลำนำล้วน เมื่อท้ายตู้กับหัวตู้แต่งตัวพร้อมแล้วจะร้องลำนำเป็นเรื่องต่างๆ เช่นออกภาษาไทยจะเล่นเรื่องไกรทอง รามเกียรติ์เป็นต้น ถ้าออกภาษาจีน จะนิยมเล่นเรื่อง ตั๋งโต๊ะ-เตียวเสี้ยน (สามก๊ก) ไกโซบุ๋น และจีนไหหลำ ซึ่งเป็นการเจรจาโต้ตอบแบบจำอวด ถ้าออกภาษาลาว นิยมเล่นเพลงเส่เหลเมา ถ้าออกภาษาญวน ใช้บทสวดสังคโหและใช้เพลงญวนทอดแห
อิทธิพล

ในระยะต่อมาเมื่อการเล่นสวดคฤหัสถ์เสื่อมความนิยมลงไป ได้มีอิทธิพลต่อการละเล่นในยุคต่อมาคือ การเล่นจำอวด ปี่พาทย์ออกสิบสองภาษา การออกหางเครื่องลูกบทของมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องลูกบทของลิเก


 :s_hi: :s_hi: :s_hi:

อย่างไรก็ตามประเพณีหรือศาสนพิธีการสวดแต่ละพื้นที่หรือแต่ละประเทศที่นักถือพระพุทธศาสนาก็แตกต่างกันไป จะด่วนสรุปว่าอะไรถูกอะไรผิดและถูกเหมาะหรือไม่เหมาะสมนั้นไม่น่าจะสมเหตุสมผลมากหนักไม่เช่นนั้นก็มีแต่จะทำให้เกิดความขัดแย้งกัน ดูอย่างพิธีกรรมในประเทศกัมพูชานั้นบางช่วงคฤหัสก็ทำหน้าที่ในการสวดแทนพระแทนที่จะให้พระสวดให้ฟังเหมือนประเทศไทย

"ทั้งนี้ควรที่จะใช้หลักของโยนิโสมนสิการคือหัดเป็นคนคิดช้าๆอย่าคิดเร็วด่วนสรุป เพราะการด่วนสรุปบวกกับการมีอคติแล้วรั้งแต่จะเกิดความขัดแย้งแบ่งสีแบ่งฝ่าย พร้อมกันนี้ควรนำหลักปฏิจจสมุปบาทมาพิจารณาดูซิว่าสาเหตุแห่งความขัดแย้งนั้นตัวเราเองนั้นแหลอาจเป็นสาเหตุหนึ่งก็ได้ และควรยึดหลักสาราณียธรรม 6 ประการ เท่านี้สังคมไทยก็มีความปรองดองแล้ว" นี้คือคำแนะนำของ พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) แนะนำ

ขอบคุณภาพข่าวจาก
สวดคฤหัสถ์หรือคฤหัสถ์สวด? : สำราญ สมพงษ์รายงาน
http://www.komchadluek.net/detail/20140728/189095.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

chutina

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สวดคฤหัสถ์ หรือ คฤหัสถ์สวด.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2014, 01:43:48 am »
0
 st12 st12 thk56
บันทึกการเข้า