ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขอโทษครับ !!! "อนันตริยกรรม ยังไม่ใช่กรรมที่หนักที่สุด" ?  (อ่าน 13931 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ขอโทษครับ !!! "อนันตริยกรรม ยังไม่ใช่กรรมที่หนักที่สุด"


ครุกกรรม หมายถึง กรรมที่หนักแน่นจนกรรมอื่นๆ ไม่สามารถห้ามการให้ผลได้ องค์ธรรมได้แก่

มหัคคตกุศลกรรม ๙
ทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔ (เฉพาะที่เกี่ยวกับนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม ๓)
และโทสมูลจิต ๒ (เฉพาะที่เกี่ยวกับปัญจานันตริยกรรม ๕)
รวมทั้งสิ้นเป็น ๑๕


ครุกกรรมเป็นกรรมหนัก เมื่อจัดลำดับการส่งผลของกรรมแล้ว

ครุกกรรม จึงเป็นกรรมลำดับแรกที่จะส่งผลนำไปเกิดในภพที่สองก่อนกรรมอื่นๆ คือ
ส่งผลก่อนอาสันนกรรม อาจิณณกรรม และกฏัตตากรรม

ครุกกรรมแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย
ครุกกรรมฝ่ายบาป และครุกกรรมฝ่ายบุญ

๑. ครุกกรรมฝ่ายบาป เป็นกรรมหนักฝ่ายบาป เมื่อตายลงผลของบาปจะส่งผลนำไปเกิดในอบายภูมิ ๔ ในชาติต่อไปทันที ครุกกรรมฝ่ายบาป มี ๒ อย่าง คือ
๑.๑ นิยตมิจฉาทิฏฐิ
๑.๒ อนันตริยกรรม

๑.๑ นิยตมิจฉาทิฏฐิ มี ๓ คือ
 
ก. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าไม่มีผลแห่งกรรมที่ทำไว้ เป็นการปฏิเสธผล ผู้ที่มีความเห็นชนิดนัตถิกทิฏฐิ ย่อมมีอุจเฉททิฏฐิด้วย คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วก็สูญไม่มี๒๔

การเกิดอีก มีความเห็นว่าไม่มีสิ่งที่เรียกว่า สมมติสัจจะ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าคติธรรมดา หรือคลองธรรมตามเหตุและผล ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าสมมติสัจจะ เช่น ไม่มีมารดาบิดา สัตว์บุคคลเกิดสืบเชื้อสายกันมาตามเรื่องตามราวเท่านั้น

จึงไม่มีใครที่จะต้องนับถือว่าเป็นบิดามารดา แม้ที่นับถือว่าเป็นสมณะ พราหมณ์ ภิกษุ สามเณร ก็ไม่มีเป็นต้น ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าคติธรรมดา หรือที่เป็นไปตามคลองธรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อย่างนี้ก็ไม่มี

ข. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าไม่มีเหตุ เป็นการปฏิเสธเหตุ คือ เมื่อได้รับผลดีผลร้ายต่างๆ ก็เห็นว่าเป็นไปตามคราว คราวที่มีโชคดีก็ได้รับผลดี คราวที่มีโชคร้ายก็ได้รับผลไม่ดี

ไม่มีเหตุอะไรที่จะมาทำให้ได้ผลดีผลร้าย ปฏิเสธเหตุในการทำดี ทำชั่ว ของบุคคลทั้งหลายที่กระทำกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่เชื่อว่าเป็นเหตุที่จะก่อให้เกิดผลได้ ฉะนั้นการปฏิเสธเหตุนี้ก็เท่ากับว่าปฏิเสธผลไปด้วย


ค. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าการทำบุญทำบาปก็เท่ากับไม่ได้ทำ เป็นการปฏิเสธทั้งเหตุและผลแห่งกรรม คือ

มีความเห็นว่าบุคคลทั้งหลายที่ทำดีก็ตาม ทำชั่วก็ตามไม่เป็นบาปไม่เป็นบุญ แสดงโทษของมิจฉาทิฏฐิ นิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นความเห็นผิดอย่างร้ายแรง

ซึ่งเมื่อมีความยึดถือ อยู่ในมิจฉาทิฏฐินี้มากจนดิ่งลงไปแล้ว หรือแนบแน่นแล้ว

เพราะมีอุปาทานความยึดถืออยู่อย่างแรงกล้า ผลก็จะส่งให้นำไปเกิดในนรก

เมื่อพ้นจากนรก ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ก็จะเป็นผู้มีความเห็นผิดเช่นนั้นๆ ต่อๆไปอีก นับภพชาติไม่ถ้วน

พระพุทธองค์ก็ไม่สามารถทรงโปรด ให้บุคคลที่มีความเห็นผิดนั้นกลับมาเห็นถูกได้

 

๑.๒ อนันตริยกรรม มี ๕ คือ
 
๑. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๒. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำให้พระพุทธเจ้าห้อพระโลหิต
๕. สังฆเภท ทำให้สงฆ์เกิดความแตกแยกไม่ทำสังฆกรรมร่วมกัน


ในบรรดาอนันตริยกรรม ๕ นี้ เป็นอกุศลกรรมอย่างหนักทั้งสิ้น แต่สามารถจัดลำดับการส่งผลจากมากไปหาน้อย คือ สังฆเภทกกรรมหนักที่สุด รองลงมาคือ โลหิตุปบาท

รองลงมาคือ อรหันตฆาต ส่วนมาตุฆาตและปิตุฆาตทั้งสองนี้ต้องแล้วแต่คุณสมบัติ ท่านใดมีศีลธรรมมากกว่า กรรมนั้นย่อมหนักกว่า ถ้ามารดามีศีลธรรม บิดาไม่มีศีลธรรม มาตุฆาตย่อมหนักกว่า

ถ้าทั้งบิดามารดามีศีลธรรมด้วยกันหรือไม่มีศีลธรรมเหมือนกันแล้ว มาตุฆาตกรรมย่อมหนักกว่า


ถ้าลูกที่มีพ่อแม่ป่วยไข้มีความทุกข์ทรมาน ก็อย่าไปสั่งหมอให้ฉีดยาให้ตายไปจะได้ไม่ต้องทุกข์ทรมาน หรือสั่งให้หมอเอาสายออกซิเจนออก เพราะการทำอย่างนี้เป็น อนันตริยกรรม

บางครั้งลูกคิดไม่ถึง ไม่เข้าใจในเหตุและผลแห่งความทุกข์ของบิดามารดาว่า ท่านต้องได้รับเช่นนั้นเป็นเพราะผลกรรมของท่านเอง

เมื่อคิดไม่เป็นหรือเพราะมุ่งแต่สงสาร จึงอาจพลาดพลั้งทำอนันตริยกรรมโดยไม่รู้ตัว

เรื่องกรรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะต้องระมัดระวัง การทำกรรมใดๆ ก็ตาม จะต้องพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน
 

พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “นิสมฺม กรณ เสยฺโย” ใคร่ครวญเสียก่อนจึงทำ

อนันตริยกรรม ๕ นี้ จัดเป็นกรรมหนัก แต่ก็ยังหนักไม่เท่ากับนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม
เพราะนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมเป็นกรรมที่ให้ผลไม่มีที่สิ้นสุด

ส่วนอนันตริยกรรม เมื่อส่งผลให้ไปเสวยกรรม ครบตามกาหนดก็พ้นจากกรรมนั้นๆได้

แต่นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมจะจมปลักอยู่ในกรรมเช่นนี้ตลอดเวลา


๒. ครุกกรรมฝ่ายบุญ กรรมหนักฝ่ายกุศล คือ มหัคคตกุศลกรรม ๙ ได้แก่ รูปาวจรกุศล ๕ อรูปาวจรกุศล ๔ ผู้ที่บาเพ็ญฌานบรรลุถึงปฐมฌาน ถึงฌานที่ ๒ ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๔ และฌานที่ ๕ การได้ฌานที่เป็นรูปฌาน ทั้ง ๕ นี้จัดว่าเป็นครุกกรรมฝ่ายกุศล

และเมื่อได้ถึงปัญจมฌานแล้วไปเจริญอรูปฌานต่ออีก ๔ นั้นก็เป็น ครุกกรรมฝ่ายกุศล ครุกกรรมฝ่ายกุศลกรรมทั้ง ๙ ประการนี้


เมื่อเจริญสำเร็จแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าตายจากโลกมนุษย์จะต้องได้รับผลกรรมนั้นในชาติที่สองทันที

คือนำไปเกิดในรูปภูมิ อรูปภูมิ

ส่วนโลกุตตรกุศลกรรม คือ มรรคจิต ๔ จัดว่าเป็นกรรมหนักคือ ครุกกรรมฝ่ายบุญเหมือนกัน แต่ไม่เป็นกรรมที่จะนำไปเกิดได้ มีแต่จะทำลายการเกิด จึงไม่ถือว่าเป็นกรรมที่จะส่งผลให้เกิดในชาติหน้า จึงไม่จัดเข้าเป็นกรรมในหมวดนี้
 


ที่มา  บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ ชุดที่ ๗.๑ กฎแห่งกรรม

หนังสืออ้างอิง
๑. ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๒ กัมมจตุกกะ และ มรณุปปัตติจตุกกะ (หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะตรี) รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ พิมพ์ที่โรงพิมพ์ ทิพยวิสุทธิ์ วันที่พิมพ์ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๙
๒. พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑




สำหรับคนที่เข้าใจผิดว่า อนันตริยกรรมมี ๖ ข้อ ต้องอ่านตรงนี้ครับ

อภิฐาน ๖ (กรรมที่เด่นยิ่งกว่ากรรมอื่นๆ, ฐานะอันยิ่งยวด, ฐานอันหนัก, ความผิดพลาดสถานหนัก)

อภิฐาน ๕ ข้อแรก ตรงกับ อนันตริยกรรม ๕ คือ
มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต โลหิตุปบาท และ สังฆเภท   เพิ่มข้อ ๖ คือ

๖. อัญญสัตถุทเทส (ถือศาสดาอื่น คือ ถือถูกอยู่แล้ว กลับไพล่ทิ้งไปถือผิด)

อภิฐานนี้ ในบาลีที่มาเดิม เรียกว่า อภัพพฐาน (ฐานะที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ไม่อาจจะกระทำ คือ เป็นไปไม่ได้ที่จะทำ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 14, 2010, 08:24:54 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ถ้าลูกที่มีพ่อแม่ป่วย ไข้มีความทุกข์ทรมาน ก็อย่าไปสั่งหมอให้ฉีดยาให้ตายไปจะได้ไม่ต้องทุกข์ทรมาน หรือสั่งให้หมอเอาสายออกซิเจนออก เพราะการทำอย่างนี้เป็น อนันตริยกรรม

คนที่ชื่นชมกับ กฏหมาย ใหม่ ต้องอ่าน หลาย ๆ รอบ นะครับ


 :25: :25:


บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

นิรนาม_พุทโธ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 48
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาเหตุ ของ อนันตริยกรรมนั้น ชัดเจน ที่มีการใช้กรรมในอเวจี หลังจากสิ้นชีวิตแล้ว

เมื่อยังไม่ได้ฟังพระสัทธรรม อันชี้ให้เห็นในอริยสัจจะ4  อันมีอิรยมรรคมีองค์ 8 เป็นแนวทางปฏิบัติ

ชนทั้งหลายเหล่านั้นก็ล้วนเป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะยังนำชีวิตไปตามวัฏฏะ และ สังสารวัฏฏ์ ไม่มีที่สุด

ชนเหล่านี้ชื่อว่ามืดมา แล้ว ก็มืดไป .....




แต่ในส่วน มิจฉาทิฏฐิ นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถึงแม้จะเป็นกรรมหนัก แต่ก็สามารถ ใช้ปัญญา

ในการพิจารณาธรรม ได้ในปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับผู้สอนนั้นคือใคร ซึ่งสมัยครั้งพุทธกาล ก็มีคนที่เป็น

มิจฉาทิฏฐิ กลับมาเป็นสัมมาทิฏฐิ ก็มากอยู่ แต่ก็วัดเป็นจำนวนแล้วก็ยังน้อย แต่ถือว่ายังมีโอกาส

เพราะที่จริง คนที่ไม่บรรลุธรรม พ้นจากสังสารวัฏ นั้นก็อยู่ใน ทิฏฐิ เหล่านั้นด้วยสั่งสมกันด้วยบารมี

โดยส่วนความเห็น ของอารยชน แล้ว การฆ่า บิดา มารดา ล้วนแล้ว จะต้องถูกประนาม ไมว่าจะเป็น

ชาติใด ศาสนาใด และ ชนที่มีอารยธรรมน้อยนั้นก็ ไม่ฆ่า บิดา มารดา ผู้ให้กำเนิด โดยธรรมชาติ

ของคนพื้นฐาน ดังนั้น เรื่องนี้ถือว่าร้ายแรงใน ระดับชาวโลก ซึ่งแตกต่างจาก การทำร้ายพระพุทธเจ้า

ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกแยกจากกัน โอกาสมีได้ยาก ซึ่งสำหรับเราชาว อุบาสก อุบาสิกา ที่ไม่

ได้เข้าไปยุ่งกับพระสงฆ์มากแ้ล้ว เพียงฟังธรรมและ ภาวนานั้นโอกาสที่จะผิดใน 3 ข้อหลังนั้นยากมาก

โดยเฉพาะการทำร้ายพระพุทธเจ้าแล้ว ยิ่งไม่มีโอกาสเลยในยุคนี้

  มีเหล่านิครนถ์ เดียรถีย์ ปริพาชก อัญญเดียรถีย์ เหล่าพราหมณ์ ที่เป็น นิยตมิจฉาทิฏฐิ กลับใจเป็น

สัมมาทิฏฐิ ก็มีจำนวนมากดังนั้น ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่และยังมีอริยมรรค อยู่ชนเหล่านั้นก็ยังชื่อมี

โอกาสในปัจจุบัน ( แต่ก็ยากขึ้นไปทุกทียิ่งในยุคนี้ผมมองว่า เป็นยุคของ เวไนยะ ซะัด้วย )


 :25: :25:



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 20, 2010, 02:50:30 am โดย นิรนาม_พุทโธ »
บันทึกการเข้า
เมื่อ......แสงธรรม เจิดจรัส สว่างจ้าในใจ เมื่อนั้น ก็จะเห็นพระพุทธองค์
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ตถาคต

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
คุณนิรนามพุทโธแสดงธรรมไ้ด้ดีครับ

อยากเห็นแสดงธรรมบ่อยๆ

ขอโมทนาสาธุ :25: :25: :25:

ขอให้ธรรมคุ้มครอง
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บรรดา อาจารย์ทั้ง 6 ที่เป็น นิยตมิจฉาทิฏฐิ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 10, 2010, 03:27:09 am »
0


สมัยพุทธกาลนั้นมีลัทธิต่างๆ มากมายที่มุ่งสอนในเรื่องของบุญบาป การเกิดการตาย และเรื่องของชีวิตและธรรมชาติตามความเชื่อของตนที่มีมากมายหลายพันลัทธิ แต่ลัทธิที่ใหญ่ๆ และมีคนนับถือมากก็คือลัทธิของอาจารย์ทั้งหก ดังที่จะกล่าวต่อไป ซึ่งลัทธิเหล่านี้นั้น ล้วนไม่สามารถนำพาคนให้พบความสุขที่แท้จริงได้ ได้แต่เพียงนึกคิดทฤษฎีของตนขึ้นมาสอนคนอื่น และถือเป็นมิจฉาทิฐิ ที่จะนำพาหมู่สัตว์ให้ตกไปในอบาย ห่างไกลจากนิพพาน เปรียบเสมือนแสงหิ่งห้อย เมื่อเทียบกับพระพุทธศาสนาที่เสมือนดวงตะวัน

1. ปูรณกัสสปะ สอนว่าสิ่งต่างๆ ไม่มีผล การกระทำต่างๆ ทำแล้วจบสิ้น ไม่มีผลอะไร

2. มักขลิโคศาล สอนว่าสิ่งต่างๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ย่อมเศร้าหมองเอง ย่อมบริสุทธิ์เอง ชีวิตแปรไปตามเคราะห์ดี ร้าย บุคคลผู้ท่องเที่ยวไปย่อมทำที่สุดทุกข์ให้หมดไปได้เอง

3. อชิตะเกสกัมพล สอนว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นเพียงการประชุมกันของมหาภูตรูป 4 พอตายก็แยกจากกัน การทำบุญไม่มีผล ทานไม่มีผล ตายแล้วสูญ ไม่มีการเกิดอีก

4. ปุกธะกัจจายนะ สอนว่า สภาวะ 7 สภาวะย่อมยั่งยืน เที่ยงแท้คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ สุข ทุกข์ ชีวะ การทำทาน บุญ หรือการฆ่าสัตว์ล้วนไม่มีผล

5. นิครณถ์ นาฏบุตร สอนว่า การเป็นนิครณถ์คือผู้สังวรแล้วสี่ประการคือ ๑.เป็นผู้ห้ามน้ำทั้งปวง ๒.เป็นผู้ประกอบด้วน้ำทั้งปวง ๓.เป็นผู้กำจัดด้วยน้ำทั้งปวง ๔.เป็นผู้ประพรมน้ำทั้งปวง

6. สัญชัย เวลัฏฐบุตร สอนว่าสิ่งต่างๆ มีก็ว่ามี ไม่มีก็ว่าไม่มี มีก็ใช่ ไม่มีก็ใช่ มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ