ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เดินหน้าสู่ 5G  (อ่าน 498 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เดินหน้าสู่ 5G
« เมื่อ: ตุลาคม 22, 2018, 05:40:24 am »
0


เดินหน้าสู่ 5G

ประเทศไทยพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายตั้งแต่ยุค 2G เปลี่ยนผ่านเป็น 3G และ 4G ทำให้การสื่อสารด้วยภาพ เสียง และวิดีโอเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่วันนี้เทคโนโลยี 5G กำลังจะเข้ามามีบทบาทในโลกอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะเริ่มใช้เงินเชิงพาณิชย์ในปี 2563 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

เทคโนโลยี 5G คล้ายคลึงกับ 3G และ 4G ตรงที่มีการพัฒนาความเร็วในการรับส่งข้อมูลและรองรับปริมาณข้อมูลได้มากขึ้น 5G ไม่ใช่ การเข้ามาแทนที่ 4G และ 3G แต่จะเป็นการ ช่วยสนับสนุน และขยายโอกาส ในการสร้างสรรค์บริการดิจิทัลให้กว้างขวางและครอบคลุมควบคู่ไปกับ 4G และ 3G ทั้งนี้คุณสมบัติหลักของ 5G ประกอบด้วย

@@@@@@

1. ความเร็วในการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Enhanced Mobile Broadband : eMBB) ใช้สำหรับกิจกรรมออนไลน์ที่ใช้แบนด์วิดท์จำนวนมาก เช่น ดูวิดีโอ เล่นเกมออนไลน์ การใช้งานความจริงเสริม (AR) ความจริงเสมือน (VR) ช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรข้ามอุตสาหกรรม ส่งเสริมการศึกษาผ่านบรอดแบนด์ พัฒนาศักยภาพการค้าขายออนไลน์ รวมถึงระบบเมืองอัจฉริยะ

2. ความล่าช้าในการรับส่งข้อมูลที่ต่ำมาก (Ultra-Reliable and Low LatencyCommunications : uRLLC) เทคโนโลยี 5G สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความหน่วงในระดับต่ำมากต่ำกว่า 4G ถึง 10 เท่า ทำให้การส่งข้อมูลเป็นแบบเรียลไทม์มากขึ้น เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง หรือความผิดพลาดเกือบเป็นศูนย์ เช่น ระบบควบคุมรถยนต์ไร้คนขับ ระบบไฟฟ้าอัจฉริยะระบบแพทย์ระยะไกล

3. ความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมากพร้อมกันโดยใช้พลังงานต่ำ (Massive Machine Type Communications : mMTC) เทคโนโลยี 5G สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 200,000-1,000,000 เครื่องต่อตารางกิโลเมตร และยังลดปริมาณการใช้พลังงานสำหรับการเชื่อมต่อมากกว่า 4G ถึง 1,000 เท่า ต่อไปโรงงานต่างๆจะใช้เครื่องยนต์ในการผลิตแทนแรงงานมนุษย์ โดยที่เครื่องยนต์แต่ละชิ้น จะสื่อสารกันได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล

@@@@@@

คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้กล่าวในงานสัมมนา “เทคโนโลยีพลิกโลก : ทำอย่างไรให้เกิดขึ้นจริงในไทย” ว่า เทคโนโลยี 5G จะเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ หากไทยไม่สามารถผลักดันให้มี 5G ใช้ได้แล้ว เชื่อว่าจะเกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจมากกว่า 2.3 ล้านล้านบาทในปี 2573 โดยภาคอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เสียหายมากกว่า 7 แสนล้านถึง 1.6 ล้านล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นผลกระทบจากการไม่สามารถทำให้ประเทศเข้าสู่ สมาร์ทซิตี้ การเรียนการสอน การท่องเที่ยว และ บริการสุขภาพ

คุณฐากรบอกด้วยว่า กสทช.ตั้งเป้าจะให้ประเทศไทยได้ใช้เทคโนโลยี 5G ภายใน เดือนต.ค.2563 โดยได้เตรียมความพร้อมเรื่อง คลื่นความถี่ ไว้รองรับแล้ว เช่น คลื่น 700เมกะเฮิรตซ์ คลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ คลื่น 26 กิกะเฮิรตซ์ 28 กิกะเฮิรตซ์ จะนำมาปรับปรุงใช้งาน “ประเทศไทยเข้าสู่ 3G ช้ากว่านานาประเทศราว 11 ปี เข้าสู่ 4G ก็ช้ากว่า 6 ปี ฉะนั้นการเข้าสู่ยุค 5G เราควรดำเนินการพร้อมๆกับประเทศอื่น ทุกฝ่ายต้องช่วยกันผลักดัน ไม่ใช่เรื่องของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งต้องเร่งดำเนินการ เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากไทยต้องตามให้ทัน”

@@@@@@

จริงอย่างที่คุณฐากรบอก ยุคนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ก้าวกระโดดเป็นทวีคูณ ใครมาช้าก็เสียโอกาส ดูอย่างประเทศจีนแค่ไม่กี่ปีก็พัฒนาเมืองหลายเมืองเป็นสมาร์ทซิตี้ ขยายอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ แผ่อิทธิพลไปทั่วโลก

วันนี้ผมขอร่วมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายมาช่วยกันสนับสนุนให้เกิด 5G ยิ่งรัฐบาลจะวางยุทธศาสตร์ชาติ ยิ่งต้องผลักดันเรื่องนี้ให้สำเร็จ ขืนล่าช้าไทยจะยิ่งล้าหลังครับ.

                 ลมกรด



ขอบคุณที่มา : https://www.thairath.co.th/content/1339334#cxrecs_s
จากคอลัมน์ หมายเหตุประเทศไทย โดย ลมกรด , 23 ก.ค. 2561 05:01 น.





สร้างถนน 5G

วันเสาร์สบายๆวันนี้มาคุยเรื่องเทคโนโลยี 5G กันอีกทีนะครับ ตอนนี้หลายประเทศทั่วโลกกำลังแข่งขันกันเป็นประเทศแรกที่ให้บริการ 5Gในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบ Internet of Things (IoT) ที่จะทำให้บริการอินเตอร์เน็ตชาญฉลาดขึ้นเช่น Smart Farming, SmartHealth หรือ Smart City

การให้บริการระบบอัจฉริยะเหล่านี้จะเกิดการใช้งานอินเตอร์เน็ตพร้อมกันอย่างมหาศาล มากกว่า4G หลายเท่าทวีคูณ เพราะเป็นการเปลี่ยนจาก การสื่อสารอินเตอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตมาเป็น การเชื่อมต่อและประมวลผลผ่านอุปกรณ์เซ็นเซอร์หลายล้านชิ้นพร้อมๆกัน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ในบ้าน โรงงาน โรงพยาบาล หรือถนนหนทาง เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน

ประเทศไทยก็กำลังเดินหน้าไปสู่เทคโนโลยี 5G เช่นกัน หน่วยงานหลักอย่าง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)พยายามผลักดันขับเคลื่อนอย่างขะมักเขม้น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ การวางโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอรองรับ 5G เพราะบริการ IoT เปรียบไปแล้วไม่ต่างจากรถยนต์หรือรถสาธารณะที่มีสมรรถนะสูงต่อให้เป็นรถดีขนาดไหน ถ้าเจอถนนไม่กว้างพอไม่ยาวพอ รถก็ไม่อาจแสดงสมรรถนะได้เต็มที่ รถแรงแค่ไหนถ้าการจราจรติดขัดก็เคลื่อนตัวช้าเหมือนกันหมด

@@@@@@

สิ่งที่รถ 5G ต้องการคือถนนที่เรียกว่าคลื่นความถี่ หรือ Spectrum ซึ่งไม่เพียงแค่คลื่นที่ กสทช.จะประมูลเร็วๆนี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงคลื่นที่มีย่านความถี่สูงกว่านั้นมากรองรับการสื่อสารด้วยดาต้าได้มากกว่า

ปัจจุบันหลายคนมีความเข้าใจว่าจะต้องรอให้ที่ประชุม World RadiocommunicationConference 2019 หรือ WRC–19 ของ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ที่จะจัดขึ้นในปี 2562 พิจารณาว่าคลื่นย่านใดบ้างที่ใช้ 5G ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องบางส่วน เพราะในการประชุมจะมีการระบุย่านคลื่นที่สูงกว่า 24 กิกะเฮิรตซ์ว่าย่านไหนที่ใช้ 5G ได้บ้าง เพื่อให้ทั่วโลกมี 5G ใช้ทันภายในปี 2563

อย่างไรก็ตาม คลื่นย่านอื่นๆนอกเหนือจากนั้นก็สามารถใช้ 5G ได้ ที่เห็นชัดคือ ย่าน 3.5 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่ง กสทช.สามารถกำหนดได้เอง เนื่องจากทั่วโลกยอมรับว่าสามารถรองรับการใช้งานบริการโทรคมนาคมเคลื่อนที่ได้ และในปัจจุบันมีการใช้งานดาวเทียมอยู่ เป็นย่าน C-Band โดยกสทช.ให้ ทดลองใช้ 5G อยู่ในย่านนี้ เพื่อคอยดูผลว่าคลื่นจะกวนกันหรืออยู่ร่วมกันได้กับดาวเทียมทั้งนี้ หากประสบผลสำเร็จก่อนการประชุม WRC-19 จะทำให้ไทยมีถนนพร้อมให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ได้เร็วกว่าประเทศอื่น


@@@@@@

เมื่อต้นสัปดาห์คณะของ กสทช.เดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อประชุมร่วมกับองค์กร The FifthGeneration Mobile Communications Promotion Forum หรือ 5GMF ซึ่งเป็น หน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี 5G และเป็นตัวกลางในการกำหนดและผลักดันมาตรฐานเทคโนโลยี ที่ประกอบด้วยเครือข่ายของผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม สถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัย เช่น NTT DoCoMo, Samsung Electronics, CISCO Systems, Sharp, ZTE, Huawei,Fujitsu และ Mitsubishi Electric เป็นต้น โดย กสทช.และ 5GMF ได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือเพื่อทำวิจัยแลกเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาการใช้งานคลื่น 5G ร่วมกัน

ในโอกาสเดียวกันนี้คณะของ กสทช.ยังได้เข้าร่วมงาน นิทรรศการ CEATEC JAPAN 2018 งานแสดงผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ทำให้ได้เห็น ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ IoT ในการทำการเกษตร ในโรงงานอุตสาหกรรม และในชีวิตประจำวัน ทั้งยังช่วยให้ ถอดบทเรียนโอกาสอุปสรรค และแนวทางสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ของประเทศกลุ่มผู้นำด้านเทคโนโลยี

หวังว่า กสทช.จะนำองค์ความรู้ครั้งนี้มาพัฒนาสร้างถนน 5G ให้สำเร็จโดยเร็ว ขณะเดียวกันต้องทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการถูกลง และเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบทางสังคมที่เสี่ยงจะมีคนตกงานมากขึ้น เหมือนอย่างที่คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ย้ำอยู่เสมอครับ.

              ลมกรด



ขอบคุณที่มา : https://www.thairath.co.th/content/1399564
จากคอลัมน์ หมายเหตุประเทศไทยโดย ลมกรด , 20 ต.ค. 2561 05:01 น.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 22, 2018, 05:42:39 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ