ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตำรายาหลวงปู่ศุข,ประเพณีปอยส่างลอง,ประเพณีถือศีลกินผัก ขึ้นทะเบียนภูมิปัญญาชาติ  (อ่าน 625 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ตำรายาหลวงปู่ศุข-ท้าวแสนปม-ลิเก ขึ้นทะเบียนภูมิปัญญาชาติ

วธ.ประกาศขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมของชาติ 6 สาขา 18 รายการ “นิทานพื้นบ้านท้าวแสนปม-ลิเก- ถือศีลกินผัก –ตำรายาหลวงปู่ศุข-ปอยส่างลอง-ประเพณีแห่เจ้าพ่อปากน้ำโพ-แข่งเรือยาว ชุมพร”  ปกป้องมรดกไทยถูกคุกคาม-สูญหาย 

วันนี้( 22 มี.ค.) ที่ ห้องประชุม กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม เปิดเผย ภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ครั้งที่ 2/2561 ว่า

@@@@@@

ที่ประชุมได้ พิจารณาและเห็นชอบประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี 2561  จำนวน 18 รายการ หลังจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองได้พิจารณามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศส่งเข้ามาให้พิจารณา รวมทั้งสิ้น 193 รายการ 

ซึ่งการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ จะเป็นการประกาศหลักฐานสำคัญของชาติ  นำไปสู่การปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติไม่ ให้ถูกคุกคาม และสูญหาย ตลอดจนยังเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นด้วย

@@@@@@

นายวีระ กล่าวต่อไปว่า  สำหรับมรดกทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ทั้ง 18 รายการ ที่ผ่านการพิจารณา ประกอบด้วย  6 สาขา ดังนี้
    1. สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา จำนวน 1 รายการ ได้แก่  นิทานพื้นบ้านท้าวแสนปม จ.กำแพงเพชร
    2. สาขาศิลปะการแสดง จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ลิเก จ.พิจิตร-นครสวรรค์ ,สะไน จ.ศรีษะเกษ  และวายังกูเละ จ.ยะลา
    3. สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม ประเพณี พิธีกรรม และงานเทศกาล จำนวน 5 รายการ ได้แก่ พิธีถวายข้าวพีชภาค ฯ และบุญเสียค่าหัว ข้าโอกาสพระธาตุพนม จ.นครพนม ,ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ ,ปักธงเมืองนครไทย จ.พิษณุโลก ,ประเพณีปอยส่างลอง (บวชลูกแก้วหรือบรรพชาสามเณร) จ.แม่ฮ่องสอน และประเพณีถือศีลกินผัก จ.ภูเก็ต
    4. สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ขนมฝรั่งกุฎีจีน กรุงเทพมหานคร  , ดินสอพองลพบุรี จ.ลพบุรี และตำรายาหลวงปู่ศุข จ.ชัยนาท
    5. สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม จำนวน 3 รายการ ได้แก่  เรือนโคราช จ.นครราชสีมา  ,การทำกลอง-เอกราช จ.อ่างทอง และเรือก่าบาง จ.พังงา และ
    6. สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว จำนวน 3 รายการ ได้แก่ วัวเทียมเกวียน จ.เพชรบุรี ,การเล่นสะบ้า จ.สมุทรปราการ-นนทบุรี-กาญจนบุรี และการแข่งเรือยาว ขึ้นโขนชิงธง ลุ่มน้ำหลังสวน จ.ชุมพร

    @@@@@@

    "การขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติในครั้งนี้ เป็นครั้งแรก ที่มีกฎหมายรองรับ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 และภายหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้ว กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจะมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้ พร้อม การสาธิตเผยแพร่รายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในช่วงเดือนกันยายน นี้ต่อไป

    อย่างไรก็ตามแม้ว่า มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ในอนาคต หากพบว่า มีการไปใช้ในทางบิดเบือนหรือไม่เหมาะสมเปลี่ยนแปลง มีความคลาดเคลื่อนจากสาระข้อเท็จจริงและความดั้งเดิม ทาง คณะกรรมการฯ สามารถที่จะสั่งระงับ หรือ ยกเลิก คำสั่งประกาศขึ้นทะเบียนได้” รมว.วัฒนธรรม กล่าว



ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/education/633885
 พฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม 2561 เวลา 17.00 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ